เมื่อยานโคจรกลับสู่ผิวโลก เมื่อจรวดได้นำยานโคจรขึ้นไปถึงจุดหมายที่ต้องการในอวกาศแล้ว ส่วนของจรวดจะแยกออกจากยานโคจร โดยยานโคจรจะอยู่ในลักษณะกลับหัวลงสู่ผิวโลก ครั้นเมื่อปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นที่สำเร็จแล้วและพร้อมเดินทางกลับสู่โลก ลูกเรือจะติดเครื่องยนต์และควบคุมให้ยานโคจรพลิกหัวขึ้นด้านบน ทั้งนี้เพื่อเดินทางออกจากวงโคจรและกลับเข้าสู่เขตแรงดึงดูดของโลกด้วยความเร็วประมาณ 16,000 ไมล์ : ชั่วโมง ด้วยความเร็วนี้ทำให้แผ่นกำบังซึงอยู่ด้านล่างของกระสวยอวกาศเสียดสีกับอากาศจนเกิดความร้อนสูงและเปล่งแสงขณะร่อนลง ความร้อนจากการเกิดการเสียดสีนี้ทำให้ส่วนล่างของกระสวยต้องได้รับการออกแบบที่ทำให้ทนความร้อนดังกล่าวให้ได้ และมีส่วนที่ป้องกันลูกเรือรวมถึงยานโคจรไม่ให้ได้รับความเสียหายหรือเกิดอันตราย จนเมื่อร่อนลงมาถึงบรรยากาศส่วนล่าง ความเร็วของกระสวยอวกาศจะลดลง และร่อนลงจดบน run way เช่นเดียวกับเครื่องบินสุปราณี สิทธิไพโรจน์กุล, ยงยุทธ บัลลพ์วานิช และอาภาภรณ์ บุญยรัตนพันธุ์. เทคโนโลยีอวกาศ ระดับมัธยมศึกษา. ปทุมธานี : ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2552.