ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และกฎระเบียบ (Political, Economic, Social, Technological, Environment, Legal: PESTEL) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกตามกรอบ PESTEL พบว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดโอกาส และความท้าทายที่สำคัญ พร้อมกับความต้องการที่จะนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน โดยด้านเทคโนโลยี - จากการจัดกลุ่มเทคโนโลยีใหม่ของโลกที่จะมีความสำคัญในปี 2561 ที่ศึกษาโดยบริษัท Frost & Sullivan พบว่า เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีตาม 10 กลุ่มเทคโนโลยีเป้าหมาย (TDGs) ของ สวทช. ดังนี้
Biochemicals มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีในการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การสังเคราะห์ และดัดแปรโมเลกุลทางเคมีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ พัฒนาคลังสารต้นแบบของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ specialty enzymes รวมถึงจุลินทรีย์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ |
Precision agriculture เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำมุ่งเน้นการพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจ จัดทำคลังข้อมูลทางพันธุกรรมและพัฒนาระบบโรงเรือนอัจฉริยะ โดยมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าเพื่อให้เกษตรกรไทยมีผลผลิตที่มากขึ้น มีรายได้ดีขึ้น สร้างงานและคุณภาพชีวิต |
|||
![]() |
|
![]() |
|
|
Cosmeceutical มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Herbal nanocosmeceutical รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการสกัดแบบ green extraction จากสมุนไพรชนิดต่างๆ |
Food & feed นวัตกรรมอาหารคนและอาหารสัตว์ เน้นการพัฒนาสารกลุ่ม Functional ingredients ต้นแบบกระบวนการผลิตอาหารเฉพาะกลุ่ม รวมถึงการวิจัยเรื่องความปลอดภัยอาหาร วิธีการตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรค สารปนเปื้อนในอาหาร รวมถึงบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารที่มีคุณสมบัติพิเศษ |
|||
![]() |
|
![]() |
|
|
Precision medicine หรือการแพทย์แบบแม่นยำ มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี และแนวทางการวินิจฉัย พยากรณ์ และรักษาโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่แม่นยำจากการใช้ข้อมูลพันธุกรรมร่วมกับข้อมูลทางคลินิก |
Biopharmaceutical มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตและตรวจวิเคราะห์ยาชีววัตถุใหม่ ยาชีววัตถุคล้ายคลึง รวมถึงการพัฒนาวัคซีนและยาชีววัตถุ ภายใต้มาตรฐาน Good Manufacturing Practice หรือ GMP |
|||
![]() |
|
![]() |
|
|
Medical devices & implants พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเครื่องมือแพทย์ นวัตกรรมสุขภาพ อุปกรณ์ประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์ เทคโนโลยีฟื้นฟูสมรรถภาพ เทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก |
Energy งานวิจัยเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน รวมถึงสร้างความร่วมมืองานวิจัยด้านพลังงานทั้งกับภาครัฐและเอกชน ซึ่งเทคโนโลยีที่ สวทช. ดำเนินการนี้จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการผลิตของระบบกักเก็บพลังงานประสิทธิภาพสูง การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซลและไบโอดีเซล และ ระบบผลิตและจัดการพลังงานจากแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง |
|||
![]() |
|
![]() |
|
|
Mobility & logistics เน้นพัฒนางาน 2 ส่วนหลัก คือ ยานพาหนะไฟฟ้า มุ่งสร้าง Ecosystem ให้กับอุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้า เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศไทย และ เทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง พัฒนาแบบวิศวกรรมของตัวรถ Feeder ทำจากวัสดุน้ำหนักเบา Light-weight structure การพัฒนาชิ้นส่วนของรถไฟฟ้ารางเบาต้นแบบ |
Dual-use defense หรือ เทคโนโลยีที่ใช้ได้สองทาง ทั้งในกิจการพลเรือนและทางทหาร โดยดำเนินการใน 3 ประเด็นหลักคือ การรับมือจากความไม่สงบและอาชญากรรม เช่น ระบบป้องกันภัยจากอากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีไร้สาย การรับมือต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน และการรับมือภัยพิบัติ เช่น ระบบกรองและบำบัดมลพิษทางอากาศ |
|||
![]() |
|
![]() |
|