ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของแผ่นดินไหวขนาด ใหญ่โดยตรง แต่ถึงกระนั้นในหลายๆ จังหวัดมีที่ตั้งอยู่ในบริเวณรอยเลื่อนอันทรงพลัง ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังในการเคลื่อนตัวรวม 10 จุด พาดผ่าน 22 จังหวัดดังนี้
- รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง พาดผ่านเชียงรายและเชียงใหม่
- รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านแม่ฮ่องสอนและตาก
- รอยเลื่อนเมย พาดผ่านตากและกำแพงเพชร
- รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านเชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน
- รอยเลื่อนเถิน พาดผ่านลำปางและแพร่
- รอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านลำปาง เชียงราย และพะเยา
- รอยเลื่อนปัว พาดผ่านน่าน
- รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอุตรดิตถ์
- รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านกาญจนบุรี และราชบุรี (เป็นรอยเลื่อนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้)
- รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านกาญจนบุรี และราชบุรี (เป็นรอยเลื่อนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้)
- รอยเลื่อนท่าแขก พาดผ่านหนองคาย และนครพนม
- รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนองและพังงา
- รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านสุราษฎร์ธานี กระบี่และพังงา
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีอาณาบริเวณติดกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวรอย เลื่อนที่อาจจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงได้เช่นกัน เราควรเตรียมพร้อมในการปฏิบัติตนและรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อลดความ สูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น
การปฏิบัติตนและรับมือก่อนเกิดเหตุ
- หมั่นตรวจสอบบ้านเรือนและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้านให้อยู่ในสภาพที่มั่นคง แข็งแรงและปลอดภัยอยู่เสมอ
- ควรยึดติดอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ กับพื้นหรือผนังบ้านอย่างแน่นหนา
- ไม่วางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ ไว้บนหลังตู้หรือที่สูงเพื่อป้องกันสิ่งของหล่นทับ
การปฏิบัติตนระหว่างเกิดเหตุ : กรณีอยู่ในอาคาร
- พยายามหาที่หลบ หรือที่กำบังในที่ที่ปลอดภัย พยายามใช้แขน-มือป้องกันศรีษะและลำคอจากการตกหล่นของสิ่งของ
- ไม่หลบหรือซ่อนตัวบริเวณใต้คานหรืออยู่ใกล้เสา และอยู่ให้ห่างจากประตู-หน้าต่างที่มีส่วนประกอบของกระจก
- ไม่ใช้ลิฟต์เพราะไฟฟ้าอาจจะดับและทำให้ลิฟต์ค้างจนติดอยู่ในลิฟต์และอาจ จะขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้
การปฏิบัติตนระหว่างเกิดเหตุ : กรณีกำลังขับรถ
- ให้หยุดเดินรถและหาที่จอดในบริเวณที่ปลอดภัย
- ไม่หยุดเดินรถบริเวณใต้สะพาน ทางด่วน หรือป้ายโฆษณาและต้นไม้ขนาดใหญ่
การปฏิบัติตนระหว่างเกิดเหตุ : กรณีอยู่บริเวณชายหาด
- หากสังเกตเห็นน้ำทะเลลดระดับลงอย่างรวดเร็วให้รีบขึ้นที่สูงหรือออกห่าง จากชายฝั่งทะเลให้มากที่สุด เพราะอาจจะได้รับอันตรายจากคลื่นยักษ์ หรือคลื่นสึนามิ
- ถ้าอยู่ในเรือพยายามนำเรือออกกลางทะเลให้เร็วที่สุด และรอจนกว่าเหตุการณ์จะสงบ
การปฏิบัติตนหลังเกิดเหตุ
- เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวให้รีบออกนอกบ้านโดยเร็วที่สุด และไม่กลับเข้าที่อยู่อาศัยหรือภายในอาคารหากยังไม่ได้รับการยืนยันจากเจ้า หน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการทรุดตัวของอาคารบ้านเรือน เพราะอาจจะเกิด Aftershock และทำให้อาคารเหล่านั้นถล่มลงมาได้
- ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามประกาศการ เตือนภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ไม่จุดหรือก่อกำเนิดประกายไฟเพราะอาจจะมีก๊าซรั่วไหลในบริเวณพื้นที่ ใกล้เคียงซึ่งอาจจะก่อให้เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ได้
ที่มา :
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. "หยุด ภัย". 2554.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม. เรียนรู้ รับมือ แผ่นดินไหว. สาระน่ารู้จากฝ่ายความปลอดภัยฯ (มี.ค. 54).