หลายๆ ห้องสมุดได้เริ่มให้บริการการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศแก่ชาวต่างชาติ เช่น การสืบค้นผ่านบริการของ WorldCat ของ OCLC โดยใช้หลักการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยเป็นอักษรโรมัน (Romanization) ดังตัวอย่าง
แต่เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่ได้ใช้อักษรโรมัน จึงมีความจำเป็นที่จะศึกษาแนวทางการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ หรือการสื่อสารในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง โดยเฉพาะในประเด็นที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อศิลปกรรม ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อเทคโนโลยี เป็นต้น นับว่าการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมีความสำคัญต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีของไทยต่อชาวต่างประเทศ
การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมี 2 วิธี คือ การถอดอักษรตามวิธีเขียน (Transliteration) และการถอดอักษรตามวิธีอ่าน หรือการถอดอักษรแบบถ่ายเสียง (Transcription)
- การถอดอักษรตามวิธีเขียนเป็นการถอดตามตัวอักษรทุกตัวที่มีอยู่ในคำนั้น มีข้อดีคือทราบที่มาของคำนั้น สามารถสะกดคำได้และสามารถถอดอักษรกลับไปยังคำเดิมได้ ข้อด้อยคืออ่านออกเสียงได้ยากและบางคำที่ถอดออกมามีมากเกินความจำเป็นในการออกเสียง
- การถอดอักษรแบบถ่ายเสียง เป็นการถอดอักษรที่ไม่จำเป็นต้องถอดครบทุกตัวอักษร เน้นการออกเสียงเป็นหลัก ข้อดีคือทำให้อ่านคำภาษาไทยที่ถอดเป็นอักษรโรมันได้เสียงใกล้เคียงคำที่ถอดเป็นอักษรโรมันมีความกะทัดรัดเข้าใจง่าย ข้อด้อยคือไม่เอื้อให้ถอดอักษรกลับคืนสู่คำเดิมได้
การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงนี้เป็นที่นิยมใช้ทั่วไป โดยมีงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
- เครื่องมือถอดอักษรโรมัน Thai2English Online
- โปรแกรมถอดอักษรโรมัน Thai Romanization
-
หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง ราชบัณฑิตยสถาน
-
ราชกิจจานุเบกษา หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน
-
ตารางการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันของ Library of Congress
-
ตารางการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันของ UN
- ISO 11940:1998 : Information and documentation — Transliteration of Thai
- งานวิจัย A Unified Model of Thai Romanization and Word Segmentation
- วิทยานิพนธ์ การพัฒนาโปรแกรมการถอดเสียงอักษรไทยเป็นอักษรโรมันตามวิธีการของราชบัณฑิตยสถาน
-
การถอดเสียงภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย จากไทยวิกิพีเดีย
-
การถอดเสียงภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดย SEAlang
-
รวมลิงก์ข้อมูลภาษาไทยที่น่าสนใจโดยมหาวิทยาลัยฮาวาย
-
Romanization of Thai Proper Names Based on Popularity of Usages
-
Automatic romanization for Thai
นอกจากนี้ Google Translate ก็ได้เพิ่มฟังก์ชันอ่านออกเสียงแบบ Thai Romanization เพิ่มด้วย