ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบันยังมีปัญหา คือ ผลผลิตยังมีปริมาณไม่เพียงพอ และคุณภาพยังไม่ได้ตามต้องการ จากการศึกษาผลผลิตและคุณภาพผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน 4 พันธุ์ ในระบบเกษตรอินทรีย์ พบว่า ระบบการผลิตเกษตรดีที่เหมาะสมให้ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตมากกว่าระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญ ในด้านความสูงต้น จำนวนฝักต่อต้น จำนวนฝักต่อไร่ น้ำหนักสดทั้งเปลือก น้ำหนักฝักปลอกเปลือก น้ำหนักฝักปลอกเปลือกที่ได้มาตรฐาน และอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักฝักปอกเปลือกที่ได้มาตรฐานกับน้ำหนักฝักก่อนปอกเปลือก แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติในด้านอายุวันเริ่มเก็บเกี่ยว และจำนวนฝักปอกเปลือกที่ได้
มาตรฐานที่เกิดจากการผลิตทั้ง 2 ระบบ และพบว่ามีอิทธิพลร่วมระหว่างระบบการผลิตและพันธุ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
แหล่งที่มา:
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. 2554. "การเพาะปลูกผักเกษตรอินทรีย์สมบูรณ์ เพื่อการส่งออกตลาดโลกของประเทศไทย". องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2552-2553. http://www.nia.or.th/organic/books/14_1.pdf. (สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2554).