หลักการของเทคนิคนี้
ส่องผ่านรังสีเอ็กซ์พลังงานต่ำผลิตจากแหล่งกำเนิดแสงซินโครตรอนไปที่ท่อนาโนที่มุมต่างๆ เพื่อดูการจัดเรียงตัวของอะตอมที่มุมต่างๆ ลำแสงของรังสีเอ็กซ์ที่สเกลระดับนาโนจะประพฤติตัวเป็นอนุภาคซึ่งก็คือลำอนุภาคโฟตอน ที่เมื่อตกกระทบโมเลกุลคาร์บอนของท่อนาโน โฟตอนจะถูกดูดกลืนโดยอิเล็กตรอนที่วนรอบๆ นิวเคลียสของอะตอมนั้น โดยอิเล็กตรอนที่วนใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะได้รับพลังงานจากโฟตอนมากที่สุด แล้วอิเล็กตรอนพลังงานสูงเหล่านี้จะกระโดดเข้าสู่วงโคจรที่ไกลจากนิวเคลียสกว่าเดิม หลังจากนั้นอิเล็กตรอนจะตกกลับสู่วงโคจรที่มีพลังงานต่ำกว่าพร้อมกับคายพลังงานออกมาที่มีค่าเฉพาะค่าหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับอิเล็กตรอนในคาร์บอนอะตอมของท่อนาโนหลายตัวเข้า พลังงานที่คายออกมาจะมากพอที่จะเห็นเป็นแถบสี ทำให้นักวิทยาศาสตร์บันทึกได้ แถบสีหรือสเปกตรัมนี้เองจะเป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรมการดูดกลืนโฟตอนของท่อนาโนที่แต่ละค่าพลังงานของรังสีเอ็กซ์ที่ส่องผ่าน และเมื่อทำการวิเคราะห์แถบสีพวกนี้แล้ว นักวิทยาศาสตร์จะสามารถค้นพบคุณสมบัติเชิงอิเล็กทรอนิกส์และเชิงกายภาพของท่อนาโนได้ ในขณะที่อิเล็กตรอนดูดซับโฟตอนจนมีพลังงานสูงมาก อิเล็กตรอนจะสามารถหลุดอออกจากอะตอม กลายเป็นอิเล็กตรอนอิสระ นักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจวัดและนำมาวิเคราะห์ได้เช่นกัน
ที่มา:
เทคนิคใหม่ในการศึกษาโครงสร้างและคุณสมบัติของท่อนาโน (Nanotube). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.vcharkarn.com/vcafe/33962 (วันที่ค้นข้อมูล : 22 กรกฎาคม 2557).