จากบทความออนไลน์ ของบริษัท Thomson Reuters โดยบริการ Science Watch ชื่อ เรื่อง Tracking Singapore's Rise- Featured analyses ฉบับเดือน May/June 2011 เป็นบทความแสดงถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ ด้วยการวัดจากจำนวนบทความวิจัยวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์ (Research Publications) สรุปดังรายละเอียดต่อไปนี้
ประเทศสาธารณรัฐสิงค์โปร์ ถึงแม้ว่ามีผลผลิตด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยในจำนวนปานกลางไม่มากมายนักเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศยักษ์ใหญ่ของเอเชีย ในกลุ่ม Asian Tiger เช่นเกาหลีใต้และไต้หวัน โดยพบว่า มีจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงปีที่ผ่านมาเร็วๆนี้ โดยมีความเข้มแข็งในระดับสากลในหลายๆ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุ เคมี และ วิศวกรรมศาสตร์
เพื่อการตรวจสอบ ติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศสิงคโปร์ ว่ามีสถานภาพในปัจจุบันเป็นเช่นไร บริษัท Thomson Reuters โดยบริการ Science Watch - InCites บริการผู้จัดเก็บข้อมูลบทความ และข้อมูลการอ้างอิง ที่ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบจำนวนผลผลิตบทความวิจัยและการได้รับการอ้างอิงของประเทศต่างๆทั่วโลก
ประเทศสิงคโปร์ เริ่มมีผลผลิตในจำนวนบทความวิจัยวิทยาศาสตร์ ในปี 1990 ด้วยจำนวนเพียง 900 บทความ ต่อมาในปี 2009 มีการผลิตอย่างก้าวกระโดดจากเดิม เป็นมากกว่า 8,000 บทความ คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นสูงมากถึงร้อยละ 900 แสดงกราฟของจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ในทุกๆสาขาวิชา ของประเทศสิงคโปร์ แบบรายปี จากฐานข้อมูลของ บริษัท Thomson Reuters รวมถึงแสดงผลผลิตที่คิดเป็นส่วนแบ่งในระดับโลก (percent share of the world) ที่เจริญเติบโตในช่วง 2 ทศวรรษ จาก ร้อยละ 0.14 เป็น ร้อยละ 0.73
กราฟที่ 1 จำนวนผลผลิตบทความวิจัยของประเทศสิงคโปร์และสัดส่วนของโลก ในช่วงปี 1990 - 2009
อ้างอิง Incites " Global Comparison", Thomson Reuters
จากข้อมูลข้างต้นที่ว่า ประเทศสิงคโปร์ มีผลผลิตบทความวิจัยตีพิมพ์ ในปี 2009 ในจำนวนเกือบๆ 8,500 เรื่อง เมื่อเทียบกับประเทศเกาหลีใต้ ทีมีจำนวนเกือบ 40,000 เรื่อง หรือ ประเทศไต้หวัน ที่มีจำนวน 25,000 เรื่อง ในปี 2009 เช่นกัน สิงคโปร์ให้ความสนใจในสาขาที่เป็นเทคโนโลยีเป็นสำคัญ และผลกระทบด้านงานวิจัยที่วัดจากจำนวนการได้รับการอ้างอิง ถือว่าเป็นสัดส่วนที่ดี
ในกราฟที่ 2 แสดงหมวดหมู่สาขาวิชา ที่ประเทศสิงคโปร์ มีความเข้มแข็ง โดยวัดจากจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ ที่มีการทำดัชนี ในฐานข้อมูลของ Thomson Reuters ชื่อ Web of Science, WOS ในช่วงปี 2005 - 2009 (WOS มีการแบ่งหมวดหมู่สาขาวิชาเฉพาะมากกว่า 250 หมวดหมู่) ในตารางแสดงสัดส่วนผลผลิตของสิงคโปร์ ในช่วง 5 ปี พบว่ามีความเข้มแข็งในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) โดยมีจำนวน 801 บทความ คิดเป็นร้อยละ 2.69 และแสดงหมวดหมู่เฉพาะอีก 20 สาขา ได้แก่ วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ (computer science, materials, and engineering) รวมถึงหมวดหมู่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ biomaterials, cell & tissue engineering, and biomedical engineering
ในกราฟที่ 2 แสดงผลกระทบด้านงานวิจัย ของประเทศสิงคโปร์ นับจากจำนวนการอ้างอิงต่อ 1 บทความ (cites per paper) ของสาขาวิชาที่เฉพาะทางในช่วง 5 ปี มี 2 สาขาวิชาที่โดดเด่นมาก ได้แก่ biomaterials และ biomedical engineering
ความก้าวหน้าของประเทศสิงคโปร์ ที่มีชื่อเสียงขยายออกมาเหนือกว่า วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบถึงการเปลี่ยนแปลงในจำนวนบทความวิจัย ในสาขาหลักในช่วง ระยะเวลา 5 ปี ที่ต่อเนื่องกัน คือ ในปี 2000 - 2004 และ ช่วงปี 2005 - 2009 พบว่า จำนวนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละที่สูงสุด คือสาขเกษตรศาสตร์ (agricultural sciences) เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 172 ตามด้วยสาขา molecular biology & genetics ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 169 และสาขา pharmacology & toxicology ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 158 ส่วนผลกระทบในทุกๆสาขาวิชา มีสัดส่วนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยของโลก สำหรับช่วงปี 2005 - 2009 ซึ่งสามารถชี้ชัดได้ว่าจะเป็นสาขาวิชาที่มีอัตราเพิ่มความเข็มแข็งยิ่งขึ้นในปีต่อไปข้างหน้า
กราฟที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ของผลกระทบด้านงานวิจัยในสาขาวิชาหลัก
อ้างอิง Incites "Global Comparison" , Thomson Reuters
ในเดือนสิงหาคม ปี 2010 แมกกาซีน Times Higher Education ได้ทำการรวบรวมข้อมูลรายการบทความวิจัย ของบริษัท Thomson Reuters และได้นำเสนอรายการข้อมูลที่เป็นจุดเด่นของประเทศสิงคโปร์ แสดงถึงความยอดเยี่ยม จากฐานของจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ในทศวรรษที่ผ่านมา 2000 - 2010 โดยแสดงตัวอย่างในสาขาวัสดุศาสตร์ของทุุกประเทศ พบว่า สิงคโปร์อยู่ในลำดับที่ 6 รองจาก เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ อิสราเอล เดนมารก์ โดยสิงคโปร์เป็นประเทศเดียวในเอเซียที่ติดเป็นผู้นำ 20 อันดับแรก ดังรายละเอียดในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การจัดอันดับประเทศชั้นนำในการวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์ (National ranking in Materials Science)
Country | Papers | Citations | Citation per paper |
The Netherlands | 4,881 | 58,477 | 11.98 |
USA. | 67,902 | 774,556 | 11.41 |
Switzerland | 4,713 | 51,436 | 10.91 |
Israel | 2,321 | 25,146 | 10.83 |
Denmark | 1,526 | 15,740 | 10.31 |
Singapore | 5,183 | 52,000 | 10.03 |
Scotland | 1,658 | 16,494 | 9.95 |
Ireland | 1,351 | 12,468 | 9.23 |
England | 19,752 | 182,130 | 9.22 |
Belgium | 3,958 | 34,595 | 8.74 |
อ้างอิง : http://www.timeshighereducation.co.uk/story.asp?storyCode=413239§ioncode=26
นอกจากนี้ แมกกาซีน Times Higher Education ยังจัดอันดับประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ในเรื่อง จำนวนการได้รับการอ้างอิง ในช่วง ทศวรรษที่ผ่านมา 2000 - 2010 พบว่าสิงคโปร์เป็นประเทศอันดับที่ 1 ที่มีจำนวนบทความตีพิมพ์ ได้รับการอ้างอิงสูงสุด ค่าเฉลี่ยผลกระทบ impact ดังรายละเอียดในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 การจัดอันดับประเทศกลุ่มอาเซียนตามจำนวนการได้รับการอ้างอิง ช่วงปี 2000 -2010
(ASEAN Nations ranked by total citations)
ountry | Papers | Citations | Impact | Highly cited papers | % highly cited |
Singapore | 58,842 | 524,999 | 8.92 | 716 | 1.22 |
Thailand | 27,751 | 200,555 | 7.23 | 182 | 0.66 |
Malaysia | 19,267 | 83,676 | 4.34 | 110 | 0.57 |
Indonesia | 5,857 | 45,916 | 7.84 | 65 | 1.11 |
Philippines | 5,282 | 43,759 | 8.28 | 53 | 1.00 |
Vietnam | 6,029 | 42,958 | 7.05 | 50 | 0.82 |
Cambodia | 605 | 4,811 | 7.95 | 10 | 1.65 |
Laos | 385 | 3,117 | 8.10 | 2 | 0.52 |
Myanmar | 322 | 2,633 | 8.18 | 0 | 0.00 |
Brunei | 372 | 2,523 | 6.78 | 0 | 0.00 |
อ้างอิง : http://www.timeshighereducation.co.uk/story.asp?storyCode=413707§ioncode=26
เมื่อเดือนธันวาคม 2010 วารสารวิทยาศาสตร์ที่ทรงอิทธิพล ชื่อหนึ่ง คือ วารสารเนเจอร์ ได้รายงานว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ดีของสิงคโปร์ ทำให้เกิดการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ให้แก่วิสาหกิจในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีการสนับสนุนอย่างดีในงานวิจัยพื้นฐาน เช่น มีการว่าจ้างนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ เป็นต้น นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงจากนโยบายรัฐบาลที่ตัดสินใจในการเคลื่อนย้ายเงินทุน ที่สำคัญมาสู่งานวิจัยที่สามารถนำไปผูกโยงต่อกับการประยุกต์ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม (อ้างอิงจาก Nature, 468: 731, 9 December 2010)
ตารางที่ 3 ผลผลิตงานวิจัยวิทยาศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ จำแนกตามรายสาขาวิชา
(Singapore's Research Output by Specialty Area)
Rank | Field |
Singapore World share, 2005-09 (%) |
Singapore # Papers, 2005-09 |
Singapore Citation impact |
World Citation impact |
1 | Computer Science: Hardware | 2.69 | 801 | 2.01 | 1.55 |
2 | Engineering: Manufacturing | 2.64 | 559 | 2.26 | 1.80 |
3 | Electrical Engineering | 2.59 | 4,471 | 2.61 | 2.14 |
4 | Telecommunications | 2.59 | 944 | 1.88 | 1.61 |
5 | Biomaterials | 2.50 | 408 | 10.71 | 5.89 |
6 | Robotics | 2.43 | 111 | 1.37 | 1.48 |
7 | Nanoscience & Nanotech. | 2.38 | 1,624 | 5.82 | 5.69 |
8 | Automation & Control | 2.33 | 608 | 3.18 | 2.06 |
9 | Computer Sci.: Information Sys. | 2.25 | 864 | 1.74 | 1.98 |
10 | Asian Studies | 2.15 | 59 | 0.24 | 0.21 |
อ้างอิง
Thomson Reuters : Tracking Singapore’s Rise Featured Analyses, May/June 2011 Available at : http://sciencewatch.com/ana/fea/11mayjunFea/