หลักการ / ความสำคัญ
สัตว์น้ำเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่มีความสำคัญของมนุษย์ เป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้ประเทศไทยปีละหลายหมื่นล้านบาท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยมีจุดแข็งด้านภูมิศาสตร์ มีองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรมีทักษะพร้อมที่จะปรับตัว มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยเมื่อเปรียบเทียบในภูมิภาคเดียวกัน มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เข้มแข็ง ภาครัฐและภาคเอกชนพร้อมที่จะปรับตัวตามมาตรฐานสากล มีเครือข่ายถ่ายทอดองค์ความรู้และควบคุมกำกับดูแล รัฐบาลสนับสนุนการขยายตลาดภายในประเทศและการยกระดับมาตรฐานสินค้า โดยอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์น้ำยังพบปัญหาการขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพและลักษณะตรงตามที่ต้องการ การทำประมงเกินขนาด ปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ชายฝั่ง แหล่งหรือพื้นที่ทำการประมงลดลง ปัจจัยการผลิตขาดแคลนและมีราคาสูง โรคระบาด
เป้าหมาย
การสร้างความเข้มแข็งให้กับการผลิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจ โดยเน้นการเพาะเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พึ่งพาทรัพยากรและวัตถุดิบภายในประเทศและเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตสัตว์น้ำของประเทศทั้งด้านคุณภาพ และความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยจำแนกสัตว์น้ำเศรษฐกิจเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 สัตว์น้ำส่งออก ปริมาณผลผลิตสูง มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิต: กุ้งทะเล (กุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาด้า) และปลานิล
กลุ่มที่ 2 สัตว์น้ำที่เกษตรกรมีความเชี่ยวชาญ และพร้อมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ: ปลากะพงขาว
กลุ่มที่ 3 สัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่
แผนการดำเนินงาน
ประกอบด้วย 4 แผนงาน
แผนงานที่ 1 การวิจัยและพัฒนาด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ
แผนงานที่ 2 การวิจัยและพัฒนาด้านอาหารและโภชนาการสัตว์น้ำ
แผนงานที่ 3 การวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีการเลี้ยงและการจัดการสัตว์น้ำ
แผนงานที่ 4 การวิจัยและพัฒนาด้านโรคระบาด การป้องกันและการจัดการโรคระบาดในสัตว์น้ำ
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 02 117 6462 (คุณอังศุธร) 02 117 6461 (คุณพิมพ์ชนก)
e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.