หลังจากที่งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบทได้จัดอบรมเกี่ยวกับสะเต็มศึกษามากว่า 5 ปี คุณครูหลายท่านก็เติบโตไปพร้อมพวกเรา จนก้าวเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปี 62 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 63 ที่ผ่านมา งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท สายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร เรื่อง “การนำแนวคิดสะเต็มศึกษาไปใช้ในสถานศึกษา”สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเนื้อหาในการฝึกอบรมมีพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดชั้นปีและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฉบับล่าสุด ร่วมถึงการสอดแทรกเนื้อหาวิทยาการคำนวณ เพื่อให้ครูวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับสถานศึกษาและสามารถพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการคำนวณได้ในเบื้องต้นอีกเช่นเคย

การฝึกอบรมหลักสูตรนี้ ประกอบด้วยทั้งหมด 4 กิจกรรม ที่สนุกสนานและหลากหลายหน่วยการเรียนรู้ ได้แก่

กิจกรรมที่ 1 ชุดโรงงานระบบย่อยอาหาร 3D โดยนางสาวกิตติยา บำบัดภัย นักวิชาการ สวทช.

กิจกรรมที่ 2 วงจรไฟฟ้า: circuit maker โดยนางสาวฉมาพร ขจรบุญ นักวิชาการ สวทช.

กิจกรรมที่ 3 พิบัติภัยธรรมชาติ โดยนางสาวปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ สวทช.

กิจกรรมที่ 4 อุปราคา โดยนางสาวปิยาภรณ์ วงศ์อักษร นักวิชาการ สวทช.

โดยหลักสูตรนี้ถูกจัดขึ้นทั้งหมด 5 รุ่น โดยแต่ละรุ่นจะได้รับการอบรมอย่างน้อย 3 กิจกรรม เริ่มต้นด้วย

รุ่นที่ 1 จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 18 -19 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงเรียนบ้านกูวา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส (ชุดโรงงานระบบย่อยอาหาร 3D วงจรไฟฟ้า: circuit maker พิบัติภัยธรรมชาติ)

รุ่นที่ 2 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 6 -7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 (ชุดโรงงานระบบย่อยอาหาร อุปราคา พิบัติภัยธรรมชาติ)

รุ่นที่ 3 จังหวัดพังงา ระหว่างวันที่ 15 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ โรงเรียนคุระบุรี อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา (วงจรไฟฟ้า: circuit maker พิบัติภัยธรรมชาติ อุปราคา)

รุ่นที่ 4 จังหวัดสกลนคร ระหว่างวันที่ 20 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1(วงจรไฟฟ้า: circuit maker ชุดโรงงานระบบย่อยอาหาร 3D อุปราคา)

รุ่นที่ 5 จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 26 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน (ชุดโรงงานระบบย่อยอาหาร 3D วงจรไฟฟ้า: circuit maker พิบัติภัยธรรมชาติ)

ซึ่งแต่ละการฝึกอบรมแต่ละจังหวัดก็ได้รับความสนใจและการตอบรับเป็นอย่างดี หวังว่าความรู้ที่คุณครูได้รับในครั้งนี้ จะได้รับการขยายผลสู่นักเรียนและโรงเรียนต่อไป