Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • “Satellite Rangers” อนิเมะแนะนำภารกิจดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกของ JAXA
  • News & Articles

“Satellite Rangers” อนิเมะแนะนำภารกิจดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกของ JAXA

NSTDA SPACE Education 24/05/2021
          องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA มีทีมสำรวจทรัพยากรโลก ที่คอยดูแลความสงบสุขของมนุษย์บนโลกจากห้วงอวกาศ
 
          คลิปวิดีโอรูปแบบอนิเมะสร้างขึ้นเพื่อแนะนำภารกิจของทีมสำรวจทรัพยากรโลกที่ใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก
 
          ชื่อในอนิเมะ ก็คือ ทีมสำรวจทรัพยากรโลก “ดาวเทียมเรนเจอร์”
 
          ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดขนส่งและโคจรอยู่รอบโลก โดยทำหน้าที่สำรวจพื้นที่ทั่วทั้งโลกตามความเชี่ยวชาญทั้งผืนดิน มหาสมุทร และท้องฟ้า เพื่อเฝ้าดูชีวิตประจำวันของพวกเรา
 
          สำหรับ “ดาวเทียมเรนเจอร์” สมาชิกประกอบไปด้วย
 
          – หัวหน้าผืนดิน ชื่อ “DAICHI” มีเรดาร์ตรวจจับสัญญาณทางฟิสิกส์เพื่อตรวจสุขภาพของผืนดินอยู่ตลอดเวลา คอยติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติและการตัดไม้ทำลายป่า
 
          – หัวหน้ามหาสมุทร ชื่อ “SHIZUKU” และ “SHIKISAI” คอยติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากอวกาศได้เป็นอย่างดี ซึ่งการสังเกตวัฏจักรของน้ำช่วยสำหรับการพยากรณ์อากาศและการทำประมง นอกจากนี้ยังสามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตได้ โดยคอยติดตามอุณหภูมิของพื้นผิวดินและมหาสมุทร รวมถึงชั้นบรรยากาศโลกและพืชพันธุ์
 
          – หัวหน้าท้องฟ้า ชื่อ “IBUKI” ทำหน้าที่สังเกตภาวะก๊าซเรือนกระจก ซึงเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนทั่วโลก เพื่อมุ่งเป้าไปสู่การมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน
 
          ทำไมพวกเขาเหล่านี้ถึงต้องสังเกตการณ์จากอวกาศ?
 
          เพราะว่าดาวเทียมสามารถเฝ้าสังเกตุพื้นที่บนพื้นดินที่อันตรายและทะเลที่ยากต่อการเข้าถึง ยังมีเรื่องของเมฆที่หนาทึบและฝนตกเป็นบริเวณกว้างทั่วโลกในเวลาเดียวกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำนายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องอาศัยข้อมูลจากการสังเกตุการณ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมช่วยทำให้เราสามารถทำนายสภาพอากาศในอนาคตได้
 
สามารถรับชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/bSgecwmHAXs
(มี Sub Title อธิบายเป็นภาษาอังกฤษ)
 
 
  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Related

Tags: Satellite Rangers ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก ดาวเทียมเรนเจอร์

Continue Reading

Previous: นักวิจัยไทยได้รับทุนวิจัยทำการทดลองพืชภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูงภายใต้โครงการ HyperGES ของ UNOOSA และ ESA
Next: ครบรอบ 40 ปี โครงการกระสวยอวกาศของนาซา

Related Stories

ทีม Astronut คว้ารางวัลชนะเลิศ The 5th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีม Astronut คว้ารางวัลชนะเลิศ The 5th Kibo Robot Programming Challenge

03/07/2024
ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4

30/10/2023
ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023

You may have missed

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy