TITLE NAME

2563
สมาร์ท อควาโปนิกส์
- จารุวิทย์ แสนทวีสุข
- ยุพาพรรณ วรรณสาย
เบ็ญจะมะมหาราช
โครงงานวิทยาศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกผักในระบบอควาโปนิกส์โดยใช้อาดุยโน่ควบคุมการทำงาน และเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกผักกาดหอมด้วยระบบอควาโปนิกส์ในที่พักอาศัยขนาดจำกัด โดยเลี้ยงปลาทองจำนวน 12 ตัวในตู้ขนาด 31 X 61 X 44 ลูกบาศ์กเซนติเมตร และปลูกผักกาดหอมเป็นเวลา 45 วัน ทำการศึกษาตั้งแต่ 28 กรกฎาคม – 10 กันยายน 2563 เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของผักกาดหอมที่ใช้ ไฟจากหลอด LED และไม่ใช้ไฟจากหลอด LED วัดค่า pH ด้วย pH meter ค่าความขุ่นของน้ำโดยใช้เซ็นเซอร์ และตั้งเวลาในการให้อาหารปลาโดยใช้โปรแกรม Arduino ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนปลาที่เลี้ยงกับผักกาดหอม พบว่า ผักกาดหอมที่ปลูกโดยใช้แสงไฟจากหลอด LED จะเจริญเติบโตเร็วกว่าผักกาดหอมที่ปลูกโดยไม่ใช้แสงไฟจากหลอด LED ประมาณ 10 วัน เมื่อเลี้ยงปลา 7 วันโดยไม่ปลูกผักกาดหอม วัดค่า pH ของน้ำเฉลี่ย 7.6 และหลังจากเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกผัก 14 วัน 21 วัน และ 30 วันที่ได้ทำการตรวจสอบค่า pH ของน้ำมีค่าเฉลี่ย 7.5 7.3 และ 7.6 ตามลำดับ เมื่อเลี้ยงปลา 7 วัน แต่ยังไม่ได้ปลูกผักกาดหอม ค่าความขุ่นของน้ำเฉลี่ย 37 และหลังจากเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกผัก 14 วัน 21 วัน และ 30 วันที่ได้ทำการตรวจสอบค่า ความขุ่นของน้ำมีค่าเฉลี่ย 28.6 21.3 และ 10.3 ตามลำดับ ปลาจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.4 กรัม และความยาวของใบผักกาดหอมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12.5 เซนติเมตร เมื่อเลี้ยงปลาและปลูกผักกาดหอมเป็นเวลา 30 วัน ระยะเวลาในการเปิด Servo จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณอาหารที่ถูกปล่อยลงมาจากขวด และเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการผลิตระหว่างระบบสมาร์ท อควาโปนิกส์กับระบบอควาโปนิกส์แบบธรรมดา พบว่ามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่ำกว่าระบบอควาโปนิกส์แบบธรรมดา คำสำคัญ ระบบอควาโปนิกส์ ระบบควบคุม