TITLE NAME

2563
ถุงห่อผลไม้จากเส้นใยมูลช้าง
- รักษิกานต์ มะลิงาม
- ชลิตา ยวนรัมย์
- ธัญรดา ใจนวน
- ภูวนัย ดอกไธสง
- อารีรัตน์ ใจกล้า
จอมพระประชาสรรค์
การปลูกผลไม้ในปัจจุบัน จะพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับแมลงและโรคต่าง ๆ รบกวน เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย เป็นต้น รวมถึงรอยขีดข่วนจนเกิดเป็นแผลจากการเสียดสีของกิ่งและใบไม้ ทำให้ผลไม้ไม่น่ารับประทาน และเน่าเสียได้ง่าย เป็นเหตุให้ผลผลิตลดลง ซึ่งเกษตรกรแก้ปัญหาด้วยการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือถุงพลาสติกห่อ แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะไม่สามารถป้องกันแมลง และเชื้อโรคได้ดีนัก ทำให้ได้ผลผลิตไม่เต็มที่ และถ้าซื้อถุงห่อผลไม้ในท้องตลาดซึ่งเป็นถุงที่มีคาร์บอนเคลือบอยู่ด้านในจะทำให้ได้ผลผลิตสูงแต่ราคาค่อนข้างแพงเนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต เกษตรกรจึงต้องใช้สารเคมีเพื่อกำจัดแมลง หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณภาพของผลไม้ จากเหตุผลดังกล่าวทางคณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาถุงห่อผลไม้ จากการศึกษาพบว่า เส้นใยพืชสามารถนำมาขึ้นรูปเป็นกระดาษซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นถุงห่อผลไม้ได้ ประกอบกับชุมชนของผู้พัฒนาโครงงานเป็นหมู่บ้านเลี้ยงช้างขนาดใหญ่ คือ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ทำให้มีมูลช้างเป็นจำนวนมากและในมูลช้างก็มีเส้นใยพืชอยู่ ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นแนวทางในการใช้ประโยชน์จากมูลช้าง คือนำเส้นใยพืชที่อยู่ในมูลช้างมาปรับสภาพและขึ้นรูปเป็นถุงกระดาษ โดยผสมกับผงคาร์บอนเพื่อให้มีสมบัติในการกันแสงแดด ป้องกันแมลง และเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการใช้ประโยชน์จากมูลช้างและช่วยลดปัญหาจากการเกิดโรคต่าง ๆ ของผลไม้ และยังทำให้ผลไม้มีผิวสวย เป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรได้อีกทาง