TITLE NAME

2563
S-equol จากจุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรคเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศ
- ปิยะธิดา โพนเมืองหล้า
- วรินทร กุลจันทร์ศรี
- กัญชลีย์ อภิอริยฐานนท์
- ณรงค์รัตน์ เมธาคุณวุฒิ
- สุจิรา มณีรัตน์
สตรีศึกษา
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกในลำไส้ที่มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ในการย่อย daidzein เป็น S-equol ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดีและรับประทาน ถั่วเหลืองเป็นประจำได้จำนวน 4 คน สามารถคัดแยกจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีลักษณะต่างกันได้จำนวน 55 ไอโซเลท แล้วทำการคัดเลือก 10 ไอโซเลท ได้แก่ MS02-608, MS02-506, MS02-501, NS04-506, BIF SS03-605 , SS03-701A, MS02-713, NS04-503, SS03-701 และ NS04-612 ไปตรวจยืนยันลักษณะทางชีวเคมีและทดสอบสมบัติของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในลำไส้ ผลการทดลอง พบว่า เชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดติดสีแกรมบวก ไม่พบการสร้างเอนโดสปอร์ เอนไซม์คะตะเลสและออกซิเดส ไฮโดรเจนซัลไฟด์และไม่เคลื่อนที่ แต่มีความสามารถในการใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ MR broth เป็นสารอาหาร สามารถทนในสารละลายเกลือน้ำดี ส่วนใหญ่สามารถทนกรดที่ pH 2- 3, และเบสที่ pH 8-9 ได้ และสามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus และ Escherichia coli ได้ เมื่อทดสอบความไม่ชอบน้ำของเซลล์เซอร์เฟส พบว่า มีร้อยละการลดลงของค่าความขุ่น (OD540) อยู่ในช่วง 11.69±0.360 - 56.34±7.230 และทำการตรวจหาจุลินทรีย์ในลำไส้ที่สามารถผลิต S-equol ได้ ด้วยเทคนิค HPLC พบว่า จุลินทรีย์โพรไบโอติกในลำไส้ทั้ง 10 ไอโซเลท สามารถผลิต S-equol ได้ โดยไอโซเลท SS03-701 มีความสามารถในการผลิต S-equol ได้สูงที่สุด ผลการทดลองทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเชื้อทั้ง 10 ไอโซเลทเป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกในลำไส้และมีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ในการย่อย daidzein เป็น S-equol ได้ ที่อาจนำมาใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากโรคเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศได้