TITLE NAME

2563
การสร้างอิฐมวลเบาสำหรับสร้างผนังกั้นห้องจากขวดพลาสติกPET และโฟมEPSเหลือใช้
- เธียราณัฐ ปิติจะ
- ณัฐริกา พรรจาศิริ
- ธัญพิชชา สายสร
- ศิวดล กุลฤทธิกร
บุญวาทย์วิทยาลัย
ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณขยะพลาสติกและโฟมมากถึง 2.7 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 7,000 ตันต่อวัน แบ่งเป็นถุงพลาสติกร้อยละ 80 หรือประมาณ 2 ล้านตัน ส่วนที่เหลือเป็นขยะโฟมประมาณ 700,000 ตัน ใช้เวลาย่อยสลายยาวนานถึง 450 ปี ทั้งนี้ พบว่าขยะพลาสติกร้อยละ 50 ถูกกำจัดในวิธีที่ผิด ทั้งนี้ขยะพลาสติกและโฟม หากใช้วิธีฝังกลบจะใช้พื้นที่มากกว่าขยะปกติ 3 เท่า หรือเมื่อนำไปเผาทำลายจะมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลาสติกทำจากเม็ดปิโตรเลียม ทำให้มีการปนเปื้อนของสารตกค้างในดินและน้ำ ส่งผลให้เกิดแก๊สเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน โดยโฟมและพลาสติกนั้นเป็นขยะที่ยากต่อการกำจัดและส่งผลเสียต่อสุขภาพ จากการค้นคว้าพบว่าโฟม EPS และขวดพลาสติก PET สามารถหาได้ทั่วไปในบริเวณโรงเรียนและชุมชน คณะผู้จัดทำจึงได้มีความสนใจที่จะนำขวดพลาสติก PET และ โฟม EPS ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วซึ่งเป็นขยะที่ไม่ย่อยสลายหรือย่อยสลายได้ยาก มาทำการรีไซเคิล (recycle) ให้เป็นอิฐมวลเบาที่ใช้ก่อสร้างผนังกั้นห้อง เนื่องจากโฟม EPS มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง กันความร้อนและเก็บความเย็น เพื่อเพิ่มมูลค่าของขยะที่ย่อยสลายยากหรือย่อยสลายไม่ได้ และลดการใช้เชื้อเพลิงในการขนส่งอิฐมวลเบาสำหรับการก่อสร้าง ทำให้สามารถช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศและถือเป็นการลดภาวะโลกร้อนในทางอ้อมได้อีกด้วย