TITLE NAME

2562
การพัฒนาสารกั้นสีจากแป้งที่ได้จากหัวแป้งในท้องถิ่น เพื่อการพิมพ์ผ้าแบบรีซีสต์ในอุตสาหกรรมครัวเรือน
- วาสนา จันทร์เต็ม
- ณัฐภัทร วงค์เพ็ญ
- เกียรติศักดิ์ อินราษฎร
ดำรงราษฎร์สงเคราะห์
สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในการใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อความอบอุ่นแก่ร่างกาย เคหะสิ่งทอที่ใช้ในบ้านเรือนไปจนถึงการตกแต่ง การสร้างสรรค์ลวดลายให้เกิดความสวยงาม เป็นขั้น ตอนหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มมูลค่าแก่สิ่งทอและผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น การพิมพ์ การเพ้นท์สี การทำผ้ามัดย้อม การทำผ้าบาติก เป็นต้น การทำผ้ามัดย้อมและการทำผ้าบาติก เป็นการกั้นสีแบบรีซีสต์ (Resist Dyeing ) เป็นเทคนิคการพิมพ์ผ้าที่มีกรรมวิธีที่หลากหลายในการจำกัดขอบเขตเพื่อไม่ให้สีย้อมผ่านเข้าไปได้ ในการทำผ้าบาติกในประเทศไทย ในสมัยก่อนนิยมใช้ขี้ผึ้งเป็นส่วนใหญ่ และปัจจุบันได้นำขี้ผึงมาผสมพาราฟิน เพื่อใช้ทดแทนขึ้ผึ้งแท้ และปัจจุบันมีการพบว่า ควันที่ถูกปล่อยออกมาจากการเผาไหม้ของเทียนที่ทำจากพาราฟิน พบสารเคมีหลายชนิด เนื่องด้วยการเผาไหม้ของพาราฟินให้อุณหภมิไม่สูงเพียงพอที่จะเผาผลาญโมเลกุลที่เป็นอันตราย เช่น toluene และ benzene ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งจึงถูกปล่อยออกมา (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,2559 ) และต้มเทียนนานๆอาจเกิดอันตรายต่อผู้ทำได้ อีกทั้งยังเกิดยังเกิดปัญหาสิ่งปนเปื้อนและเกิดปัญหาท่อน้ำอุดตันเนื่องจากการแข็งตัวเป็นก้อนหลังจากการต้มลอกเทียนเสร็จ การพัฒนาสารกั้นสีจากแป้งที่ได้จากหัวแป้งในท้องถิ่น มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นสารกั้นสีแทนเขียนไข เพราะมีประสิทธิภาพการใช้งาน ทั้งด้านความหนืด ความคงทน ลักษณะปรากฎของเส้นลวดลาย ความสามารถในการละลายที่ดีกว่าเทียนไขในทางด้านอุตสาหกรรมครัวเรือน