TITLE NAME

2562
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของประชากรผึ้งหลวงในสภาวะความเป็นเมืองด้วยการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะละอองเรณูกับภาษาผึ้ง การติดตามด้วย RFID Tag การศึกษาโพรพอลิส การศึกษานํ้าผึ้ง การศึกษาพยาธิสภาพและการตรวจหาลำดับนิวคลีโอไทด์
- วิวรรษธร ฐิตสิริวิทย์
- ปิยภพ พาณิชผล
- ณัฐวุฒิ ไพศาลวิโรจน์รักษ์
- จุฑามาศ ยิ่งประทานพร
อัสสัมชัญ
โครงการ การศึกษาปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการลดลงของประชากรผึ้งมิ้ม (Apis florea) ในบริเวณสวน ด้วยการศึกษาละอองเรณู สารเคมีในน้ำผึ้ง และการศึกษาจุลชีพก่อโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของประชากรผึ้งในบริเวณสวน เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของดอกไม้โดยศึกษาจากลักษณะละอองเรณูที่พบ เพื่อศึกษาสารพิษที่อาจส่งผลต่อการลดลงของประชากรผึ้งมิ้มที่พบในน้ำผึ้ง โดยเปรียบเทียบกับนํ้าผึ้งจากผึ้งพันธุ์ เพื่อศึกษาจุลชีพก่อโรคที่คาดว่าจะพบได้ในไทย ที่อาจส่งผลต่อการลดลงของประชากรผึ้งในรัง โดยมีวิธีการทดลอง คือ สํารวจรอบบริเวณที่มีการพบรังผึ้ง โดยดูจากความหลากหลายของ ดอกไม้ในบริเวณนั้น บันทึกชนิดของดอกไม้ที่พบ เก็บตัวอย่าง และพิกัดจุดที่พบลงบนแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ สอบถามเกษตรกรถึงชนิดของยาฆ่าแมลงทุกชนิดที่เกษตรกรในพื้นที่ใช้ เพื่อหายาฆ่าแมลงที่มีสารประกอบกลุ่ม Neonicotinoid นํานํ้าผึ้งที่ได้เตรียมสกัดไว้ไปทําการตรวจ โดยเครื่องโครมาโตกราฟี (Gas Chromatography) นําผึ้งตัวอย่าง มาส่องดูลักษณะภายนอกด้วยกล้องจุลทรรศน์เสตอริโอเพื่อหาจุลชีพที่พบเห็นได้ภายนอก จากนั้น นําผึ้งตัวอย่างกลุ่มเดิมมาเด็ดเอาส่วน abdomen มาบดด้วยโกร่ง โดยผสมนํ้าเป็นอัตราส่วน ผึ้ง 1 ตัวต่อนํ้า 1 ml เพื่อหาสปอร์ของจุลชีพเหล่านั้น หากพบราที่มีลักษณะเป็นเส้นใย ใช้วิธีการเลี้ยงเชื้อราด้วยวุ้น PDA โดยการนําผึ้งที่ทําความสะอาดไว้ วางลงบนจานเพาะเชื้อที่มีวุ้น PDA ทําการทดลอง 2 ชุดการทดลอง ได้แก่ชุดควบคุมและชุดทดลอง ผลการทดลอง พบว่า มีละอองเรณูในผึ้งที่คาดว่าสามารถระบุชนิดได้เพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ มะพร้าว และกล้วย โดยละอองเรณูที่เหลือไม่สามารถระบุที่มาได้ ซึ่งมีจำนวนมาก ละอองเรณูในผึ้งพบถึง 6 รูปแบบแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายชีวภาพของดอกไม้ที่ผึ้งเก็บเป็นอาหาร โดยการทดลองสามารถทำให้เกิดความแม่นยำขึ้นได้โดยการใช้เทคนิคเพิ่มเติม คือ การทำความสะอาดตัวอย่างด้วยวิธี Acetolysis และใช้ข้อมูลสัณฐานเรณูวิทยามาประกอบ จากการตรวจสอบสารประกอบ Neonicotinoid ที่พบในนํ้าผึ้ง แสดงให้เห็นว่า ผึ้งที่เหลืออยู่ไม่มีการรับสาร Neonicotinoid เข้าไป ทั้งที่บริเวณสวนนั้นมีการใช้ Imidacloprid ซึ่งเป็นสาร Neonicotinoid ที่มีการใช้ในสวนอยู่ก็ตาม จึงสรุปได้ว่า ยาฆ่าแมลงประเภท Neonicotinoid ไม่ได้มีผลกระทบต่อรังผึ้งที่หลงเหลืออยู่ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงพืชที่ถูกพ่นด้วย Imidacloprid และพฤติกรรมการเลือกดอกไม้ของผึ้ง จากการศึกษาจุลชีพ ไม่มีการพบจุลชีพก่อโรคที่คาดว่าจะพบในผึ้งทั้งสองชนิด แต่เมื่อนําผึ้งมิ้มมาส่อง พบราชนิดหนึ่ง มีลักษณะสีแดง มีอับสปอร์ชัดเจน มีเส้นใยแบบมีผนังกั้น เมื่อนําผึ้งมิ้มมาเพาะเชื้อต่อ ยังไม่สามารถเพาะเชื้อราดังกล่าวได้ จากข้อผิดพลาดในการเลี้ยงเชื้อ จึงเกิดการปนเปื้อน ยังสรุปผลที่พบไม่ได้ อีกหนึ่งปัจจัยที่อาจมีผลต่อการลดลงของประชากรผึ้งมิ้มที่ทำการทดลอง คือการที่ทำการทดลองในช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงหน้าหนาวประเทศไทย จึงอาจเกิดพฤติกรรมการอพยพ หรือย้ายถิ่น ซึ่งผู้จัดทำไม่ได้นำข้อมูลส่วนนี้มาประกอบการพิจารณา เนื่องจากมีปัจจัยหลากหลายและควบคุมได้ยาก จึงควรมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป