TITLE NAME

2562
การศึกษาประสิทธิภาพเส้นใยสังเคราะห์จากกระดาษ
- ภาสิณี บุญชู
- ขวัญมนัส สวัสดี
- วสุธา บุญชู
- ทัศนียา มาตุการักษ์
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
เนื่องจากในปัจจุบันนี้ได้มีผลิตภัณฑ์มากมายที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลงไปอย่างมาก ซึ่งทรัพยากรหลักๆคือป่าไม้ ต้นไม้มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตทั้งในด้านอุปโภคและบริโภครวมไปถึงการผลิตเยื่อกระดาษเพื่อทำเป็นกระดาษชนิดต่างๆ ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำจึงนำกระดาษที่เหลือใช้ไปผลิตเป็นเส้นใยอะซิเตด เนื่องจากกระดาษประกอบด้วยเซลลูโลส 90-99% ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพ เพื่อให้ไม่เกิดเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดความสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อโลกรวมถึงภาวะเรือนกระจกอีกด้วย โดยคณะผู้จัดทำได้สกัดเซลลูโลสโดยนำกระดาษมาแช่น้ำข้ามคืนจากนั้นนำมาปั่นให้ได้เนื้อกระดาษที่ละเอียด แช่ด้วย NaOH เพื่อกำจัดหมึกออก และแช่ด้วย HCl เพื่อกำจัดลิกนินและเฮมิเซลลูโลส อบแห้งที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ในเวลา 48 ชั่วโมง นำเซลลูโลสที่ได้มาตรวจสอบโดยวิเคราะห์ปริมาณเซลลูโลสด้วยการชั่งตัวอย่างเซลลูโลส 0.125 กรัม เติมสารละลายโพแทสเซียมไดโครเมตและกรดซัลฟูริกเข้มข้น ต้มให้เดือด และปรับปริมาตรด้วยน้ำกลั่น หลังจากนั้นนำสารละลายที่ได้มาไทเทรตกับเหล็ก(II) แอมโมเนียมซัลเฟต โดยใช้เฟอโรอีนเป็นอินดิเคเตอร์ และสังเคราะห์เซลลูโลสที่ได้โดยใช้กรดอะซิติกและกรดซัลฟิวริกเพื่อให้ได้เส้นใยเซลลูโลสอะซิเตด และนำมาเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมด้วยวิธีปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิตและตรวจสอบเส้นใยโดยทดสอบความเหนียวของเส้นใยด้วยเครื่องวัดแรงดึง ความสามารถในการดูดซับน้ำ และความสามารถในการติดสีของเส้นใยสังเคราะห์ เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดจากเส้นใยเป็นผลิตภัณฑ์สื่งทอต่างๆ