TITLE NAME

2562
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาผลกระทบจากการรุกล ้าของ น ้าเค็มในแม่น ้าท่าจีนตอนล่าง
- สุเมธา ฟาง
- ลภัสรดา องค์เทียมสัคค์
- สิริรัตน์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์
มหิดลวิทยานุสรณ์
น้ำเป็นหนึ่งในทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตที่ ส้าคัญในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ โดยในประเทศไทยมีการใช้น้ำในภาคเกษตรประมาณ 90% ของ ปริมาณการใช้น ้ำทั้งประเทศ (สุจริต คูณธนกุลวงศ์ และคณะ, 2556) เเสดงให้เห็นว่าน้ำเป็นทรัพยากรสำคัญในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเเละความเป็นอยู่ของประเทศ ประเทศไทยประสบปัญหาทรัพยากรน้ำอันเนื่องมาจากปัจจัย ทางธรรมชาติ ได้เเก่ การเปลี่ยนเเปลงสภาพอากาศ (Climate change) ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำในระบบมีการผันเเปร และปัจจัยมนุษย์ ได้เเก่ การขยายตัวของเมืองเเละกิจกรรมของมนุษย์ ปัจจัยท้ังสองดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงคุณสมบัติทางกายภาพเเละเคมีของน้ำ โดยปัญหาทรัพยากร น้ำ(Water availability) สามารถเเบ่งได้ เป็นสองประเภท ได้เเก่ เชิงคุณภาพเเละเชิงปริมาณซึ่งมีความสัมพันธ์ในลักษณะภูมิลักษณ์ที่ต่างกัน การศึกษาถึง พฤติกรรมของน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการน ้าให้มีปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอกับความต้องการนั้น จำเป็นจะต้องศึกษา ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านกายภาพและคุณภาพของน้ำ การวิเคราะห์ดังกล่าวสามารถใช้ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติ เช่น ข้อมูลทาง อุทกวิทยา (Meteorological data) และตัวแปรคุณภาพ น้ำ (Water quality variables) จากนั้นนำมาวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงพื้นที่เเละเวลา (Spatial and temporal analysis) อีกทั งสามารถอภิปรายข้อมูลเชิงภาพได้อย่างดี ดังนั้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จึงเป็นเครื่องมือส้าคัญในการวิเคราะห์และการวางแผนแก้ไขปัญหาการ บริหารจัดการน ้าเบื องต้นได้ ในการศึกษานี มุ่งเน้นการวิเคราะห์ปัญหาคุณภาพน ้าในเเม่น้ำท่าจีนตอนล่าง โดยศึกษาปัจจัยของปัญหา การรุกล้ำของน้ำเค็มจากบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสถิติของตัวเเปรทางกายภาพ น้าเสนอ ผลการวิเคราะห์การคาดการณ์การรุก ล้ำของน ้าเค็มเป็นเเผนที่หรือข้อมูลเชิงภาพ จากความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอเเนวทางเเก้ไขหรือเป็นข้อมูลในการวางเเผนการบริหารทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน ตอนล่างต่อไป