TITLE NAME

2562
วัสดุคลุมแปลงผักจากกระดาษเคลือบยางพารา
- ชนิกานต์ กุลท้วม
- นันทนัท ชุ่มใจ
- ชลฎา การัตน์
- พิพัฒน์ เชื้อเมืองพาน
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้พลาสติกในการคลุมแปลงผัก เนื่องจากพลาสติกสีดำเมื่อมีอายุการใช้งานมากขึ้นจะเกิดการฉีกขาดหรือชำรุดจนไม่สามารถนำมาใช้งานได้และกลายเป็นขยะพลาสติกก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยโครงงานนี้แบ่งเป็น 3 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 การทำวัสดุคลุมแปลงผักจากกระดาษเคลือบยางพารา โดยนำกระดาษที่ไม่ใช้แล้วมาเคลือบยางพาราโดยใช้อัตราส่วนน้ำยางพาราต่อน้ำเป็น 2:1, 1:1 และ 1:2 แล้วทิ้งไว้ให้แห้งในระยะเวลา 1 คืน การทดลองที่ 2 ศึกษาคุณสมบัติของกระดาษเคลือบยางพาราด้านการย่อยสลาย โดยนำกระดาษเคลือบยางพาราทั้ง 3 อัตราส่วน ใส่ขวดโหลที่มีดินลึก 15 เซนติเมตร ฝังกระดาษเคลือบยางพาราและพลาสติกสีดำในขวดโหลลึกวัดจากผิวดินในโหลมา ½ ของดินทั้งหมด เป็นเวลา 21 วัน การทดลองที่ 3 การเก็บข้อมูลการขึ้นของวัชพืชและวัดความชื้นในดินของกระดาษเคลือบยางพาราในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 2:1 กับพลาสติกสีดำ พบว่ากระดาษเคลือบยางพาราในอัตราส่วนน้ำยางพาราต่อน้ำ 1:1 มีลักษณะเป็นยางที่จับตัวกันเป็นแผ่นเยื่อกระดาษเป็นขุยสามารถยืดตัวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร กระดาษเคลือบยางพาราในอัตราส่วนน้ำยางพาราต่อน้ำ 1:2 มีลักษณะเหลือเพียงยางเคลือบภายนอก กระดาษภายในย่อยสลายหมด ยางมีความยึดกันได้มาก กระดาษเคลือบยางพาราในอัตราส่วนน้ำยางพาราต่อน้ำ 2:1 ยางพาราที่เคลือบกระดาษสามารถยืดหยุ่นได้ประมาณ 2 เซนติเมตร แผ่นยางเกาะกันแน่นกระดาษที่ถูกเคลือบภายในเป็นขุย พลาสติกสีดำไม่มีการย่อยสลายสภาพเนื้อพลาสติกคงเดิม และพบว่าพลาสติกสีดำมีวัชพืชขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือ กระดาษเคลือบยางพาราที่อัตราส่วนน้ำยางพาราต่อน้ำเป็น 1:1, 2:1 และ 1:2 ตามลำดับ ความชื้นในดินเฉลี่ยของแปลงที่คลุมด้วยกระดาษเคลือบยางพาราในอัตราส่วน 1:1 มีปริมาณความชื้นมากที่สุดรองลงมาคือพลาสติกสีดำ กระดาษเคลือบยางพาราในอัตราส่วน 1:2 และกระดาษเคลือบยางพาราในอัตราส่วน 2:1 ตามลำดับ โครงงานนี้เป็นการนำกระดาษที่ไม่ใช้แล้วมาเคลือบยางพาราเพื่อให้สามารถนำมาใช้คลุมแปลงผักแทนการใช้พลาสติกสีดำ และสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่น้ำยางพาราที่ตกต่ำในช่วงนี้ได้