TITLE NAME
2561
การพัฒนาน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ ของสารสกัดใบฝรั่งเพื่อการยับยังเชื้อ Steptrococus mutane และ Candida Albicans
- ปรีชญาพร ไชยอ้าย
- สวิชญา เวียงเงิน
- ณิชา พูลโภคะ
- สวิชญา เวียงเงิน
- ณิชา พูลโภคะ
- ปิยะ ไชยอ้าย
- สุพร จารุมณี
- สุพร จารุมณี
มงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม
บทคัดย่อ
โครงงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ผสมสารสกัดใบฝรั่งเพื่อยับยั้งเชื้อStreptococcus mutans และ Candida albicansโดยมีสารสกัดจากใบฝรั่ง เป็นส่วนประกอบซึ่งเป็นการนำพืชท้องถิ่นในประเทศไทย คือ ใบฝรั่งดิบมาสกัดด้วย 95% ethanol แล้วนำสารสกัดจากใบฝรั่งดิบที่ได้มาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ Streptococcus mutans และเชื้อรา Candida albicans ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในช่องปาก ผลปรากฏว่าสารสกัดจากใบฝรั่งดิบมีความสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. mutans และเชื้อรา C. albicans ได้โดยมีค่าความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) เท่ากับ 0.030 mg/ml และ 0.013 mg/ml ตามลำดับจากนั้นได้นำสารสกัดจากใบฝรั่งไปทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุผิวเหงือกด้วยวิธี alamar blue ด้วยตัวทำละลาย (DMSO) พบว่าสารสกัดจากใบฝรั่งที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1 mg/ml เป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุผิวเหงือกเมื่อสัมผัสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง คือเซลล์ตายเกือบหมด ,ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5 mg/ml ความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุผิวเหงือก เซลล์มีชีวิตอยู่ 50 % ,ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.2 mg/ml หรือต่ำกว่า ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ คือเซลล์ยังมีชีวิตคงเหลือเท่ากับ DMSO Solvent control ต่อมาได้นำสารสกัดจากใบฝรั่งทำตำรับผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่โดยตำรับที่ 1 ไม่แต่งกลิ่นและไม่ผสมสารสกัด ตำรับที่ 2 ผสมของสารสกัดจากใบฝรั่ง 10 เท่าของ MIC, ตำรับที่ 3 ผสมของสารสกัดจากใบฝรั่ง 15 เท่าของ MIC, ตำรับที่ 4 ผสมของสารสกัดจากใบฝรั่ง 20 เท่าของ MIC ทั้ง 4 ตำรับถูกนำมาศึกษาผลการทดสอบฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์และลักษณะทางกายภาพ พบว่ามีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ดังนี้ ตำรับที่ไม่มีการแต่งกลิ่นและไม่ผสมสารสกัดสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ S. mutans และ C. albicans โดยมีค่าเฉลี่ย clear zone อยู่ที่ 5±0.08 และ 6±0.06 ส่วนตำรับที่ผสมสารสกัดจากใบฝรั่งที่ความเข้มข้น 10, 15 และ 20 เท่าของ MIC มีค่าเฉลี่ยของ clear zone ที่สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ S. mutans ที่ 21±0.03 , 26±0.07 และ 27±0.12 ตามลำดับ และ สามารถยับยั้งเชื้อ C. albicans ที่ 21±0.04 , 27±0.06 และ 28±0.11 ลักษณะทางกายภาพของตำรับน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ ตำรับที่ 1 มีสีขาว,มีกลิ่นของเนื้อน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่,มีความเป็นเนื้อเดียวกันตำรับที่ 2 และ ตำรับที่ 3 มีสีเขียวอ่อนมีกลิ่นของสารสกัดจากใบฝรั่งเล็กน้อย มีความเป็นเนื้อเดียว ตำรับที่ 4 มีสีเขียวเข้มมีกลิ่นของสารสกัดจากใบฝรั่งชัดเจนมีของเหลวแยกออกจากเนื้อน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่เล็กน้อย ทั้ง 4 ตำรับมีความเป็น กรด-ด่าง ประมาณ 7.0 จากนั้นได้นำน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ผสมสารสกัดจากใบฝรั่งไปเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่พืชสมุนไพร 3 ชนิดในท้องตลาดพบว่าน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ผสมสารสกัดจากใบฝรั่ง สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ S. mutans ได้ดีกว่าน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ทั้งสามชนิดในท้องตลาด ส่วนการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ C. albicans น้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ผสมสารสกัดจากใบฝรั่งสามารถยับยั้งเชื้อได้ใกล้เคียงกันสรุปได้ว่า สารสกัดจากใบฝรั่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ได้และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่สมุนไพรในท้องตลาดไม่เป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุช่องปากถ้าใช้ความเข้มข้นที่เหมาะสมและสัมผัสในเวลาไม่นานมากและมีความเป็นไปได้ที่จะนำโครงงานนี้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมต่อไป
บทคัดย่อ
โครงงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ผสมสารสกัดใบฝรั่งเพื่อยับยั้งเชื้อStreptococcus mutans และ Candida albicansโดยมีสารสกัดจากใบฝรั่ง เป็นส่วนประกอบซึ่งเป็นการนำพืชท้องถิ่นในประเทศไทย คือ ใบฝรั่งดิบมาสกัดด้วย 95% ethanol แล้วนำสารสกัดจากใบฝรั่งดิบที่ได้มาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ Streptococcus mutans และเชื้อรา Candida albicans ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในช่องปาก ผลปรากฏว่าสารสกัดจากใบฝรั่งดิบมีความสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. mutans และเชื้อรา C. albicans ได้โดยมีค่าความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) เท่ากับ 0.030 mg/ml และ 0.013 mg/ml ตามลำดับจากนั้นได้นำสารสกัดจากใบฝรั่งไปทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุผิวเหงือกด้วยวิธี alamar blue ด้วยตัวทำละลาย (DMSO) พบว่าสารสกัดจากใบฝรั่งที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1 mg/ml เป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุผิวเหงือกเมื่อสัมผัสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง คือเซลล์ตายเกือบหมด ,ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5 mg/ml ความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุผิวเหงือก เซลล์มีชีวิตอยู่ 50 % ,ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.2 mg/ml หรือต่ำกว่า ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ คือเซลล์ยังมีชีวิตคงเหลือเท่ากับ DMSO Solvent control ต่อมาได้นำสารสกัดจากใบฝรั่งทำตำรับผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่โดยตำรับที่ 1 ไม่แต่งกลิ่นและไม่ผสมสารสกัด ตำรับที่ 2 ผสมของสารสกัดจากใบฝรั่ง 10 เท่าของ MIC, ตำรับที่ 3 ผสมของสารสกัดจากใบฝรั่ง 15 เท่าของ MIC, ตำรับที่ 4 ผสมของสารสกัดจากใบฝรั่ง 20 เท่าของ MIC ทั้ง 4 ตำรับถูกนำมาศึกษาผลการทดสอบฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์และลักษณะทางกายภาพ พบว่ามีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ดังนี้ ตำรับที่ไม่มีการแต่งกลิ่นและไม่ผสมสารสกัดสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ S. mutans และ C. albicans โดยมีค่าเฉลี่ย clear zone อยู่ที่ 5±0.08 และ 6±0.06 ส่วนตำรับที่ผสมสารสกัดจากใบฝรั่งที่ความเข้มข้น 10, 15 และ 20 เท่าของ MIC มีค่าเฉลี่ยของ clear zone ที่สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ S. mutans ที่ 21±0.03 , 26±0.07 และ 27±0.12 ตามลำดับ และ สามารถยับยั้งเชื้อ C. albicans ที่ 21±0.04 , 27±0.06 และ 28±0.11 ลักษณะทางกายภาพของตำรับน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ ตำรับที่ 1 มีสีขาว,มีกลิ่นของเนื้อน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่,มีความเป็นเนื้อเดียวกันตำรับที่ 2 และ ตำรับที่ 3 มีสีเขียวอ่อนมีกลิ่นของสารสกัดจากใบฝรั่งเล็กน้อย มีความเป็นเนื้อเดียว ตำรับที่ 4 มีสีเขียวเข้มมีกลิ่นของสารสกัดจากใบฝรั่งชัดเจนมีของเหลวแยกออกจากเนื้อน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่เล็กน้อย ทั้ง 4 ตำรับมีความเป็น กรด-ด่าง ประมาณ 7.0 จากนั้นได้นำน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ผสมสารสกัดจากใบฝรั่งไปเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่พืชสมุนไพร 3 ชนิดในท้องตลาดพบว่าน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ผสมสารสกัดจากใบฝรั่ง สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ S. mutans ได้ดีกว่าน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ทั้งสามชนิดในท้องตลาด ส่วนการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ C. albicans น้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ผสมสารสกัดจากใบฝรั่งสามารถยับยั้งเชื้อได้ใกล้เคียงกันสรุปได้ว่า สารสกัดจากใบฝรั่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่ได้และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปากชนิดผงฟู่สมุนไพรในท้องตลาดไม่เป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุช่องปากถ้าใช้ความเข้มข้นที่เหมาะสมและสัมผัสในเวลาไม่นานมากและมีความเป็นไปได้ที่จะนำโครงงานนี้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมต่อไป