TITLE NAME
2561
ภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากชานอ้อย
- สราวุฒิ กล่อมกระโทก
- ณัฐวดี นามวงค์
- ณัฐวดี นามวงค์
- รัชนี อินทหอม
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
โครงงานนี้มุ่งเน้นคิดค้นเกี่ยวกับการผลิตภาชนะจากแหล่งวัตถุดิบที่สามารถปลูกทดแทนใหม่ได้ โดยเป็นโครงงานเชิงทดลองซึ่งจะเลือกใช้ชานอ้อยที่สามารถหาได้ง่ายตามท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเส้นใย และใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน ด้วยอัตราส่วนระหว่างเส้นใยชานอ้อยต่อตัวประสานเท่ากับ 66.67 : 33.33 75 : 25 และ 100 : 0 โดยน้ำหนัก กำหนดให้ความยาวของเส้นใยที่ใช้ในการศึกษามีสามขนาด คือ 2 มิลลิเมตร 5 มิลลิเมตร และ 10 มิลลิเมตร การขึ้นรูปใช้วิธีการอัดขึ้นรูปร้อน (Hot compression process) ที่อุณหภูมิ 150ºC ความดัน 500 psi และใช้เวลาในการอัด 15 นาที จากนั้นจึงนำไปศึกษาอิทธิพลของความยาวเส้นใย ที่ส่งผลกระทบต่อ คุณสมบัติทางกลและทางกายภาพของภาชนะ เพื่อจะได้อัตราส่วนของวัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับ นำไปใช้ในการผลิตภาชนะ