TITLE NAME
2561
กำหมุนแยกสาร
- ธวัชรพรรณ ยามี
- เทวราช วงศ์หาญ
- พชร วัฒนะนุกูล
- เทวราช วงศ์หาญ
- พชร วัฒนะนุกูล
- แววดาว รู้เพียร
- อาทิตย์ พงศ์สุพัฒน์
- อาทิตย์ พงศ์สุพัฒน์
บุญวาทย์วิทยาลัย
เครื่องหมุนเหวี่ยงพลังงานมือจากแนวคิดของเล่นพื้นบ้านไทย “กำหมุน” นั้นเกิดขึ้นมาจากการที่คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชนชนบทในเขตทุรกันดารซึ่งไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงนั้น เป็นไปได้อย่างยากลำบากหากชาวบ้านในชุมชนนั้นมีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากไวรัสในกระแสเลือด แพทย์จะไม่สามารถตรวจพบ หรือรักษาได้ทันท่วงที เนื่องจากไม่มีเครื่องหมุนเหวี่ยงในการแยกชั้นของเลือดเพื่อตรวจ เนื่องจากเครื่องหมุนเหวี่ยงนั้นมีราคาที่สูง และต้องใช้ไฟฟ้าทำให้ชาวบ้านจะต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการลงมาตรวจโรคในเมือง เพราะในชุมชนชนบทนั้น ไม่สามารถจัดหาเครื่องหมุนเหวี่ยงมาไว้ได้ จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้จัดทำ จึงเกิดแนวคิดในการที่จะสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ที่มีประสิทธิภาพการใช้งานแบบเดียวกับเครื่องหมุนเหวี่ยง คณะผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นถึงการทำงานของ “กำหมุน” ของเล่นพื้นบ้านไทย ซึ่งมีหลักการทำงานแบบเดียวกับเครื่องหมุนเหวี่ยง ทำให้สามารถหมุนได้อย่างต่อเนื่อง คณะผู้จัดทำ จึงได้มีแนวคิดที่จะประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ที่มีการสร้างแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางจากการหมุน โดยการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือหมุนเหวี่ยงที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาทำได้โดยเทียบจากค่าการทะลุผ่านของในสาร KI และ Pb(NO3)2 ที่เป็นสารอนินทรีย์ ได้ประสิทธิภาพร้อยละ 99.89 และทดสอบกับน้ำแป้ง ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ ได้ประสิทธิ์ภาพร้อยละ 99.25 ดังนั้น สิ่งประดิษฐ์ที่ได้ทำการประดิษฐ์ขึ้นนั้น จึงมีความสามารถแยกสารอินทรีย์และอนินทรีย์ได้ในประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องหมุนเหวี่ยงทั่วไป สามารถเทียบค่า RCF อยู่ที่ 605 x g ซึ่งมีค่าน้อยกว่าเครื่องปั่นเหวี่ยงทั่วไปที่มีความเร็วรอบเท่ากัน แต่สามารถมีประสิทธิภาพในการตกตะกอนสารอินทรีย์ได้ใกล้เคียงกัน ทำให้ในการพัฒนาครั้งต่อไป คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะแยกเลือด ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ ให้ตกตะกอนจนแยกซีรัมได้ เพื่อทำตามจุดประสงค์ข้างต้นต่อไป