30 มีนาคม 2566

CCUS : การดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน

"การขับเคลื่อน CCUS เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน"

วิทยากร
  • ดร. พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์
  • คุณนารีรัตน์ พันธุ์มณี
  • ดร.วรรณี ฉินศิริกุล
  • คุณนที สิทธิประศาสน์
  • ดร. บวรศักดิ์ วาณิชย์กุล

CCUS : การดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน

ท่ามกลางสถานการณ์ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประเทศไทยได้มี
การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ในการลดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593 และแผนที่นำทาง
การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 ซึ่งเป็นกลไกเชิงนโยบายในการดำเนินงาน
เพื่อให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามที่กำหนดไว้ นอกจากนี้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ได้ระบุถึงการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ขั้นสูง เพื่อช่วยดักจับก๊าซ CO2 และนำกลับมาใช้ประโยชน์ รวมถึงนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล ซึ่งได้ระบุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเน้นการนำ วทน. ไปใช้ขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตลอดจน (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 ก็กำหนดกลยุทธ์ภายใต้หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บก๊าซ CO2 ในภาคพลังงานและภาคอุตสาหกรรม 

จากแผนนโยบายของทุกภาคส่วนเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แต่ยังขาดส่วนที่เป็นแผนที่นำทางเทคโนโลยี ซึ่งจะฉายภาพเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน เพื่อนำทางประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จึงได้มอบหมายให้ศูนย์นาโนเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับพันธมิตรและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน เพื่อวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาเทคโนโลยี Carbon Capture Utilization and Storage: CCUS แนวโน้มเทคโนโลยี ข้อมูลการตลาด รวมถึงความต้องการของภาคพลังงานและอุตสาหกรรม ตลอดจนวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) และเทคโนโลยีการดักจับและใช้ประโยชน์คาร์บอน (Carbon Capture and Utilization: CCU) ของโลกและประเทศไทย เพื่อจัดลำดับความสำคัญ Key Technology ของ CCUS พร้อมทั้งเสนอประเด็นสำคัญเชิงนโยบาย เป้าหมาย ทิศทาง แนวทางวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี CCUS และกรอบเวลาในการแก้ไขปัญหาประเด็นท้าทายที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และสนับสนุนเป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และมีความเป็นไปได้
ในการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรม กำลังคน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และอื่นๆ 

ในการสัมมนานี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับทราบภาพรวม ทิศทาง นโยบายของประเทศไทย
ด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมารับมือและแก้ไขปัญหาโลกร้อน และทราบถึงทิศทาง นโยบายการดำเนินการของภาคเอกชนที่ไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน นอกจากนี้จะได้ทราบถึงโครงการการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน เพื่อนำทางประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (CCUS TRM) ที่ สกสว. ให้การสนับสนุนอีกด้วย

กำหนดการสัมมนา

13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 13.40 น. กล่าวเปิดการเสวนา
13.40 – 15.00 น.
  1. บทบาทของ สกสว. ต่อการรับมือและแก้ไขปัญหาโลกร้อน
    โดย ดร. พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์, ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน บพข. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
  2. นโยบายการจัดการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
    โดย คุณนารีรัตน์ พันธุ์มณี, ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  3. 3. การจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี CCUS (CCUS TRM) ของประเทศไทย
    โดย ดร. วรรณี ฉินศิริกุล, ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
  4. นโยบาย Net Zero เพื่อสร้างโอกาสให้ภาคอุตสาหกรรม
    คุณนที สิทธิประศาสน์, กรรมการและเลขานุการสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5. CCUS คำตอบของการเดินทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” 
    โดย ดร. บวรศักดิ์ วาณิชย์กุล, บริษัท  เอ็กซอนโมบิล จำกัด
15:00 – 16:00 น. เสวนา CCUS : การดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน
“การขับเคลื่อน CCUS เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” และตอบข้อซักถาม 
16:00 น. มอบของที่ระลึก และ ถ่ายภาพร่วมกัน

VDO สัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์
ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน บพข. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
คุณนารีรัตน์ พันธุ์มณี
ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ดร.วรรณี ฉินศิริกุล
ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
คุณนที สิทธิประศาสน์
กรรมการและเลขานุการสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ดร. บวรศักดิ์ วาณิชย์กุล
บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด
Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ