KidBright – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Wed, 24 Mar 2021 02:58:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 ../../wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png KidBright – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 KidBright AI Platform http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/na23-kidbright-ai-platform/ Sat, 20 Mar 2021 07:05:42 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17655 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) แพลตฟอร์มสื่อการเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ผ่านการสร้างชุดคําสั่งแบบบล็อก (Blockly Programming) และสามารถเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุต เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ จุดเด่นของผลงาน สอนกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ตั้งแต่การเก็บข้อมูล การติดป้ายกํากับ การสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้งานบนอุปกรณ์เดียว รองรับการเชื่อมต่อจากเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุตผ่าน Robot Operation System (ROS) สร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้ทั้งของข้อมูลภาพและเสียง สามารถทํางานได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์ หรือบนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เปิด Open Source ให้นําไปใช้งานเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา สังคมและเชิงพาณิชย์ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ เริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ผ่าน KidBright AI IDE Web version 1.0 ที่ www.kid-bright.org/ai/downloads ติดต่อสอบถาม ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ […]

The post KidBright AI Platform appeared first on NAC2021.

]]>

KidBright AI Platform

KidBright AI Platform

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        แพลตฟอร์มสื่อการเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ผ่านการสร้างชุดคําสั่งแบบบล็อก (Blockly Programming) และสามารถเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุต เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์

จุดเด่นของผลงาน

  • สอนกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ตั้งแต่การเก็บข้อมูล การติดป้ายกํากับ การสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้งานบนอุปกรณ์เดียว
  • รองรับการเชื่อมต่อจากเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุตผ่าน Robot Operation System (ROS)
  • สร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้ทั้งของข้อมูลภาพและเสียง
  • สามารถทํางานได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์ หรือบนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์
  • เปิด Open Source ให้นําไปใช้งานเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา สังคมและเชิงพาณิชย์

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์

เริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง

        เรียนรู้ผ่าน KidBright AI IDE Web version 1.0 ที่ www.kid-bright.org/ai/downloads

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT)
กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post KidBright AI Platform appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมสื่อการสอนด้วย KidBright http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/na15-kidbright-learning-innovation/ Wed, 17 Mar 2021 02:29:09 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15214 การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี         การจัดอบรมครูทั้ง 12 ท่าน จาก 10 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ โรงเรียนวัดตะวันเรือง โรงเรียนจารุศรบำรุง โรงเรียนวัดกลางคลองสาม โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๙ (คลองหลวง) โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง โรงเรียนคลองบางโพธิ์ โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บํารุง โรงเรียนวัดสองพี่น้อง และโรงเรียนวัดฉาง เริ่มต้นจากช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ โครงการ “การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี” และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จึงริเริ่มโครงการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อนำร่องการจัดการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติการด้าน Coding แบบ Online โดยมีวิศวกรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นวิทยากร ระยะเวลาอบรมแบบ Online ทั้งหมด 26 ชั่วโมง       […]

The post นวัตกรรมสื่อการสอนด้วย KidBright appeared first on NAC2021.

]]>

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

        การจัดอบรมครูทั้ง 12 ท่าน จาก 10 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ โรงเรียนวัดตะวันเรือง โรงเรียนจารุศรบำรุง โรงเรียนวัดกลางคลองสาม โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๙ (คลองหลวง) โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง โรงเรียนคลองบางโพธิ์ โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บํารุง โรงเรียนวัดสองพี่น้อง และโรงเรียนวัดฉาง เริ่มต้นจากช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ โครงการ “การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี” และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จึงริเริ่มโครงการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อนำร่องการจัดการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติการด้าน Coding แบบ Online โดยมีวิศวกรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นวิทยากร ระยะเวลาอบรมแบบ Online ทั้งหมด 26 ชั่วโมง

        เมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) คลี่คลายขึ้น ทางโครงการฯ จึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแบบ Offline ขึ้น ณ โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม หรือ Fabrication Laboratory ของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร เมื่อวันที่ 14 – 16 สิงหาคม 2563 คุณครูต้นแบบทั้ง 12 ท่าน และทีมวิศวกรจาก NECTEC มาร่วมระดมสมองและสร้างสรรค์ผลงานสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนขึ้น และสื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนจริงในชั้นเรียน

      ต้นแบบนวัตกรรมที่มีการเชื่อมโยง AI ในการจัดการเรียนการสอน Coding โดยครูต้นแบบ ดังตาราง และสามารถอ่านรายละเอียดสื่อการสอน 12 ผลงาน ได้ที่ http://bit.ly/3bS8kOx

ตารางแสดงรายละเอียดสื่อการสอน 12 ชิ้นงาน

การวัดอุณหภูมิ

โดย นางสาวอมรรัตน์ แสงมิ
โรงเรียนวัดตะวันเรือง

ภูมิใจภาษาไทยของเรา

โดย นางสาวอรอนงค์ ครองพงษ์
โรงเรียนจารุศรบำรุง

สิ่งมีชีวิตและชีวิตของพืช

โดย นางสาวศศินันท์ หรุ่นบุญลือ
โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์)

วงล้อหรรษาพาหนูจดจำผังงาน

โดย นางสาวขวัญแก้ว นุ่มปั่น
โรงเรียนคลองบางโพธิ์

เกมเรียงลำดับอัลกอริทึม ด้วย KidBright-GoGo Bright

โดย นางสาวประภาศรี เที่ยงธรรม
โรงเรียนวัดกลางคลองสาม

Genius Matching Board

โดย นางสาวกรกนก คานนิม
โรงเรียนจารุศรบำรุง

กระดานสื่อ (อุปกรณ์คอมพิวเตอร์)

โดย นายอภิชาติ เมืองคำ
โรงเรียนวัดสองพี่น้อง

Science and Coding Box

โดยนางสาวจิราพร จำปาเทศ
โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์)

กระดาน 24 หรรษาพาคิด

โดย นางสาวบุญชนก ศิลทอง
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 (คลองหลวง)

อัลกอริทึม (โฟลว์ชาร์ต) น่ารู้

โดย ว่าที่ร้อยตรีสันติสุข ช่างเย็น
โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บํารุง

Coding Board

โดย นางสาวอัจฉริยา สุรวรเชษฐ
โรงเรียนวัดฉาง

ปริศนาจับคู่ อัลกอริทึม

โดย นายวรนารถ แสงนคร
โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง

ติดต่อสอบถาม

วสุ ทัพพะรังสี (หัวหน้าโครงการ)

The post นวัตกรรมสื่อการสอนด้วย KidBright appeared first on NAC2021.

]]>
UtuNoi อุตุน้อย Playground http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na24-utunoi/ Tue, 16 Mar 2021 15:45:53 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15093 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล บนพื้นฐานของข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยที่กระจายอยู่ตามโรงเรียนทั่วประเทศและมีปริมาณมหาศาล โดยอ้างอิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่กำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณ ของ สสวท. อีกทั้ง สนับสนุนการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป จุดเด่นของผลงาน เชื่อมต่อเซนเซอร์ตรวจวัดข้อมูลสภาพอากาศ กับบอร์ด KidBright รองรับการใช้งานข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยทั่วประเทศ และมีปริมาณมหาศาล ติดตามข้อมูลสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ บนพื้นฐานของพิกัดปัจจุบัน สถานีอุตุน้อยที่สนใจและทั่วประเทศ สำรวจข้อมูลสภาพอากาศ ในรูปตาราง กราฟ และแผนที่ ตามสถานีอุตุน้อย ช่วงเวลา และเวลาในการสุ่มข้อมูลที่สนใจ สร้างโมเดลการพยากรณ์ข้อมูลสภาพอากาศ (อยู่ในระหว่างการพัฒนา) กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล การติดตั้งสถานีอุตุน้อย 407 สถานี ใน 67 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.พ. 2564) ติดต่อสอบถาม ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (DSS) กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ […]

The post UtuNoi อุตุน้อย Playground appeared first on NAC2021.

]]>

UtuNoi อุตุน้อย Playground

UtuNoi อุตุน้อย Playground

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล บนพื้นฐานของข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยที่กระจายอยู่ตามโรงเรียนทั่วประเทศและมีปริมาณมหาศาล โดยอ้างอิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่กำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณ ของ สสวท. อีกทั้ง สนับสนุนการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป

จุดเด่นของผลงาน

  • เชื่อมต่อเซนเซอร์ตรวจวัดข้อมูลสภาพอากาศ กับบอร์ด KidBright
  • รองรับการใช้งานข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยทั่วประเทศ และมีปริมาณมหาศาล
  • ติดตามข้อมูลสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ บนพื้นฐานของพิกัดปัจจุบัน สถานีอุตุน้อยที่สนใจและทั่วประเทศ
  • สำรวจข้อมูลสภาพอากาศ ในรูปตาราง กราฟ และแผนที่ ตามสถานีอุตุน้อย ช่วงเวลา และเวลาในการสุ่มข้อมูลที่สนใจ
  • สร้างโมเดลการพยากรณ์ข้อมูลสภาพอากาศ (อยู่ในระหว่างการพัฒนา)

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล
na24-utunoik-04
na24-utunoik-05

การติดตั้งสถานีอุตุน้อย

        407 สถานี ใน 67 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.พ. 2564)

na24-utunoik-03

ติดต่อสอบถาม

ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์
ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (DSS)
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post UtuNoi อุตุน้อย Playground appeared first on NAC2021.

]]>
KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na21-kidbright-kanomchan/ Tue, 16 Mar 2021 09:32:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14823 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) KidBright Virtual สำหรับบอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE บนคอมพิวเตอร์ โดย KidBright มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดเชิงตรรกะ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีด้วยตนเองในอนาคต เนื่องจากการเข้าถึงการใช้งานตัวบอร์ดจริง อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จัดหาอุปกรณ์จริงมาใช้ หรือการจัดหาอุปกรณ์จริงอาจจะมีความยุ่งยากในบางประการ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของบอร์ด KidBright ได้มากที่สุด จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบอร์ด KidBright แบบเสมือนจริง (KidBright Virtual: KV) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต และสามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่สนใจก็สามารถใช้งานบอร์ด KidBright ได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง หุ่นยนต์ขนมชั้น Virtual Kanomchan (VK) Virtual Kanomchan หุ่นยนต์ “ขนมชั้น” คือหุ่นยนต์สอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ที่ต่อยอดมาจากบอร์ด KidBright โดยมีการติดตั้งกล้อง […]

The post KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan appeared first on NAC2021.

]]>

KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan

KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

KidBright Virtual

       สำหรับบอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE บนคอมพิวเตอร์ โดย KidBright มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดเชิงตรรกะ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีด้วยตนเองในอนาคต เนื่องจากการเข้าถึงการใช้งานตัวบอร์ดจริง อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จัดหาอุปกรณ์จริงมาใช้ หรือการจัดหาอุปกรณ์จริงอาจจะมีความยุ่งยากในบางประการ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของบอร์ด KidBright ได้มากที่สุด จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบอร์ด KidBright แบบเสมือนจริง (KidBright Virtual: KV) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต และสามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่สนใจก็สามารถใช้งานบอร์ด KidBright ได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง

หุ่นยนต์ขนมชั้น

Virtual Kanomchan (VK)

Virtual Kanomchan

        หุ่นยนต์ขนมชั้น คือหุ่นยนต์สอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ที่ต่อยอดมาจากบอร์ด KidBright โดยมีการติดตั้งกล้อง ล้อ ลำโพง ไมโครโฟน รวมถึงเซ็นเซอร์ต่างๆได้ และซ้อนบอร์ดวงจรขึ้นเป็นชั้น และเพื่อให้การเรียนรู้ด้าน AI ด้วย KidBright AI ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น แม้จะไม่มีหุ่นยนต์ขนมชั้นตัวจริง จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ขนมชั้นเสมือนจริง (Virtual Kanomchan: VK) ซึ่งเป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ฝึกเขียนโปรแกรมด้าน AI เช่น การโปรแกรมให้ระบบหุ่นยนต์จดจำภาพวัตถุที่ต้องการ เพื่อนำการจดจำวัตถุดังกล่าว ไปใช้งานต่างๆ เช่น การเดินตามวัตถุที่จดจำได้ เป็นต้น โดยการใช้งานโปรแกรมนี้ ผู้ใช้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการของการนำเทคโนโยลีด้าน AI มาประกอบเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่ต้องการ ตั้งแต่การเก็บข้อมูล จัดแต่งข้อมูล การ Train ข้อมูลเพื่อสร้าง Model และการนำ Model ไปใช้งาน

Virtual Kanomchan

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        KidBright Virtual: สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานบอร์ด KidBright ได้เหมือนการใช้งานบอร์ดจริง สามารถทดลองโปรแกรมผ่านอุปกรณ์เสมือนจริงที่มีอยู่โปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองใช้งานบอร์ดจริง และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

        Virtual Kanomchan: สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานหุ่นยนต์ขนมชั้น KidBright AI ได้เหมือนการใช้งานหุ่นยนต์จริง สามารถทดลองโปรแกรมการ Train Model ในรูปแบบต่างๆที่มีอยู่โปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีด้าน AI และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบหุ่นยนต์

การศึกษา

การทดสอบ/วิจัย

ลดความผิดพลาด
เสียหายต่ออุปกรณ์

ประหยัดต้นทุน

KidBright Virtual Demo

ติดต่อสอบถาม

วินัย ชนปรมัตถ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan appeared first on NAC2021.

]]>
MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na11-mueye-robokid/ Fri, 12 Mar 2021 14:19:45 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13411 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อัชฌา กอบวิทยา ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT) กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการศึกษารายละเอียดของสิ่งของเล็กๆ มีประโยชน์ทั้งในวงการการศึกษาและอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การดูสิ่งสิ่งมีชีวิต/วัตถุขนาดเล็กในวิชาวิทยาศาสตร์ ใช้ในการตรวจความบกพร่องของชิ้นงาน รอยแตกขนาดเล็ก หรือสิ่งปลอมปนต่างๆ แต่กล้องจุลทรรศน์ส่วนใหญ่ ต้องติดกล้องถ่ายภาพเพิ่ม ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น มิวอายโรโบคิด (MuEye ROBOKid) เป็นกล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็กที่ประยุกต์มาจากเลนส์มิวอายแบบเดิมที่ทำจากเลนส์พอลิเมอร์ ใช้ติดกับกล้องถ่ายภาพพกพาอย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน และใช้งานเป็นกล้องจุลทรรศน์พกพา มิวอายโรโบคิดสามารถแสดงภาพผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถปรับระยะโฟกัส หรือเลื่อนตำแหน่งของวัตถุตัวอย่างได้โดยสั่งการผ่านบอร์ด KidBright ทำให้การใช้งานกล้องจุลทรรศน์มีความสะดวกและสนุกมากขึ้น คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี มีฟังก์ชั่นเลื่อนหาระยะภาพคมชัดแบบอัตโนมัติ ควบคุมความสว่างของแหล่งกำเนิดแสงด้วยคิดไบร์ท เลื่อนตำแหน่งด้วยความละเอียดถึง 25 ไมครอน/Step ด้วยบอร์ดคิดไบร์ท สแกนถ่ายภาพต่อเนื่องทั้งแผ่นสไลด์ เพื่อเก็บรายละเอียดในแต่ละตำแหน่ง สามารถกดเรียกหาตำแหน่งของวัตถุได้ ทำให้การใช้งานง่ายและสนุกมากขึ้น เลนส์พอลิเมอร์ ทนทานต่อเชื้อรา บรรจุในแผ่นพลาสติก เปลี่ยนกำลังขยายได้ง่าย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การเรียนการสอนในและนอกสถานที่ การตรวจสอบวัสดุปนเปื้อนขนาดเล็กเบื้องต้น เป็นต้น การแบ่งปันข้อมูลที่ได้ เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน และ การพัฒนาแอพลิเคชั่นโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง การเพิ่มประสิทธิภาพ […]

The post MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด appeared first on NAC2021.

]]>

MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด

MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อัชฌา กอบวิทยา
ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT)
กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

               กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการศึกษารายละเอียดของสิ่งของเล็กๆ มีประโยชน์ทั้งในวงการการศึกษาและอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การดูสิ่งสิ่งมีชีวิต/วัตถุขนาดเล็กในวิชาวิทยาศาสตร์ ใช้ในการตรวจความบกพร่องของชิ้นงาน รอยแตกขนาดเล็ก หรือสิ่งปลอมปนต่างๆ แต่กล้องจุลทรรศน์ส่วนใหญ่ ต้องติดกล้องถ่ายภาพเพิ่ม ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น

       มิวอายโรโบคิด (MuEye ROBOKid) เป็นกล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็กที่ประยุกต์มาจากเลนส์มิวอายแบบเดิมที่ทำจากเลนส์พอลิเมอร์ ใช้ติดกับกล้องถ่ายภาพพกพาอย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน และใช้งานเป็นกล้องจุลทรรศน์พกพา มิวอายโรโบคิดสามารถแสดงภาพผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถปรับระยะโฟกัส หรือเลื่อนตำแหน่งของวัตถุตัวอย่างได้โดยสั่งการผ่านบอร์ด KidBright ทำให้การใช้งานกล้องจุลทรรศน์มีความสะดวกและสนุกมากขึ้น

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • มีฟังก์ชั่นเลื่อนหาระยะภาพคมชัดแบบอัตโนมัติ
  • ควบคุมความสว่างของแหล่งกำเนิดแสงด้วยคิดไบร์ท
  • เลื่อนตำแหน่งด้วยความละเอียดถึง 25 ไมครอน/Step ด้วยบอร์ดคิดไบร์ท
  • สแกนถ่ายภาพต่อเนื่องทั้งแผ่นสไลด์ เพื่อเก็บรายละเอียดในแต่ละตำแหน่ง
  • สามารถกดเรียกหาตำแหน่งของวัตถุได้ ทำให้การใช้งานง่ายและสนุกมากขึ้น
  • เลนส์พอลิเมอร์ ทนทานต่อเชื้อรา บรรจุในแผ่นพลาสติก เปลี่ยนกำลังขยายได้ง่าย

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • การเรียนการสอนในและนอกสถานที่ 
  • การตรวจสอบวัสดุปนเปื้อนขนาดเล็กเบื้องต้น เป็นต้น 
  • การแบ่งปันข้อมูลที่ได้ เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน และ การพัฒนาแอพลิเคชั่นโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
  • การเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเรียนรู้

สถานภาพของผลงาน: สิทธิบัตร 6 ฉบับ

  • กระบวนการผลิตเลนส์แบบยืดหยุ่นจากวัสดุพอลิเมอร์ เลขที่คำขอ 1401005905
  • กระบวนการผลิตเลนส์โดยอาศัยแรงตึงผิวที่ชั้นรอยต่อของของเหลว เลขที่คำขอ 1401005695
  • กระบวนการผลิตเลนส์จากพอลิเมอร์ เลขที่คำขอ 1501004712
  • กรรมวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยความร้อนแบบไม่ใช้แม่พิมพ์ เลขที่คำขอ 1501004969
  • กระบวนการเพิ่มแรงยึดติด เลขที่คำขอ 1501003211
  • เลนส์ขยาย เลขที่คำขอ 1502002635

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป หรือ งานที่ต้องเก็บตัวอย่างจากภาคสนามมาวิเคราะห์ในห้องแล็บ
  • หน่วยงานภาครัฐ เช่น สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ
  • ผู้ประกอบการที่สนใจในนวัตกรรมใหม่ๆ

วิธีโอสาธิตการใช้งาน MuEye Robokid

ติดต่อสอบถาม

ศศิน เชาวนกุล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด appeared first on NAC2021.

]]>