EECI – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Tue, 04 May 2021 07:21:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 ../../wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png EECI – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na19-sustainable-manufacturing-center/ Sat, 13 Mar 2021 04:35:43 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13553 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center: SMC เป็นโครงการนำร่องของเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เมืองนวัตกรรมของ EECi  ศูนย์นวัตกรรม SMC จะช่วยแก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยที่ขาดแคลนแรงงานทักษะที่จำเป็น เครื่องจักรที่ใช้งานอยู่ไม่ทันสมัย ทำให้ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตลดลง ตลอดจนลดการใช้พลังงานอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้วยแพลตฟอร์ม IDA (Industrial IoT and Data Analytics Platform) หรือ แพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม Smart Factory แพลตฟอร์ม IDA เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ที่จะช่วยติดตาม วิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงาน รวมถึงค่าสภาวะต่างๆ ของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม นำไปสู่การบริหารจัดการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น เช่น ลดการสูญเสียจากการหยุดเครื่องจักร ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ลดระดับสินค้าคงคลัง […]

The post ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) appeared first on NAC2021.

]]>

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC)

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC)

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center: SMC เป็นโครงการนำร่องของเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เมืองนวัตกรรมของ EECi  ศูนย์นวัตกรรม SMC จะช่วยแก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยที่ขาดแคลนแรงงานทักษะที่จำเป็น เครื่องจักรที่ใช้งานอยู่ไม่ทันสมัย ทำให้ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตลดลง ตลอดจนลดการใช้พลังงานอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้วยแพลตฟอร์ม IDA (Industrial IoT and Data Analytics Platform) หรือ แพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม

Smart Factory

        แพลตฟอร์ม IDA เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ที่จะช่วยติดตาม วิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงาน รวมถึงค่าสภาวะต่างๆ ของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม นำไปสู่การบริหารจัดการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น เช่น ลดการสูญเสียจากการหยุดเครื่องจักร ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ลดระดับสินค้าคงคลัง ช่วยให้การทำงานมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังผลักดันให้ภาคการผลิตสามารถแข่งขันทั้งด้านราคาและเทคโนโลยีกับต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบัน มีโรงงานเข้าร่วมโครงการในปี 2563 จำนวน 15 โรงงาน และจะขยายไปอีก 500 โรงงาน ภายในเวลา 3 ปี

IDA Platform

        และการที่จะให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยสามารถปรับตัวสู่ Industry 4.0 ได้นั้น ผู้ประกอบการสามารถประเมินความพร้อมด้านอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการใช้ดัชนีชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ หรือ Smart Industry Readiness Index: SIRI จะช่วยประเมินความพร้อมของโรงงานใน 3 ด้านหลัก คือ Process, Technology, และ Organization ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งช่วยสถานประกอบการ โรงงาน บริษัท ให้สามารถกำหนดแนวทางและปรับตัวสู่ทิศทางอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างยั่งยืน

        จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทางด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพราะเป็นเทคโนโลยีฐานที่สำคัญที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง

        มาร่วมเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยกันกับ EECi

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi เป็นแหล่งพัฒนางานวิจัยขยายผล (Translational Research Hub) และเป็นแหล่งปรับเเปลงเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ (Technology Localization) ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน เพื่อปิดช่องว่างทางเทคโนโลยีของไทย ที่ด้านหนึ่งมีขีดความสามารถสร้างผลงานเเล้วในระดับห้องปฏิบัติการ เเต่ผลงานที่ได้ส่วนใหญ่ยังส่งไม่ถึงผู้ใช้ประโยชน์ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ได้ลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานและกลไกขยายผลงานวิจัยเท่าไรนัก และอีกด้านหนึ่งก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศได้มากนัก เพราะขาดโครงสร้างพื้นฐานและกลไกที่จะรองรับการปรับแปลงเทคโนโลยีให้เข้ากับบริบทของไทย

ติดต่อสอบถาม

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na17-plant-phenomics-facility/ Sat, 13 Mar 2021 04:17:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13534 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านการเกษตรสมัยใหม่ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี         ในปัจจุบันการคัดเลือกพันธุ์พืชที่มีศักยภาพนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูง หรือ ฟีโนไทป์ (Phenotypic Characterization) ของพืชในเชิงลึก เช่น ลักษณะทางการเกษตรของ ต้น ดอก ราก เมล็ด คุณสมบัติทางเคมีของผลผลิต ความต้านทานโรค และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม แต่การคัดเลือกดังกล่าวยังใช้วิธีการปลูกประเมินในแปลงเป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้เวลาในการปลูกประเมินค่อนข้างนาน รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม (Environment; E) ที่จะส่งผลต่อพืชแต่ละชนิดว่าต้องการปริมาณธาตุอาหาร น้ำ แสง ความชื้นในดิน/อากาศ อุณหภูมิ เพื่อการเติบโตและให้ผลผลิตที่แตกต่างกันไป และยังไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็น Biotic factors เช่น โรค แมลงได้อีกด้วย ส่งผลให้ความแม่นยำในผลของการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพมีประสิทธิภาพลดลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการศึกษาลักษณะการแสดงออก ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ แบบรวดเร็วและมีความแม่นยำมากขึ้น        ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก […]

The post เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility)

เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility)

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านการเกษตรสมัยใหม่
ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        ในปัจจุบันการคัดเลือกพันธุ์พืชที่มีศักยภาพนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูง หรือ ฟีโนไทป์ (Phenotypic Characterization) ของพืชในเชิงลึก เช่น ลักษณะทางการเกษตรของ ต้น ดอก ราก เมล็ด คุณสมบัติทางเคมีของผลผลิต ความต้านทานโรค และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม แต่การคัดเลือกดังกล่าวยังใช้วิธีการปลูกประเมินในแปลงเป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้เวลาในการปลูกประเมินค่อนข้างนาน รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม (Environment; E) ที่จะส่งผลต่อพืชแต่ละชนิดว่าต้องการปริมาณธาตุอาหาร น้ำ แสง ความชื้นในดิน/อากาศ อุณหภูมิ เพื่อการเติบโตและให้ผลผลิตที่แตกต่างกันไป และยังไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็น Biotic factors เช่น โรค แมลงได้อีกด้วย ส่งผลให้ความแม่นยำในผลของการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพมีประสิทธิภาพลดลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการศึกษาลักษณะการแสดงออก ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ แบบรวดเร็วและมีความแม่นยำมากขึ้น

       ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) ที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในศึกษาลักษณะการแสดงออกของพืช ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ระบบประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืชอย่างรวดเร็วและแม่นยำ (High throughput Phenotyping) และ ระบบ Image Analysis ที่ประกอบไปด้วย Chlorophyll Fluorescence Units, Thermal Imaging Unit และ Hyperspectral Imaging Unit และรองรับการประมวลผลในรูปแบบ 3D imaging (3D Laser Scanning) ที่จะสามารถถ่ายภาพสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืชได้ทั้งต้นพืชส่วนเหนือดินและส่วนรากและหัวใต้ดินของพืช ภายใต้การควบคุมด้วยระบบสายพานลำเลียงอัตโนมัติ มีระบบรดน้ำและชั่งน้ำหนัก ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆได้นั้น ศูนย์แห่งนี้สามารถตรวจวัดต้นพืชที่มีขนาดความสูงได้ถึง 2.5 เมตร และมีความกว้างทรงพุ่มที่ 1.5 เมตร ในแบบไม่ทำลายต้น ที่สามารถตรวจวัดได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ และมีโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับ parameter ต่างๆ

Plant Phenomics

        ความรู้ด้านสรีรวิทยาและชีววิทยาที่ได้มานี้จะช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพ รวมถึงการจัดการและการควบคุมการเติบโตของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำทางเทคโนโลยี High throughput Phenotyping และ Image Analysis มาช่วยในการคัดเลือกจะทำให้สามารถคัดเลือกได้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตเชิงปริมาณที่สูงควบคู่กับมีคุณสมบัติที่ดี ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่จำกัด เช่น ทนแล้ง ทนน้ำท่วม ต้านทานต่อการระบาดของโรคและแมลง และยังรวมไปถึงการคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณสมบัติ เชิงคุณภาพ เช่น มีปริมาณธาตุอาหารสูง มีคุณสมบัติตอบโจทย์ความต้องการของตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและจุดขายให้กับพืช และยังสามารถพัฒนาไปสู่การเกษตรแม่นยำที่สามารถติดตามและคาดการณ์สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับการให้ปุ๋ยและน้ำในปริมาณที่เหมาะสม จากองค์ความรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่การขยายผลใช้ประโยชน์ (Translational Research) ที่เชื่อมโยงกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกและการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคต เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรต่อไปได้อย่างยั่งยืน

        มาร่วมเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยกันกับ EECi

Greenhouse

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS)

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS) เป็นแพลทฟอร์ม (innovation platform) ที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Bio-based Industry) ตามแนวคิด BCG ของรัฐบาล เพื่อให้ประเทศเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผลักดันให้ผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด 

ติดต่อสอบถาม

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) appeared first on NAC2021.

]]>
โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na18-eeci-biorefinery-pilot-plant/ Fri, 12 Mar 2021 15:52:19 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13454 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery) ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่เป็นการแปรรูปชีวมวลด้วยกระบวนการทางกายภาพ เคมี และ/หรือชีวภาพเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ (Bio-based product) ประเภทต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ วัสดุชีวภาพ สารชีวภาพที่ให้คุณสมบัติพิเศษสำหรับนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางและยา ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีเพื่อเป็นกลไกการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ความพร้อมของวัตถุดิบตั้งต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบในกลุ่มแป้ง น้ำตาล น้ำมัน และวัสดุเหลือทิ้งการเกษตรที่เป็นลิกโนเซลลูโลสที่มีเป็นจำนวนมาก แต่การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการทดลองการผลิตระดับขยายขนาด เนื่องจาก การลงทุนในอุตสาหกรรมฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ทั้งในเชิงเทคโนโลยี และเชิงเศรษฐศาสตร์ (Techno-economic feasibility) ซึ่งข้อมูลในระดับห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอที่จะได้ผลการประเมินที่แม่นยำ เทคโนโลยีด้านวิศวกระบวนการไม่สามารถพัฒนาและคัดเลือกกระบวนการที่เหมาะสมได้ในระดับห้องปฏิบัติการ เนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องมือที่แตกต่างกัน กระบวนการพัฒนาจนได้เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย ต้องมีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน ดังนั้น การขาดหน่วยผลิตระดับขยายขนาดในขั้นตอนกระบวนการผลิตต้นทาง จะทำให้ไม่สามารถผลิตสารในปริมาณที่มากพอ สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในขั้นต่อไป จึงทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและสูงได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนโรงงานต้นแบบหนึ่งแห่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ดังนั้น โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการให้บริการการขยายขนาดกระบวนการผลิตด้านไบโอรีไฟเนอรีได้หลากหลายชนิดของวัตถุดิบ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ โดยรองรับตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ ได้แก่ กระบวนการแยกองค์ประกอบชีวมวล (Biomass fractionation) กระบวนการแปรรูปด้วยชีวกระบวนการ  […]

The post โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant) appeared first on NAC2021.

]]>

โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant)

โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant)

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery)
ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

       อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่เป็นการแปรรูปชีวมวลด้วยกระบวนการทางกายภาพ เคมี และ/หรือชีวภาพเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ (Bio-based product) ประเภทต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ วัสดุชีวภาพ สารชีวภาพที่ให้คุณสมบัติพิเศษสำหรับนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางและยา

        ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีเพื่อเป็นกลไกการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ความพร้อมของวัตถุดิบตั้งต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบในกลุ่มแป้ง น้ำตาล น้ำมัน และวัสดุเหลือทิ้งการเกษตรที่เป็นลิกโนเซลลูโลสที่มีเป็นจำนวนมาก แต่การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการทดลองการผลิตระดับขยายขนาด เนื่องจาก

  1. การลงทุนในอุตสาหกรรมฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ทั้งในเชิงเทคโนโลยี และเชิงเศรษฐศาสตร์ (Techno-economic feasibility) ซึ่งข้อมูลในระดับห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอที่จะได้ผลการประเมินที่แม่นยำ
  2. เทคโนโลยีด้านวิศวกระบวนการไม่สามารถพัฒนาและคัดเลือกกระบวนการที่เหมาะสมได้ในระดับห้องปฏิบัติการ เนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องมือที่แตกต่างกัน
  3. กระบวนการพัฒนาจนได้เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย ต้องมีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน ดังนั้น การขาดหน่วยผลิตระดับขยายขนาดในขั้นตอนกระบวนการผลิตต้นทาง จะทำให้ไม่สามารถผลิตสารในปริมาณที่มากพอ สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในขั้นต่อไป จึงทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและสูงได้

        อย่างไรก็ตาม การลงทุนโรงงานต้นแบบหนึ่งแห่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ดังนั้น โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการให้บริการการขยายขนาดกระบวนการผลิตด้านไบโอรีไฟเนอรีได้หลากหลายชนิดของวัตถุดิบ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ โดยรองรับตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ ได้แก่ กระบวนการแยกองค์ประกอบชีวมวล (Biomass fractionation) กระบวนการแปรรูปด้วยชีวกระบวนการ  (Bioprocess) จนไปถึงกระบวนการแยกเพื่อเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ (Downstream process) โรงงานต้นแบบมีทั้งระบบที่ออกแบบมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร หรือเวชสำอาง ได้แก่ สารที่ให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredient) อาหารเสริมสุขภาพ (Nutraceutical and functional food) และระบบที่เป็น Non-GMP เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพอื่นๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Biochemical) และสารชีวภาพที่ให้คุณสมบัติพิเศษ (Biospecialty) โดยโรงงานแห่งนี้จะมีถังหมัก (Fermentor) มาตรฐาน GMP ที่มีขนาด 15,000 ลิตร เพื่อรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดสอบตลาดได้

        โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefienry Pilot Plan) ของเมืองนวัตกรรมชีวภาพ (BIOPOLIS) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะนำไปสู่การปิดช่องว่างของนวัตกรรม (valley of death) ที่เป็นการนำเทคโนโลยีแบบพลิกโฉมฉับพลัน (disruptive technology) มาผลักดันให้ผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยทั้งผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ให้ก้าวข้ามจากการรับจ้างผลิตแบบเดิมไปสู่การผลิตสินค้าและบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร อันเป็นฐานสำคัญของการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวพ้นจากการติดกับดักรายได้ปานกลางไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

        มาร่วมเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยกันกับ EECi

วีดีโอเมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS)

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS) เป็นแพลทฟอร์ม (innovation platform) ที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Bio-based Industry) ตามแนวคิด BCG ของรัฐบาล เพื่อให้ประเทศเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผลักดันให้ผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant) appeared first on NAC2021.

]]>