AI – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Thu, 06 May 2021 03:04:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 ../../wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png AI – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 KidBright AI Platform http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/na23-kidbright-ai-platform/ Sat, 20 Mar 2021 07:05:42 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17655 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) แพลตฟอร์มสื่อการเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ผ่านการสร้างชุดคําสั่งแบบบล็อก (Blockly Programming) และสามารถเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุต เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ จุดเด่นของผลงาน สอนกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ตั้งแต่การเก็บข้อมูล การติดป้ายกํากับ การสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้งานบนอุปกรณ์เดียว รองรับการเชื่อมต่อจากเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุตผ่าน Robot Operation System (ROS) สร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้ทั้งของข้อมูลภาพและเสียง สามารถทํางานได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์ หรือบนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เปิด Open Source ให้นําไปใช้งานเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา สังคมและเชิงพาณิชย์ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ เริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ผ่าน KidBright AI IDE Web version 1.0 ที่ www.kid-bright.org/ai/downloads ติดต่อสอบถาม ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ […]

The post KidBright AI Platform appeared first on NAC2021.

]]>

KidBright AI Platform

KidBright AI Platform

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        แพลตฟอร์มสื่อการเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ผ่านการสร้างชุดคําสั่งแบบบล็อก (Blockly Programming) และสามารถเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุต เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์

จุดเด่นของผลงาน

  • สอนกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ตั้งแต่การเก็บข้อมูล การติดป้ายกํากับ การสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้งานบนอุปกรณ์เดียว
  • รองรับการเชื่อมต่อจากเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุตผ่าน Robot Operation System (ROS)
  • สร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้ทั้งของข้อมูลภาพและเสียง
  • สามารถทํางานได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์ หรือบนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์
  • เปิด Open Source ให้นําไปใช้งานเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา สังคมและเชิงพาณิชย์

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์

เริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง

        เรียนรู้ผ่าน KidBright AI IDE Web version 1.0 ที่ www.kid-bright.org/ai/downloads

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT)
กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post KidBright AI Platform appeared first on NAC2021.

]]>
AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na22-ai-for-thai/ Tue, 16 Mar 2021 10:20:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14871 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) AI for Thai : Thai AI Service Platform เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning เพื่อเน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการต่างๆ ในประเทศไทย เช่น ภาคธุรกิจกลุ่มค้าปลีก (Retail) ใช้ Chatbot โต้ตอบเพื่อตอบคำถาม ให้บริการแก่ลูกค้าแทนพนักงาน กลุ่มโลจิสติกส์ ใช้ระบบรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เพื่อตรวจจับใบหน้าของพนักงานขับรถว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ ด้านการแพทย์ก็เริ่มใช้ AI มาวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงของโรคส่วนบุคคล หรือการอ่านฟิล์ม X-rays แทนมนุษย์ เป็นต้น ด้านการท่องเที่ยว สามารถใช้ AI แปลภาษาและสามารถวิเคราะห์รูปอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวจากภาพถ่าย AI for Thai เกิดจากการรวบรวมผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้าน AI ภายใต้หน่วยวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRU) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ อันประกอบไปด้วยงานทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติของภาษาไทย, […]

The post AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย appeared first on NAC2021.

]]>

AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย

AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        AI for Thai : Thai AI Service Platform เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning เพื่อเน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการต่างๆ ในประเทศไทย เช่น

  • ภาคธุรกิจกลุ่มค้าปลีก (Retail) ใช้ Chatbot โต้ตอบเพื่อตอบคำถาม ให้บริการแก่ลูกค้าแทนพนักงาน
  • กลุ่มโลจิสติกส์ ใช้ระบบรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เพื่อตรวจจับใบหน้าของพนักงานขับรถว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่
  • ด้านการแพทย์ก็เริ่มใช้ AI มาวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงของโรคส่วนบุคคล หรือการอ่านฟิล์ม X-rays แทนมนุษย์ เป็นต้น
  • ด้านการท่องเที่ยว สามารถใช้ AI แปลภาษาและสามารถวิเคราะห์รูปอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวจากภาพถ่าย

        AI for Thai เกิดจากการรวบรวมผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้าน AI ภายใต้หน่วยวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRU) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ อันประกอบไปด้วยงานทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติของภาษาไทย, งานด้านการเข้าใจภาพในบริบทของความเป็นไทยและงานด้านการรู้จำและสร้างเสียงพูดภาษาไทย

กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้งาน

  • นักพัฒนาระบบ
  • ผู้ประกอบการบริษัท SME
  • Start up และบริษัทอื่นๆ

จุดเด่น

  • มีบริการให้พร้อมเรียกใช้งาน
  • ช่วยให้สามารถต่อยอดสร้างสรรค์แอพพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว
  • ทดสอบใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย* (แบบ Limited Free Service)

APIs & Service

        โมดูลต่าง ๆ ที่รวบรวมเข้ามาให้บริการบนแพลตฟอร์ม ถูกจำแนกออกเป็น 3กลุ่ม ได้แก่ Language, Vision และ Conversation ซึ่งโมดูลต่าง ๆ จะพร้อมให้ใช้งานในรูปแบบ Web Service หรือ API

  • Language บริการด้านประมวลผลข้อความภาษาไทยรอบด้าน เช่น Word Segmentation, POS Tagging, Named Entity Recognition ประกอบด้วย
    • Basic NLP (ประมวลผลภาษา)
    • TAG Suggestion (แนะนำป้ายกำกับ)
    • Machine translation (แปลภาษา)
    • Sentiment Analysis (วิเคราะห์ความเห็น)
  • Vision บริการด้านวิเคราะห์และเข้าใจภาพและวิดีโอหลากหลาย เช่น OCR, Face Recognition, Person Heatmap ประกอบด้วย
    • Character Recognition (แปลงอักษรภาพเป็นข้อความ)
    • Object Recognition (รู้จำวัตถุ)
    • Face Analytics (วิเคราะห์ใบหน้า)
    • Person & Activity Analytics (วิเคราะห์บุคคล)
  • Conversation บริการด้านสนทนาแบบครบวงจร ได้แก่
    • Speech to Text (แปลงเสียงพูดเป็นข้อความ)
    • Text to Speech (แปลงข้อความเป็นเสียงพูด)
    • Chatbot (ระบบโต้ตอบทางข้อความอัตโนมัติ)

ใช้บริการ AI for Thai ได้ที่ https://aiforthai.in.th

เนคเทค ประกาศเปิดตัว AI FOR THAI

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ประกาศเปิดตัว AI FOR THAI

Ai for Thai

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย appeared first on NAC2021.

]]>
KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na21-kidbright-kanomchan/ Tue, 16 Mar 2021 09:32:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14823 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) KidBright Virtual สำหรับบอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE บนคอมพิวเตอร์ โดย KidBright มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดเชิงตรรกะ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีด้วยตนเองในอนาคต เนื่องจากการเข้าถึงการใช้งานตัวบอร์ดจริง อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จัดหาอุปกรณ์จริงมาใช้ หรือการจัดหาอุปกรณ์จริงอาจจะมีความยุ่งยากในบางประการ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของบอร์ด KidBright ได้มากที่สุด จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบอร์ด KidBright แบบเสมือนจริง (KidBright Virtual: KV) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต และสามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่สนใจก็สามารถใช้งานบอร์ด KidBright ได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง หุ่นยนต์ขนมชั้น Virtual Kanomchan (VK) Virtual Kanomchan หุ่นยนต์ “ขนมชั้น” คือหุ่นยนต์สอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ที่ต่อยอดมาจากบอร์ด KidBright โดยมีการติดตั้งกล้อง […]

The post KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan appeared first on NAC2021.

]]>

KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan

KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

KidBright Virtual

       สำหรับบอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE บนคอมพิวเตอร์ โดย KidBright มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดเชิงตรรกะ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีด้วยตนเองในอนาคต เนื่องจากการเข้าถึงการใช้งานตัวบอร์ดจริง อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จัดหาอุปกรณ์จริงมาใช้ หรือการจัดหาอุปกรณ์จริงอาจจะมีความยุ่งยากในบางประการ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของบอร์ด KidBright ได้มากที่สุด จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบอร์ด KidBright แบบเสมือนจริง (KidBright Virtual: KV) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต และสามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่สนใจก็สามารถใช้งานบอร์ด KidBright ได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง

หุ่นยนต์ขนมชั้น

Virtual Kanomchan (VK)

Virtual Kanomchan

        หุ่นยนต์ขนมชั้น คือหุ่นยนต์สอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ที่ต่อยอดมาจากบอร์ด KidBright โดยมีการติดตั้งกล้อง ล้อ ลำโพง ไมโครโฟน รวมถึงเซ็นเซอร์ต่างๆได้ และซ้อนบอร์ดวงจรขึ้นเป็นชั้น และเพื่อให้การเรียนรู้ด้าน AI ด้วย KidBright AI ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น แม้จะไม่มีหุ่นยนต์ขนมชั้นตัวจริง จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ขนมชั้นเสมือนจริง (Virtual Kanomchan: VK) ซึ่งเป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ฝึกเขียนโปรแกรมด้าน AI เช่น การโปรแกรมให้ระบบหุ่นยนต์จดจำภาพวัตถุที่ต้องการ เพื่อนำการจดจำวัตถุดังกล่าว ไปใช้งานต่างๆ เช่น การเดินตามวัตถุที่จดจำได้ เป็นต้น โดยการใช้งานโปรแกรมนี้ ผู้ใช้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการของการนำเทคโนโยลีด้าน AI มาประกอบเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่ต้องการ ตั้งแต่การเก็บข้อมูล จัดแต่งข้อมูล การ Train ข้อมูลเพื่อสร้าง Model และการนำ Model ไปใช้งาน

Virtual Kanomchan

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        KidBright Virtual: สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานบอร์ด KidBright ได้เหมือนการใช้งานบอร์ดจริง สามารถทดลองโปรแกรมผ่านอุปกรณ์เสมือนจริงที่มีอยู่โปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองใช้งานบอร์ดจริง และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

        Virtual Kanomchan: สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานหุ่นยนต์ขนมชั้น KidBright AI ได้เหมือนการใช้งานหุ่นยนต์จริง สามารถทดลองโปรแกรมการ Train Model ในรูปแบบต่างๆที่มีอยู่โปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีด้าน AI และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบหุ่นยนต์

การศึกษา

การทดสอบ/วิจัย

ลดความผิดพลาด
เสียหายต่ออุปกรณ์

ประหยัดต้นทุน

KidBright Virtual Demo

ติดต่อสอบถาม

วินัย ชนปรมัตถ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan appeared first on NAC2021.

]]>
กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss31-strategy-and-direction-ai-thailand/ Tue, 02 Mar 2021 15:01:43 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4848 กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย         “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2564-2570  (ร่าง) แผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์ฯ นี้ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายในปี พ.ศ. 2570”          โดยมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างคนและเทคโนโลยี การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบ (ที่ดี) ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในด้านยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไว้ 5 ด้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม  กฎหมาย และกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมและกลุ่มเป้าหมายสำหรับประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปสนับสนุนและพัฒนาในระยะเร่งด่วนคือ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาวะ การใช้งานและบริการภาครัฐ ในเสวนานี้จะได้เรียนรู้จากวิทยากรต่างชาติ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ […]

The post กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย

กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย

        “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2564-2570  (ร่าง) แผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์ฯ นี้ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายในปี พ.ศ. 2570” 

        โดยมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างคนและเทคโนโลยี การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบ (ที่ดี) ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในด้านยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไว้ 5 ด้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม  กฎหมาย และกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมและกลุ่มเป้าหมายสำหรับประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปสนับสนุนและพัฒนาในระยะเร่งด่วนคือ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาวะ การใช้งานและบริการภาครัฐ ในเสวนานี้จะได้เรียนรู้จากวิทยากรต่างชาติ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ จากนั้นจะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทย รวมทั้งแนวทางการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานในระยะเร่งด่วนกับ 3 อุตสาหกรรม จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

9.00 – 9.05 น.

กล่าวนำที่มาของการประชุมกลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย
โดย ดร.อลิสา คงทน
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

9.05 – 9.40 น.

National agenda, Driving forces, Technology trend and the adoption of AI ecosystem in Japan

โดย Professor Junichi Tsujii, Ph.D.
Director of Artificial Intelligence Research Center, AIST, Japan

9.40 – 10.10 น.

National agenda, Driving forces, Technology trend and the adoption of AI ecosystem in Singapore

โดย Laurence Liew, Ph.D.
Director of AI Innovation, AI Singapore (AISG), a national program on Artificial Intelligence

10.10 – 10.15 น.

พักเบรค

10.15 – 10.35 น.

กลยุทธ์และทิศทางการขับเคลื่อนปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย 

โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย,
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

10.35 – 11.35 น.

เสวนา มองต่างมุม “กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย”

(ใน 3 ประเด็นสำคัญ: (1)บทบาทของ AI ทีมีต่อชีวติแห่งสังคมอนาคต , (2)การประยุกต์ใช้ AI ในสังคมและการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ รวมถึงการสร้างโอกาส Startup และ(3) กลไกสำคัญเห่งการขับเคลื่อน AI ecosystem ในประเทศไทย)

โดย 

  1. รองศาสตราจารย์ ดร. จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. ดร. มหิศร ว่องผาติ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด
  3. รองศาสตราจารย์ ดร. วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร, ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส (ทีม Data Innovation), ธนาคาร กรุงไทย จำกัด
  4. ดร. ปรัชญา บุญขวัญ, หัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการ โดย ดร. ขวัญชีวา แตงไทย, นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

11.35 – 11.50 น.

Q & A

11.50 – 12.00 น.

ปิดการบรรยาย โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย 
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>