เชื้อรา – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Tue, 23 Mar 2021 08:25:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 ../../wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png เชื้อรา – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/food05-ophiocordyceps-dipterigena/ Tue, 16 Mar 2021 02:49:39 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14476 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ไว ประทุมผายทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เกี่ยวกับเทคโนโลยี        เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์ที่ผลิตได้จากเชื้อรา Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้มีคุณสมบัติที่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ สามารถละลายน้ำและมีความหนืดสูง นำไปขึ้นรูปหรือเป็นส่วนผสมให้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีความคงตัวสูง เบต้ากลูแคนชนิดนี้ยังทนต่ออุณหภูมิสูงได้มากกว่า 200 องศาเซลเซียส โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอาหารคน อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้สามารถผลิตได้ด้วยอุตสาหกรรมการหมักใน ราคาต้นทุนต่ำ ผ่านการศึกษาการนำไปใช้ในสัตว์ การทดสอบความเป็นพิษ และคุณสมบัติอื่นๆ มาแล้ว จึงมีศักยภาพสูงมากที่จะนำเสนอเข้าไปในท้องตลาด โดยได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโมเลกุลสม่ำเสมอ ขนาดประมาณ 5-400 kDa โดยใช้รังสิแกมมาตัดลดขนาดโมเลกุล สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่าย จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มของความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ คือสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้ ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดแคปซูลเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมในคน   […]

The post เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ <i>Ophiocordyceps dipterigena</i> BCC 2073 appeared first on NAC2021.

]]>

เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073

เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ไว ประทุมผาย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

เกี่ยวกับเทคโนโลยี

       เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์ที่ผลิตได้จากเชื้อรา Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้มีคุณสมบัติที่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ สามารถละลายน้ำและมีความหนืดสูง นำไปขึ้นรูปหรือเป็นส่วนผสมให้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีความคงตัวสูง เบต้ากลูแคนชนิดนี้ยังทนต่ออุณหภูมิสูงได้มากกว่า 200 องศาเซลเซียส โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอาหารคน อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้สามารถผลิตได้ด้วยอุตสาหกรรมการหมักใน ราคาต้นทุนต่ำ ผ่านการศึกษาการนำไปใช้ในสัตว์ การทดสอบความเป็นพิษ และคุณสมบัติอื่นๆ มาแล้ว จึงมีศักยภาพสูงมากที่จะนำเสนอเข้าไปในท้องตลาด โดยได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโมเลกุลสม่ำเสมอ ขนาดประมาณ 5-400 kDa โดยใช้รังสิแกมมาตัดลดขนาดโมเลกุล สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่าย จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มของความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ คือสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้

ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดแคปซูลเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมในคน

        โครงการนี้มีลักษณะของความเป็นนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร แพทย์และเภสัช และเครื่องสำอาง โดยอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่ได้ทำการวิจัยและพัฒนามาแล้วให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโลเลกุลสม่ำเสมอขนาดประมาณ 5-400 kDaโดยใช้รังสิแกมมา สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่ายขึ้น

ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์

        โดยผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคนที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปใช้ในรูปแบบเดี่ยว ๆ เพื่อการเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทำให้สัตว์แข็งแรงขึ้นอันเนื่องมาจากร่างกายสามารถตอบสนองต่อการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อได้เร็วขึ้น มีโอกาสที่จะทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้นเพราะคุณสมบัติของการเป็นพรีไบโอติกหรือจะนำเบต้ากลูแคนไปใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่นใช้เป็นสารจับสารพิษเป็นต้น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเพื่อเป็นสารเพิ่มความหนืด เพิ่มความชุ่มชื่นผิว และกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวหนัง ในอุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์และเภสัชเพื่อเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในคน และกระตุ้นการหายเร็วของแผล เป็นต้น

เบต้า-กลูแคน โพลีแซคคาไรด์ (แบบน้ำ)

เบต้า-กลูแคน โอลิโกแซคคาไรด์ (แบบน้ำ)

เบต้า-กลูแคน โพลีแซคคาไรด์ (แบบผง)

เบต้า-กลูแคน โอลิโกแซคคาไรด์ (แบบผง)

รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เบตากลูแคน

ติดต่อสอบถาม

คุณตะวัน เต่าพาลี
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ <i>Ophiocordyceps dipterigena</i> BCC 2073 appeared first on NAC2021.

]]>
สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na04-nanoemulsion-black-galingale/ Sat, 13 Mar 2021 05:17:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13572 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อุดม อัศวาภิรมย์ ดร.ดวงพร พลพานิช นางสาวจารุวรรณ จูฑะมงคล และนางสาวกรกต ศุภนคร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) กระชายดำเป็นพืชสมุนไพร ที่สามารถพบได้มากในประเทศไทยเช่น เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี พิษณุโลก และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ มีรายงานพบว่ากระชายดำมีสรรพคุณตามตำรายาไทยในด้าน บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้อาการเหนื่อยล้า เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบประสาท รักษาความสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ รักษาสมดุลของระบบการย่อย แก้โรคบิด ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว กระชายดำยังมีฤทธิ์ทางด้านการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นโดยทีมวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พบว่า สารสกัดจากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เช่น Micrococcus sedentarius  Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum ทีมวิจัยจึงได้นำสารสกัดกระชายดำมาพัฒนาเป็นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นในรูปแบบสเปรย์นาโนอิมัลชัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (Antimicrobial activity) […]

The post สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น appeared first on NAC2021.

]]>

สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น

สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อุดม อัศวาภิรมย์
ดร.ดวงพร พลพานิช
นางสาวจารุวรรณ จูฑะมงคล
และนางสาวกรกต ศุภนคร
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

        กระชายดำเป็นพืชสมุนไพร ที่สามารถพบได้มากในประเทศไทยเช่น เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี พิษณุโลก และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ มีรายงานพบว่ากระชายดำมีสรรพคุณตามตำรายาไทยในด้าน บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้อาการเหนื่อยล้า เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบประสาท รักษาความสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ รักษาสมดุลของระบบการย่อย แก้โรคบิด ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว กระชายดำยังมีฤทธิ์ทางด้านการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นโดยทีมวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พบว่า สารสกัดจากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เช่น Micrococcus sedentarius  Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum ทีมวิจัยจึงได้นำสารสกัดกระชายดำมาพัฒนาเป็นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นในรูปแบบสเปรย์นาโนอิมัลชัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (Antimicrobial activity) จึงช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการสะสมของเชื้อราและแบคทีเรีย
  • เป็นผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
  • สูตรตำรับอยู่ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่น ที่ช่วยเพิ่มการกระจายตัวและความคงตัวของสารสกัดในสูตรตำรับ
  • ขั้นตอนการผลิตสามารถทำได้โดยอุปกรณ์เครื่องจัดทั่วไปในระดับอุตสาหกรรม

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ใช้สำหรับดับกลิ่นบริเวณที่เกิดการสะสมของแบคทีเรีย เช่น เท้า รักแร้ หรือบริเวณในร่มผ้า เป็นต้น

สถานภาพของผลงาน

        ได้รับความคุ้มครองภายใต้คำขออนุสิทธิบัตร ยื่นคำขอวันที่ 26 ก.ย. 2561

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลหรือเครื่องสำอาง
  • ผู้ผลิตสารสกัดธรรมชาติ

ติดต่อสอบถาม

สโรชา เพ็งศรี
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น appeared first on NAC2021.

]]>