เชื้อราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Mon, 22 Mar 2021 12:51:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 ../../wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png เชื้อราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 การค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/09/biodiversity02-discovery-of-a-new-insect-fungus-in-the-world/ Tue, 09 Mar 2021 07:28:14 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12223 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณสุชาดา มงคลสัมฤทธิ์ทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร (APMT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)       นักวิจัยจากทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร  กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ไบโอเทค สวทช. ดำเนินการวิจัยร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัย Diponegoro ประเทศอินโดนีเซีย และ Westerdijk Fungal Biodiversity Institute ประเทศเนเธอร์แลนด์  ค้นพบเชื้อราทำลายแมลงชนิดใหม่จำนวน 47 สปีชีส์ โดยเป็นสกุลใหม่รวม 8 สกุล ถือเป็นการค้นพบเชื้อราชนิดใหม่จำนวนมากของโลก       ประเทศไทยมีสายพันธุ์ราแมลงที่มีลักษณะสัณฐานวิทยาที่มีความซับซ้อนและคลุมเครือ (Cryptic Species) จำนวนมาก แสดงให้เห็นได้ถึงต้นทุนด้านความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่สูงมาก       ราแมลงชนิดใหม่ที่ค้นพบได้แก่ ราแมลงในสกุลเมตาไรเซียม พบมากถึง 21 สปีชีส์ และราในสกุลบิวเวอเรีย จำนวน 1 สปีชีส์ ซึ่งราในสกุลเมตาไรเซียมและบิวเวอเรียนี้เป็นที่รู้จักอย่างดี เนื่องจากว่าราบางสายพันธุ์ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืช  […]

The post การค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

การค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย

การค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณสุชาดา มงคลสัมฤทธิ์
ทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร (APMT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

      นักวิจัยจากทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร  กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ไบโอเทค สวทช. ดำเนินการวิจัยร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัย Diponegoro ประเทศอินโดนีเซีย และ Westerdijk Fungal Biodiversity Institute ประเทศเนเธอร์แลนด์  ค้นพบเชื้อราทำลายแมลงชนิดใหม่จำนวน 47 สปีชีส์ โดยเป็นสกุลใหม่รวม 8 สกุล ถือเป็นการค้นพบเชื้อราชนิดใหม่จำนวนมากของโลก

      ประเทศไทยมีสายพันธุ์ราแมลงที่มีลักษณะสัณฐานวิทยาที่มีความซับซ้อนและคลุมเครือ (Cryptic Species) จำนวนมาก แสดงให้เห็นได้ถึงต้นทุนด้านความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่สูงมาก

      ราแมลงชนิดใหม่ที่ค้นพบได้แก่ ราแมลงในสกุลเมตาไรเซียม พบมากถึง 21 สปีชีส์ และราในสกุลบิวเวอเรีย จำนวน 1 สปีชีส์ ซึ่งราในสกุลเมตาไรเซียมและบิวเวอเรียนี้เป็นที่รู้จักอย่างดี เนื่องจากว่าราบางสายพันธุ์ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืช  (biocontrol) มีการส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักและใช้ทดแทนการใช้สารเคมีแล้วก่อนหน้านี้ การค้นพบราแมลงชนิดใหม่นี้จึงเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะค้นพบสายพันธุ์ราที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้ประโยชน์ดังกล่าวเพื่อช่วยลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร

      ราในสกุลเมตาไรเซียม (Metarhizium) ราแต่ละชนิดที่พบในธรรมชาติมีลักษณะสัณฐานวิทยาที่คล้ายคลึงกันมาก โดยในระยะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ สร้างสปอร์สีเขียวขึ้นคลุมแมลงเจ้าบ้าน ระยะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศราจะสร้างก้านงอกจากข้อต่อของตัวแมลง ราในสกุลนี้จะก่อโรคบนแมลงได้หลายชนิด เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนด้วง ด้วงตัวเต็มวัย ตัวอ่อนจักจั่น จักจั่นตัวเต็มวัย และเพลี้ยกระโดด จึงเหมาะจะนำมาใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชสำคัญได้เช่นเดียวกัน 

      ส่วนราแมลง Gibellula pigmentosinum ที่ค้นพบใหม่ สามารถสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต้านการสร้างไบโอฟิล์ม มีศักยภาพอาจนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น ใช้เป็นยาปฏิชีวนะได้   

      นอกจากนี้ยังพบราชนิดใหม่ในสกุลแบล็กเวลล์โลไมซีส (Blackwellomyces) จำนวน 4 ชนิดและคอร์ไดเซปส์ (Cordyceps) จำนวน 5 ชนิด ราทั้งสองสกุลนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก โดยสร้างก้านราสีสดออกจากตัวแมลง พบได้ตามเศษซากใบไม้และขอนไม้ผุ ก่อโรคกับหนอนด้วงและหนอนผีเสื้อ ราบางชนิดในสกุลคอร์ไดเซปส์ เช่น Cordyceps militaris “ถั่งเช่าสีทอง” ที่มีการนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   

      ส่วนรากลุ่มที่พบได้ค่อนข้างน้อยในประเทศไทยคือ ราสกุลนีโอทอร์รูบีเอลลา (Neotorrubiella) ค้นพบใหม่ 1 สปีชีส์ ได้แก่ Neotorrubiella chinghridicola  และในสกุลเพตเชีย (Petchia) อีก 1 สปีชีส์ ได้แก่ Petchia siamensis

      จากการศึกษาความหลากหลายของราในสกุลบิวเวอเรียพบ Beauveria malawiensis ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยราชนิดนี้ได้เคยถูกรายงานเป็นราชนิดใหม่จากประเทศมาลาวี และพบระยะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของเชื้อรา Beauveria asiatica เป็นครั้งแรกของโลก นอกจากนี้ยังได้พบแมลงเจ้าบ้านของเชื้อรา Beauveria gryllotalpidicola เพิ่มเติม ได้แก่ หนอนผีเสื้อและด้วง ซึ่งจากเดิมคือพบแต่บนแมงกระชอนเท่านั้น

          ราสกุลใหม่ 8 สกุล ได้แก่ Keithomyces, Neotorrubiella, Marquandomyces, Papiliomyces, Petchia, Purpureomyces, Sungia และ Yosiokobayasia,

          ราแมลงชนิดใหม่ที่ค้นพบ 47 สปีชีส์ ได้แก่

สกุล Metarhizium 21 สปีชีส์

สกุล Cordyceps 5 สปีชีส์

สกุล Gibellula 4 สปีชีส์

สกุล Petchia 1 สปีชีส์

สกุล Akanthomyces 3 สปีชีส์

สกุล Blackwellomyces 4 สปีชีส์

สกุล Neotorrubiella 1 สปีชีส์

สกุล Beauveria 1 สปีชีส์

สกุล Purpureomyces 2 สปีชีส์

สกุล Ophiocordyceps 5 สปีชีส์

ติดต่อสอบถาม

คุณสุชาดา มงคลสัมฤทธิ์
ทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร (APMT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>