เครื่องสำอาง – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Tue, 23 Mar 2021 08:25:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 ../../wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png เครื่องสำอาง – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na04-nanoemulsion-black-galingale/ Sat, 13 Mar 2021 05:17:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13572 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อุดม อัศวาภิรมย์ ดร.ดวงพร พลพานิช นางสาวจารุวรรณ จูฑะมงคล และนางสาวกรกต ศุภนคร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) กระชายดำเป็นพืชสมุนไพร ที่สามารถพบได้มากในประเทศไทยเช่น เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี พิษณุโลก และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ มีรายงานพบว่ากระชายดำมีสรรพคุณตามตำรายาไทยในด้าน บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้อาการเหนื่อยล้า เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบประสาท รักษาความสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ รักษาสมดุลของระบบการย่อย แก้โรคบิด ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว กระชายดำยังมีฤทธิ์ทางด้านการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นโดยทีมวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พบว่า สารสกัดจากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เช่น Micrococcus sedentarius  Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum ทีมวิจัยจึงได้นำสารสกัดกระชายดำมาพัฒนาเป็นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นในรูปแบบสเปรย์นาโนอิมัลชัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (Antimicrobial activity) […]

The post สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น appeared first on NAC2021.

]]>

สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น

สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อุดม อัศวาภิรมย์
ดร.ดวงพร พลพานิช
นางสาวจารุวรรณ จูฑะมงคล
และนางสาวกรกต ศุภนคร
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

        กระชายดำเป็นพืชสมุนไพร ที่สามารถพบได้มากในประเทศไทยเช่น เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี พิษณุโลก และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ มีรายงานพบว่ากระชายดำมีสรรพคุณตามตำรายาไทยในด้าน บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้อาการเหนื่อยล้า เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบประสาท รักษาความสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ รักษาสมดุลของระบบการย่อย แก้โรคบิด ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว กระชายดำยังมีฤทธิ์ทางด้านการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นโดยทีมวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พบว่า สารสกัดจากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เช่น Micrococcus sedentarius  Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum ทีมวิจัยจึงได้นำสารสกัดกระชายดำมาพัฒนาเป็นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นในรูปแบบสเปรย์นาโนอิมัลชัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (Antimicrobial activity) จึงช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการสะสมของเชื้อราและแบคทีเรีย
  • เป็นผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
  • สูตรตำรับอยู่ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่น ที่ช่วยเพิ่มการกระจายตัวและความคงตัวของสารสกัดในสูตรตำรับ
  • ขั้นตอนการผลิตสามารถทำได้โดยอุปกรณ์เครื่องจัดทั่วไปในระดับอุตสาหกรรม

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ใช้สำหรับดับกลิ่นบริเวณที่เกิดการสะสมของแบคทีเรีย เช่น เท้า รักแร้ หรือบริเวณในร่มผ้า เป็นต้น

สถานภาพของผลงาน

        ได้รับความคุ้มครองภายใต้คำขออนุสิทธิบัตร ยื่นคำขอวันที่ 26 ก.ย. 2561

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลหรือเครื่องสำอาง
  • ผู้ผลิตสารสกัดธรรมชาติ

ติดต่อสอบถาม

สโรชา เพ็งศรี
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่มีส่วนประกอบของอนุภาคใบหมี่และบัวบก http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na02-hair-care/ Fri, 12 Mar 2021 07:25:01 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13199 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ที่มาและความสำคัญ จากการศึกษาเบื้องต้นของฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบหมี่ ซึ่งเป็นสมุนไพรธรรมชาติที่ใช้ทั่วไปในการผลิตแชมพูของภูมิปัญญาชาวบ้าน พบว่า สารสกัดใบหมี่มีความสามารถในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม นอกจากนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งของอาการผมร่วงอาจมาจากการอักเสบของหนังศีรษะ ดังนั้นการนำสารสกัดธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบของผิวหนัง เช่น ใบบัวบก มาเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์สำหรับผม จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง “แม้สารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยจะมีคุณสมบัติที่ดีมาก แต่ปัญหาของการทำผลิตภัณฑ์จากสารเหล่านี้คือ ความคงตัวของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากความไม่เสถียรของสารสกัด ทำให้เกิดการตกตะกอน เปลี่ยนสี หลังจากการผลิต รวมถึงอาจติดเชื้อ ทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหาย” โครงการวิจัย “อนุภาคสารสกัดใบหมี่และบัวบกสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง” จึงเกิดขึ้น โดย ดร.มัตถกาและทีมวิจัยของนาโนเทค พัฒนาอนุภาคลิโพนิโอโซมของสารสกัดใบหมี่ บัวบก และใบหมี่ผสมบัวบก จากการพัฒนาระบบห่อหุ้มที่ช่วยเพิ่มความคงตัวของสารสกัด พร้อมทั้งพัฒนาคุณสมบัติทางกายภาพเชิงเคมี เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ในการขึ้นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และมีความปลอดภัย หลังจาก พัฒนาให้สารสกัดมีความคงตัว โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสี ไม่มีการเจริญเติบโตของเชื้อ มีค่า pH ที่เหมาะสมกับเครื่องสำอาง มีการกระจายตัวที่ดีในสูตรตำรับ รวมถึงผ่านการทดสอบการระคายเคืองในอาสาสมัคร นักวิจัยพัฒนาต้นแบบแชมพู ครีมนวดผม และแฮร์โทนิค จากสารสกัดใบหมี่ผสมบัวบก ที่ปราศจากพาราเบน แอลกอฮอลล์ และสารก่อความระคายเคืองอื่นๆ พร้อมยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา […]

The post ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่มีส่วนประกอบของอนุภาคใบหมี่และบัวบก appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่มีส่วนประกอบของอนุภาคใบหมี่และบัวบก

ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่มีส่วนประกอบของอนุภาคใบหมี่และบัวบก

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ที่มาและความสำคัญ

        จากการศึกษาเบื้องต้นของฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบหมี่ ซึ่งเป็นสมุนไพรธรรมชาติที่ใช้ทั่วไปในการผลิตแชมพูของภูมิปัญญาชาวบ้าน พบว่า สารสกัดใบหมี่มีความสามารถในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม นอกจากนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งของอาการผมร่วงอาจมาจากการอักเสบของหนังศีรษะ ดังนั้นการนำสารสกัดธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบของผิวหนัง เช่น ใบบัวบก มาเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์สำหรับผม จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง

        “แม้สารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยจะมีคุณสมบัติที่ดีมาก แต่ปัญหาของการทำผลิตภัณฑ์จากสารเหล่านี้คือ ความคงตัวของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากความไม่เสถียรของสารสกัด ทำให้เกิดการตกตะกอน เปลี่ยนสี หลังจากการผลิต รวมถึงอาจติดเชื้อ ทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหาย”

        โครงการวิจัย “อนุภาคสารสกัดใบหมี่และบัวบกสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง” จึงเกิดขึ้น โดย ดร.มัตถกาและทีมวิจัยของนาโนเทค พัฒนาอนุภาคลิโพนิโอโซมของสารสกัดใบหมี่ บัวบก และใบหมี่ผสมบัวบก จากการพัฒนาระบบห่อหุ้มที่ช่วยเพิ่มความคงตัวของสารสกัด พร้อมทั้งพัฒนาคุณสมบัติทางกายภาพเชิงเคมี เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ในการขึ้นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และมีความปลอดภัย

        หลังจาก พัฒนาให้สารสกัดมีความคงตัว โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสี ไม่มีการเจริญเติบโตของเชื้อ มีค่า pH ที่เหมาะสมกับเครื่องสำอาง มีการกระจายตัวที่ดีในสูตรตำรับ รวมถึงผ่านการทดสอบการระคายเคืองในอาสาสมัคร นักวิจัยพัฒนาต้นแบบแชมพู ครีมนวดผม และแฮร์โทนิค จากสารสกัดใบหมี่ผสมบัวบก ที่ปราศจากพาราเบน แอลกอฮอลล์ และสารก่อความระคายเคืองอื่นๆ พร้อมยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

      • อนุภาคลิโพนิโอโซมของสารสกัดใบหมี่ บัวบก เป็นการห่อหุ้มสารสกัดสมุนไพรด้วยอนุภาคนาโน ทำให้ความคงตัวเพิ่มสูงขึ้น ลดปัญหา สี กลิ่น การตกตะกอนที่ไม่ถูกใจ
ผู้ใช้
      • ส่วนประกอบที่มีในผลิตภัณฑ์นี้ ปราศจากพาราเบน แอลกอฮอลล์ สารแต่งสีและกลิ่น และสารก่อความระคายเคืองอื่นๆ ซึ่งผ่านการทดสอบการระคายเคืองเป็นที่เรียบร้อย
      • ช่วยเพิ่มความคงตัวของสารสกัดใบหมี่และบัวบกในผลิตภัณฑ์แฮร์โทนิค ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ของสารสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลจากการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการกับเซลล์ผิวหนังและเซลล์รากผมพบว่า มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผมได้ดีเทียบเท่ากับยารักษาอาการผมร่วงที่มีอยู่ในท้องตลาด และลดการอักเสบในเซลล์รากผมทำให้ช่วยกระตุ้นเซลล์รากผมได้ดีกว่า 20-30% เมื่อเทียบกับสารสกัดแบบดั้งเดิม

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        เทคโนโลยีนาโนเอนแคปซูเลชั่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ โดยเทคโนโลยีการทำอนุภาคนาโนห่อหุ้มสารสกัดใบหมี่และบัวบกนี้ สามารถพัฒนาสารสกัดดั่งเดิมเพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัฑฑ์ดูแลเส้นผมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สถานภาพของผลงาน

        คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803001112 เรื่อง วิธีการสกัดสารสำคัญจากต้นหมี่ และอนุภาคนาโนของสารสกัดจากต้นหมี่และต้นบัวบก ยื่นคำขอวันที่ 11 พ.ค. 2561

กลุ่มเป้าหมาย

        • ผู้ผลิตสารสกัดจากธรรมชาติ
        • ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม
        • ผู้ผลิตเครื่องสำอาง

นักวิจัย

        ดร.มัตถกา คงขาว
        ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ติดต่อสอบถาม

สโรชา เพ็งศรี
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่มีส่วนประกอบของอนุภาคใบหมี่และบัวบก appeared first on NAC2021.

]]>