NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Fri, 10 Dec 2021 13:55:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/12/10/zinc-ion-%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%86%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad-%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b7/ Fri, 10 Dec 2021 13:55:24 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=23196 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์ / ฆ่าเชื้อบนพื้นผิว สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นหลายเท่าตัว สามารถต่อยอดไอออนจากธาตุอาหารเสริมสู่ผลิตภัณฑ์ที่ฆ่าเชื้อในโรงเรือน ฟาร์มสัตว์ และสัตว์โดยเฉพาะต้านการอักเสบของเต้านมโค รวมไปถึงวัตถุดิบในอาหารสัตว์เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ ความสำคัญของงานวิจัย : เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มากกว่า 80% ในประเทศไทยเลือกใช้ยาปฏิชีวนะตลอดวงจรการเลี้ยงสัตว์ในการรักษาโรค ป้องกันโรค และเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้องและขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ยาปฏิชีวะตกค้างในเนื้อสัตว์และพบการดื้อยาหลายขนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล รวมถึงการระงับการนำเข้าหรือส่งคืนสินค้าที่มาจากประเทศไทย งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากไอออนประจุบวกของซิงค์ ซึ่งเป็นไอออนจากแร่ธาตุอาหารเสริมของ คน สัตว์ และพืช เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ Benzion “Benzion” สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD; Foot and Mouth Disease) ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมีอยู่หลายชนิดและหลายสายพันธุ์ อุตสาหกรรมฟาร์มโคนม กระบือ […]

The post Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>

Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์

Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV)
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

        Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์ / ฆ่าเชื้อบนพื้นผิว สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นหลายเท่าตัว สามารถต่อยอดไอออนจากธาตุอาหารเสริมสู่ผลิตภัณฑ์ที่ฆ่าเชื้อในโรงเรือน ฟาร์มสัตว์ และสัตว์โดยเฉพาะต้านการอักเสบของเต้านมโค รวมไปถึงวัตถุดิบในอาหารสัตว์เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ

ความสำคัญของงานวิจัย :

        เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มากกว่า 80% ในประเทศไทยเลือกใช้ยาปฏิชีวนะตลอดวงจรการเลี้ยงสัตว์ในการรักษาโรค ป้องกันโรค และเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้องและขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ยาปฏิชีวะตกค้างในเนื้อสัตว์และพบการดื้อยาหลายขนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล รวมถึงการระงับการนำเข้าหรือส่งคืนสินค้าที่มาจากประเทศไทย

        งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากไอออนประจุบวกของซิงค์ ซึ่งเป็นไอออนจากแร่ธาตุอาหารเสริมของ คน สัตว์ และพืช เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผลิตภัณฑ์ Benzion

      “Benzion” สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD; Foot and Mouth Disease) ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมีอยู่หลายชนิดและหลายสายพันธุ์ อุตสาหกรรมฟาร์มโคนม กระบือ แพะ แกะ และสุกร โดยสามารถฉีดพ่นบนพื้นผิวต่างๆหรือบนตัวสัตว์ได้โดยตรง สามารถฆ่าและป้องกันเชื้อแบคทีเรีย เช่น E. coli, S. aureus, Pseudomonan aeruginosa, Enterobacter aerogenes และ Salmonella Typhimurium และเชื้อไวรัสเป้าหมายที่เป็นไฮไลท์ ได้แก่ FMD, PED, และ African swine fever virus (ASFv) เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์สารคีเลตแบบน้ำและแบบผงแห้งทั้งหมด 10 ผลิตภัณฑ์

    “สารคีเลต” สารอินทรีย์ซึ่งสามารถจับกับแร่ธาตุประจุบวก ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง โคบอลต์ โครเมียม แมงกานีส โดยสารคีเลตจะล้อมแคตไอออนหรือประจุบวกของธาตุที่เป็นโลหะไว้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่า

    แร่ธาตุรอง (Trace mineral) ที่จําเป็นในรูปแบบของกรดอะมิโนคีเลตมีความเสถียรสูง ไม่เข้าทําปฏิกิริยากับสารอื่น ทำให้มีการใช้ประโยชน์ได้ของแร่ธาตุมากขึ้น จึงลดการขับทิ้งลงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มกระบวนการดูดซึมบริเวณผนังลําไส้ผ่านทางกลไกการดูดซึมกรดอะมิโน สามารถผสมเข้ากันกับอาหารได้ดี

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี :

        ผลิตภัณฑ์ Benzion ใช้ Ionic Technology และ Chelation Technology ซึ่งอาศัยหลักการแทนที่โมเลกุลของน้ำที่ล้อมรอบซิงค์ไอออนด้วยสารที่เรียกว่า chelating agent เพื่อทำให้ซิงค์ไอออนคงตัวในน้ำและในสภาวะแวดล้อมต่างๆ ป้องการจับของแอนไอออนและสารอินทรีย์ และป้องกันการตกตะกอน ทำให้ไอออนประจุบวกของซิงค์มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อก่อโรคได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเกลือซิงค์ซัลเฟต

การต่อยอดสู่สูตรน้ำยาเช็ดเต้านมวัวก่อนรีดนมและหลังรีดนมวัว ทดแทนการใช้คลอรีน
        โรคเต้านมอักเสบ (mastitis) ในโคนมนั้น เป็นปัญหาสำคัญในทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เนื่องจากคุณภาพของน้ำนมโคที่ได้นั้นลดต่ำลง ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อ Staphylococcus aureus และ Streptococcus agalactiae จากผลิตภัณฑ์ Benzion สามารถนำมาต่อยอดเป็นสูตรน้ำยาเช็ดเต้านมวัวก่อนรีดนมและหลังรีดนมวัว ทดแทนการใช้คลอรีน โดยใช้เทคโนโลยี nanoemulsion ร่วมด้วยเพื่อให้เกิดเป็นฟิล์มเคลือบบนผิวเต้านมวัว จากผลการทดสอบสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli, Pseudomonas aeruginosa, staphylococcus aureus และ Enterobacter aerogenes ได้มากกว่า 6 log reduction ในระยะเวลา 1-5 นาที

**อนุสิทธิบัตรเลขที่คำขอ 1903001426 องค์ประกอบสำหรับฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ 30 พฤษภาคม 2562

การสังเคราะห์สารคีเลตของกรดอะมิโนกับโลหะ

ตัวอย่างสารคีเลตของกรดอะมิโนกับโลหะ

        สารคีเลตที่พัฒนาขึ้นนั้น สามารถยืนยันการเกิดคีเลตของกรดอะมิโนกับโลหะได้ สารคีเลตมีความคงตัวในช่วง pH ที่กว้าง ละลายน้ำได้ดี ที่สำคัญยังสามารถพัฒนาสูตรเป็นแร่ธาตุคีเลตรวมที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุคีเลตของโลหะต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสัตว์แต่ละประเภทได้ เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก สัตว์ที่ให้น้ำนม และสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

        โดยผลการทดสอบประสิทธิภาพสารคีเลตเพื่อใช้เป็นแร่ธาตุอาหารเสริมในกุ้งขาวและปลานิลดำพบว่าสารคีเลตสามารถเพิ่มการดูดซึมในกุ้งขาวและปลานิลดำ และสามารถใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุของสารคีเลตได้ดี แม้มีปริมาณน้อยกว่าแร่ธาตุอนินทรีย์ถึง 2 เท่า

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>
Semina VDO Template http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/25/semina-vdo-template/ Thu, 25 Mar 2021 08:55:20 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=21601 วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=XHOmBV4js_E เอกสารประกอบการสัมมนา ใส่ชื่อเอกสาร และลิงก์ ใส่ชื่อเอกสาร และลิงก์ ใส่ชื่อเอกสาร และลิงก์

The post Semina VDO Template appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

The post Semina VDO Template appeared first on NAC2021.

]]>
เรียนรู้ฟิสิกส์จากเซิร์น http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/physic-with-cern/ Tue, 23 Mar 2021 15:52:52 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20226 ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4

The post เรียนรู้ฟิสิกส์จากเซิร์น appeared first on NAC2021.

]]>

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

ตอนที่ 3

ตอนที่ 4

The post เรียนรู้ฟิสิกส์จากเซิร์น appeared first on NAC2021.

]]>
การประยุกต์ใช้ประโยชน์เครื่องมือวิจัยและความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาค http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/particle-application-and-research/ Tue, 23 Mar 2021 15:21:54 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20132 The post การประยุกต์ใช้ประโยชน์เครื่องมือวิจัยและความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาค appeared first on NAC2021.

]]>

The post การประยุกต์ใช้ประโยชน์เครื่องมือวิจัยและความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาค appeared first on NAC2021.

]]>
เครื่องตรวจวัดอนุภาค Detectors http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/particles-detectors/ Tue, 23 Mar 2021 15:21:54 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20133 The post เครื่องตรวจวัดอนุภาค Detectors appeared first on NAC2021.

]]>

The post เครื่องตรวจวัดอนุภาค Detectors appeared first on NAC2021.

]]>
อนุภาคฮิกส์และสนามของฮิกส์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/higgs-particle/ Tue, 23 Mar 2021 15:15:08 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20115 ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ: Higgs-Field

The post อนุภาคฮิกส์และสนามของฮิกส์ appeared first on NAC2021.

]]>

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post อนุภาคฮิกส์และสนามของฮิกส์ appeared first on NAC2021.

]]>
เครื่องเร่งอนุภาค Accelerators http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/particle-accelerators/ Tue, 23 Mar 2021 15:15:08 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20116 The post เครื่องเร่งอนุภาค Accelerators appeared first on NAC2021.

]]>

The post เครื่องเร่งอนุภาค Accelerators appeared first on NAC2021.

]]>
อนุภาคคืออะไร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/what-is-particle-cern/ Tue, 23 Mar 2021 15:08:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20102 ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ: Particles Fundamental

The post อนุภาคคืออะไร appeared first on NAC2021.

]]>

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post อนุภาคคืออะไร appeared first on NAC2021.

]]>
นิทรรศการ 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/20-years-thai-cern/ Tue, 23 Mar 2021 15:00:44 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20086 The post นิทรรศการ 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี appeared first on NAC2021.

]]>

The post นิทรรศการ 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี appeared first on NAC2021.

]]>
ALICE Collaboration และความร่วมมือกับประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/alice-collaboration/ Sat, 20 Mar 2021 11:01:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=18215 นักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษาการเกิดขึ้นของเอกภพว่าเกิดขึ้นอย่างไร และ ต้องการที่จะรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จากการศึกษาในเชิงทฤษฎีพบว่ากระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้มาจาก ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang) ซึ่งคาดว่าเกิดขึ้นและผ่านมาแล้วเป็นเวลากว่า 13.8 พันล้านปี โดยพลังงานจากทฤษฎีบิ๊กแบงได้เปลี่ยนรูปไปเป็นอนุภาคมูลฐาน เช่น ควาร์ก เลปตอนและ กลูออน ก่อนในขั้นตอนแรก แล้วหลังจากนั้น ควาร์ก เลปตอนและ กลูออน จึงรวมตัวเป็น นิวเคลียส อะตอม โมเลกุล และสสาร ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนและขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ รูปที่ 1 กำเนิดเอกภพตามแนวคิดตาม ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang)ที่มา:http://3.bp.blogspot.com/_ee6egjqDMoM/TEh6Rv_Or8I/AAAAAAAAAA4/L7SlBktIT4/s1600/9108002%5B1%5D.jpg เพื่อที่จะทำการศึกษากระบวนการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเสี้ยววินาทีหลังจากบิ๊กแบงเรียกว่า ควาร์ก-กลูออน พลาสมา ซึ่งเป็นช่วงที่มีเฉพาะควาร์กและกลูออนเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นนำของโลกจากหลากหลายประเทศ จึงได้ร่วมมือกันออกแบบหัววัด ที่เรียกว่า อลิซ (A Large Ion Collider Experiment, ALICE)  เพื่อตรวจหาปรากฏการณ์นี้จากการวัดอนุภาคมูลฐานจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นหลังการชนของไอออนหนัก รูปที่ 2 […]

The post ALICE Collaboration และความร่วมมือกับประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

นักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษาการเกิดขึ้นของเอกภพว่าเกิดขึ้นอย่างไร และ ต้องการที่จะรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จากการศึกษาในเชิงทฤษฎีพบว่ากระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้มาจาก ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang) ซึ่งคาดว่าเกิดขึ้นและผ่านมาแล้วเป็นเวลากว่า 13.8 พันล้านปี

โดยพลังงานจากทฤษฎีบิ๊กแบงได้เปลี่ยนรูปไปเป็นอนุภาคมูลฐาน เช่น ควาร์ก เลปตอนและ กลูออน ก่อนในขั้นตอนแรก แล้วหลังจากนั้น ควาร์ก เลปตอนและ กลูออน จึงรวมตัวเป็น นิวเคลียส อะตอม โมเลกุล และสสาร ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนและขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ

รูปที่ 1 กำเนิดเอกภพตามแนวคิดตาม ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang)
ที่มา:http://3.bp.blogspot.com/_ee6egjqDMoM/TEh6Rv_Or8I/AAAAAAAAAA4/L7SlBktIT4/s1600/9108002%5B1%5D.jpg

เพื่อที่จะทำการศึกษากระบวนการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเสี้ยววินาทีหลังจากบิ๊กแบงเรียกว่า ควาร์ก-กลูออน พลาสมา

ซึ่งเป็นช่วงที่มีเฉพาะควาร์กและกลูออนเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นนำของโลกจากหลากหลายประเทศ จึงได้ร่วมมือกันออกแบบหัววัด ที่เรียกว่า อลิซ (A Large Ion Collider Experiment, ALICE)  เพื่อตรวจหาปรากฏการณ์นี้จากการวัดอนุภาคมูลฐานจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นหลังการชนของไอออนหนัก

รูปที่ 2 ภาพการรวมตัวของควาร์ก เป็น นิวเคลียส อะตอม โมเลกุล และสสาร ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนและขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ
ที่มา:https://inpp.ohio.edu/~rochej/group_page/strongly_interacting.html

หัววัดอลิซ จัด เป็น 1 ใน 7 หัววัดหลัก ที่ติดตั้งบริเวณ  เครื่องเร่งอนุภาคฮาดรอนขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider, LHC)  ณ องค์กรแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ หรือ เซิร์น  สมาพันธรัฐสวิส  การสร้างหัววัดต่าง ๆ เหล่านี้ต้องใช้เทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงที่มีความซับซ้อน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงมีพระราชดําริ ว่า หากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทํางานวิจัยร่วมกับเซิร์น ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงชั้นนําระดับโลก ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศเป็นอันมาก

รูปที่ 3 พระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง มทส. และ อลิซ, เซิร์น 
ณ วังสระปทุม เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หน่วยงานในประเทศไทยอันประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และ  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)   จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยออกแบบและพัฒนาระบบติดตามทางเดินของอนุภาค (Inner Tracking System, ITS) ร่วมกับนักวิจัยชั้นนำจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ที่เหมือนกับเซนเซอร์ของกล้องถ่ายภาพ แต่มีความไวและความละเอียดในการวัดสูงมาก  เมื่อมีอนุภาคที่มีประจุวิ่งผ่านเซนเซอร์ เซนเซอร์จะส่งสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ทราบถึงตำแหน่งที่อนุภาคเคลื่อนที่ผ่าน 

รูปที่ 4 แสดงทางเดินและจำนวนอนุภาคที่เกิดขึ้นในการชนที่หัววัดอลิซในแต่ละครั้ง โดยเส้นแต่ละเส้น คือ เส้นทางการเดินทางของอนุภาค 1 ตัว ที่เกิดขึ้นหลังการชน 1 ครั้ง

อนุภาคที่เกิดขึ้นหลังการชนกันของ LHC แต่ละครั้ง มีจำนวนมหาศาล  โดยจากรูปที่ 4 เส้นแต่ละเส้น คือ เส้นทางการเดินทางของอนุภาค 1 ตัว ที่เกิดขึ้นหลังการชน 1 ครั้ง   เส้นเหล่านี้สร้างจากการนำข้อมูลที่เซนเซอร์บันทึกไว้มาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance  Computing, HPC) 

เซนเซอร์ในระบบติดตามทางเดินของอนุภาคที่ทางประเทศไทยเข้าไปร่วมออกแบบเรียกว่า อัลไพด์ (ALICE Pixel Detector, ALPIDE) ซึ่งมีขนาดกว้าง 1.5 x 3.0 ตารางเซนติเมตร  การสร้างระบบติดตามทางเดินของอนุภาค นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจะนำเซนเซอร์อัลไพด์มาเรียงกันเป็น แถบ(stave) แล้วนำมาเรียงประกอบกันเป็นรูปทรงกระบอกล้อมรอบบริเวณที่เกิดการชนกันของอนุภาค 

 A) รูปภาพของเซนเซอร์อัลไพด์

B) นำเซนเซอร์อัลไพด์มาเรียงเป็นแถบ

C) นำแถบเซนเซอร์มาเรียงเป็นครึ่งทรงกระบอก

 D) แถบเซนเซอร์ที่เรียงเป็นครึ่งทรงกระบอกแล้วเสร็จ

E) ครึ่งทรงกระบอก นำมาประกอบเป็นทรงกระบอกล้อมรอบ จุดที่เกิดการชนของอนุภาค

รูปที่ 5 แสดงภาพรวมการดำเนินงานของการสร้างระบบติดตามทางเดินของอนุภาค 
ที่มา: M. Keil 2015 JINST 10 C03012,  https://ep-news.web.cern.ch/alice-its-upgrade-pixels-quarks (b)
http://cds.cern.ch/record/2690228?ln=en (c), (d) Reidt 2016 JINST 11 C12038 (e)

The post ALICE Collaboration และความร่วมมือกับประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
CMS และความร่วมมือกับประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/cms-collaboration-th/ Sat, 20 Mar 2021 10:14:25 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=18079 Compact Muon Solenoid หรือ CMS เป็นเครื่องตรวจวัดอนุภาคอเนกประสงค์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ตรวจวัดอนุภาคที่เกิดจาก การชนกันของลำอนุภาคโปรตอนในเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider หรือ LHC ที่ CERN ในการศึกษาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง การศึกษาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงเป็นสาขาการวิจัยระดับแนวหน้าที่มุ่งอธิบายสมบัติทางกายภาพของธรรมชาติในรายละเอียดของสิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุด (ไม่สามารถแตกย่อยได้อีก) เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “อนุภาคมูลฐาน” (หมายถึง อนุภาคที่ไม่ได้ประกอบขึ้นจากอนุภาคอื่น ไม่มีโครงสร้างภายใน ไม่สามารถแบ่งแยกย่อยต่อไปได้อีก) ทั้งนี้สมบัติของอนุภาคมูลฐานและอันตรกิริยาระหว่างอนุภาคที่พบจนถึงปัจจุบันสามารถอธิบายได้ครอบคลุมเกือบทั้งหมดโดยทฤษฎีที่เรียกว่า “แบบจำลองมาตรฐาน : Standard Model” ซึ่งเป็นทฤษฎีที่รวบรวมฟิสิกส์ควอนตัม ทฤษฎีเกจสมมาตร และสัมพัทธภาพพิเศษเข้าไว้ด้วยกัน ในปัจจุบันตามแบบจำลองมาตรฐาน กำหนดว่ามีอนุภาคมูลฐานเป็นจำนวน 30 ชนิด และจากการทดลองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักฟิสิกส์พบว่าโดยรวมแล้วสมบัติของอนุภาคมูลฐานที่อธิบายโดยแบบจำลองมาตรฐานมีความสอดคล้องกับผลการทดลองส่วนใหญ่ที่ได้ดำเนินการมาในอดีต Compact Muon Solenoid หรือ CMS เป็นเครื่องตรวจวัดอนุภาคอเนกประสงค์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ตรวจวัดอนุภาคที่เกิดจากการชนกันของลำอนุภาคโปรตอนในเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider หรือ LHC ที่ CERN เพื่อศึกษาทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์พลังงานสูง (Standard Model) ในระดับพลังงานที่สูงมากขึ้น รวมถึงค้นหาอนุภาคใหม่ […]

The post CMS และความร่วมมือกับประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

Compact Muon Solenoid หรือ CMS เป็นเครื่องตรวจวัดอนุภาคอเนกประสงค์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ตรวจวัดอนุภาคที่เกิดจาก การชนกันของลำอนุภาคโปรตอนในเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider หรือ LHC ที่ CERN ในการศึกษาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง

การศึกษาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงเป็นสาขาการวิจัยระดับแนวหน้าที่มุ่งอธิบายสมบัติทางกายภาพของธรรมชาติในรายละเอียดของสิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุด (ไม่สามารถแตกย่อยได้อีก) เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “อนุภาคมูลฐาน” (หมายถึง อนุภาคที่ไม่ได้ประกอบขึ้นจากอนุภาคอื่น ไม่มีโครงสร้างภายใน ไม่สามารถแบ่งแยกย่อยต่อไปได้อีก) ทั้งนี้สมบัติของอนุภาคมูลฐานและอันตรกิริยาระหว่างอนุภาคที่พบจนถึงปัจจุบันสามารถอธิบายได้ครอบคลุมเกือบทั้งหมดโดยทฤษฎีที่เรียกว่า “แบบจำลองมาตรฐาน : Standard Model” ซึ่งเป็นทฤษฎีที่รวบรวมฟิสิกส์ควอนตัม ทฤษฎีเกจสมมาตร และสัมพัทธภาพพิเศษเข้าไว้ด้วยกัน ในปัจจุบันตามแบบจำลองมาตรฐาน กำหนดว่ามีอนุภาคมูลฐานเป็นจำนวน 30 ชนิด และจากการทดลองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักฟิสิกส์พบว่าโดยรวมแล้วสมบัติของอนุภาคมูลฐานที่อธิบายโดยแบบจำลองมาตรฐานมีความสอดคล้องกับผลการทดลองส่วนใหญ่ที่ได้ดำเนินการมาในอดีต

Compact Muon Solenoid หรือ CMS เป็นเครื่องตรวจวัดอนุภาคอเนกประสงค์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ตรวจวัดอนุภาคที่เกิดจากการชนกันของลำอนุภาคโปรตอนในเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider หรือ LHC ที่ CERN เพื่อศึกษาทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์พลังงานสูง (Standard Model) ในระดับพลังงานที่สูงมากขึ้น รวมถึงค้นหาอนุภาคใหม่ ๆ ทั้งที่ทำนายไว้ในทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐาน อาทิ อนุภาคฮิกส์ หรืออนุภาคที่ทำนายไว้ในกลุ่มของทฤษฎีนอกเหนือจากแบบจำลองมาตรฐาน (Beyond Standard Model) อาทิ อนุภาคสมมาตรยิ่งยวด หรือการไขความลับของสสารมืด (Dark matter) เป็นต้น

เครื่องตรวจวัดอนุภาค CMS ถูกสร้างขึ้นขนาบขดลวดตัวนำยิ่งยวดรูปทรงกระบอก ที่ผลิตสนามแม่เหล็กแรงสูงขนาดถึง 3.8 เทสลา (ความแรงมากกว่าสนามแม่เหล็กโลกประมาณ 100,000 เท่า) ทำให้อนุภาคที่เกิดจากการชนกันในเครื่องเร่งอนุภาค LHC ที่มีประจุไฟฟ้ามีการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง สามารถช่วยจำแนกอนุภาคประจุบวกและประจุลบ รวมถึงคำนวณค่าโมเมนตัมของอนุภาคที่เกิดขึ้นได้ ระหว่างขดลวดตัวนำยิ่งยวดนี้ เครื่องตรวจวัดอนุภาค CMS ประกอบด้วยระบบตรวจจับ 4 ชนิด

  • ระบบตามรอยแบบซิลิกอน (Silicon Tracker System)
    ประกอบด้วยระบบตามรอยแบบ pixel และแบบ silicon strip ซึ่งทำให้เครื่องตรวจวัดอนุภาค CMS สามารถหาเส้นทางของอนุภาคที่เกิดจากการชนกันให้มีความแม่นยำสูง ระบบตามรอยสามารถตรวจสอบเส้นทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคมิวออนพลังงานสูง อิเล็กตรอน และฮาดรอน (อนุภาคที่มีควาร์กเป็นส่วนประกอบ) รวมไปถึงตรวจสอบเส้นทางการสลายตัวของอนุภาคที่มีอายุสั้น เช่น บีควาร์กและซีควาร์ก ซึ่งนำมาใช้ในการศึกษาอนุภาคจากทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวดได้
  • เครื่องตรวจวัดพลังงาน Electromagnetic Calorimeter หรือ ECAL
    เป็นเครื่องตรวจวัดพลังงานของอิเล็กตรอนและอนุภาคโฟตอน (อนุภาคแสง) แบบเป็นเนื้อเดียวกัน คือทำจากวัสดุที่สามารถทำให้เกิดการสลายตัวและวัดพลังงานได้ภายในเนื้อเดียวกัน วัสดุที่ว่านี้คือแท่งแก้วคริสตัล lead tungstate ซึ่งจะเกิดเป็นประกายแสงเมื่อมีอนุภาคผ่านเข้ามา ปริมาณของประกายแสงจะขึ้นอยู่กับพลังงานของอนุภาค ทำให้สามารถนำมาคำนวณพลังงานของอิเล็กตรอนและอนุภาคโฟตอนได้

  • เครื่องตรวจวัดพลังงาน Hadron Calorimeter หรือ HCAL
    เป็นเครื่องตรวจวัดพลังงานแบบเนื้อผสม ประกอบไปด้วยชั้นของวัสดุที่มีความหนาแน่นสูง อาทิ ทองเหลืองหรือเหล็กสลับกัน และเครื่องตรวจวัดพลังงานด้วยแสง (plastic scintillator) ที่ทำให้เกิดประกายแสงเมื่อมีอนุภาควิ่งผ่าน โดยเฉพาะอนุภาคฮาดรอนที่มีควาร์กเป็นส่วนประกอบ อาทิ โปรตอน นิวตรอน พายออน และเคออน เป็นต้น

  • เครื่องตรวจวัดเส้นทางของอนุภาคมิวออน หรือ Muon Chamber
    ติดตั้งอยู่ภายนอกขดลวดแม่เหล็กทรงกระบอก โดยทำการวัดตำแหน่งการชนของอนุภาคมิวออนกับอะตอมของก๊าซภายในสี่เครื่องตรวจวัดย่อย แต่ละเครื่องตรวจวัดสอดแทรกอยู่ระหว่างโลหะควบคุมทิศทางสนามแม่เหล็กหรือ return yoke เมื่อนำข้อมูลจาก Muon Chamber ทั้งสี่เครื่องตรวจวัดมารวมกับระบบตามรอยอนุภาคซิลิกอน จะสามารถระบุเส้นทางการเคลื่อนที่ของมิวออนได้อย่างแม่นยำ

เมื่อรวมระบบตรวจจับ 4 ชนิด เครื่องตรวจวัดอนุภาค CMS สามารถตรวจวัดพลังงานแบบครอบคลุมทุกทิศทาง เพื่อสามารถระบุ “พลังงานที่หายไป” จากอนุภาคที่ไม่สามารถตรวจวัดได้ อาทิ อนุภาคนิวตริโน และนิวตราลิโนในทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวด เป็นต้น การตรวจวิเคราะห์อนุภาคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับแบบจำลองหรือแนวคิดทางทฤษฎีต่าง ๆ จะนำไปสู่การค้นพบอนุภาคชนิดใหม่หรือทฤษฎีฟิสิกส์ใหม่ ๆ ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ประเทศไทยนำโดยทีมนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินความร่วมมือกับ CMS ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา โดยมุ่งเน้นความร่วมมือด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางฟิสิกส์ การพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ของ CMS การจัดการข้อมูลผลการทดลอง และการพัฒนาเครื่องตรวจวัดอนุภาคฮาดรอน ซึ่งนักวิจัยไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในหลากหลายส่วนงานดังต่อไปนี้

  • ความร่วมมือด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางฟิสิกส์
    ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐานผ่านกระบวนการเกิดท็อปควาร์ก 4 ตัว (tttt production) และกระบวนการเกิดคู่อนุภาคฮิกซ์ (Higgs pair production) รวมถึงการค้นหาฟิสิกส์นอกเหนือแบบจำลองมาตรฐาน ได้แก่ การค้นหาแม่เหล็กขั้วเดียว (monopole) และการค้นหาอนุภาคฮิกซ์ที่มวลอื่น ๆ (heavy Higgs searches)

  • ความร่วมมือด้านการพัฒนา CMS ซอฟต์แวร์
    เพื่อการจำลองและประมวลผลของ CMS สำหรับ High Luminosity LHC โดยทดลองใช้เทคนิค Loop optimization เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ การประสานงานและติดตามการปรับปรุงประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ทั้งทางด้าน Physics performance และความต้องการ computing resource ในการประมวลผล 

  • ความร่วมมือด้านการจัดการหรือ operation
    นักวิจัยไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในทีมบริหารของ CMS เพื่อทำหน้าที่ดูแลการจัดการข้อมูลผลการทดลองและการจำลองด้วยวิธีมอนติคาร์โล และตรวจสอบคุณภาพของ CMS ซอฟต์แวร์ รวมถึงการดูแลให้ทุกส่วนงานใน CMS สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ความร่วมมือด้านการพัฒนาเครื่องตรวจวัดอนุภาครุ่นใหม่
    โดยทำการศึกษาคุณสมบัติของซิลิกอนเซนเซอร์ ที่จะนำไปใช้ในส่วนของการพัฒนาเครื่องตรวจวัดพลังงานความละเอียดสูง (High-granularity calorimeter, HGCAL) สำหรับ High-Luminosity LHC ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องในปี ค.ศ. 2027 ต่อไป

The post CMS และความร่วมมือกับประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูง โครงการความร่วมมือไทยกับเซิร์น ตามแนวพระราชดำริฯ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/princess-project-with-cern/ Sat, 20 Mar 2021 08:50:35 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17873 โครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สนพระทัยในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเซิร์น ทรงมีพระราชดำริที่จะให้นักวิทยาศาสตร์จากประเทศไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยที่เซิร์น ทรงแสดงความสนพระทัยในงานของเซิร์นโดยได้ทรงเสด็จนำคณะนักวิทยาศาสตร์ไทยไปเยือนเซิร์นถึง 6 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค DELPHI (Detector with Lepton, Photon and Hadron Identification) สำหรับเครื่องเร่งอนุภาค Large Electron-Positron Collider (LEP) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ณ การประชุม RSIS: Role of Science in Information Society ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม […]

The post พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูง โครงการความร่วมมือไทยกับเซิร์น <br>ตามแนวพระราชดำริฯ appeared first on NAC2021.

]]>

โครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สนพระทัยในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเซิร์น ทรงมีพระราชดำริที่จะให้นักวิทยาศาสตร์จากประเทศไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยที่เซิร์น ทรงแสดงความสนพระทัยในงานของเซิร์นโดยได้ทรงเสด็จนำคณะนักวิทยาศาสตร์ไทยไปเยือนเซิร์นถึง 6 ครั้ง

ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค DELPHI (Detector with Lepton, Photon and Hadron Identification) สำหรับเครื่องเร่งอนุภาค Large Electron-Positron Collider (LEP)

ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ณ การประชุม RSIS: Role of Science in Information Society

ครั้งที่ 3

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค Compact Muon Solenoid (CMS) สำหรับเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC)

ครั้งที่ 4

เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ ศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวเครื่องตรวจวัดอนุภาค ATLAS (A Toroidal LHC ApparatuS) และศูนย์ทดสอบแม่เหล็ก SM18

ครั้งที่ 5

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ทรงเป็นสักขีในการลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กับ CERN และเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค และเครื่องตรวจวัดอนุภาคเพื่อการแพทย์, CMS Crystal factory และเครื่องเร่งอนุภาค Low Energy Ion Ring (LIER)

ครั้งที่ 6

ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค ALICE (A Large Ion Collider Experiment) และศูนย์ประกอบ Inner Tracking System (ITS)
รุ่นที่ 2

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา หน่วยงานในประเทศไทยได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานของเซิร์นรวมทั้งหมด 6 ฉบับ และการลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศกับเซิร์น (International Cooperation Agreement – ICA) ตามลำดับ การลงนามในครั้งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นหลังจากการพัฒนาความสัมพันธ์ในด้านการศึกษา การวิจัย การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศร่วมกับเซิร์นที่พัฒนามากยิ่งขึ้นตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การลงนามเอกสารแสดงเจตจำนงที่จะมีความร่วมมือกัน (Expression of Interest : EOI)

ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และ Compact Muon Solenoid (CMS) Collaboration ซึ่งเป็นหนึ่งในการทดลองของเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 ณ CERN Point-5, CMS detector หมู่บ้าน CESSY ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยกับเซิร์น เพื่อสนับสนุนความร่วมมือวิจัยระหว่างหน่วยงานของประเทศไทยกับเซิร์น ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการสนองแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านวิชาการ CERN-DESY-GSI/FAIR  และได้เริ่มจัดกิจกรรมการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนเซิร์น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา

2. การลงนาม MoU ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ CMS Collaboration

การลงนาม MoU ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ CMS Collaboration

3. การลงนาม MoU ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ CMS Collaboration

ซึ่งเป็นหนึ่งในการทดลองของเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ณ วังสระปทุม

4. การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ Worldwide LHC Computing Grid (WLCG)

ระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับเซิร์น เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556 ณ วังสระปทุม

5. การลงนาม MoU ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ของเซิร์น

ในความร่วมมือด้านเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์และประยุกต์อื่น ๆ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ เซิร์น

5. การลงนาม MoU ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ของเซิร์น

ในความร่วมมือด้านเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์และประยุกต์อื่น ๆ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ เซิร์น

6. การลงนาม MoU ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนและ ALICE Collaboration

เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 ณ วังสระปทุม

7. การลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Cooperation Agreement – ICA)

ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ วังสระปทุม เป็นยกระดับความร่วมมือกับเซิร์น จากระดับหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย ขึ้นมาเป็นระดับรัฐบาล

การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเซิร์น

ความร่วมมือกับเซิร์นเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทย ได้เรียนรู้ความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูงและฟิสิกส์อนุภาค เซิร์นเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ไทยได้เข้าร่วมทำงานวิจัยกับบุคลากรของเซิร์น เข้าใช้เครื่องมือและข้อมูลที่ไม่สามารถจัดซื้อหรือจัดสร้างได้ในประเทศไทย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค เครื่องตรวจวัดอนุภาค และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้หลาย ๆ อย่างได้รับการนำไปพัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อการประยุกต์ใช้  รวมถึงด้านการศึกษาที่เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของเซิร์นในการให้การศึกษากับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรในอนาคต รวมถึงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ นำมาซึ่งการยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย และการสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. การคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาและครูฟิสิกส์เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นที่เซิร์น ดังนี้

A. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น (CERN Summer Student Programme)

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นให้แก่นักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลกได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โดยรับนักศึกษาที่ศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ในสาขาฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อมาเรียนรู้พันธกิจของเซิร์น แนวทางการวิจัยและพัฒนาทางด้านฟิสิกส์อนุภาคในอนาคต ตลอดจนร่วมในการทำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม 

จนถึงปัจจุบันประเทศไทยได้จัดส่งนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแล้ว รวมจำนวน 11 รุ่น (พ.ศ. 2553 – 2563) 
มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 30 คน

B. โครงการครูภาคฤดูร้อน (High School Teacher Programme)

เป็นโครงการที่จัดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541  เพื่อที่จะพัฒนาการสอนฟิสิกส์อนุภาคในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แก่ครูสอนฟิสิกส์ผ่านการอบรม และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) โดยมุ่งหวังให้ครูที่ผ่านการอบรมนำความรู้ที่ได้กลับไปเผยแพร่ความรู้ให้กับนักเรียนต่อไป รวมถึงต้องการให้ครูแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการสอนระหว่างครูที่เข้าร่วมโครงการจากหลากหลายเชื้อชาติ ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนผู้เข้าร่วมจากครูฟิสิกส์ เป็นครูวิทยาศาสตร์ และเมื่อปี พ.ศ. 2561 เซิร์นได้เพิ่มกิจกรรม International Teacher Weeks Programme สำหรับครูวิทยาศาสตร์ขึ้นอีกหนึ่งกิจกรรม 

ประเทศไทยได้จัดส่งครูฟิสิกส์เข้าร่วมโครงการครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อน แล้วรวม จำนวน 11 รุ่น (พ.ศ. 2553 – 2563)
มีครูฟิสิกส์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 คน

C. โครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษาดูงานที่เซิร์น (High School Visit Program at CERN)

เป็นโครงการคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อไปศึกษาดูงานที่เซิร์น เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยกิจกรรมดังกล่าวเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นการขยายโอกาสให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานที่เซิร์น และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง โดยโครงการความร่วมมือไทย-เซิร์นได้ร่วมกับ 7 หน่วยงานในประเทศไทย ประกอบด้วย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน (สพฐ.) โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project, JSTP) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนจิตรลดา สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ คัดเลือกนักเรียน จำนวน 12 คน และครูผู้ควบคุมนักเรียน จำนวน 2 คน เพื่อเป็นตัวแทนนักเรียนและครูผู้ควบคุมนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 8 รุ่น (พ.ศ. 2556 – 2563) มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 94 คน ครูฟิสิกส์ ผู้ควบคุมนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 คน รวม 108 คน

จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 8 รุ่น (พ.ศ. 2556 – 2563)
มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 94 คน
ครูฟิสิกส์ ผู้ควบคุมนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 คน
รวม 108 คน

2. คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความร่วมมือกับสถานีวิจัย CMS

โดยมีอาจารย์ และนิสิตระดับปริญญาตรี โท และเอกทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ในหัวข้อร่วมกับสถานีวิจัย CMS ร่วมถึงโครงการปริญญาเอกร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่นที่เป็นสมาชิก CMS ด้วยกัน มีจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ระดับปริญญาโท 3 คน และระดับปริญญาเอก 1 คน

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีความร่วมมือกับสถานีวิจัย ALICE ในการออกแบบและพัฒนาระบบตรวจจับทางเดินภายใน (Inner Tracking System, ITS)

โดยมีอาจารย์ และนักศึกษาระดับปริญญาโท และเอกทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ในหัวข้อร่วมกับสถานีวิจัย ALICE มีจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ระดับปริญญาตรี 2 คน ระดับปริญญาโท 7 คน และระดับปริญญาเอก 1 คน

4. การจัดตั้งภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติทางด้าน e-Science (National e-Science Infrastructure Consortium)

เป็นความร่วมมือของ 5 พันธมิตร อันได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคำนวณที่มีความจุข้อมูลสูง และมีสมรรถนะในการคำนวณที่รวดเร็ว เพื่อใช้ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมากที่เกิดจากการทดลองของเซิร์น ปัจจุบันมีพันธมิตรเพิ่มเติมอีก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในการร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคำนวณสมรรถนะสูง ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล เพื่อรองรับการวิจัยด้าน e-Science ในสาขาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง และในสาขาอื่น ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารทรัพยากรน้ำ พลังงานและสิ่งแวดล้อม Big Data จักรวาลวิทยา ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และการวิจัยผลกระทบของอวกาศที่มีต่อโลก

5. หน่วยงานในประเทศได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการปรับปรุงระบบตรวจจับทางเดินภายใน (ITS Upgrade) ของสถานีวิจัย ALICE

ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติ ในการค้นหาวัสดุที่เหมาะสมในการผลิตเซนเซอร์ ทดสอบประสิทธิภาพของเซนเซอร์ต้นแบบ จำลองสถานการณ์การวัดอนุภาคทางฟิสิกส์ที่น่าสนใจ และออกแบบระบบควบคุมและจัดการข้อมูล (Online and Offline computing System, O2) ให้แก่สถานีวิจัย ALICE โดยหน่วยงานในประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

6. จากการลงนามบันทึกความเข้าใจทางด้านเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์และการประยุกต์

นำไปสู่การพัฒนาต้นแบบเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรงสำหรับใช้ทางการแพทย์ และยังได้มีการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบเครื่องเร่งอนุภาคไปใช้ในการพัฒนา โครงการเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรงสำหรับฉายรังสีผลไม้ และการทำวัลคาไนเซชั่นน้ำยางธรรมชาติ นอกเหนือจากนั้นยังได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ยังไม่มีในประเทศไทย อาทิ การเชื่อมโลหะแบบพิเศษ ที่เรียกว่า การเชื่อมแบบแล่นประสาน (Brazing) ซึ่งใช้ในการเชื่อมวัสดุต่างชนิดกัน อันช่วยลดอัตราการพึ่งพิงต่างประเทศในการนำเข้าและจัดสร้างเครื่องมือเหล่านี้

The post พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูง โครงการความร่วมมือไทยกับเซิร์น <br>ตามแนวพระราชดำริฯ appeared first on NAC2021.

]]>
เซิร์น สถาบันวิจัยฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ภารกิจเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ขั้นพื้นฐานและความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/cern-organization/ Sat, 20 Mar 2021 08:04:23 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17735 นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1939 จนสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากของยุโรปได้ย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยวิสัยทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของยุโรปและสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นของการมีสถาบันวิจัยทางฟิสิกส์ระดับแนวหน้าในยุโรป การเกิดขึ้นของสถาบันวิจัยนี้เพื่อหยุดยั้งการสมองไหลของนักวิทยาศาสตร์ และเป็นส่วนช่วยให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นของยุโรปอีกครั้งภายหลังสงคราม เซิร์นจึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา สภาวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือเซิร์น (ตามชื่อย่อในภาษาฝรั่งเศสของ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire, CERN) เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตก 12 ประเทศ ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งเพื่อเป็นองค์กรชั่วคราวในปี ค.ศ. 1952 มีหน้าที่เพื่อวางรากฐานการก่อตั้งสถาบันวิจัยฟิสิกส์นิวเคลียร์ขึ้น และการก่อตั้งได้สำเร็จลุล่วงลงในวัน 29 กันยายน ค.ศ. 1954 สถาบันวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research หรือ Organisation Européenne pour la Recherche Nucléaire ในภาษาฝรั่งเศส) ได้ถือกำเนิดขึ้นมา หากแต่ยังคงใช้ชื่อย่อขององค์กร CERN ตามเดิม สถานที่ก่อตั้งองค์กรได้เลือกพื้นที่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเจนีวา โดยมีพื้นที่ครอบคลุมพรมแดนระหว่างสมาพันธรัฐสวิส และประเทศฝรั่งเศส ภาพถ่ายพาโนรามาที่คาดว่าเป็นภาพถ่ายภาพแรกของที่ตั้งของเซิร์นบ้านเล็กๆ […]

The post เซิร์น สถาบันวิจัยฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ภารกิจเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ขั้นพื้นฐานและความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ appeared first on NAC2021.

]]>

นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1939 จนสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากของยุโรปได้ย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยวิสัยทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของยุโรปและสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นของการมีสถาบันวิจัยทางฟิสิกส์ระดับแนวหน้าในยุโรป การเกิดขึ้นของสถาบันวิจัยนี้เพื่อหยุดยั้งการสมองไหลของนักวิทยาศาสตร์ และเป็นส่วนช่วยให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นของยุโรปอีกครั้งภายหลังสงคราม เซิร์นจึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา

สภาวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือเซิร์น (ตามชื่อย่อในภาษาฝรั่งเศสของ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire, CERN) เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตก 12 ประเทศ ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งเพื่อเป็นองค์กรชั่วคราวในปี ค.ศ. 1952 มีหน้าที่เพื่อวางรากฐานการก่อตั้งสถาบันวิจัยฟิสิกส์นิวเคลียร์ขึ้น และการก่อตั้งได้สำเร็จลุล่วงลงในวัน 29 กันยายน ค.ศ. 1954 สถาบันวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research หรือ Organisation Européenne pour la Recherche Nucléaire ในภาษาฝรั่งเศส) ได้ถือกำเนิดขึ้นมา หากแต่ยังคงใช้ชื่อย่อขององค์กร CERN ตามเดิม สถานที่ก่อตั้งองค์กรได้เลือกพื้นที่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเจนีวา โดยมีพื้นที่ครอบคลุมพรมแดนระหว่างสมาพันธรัฐสวิส และประเทศฝรั่งเศส

ภาพถ่ายพาโนรามาที่คาดว่าเป็นภาพถ่ายภาพแรกของที่ตั้งของเซิร์นบ้านเล็กๆ
ที่ด้านขวาของภาพ คือ ชายแดนระหว่างสมาพันธรัฐสวิส และประเทศฝรั่งเศส

วัตถุประสงค์ของการเซิร์นนั้นได้เขียนเอาไว้ในอนุสัญญาการก่อตั้งเซิร์น (CERN’s convention) ว่าองค์กรจะต้องจัดให้มีความร่วมมือระหว่างรัฐในยุโรปในการวิจัยนิวเคลียร์ในรูปลักษณะของการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และในการวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก องค์กรจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกับงานตามความต้องการทางทหาร และจะต้องเผยแพร่ผลการศึกษาทั้งด้านทดลองและทฤษฎีโดยการตีพิมพ์ หรือเผยแพร่โดยสาธารณะ 

วัตถุประสงค์ของการเซิร์นยังคงดำรงอยู่เหมือนเดิมจนถึงปัจจุบัน หากแต่ขอบเขตของงานวิจัยได้ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่ต้องการศึกษาฟิสิกส์อะตอม และฟิสิกส์นิวเคลียร์ เป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นไปยังฟิสิกส์อนุภาคมากขึ้น ในปัจจุบันเราจึงได้รู้จักเซิร์นในฐานะสถาบันวิจัยฟิสิกส์อนุภาคแห่งยุโรป (European laboratory for particle physics หรือ Laboratoire européen pour la physique des particules ในภาษาฝรั่งเศส)

ในปัจจุบันเซิร์นมีจำนวนสมาชิก (Member states) รวม 23 ประเทศ และประเทศที่เป็นสมาชิกสมทบ (Associate Members) และประเทศที่จะเข้าสู่การเป็นสมาชิก รวม 9 ประเทศ สมาชิกของเซิร์นในปัจจุบันไม่ได้จำเป็นจะต้องเป็นประเทศในยุโรปเท่านั้น อิสราเอลเป็นประเทศแรกนอกยุโรปที่เข้าเป็นสมาชิก สำหรับประเทศจากทวีปเอเชียมีอินเดียและปากีสถานที่เป็นสมาชิกสมทบ นอกจากนี้ยังมีประเทศที่มีส่วนร่วมสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานของเซิร์นและองค์กรที่ดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับเซิร์นเป็นผู้สังเกตการณ์ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหพันธรัฐรัสเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (EU) สถาบันร่วมวิจัยนิวเคลียร์ (JINR) และองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

กลุ่มประเทศสมาชิกของเซิร์น (ณ วันที่ 5 ม.ค. 2021)
https://cds.cern.ch/record/2751160/files/map-etats-membres-2021_Map_EN.png

สำหรับประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีข้อตกลงความร่วมมือกับเซิร์น (International Cooperation Agreements, ICAs) เพื่อใช้เป็นกรอบความร่วมมือในการพัฒนาการวิจัยและความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ภาพแสดงระกับความร่วมมือในระดับต่าง ๆ ของแต่ละประเทศกับเซิร์น
https://international-relations.web.cern.ch/stakeholder-relations/Participation-CERN

ในปัจจุบัน เซิร์นเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์อนุภาคเชิงการทดลองของยุโรปที่เดินเครื่องเร่งอนุภาคที่ทรงพลังที่สุดของโลก ณ ปัจจุบัน (CERN Large Hadron Collider) มีนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และพนักงานรวมกันกว่า 2,500 คน และมีนักวิจัยจากทั่วโลกลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานมากกว่า 12,000 คน

จำนวนผู้ใช้ (User) ที่ลงทะเบียนกับเซิร์น ตามสัญชาติ (ณ วันที่ 27 ม.ค. 2020)
https://cds.cern.ch/record/2708658/files/World_users_by_Nat_2020-01.png

ภารกิจของเซิร์นนั้นรวมถึง:

  1. จัดหาเครื่องเร่งอนุภาค และการสนับสนุน เพื่อทำให้เกิดการวิจัยในระดับแนวหน้า เพื่อเพิ่มพูนความรู้ของมนุษยชาติ
  2. เป็นศูนย์วิจัยที่เป็นเลิศในระดับนานาชาติของฟิสิกส์พื้นฐาน
  3. รวบรวมนักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อผลักดันพรมแดนของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ

The post เซิร์น สถาบันวิจัยฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ภารกิจเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ขั้นพื้นฐานและความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ appeared first on NAC2021.

]]>
KidBright AI Platform http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/na23-kidbright-ai-platform/ Sat, 20 Mar 2021 07:05:42 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17655 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) แพลตฟอร์มสื่อการเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ผ่านการสร้างชุดคําสั่งแบบบล็อก (Blockly Programming) และสามารถเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุต เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ จุดเด่นของผลงาน สอนกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ตั้งแต่การเก็บข้อมูล การติดป้ายกํากับ การสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้งานบนอุปกรณ์เดียว รองรับการเชื่อมต่อจากเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุตผ่าน Robot Operation System (ROS) สร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้ทั้งของข้อมูลภาพและเสียง สามารถทํางานได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์ หรือบนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เปิด Open Source ให้นําไปใช้งานเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา สังคมและเชิงพาณิชย์ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ เริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ผ่าน KidBright AI IDE Web version 1.0 ที่ www.kid-bright.org/ai/downloads ติดต่อสอบถาม ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ […]

The post KidBright AI Platform appeared first on NAC2021.

]]>

KidBright AI Platform

KidBright AI Platform

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        แพลตฟอร์มสื่อการเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ผ่านการสร้างชุดคําสั่งแบบบล็อก (Blockly Programming) และสามารถเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุต เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์

จุดเด่นของผลงาน

  • สอนกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ตั้งแต่การเก็บข้อมูล การติดป้ายกํากับ การสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้งานบนอุปกรณ์เดียว
  • รองรับการเชื่อมต่อจากเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุตผ่าน Robot Operation System (ROS)
  • สร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้ทั้งของข้อมูลภาพและเสียง
  • สามารถทํางานได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์ หรือบนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์
  • เปิด Open Source ให้นําไปใช้งานเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา สังคมและเชิงพาณิชย์

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์

เริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง

        เรียนรู้ผ่าน KidBright AI IDE Web version 1.0 ที่ www.kid-bright.org/ai/downloads

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT)
กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post KidBright AI Platform appeared first on NAC2021.

]]>
ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/19/agro10-metarhiziu/ Fri, 19 Mar 2021 04:13:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17065 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย        ราเมตาไรเซียม Metarhizium sp. BCC 4849 หรือ ราเขียว (green muscardine fungus) เป็นราแมลงสายพันธุ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับราบิวเวอเรีย ซึ่งสามารถเข้าทำลายแมงและแมลงได้หลากหลายชนิด เช่น ไรแดง เพลี้ยชนิดต่างๆรวมถึงด้วงปีกแข็ง และแมลงวันผลไม้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศ จึงเหมาะสมกับการนำมาใช้กับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ปลอดภัยกับผู้ใช้เนื่องจากผ่านการตรวจสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองตามมาตรฐาน OECD GLP สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายเพียงใช้วัตถุดิบคือข้าวสารและหัวเชื้อที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงดีที่มีประโยชน์ กรณีพบการระบาดของแมงและแมลงศัตรูพืชสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อเสริมฤทธิ์กันได้ การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน        มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคเนื่องจากผ่านการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง 5 รายการ จากหน่วยงานทดสอบทั้งในและต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน ดังนี้ พิษเฉียบพลันทางปาก (Acute oral toxicity) พิษเฉียบพลันทางผิวหนัง (Acute dermal toxicity) การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อผิวหนัง (Skin irritation/Corrosion […]

The post ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช

ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

       ราเมตาไรเซียม Metarhizium sp. BCC 4849 หรือ ราเขียว (green muscardine fungus) เป็นราแมลงสายพันธุ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับราบิวเวอเรีย ซึ่งสามารถเข้าทำลายแมงและแมลงได้หลากหลายชนิด เช่น ไรแดง เพลี้ยชนิดต่างๆรวมถึงด้วงปีกแข็ง และแมลงวันผลไม้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  1. เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศ จึงเหมาะสมกับการนำมาใช้กับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
  2. ปลอดภัยกับผู้ใช้เนื่องจากผ่านการตรวจสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองตามมาตรฐาน OECD GLP
  3. สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายเพียงใช้วัตถุดิบคือข้าวสารและหัวเชื้อที่มีคุณภาพ
  4. ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงดีที่มีประโยชน์
  5. กรณีพบการระบาดของแมงและแมลงศัตรูพืชสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อเสริมฤทธิ์กันได้

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

       มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคเนื่องจากผ่านการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง 5 รายการ จากหน่วยงานทดสอบทั้งในและต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน ดังนี้

  • พิษเฉียบพลันทางปาก (Acute oral toxicity)
  • พิษเฉียบพลันทางผิวหนัง (Acute dermal toxicity)
  • การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อผิวหนัง (Skin irritation/Corrosion Test)
  • การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อดวงตา (Eye irritation/Corrosion Test)
  • ความเป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ (Acute pulmonary toxicity/pathogenicity)

การใช้งาน

  • ควรฉีดพ่นช่วงเย็น (ประมาณ 17.00น. เป็นต้นไป) ในช่วงที่มีความชื้นสูง หรือควรให้น้ำในแปลงเพื่อเพิ่มความชื้นก่อนฉีดพ่น ไม่ควรฉีดพ่นช่วงเช้าเนื่องจากราเมตาไรเซียมเมื่อถูกแสงแดดและรังสียูวีจะถูกทำลาย
  • ควรพ่นให้ถูกตัวแมลงเนื่องจากแมลงส่วนใหญ่หลบอยู่ใต้ใบ จึงควรฉีดพ่นเน้นบริเวณใต้ใบและทั่วทรงพุ่ม หลังฉีดพ่นควรหมั่นตรวจนับแมลงหลังจากใช้แล้ว 2-3 วัน เพื่อตรวจสอบผลการควบคุมแมลงศัตรูพืช
  • สำรวจแมลงและพ่นซ้ำทุก 3-7 วัน (ขึ้นกับการระบาด) ในกรณีพบการระบาดสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงแบบเจือจางเพื่อลดประชากรแมลงศัตรูพืชได้

สนใจก้อนเชื้อสดเมตาไรเซียม ติดต่อ :

บริษัท เอสวี กรุ๊ป จำกัด
โทรศัพท์ 090 8801089   อีเมล sale@svgroup.co.th

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/18/vaccine02-biopharmaceuticals/ Thu, 18 Mar 2021 02:52:36 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=16213 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ และคณะ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ (Biopharmaceuticals) ในไทย มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี โดยไทยมีการนำเข้ากลุ่มยาประเภทนี้มากถึง 25,000 ล้านบาท และในปีพ.ศ. 2561-2568 มีแนวโน้มอัตราการเติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิกถึง 17.2% การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทย เป็นการสร้างความเข้มแข็งในการสร้างเทคโนโลยีการผลิตชีววัตถุ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ครบวงจร สำหรับยาชีววัตถุนั้นมีความแตกต่างจากยาเคมีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างมาก หากเทียบขนาดแล้วยาชีววัตถุมีโมเลกุลที่ใหญ่กว่าหลายเท่า มีคุณลักษณะที่ซับซ้อนกว่า รวมไปถึงในการผลิต จะต้องใช้กระบวนการชีวภาพ (biotechnology หรือ bioprocess) ซึ่งหมายถึง การใช้สิ่งมีชีวิตเป็นโรงงานในการผลิตนั่นเอง ในหมวดหมู่ของยาชีววัตถุ ก็ยังแยกย่อยได้อีก และหนึ่งในนั้น คือ ยาชีววัตถุคล้ายคลึง หรือ biosimilar ยาชีววัตถุคล้ายคลึง biosimilar เป็นยาชีววัตถุที่มีตัวยาสำคัญเดียวกับยาชีววัตถุต้นแบบ คล้ายคลึงในแง่คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ หนึ่งใน biosimilar กลุ่มยา monoclonal antibody ที่มีการใช้สูงสุดในประเทศไทย คือ […]

The post การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน appeared first on NAC2021.

]]>

การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน

การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ และคณะ
โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

            ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ (Biopharmaceuticals) ในไทย มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี โดยไทยมีการนำเข้ากลุ่มยาประเภทนี้มากถึง 25,000 ล้านบาท และในปีพ.ศ. 2561-2568 มีแนวโน้มอัตราการเติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิกถึง 17.2% การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทย เป็นการสร้างความเข้มแข็งในการสร้างเทคโนโลยีการผลิตชีววัตถุ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ครบวงจร

สำหรับยาชีววัตถุนั้นมีความแตกต่างจากยาเคมีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างมาก หากเทียบขนาดแล้วยาชีววัตถุมีโมเลกุลที่ใหญ่กว่าหลายเท่า มีคุณลักษณะที่ซับซ้อนกว่า รวมไปถึงในการผลิต จะต้องใช้กระบวนการชีวภาพ (biotechnology หรือ bioprocess) ซึ่งหมายถึง การใช้สิ่งมีชีวิตเป็นโรงงานในการผลิตนั่นเอง ในหมวดหมู่ของยาชีววัตถุ ก็ยังแยกย่อยได้อีก และหนึ่งในนั้น คือ ยาชีววัตถุคล้ายคลึง หรือ biosimilar 

ยาชีววัตถุคล้ายคลึง biosimilar เป็นยาชีววัตถุที่มีตัวยาสำคัญเดียวกับยาชีววัตถุต้นแบบ คล้ายคลึงในแง่คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ หนึ่งใน biosimilar กลุ่มยา monoclonal antibody ที่มีการใช้สูงสุดในประเทศไทย คือ trastuzumab ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมกลุ่ม HER2-positive มีราคาต่อหน่วยค่อนสูงถึง 17,000 บาท ถึง 45,000 บาทขึ้นอยู่กับความแรง ทำให้คนไทยเข้าถึงยาได้ยาก ประกอบกับการที่ประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ ทำให้ต้องนำเข้า ก่อให้เกิดการขาดดุลการค้า สูงถึงปีละกว่า 1500 ล้านบาทโดยประมาณ

สถานะปัจจุบันของงานวิจัย

         ด้วยเหตุนี้ สวทช. โดยทีมวิจัยโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ (NBF) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ Prof Mark Smales จาก University of Kent จึงร่วมกันพัฒนา biosimilars โดยเริ่มจากการคัดเลือกเซลล์เพื่อให้ได้เซลล์ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดในการผลิต trastuzuma จากนั้นทดลองผลิตในระดับ lab scale เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เพียงพอต่อการทำการวิเคราะห์อัตลักษณ์ของ Trastuzumab เทียบกับ Originator และถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเซลล์ที่ผลิต trastuzumab นี้ เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในระดับ 500 – 5000 มิลลิลิตร ที่ NBF เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใช้ขึ้นเองภายในประเทศไทย 

โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ

         โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง มจธ. และ สวทช. ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตยาและวัคซีน ปัจจุบันได้รับใบอนุญาตเป็นสถานที่ผลิตยาจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. เรียบร้อยแล้ว

         โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ เปิดให้บริการแก่องค์กร หน่วยงานและผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศโดยแบ่งการให้บริการเป็น 3 ส่วนได้แก่ การบริการด้านการวิจัยและพัฒนา การออกแบบกระบวนการผลิต การขยายขนาดทั้งในกระบวนการผลิตต้นน้ำและปลายน้ำ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพ การบริการผลิตยาชีววัตถุ ที่สามารถผลิตยาชีววัตถุที่เป็นโปรตีนโดยใช้กระบวนการวิศวกรรมชีวภาพชั้นสูงที่ใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงจุลินทรีย์เป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต รวมถึงการผลิตยา วัคซีนและสารชีวภาพมูลค่าสูงเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งและโรคร้ายแรงชนิดอื่น การบริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในส่วนของการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ ระบบสนันสนุนและระบบเอกสารตามมาตรฐาน GMP

แนะนำโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ (NBF)

โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) เป็นโรงงานต้นแบบเอนกประสงค์ระกับกึ่งอุตสาหกรรม ออกแบบตามมาตรฐาน GMP PIC/s สำหรับการผลิตยาชีววัตถุเพื่อการทดสอบทางคลินิกได้ ให้บริการรับจ้างวิจัย รับจ้างผลิต และฝึกอบรม โดยมีห้องสะอาด ในระดับ BSL-2 พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับผลิตยาที่เป็นโปรตีนโดยใช้ยีสต์หรือแบคทีเรียที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมเป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต และยาที่เป็นโปรตีนโดยใช้เซลล์สัตว์ที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมเป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต

ติดต่อสอบถาม

ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน appeared first on NAC2021.

]]>
วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/vaccine05-porcine-circo-virus-pcv2/ Wed, 17 Mar 2021 10:06:17 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15639 วิจัยและพัฒนาโดย ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT) ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย ไวรัสเซอร์โคในสุกร ชนิดที่ 2 หรือ PCV2  พบได้ในฟาร์มสุกรทั่วโลก เป็นสาเหตุหลักของกลุ่มอาการทรุดโทรมหลังหย่านมในสุกร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของสุกรตก ไม่สามารถทำน้ำหนักขึ้นได้ตามเกณฑ์ และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนจนตายได้ ซึ่งแพร่ระบาดหนักในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรปัจจุบันมีต้นแบบมาจากไวรัสไวรัสเซอร์สายพันธุ์ 2a ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดตั้งแต่ช่วงก่อน ค.ศ. 2000 แต่ในปัจจุบันไวรัสที่ระบาดในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยได้มีการกลายพันธุ์ไปถึงสายพันธุ์ 2d แล้ว ซึ่งมีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากสายพันธุ์วัคซีนที่มีขายในท้องตลาดถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนที่ไม่ตรงสายพันธุ์ที่ระบาดจะสามารถให้ความคุ้มโรคจากเชื้อพิษที่ไม่ตรงกับวัคซีนได้ แต่ประสิทธิภาพในการคุ้มโรคจะลดลงจากที่ควรเป็น วัคซีน PCV2 ในท้องตลาดส่วนมากใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือเซลล์แมลงในการผลิตแอนติเจนและเป็นวัคซีนนำเข้า จึงมีราคาค่อนข้างสูง  ประเทศไทยนำเข้าวัคซีน PCV2 ไม่ต่ำกว่า 590 ล้านบาท โครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย โดยทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช. และโรงงานตนแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  (มจธ.) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงจากรีคอมบิแนนท์โปรตีน […]

The post วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) appeared first on NAC2021.

]]>

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

      ไวรัสเซอร์โคในสุกร ชนิดที่ 2 หรือ PCV2  พบได้ในฟาร์มสุกรทั่วโลก เป็นสาเหตุหลักของกลุ่มอาการทรุดโทรมหลังหย่านมในสุกร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของสุกรตก ไม่สามารถทำน้ำหนักขึ้นได้ตามเกณฑ์ และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนจนตายได้ ซึ่งแพร่ระบาดหนักในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรปัจจุบันมีต้นแบบมาจากไวรัสไวรัสเซอร์สายพันธุ์ 2a ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดตั้งแต่ช่วงก่อน ค.ศ. 2000 แต่ในปัจจุบันไวรัสที่ระบาดในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยได้มีการกลายพันธุ์ไปถึงสายพันธุ์ 2d แล้ว ซึ่งมีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากสายพันธุ์วัคซีนที่มีขายในท้องตลาดถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนที่ไม่ตรงสายพันธุ์ที่ระบาดจะสามารถให้ความคุ้มโรคจากเชื้อพิษที่ไม่ตรงกับวัคซีนได้ แต่ประสิทธิภาพในการคุ้มโรคจะลดลงจากที่ควรเป็น

     วัคซีน PCV2 ในท้องตลาดส่วนมากใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือเซลล์แมลงในการผลิตแอนติเจนและเป็นวัคซีนนำเข้า จึงมีราคาค่อนข้างสูง  ประเทศไทยนำเข้าวัคซีน PCV2 ไม่ต่ำกว่า 590 ล้านบาท

PCV2

      โครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย โดยทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช. และโรงงานตนแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  (มจธ.) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงจากรีคอมบิแนนท์โปรตีน เช่น วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2  PCV2d ชนิดใหม่ เพื่อการใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

จุดเด่นของงานวิจัย

     โดยการวิจัยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การออกแบบแอนติเจนจากไวรัสสายพันธุ์ที่เหมาะสม การผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาระบบที่ให้ผลผลิตสูงและมีราคาต้นทุนต่ำ การทดสอบวัคซีนต้นแบบในสัตว์ทดลอง การพัฒนาชีวกระบวนการเพื่อให้สามารถผลิตได้ในระดับใหญ่ขึ้น และการถ่ายทอดเทคโนโลยี

     ปัจจุบันทีมวิจัยได้ผลิตต้นแบบของวัคซีน PCV2d ชนิดใหม่โดยใช้การหมักแบคทีเรียและกระบวนการทำบริสุทธิ์ขั้นตอนเดียว โดยสามารถขยายขนาดได้ถึง 30 ลิตรโดยให้ผลคงที่ทั้งในห้องปฏิบัติการที่อังกฤษและไทย และอยู่ในระหว่างการทดลองประสิทธิภาพในสุกร (ร่วมทุนระหว่างทุนวิจัยจากสหราชอาณาจักรและ สวทช.) หลังจากมีผลสามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ในสัตว์เล็ก (กระต่ายและหนูทดลอง)

     ในอนาคตหลังจากได้ผลการทดลองในสุกรแล้ว จะทดลองขยายขนาดการผลิตเป็น 200 ลิตรเพื่อพัฒนากระบวนการขั้นต่อไป วางแผนขอขึ้นทะเบียนกับ อย. พร้อมกับหาความร่วมมือทางธุรกิจเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ต่อไป

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช.

เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพสำหรับผลิตวัคซีน PCV2 ขนาด 30 ลิตร

สถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร​

เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

     สำหรับการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์นี้ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่ควบคุมดูแลและสนับสนุนด้านการผลิตวัคซีน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สดใจผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้วัคซีนที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ ซึ่งมีคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ และมีราคาถูกกว่าการใช้วัคซีนนำเข้าจากต่าง ประเทศ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง

PCV2 : ไวรัสู่วัคซีน

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) โดยโครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF

ติดต่อสอบถาม

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ
ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) appeared first on NAC2021.

]]>
ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/agro07-beauveria/ Wed, 17 Mar 2021 10:04:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15636 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         เชื้อราบิวเวอเรีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beauveria bassiana จัดเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคกับแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ไรแดง และ หนอนแมลงศัตรูพืช สายพันธุ์ราบิวเวอเรียที่ทดสอบพบว่ามีประสิทธิภาพดี คือ สายพันธุ์ BCC2660 ที่สร้างเส้นใยสีขาว สร้างสปอร์จำนวนมาก ลักษณะคล้ายผงแป้ง (powdery conidia) เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี คัดเลือกสายพันธุ์  ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค  ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต  ไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม  ไม่เกิดการดื้อยา  ป้องกันกำจัดได้ระยะยาว  ต้นทุนการผลิตต่ำ การผลิตสปอร์ราบิวเวอเรีย        เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถผลิตโดยใช้เมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวสาร โดยนำหัวเชื้อราในรูปผงแห้ง […]

The post ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช

ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        เชื้อราบิวเวอเรีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beauveria bassiana จัดเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคกับแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ไรแดง และ หนอนแมลงศัตรูพืช สายพันธุ์ราบิวเวอเรียที่ทดสอบพบว่ามีประสิทธิภาพดี คือ สายพันธุ์ BCC2660 ที่สร้างเส้นใยสีขาว สร้างสปอร์จำนวนมาก ลักษณะคล้ายผงแป้ง (powdery conidia)

เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

เพลี้ยไฟ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

คัดเลือกสายพันธุ์

  •  ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค 
  • ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต 
  • ไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม 
  • ไม่เกิดการดื้อยา 
  • ป้องกันกำจัดได้ระยะยาว 
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ

การผลิตสปอร์ราบิวเวอเรีย

       เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถผลิตโดยใช้เมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวสาร โดยนำหัวเชื้อราในรูปผงแห้ง หรือสารแขวนลอยสปอร์ผสมลงในข้าวสารที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อและบรรจุในถุงพลาสติกทนความร้อน ปริมาณ 200-500 กรัม ขยำให้เข้ากันทั่วทั้งถุง บ่มเชื้อในที่ร่มและมีอุณหภูมิประมาณ 27 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7-10 วัน เชื้อราที่ได้ในขั้นตอนนี้เป็นสปอร์ราสดที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที หากเก็บไว้นานจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง และเกิดการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้  ทางศูนย์ฯ กำลังพัฒนาสูตรชีวภัณฑ์จากราบิวเวอเรียให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการนำไปใช้

สปอร์ราขึ้นปกคลุมบนเมล็ดข้าว

การใช้งาน

       เมื่อต้องการใช้ ให้ทำการล้างสปอร์ราออกจากเมล็ดข้าวโดยใช้น้ำสะอาดที่ผสมสารลดแรงตึงผิวหรือสารที่ช่วยให้สปอร์รากระจายตัวและเกาะติดกับผิวแมลงได้ดีขึ้น เช่น น้ำยาล้างจาน (1-2 ช้อนชาต่อน้ำ 10 ลิตร) หรือใช้สารจับใบตามอัตราที่แนะนำของผลิตภัณฑ์นั้นๆ นำสารแขวนลอยสปอร์ไปฉีดพ่นในแปลงพืช โดยฉีดพ่นบริเวณที่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงเพื่อให้สปอร์ราสัมผัสกับตัวแมลงให้มากที่สุด ควรฉีดพ่นในตอนเย็นที่มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของรา ราบิวเวอเรียจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนและรังสียูวี ดังนั้นจึงไม่ควรฉีดพ่นเชื้อราขณะที่มีแดดจัดและความร้อนสูง

พัฒนากระบวนการผลิต

ขยายขนาดการผลิต

ผลิตภัณฑ์บิวเวอเรีย

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ราบิวเวอเรีย ปราบเพลี้ยศัตรูพืช

ข้าวไทย วิจัยพ้นวิกฤต ตอนที่ 12 บิวเวอเรีย เชื้อรากำจัดเพลี้ย

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/agro-12-sea-bass/ Wed, 17 Mar 2021 07:51:35 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15392 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC)ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAET)ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)          ประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือปลาเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อน โดยการเลี้ยงปลาในปัจจุบันมีสองวิธีหลัก คือ การเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นการเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปลามีอัตราการตายสูง ประสิทธิผลในการเลี้ยงต่ำ นอกจากนี้ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องการของเสียที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลาจะถูกปล่อยสู่แหล่งแม่น้ำธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งเป็นการเลี้ยงในแม่น้ำ ของเสียที่เกิดจากปลาจะถูกปล่อยไปตามแม่น้ำ ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้          ปัจจุบันมีระบบการเลี้ยงปลาที่ใช้ปริมาณน้ำน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาด้วยการนำน้ำที่ไหลเวียนในระบบกลับมาใช้ใหม่ โดยมีระบบบัดน้ำ ระบบเติมออกซิเจน และระบบฆ่าเชื้อ เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลา ทำให้ปลามีอัตราการตายต่ำและอัตราการแลกเนื้อต่ำ ทำให้ประสิทธิผลในการเลี้ยงสูงตามไปด้วย ซึ่งระบบการเลี้ยงดังกล่าวเรียกว่า “ระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน (Recirculation Aquaculture System: RAS)”vการเลี้ยงปลาในระบบนี้จะควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolve Oxygen: DO) ปริมาณ Ammoniaอในน้ำค่าเป็นกรดเป็นเบสในน้ำเป็นต้น โดยระบบการเลี้ยงสามารถนำของเสียจากปลาออกจากน้ำ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม […]

The post ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC)
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAET)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

         ประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือปลาเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อน โดยการเลี้ยงปลาในปัจจุบันมีสองวิธีหลัก คือ การเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นการเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปลามีอัตราการตายสูง ประสิทธิผลในการเลี้ยงต่ำ นอกจากนี้ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องการของเสียที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลาจะถูกปล่อยสู่แหล่งแม่น้ำธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งเป็นการเลี้ยงในแม่น้ำ ของเสียที่เกิดจากปลาจะถูกปล่อยไปตามแม่น้ำ ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้

         ปัจจุบันมีระบบการเลี้ยงปลาที่ใช้ปริมาณน้ำน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาด้วยการนำน้ำที่ไหลเวียนในระบบกลับมาใช้ใหม่ โดยมีระบบบัดน้ำ ระบบเติมออกซิเจน และระบบฆ่าเชื้อ เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลา ทำให้ปลามีอัตราการตายต่ำและอัตราการแลกเนื้อต่ำ ทำให้ประสิทธิผลในการเลี้ยงสูงตามไปด้วย ซึ่งระบบการเลี้ยงดังกล่าวเรียกว่า ระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน (Recirculation Aquaculture System: RAS)”vการเลี้ยงปลาในระบบนี้จะควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolve Oxygen: DO) ปริมาณ Ammoniaอในน้ำค่าเป็นกรดเป็นเบสในน้ำเป็นต้น โดยระบบการเลี้ยงสามารถนำของเสียจากปลาออกจากน้ำ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ขี้ปลาจะถูกนำออกจากระบบด้วยการดักกรอง และรวบรวมนำไปเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้ อย่างไรก็ตาม ในการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียน จะเป็นการเลี้ยงที่มีความหนาแน่นของปลาสูง เมื่อเทียบกับการเลี้ยงโดยทั่วไปประมาณ 30 เท่า ขึ้นอยู่กับประเภทของปลา ทำให้ระบบการเลี้ยงมีต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มเข้ามา ทำให้ในปัจจุบันพบว่าการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียนไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะไม่สามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำกว่าราคาขายได้ แม้ปลาที่เลี้ยงจะเจริญเติบโตได้ดีก็ตาม

จุดเด่นเทคโนโลยี

         ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบน้ำไหลเวียน ซึ่งมีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับคำนวณระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน พร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติรายงานผลผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น เพื่อแก้ปัญหาระบบการเลี้ยงปลาน้ำไหลเวียน โดยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถคำนวณและออกแบบระบบการเลี้ยงที่เหมาะสม และประหยัดพลังงานในการเลี้ยงปลาแต่ละประเภท เป็นการสร้างระบบเลี้ยงปลาที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นการประหยัดพลังงานด้วย โดยโปรแกรมยังสามารถคำนวณ เพื่อหาเงื่อนไขที่เหมาะสมในช่วงระหว่างการเลี้ยงอีกด้วย สำหรับระบบควบคุมอัตโนมัติซึ่งมีความจำเป็นในระบบน้ำไหลเวียนที่มีการเลี้ยงปลาความหนาแน่นสูง โดยระบบจะตรวจวัด ควบคุมและแจ้งเตือนปริมาณออกซิเจนในน้ำ ค่าความเป็นกรด เป็นเบสและอุณหภูมิ ในระบบให้เหมาะสม พร้อมแสดงผลและควบคุมระบบได้บนโมบายแอปพลิเคชั่นด้วย ทำให้การเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียนมีประสิทธิภาพสูง และมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาประยุกต์ใช้ทำให้สามารถบริหารจัดการระบบได้อย่างทันท่วงที สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ข้อมูลการเลี้ยงที่ได้ในแต่ละครั้งสามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาพารามิเตอร์ในการเลี้ยงปลาที่เหมาะสมที่สุดได้ โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว พร้อมนำไปขยายผลสู่ชุมชนหรือเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสุจิรา ศักดิ์พรหม
สังกัด งานบริหารโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมสื่อการสอนด้วย KidBright http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/na15-kidbright-learning-innovation/ Wed, 17 Mar 2021 02:29:09 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15214 การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี         การจัดอบรมครูทั้ง 12 ท่าน จาก 10 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ โรงเรียนวัดตะวันเรือง โรงเรียนจารุศรบำรุง โรงเรียนวัดกลางคลองสาม โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๙ (คลองหลวง) โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง โรงเรียนคลองบางโพธิ์ โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บํารุง โรงเรียนวัดสองพี่น้อง และโรงเรียนวัดฉาง เริ่มต้นจากช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ โครงการ “การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี” และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จึงริเริ่มโครงการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อนำร่องการจัดการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติการด้าน Coding แบบ Online โดยมีวิศวกรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นวิทยากร ระยะเวลาอบรมแบบ Online ทั้งหมด 26 ชั่วโมง       […]

The post นวัตกรรมสื่อการสอนด้วย KidBright appeared first on NAC2021.

]]>

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

        การจัดอบรมครูทั้ง 12 ท่าน จาก 10 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ โรงเรียนวัดตะวันเรือง โรงเรียนจารุศรบำรุง โรงเรียนวัดกลางคลองสาม โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๙ (คลองหลวง) โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง โรงเรียนคลองบางโพธิ์ โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บํารุง โรงเรียนวัดสองพี่น้อง และโรงเรียนวัดฉาง เริ่มต้นจากช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ โครงการ “การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี” และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จึงริเริ่มโครงการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อนำร่องการจัดการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติการด้าน Coding แบบ Online โดยมีวิศวกรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นวิทยากร ระยะเวลาอบรมแบบ Online ทั้งหมด 26 ชั่วโมง

        เมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) คลี่คลายขึ้น ทางโครงการฯ จึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแบบ Offline ขึ้น ณ โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม หรือ Fabrication Laboratory ของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร เมื่อวันที่ 14 – 16 สิงหาคม 2563 คุณครูต้นแบบทั้ง 12 ท่าน และทีมวิศวกรจาก NECTEC มาร่วมระดมสมองและสร้างสรรค์ผลงานสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนขึ้น และสื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนจริงในชั้นเรียน

      ต้นแบบนวัตกรรมที่มีการเชื่อมโยง AI ในการจัดการเรียนการสอน Coding โดยครูต้นแบบ ดังตาราง และสามารถอ่านรายละเอียดสื่อการสอน 12 ผลงาน ได้ที่ http://bit.ly/3bS8kOx

ตารางแสดงรายละเอียดสื่อการสอน 12 ชิ้นงาน

การวัดอุณหภูมิ

โดย นางสาวอมรรัตน์ แสงมิ
โรงเรียนวัดตะวันเรือง

ภูมิใจภาษาไทยของเรา

โดย นางสาวอรอนงค์ ครองพงษ์
โรงเรียนจารุศรบำรุง

สิ่งมีชีวิตและชีวิตของพืช

โดย นางสาวศศินันท์ หรุ่นบุญลือ
โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์)

วงล้อหรรษาพาหนูจดจำผังงาน

โดย นางสาวขวัญแก้ว นุ่มปั่น
โรงเรียนคลองบางโพธิ์

เกมเรียงลำดับอัลกอริทึม ด้วย KidBright-GoGo Bright

โดย นางสาวประภาศรี เที่ยงธรรม
โรงเรียนวัดกลางคลองสาม

Genius Matching Board

โดย นางสาวกรกนก คานนิม
โรงเรียนจารุศรบำรุง

กระดานสื่อ (อุปกรณ์คอมพิวเตอร์)

โดย นายอภิชาติ เมืองคำ
โรงเรียนวัดสองพี่น้อง

Science and Coding Box

โดยนางสาวจิราพร จำปาเทศ
โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์)

กระดาน 24 หรรษาพาคิด

โดย นางสาวบุญชนก ศิลทอง
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 (คลองหลวง)

อัลกอริทึม (โฟลว์ชาร์ต) น่ารู้

โดย ว่าที่ร้อยตรีสันติสุข ช่างเย็น
โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บํารุง

Coding Board

โดย นางสาวอัจฉริยา สุรวรเชษฐ
โรงเรียนวัดฉาง

ปริศนาจับคู่ อัลกอริทึม

โดย นายวรนารถ แสงนคร
โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง

ติดต่อสอบถาม

วสุ ทัพพะรังสี (หัวหน้าโครงการ)

The post นวัตกรรมสื่อการสอนด้วย KidBright appeared first on NAC2021.

]]>
THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/food18-thz-moisture-imaging/ Wed, 17 Mar 2021 02:15:23 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15181 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณณภัทร โคตะศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)         การพัฒนาต้นแบบนี้ ได้เริ่มจากการหาวัสดุที่ใช้ทำสายพานของระบบลำเลียง โดยทีมวิจัยได้เลือกใช้วัสดุจำพวกโพลีเมอร์ (Polymer) ที่สัญญาณเทระเฮิรตซ์สามารถทะลุผ่านไปยังตัวรับสัญญาณได้ จากนั้น ทีมวิจัยจึงใช้ตัวกำเนิดสัญญาณเทระเฮิรตซ์ (THz source) เพื่อสร้างสัญญาณเทระเฮิรตซ์แบบต่อเนื่อง (Continuous wave) ที่ความถี่ 0.1 THz สัญญาณเทระเฮิรตซ์ที่ถูกสร้างขึ้น จะถูกดูดกลืนบางส่วนโดยความชื้นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ และสัญญาณที่เหลืออยู่จะตกกระทบบนตัวรับสัญญาณเทระเฮิร์ตซ์ (THz detector) ขนาด 1 x 256 พิกเซล ที่ติดตั้งอยู่ใต้สายพานและทำหน้าที่วัดความเข้มของสัญญาณที่เหลืออยู่       จากนั้น ทีมวิจัยได้พัฒนาโปรแกรมสร้างภาพความชื้นจากค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้ โดยใช้หลักการที่ว่าความชื้นที่ต่างกันจะส่งผลให้สัญญาณเทระเฮิรตซ์ถูกดูดกลืนในปริมาณที่ต่างกัน ทำให้ค่าความเข้มที่สัญญาณที่อ่านได้ต่างกัน โดยภาพที่ได้จะเป็นภาพดิจิตอลที่เป็นแบบการผสมสีแบบเท็จ (False color composite) ที่แสดงผลตามค่าความชื้นของวัตถุ และเมื่อรวมข้อมูลเข้ากับผลจากการทดลองที่ทำการหาเส้นปรับเทียบ (Calibration curve) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้กับค่าความชื้นของวัตถุ ต้นแบบที่พัฒนานี้ก็จะสามารถแสดงค่าความชื้นในเชิงปริมาณได้ เช่น ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ความชื้น […]

The post THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร appeared first on NAC2021.

]]>

THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร

THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณณภัทร โคตะ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        การพัฒนาต้นแบบนี้ ได้เริ่มจากการหาวัสดุที่ใช้ทำสายพานของระบบลำเลียง โดยทีมวิจัยได้เลือกใช้วัสดุจำพวกโพลีเมอร์ (Polymer) ที่สัญญาณเทระเฮิรตซ์สามารถทะลุผ่านไปยังตัวรับสัญญาณได้ จากนั้น ทีมวิจัยจึงใช้ตัวกำเนิดสัญญาณเทระเฮิรตซ์ (THz source) เพื่อสร้างสัญญาณเทระเฮิรตซ์แบบต่อเนื่อง (Continuous wave) ที่ความถี่ 0.1 THz สัญญาณเทระเฮิรตซ์ที่ถูกสร้างขึ้น จะถูกดูดกลืนบางส่วนโดยความชื้นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ และสัญญาณที่เหลืออยู่จะตกกระทบบนตัวรับสัญญาณเทระเฮิร์ตซ์ (THz detector) ขนาด 1 x 256 พิกเซล ที่ติดตั้งอยู่ใต้สายพานและทำหน้าที่วัดความเข้มของสัญญาณที่เหลืออยู่

      จากนั้น ทีมวิจัยได้พัฒนาโปรแกรมสร้างภาพความชื้นจากค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้ โดยใช้หลักการที่ว่าความชื้นที่ต่างกันจะส่งผลให้สัญญาณเทระเฮิรตซ์ถูกดูดกลืนในปริมาณที่ต่างกัน ทำให้ค่าความเข้มที่สัญญาณที่อ่านได้ต่างกัน โดยภาพที่ได้จะเป็นภาพดิจิตอลที่เป็นแบบการผสมสีแบบเท็จ (False color composite) ที่แสดงผลตามค่าความชื้นของวัตถุ และเมื่อรวมข้อมูลเข้ากับผลจากการทดลองที่ทำการหาเส้นปรับเทียบ (Calibration curve) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้กับค่าความชื้นของวัตถุ ต้นแบบที่พัฒนานี้ก็จะสามารถแสดงค่าความชื้นในเชิงปริมาณได้ เช่น ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ความชื้น

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ระบบสายพานที่ออกแบบมานั้น จะสามารถสร้างภาพการกระจายตัวความชื้นในผลิตภัณฑ์ได้ แต่ภาพความชื้นดังกล่าวมีความละเอียดน้อย เนื่องจากข้อจำกัดในเชิงความถี่ของตัวกำเนิดสัญญาณ และขนาดพิกเซลของตัวรับสัญญาณที่ใหญ่ ทีมวิจัยจึงได้นำกล้องวีดีโอที่เก็บภาพสีของผลิตภัณฑ์ (RGB camera) มาติดตั้งเข้ากับระบบสายพาน เพื่อให้ระบบสามารถแสดงภาพการกระจายตัวความชื้นที่ซ้อนทับบนภาพสีของวัตถุจริงได้ และเนื่องจากตัวรับสัญญาณเทระเฮิรตซ์และกล้องวีดีโอให้ภาพในมุมมองที่แตกต่างกัน ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาวิธีการซ้อนทับภาพโดยอาศัยหลักการการประมวลผลภาพแบบดิจิตอล เพื่อทำให้ภาพความชื้นซ้อนทับบนภาพสีได้ในตำแหน่งและขนาดที่ถูกต้อง

สถานะผลงาน

        ทีมวิจัยกำลังดำเนินการพัฒนาต่อยอดต้นแบบให้หาค่าความชื้นในผลิตภัณฑ์มีความแม่นยำมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ร่วมกับ LiDAR sensor และ RGB video camera เพื่อหาขนาดละรูปร่างของผลิตภัณฑ์แบบอัตโนมัติและนำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยในการทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาค่าความชื้น

ติดต่อสอบถาม

นายปกรณ์ สุพานิช
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร appeared first on NAC2021.

]]>
บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติกันกลิ่น (Aroma barrier/Biodegradable packaging) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/food17-aroma-barrier-biodegradable-packaging/ Wed, 17 Mar 2021 01:52:01 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15178 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.นพดล เกิดดอนแฝก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ฟิล์มย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ขึ้นรูปจากเม็ดพลาสติก PLA (Polylactic acid) ซึ่งมีสมบัติด้านการสกัดกั้นกลิ่น (Aroma barrier) โดยทีมวิจัยได้ทำการปรับปรุงให้ฟิล์ม PLA สมบัติด้านความยืดหยุ่นดีขึ้นด้วยการใช้เม็ดพลาสติกเข้มข้น “Toughening agent for PLA” จากการเตรียมคอมพาวด์ด้วยเทคนิค Twin screw extrusion ทั้งนี้ ฟิล์มที่ได้ยังคงความใส (High clarity) นอกจากนี้ การออกแบบโครงสร้างชั้นฟิล์มยังช่วยให้ฟิล์ม PLA สามารถซีลปิดผนึกได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำลง เหมาะสำหรับประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ได้ทั้งในรูปแบบถุง (Bag) และฟิล์มปิดหน้าถาดเพื่อปิดผนึกร่วมกับถาด PLA (Lidding film for PLA tray) ยกตัวอย่างการใช้งาน เช่น ถุง/ฟิล์มปิดหน้าถาดสำหรับบรรจุอาหารทะเลแปรรูป ซึ่งโดยปกติแล้วอาหารทะเลแปรรูปมักจะมีกลิ่นที่รุนแรง หรือการบรรจุทุเรียนตัดแต่ง ในลักษณะรูปแบบถาดและฟิล์มปิดหน้าถาด ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อและนำสินค้าเดินทางไปในระบบขนส่งมวลชนได้สะดวก เหมาะกับการดำเนินชีวิตในเมืองใหญ่ พร้อมกับคำนึงถึงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สถานะผลงาน การพัฒนาต้นแบบเม็ดพลาสติกเข้มข้น “PLA toughening […]

The post บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติกันกลิ่น (Aroma barrier/Biodegradable packaging) appeared first on NAC2021.

]]>

บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติกันกลิ่น (Aroma barrier/Biodegradable packaging)

บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติกันกลิ่น (Aroma barrier/Biodegradable packaging)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.นพดล เกิดดอนแฝก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

       ฟิล์มย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ขึ้นรูปจากเม็ดพลาสติก PLA (Polylactic acid) ซึ่งมีสมบัติด้านการสกัดกั้นกลิ่น (Aroma barrier) โดยทีมวิจัยได้ทำการปรับปรุงให้ฟิล์ม PLA สมบัติด้านความยืดหยุ่นดีขึ้นด้วยการใช้เม็ดพลาสติกเข้มข้น “Toughening agent for PLA” จากการเตรียมคอมพาวด์ด้วยเทคนิค Twin screw extrusion ทั้งนี้ ฟิล์มที่ได้ยังคงความใส (High clarity)

       นอกจากนี้ การออกแบบโครงสร้างชั้นฟิล์มยังช่วยให้ฟิล์ม PLA สามารถซีลปิดผนึกได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำลง เหมาะสำหรับประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ได้ทั้งในรูปแบบถุง (Bag) และฟิล์มปิดหน้าถาดเพื่อปิดผนึกร่วมกับถาด PLA (Lidding film for PLA tray) ยกตัวอย่างการใช้งาน เช่น ถุง/ฟิล์มปิดหน้าถาดสำหรับบรรจุอาหารทะเลแปรรูป ซึ่งโดยปกติแล้วอาหารทะเลแปรรูปมักจะมีกลิ่นที่รุนแรง หรือการบรรจุทุเรียนตัดแต่ง ในลักษณะรูปแบบถาดและฟิล์มปิดหน้าถาด ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อและนำสินค้าเดินทางไปในระบบขนส่งมวลชนได้สะดวก เหมาะกับการดำเนินชีวิตในเมืองใหญ่ พร้อมกับคำนึงถึงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สถานะผลงาน

       การพัฒนาต้นแบบเม็ดพลาสติกเข้มข้น “PLA toughening agent” และฟิล์มโครงสร้างหลายชั้นระดับห้องปฏิบัติการ มีความต้องการร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อทดสอบการใช้งานฟิล์มกันกลิ่นระดับภาคสนาม (วิสาหกิจชุมชน/ซูเปอร์มาร์เก็ต) รวมถึงร่วมขยายระดับการผลิตระดับอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ผลิตฟิล์มต่อไป

ติดต่อสอบถาม

คุณชนิต วานิกานุกูล
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติกันกลิ่น (Aroma barrier/Biodegradable packaging) appeared first on NAC2021.

]]>
Low Motor Noise Design for Green Compressor http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/energy01-low-motor-noise-design-for-green-compressor/ Wed, 17 Mar 2021 01:45:18 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15175 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพสูง ขนาดเล็กลง เป็นแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกมีความต้องการ Green Technology เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอุปกรณ์เช่น คอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ที่มีปริมาณการใช้งานสูงขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้คอมเพรสเซอร์ที่ดีสามารถทำให้เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน แต่ขณะเดียวกัน คอมเพรสเซอร์ยังเป็นแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนหลักในของระบบทำความเย็น โดยต้นกำเนิดเสียงหลักมาจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ ที่มาของการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งเน้นเรื่องการออกแบบเพื่อลดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์โดยทางบริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ภายใต้ สวทช. (NSTDA) ร่วมวิจัยและพัฒนา ออกแบบมอเตอร์ขึ้นใหม่ที่ลดเสียงรบกวนเพื่อใช้สำหรับคอมเพรสเซอร์ Low Motor Noise Design ได้ถูกออกแบบมาใช้แทนที่มอเตอร์ที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน มอเตอร์ที่ออกแบบใหม่นี้สามารถใช้คู่กับชุดห้องอัดเดิม (Mechanism) ของคอมเพรสเซอร์ได้ โดยมีจุดเด่นคือ ค่าแรงบิดกระเพื่อมที่ต่ำกว่า และสามารถลดเสียงรบกวนโดยรวมได้สูงสุดถึง 7.5 dBA  ในขณะที่ยังคงประสิทธิภาพของมอเตอร์ไว้เท่าเดิม และต้นทุนการผลิตไม่สูงขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน จุดเด่นของงานวิจัย ลดมลพิษทางเสียงที่เกิดจาก Motor Compressor ได้สูงสุด 7.5 dBA ขยายและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบริษัทฯในเรื่องการออกแบบมอเตอร์รวมถึงการทดสอบเรื่องเสียงของมอเตอร์ […]

The post Low Motor Noise Design for Green Compressor appeared first on NAC2021.

]]>

Low Motor Noise Design for Green Compressor

Low Motor Noise Design for Green Compressor

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

       อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพสูง ขนาดเล็กลง เป็นแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกมีความต้องการ Green Technology เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอุปกรณ์เช่น คอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ที่มีปริมาณการใช้งานสูงขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้คอมเพรสเซอร์ที่ดีสามารถทำให้เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน แต่ขณะเดียวกัน คอมเพรสเซอร์ยังเป็นแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนหลักในของระบบทำความเย็น โดยต้นกำเนิดเสียงหลักมาจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์

        ที่มาของการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งเน้นเรื่องการออกแบบเพื่อลดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์โดยทางบริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ภายใต้ สวทช. (NSTDA) ร่วมวิจัยและพัฒนา ออกแบบมอเตอร์ขึ้นใหม่ที่ลดเสียงรบกวนเพื่อใช้สำหรับคอมเพรสเซอร์

      Low Motor Noise Design ได้ถูกออกแบบมาใช้แทนที่มอเตอร์ที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน มอเตอร์ที่ออกแบบใหม่นี้สามารถใช้คู่กับชุดห้องอัดเดิม (Mechanism) ของคอมเพรสเซอร์ได้ โดยมีจุดเด่นคือ ค่าแรงบิดกระเพื่อมที่ต่ำกว่า และสามารถลดเสียงรบกวนโดยรวมได้สูงสุดถึง 7.5 dBA  ในขณะที่ยังคงประสิทธิภาพของมอเตอร์ไว้เท่าเดิม และต้นทุนการผลิตไม่สูงขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน

จุดเด่นของงานวิจัย

  • ลดมลพิษทางเสียงที่เกิดจาก Motor Compressor ได้สูงสุด 7.5 dBA
  • ขยายและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบริษัทฯในเรื่องการออกแบบมอเตอร์รวมถึงการทดสอบเรื่องเสียงของมอเตอร์

กลุ่มเป้าหมาย

        ลูกค้าทั่วโลก โดยเฉพาะ Zone Europe ที่มีกฎหมายเรื่องมลพิษจากเสียงรบกวนค่อนข้างเข้มงวด

สถานะของงานวิจัย

        ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเก็บผลทดสอบเพิ่มเติมนอกเหนือการทดสอบเสียง เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพของคอมเพรสเซอร์ได้ตามมาตรฐานก่อนที่จะขายและส่งออกให้กับลูกค้าทั่วโลก

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post Low Motor Noise Design for Green Compressor appeared first on NAC2021.

]]>
ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/na27-zpecsen-mobile-spectrometer/ Tue, 16 Mar 2021 17:33:24 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15134 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) วิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้ที่ซับซ้อน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล การเข้าใจเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์จึงต้องใช้ความพยายามและจินตนาการของผู้เรียนอย่างสูง แต่ ในปัจจุบัน โรงเรียนหลายแห่งไม่มีอุปกรณ์การเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก อุปกรณ์วิทยาศาสตร์นั้นมีราคาแพงและตามไม่ทันเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โอกาสที่นักเรียนจะเข้าถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นไปได้ยาก นักเรียนจึงถูกจำกัดการเรียนรู้แค่ในตำราเรียน ซึ่งนำปสู่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนที่ลดลง หรือนักเรียนไม่สามารถเข้าใจในเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างแท้จริง ZpecSen หรือ เครื่องสเปกโตรมิเตอร์แบบพกพาที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน ZpecSen ถูกออกแบบให้ติดตั้งกับสมาร์ทโฟนได้สะดวก ใช้งานง่ายผ่าน Mobile Application ที่ชื่อว่า ZpecSen App และตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย โดยมาพร้อมกับ 2 ช่องการตรวจวัด ที่ช่วยให้ตรวจวัดวัตถุโปร่งแสง 2 ชนิดได้พร้อมกัน หรือตรวจวัดแหล่งกำเนิดแสงชนิดต่าง ๆ โดยแสดงข้อมูลเชิงแสงผ่าน กราฟสเปกตรัมในรูปแบบความเข้มแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ แนะนำการใช้งาน ZpecSen เบื้องต้น “การแนะนำการใช้งาน ZpecSen เบื้องต้น” ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลสำคัญ แนะนำต้นแบบ พร้อมทั้งสอนวิธีการติดตั้ง และวิธีใช้งานเบื้องต้น ส่งเสริมการเรียนรู้ […]

The post ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer) appeared first on NAC2021.

]]>

ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer)

ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        วิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้ที่ซับซ้อน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล การเข้าใจเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์จึงต้องใช้ความพยายามและจินตนาการของผู้เรียนอย่างสูง แต่ ในปัจจุบัน โรงเรียนหลายแห่งไม่มีอุปกรณ์การเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก อุปกรณ์วิทยาศาสตร์นั้นมีราคาแพงและตามไม่ทันเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โอกาสที่นักเรียนจะเข้าถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นไปได้ยาก นักเรียนจึงถูกจำกัดการเรียนรู้แค่ในตำราเรียน ซึ่งนำปสู่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนที่ลดลง หรือนักเรียนไม่สามารถเข้าใจในเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างแท้จริง

        ZpecSen หรือ เครื่องสเปกโตรมิเตอร์แบบพกพาที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน ZpecSen ถูกออกแบบให้ติดตั้งกับสมาร์ทโฟนได้สะดวก ใช้งานง่ายผ่าน Mobile Application ที่ชื่อว่า ZpecSen App และตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย โดยมาพร้อมกับ 2 ช่องการตรวจวัด ที่ช่วยให้ตรวจวัดวัตถุโปร่งแสง 2 ชนิดได้พร้อมกัน หรือตรวจวัดแหล่งกำเนิดแสงชนิดต่าง ๆ โดยแสดงข้อมูลเชิงแสงผ่าน กราฟสเปกตรัมในรูปแบบความเข้มแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ

แนะนำการใช้งาน ZpecSen เบื้องต้น

“การแนะนำการใช้งาน ZpecSen เบื้องต้น” ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลสำคัญ แนะนำต้นแบบ พร้อมทั้งสอนวิธีการติดตั้ง และวิธีใช้งานเบื้องต้น

ส่งเสริมการเรียนรู้ จินตนาการ และความเข้าใจ

        ZpecSen ได้ถูกออกแบบให้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามจินตนาการของนักเรียน หรือครู/อาจารย์ ซึ่งจะเสริมสร้างประสบการณ์ กระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา ให้แก่นักเรียนได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ครู/อาจารย์สามารถนำ ZpecSen ไปใช้ทำกิจกรรมการเรียนรู้นอกหลักสูตร หรือพัฒนารูปแบบการสอนแบบใหม่ เพื่อใช้เสริมความรู้และความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแสงให้แก่นักเรียน หรือเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน-การสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยการลงมือปฏิบัติจริง

ประโยชน์

  • ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องแสง และสเปกตรัม ซึ่งสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แกนกลางของ
    • ประถมศึกษาปีที่ 2 ตัวชี้วัด 2.3.1-2
    • มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวชี้วัด 2.1.3, 2.1.6, 2.3.11-12, 2.3.15 , 2.3.17 และ 2.3.19-21
    • มัธยมศึกษาปีที่ 5 ตัวชี้วัด 2.3.9-10
    • สาระวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
      • สาระเคมี มัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการเรียนรู้ที่ 1.3
      • สาระเคมี มัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการเรียนรู้ที่ 2.20
      • สาระฟิสิกส์ มัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการเรียนรู้ที่ 2.13
  • ใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคมีหรือสารชีวภาพแบบพกพา
  • ใช้แทนเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการซึ่งมีราคาแพงและไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้

คุณสมบัติ

  • A dual channel monitor
  • Two measurement modes
  • Switchable four light sources
  • Built-in Spectral calibration
  • Compatible with Android and IOS

จุดเด่น

  • ราคาถูก
  • ใช้งานง่าย
  • พกพาสะดวก

กลุ่มเป้าหมาย

  • ครู / อาจารย์
  • นักเรียน / นักศึกษา

         ในอนาคตผู้พัฒนาหวังอย่างยิ่งที่จะผลักดันการนำ ZpecSen ไปใช้งานในลักษณะสื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั่วประเทศ ผ่านเครือข่าย พันธมิตร มูลนิธิหรือองค์กรการกุศล

ลิงค์แนะนำผลงาน

ZpecSen เพื่อการศึกษา

แนะนำ ZpecSen

จุดเด่นของสเปกเซ้น

ติดตั้งและใช้งานง่าย

การสอบเทียบความยาวคลื่นได้ในตัวเอง

มีสองช่องการตรวจวัด

การวิเคราะห์ตัวอย่าง

การแหล่งกำเนิดแสง

เลือกแหล่งกำเนิดแสงภายในตัว

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT)
กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer) appeared first on NAC2021.

]]>
UtuNoi อุตุน้อย Playground http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na24-utunoi/ Tue, 16 Mar 2021 15:45:53 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15093 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล บนพื้นฐานของข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยที่กระจายอยู่ตามโรงเรียนทั่วประเทศและมีปริมาณมหาศาล โดยอ้างอิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่กำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณ ของ สสวท. อีกทั้ง สนับสนุนการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป จุดเด่นของผลงาน เชื่อมต่อเซนเซอร์ตรวจวัดข้อมูลสภาพอากาศ กับบอร์ด KidBright รองรับการใช้งานข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยทั่วประเทศ และมีปริมาณมหาศาล ติดตามข้อมูลสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ บนพื้นฐานของพิกัดปัจจุบัน สถานีอุตุน้อยที่สนใจและทั่วประเทศ สำรวจข้อมูลสภาพอากาศ ในรูปตาราง กราฟ และแผนที่ ตามสถานีอุตุน้อย ช่วงเวลา และเวลาในการสุ่มข้อมูลที่สนใจ สร้างโมเดลการพยากรณ์ข้อมูลสภาพอากาศ (อยู่ในระหว่างการพัฒนา) กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล การติดตั้งสถานีอุตุน้อย 407 สถานี ใน 67 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.พ. 2564) ติดต่อสอบถาม ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (DSS) กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ […]

The post UtuNoi อุตุน้อย Playground appeared first on NAC2021.

]]>

UtuNoi อุตุน้อย Playground

UtuNoi อุตุน้อย Playground

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล บนพื้นฐานของข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยที่กระจายอยู่ตามโรงเรียนทั่วประเทศและมีปริมาณมหาศาล โดยอ้างอิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่กำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณ ของ สสวท. อีกทั้ง สนับสนุนการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป

จุดเด่นของผลงาน

  • เชื่อมต่อเซนเซอร์ตรวจวัดข้อมูลสภาพอากาศ กับบอร์ด KidBright
  • รองรับการใช้งานข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยทั่วประเทศ และมีปริมาณมหาศาล
  • ติดตามข้อมูลสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ บนพื้นฐานของพิกัดปัจจุบัน สถานีอุตุน้อยที่สนใจและทั่วประเทศ
  • สำรวจข้อมูลสภาพอากาศ ในรูปตาราง กราฟ และแผนที่ ตามสถานีอุตุน้อย ช่วงเวลา และเวลาในการสุ่มข้อมูลที่สนใจ
  • สร้างโมเดลการพยากรณ์ข้อมูลสภาพอากาศ (อยู่ในระหว่างการพัฒนา)

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล
na24-utunoik-04
na24-utunoik-05

การติดตั้งสถานีอุตุน้อย

        407 สถานี ใน 67 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.พ. 2564)

na24-utunoik-03

ติดต่อสอบถาม

ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์
ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (DSS)
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post UtuNoi อุตุน้อย Playground appeared first on NAC2021.

]]>
ระบบตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ด้วยสัญญาณเทระเฮิรตซ์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na26-packaging-checking-quality/ Tue, 16 Mar 2021 14:43:46 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14990 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ปัจจุบันมีหลากหลายเทคโนโลยีที่สามารถตรวจสอบวัตถุที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องเปิดหีบห่อ หนึ่งในนั้นคือการใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ที่มีความสามารถในการตรวจสอบความชื้นและสิ่งแปลกปลอมภายในผลิตภัณฑ์แบบไม่ทำลาย และในขณะเดียวกันก็มีความปลอดภัยจากกัมมันตรังสี ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิต ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ได้เล็งเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าว จึงพัฒนาระบบจำลองสายพานการผลิต ที่มีการนำเทคโนโลยีการสร้างข้อมูลภาพดิจิทัลด้วยคลื่นเทระเฮิรตซ์ มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี ระบบที่พัฒนาขึ้น ใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ซึ่งมีความปลอดภัยจากกัมมันตรังสี และมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษ ผ้า หรือพลาสติก ตอบสนองต่อการดูดกลืนความชื้น และสะท้อนบนพื้นผิวโลหะ ซึ่งทำให้สามารถตรวจสอบความชื้นและสิ่งแปลกปลอมภายในผลิตภัณฑ์แบบไม่ทำลายได้ นอกจากนี้ ระบบยังสามารถแสดงผลภาพได้หลายแบบ เช่น ภาพสีของภายนอกบรรจุภัณฑ์ ภาพเทระเฮิรตซ์ที่แสดงความชื้นหรือวัตถุแปลกปลอมภายในบรรจุภัณฑ์ หรือภาพซ้อนของภาพทั้งสองชนิด ซึ่งระบบสามารถแสดงผลได้แบบเวลาจริง และสามารถตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ที่เคลื่อนที่เร็วได้มากถึง 30 เซ็นติเมตรต่อวินาที การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ปริมาณความชื้นในผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร หรือสิ่งปลอมปนที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ โดยเป็นการตวจสอบบนสายพานการผลิต และไม่ทำลายวัตถุหรือไม่มีการฉายสารกัมมันตรังสีบนวัตถุ ใช้ตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยภายใน เช่น อาวุธ หรือสิ่งเทียมอาวุธ ที่ถูกซุกซ่อนอยู่ในกล่องพัสดุ สามารถรับชมการสาธิตวิธีการใช้งานจริงได้ที่ เทคโนโลยีสร้างภาพสัญญาณ Terahertz มาประยุกต์ใช้กับระบบสายพานลำเลียง อินโทรแนะนำวีดีโอ xxxxxx (ถ้าไม่มีลบออกได้) ติดต่อสอบถาม […]

The post ระบบตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ด้วยสัญญาณเทระเฮิรตซ์ appeared first on NAC2021.

]]>

ระบบตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ด้วยสัญญาณเทระเฮิรตซ์

ระบบตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ด้วยสัญญาณเทระเฮิรตซ์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        ปัจจุบันมีหลากหลายเทคโนโลยีที่สามารถตรวจสอบวัตถุที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องเปิดหีบห่อ หนึ่งในนั้นคือการใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ที่มีความสามารถในการตรวจสอบความชื้นและสิ่งแปลกปลอมภายในผลิตภัณฑ์แบบไม่ทำลาย และในขณะเดียวกันก็มีความปลอดภัยจากกัมมันตรังสี ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิต ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ได้เล็งเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าว จึงพัฒนาระบบจำลองสายพานการผลิต ที่มีการนำเทคโนโลยีการสร้างข้อมูลภาพดิจิทัลด้วยคลื่นเทระเฮิรตซ์ มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        ระบบที่พัฒนาขึ้น ใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ซึ่งมีความปลอดภัยจากกัมมันตรังสี และมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษ ผ้า หรือพลาสติก ตอบสนองต่อการดูดกลืนความชื้น และสะท้อนบนพื้นผิวโลหะ ซึ่งทำให้สามารถตรวจสอบความชื้นและสิ่งแปลกปลอมภายในผลิตภัณฑ์แบบไม่ทำลายได้

        นอกจากนี้ ระบบยังสามารถแสดงผลภาพได้หลายแบบ เช่น ภาพสีของภายนอกบรรจุภัณฑ์ ภาพเทระเฮิรตซ์ที่แสดงความชื้นหรือวัตถุแปลกปลอมภายในบรรจุภัณฑ์ หรือภาพซ้อนของภาพทั้งสองชนิด ซึ่งระบบสามารถแสดงผลได้แบบเวลาจริง และสามารถตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ที่เคลื่อนที่เร็วได้มากถึง 30 เซ็นติเมตรต่อวินาที

การใช้งาน

  • ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ปริมาณความชื้นในผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร หรือสิ่งปลอมปนที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ โดยเป็นการตวจสอบบนสายพานการผลิต และไม่ทำลายวัตถุหรือไม่มีการฉายสารกัมมันตรังสีบนวัตถุ
  • ใช้ตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยภายใน เช่น อาวุธ หรือสิ่งเทียมอาวุธ ที่ถูกซุกซ่อนอยู่ในกล่องพัสดุ
  • สามารถรับชมการสาธิตวิธีการใช้งานจริงได้ที่

เทคโนโลยีสร้างภาพสัญญาณ Terahertz มาประยุกต์ใช้กับระบบสายพานลำเลียง

อินโทรแนะนำวีดีโอ xxxxxx (ถ้าไม่มีลบออกได้)

ติดต่อสอบถาม

ณภัทร โคตะ และ รุ่งโรจน์ จินตเมธาสวัสดิ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ (TRT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ระบบตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ด้วยสัญญาณเทระเฮิรตซ์ appeared first on NAC2021.

]]>
บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na25-softwate-testing/ Tue, 16 Mar 2021 13:43:44 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14905 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ระบบซอฟต์แวร์ บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ รองรับการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ที่เป็น Application ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  Mobile Application,  Web-Application,   Embedded System  หรือรูปแบบอื่น ซึ่งสามารถทดสอบได้ทั้งผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างการผลิตหรือผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว  โดยสามารถทดสอบตามคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้ *** ราคาและระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ  ของ Application/ระบบ เช่น จำนวนฟังก์ชัน ระดับความซับซ้อน จำนวนส่วนประกอบ เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการทดสอบ หรือสภาพแวดล้อมการทดสอบ เป็นต้น Internet of Things (IoT) Internet of Things หรือ IoT คือ สภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย โดยสรรพสิ่งต่างๆ มีวิธีการระบุตัวตนได้ รับรู้บริบทของสภาพแวดล้อมได้ และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำงานร่วมกันได้ ความสามารถในการสื่อสารของสรรพสิ่งนี้จะนำไปสู่นวัตกรรมและบริการใหม่อีกมากมาย (ที่มา) การทำงานเชิงหน้าที่ (Functional Suitability) เป็นการทดสอบฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์ IoT  รวมไปถึงโมบายแอปพลิเคชัน […]

The post บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ appeared first on NAC2021.

]]>

บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์

บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 

ระบบซอฟต์แวร์

        บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ รองรับการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ที่เป็น Application ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  Mobile Application,  Web-Application,   Embedded System  หรือรูปแบบอื่น ซึ่งสามารถทดสอบได้ทั้งผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างการผลิตหรือผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว  โดยสามารถทดสอบตามคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้

        *** ราคาและระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ  ของ Application/ระบบ เช่น จำนวนฟังก์ชัน ระดับความซับซ้อน จำนวนส่วนประกอบ เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการทดสอบ หรือสภาพแวดล้อมการทดสอบ เป็นต้น

Internet of Things (IoT)
        Internet of Things หรือ IoT คือ สภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย โดยสรรพสิ่งต่างๆ มีวิธีการระบุตัวตนได้ รับรู้บริบทของสภาพแวดล้อมได้ และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำงานร่วมกันได้ ความสามารถในการสื่อสารของสรรพสิ่งนี้จะนำไปสู่นวัตกรรมและบริการใหม่อีกมากมาย (ที่มา)

การทำงานเชิงหน้าที่ (Functional Suitability)
        เป็นการทดสอบฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์ IoT  รวมไปถึงโมบายแอปพลิเคชัน เว็บแอปพลิเคชัน และ API ที่เกี่ยวข้องว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ตรงตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์ รูปแบบการทดสอบเช่นเดียวกับการทดสอบ ระบบซอฟต์แวร์

ประสิทธิภาพ (Performance)
        เป็นการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ IoT  รวมไปถึงเว็บแอปพลิเคชัน และ API ที่เกี่ยวข้องว่าระบบมีการตอบสนองและสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานได้ตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์

ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (CyberSecurity)
      เป็นการทดสอบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของอุปกรณ์ IoT  รวมไปถึงโมบายแอปพลิเคชัน เว็บแอปพลิเคชัน และ API ที่เกี่ยวข้องว่าระบบมีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ตามคำแนะนำของ OWASP

ระบบเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

รายละเอียดการทดสอบ
       ให้บริการทดสอบ ระบบเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ตามมาตรฐาน ดังนี้

  • การทดสอบระบบจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ มาตรฐาน มศอ 4003.1 -2560
  • การทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรฐาน ศอ. 2006.3 – 2558

เครื่องมือแพทย์และซอฟต์แวร์เครื่องมือแพทย์

รายละเอียดการทดสอบ
        ให้บริการทดสอบเครื่องมือแพทย์ และซอฟต์แวร์เครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐาน ดังนี้

ติดต่อสอบถาม

The post บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ appeared first on NAC2021.

]]>
AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na22-ai-for-thai/ Tue, 16 Mar 2021 10:20:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14871 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) AI for Thai : Thai AI Service Platform เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning เพื่อเน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการต่างๆ ในประเทศไทย เช่น ภาคธุรกิจกลุ่มค้าปลีก (Retail) ใช้ Chatbot โต้ตอบเพื่อตอบคำถาม ให้บริการแก่ลูกค้าแทนพนักงาน กลุ่มโลจิสติกส์ ใช้ระบบรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เพื่อตรวจจับใบหน้าของพนักงานขับรถว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ ด้านการแพทย์ก็เริ่มใช้ AI มาวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงของโรคส่วนบุคคล หรือการอ่านฟิล์ม X-rays แทนมนุษย์ เป็นต้น ด้านการท่องเที่ยว สามารถใช้ AI แปลภาษาและสามารถวิเคราะห์รูปอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวจากภาพถ่าย AI for Thai เกิดจากการรวบรวมผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้าน AI ภายใต้หน่วยวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRU) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ อันประกอบไปด้วยงานทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติของภาษาไทย, […]

The post AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย appeared first on NAC2021.

]]>

AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย

AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        AI for Thai : Thai AI Service Platform เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning เพื่อเน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการต่างๆ ในประเทศไทย เช่น

  • ภาคธุรกิจกลุ่มค้าปลีก (Retail) ใช้ Chatbot โต้ตอบเพื่อตอบคำถาม ให้บริการแก่ลูกค้าแทนพนักงาน
  • กลุ่มโลจิสติกส์ ใช้ระบบรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เพื่อตรวจจับใบหน้าของพนักงานขับรถว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่
  • ด้านการแพทย์ก็เริ่มใช้ AI มาวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงของโรคส่วนบุคคล หรือการอ่านฟิล์ม X-rays แทนมนุษย์ เป็นต้น
  • ด้านการท่องเที่ยว สามารถใช้ AI แปลภาษาและสามารถวิเคราะห์รูปอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวจากภาพถ่าย

        AI for Thai เกิดจากการรวบรวมผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้าน AI ภายใต้หน่วยวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRU) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ อันประกอบไปด้วยงานทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติของภาษาไทย, งานด้านการเข้าใจภาพในบริบทของความเป็นไทยและงานด้านการรู้จำและสร้างเสียงพูดภาษาไทย

กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้งาน

  • นักพัฒนาระบบ
  • ผู้ประกอบการบริษัท SME
  • Start up และบริษัทอื่นๆ

จุดเด่น

  • มีบริการให้พร้อมเรียกใช้งาน
  • ช่วยให้สามารถต่อยอดสร้างสรรค์แอพพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว
  • ทดสอบใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย* (แบบ Limited Free Service)

APIs & Service

        โมดูลต่าง ๆ ที่รวบรวมเข้ามาให้บริการบนแพลตฟอร์ม ถูกจำแนกออกเป็น 3กลุ่ม ได้แก่ Language, Vision และ Conversation ซึ่งโมดูลต่าง ๆ จะพร้อมให้ใช้งานในรูปแบบ Web Service หรือ API

  • Language บริการด้านประมวลผลข้อความภาษาไทยรอบด้าน เช่น Word Segmentation, POS Tagging, Named Entity Recognition ประกอบด้วย
    • Basic NLP (ประมวลผลภาษา)
    • TAG Suggestion (แนะนำป้ายกำกับ)
    • Machine translation (แปลภาษา)
    • Sentiment Analysis (วิเคราะห์ความเห็น)
  • Vision บริการด้านวิเคราะห์และเข้าใจภาพและวิดีโอหลากหลาย เช่น OCR, Face Recognition, Person Heatmap ประกอบด้วย
    • Character Recognition (แปลงอักษรภาพเป็นข้อความ)
    • Object Recognition (รู้จำวัตถุ)
    • Face Analytics (วิเคราะห์ใบหน้า)
    • Person & Activity Analytics (วิเคราะห์บุคคล)
  • Conversation บริการด้านสนทนาแบบครบวงจร ได้แก่
    • Speech to Text (แปลงเสียงพูดเป็นข้อความ)
    • Text to Speech (แปลงข้อความเป็นเสียงพูด)
    • Chatbot (ระบบโต้ตอบทางข้อความอัตโนมัติ)

ใช้บริการ AI for Thai ได้ที่ https://aiforthai.in.th

เนคเทค ประกาศเปิดตัว AI FOR THAI

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ประกาศเปิดตัว AI FOR THAI

Ai for Thai

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย appeared first on NAC2021.

]]>
KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na21-kidbright-kanomchan/ Tue, 16 Mar 2021 09:32:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14823 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) KidBright Virtual สำหรับบอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE บนคอมพิวเตอร์ โดย KidBright มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดเชิงตรรกะ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีด้วยตนเองในอนาคต เนื่องจากการเข้าถึงการใช้งานตัวบอร์ดจริง อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จัดหาอุปกรณ์จริงมาใช้ หรือการจัดหาอุปกรณ์จริงอาจจะมีความยุ่งยากในบางประการ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของบอร์ด KidBright ได้มากที่สุด จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบอร์ด KidBright แบบเสมือนจริง (KidBright Virtual: KV) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต และสามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่สนใจก็สามารถใช้งานบอร์ด KidBright ได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง หุ่นยนต์ขนมชั้น Virtual Kanomchan (VK) Virtual Kanomchan หุ่นยนต์ “ขนมชั้น” คือหุ่นยนต์สอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ที่ต่อยอดมาจากบอร์ด KidBright โดยมีการติดตั้งกล้อง […]

The post KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan appeared first on NAC2021.

]]>

KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan

KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

KidBright Virtual

       สำหรับบอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE บนคอมพิวเตอร์ โดย KidBright มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดเชิงตรรกะ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีด้วยตนเองในอนาคต เนื่องจากการเข้าถึงการใช้งานตัวบอร์ดจริง อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จัดหาอุปกรณ์จริงมาใช้ หรือการจัดหาอุปกรณ์จริงอาจจะมีความยุ่งยากในบางประการ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของบอร์ด KidBright ได้มากที่สุด จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบอร์ด KidBright แบบเสมือนจริง (KidBright Virtual: KV) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต และสามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่สนใจก็สามารถใช้งานบอร์ด KidBright ได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง

หุ่นยนต์ขนมชั้น

Virtual Kanomchan (VK)

Virtual Kanomchan

        หุ่นยนต์ขนมชั้น คือหุ่นยนต์สอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ที่ต่อยอดมาจากบอร์ด KidBright โดยมีการติดตั้งกล้อง ล้อ ลำโพง ไมโครโฟน รวมถึงเซ็นเซอร์ต่างๆได้ และซ้อนบอร์ดวงจรขึ้นเป็นชั้น และเพื่อให้การเรียนรู้ด้าน AI ด้วย KidBright AI ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น แม้จะไม่มีหุ่นยนต์ขนมชั้นตัวจริง จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ขนมชั้นเสมือนจริง (Virtual Kanomchan: VK) ซึ่งเป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ฝึกเขียนโปรแกรมด้าน AI เช่น การโปรแกรมให้ระบบหุ่นยนต์จดจำภาพวัตถุที่ต้องการ เพื่อนำการจดจำวัตถุดังกล่าว ไปใช้งานต่างๆ เช่น การเดินตามวัตถุที่จดจำได้ เป็นต้น โดยการใช้งานโปรแกรมนี้ ผู้ใช้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการของการนำเทคโนโยลีด้าน AI มาประกอบเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่ต้องการ ตั้งแต่การเก็บข้อมูล จัดแต่งข้อมูล การ Train ข้อมูลเพื่อสร้าง Model และการนำ Model ไปใช้งาน

Virtual Kanomchan

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        KidBright Virtual: สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานบอร์ด KidBright ได้เหมือนการใช้งานบอร์ดจริง สามารถทดลองโปรแกรมผ่านอุปกรณ์เสมือนจริงที่มีอยู่โปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองใช้งานบอร์ดจริง และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

        Virtual Kanomchan: สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานหุ่นยนต์ขนมชั้น KidBright AI ได้เหมือนการใช้งานหุ่นยนต์จริง สามารถทดลองโปรแกรมการ Train Model ในรูปแบบต่างๆที่มีอยู่โปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีด้าน AI และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบหุ่นยนต์

การศึกษา

การทดสอบ/วิจัย

ลดความผิดพลาด
เสียหายต่ออุปกรณ์

ประหยัดต้นทุน

KidBright Virtual Demo

ติดต่อสอบถาม

วินัย ชนปรมัตถ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan appeared first on NAC2021.

]]>
อนุภาคนาโนเพื่อการนำส่งบัวบก มังคุด กานพลูสำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอาง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na03-acne-care/ Tue, 16 Mar 2021 09:24:02 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14787 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ที่มาและความสำคัญ แนวโน้มการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรในปัจจุบันนั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยพบว่าสารสมุนไพรทั้งในรูปของสารออกฤทธิ์ที่เป็นสารสกัดหยาบ ผงแห้ง และน้ำมันหอมระเหยเข้มข้นมีการนำมาใช้เป็นยา อาหารเสริม หรือส่วนผสมในอาหารเพื่อจุดประสงค์ในการบำบัดและรักษาโรคต่าง ๆ อย่างไรก็ดี สารสกัดจากสมุนไพรมีข้อจำกัดทั้งด้านกายภาพและทางเคมีที่อาจส่งผลต่อการนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นสูตรตำรับยา รวมถึงการนำมาใช้ในการบำบัดรักษาด้วย ดังนั้นการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมุนไพรที่ใช้ภายนอกร่างกายจึงทีความจำเป็นต่อการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ สารสกัดบัวบก สารสกัดเปลือกมังคุด และน้ำมันกานพลู เป็นสารสกัดที่ได้จากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งทางชีวภาพและทางเภสัชศาสตร์ โดยคุณสมบัติดังกล่าว คือ การลดรอยดำ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ รวมถึงความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ในกลุ่มของ Staphylococcus aureus และ Propionibacterium acnes ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดสิว ดังนั้นการนำสรรพคุณของสารออกฤทธิ์ทั้ง 3 ชนิดมารวมกันจะทำให้เป็นการเพิ่มศักยภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้ คุณสมบัติเด่นของเทคโนโลยี อนุภาคนาโนเพื่อการนำส่งบัวบก มังคุด กานพลู เป็นอนุภาคนาโนที่พัฒนาเพื่อให้ได้อนุภาคที่สามารถกักเก็บสารสำคัญได้หลากหลายรูปแบบ และมีความคงตัวของอนุภาคที่ดี โดยสารสกัดจากธรรมชาติที่นำมากักเก็บในอนุภาคนี้มีคุณสมบัติเด่นในด้านการลดการเกิดสิว ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ผิวหนัง ช่วยลดโอกาสการเกิดรอยดำ และการอักเสบที่เกิดขึ้นจากสิวอักเสบ อีกทั้งอนุภาคนาโนเพื่อการนำส่งบัวบก มังคุด กานพลู นี้สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ได้หลายรูปแบบ เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้ในการเตรียมสูตรเภสัชภัณฑ์ใช้ภายนอกร่างกาย เพื่อเพิ่มความสามารถในการซึมผ่านชั้นผิวหนังของอนุภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือที่เสาะหา เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ สถานภาพของผลงานวิจัย […]

The post อนุภาคนาโนเพื่อการนำส่งบัวบก มังคุด กานพลูสำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอาง appeared first on NAC2021.

]]>

อนุภาคนาโนเพื่อการนำส่งบัวบก มังคุด กานพลูสำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอาง

อนุภาคนาโนเพื่อการนำส่งบัวบก มังคุด กานพลูสำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอาง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ที่มาและความสำคัญ

        แนวโน้มการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรในปัจจุบันนั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยพบว่าสารสมุนไพรทั้งในรูปของสารออกฤทธิ์ที่เป็นสารสกัดหยาบ ผงแห้ง และน้ำมันหอมระเหยเข้มข้นมีการนำมาใช้เป็นยา อาหารเสริม หรือส่วนผสมในอาหารเพื่อจุดประสงค์ในการบำบัดและรักษาโรคต่าง ๆ อย่างไรก็ดี สารสกัดจากสมุนไพรมีข้อจำกัดทั้งด้านกายภาพและทางเคมีที่อาจส่งผลต่อการนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นสูตรตำรับยา รวมถึงการนำมาใช้ในการบำบัดรักษาด้วย ดังนั้นการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมุนไพรที่ใช้ภายนอกร่างกายจึงทีความจำเป็นต่อการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์

         สารสกัดบัวบก สารสกัดเปลือกมังคุด และน้ำมันกานพลู เป็นสารสกัดที่ได้จากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งทางชีวภาพและทางเภสัชศาสตร์ โดยคุณสมบัติดังกล่าว คือ การลดรอยดำ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ รวมถึงความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ในกลุ่มของ Staphylococcus aureus และ Propionibacterium acnes ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดสิว ดังนั้นการนำสรรพคุณของสารออกฤทธิ์ทั้ง 3 ชนิดมารวมกันจะทำให้เป็นการเพิ่มศักยภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้

คุณสมบัติเด่นของเทคโนโลยี

        อนุภาคนาโนเพื่อการนำส่งบัวบก มังคุด กานพลู เป็นอนุภาคนาโนที่พัฒนาเพื่อให้ได้อนุภาคที่สามารถกักเก็บสารสำคัญได้หลากหลายรูปแบบ และมีความคงตัวของอนุภาคที่ดี โดยสารสกัดจากธรรมชาติที่นำมากักเก็บในอนุภาคนี้มีคุณสมบัติเด่นในด้านการลดการเกิดสิว ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ผิวหนัง ช่วยลดโอกาสการเกิดรอยดำ และการอักเสบที่เกิดขึ้นจากสิวอักเสบ อีกทั้งอนุภาคนาโนเพื่อการนำส่งบัวบก มังคุด กานพลู นี้สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ได้หลายรูปแบบ เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้ในการเตรียมสูตรเภสัชภัณฑ์ใช้ภายนอกร่างกาย เพื่อเพิ่มความสามารถในการซึมผ่านชั้นผิวหนังของอนุภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความร่วมมือที่เสาะหา

        เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

สถานภาพของผลงานวิจัย

        – ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
        – ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
        – ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
        – ได้ต้นแบบระดับ pilot scale

สถานภาพสิทธิบัตร

        อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803001113 เรื่อง องค์ประกอบอนุภาคนาโน-ลิโปดอล แคริเออร์ และกรรมวิธีการเตรียมอนุภาคดังกล่าว วันที่ยื่นคำขอ 11 พ.ค. 2561

นักวิจัย

        ดร.สุวิมล สุรัสโม
        ดร.ชญานันท์ เอี่ยมสำอาง
        นายคุณัช สุขธรรม
        นางสาวนารินทร์ ไพบูลย์
        นายจักรวาฬ ยศถาวรกุล
        นางสาวอรอุมา เกตุชาติ

ติดต่อสอบถาม

สโรชา เพ็งศรี
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post อนุภาคนาโนเพื่อการนำส่งบัวบก มังคุด กานพลูสำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอาง appeared first on NAC2021.

]]>
แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na09-digital-dentistry-platform/ Tue, 16 Mar 2021 09:05:22 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14764 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)        แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) เป็นการบูรณาการนวัตกรรมทางด้านท้นตกรรมที่พัฒนา ในประเทศแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การนำเทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางทันตกรรม (DentiiScan) การวางแผนการฝังรากฟันเทียมด้วยซอฟต์แวร์ (DentiPlan) เพื่อใช้ในการผลิตอุปกรณ์นำเจาะเพื่อฝังรากฟันเทียม (Surgical Drill Guide) ร่วมกับการใช้ระบบรากฟันเทียมไทย (Dental Implant) ตลอดจนการออกแบบและผลิตครอบฟันสะพานฟันด้วยเทคโนโลยีการออกแบบและควบคุมการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ (Dental CAD/CAM/CNC/3D Printer) ทำให้ผู้ป่วยคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากและฟันได้ง่ายขึ้น และสามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง ภาพแพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม แสดงกระบวนการรักษาโดยการเก็บข้อมูล ออกแบบและผลิต ผลงาน : เครื่องเดนตีสแกน DentiiScan        เดนตีสแกน 2.0 (DentiiScan 2.0) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับงานทันตกรรม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ 3 มิติ แบบลำรังสีทรงกรวยสำหรับงานทันตกรรมและศัลยกรรมบริเวณช่องปากและใบหน้า ช่วยทำให้การวินิจฉัยโรคและวางแผนการผ่าตัดมีความแม่นยำ แผลมีขนาดเล็กและมีความปลอดภัยมากขึ้น สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาในงานทันตกรรมรากฟันเทียม การผ่าฟันคุด […]

The post แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) appeared first on NAC2021.

]]>

แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform)

แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

       แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) เป็นการบูรณาการนวัตกรรมทางด้านท้นตกรรมที่พัฒนา ในประเทศแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การนำเทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางทันตกรรม (DentiiScan) การวางแผนการฝังรากฟันเทียมด้วยซอฟต์แวร์ (DentiPlan) เพื่อใช้ในการผลิตอุปกรณ์นำเจาะเพื่อฝังรากฟันเทียม (Surgical Drill Guide) ร่วมกับการใช้ระบบรากฟันเทียมไทย (Dental Implant) ตลอดจนการออกแบบและผลิตครอบฟันสะพานฟันด้วยเทคโนโลยีการออกแบบและควบคุมการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ (Dental CAD/CAM/CNC/3D Printer) ทำให้ผู้ป่วยคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากและฟันได้ง่ายขึ้น และสามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง

ภาพแพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม แสดงกระบวนการรักษาโดยการเก็บข้อมูล ออกแบบและผลิต

ผลงาน : เครื่องเดนตีสแกน DentiiScan

       เดนตีสแกน 2.0 (DentiiScan 2.0) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับงานทันตกรรม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ 3 มิติ แบบลำรังสีทรงกรวยสำหรับงานทันตกรรมและศัลยกรรมบริเวณช่องปากและใบหน้า ช่วยทำให้การวินิจฉัยโรคและวางแผนการผ่าตัดมีความแม่นยำ แผลมีขนาดเล็กและมีความปลอดภัยมากขึ้น สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาในงานทันตกรรมรากฟันเทียม การผ่าฟันคุด และการผ่าตัดบริเวณช่องปาก ขากรรไกร และใบหน้า รวมทั้งการตรวจดูความผิดปกติของไซนัส ผู้ป่วยที่ถูกถ่ายด้วยเครื่องเดนตีสแกนจะได้รับปริมาณรังสีที่ต่ำกว่าเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์ทั่วไป

     ณ เดือนธันวาคม 2561 มีเครื่องเดนตีสแกนทั้งรุ่น 1.1 และ 2.0 เปิดให้บริการแก่ประชาชนแล้ว รวมทั้งหมด 20 เครื่อง มีการใช้งานมากกว่า 5,000 ครั้ง และในปี พ.ศ. 2563 ได้มีเครื่องเดนตีสแกนให้บริการรวมทั้งสิ้น 60 เครื่องทั่วประเทศ เครื่องเดนตีสแกนผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยด้านต่างๆ และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 นอกจากนี้ยังได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทเอกชน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทรัพย์สินทางปัญญา

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่คำขอ 1201004688 
  • ลิขสิทธิ์เลขที่ 375450, 374098, 374096, 374102, 374099, 374100, 340768 
  • เครื่องหมายการค้าเลขที่ 857894, 940809, 684300

RadiiView-DentiiCloud

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • Login with security awareness (2 options): Use OTP, Single sign-on
  • RadiiView (viewer) แสดงผลภาพ 3 มิติผ่านระบบคลาวด์
  • ทดแทนการเขียนไฟล์ภาพใส่แผ่นซีดี
  • สามารถดูภาพได้ทุกที่ทุกเวลา
  • สามารถใช้ปรึกษาระหว่างทันตแพทย์/แพทย์แบบออนไลน์ (Teleconsult)

วิจัยและพัฒนาโดย
      ดร. เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี, ดร. วลิตะ นาคบัวแก้ว ดร. ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล และคณะ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรม : M-Bone แคลเซียมฟอสเฟตเซรามิกส์สังเคราะห์ชนิดมีรูพรุนต่อเนื่องสำหรับใช้เป็นวัสดุทดแทนกระดูกมนุษย์

       M-Bone เป็นต้นแบบวัสดุสังเคราะห์ที่มีความปลอดภัยเนื่องจากได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพตามมาตรฐาน ISO 10993 โดยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน และดำเนินการผลิตโดยโรงงานต้นแบบที่ได้มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 13485 โดยมีขอบข่ายครอบคลุมกระบวนการวิจัยและพัฒนาและการผลิตต้นแบบ นอกจากนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข และอยู่ระหว่างดำเนินการขออนุญาตผลิตเพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิก ขณะเดียวกันก็ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่คำโฆษณาเพื่อให้สามารถโฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของสินค้าอีกด้วย

วิจัยและพัฒนาโดย
   ดร. นฤภร มนต์มธุรพจน์  ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ติดต่อสอบถาม

กุลภัทร์ เฉลิมงาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) appeared first on NAC2021.

]]>
การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/vaccine04-metabolic-syndrome/ Tue, 16 Mar 2021 08:34:38 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14773 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร และคณะ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่           ภาวะอ้วนลงพุงจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศ ข้อมูลจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การบริโภคอาหารที่มีปริมาณไขมันและแคลอรีสูง ไม่เพียงทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง แต่ยังส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลต่อความจำและความสามารถในการเรียนรู้ และอาจนำไปสู่การเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี โครงการดังกล่าวเป็นการวิจัยทั้งในระดับงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยทางคลินิก คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษา “ผลของการจำกัดแคลอรีต่อการทำงานของหัวใจและสมองของหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” พบว่า การจำกัดแคลอรีของอาหารที่บริโภค เกิดผลดีต่อการทำงานของหัวใจและสมอง อย่างไรก็ตามผลดีดังกล่าวยังน้อยกว่าการให้ยาเบาหวานในกลุ่ม Dipeptidyl peptidase-4 (DPP-4) คณะวิจัยยังได้ศึกษา “ผลของฮอร์โมนไฟโบรบลาสโกรทแฟคเตอร์ 21 (FGF21) ต่อการทำงานของหัวใจและสมองในหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” ข้อมูลจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินมีระดับ FGF21 สูงขึ้น แต่การให้ FGF21 เข้าไปเพิ่ม จะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทำงานของไมโทคอนเดรียของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมอง ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมองทำงานได้ดีขึ้น สำหรับการศึกษาในระดับคลินิก คณะวิจัยได้ “ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง เพื่อศึกษาบทบาทของ FGF21 ต่อการทำงานของสมอง” ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทาง Metabolic […]

The post การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง appeared first on NAC2021.

]]>

การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง

การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร และคณะ
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          ภาวะอ้วนลงพุงจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศ ข้อมูลจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การบริโภคอาหารที่มีปริมาณไขมันและแคลอรีสูง ไม่เพียงทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง แต่ยังส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลต่อความจำและความสามารถในการเรียนรู้ และอาจนำไปสู่การเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

         โครงการดังกล่าวเป็นการวิจัยทั้งในระดับงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยทางคลินิก คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษา “ผลของการจำกัดแคลอรีต่อการทำงานของหัวใจและสมองของหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” พบว่า การจำกัดแคลอรีของอาหารที่บริโภค เกิดผลดีต่อการทำงานของหัวใจและสมอง อย่างไรก็ตามผลดีดังกล่าวยังน้อยกว่าการให้ยาเบาหวานในกลุ่ม Dipeptidyl peptidase-4 (DPP-4) คณะวิจัยยังได้ศึกษา “ผลของฮอร์โมนไฟโบรบลาสโกรทแฟคเตอร์ 21 (FGF21) ต่อการทำงานของหัวใจและสมองในหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” ข้อมูลจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินมีระดับ FGF21 สูงขึ้น แต่การให้ FGF21 เข้าไปเพิ่ม จะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทำงานของไมโทคอนเดรียของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมอง ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมองทำงานได้ดีขึ้น 

         สำหรับการศึกษาในระดับคลินิก คณะวิจัยได้ “ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง เพื่อศึกษาบทบาทของ FGF21 ต่อการทำงานของสมอง” ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทาง Metabolic มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้และความจำ และผลจากการให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบ Montreal Cognitive Assessment scale (MoCa) พบว่า ยิ่งมีภาวะอ้วนลงพุงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความบกพร่องในการเรียนรู้และความจำมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

       คณะวิจัยยังค้นพบอีกว่า ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับ HbA1c (ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 2-3 เดือน) และระดับ FGF21 มีความสัมพันธ์โดยตรงและสูงที่สุด ต่อการมีภาวะบกพร่องในการเรียนรู้และความจำ ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 65 ปี ที่มีภาวะอ้วนลงพุง และยังชี้ให้เห็นว่าควรศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องความสำคัญของ FGF21 กับการทำงานของสมอง โดยเฉพาะส่วนการเรียนรู้และความจำ ทั้งนี้คณะวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับ FGF21 และค่าทาง Metabolic ในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุงว่า ระดับ FGF21 ในเลือดของผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง อาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยคณะผู้วิจัยได้จดสิทธิบัตรองค์ความรู้เรื่องความสัมพันธ์และตัวบ่งชี้ดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม การค้นพบในส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องทำการวิจัยและศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ต่อไป

     คณะวิจัยยังได้แสดงให้เห็นว่า การกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส (VNS) ของสมองที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจและสมองของหนูที่มีภาวะอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน จะส่งผลให้ไมโทคอนเดรียของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งสามารถนำเอาองค์ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ต่อได้

 

         ทั้งหมดข้างต้น คือ ส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากโครงการวิจัยนี้จากการสนับสนุนภายใต้โครงการนักวิจัยแกนนำ โดยสรุป ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 160 เรื่อง ผลงานที่กำลังอยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร 2 เรื่อง รางวัลระดับนานาชาติ 18 รางวัล ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอก ระดับปริญญาโท จำนวนหนึ่ง รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยในทีม ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น โครงการวิจัยนี้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพวิธีการในการดูแลรักษาและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสิริกัญจณ์ เนาวพันธ์
สังกัด งานบริหารโปรแกรมสนับสนุนกลุ่มนักวิจัยแกนนำ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง appeared first on NAC2021.

]]>
VIP-Safe Plus ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพาเพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na38-vip-safe-plus/ Tue, 16 Mar 2021 07:58:24 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14732 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ VIP-Safe Plus หรือ ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร โดยผสาน 3 เทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก ไบโอเทค เนคเทค และมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย เหมาะกับห้องปฏิบัติการขนาดเล็กและงานภาคสนาม ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถนำไปใช้วิเคราะห์จุดเสี่ยงในกระบวนการผลิตอาหารร่วมกับระบบประเมินคุณภาพอื่นๆ เช่น HACCP หรือ GMP เพื่อช่วยลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคในอาหารได้ คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ใช้เวลาตรวจเพียง 1 ชม. ด้วยเทคนิคแลมป์ที่มีความไวและความจำเพาะสูง ใช้สารทดสอบปริมาณน้อย ด้วยขั้วไฟฟ้ากราฟีนแบบพิมพ์ได้ อุปกรณ์มีขนาดเล็ก พกพาง่าย ใช้สะดวก เหมาะกับการใช้งานภาคสนาม เครื่องอ่านผล สามารถตรวจเชื้อก่อโรคได้ถึง 3 ชนิด ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ราคาถูก ใช้งานง่าย ได้ผลแม่นยำ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ชุดตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหารแบบขนาดพกพา สถานภาพของผลงาน คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1703001682 ยื่นคำขอวันที่ 1 กันยายน […]

The post VIP-Safe Plus ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา<br>เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร appeared first on NAC2021.

]]>

VIP-Safe Plus ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา
เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร

VIP-Safe Plus ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา
เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

        VIP-Safe Plus หรือ ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร โดยผสาน 3 เทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก ไบโอเทค เนคเทค และมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย เหมาะกับห้องปฏิบัติการขนาดเล็กและงานภาคสนาม ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถนำไปใช้วิเคราะห์จุดเสี่ยงในกระบวนการผลิตอาหารร่วมกับระบบประเมินคุณภาพอื่นๆ เช่น HACCP หรือ GMP เพื่อช่วยลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคในอาหารได้

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ใช้เวลาตรวจเพียง 1 ชม. ด้วยเทคนิคแลมป์ที่มีความไวและความจำเพาะสูง
  • ใช้สารทดสอบปริมาณน้อย ด้วยขั้วไฟฟ้ากราฟีนแบบพิมพ์ได้
  • อุปกรณ์มีขนาดเล็ก พกพาง่าย ใช้สะดวก เหมาะกับการใช้งานภาคสนาม
  • เครื่องอ่านผล สามารถตรวจเชื้อก่อโรคได้ถึง 3 ชนิด
  • ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ราคาถูก ใช้งานง่าย ได้ผลแม่นยำ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ชุดตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหารแบบขนาดพกพา

สถานภาพของผลงาน

        คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1703001682 ยื่นคำขอวันที่ 1 กันยายน 2560

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนที่ต้องการผลิตและจำหน่าย
  • ห้องปฏิบัติการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร

ชุดตรวจเชื้อก่อโรคในอาหาร VIP Safe PLUS+++

นักวิจัย สวทช. พัฒนาชุดตรวจเชื้อก่อโรคในอาหาร VIP Safe PLUS+++ ที่มีความจำเพาะต่อเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคในกลุ่มของอาหารเป็นพิษ 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อวิบริโอ คลอเรลี่, วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส และ อีโคไล สายพันธุ์โอวันไฟว์เซเว่น โดยได้มีการนำ เทคนิคแลมป์ เทคโนโลยีการผลิตขั้วไฟฟ้ากราฟีนด้วยการพิมพ์สกรีน และเทคโนโลยีตรวจวัดด้วยเซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้า มาพัฒนาเป็นชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็ว ขนาดพกพา จุดเด่นคือใช้เวลาไม่นานในการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร เครื่องมือมีขนาดเล็กพกพาง่าย ใช้สะดวก ราคาถูก เหมาะกับการใช้งานภาคสนาม ในห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก หรือนำไปใช้ร่วมกับระบบประกันคุณภาพของอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อควบคุมคุณภาพและสร้างความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ผลงานวิจัยนี้ได้รับรางวัลแพลตินั่ม ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุด ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่ประเทศไต้หวัน ปี 2560

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post VIP-Safe Plus ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา<br>เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร appeared first on NAC2021.

]]>
ชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ด้วยเทคนิค LAMP Nano gold http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na37-shrimp-ems-lamp-nano-gold/ Tue, 16 Mar 2021 07:39:40 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14726 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โรคกุ้งตายด่วน (EMS) โรคที่น่ากลัวที่สุดของคนเลี้ยงกุ้ง คงหนีไม่พ้น โรคกุ้งตายด่วน ที่มาไวไปไวสมชื่อ EMS กว่าจะรู้ตัว กุ้งก็ตายเกือบหมดบ่อแล้ว แต่จากนี้ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป ด้วยชุดตรวจ Amp-Gold ที่ใช้เทคนิคแลมป์ร่วมกับการตรวจจับ DNA โดยมีความไวในการตรวจที่ 100 CFU แถมยังใช้งานง่าย ดูสีได้ด้วยตาเปล่า ราคาถูก และไม่ต้องใช้เครื่อง PCR หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีราคาแพง ช่วยให้เกษตรกรตรวจเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคได้เองตลอดเวลา ลดปัญหากุ้งตายด่วนได้ทันท่วงที คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ทราบผลตรวจภายใน 1 ชั่วโมงเร็วกว่าเทคนิค PCR 100 เท่า อ่านผลง่าย ด้วยตาเปล่า ถ้ากุ้งติดเชื้อ จะเห็นเป็นสีแดง ใช้ง่าย ราคาถูก ประสิทธิภาพสูง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สามารถใช้ตรวจสอบกุ้งได้ทุกระยะการเลี้ยง สามารถใช้สำหรับกุ้งที่เลี้ยงในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม สถานภาพของผลงาน คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 1603000321 […]

The post ชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ด้วยเทคนิค LAMP Nano gold appeared first on NAC2021.

]]>

ชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ด้วยเทคนิค LAMP Nano gold

ชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ด้วยเทคนิค LAMP Nano gold

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

โรคกุ้งตายด่วน (EMS)

       โรคที่น่ากลัวที่สุดของคนเลี้ยงกุ้ง คงหนีไม่พ้น โรคกุ้งตายด่วน ที่มาไวไปไวสมชื่อ EMS กว่าจะรู้ตัว กุ้งก็ตายเกือบหมดบ่อแล้ว แต่จากนี้ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป ด้วยชุดตรวจ Amp-Gold ที่ใช้เทคนิคแลมป์ร่วมกับการตรวจจับ DNA โดยมีความไวในการตรวจที่ 100 CFU แถมยังใช้งานง่าย ดูสีได้ด้วยตาเปล่า ราคาถูก และไม่ต้องใช้เครื่อง PCR หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีราคาแพง ช่วยให้เกษตรกรตรวจเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคได้เองตลอดเวลา ลดปัญหากุ้งตายด่วนได้ทันท่วงที

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ทราบผลตรวจภายใน 1 ชั่วโมงเร็วกว่าเทคนิค PCR 100 เท่า
  • อ่านผลง่าย ด้วยตาเปล่า ถ้ากุ้งติดเชื้อ จะเห็นเป็นสีแดง
  • ใช้ง่าย ราคาถูก ประสิทธิภาพสูง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • สามารถใช้ตรวจสอบกุ้งได้ทุกระยะการเลี้ยง
  • สามารถใช้สำหรับกุ้งที่เลี้ยงในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม

สถานภาพของผลงาน

        คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 1603000321 เรื่อง กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย V. parahaemolyticus ก่อโรคตับตายเฉียบพลันในกุ้ง ยื่นคำขอวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559

กลุ่มเป้าหมาย

        ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชุดตรวจโรคสัตว์น้ำ

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post ชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ด้วยเทคนิค LAMP Nano gold appeared first on NAC2021.

]]>
ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม แบบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ (blueAMP) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na36-blueamp/ Tue, 16 Mar 2021 07:28:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14692 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) blueAMP เป็นชุดตรวจหาเชื้อก่อโรคในปลานิลและปลาทับทิม ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี มีราคาถูก ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับงานภาคสนามและห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก อ่านผลตรวจได้ทันทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ทำให้สามารถจัดการป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็ว และชุดตรวจนี้ยังประยุกต์ใช้กับการตรวจโรคในปลาเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่นได้ด้วย เช่น ปลาสวาย ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาเทราต์ และปลาสวยงาม คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ใช้งานง่าย อ่านผลได้ทันทีด้วยตาเปล่า รวดเร็ว รู้ผลภายในเวลา 1 ชั่วโมง ต้นทุนการผลิตและการทดสอบต่ำ ถูกกว่าวิธีเดิม 5-8 เท่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สามารถใช้ในงานภาคสนามและห้องปฏิบัติการได้ สามารถประยุกต์ใช้กับปลาชนิดอื่นได้ สถานภาพของผลงาน อนุสิทธิบัตรเลขที่ 11956 เรื่อง กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus agalactiae ก่อโรคในปลา อนุสิทธิบัตรเลขที่ 12062 เรื่อง กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus iniae ก่อโรคในปลา กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชุดตรวจโรคสัตว์น้ำ ติดต่อสอบถาม […]

The post ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม <br>แบบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ (blueAMP) appeared first on NAC2021.

]]>

ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม
แบบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ (blueAMP)

ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม
แบบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ (blueAMP)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        blueAMP เป็นชุดตรวจหาเชื้อก่อโรคในปลานิลและปลาทับทิม ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี มีราคาถูก ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับงานภาคสนามและห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก อ่านผลตรวจได้ทันทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ทำให้สามารถจัดการป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็ว และชุดตรวจนี้ยังประยุกต์ใช้กับการตรวจโรคในปลาเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่นได้ด้วย เช่น ปลาสวาย ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาเทราต์ และปลาสวยงาม

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ใช้งานง่าย อ่านผลได้ทันทีด้วยตาเปล่า
  • รวดเร็ว รู้ผลภายในเวลา 1 ชั่วโมง
  • ต้นทุนการผลิตและการทดสอบต่ำ ถูกกว่าวิธีเดิม 5-8 เท่า

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • สามารถใช้ในงานภาคสนามและห้องปฏิบัติการได้
  • สามารถประยุกต์ใช้กับปลาชนิดอื่นได้

สถานภาพของผลงาน

  • อนุสิทธิบัตรเลขที่ 11956 เรื่อง กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus agalactiae ก่อโรคในปลา
  • อนุสิทธิบัตรเลขที่ 12062 เรื่อง กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus iniae ก่อโรคในปลา

กลุ่มเป้าหมาย

        ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชุดตรวจโรคสัตว์น้ำ

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม <br>แบบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ (blueAMP) appeared first on NAC2021.

]]>
Cucurbits-3 in 1 Easy kit ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง3 ชนิดในคราวเดียวกัน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na34-cucurbits-easy-kit/ Tue, 16 Mar 2021 07:10:23 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14655 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) การตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกและสามารถตรวจโรคหลายๆ ชนิดได้ในคราวเดียวกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาระบาดวิทยาของโรคในแปลงปลูก เพื่อหาวิธีการจัดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ immunochromatographic strip test เพื่อใช้สำหรับตรวจเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัสในกลุ่มโพทีไวรัส (Potyvirus) เชื้อวอเทอร์เมลอน โมเซอิค ไวรัส-ทู (Watermelon mosaic virus-2, WMV-2) และเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac) ได้พร้อมกันใน 1 แถบตรวจ (strip) ที่มาและความสำคัญ การตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกและสามารถตรวจโรคหลายๆ ชนิดได้ในคราวเดียวกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาระบาดวิทยาของโรคในแปลงปลูก เพื่อหาวิธีการจัดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ immunochromatographic strip test เพื่อใช้สำหรับตรวจเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 ชนิด ได้แก่ […]

The post Cucurbits-3 in 1 Easy kit ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง<br>3 ชนิดในคราวเดียวกัน appeared first on NAC2021.

]]>

Cucurbits-3 in 1 Easy kit ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง
3 ชนิดในคราวเดียวกัน

Cucurbits-3 in 1 Easy kit ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง
3 ชนิดในคราวเดียวกัน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

       การตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกและสามารถตรวจโรคหลายๆ ชนิดได้ในคราวเดียวกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาระบาดวิทยาของโรคในแปลงปลูก เพื่อหาวิธีการจัดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ immunochromatographic strip test เพื่อใช้สำหรับตรวจเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัสในกลุ่มโพทีไวรัส (Potyvirus) เชื้อวอเทอร์เมลอน โมเซอิค ไวรัส-ทู (Watermelon mosaic virus-2, WMV-2) และเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac) ได้พร้อมกันใน 1 แถบตรวจ (strip)

ที่มาและความสำคัญ

        การตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกและสามารถตรวจโรคหลายๆ ชนิดได้ในคราวเดียวกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาระบาดวิทยาของโรคในแปลงปลูก เพื่อหาวิธีการจัดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ immunochromatographic strip test เพื่อใช้สำหรับตรวจเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัสในกลุ่มโพทีไวรัส (Potyvirus) เชื้อวอเทอร์เมลอน โมเซอิค ไวรัส-ทู (Watermelon mosaic virus-2, WMV-2) และเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac) ได้พร้อมกันใน 1 แถบตรวจ (strip)

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง

สถานภาพของผลงาน

        อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10414 เรื่อง แผ่นแถบสำเร็จรูปสำหรับตรวจหาเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 เชื้อได้พร้อมกันในคราวเดียว

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเกษตร
  • เกษตรกร

นักวิจัย

        ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

  • นายสมบัติ รักประทานพร
  • นางสาวมัลลิกา กำภูศิริ
  • นางสาวอรวรรณ หิมานันโต
  • นางสาวอรประไพ คชนันทน์

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post Cucurbits-3 in 1 Easy kit ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง<br>3 ชนิดในคราวเดียวกัน appeared first on NAC2021.

]]>
VipPro ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na35-biocontrol-vippro/ Tue, 16 Mar 2021 04:21:30 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14589 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอย และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) นักวิจัยพบว่าโปรตีน Vip3A ที่พบได้ในแบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis) มีฤทธิ์ฆ่าแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผัก ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของประเทศไทย มักพบการแพร่ระบาดสร้างความเสียหายแก่พืชผักในวงกว้าง ทีมวิจัยจึงนำโปรตีน Vip3A มาพัฒนาเป็น VipPro หรือชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช โดยคิดค้นสูตรและกระบวนการผลิตที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดแมลงให้สูงขึ้น ใช้งานง่ายเพียงผสมน้ำแล้วฉีดพ่น ออกฤทธิ์เร็ว ลดความสูญเสียและร่องรอยตำหนิบนใบพืช ปลอดภัยทั้งผู้ปลูก ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ได้กับแมลงศัตรูพืชที่ดื้อต่อสารเคมีแล้ว คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ศัตรูพืชหยุดกินอาหารภายใน 1 ชม. ลดความเสียหายของพืชได้มาก มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ไม่มีของเสียในกระบวนการผลิต สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ใช้งานง่าย เพียงผสมน้ำแล้วฉีดพ่น หรือผสมกับการให้ปุ๋ยทางใบ VipPro ออกฤทธิ์เสริมกับชีวภัณฑ์อื่นได้ดี เช่น ไวรัสเอนพีวี ราบิวเวอเรีย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช สถานภาพของผลงาน อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12300 […]

The post VipPro ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากแบคทีเรีย <i>Bacillus thuringiensis</i> appeared first on NAC2021.

]]>

VipPro ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis

VipPro ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอย และคณะ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        นักวิจัยพบว่าโปรตีน Vip3A ที่พบได้ในแบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis) มีฤทธิ์ฆ่าแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผัก ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของประเทศไทย มักพบการแพร่ระบาดสร้างความเสียหายแก่พืชผักในวงกว้าง ทีมวิจัยจึงนำโปรตีน Vip3A มาพัฒนาเป็น VipPro หรือชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช โดยคิดค้นสูตรและกระบวนการผลิตที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดแมลงให้สูงขึ้น ใช้งานง่ายเพียงผสมน้ำแล้วฉีดพ่น ออกฤทธิ์เร็ว ลดความสูญเสียและร่องรอยตำหนิบนใบพืช ปลอดภัยทั้งผู้ปลูก ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ได้กับแมลงศัตรูพืชที่ดื้อต่อสารเคมีแล้ว

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ศัตรูพืชหยุดกินอาหารภายใน 1 ชม. ลดความเสียหายของพืชได้มาก
  • มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อต่อผู้ใช้และผู้บริโภค
  • ไม่มีของเสียในกระบวนการผลิต สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน
  • ใช้งานง่าย เพียงผสมน้ำแล้วฉีดพ่น หรือผสมกับการให้ปุ๋ยทางใบ
  • VipPro ออกฤทธิ์เสริมกับชีวภัณฑ์อื่นได้ดี เช่น ไวรัสเอนพีวี ราบิวเวอเรีย

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช

สถานภาพของผลงาน

        อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12300 เรื่อง กระบวนเพาะเลี้ยงเชื้อบีที เพื่อผลิตโปรตีน Vip3A ในระดับห้องปฏิบัติการ

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช
  • เกษตรกร

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post VipPro ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากแบคทีเรีย <i>Bacillus thuringiensis</i> appeared first on NAC2021.

]]>
ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na33-elisa-cassava/ Tue, 16 Mar 2021 03:37:56 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14534 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) โรคใบด่างมันสำปะหลัง ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังเป็นโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังทั่วโลกตั้งแต่ร้อยละ 80-100 พบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2437 ในแถบชายฝั่งตะวันออกของทวีปอัฟริกา ในทวีปเอเชียมีรายงานครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2499 ที่ประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกา ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังแพร่กระจายสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2558 ที่จังหวัดรัตนคีรี ประเทศกัมพูชา และต่อมาในปีพ.ศ. 2559 ที่จังหวัดเตียนิญ ประเทศเวียดนาม ประเทศ ไทยพบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 ในพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชา ในจังหวัดศรีสะเกษ และต่อมาพบเพิ่มเติมในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุรินทร์ สระแก้ว และนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2562 พบการระบาดของโรคใบด่าง มันสำปะหลังในพื้นที่เดิมและพื้นที่ใหม่กระจายมากขึ้น ดังนั้นการตรวจกรองไวรัสในท่อนพันธุ์จะช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกรในการนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกต่อ และชะลอการแพร่กระจายของไวรัสลงได้ เทคนิค Elisa คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ถูกต้อง แม่นยำ สามารถตรวจตัวอย่างได้คราวละจำนวนมาก ตรวจเชื้อไวรัสได้จาก ใบยอด […]

The post ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า appeared first on NAC2021.

]]>

ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า

ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

โรคใบด่างมันสำปะหลัง

        ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังเป็นโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังทั่วโลกตั้งแต่ร้อยละ 80-100 พบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2437 ในแถบชายฝั่งตะวันออกของทวีปอัฟริกา ในทวีปเอเชียมีรายงานครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2499 ที่ประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกา ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังแพร่กระจายสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2558 ที่จังหวัดรัตนคีรี ประเทศกัมพูชา และต่อมาในปีพ.ศ. 2559 ที่จังหวัดเตียนิญ ประเทศเวียดนาม ประเทศ ไทยพบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 ในพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชา ในจังหวัดศรีสะเกษ และต่อมาพบเพิ่มเติมในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุรินทร์ สระแก้ว และนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2562 พบการระบาดของโรคใบด่าง มันสำปะหลังในพื้นที่เดิมและพื้นที่ใหม่กระจายมากขึ้น ดังนั้นการตรวจกรองไวรัสในท่อนพันธุ์จะช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกรในการนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกต่อ และชะลอการแพร่กระจายของไวรัสลงได้

เทคนิค Elisa

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ถูกต้อง แม่นยำ สามารถตรวจตัวอย่างได้คราวละจำนวนมาก
  • ตรวจเชื้อไวรัสได้จาก ใบยอด ก่นเขียว และ ใบอ่อนจากตาข้าง
  • มีความไวสูงกว่าและราคาถูกกว่าชุดตรวจที่นำเข้า

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลัง

สถานภาพของผลงาน

        คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001000526 ยื่นคำขอวันที่ 29 มกราคม 2563

กลุ่มเป้าหมาย

        ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเกษตร

นักวิจัย

        นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

  • แสงสูรย์ เจริญวิไลศิริ
  • ชาญณรงค์ ศรีภิบาล
  • สมบัติ รักประทานพร
  • มัลลิกา กำภูศิริ
  • นุชนาถ วารินทร์
  • เบญจรงค์ พวงรัตน์
  • ผกามาศ ชิดเชื้อ
  • สิริมา ศิริไพฑูรย์
  • อรประไพ คชนันทน์

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า appeared first on NAC2021.

]]>
เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/food05-ophiocordyceps-dipterigena/ Tue, 16 Mar 2021 02:49:39 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14476 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ไว ประทุมผายทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เกี่ยวกับเทคโนโลยี        เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์ที่ผลิตได้จากเชื้อรา Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้มีคุณสมบัติที่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ สามารถละลายน้ำและมีความหนืดสูง นำไปขึ้นรูปหรือเป็นส่วนผสมให้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีความคงตัวสูง เบต้ากลูแคนชนิดนี้ยังทนต่ออุณหภูมิสูงได้มากกว่า 200 องศาเซลเซียส โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอาหารคน อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้สามารถผลิตได้ด้วยอุตสาหกรรมการหมักใน ราคาต้นทุนต่ำ ผ่านการศึกษาการนำไปใช้ในสัตว์ การทดสอบความเป็นพิษ และคุณสมบัติอื่นๆ มาแล้ว จึงมีศักยภาพสูงมากที่จะนำเสนอเข้าไปในท้องตลาด โดยได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโมเลกุลสม่ำเสมอ ขนาดประมาณ 5-400 kDa โดยใช้รังสิแกมมาตัดลดขนาดโมเลกุล สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่าย จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มของความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ คือสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้ ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดแคปซูลเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมในคน   […]

The post เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ <i>Ophiocordyceps dipterigena</i> BCC 2073 appeared first on NAC2021.

]]>

เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073

เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ไว ประทุมผาย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

เกี่ยวกับเทคโนโลยี

       เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์ที่ผลิตได้จากเชื้อรา Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้มีคุณสมบัติที่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ สามารถละลายน้ำและมีความหนืดสูง นำไปขึ้นรูปหรือเป็นส่วนผสมให้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีความคงตัวสูง เบต้ากลูแคนชนิดนี้ยังทนต่ออุณหภูมิสูงได้มากกว่า 200 องศาเซลเซียส โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอาหารคน อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้สามารถผลิตได้ด้วยอุตสาหกรรมการหมักใน ราคาต้นทุนต่ำ ผ่านการศึกษาการนำไปใช้ในสัตว์ การทดสอบความเป็นพิษ และคุณสมบัติอื่นๆ มาแล้ว จึงมีศักยภาพสูงมากที่จะนำเสนอเข้าไปในท้องตลาด โดยได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโมเลกุลสม่ำเสมอ ขนาดประมาณ 5-400 kDa โดยใช้รังสิแกมมาตัดลดขนาดโมเลกุล สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่าย จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มของความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ คือสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้

ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดแคปซูลเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมในคน

        โครงการนี้มีลักษณะของความเป็นนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร แพทย์และเภสัช และเครื่องสำอาง โดยอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่ได้ทำการวิจัยและพัฒนามาแล้วให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโลเลกุลสม่ำเสมอขนาดประมาณ 5-400 kDaโดยใช้รังสิแกมมา สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่ายขึ้น

ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์

        โดยผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคนที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปใช้ในรูปแบบเดี่ยว ๆ เพื่อการเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทำให้สัตว์แข็งแรงขึ้นอันเนื่องมาจากร่างกายสามารถตอบสนองต่อการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อได้เร็วขึ้น มีโอกาสที่จะทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้นเพราะคุณสมบัติของการเป็นพรีไบโอติกหรือจะนำเบต้ากลูแคนไปใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่นใช้เป็นสารจับสารพิษเป็นต้น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเพื่อเป็นสารเพิ่มความหนืด เพิ่มความชุ่มชื่นผิว และกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวหนัง ในอุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์และเภสัชเพื่อเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในคน และกระตุ้นการหายเร็วของแผล เป็นต้น

เบต้า-กลูแคน โพลีแซคคาไรด์ (แบบน้ำ)

เบต้า-กลูแคน โอลิโกแซคคาไรด์ (แบบน้ำ)

เบต้า-กลูแคน โพลีแซคคาไรด์ (แบบผง)

เบต้า-กลูแคน โอลิโกแซคคาไรด์ (แบบผง)

รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เบตากลูแคน

ติดต่อสอบถาม

คุณตะวัน เต่าพาลี
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ <i>Ophiocordyceps dipterigena</i> BCC 2073 appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/food11-plant-based-chicken-meat/ Mon, 15 Mar 2021 10:16:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14440 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.กมลวรรณ อิศราคาร ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)         ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชถูกพัฒนาขึ้น โดยอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของอาหาร และคุณสมบัติของโปรตีน ประกอบกับการใช้สารที่ทำหน้าที่ยึดเกาะ และเส้นใยอาหารที่เหมาะสม ในการสร้างเนื้อสัมผัสให้คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถปั้นขึ้นรูปได้ง่ายภายหลังการปั่นผสม และสามารถนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารต่างๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็ง ทำให้ง่ายต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม และมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชสามารถนำไปปรุงสุกด้วยวิธีการชุบทอด ย่าง ผัด หรือ แกง ให้ลักษณะเนื้อสัมผัสที่คล้ายอาหารที่ปรุงจากเนื้อไก่ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชนี้ยังมีปริมาณโปรตีนประมาณ 10-16% มีปริมาณใยอาหารประมาณ 6-10% และมีปริมาณไขมันจากพืชที่ปราศจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลประมาณ 6-9% โดยปริมาณสารอาหาร และความนุ่มของผลิตภัณฑ์ฯ ขึ้นอยู่กับปริมาณส่วนผสมที่ใช้ในสูตรที่สามารถปรับได้ตามความต้องการ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชก่อนปรุง ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชหลังปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ สถานะผลงาน ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ขณะนี้มีบริษัทเอกชน 2 แห่ง สนใจต่อยอดผลงานจากต้นแบบนี้ และอยู่ในระหว่างพิจารณาข้อเสนอโครงการรับจ้างวิจัย ติดต่อสอบถาม คุณชนิต […]

The post ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat)

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.กมลวรรณ อิศราคาร
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

        ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชถูกพัฒนาขึ้น โดยอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของอาหาร และคุณสมบัติของโปรตีน ประกอบกับการใช้สารที่ทำหน้าที่ยึดเกาะ และเส้นใยอาหารที่เหมาะสม ในการสร้างเนื้อสัมผัสให้คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถปั้นขึ้นรูปได้ง่ายภายหลังการปั่นผสม และสามารถนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารต่างๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็ง ทำให้ง่ายต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม และมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชสามารถนำไปปรุงสุกด้วยวิธีการชุบทอด ย่าง ผัด หรือ แกง ให้ลักษณะเนื้อสัมผัสที่คล้ายอาหารที่ปรุงจากเนื้อไก่ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชนี้ยังมีปริมาณโปรตีนประมาณ 10-16% มีปริมาณใยอาหารประมาณ 6-10% และมีปริมาณไขมันจากพืชที่ปราศจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลประมาณ 6-9% โดยปริมาณสารอาหาร และความนุ่มของผลิตภัณฑ์ฯ ขึ้นอยู่กับปริมาณส่วนผสมที่ใช้ในสูตรที่สามารถปรับได้ตามความต้องการ

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชก่อนปรุง

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชหลังปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ

สถานะผลงาน

       ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ขณะนี้มีบริษัทเอกชน 2 แห่ง สนใจต่อยอดผลงานจากต้นแบบนี้ และอยู่ในระหว่างพิจารณาข้อเสนอโครงการรับจ้างวิจัย

ติดต่อสอบถาม

คุณชนิต วานิกานุกูล
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/food10-mycoprotein/ Mon, 15 Mar 2021 09:44:25 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14421 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร. กอบกุล เหล่าเท้งกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         โปรตีนทางเลือก หรือ มัยคอโปรตีน (Mycoprotein) คือโปรตีนที่ได้จากการหมักบ่มจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร และนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ทดแทนเนื้อสัตว์ มัยคอโปรตีนจึงไม่มีคอเลสเตอรอล และมีไขมันอิ่มตัวต่ำ ให้พลังงานแคลอรี่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมนูอาหารประเภทเดียวกันที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ การผลิตเนื้อเทียมจาก mycoprotein นั้นเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถทำผลิตภัณฑ์เนื้อขึ้นรูปได้เสมือนเรารับประมาณเนื้อเป็นชิ้นๆ ที่มีกล้ามเนื้อ (Whole Muscle Meat)         คณะผู้วิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการผลิตมวลเซลล์ของจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร ในระดับโรงงานต้นแบบ สำหรับใช้เป็นแหล่งมัยคอโปรตีนที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยในการบริโภค โดยได้มีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก หรือเนื้อเทียมประเภทมัยคอโปรตีน โดยประมาณการณ์ส่วนแบ่งตลาดที่ 5-10% ของตลาด plant-based meat ภายใน 3 ปี โดยประเมินมูลค่าการลงทุนผลิตและจำหน่ายไม่ต่ำกว่า […]

The post ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein

ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        โปรตีนทางเลือก หรือ มัยคอโปรตีน (Mycoprotein) คือโปรตีนที่ได้จากการหมักบ่มจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร และนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ทดแทนเนื้อสัตว์ มัยคอโปรตีนจึงไม่มีคอเลสเตอรอล และมีไขมันอิ่มตัวต่ำ ให้พลังงานแคลอรี่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมนูอาหารประเภทเดียวกันที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ การผลิตเนื้อเทียมจาก mycoprotein นั้นเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถทำผลิตภัณฑ์เนื้อขึ้นรูปได้เสมือนเรารับประมาณเนื้อเป็นชิ้นๆ ที่มีกล้ามเนื้อ (Whole Muscle Meat)

        คณะผู้วิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการผลิตมวลเซลล์ของจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร ในระดับโรงงานต้นแบบ สำหรับใช้เป็นแหล่งมัยคอโปรตีนที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยในการบริโภค โดยได้มีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก หรือเนื้อเทียมประเภทมัยคอโปรตีน โดยประมาณการณ์ส่วนแบ่งตลาดที่ 5-10% ของตลาด plant-based meat ภายใน 3 ปี โดยประเมินมูลค่าการลงทุนผลิตและจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท อันเป็นการสร้างนวัตกรรมสำหรับต่อยอดในธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพของประเทศ

มัยคอโปรตีนและต้นแบบผลิตภัณฑ์

ติดต่อสอบถาม

ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัฒกรรมอาหาร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein appeared first on NAC2021.

]]>
โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/vaccine03-emerging-infectious-diseases/ Mon, 15 Mar 2021 07:27:42 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14365 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย มีผลต่อสุขภาพ ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษาวิจัย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ จะเป็นการช่วยลดความรุนแรงในการระบาดของโรคและลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม ได้อย่างมาก โดยทำการศึกษาวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ และโรคไวรัส ที่เป็นปัญหาในประเทศไทย การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาของไวรัสต่าง ๆ และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องระยะยาว ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี การศึกษาไวรัสตับอักเสบ เอ บี  และ ซี คณะวิจัยได้ทำการศึกษาแนวกว้างและลึก ใช้ประชากรขนาดใหญ่ เป็นตัวแทนการศึกษาระบาดวิทยาของไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงระดับประเทศ และนานาชาติ ตลอดจนใช้ในการวางแผนการกวาดล้างไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ให้หมดไปจากประเทศไทย ตามนโยบายองค์การอนามัยโลก ภายในปี  2030 ประเทศไทยตรวจพบโรคไวรัสตับอักเสบ เอ น้อยมาก แสดงให้เห็นถึงสุขอนามัยในภาพรวมดีขึ้น การฉีดวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบ บี มายาวนานกว่า […]

The post โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย

โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย มีผลต่อสุขภาพ ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษาวิจัย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ จะเป็นการช่วยลดความรุนแรงในการระบาดของโรคและลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม ได้อย่างมาก โดยทำการศึกษาวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ และโรคไวรัส ที่เป็นปัญหาในประเทศไทย การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาของไวรัสต่าง ๆ และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องระยะยาว ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

         การศึกษาไวรัสตับอักเสบ เอ บี  และ ซี คณะวิจัยได้ทำการศึกษาแนวกว้างและลึก ใช้ประชากรขนาดใหญ่ เป็นตัวแทนการศึกษาระบาดวิทยาของไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงระดับประเทศ และนานาชาติ ตลอดจนใช้ในการวางแผนการกวาดล้างไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ให้หมดไปจากประเทศไทย ตามนโยบายองค์การอนามัยโลก ภายในปี  2030 ประเทศไทยตรวจพบโรคไวรัสตับอักเสบ เอ น้อยมาก แสดงให้เห็นถึงสุขอนามัยในภาพรวมดีขึ้น การฉีดวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบ บี มายาวนานกว่า 24 ปี  มีผลกระทบอย่างชัดเจนในการลดอุบัติการณ์ของพาหะไวรัสตับอักเสบ บี คณะวิจัยได้ใช้จังหวัดเพชรบูรณ์ นำร่องในการศึกษาด้านระบาดวิทยา การตรวจวินิจฉัย เป็นแนวทางสู่การรักษา เพื่อเป็นรูปแบบของการกวาดล้างไวรัสตับอักเสบ ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่จะใช้ในการขยายกวาดล้างทั้งประเทศ

         การศึกษาเรื่องวัคซีน คณะวิจัยบุกเบิก ศึกษาผลระยะยาวการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบและโปลิโอ ศึกษาประสิทธิผลของป้องกัน  หัด หัดเยอรมันและคางทูม คณะวิจัยพบว่า การให้วัคซีนรวม 5 โรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ โดยจะต้องกระตุ้นที่ 18 เดือน เพื่อให้ง่ายและเกิดความคุ้มค่า แทนที่จะให้วัคซีนรวมสามโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เท่านั้น นอกจากนี้การให้วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม ก็เช่นเดียวกัน จากผลการศึกษาดังกล่าวจะสามารถนำมาประยุกต์ต่อแผนการให้วัคซีนแห่งชาติ เพื่อกำหนดตารางการฉีดวัคซีนให้เหมาะสมต่อการให้วัคซีนในเด็กไทย

         การศึกษาโรคไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย คณะวิจัยเป็นผู้นำในการศึกษาโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสฮิวแมนเมตานิวโมไวรัส (hMPV) และไวรัสโรคทางเดินหายใจ ด้านระบาดวิทยาและแนวลึก เชิงโมเลกุล สายพันธุ์ เพื่อเป็นข้อมูลของประเทศไทย โรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก และโรคท้องเสียที่เกิดจากไวรัสโรต้าและไวรัสโนโร ศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้ทราบข้อมูลของประเทศไทย

        คณะวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยด้านไวรัส เช่น การตรวจไวรัสในกลุ่มโรคทางเดินหายใจ โรคมือเท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง การตรวจไวรัสโนโร ไวรัสตับอักเสบ อี  และโรคอุบัติใหม่ เช่น ไวรัสซิกา และยังได้พัฒนาชุดตรวจหาเชื้อ RSV และ hMPV โดยวิธีเรียลไทม์อาร์ที-พีซีอาร์ รวมทั้ง ชุดตรวจโรค มือ เท้า ปาก ชึ่งได้ให้บริการการตรวจกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลทั่วไป

         สำหรับช่วงสถานการณ์การระบาด Covid-19 ยังได้มีการพัฒนาชุดตรวจเรียลไทม์อาร์ที-พีซีอาร์ ให้เป็นมัลติเพล็กซ์ และการพัฒนาการตรวจอย่างรวดเร็ว โดยใช้ CRISPR-Cas12a  ที่ได้ผลดี โดยนำไปทดลองใช้ในภาคสนามต่อไป นอกจากนี้ คณะวิจัยยังได้พัฒนาการตรวจวินิจฉัย โรค มือ เท้า ปาก ชนิด CVA6 CVA16 และ EVA71 การตรวจไวรัสตับอักเสบ อี โดยวิธีเรียลไทม์อาร์ที-พีซีอาร์ การพัฒนาดังกล่าวได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรแล้ว คณะวิจัยยังศึกษาเกี่ยวกับการตรวจไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา  (HPV) สาเหตุมะเร็งปากมดลูก เปรียบเทียบการตรวจในปัสสาวะเทียบกับป้ายจากปากมดลูก พบว่ามีประสิทธิผลได้ดีถึงร้อยละ 95 

         นอกจากนี้ คณะวิจัยได้ศึกษาโรคที่เกิดขึ้นระหว่างคนและสัตว์ มีการศึกษาเชื่อมโยงให้เป็นสุขภาพหนึ่งเดียว (one health)  ศึกษาไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ระหว่างคนและสัตว์ โรคไวรัสของสัตว์ที่ใกล้เคียงกับของคน เช่น  distemper ในสัตว์ โรคหัด (measles) ในคน การติดต่อระหว่างโรคอุจจาระร่วง ไวรัสโนโรในมนุษย์และสุนัข ไวรัสตับอักเสบอี คน กับสุกร เป็นต้น

        การศึกษาวิจัยภายใต้โครงการนักวิจัยแกนนำ นอกจากได้เป็นผลงานวิจัยออกมาเป็นรูปธรรมและมีการเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ มากกว่า 130 เรื่อง ยังได้พัฒนาบุคลากรทุกระดับ ทางด้านวิจัย วิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มให้ประชาคมวิจัยของประเทศไทยมีศักยภาพสูงขึ้น ในทุกครั้งที่มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ หรือไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย คณะวิจัยจะได้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับประชาชน ใช้องค์ความรู้ที่ทำการศึกษาให้เป็นประโยชน์กับประเทศไทย และเป็นที่ปรึกษาให้กับกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล ในมาตรการการควบคุมและป้องกันโรค

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสิริกัญจณ์ เนาวพันธ์
สังกัด งานบริหารโปรแกรมสนับสนุนกลุ่มนักวิจัยแกนนำ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
เครื่องตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นอัตโนมัติ Health Check Kiosk http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/na08-health-check-kiosk/ Mon, 15 Mar 2021 07:06:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14322 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ชูศักดิ์ ธนวัฒโน และคณะ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ข้อมูลความดันโลหิตและน้ำหนักเป็นข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นที่สำคัญในการบ่งบอกถึงสุขภาพของผู้รับการตรวจ นอกจากนั้นการตรวจวัดเป็นประจำทำให้สามารถคาดการณ์สภาวะการเกิดโรคของผู้รับการตรวจวัดซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เกิดความตระหนักแก่ประชาชนผู้รับการตรวจข้อมูลดังกล่าวเบื้องต้น ผลการตรวจที่ถูกเก็บในระบบคลาวน์ทำให้ทั้งตัวผู้ตรวจวัดเองทราบและตระหนักถึงภาวะสุขภาพตนเองในปัจจุบันและอดีตตั้งแต่เริ่มทำการตรวจวัด ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับและกำหนดนโยบายสาธารณะสุขสามารถเข้าถึงภาพรวมของสุขภาพของประชาชนเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี สามารถวัดความดันโลหิตชนิดสอดแขนแบบอัตโนมัติในขณะที่ผู้ใช้งานอยู่ในท่านั่ง สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ สามารถชั่งน้ำหนักของผู้ใช้งานได้ มีช่องเสียบบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดเพื่อใช้ระบุตัวตน และบันทึกข้อมูลสุขภาพ แสดงผลค่าที่ความดัน น้ำหนัก และอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่อวัดเสร็จที่หน้าจอแสดงผล มีระบบแนะนำการใช้งานเป็นขั้นตอนด้วยภาพและเสียงภาษาไทย สแกน QR CODE เพื่ออ่านข้อมูลการวัดของตนเองไปยังสมาร์ทโฟนของผู้ใช้งาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี วัดน้ำหนักและความดันโลหิตและแสดงผลเป็นระดับความเสี่ยง ให้ค่าดัชนีมวลกาย Body Mass Index และแสดงเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน ข้อมูลถูกเก็บในระบบฐานข้อมูลก้อนเมฆเป็นประวัติการวัดของผู้ใช้งาน ผู้กำหนดนโยบายภาครัฐวิเคราะห์ภาพรวมสุขภาพจากข้อมูลดังกล่าว สถานภาพของผลงาน ลิขสิทธิ์ เลขที่คำขอ ว1.8261 เรื่อง เฟิร์มแวร์สั่งการระบบตรวจวัดสุขภาพอัจฉริยะรุ่นที่ 1 ยื่นคำขอวันที่ 20 กันยายน 2562 กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไป สถานพยาบาลส่วนกลางและท้องถิ่น ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขและผู้กำหนดนโยบาย ติดต่อสอบถาม กุลภัทร์ เฉลิมงาม สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี […]

The post เครื่องตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นอัตโนมัติ Health Check Kiosk appeared first on NAC2021.

]]>

เครื่องตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นอัตโนมัติ Health Check Kiosk

เครื่องตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นอัตโนมัติ Health Check Kiosk

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ชูศักดิ์ ธนวัฒโน และคณะ
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

        ข้อมูลความดันโลหิตและน้ำหนักเป็นข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นที่สำคัญในการบ่งบอกถึงสุขภาพของผู้รับการตรวจ นอกจากนั้นการตรวจวัดเป็นประจำทำให้สามารถคาดการณ์สภาวะการเกิดโรคของผู้รับการตรวจวัดซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เกิดความตระหนักแก่ประชาชนผู้รับการตรวจข้อมูลดังกล่าวเบื้องต้น ผลการตรวจที่ถูกเก็บในระบบคลาวน์ทำให้ทั้งตัวผู้ตรวจวัดเองทราบและตระหนักถึงภาวะสุขภาพตนเองในปัจจุบันและอดีตตั้งแต่เริ่มทำการตรวจวัด ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับและกำหนดนโยบายสาธารณะสุขสามารถเข้าถึงภาพรวมของสุขภาพของประชาชนเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

na08-health-check-kiosk-02

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • สามารถวัดความดันโลหิตชนิดสอดแขนแบบอัตโนมัติในขณะที่ผู้ใช้งานอยู่ในท่านั่ง
  • สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้
  • สามารถชั่งน้ำหนักของผู้ใช้งานได้
  • มีช่องเสียบบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดเพื่อใช้ระบุตัวตน และบันทึกข้อมูลสุขภาพ
  • แสดงผลค่าที่ความดัน น้ำหนัก และอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่อวัดเสร็จที่หน้าจอแสดงผล
  • มีระบบแนะนำการใช้งานเป็นขั้นตอนด้วยภาพและเสียงภาษาไทย
  • สแกน QR CODE เพื่ออ่านข้อมูลการวัดของตนเองไปยังสมาร์ทโฟนของผู้ใช้งาน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • วัดน้ำหนักและความดันโลหิตและแสดงผลเป็นระดับความเสี่ยง
  • ให้ค่าดัชนีมวลกาย Body Mass Index และแสดงเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน
  • ข้อมูลถูกเก็บในระบบฐานข้อมูลก้อนเมฆเป็นประวัติการวัดของผู้ใช้งาน
  • ผู้กำหนดนโยบายภาครัฐวิเคราะห์ภาพรวมสุขภาพจากข้อมูลดังกล่าว

สถานภาพของผลงาน

        ลิขสิทธิ์ เลขที่คำขอ ว1.8261 เรื่อง เฟิร์มแวร์สั่งการระบบตรวจวัดสุขภาพอัจฉริยะรุ่นที่ 1 ยื่นคำขอวันที่ 20 กันยายน 2562

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประชาชนทั่วไป
  • สถานพยาบาลส่วนกลางและท้องถิ่น
  • ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขและผู้กำหนดนโยบาย

ติดต่อสอบถาม

กุลภัทร์ เฉลิมงาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post เครื่องตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นอัตโนมัติ Health Check Kiosk appeared first on NAC2021.

]]>
การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/vaccine01-vaccine-covid-19/ Mon, 15 Mar 2021 05:08:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14262 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)           โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เป็นโรคระบาดอุบัติใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและของโลก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่สามารถติดเชื้อและแพร่กระจายในคนเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สังคม และเศรษฐกิจอย่างมหาศาล กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ จึงอาศัยความเชี่ยวชาญจากการพัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนาก่อโรคพีอีดีในสุกร และเทคโนโลยีรีเวอร์สเจเนติกส์ในการพัฒนาต้นแบบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้          1) วัคซีนประเภท Virus-like particle (VLP) ได้สร้างพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีน และปรับตำแหน่งบริเวณปลายด้าน C-terminus เป็นส่วนของโปรตีน Hemagglutinin (HA) ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ เพื่อความเข้ากันได้กับโปรตีน M1 ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นจากพลาสมิดอีกชิ้นหนึ่ง เมื่อนำส่งพลาสมิดทั้งสองเพื่อแสดงออกโปรตีนทั้งสองชนิดในเซลล์เดียวกัน (รูปภาพ) พบว่าอนุภาคไวรัสเสมือน (VLP) ที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์สามารถถูกปลดปล่อยออกมานอกเซลล์ได้และมีปริมาณใกล้เคียงกับไวรัสในธรรมชาติ […]

The post การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) appeared first on NAC2021.

]]>

การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เป็นโรคระบาดอุบัติใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและของโลก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่สามารถติดเชื้อและแพร่กระจายในคนเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สังคม และเศรษฐกิจอย่างมหาศาล กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ จึงอาศัยความเชี่ยวชาญจากการพัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนาก่อโรคพีอีดีในสุกร และเทคโนโลยีรีเวอร์สเจเนติกส์ในการพัฒนาต้นแบบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้

         1) วัคซีนประเภท Virus-like particle (VLP) ได้สร้างพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีน และปรับตำแหน่งบริเวณปลายด้าน C-terminus เป็นส่วนของโปรตีน Hemagglutinin (HA) ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ เพื่อความเข้ากันได้กับโปรตีน M1 ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นจากพลาสมิดอีกชิ้นหนึ่ง เมื่อนำส่งพลาสมิดทั้งสองเพื่อแสดงออกโปรตีนทั้งสองชนิดในเซลล์เดียวกัน (รูปภาพ) พบว่าอนุภาคไวรัสเสมือน (VLP) ที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์สามารถถูกปลดปล่อยออกมานอกเซลล์ได้และมีปริมาณใกล้เคียงกับไวรัสในธรรมชาติ

(ก)

(ข)

         รูปภาพแสดงการสร้างอนุภาคไวรัสเสมือนที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 โดย (ก) การสร้างพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีน และมีปลาย C-terminus เป็นส่วนของโปรตีน HA ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ และ (ข) การสร้างอนุภาคไวรัสเสมือนจากการนำส่งพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีนและพลาสมิดที่มีการแสดงออกของโปรตีน M1 ของไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อแสดงออกโปรตีนทั้งสองชนิดในเซลล์เดียวกัน

         เมื่อทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลอง โดยการฉีดหนูทดลองจำนวน 2 เข็ม ห่างกันเข็มละ 3 สัปดาห์ พบว่าหนูสามารถสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนสไปค์ชัดเจน โดยเฉพาะหนูในกลุ่มที่ฉีด VLP พร้อมกับ Adjuvant ชนิด Alum สามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีได้สูงมาก โดยเมื่อนำซีรั่มของหนูไปทดสอบความสามารถยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส SARS-CoV-2 (Virus neutralization test) ในห้องปฏิบัติการ BSL-3 พบว่าซีรั่มของหนูที่ได้รับ VLP พร้อม Adjuvant สามารถยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสที่ระดับ 1:640 ถึงมากกว่า 1:2,000 (เทียบกับค่ามาตรฐาน 1:200 ที่เชื่อว่าเพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัส) นอกจากนี้ประสบความสำเร็จในการสร้างเซลล์ที่มีการแสดงออกของทั้งโปรตีนสไปค์ และ M1 ในเซลล์เดียวกัน โดยเซลล์ดังกล่าวสามารถเลี้ยง VLP ในรูปแบบขยายขนาดได้ และแยก VLP จากน้ำเลี้ยงเซลล์มาทำให้บริสุทธิ์ได้เลย ทั้งนี้การทดสอบประสิทธิภาพการคุ้มโรคของ VLP ในหนูทดลองชนิด Human-ACE2 transgenic mice ที่ได้รับเชื้อ SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการ ABSL-3 คาดว่าจะดำเนินการภายในเดือนเมษายน 2564

         2) วัคซีนประเภท Influenza-based ได้สร้างวัคซีนต้นแบบโดยอาศัยระบบการสร้างอนุภาคไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/PR/8/34 (PR8) ที่เข้าสู่เซลล์ได้ครั้งเดียว (Single-cycle influenza virus, scIAV) โดยการแทนที่ยีน Receptor Binding Domain (RBD) ของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 ในยีน Hemagglutinin (HA) ในจีโนมของไวรัสไข้หวัดใหญ่ และเพิ่มปริมาณไวรัสดังกล่าวในเซลล์ที่ออกแบบให้มีการสร้างโปรตีน HA เพื่อทดแทนยีนของไวรัสที่สูญเสียไป (complementing cell line) (รูปภาพ)

(ก)

(ข)

         รูปภาพแสดงการสร้างต้นแบบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบ influenza-based โดย (ก) การสร้างอนุภาคไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/PR/8/34 (PR8) ที่แสดงออกโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 และสามารถเข้าสู่เซลล์ได้ครั้งเดียว (Single-cycle influenza virus, scIAV) และ (ข) การเพิ่มปริมาณไวรัสดังกล่าวใน complementing cell line

         ผลการทดสอบความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลองสายพันธุ์ BALB/c แบบฉีดทางจมูกเป็นจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 14 วัน พบว่าหนูสามารถสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนสไปค์ได้ดี และมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด Cell-mediated immunity โดยวัดจาก T cell ในม้ามที่สามารถสร้าง IFN-gamma ได้หลังถูกกระตุ้นด้วยเปปไทด์ของโปรตีนสไปค์ 

         อย่างไรก็ตามการสร้างไวรัสในรูปแบบดังกล่าวอาจเสียสภาพการสร้างแอนติเจนได้เร็ว เนื่องจากธรรมชาติไวรัสไข้หวัดใหญ่มีความไม่เสถียรของจีโนมสูง เกิด mutation ได้ง่ายและรวดเร็ว จึงได้ปรับการสร้างไวรัสให้มีความเสถียรขึ้น โดยผลการทดสอบหลังจากไวรัสถูกเลี้ยงต่อไปอย่างน้อย 5 ครั้ง พบว่าไวรัสยังสามารถสร้างแอนติเจนได้ในปริมาณสูง ซึ่งแสดงถึงเสถียรภาพของไวรัสของการนำไปใช้ต่อยอดเป็นวัคซีน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนชนิด Influenza-based เข็มแรกในรูปแบบปรับปรุงใหม่ในหนูแฮมสเตอร์ที่ได้รับเชื้อ SARS-CoV-2 โดยการทดสอบวัคซีนเข็มที่สองจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 9 ม.ค. 2564 และการ challenge เชื้อในวันที่ 15 ม.ค. 2564

รูปภาพแสดงการสร้างต้นแบบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ด้วย Adenovirus serotype 5 (Ad5) ที่ผ่านการปรับพันธุกรรมให้อ่อนเชื้อ

ผลการทดสอบวัคซีนไวรัส

         ผลการทดสอบวัคซีนไวรัสในหนูทดลองครั้งแรกด้วยวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อเข็มเดียวโดยใช้ขนาด dose ที่ต่างกันคือ 108, 109 และ 1010 อนุภาค/มิลลิลิตร พบว่าหนูทุกตัวปลอดภัย ไม่มีอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน หลังจากนั้นทำการการุณยฆาตหนูทดลองที่ 3 สัปดาห์เพื่อตรวจสอบปริมาณแอนติบอดีในซีรั่มต่อโปรตีนสไปค์ด้วยวิธี ELISA พบว่าหนูในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไวรัสขนาด 109 และ 1010 อนุภาค/มิลลิลิตร สามารถตรวจวัดแอนติบอดีได้ 

         แต่เมื่อนำซีรั่มดังกล่าวไปตรวจสอบหาแอนติบอดีชนิด neutralizing antibody ต่อไวรัส SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการ BSL-3 พบว่าปริมาณแอนติบอดียังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยสามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสที่ระดับ 1:20 -1:80 แต่เมื่อนำตัวอย่างม้ามของหนูทดลองไปตรวจสอบปริมาณ T cell ที่ตอบสนองต่อเปปไทด์ของโปรตีนสไปค์ พบว่ามีการตอบสนองด้วยการสร้าง Interferon gamma ที่สูงมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีน 1 เข็มสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด cell-mediated immunity (CMI) ได้ภายใน 3 สัปดาห์ 

         ผลการดำเนินงานในปี 2564 ได้เริ่มดำเนินการทดสอบวัคซีนในหนูทดลองครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 พ.ย 2563 โดยการฉีดวัคซีนไวรัสแบบเข็มเดียวเข้ากล้ามเนื้อและทางจมูกด้วยความเข้มข้น 1010 อนุภาค/มิลลิลิตร และทำการการุณยฆาตหนูทดลองหลังจากฉีดที่ 4 สัปดาห์ (วันที่ 30 พ.ย. 2563) โดยพบปริมาณ IgG ต่อโปรตีนสไปค์ของไวรัสสูงถึง 1:12,800 นอกจากนี้ได้ทำการทดสอบวัคซีนแบบให้ 2 เข็มในหนูอีกชุดหนึ่ง โดยเริ่มต้นจากการฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือทางจมูก (วันที่ 2 พ.ย. 2563) และอีกสามสัปดาห์ต่อมาหนูจะได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 (วันที่ 23 พ.ย. 2563) หลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์ (วันที่ 16-17 ธ.ค. 2563)

         โดยเมื่อทำการตรวจสอบภูมิคุ้มกันชนิด neutralizing antibody, T cell activation และการสร้างแอนติบอดีชนิด IgA ที่จำเพาะต่อไวรัส SARS-CoV-2 ในปอดของหนู พบว่าระดับภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีนสามารถยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสที่ระดับ 1:64 ถึง 1:1,024 โดยพบว่าทั้งการฉีดเข้ากล้ามเนื้อและพ่นเข้าจมูกสามารถกระตุ้น T cells ได้ และเมื่อตรวจสอบปริมาณแอนติบอดีชนิด IgA ที่จำเพาะต่อไวรัส SARS-CoV-2 ในปอดของหนูพบว่า การฉีดวัคซีนทางกล้ามเนื้อไม่สามารถกระตุ้น IgA ในปอดได้ จะต้องพ่นจมูกเท่านั้น ดังนั้นการพ่นวัคซีนเข้าสู่จมูกจึงมีประสิทธิภาพดีที่สุด

         ปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือความร่วมมือกับ USAMD-AFRIMS ในการทดสอบประสิทธิภาพการคุ้มโรคของวัคซีนชนิด Ad5-S ในหนูทดลองชนิด Human-ACE2 transgenic mice โดยการ challenge ด้วยไวรัส SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการ ABSL-3 

ติดต่อสอบถาม

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/food04-biocalcium/ Mon, 15 Mar 2021 04:11:47 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14241 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อติกร ปัญญา ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ที่มาและความสำคัญ         ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียม (Biocalcium) และเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท (Eggshell membrane hydrolysate) ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้งจากกระบวนผลิตไข่เหลวพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งกระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพในการแยกเยื่อเปลือกไข่ออกจากแคลเซียมเปลือกไข่สูง โดยไบโอแคลเซียมที่ได้มีความบริสุทธิ์มากกว่า 98% ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น อันเนื่องมาจากมีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ที่ต่ำทำให้สามารถนำไปใช้ในอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้โดยตรงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อกลิ่นรสต่อผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้กระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นยังสามารถบดเปลือกไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตไบโอแคลเซียมที่มีขนาดได้ตั้งแต่ 5 ถึง 40 ไมโครเมตร เพื่อให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เช่นการใช้งานเป็นสารเจือปนอาหารเพื่อเพิ่มความเหนียวของผลิตภัณฑ์แป้ง เช่น เช่นแป้งชุบทอดและเส้นราเมง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์แคลเซียมผงหรือเม็ดเป็นต้น เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมที่ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง         ผลิตภัณฑ์เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท เป็นผลิตภัณฑ์ จากเปลือกไข่ จากการศึกษาพบว่า เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท ที่ได้มีขนาดโมเลกุลที่ขนาดเล็กระหว่างน้อยกว่า 3kDa ถึง 30kDa และสามารถละลายน้ำได้ดี […]

The post ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง

ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อติกร ปัญญา

ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ที่มาและความสำคัญ

        ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียม (Biocalcium) และเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท (Eggshell membrane hydrolysate) ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้งจากกระบวนผลิตไข่เหลวพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งกระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพในการแยกเยื่อเปลือกไข่ออกจากแคลเซียมเปลือกไข่สูง โดยไบโอแคลเซียมที่ได้มีความบริสุทธิ์มากกว่า 98% ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น อันเนื่องมาจากมีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ที่ต่ำทำให้สามารถนำไปใช้ในอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้โดยตรงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อกลิ่นรสต่อผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้กระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นยังสามารถบดเปลือกไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตไบโอแคลเซียมที่มีขนาดได้ตั้งแต่ 5 ถึง 40 ไมโครเมตร เพื่อให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เช่นการใช้งานเป็นสารเจือปนอาหารเพื่อเพิ่มความเหนียวของผลิตภัณฑ์แป้ง เช่น เช่นแป้งชุบทอดและเส้นราเมง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์แคลเซียมผงหรือเม็ดเป็นต้น เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมที่ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง

        ผลิตภัณฑ์เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท เป็นผลิตภัณฑ์ จากเปลือกไข่ จากการศึกษาพบว่า เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท ที่ได้มีขนาดโมเลกุลที่ขนาดเล็กระหว่างน้อยกว่า 3kDa ถึง 30kDa และสามารถละลายน้ำได้ดี ในสภาวะที่เป็นกรดและด่าง และนอกเหนือจากนี้ เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทที่ได้นั้น โดยธรรมชาติจะมีส่วนประกอบของโปรตีน โปรตีนคอลลาเจน และ polysaccharides ในกลุ่ม glycosaminoglycans (GAG) เช่น chondroitin sulfate, dermatan sulfate, hyaluronic acids เป็นต้น จากกระบวนการแยกและย่อยที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ eggshell membrane hydrolysate ประกอบด้วย peptides และสารในกลุ่ม GAG ค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้อุตสาหกรรมอาหารเสริมลดอาการปวดข้อกระดูก และและเครื่องสำอางเนื่องจากมีความสามารถในการกระตุ้นการสร้างการสร้างคอลลาเจนในเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ได้

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

สถานะผลงาน

        ปัจจุบันได้โรงงานต้นแบบเพื่อผลิตไบโอแคลเซียม (Biocalcium) และเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท (Eggshell membrane hydrolysate) เพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ ภายใต้มาตรฐาน GMP จากกระบวนการผลิตนี้จะสามารผลิต Biocalcium ประมาณ 1900 กก. ต่อวัน และ eggshell membrane hydrolysate ประมาณ 200 กก. ต่อวัน ปัจจุบันโรงงานกำลังยื่นขอ GMP และ ขอขึ้นทะเบียน อย. และสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายได้ในปี 2021

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง appeared first on NAC2021.

]]>
“มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (μTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/14/na20-utherm-facesense/ Sun, 14 Mar 2021 16:37:31 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14179 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT) กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG) และทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นวิธีคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถบ่งชี้อาการของโรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน โรคไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก รวมถึงการติดเชื้อ COVID – 19 ที่ทำให้เกิดจุดคัดกรองอุณหภูมิมากมายในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิส่วนใหญ่ คือ ไม่สามารถตรวจวัดครั้งละหลายคนพร้อมกันได้ รวมถึงไม่สามารถรักษาระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับการตรวจคัดกรองได้มากนัก ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค ในทางกลับกันเครื่องวัดอุณหภูมิที่สามารถทลายข้อจำกัดดังกล่าวก็มีราคาสูงด้วยเป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (µTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีกล้องอินฟราเรดผนวกระบบตรวจจับใบหน้าบุคคลอัตโนมัติ (Face detection) โดยไม่มีข้อจำกัดแม้สวมหน้ากากอนามัย มีระบบประมวลผลที่รวดเร็วแม่นยำภายใน 0.1 วินาที สามารถตรวจวัดอุณหภูมิได้ครั้งละหลายคนพร้อมกันในระยะห่างสูงสุด 1.5 เมตร จึงช่วยลดระยะเวลารวมถึงลดความเสี่ยงจากความใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่และผู้รับการตรวจคัดกรอง พร้อมรองรับการเชื่อมต่อและจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารหลากหลาย “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา รูปทรงทันสมัย ในราคาที่สนับสนุนให้ผู้ผลิตไทยเข้าถึงได้ หวังลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ โดยสามารถติดตั้งใช้งานได้หลากหลาย […]

The post “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (μTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ appeared first on NAC2021.

]]>

“มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (μTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ

“มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (μTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT) กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
และทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นวิธีคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถบ่งชี้อาการของโรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน โรคไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก รวมถึงการติดเชื้อ COVID – 19 ที่ทำให้เกิดจุดคัดกรองอุณหภูมิมากมายในปัจจุบัน

        อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิส่วนใหญ่ คือ ไม่สามารถตรวจวัดครั้งละหลายคนพร้อมกันได้ รวมถึงไม่สามารถรักษาระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับการตรวจคัดกรองได้มากนัก ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค ในทางกลับกันเครื่องวัดอุณหภูมิที่สามารถทลายข้อจำกัดดังกล่าวก็มีราคาสูงด้วยเป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

        “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (µTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีกล้องอินฟราเรดผนวกระบบตรวจจับใบหน้าบุคคลอัตโนมัติ (Face detection) โดยไม่มีข้อจำกัดแม้สวมหน้ากากอนามัย มีระบบประมวลผลที่รวดเร็วแม่นยำภายใน 0.1 วินาที สามารถตรวจวัดอุณหภูมิได้ครั้งละหลายคนพร้อมกันในระยะห่างสูงสุด 1.5 เมตร จึงช่วยลดระยะเวลารวมถึงลดความเสี่ยงจากความใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่และผู้รับการตรวจคัดกรอง พร้อมรองรับการเชื่อมต่อและจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารหลากหลาย

        “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา รูปทรงทันสมัย ในราคาที่สนับสนุนให้ผู้ผลิตไทยเข้าถึงได้ หวังลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ โดยสามารถติดตั้งใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล โรงเรียน เรือนจำ สถานีขนส่งสาธารณะ สถานีรถไฟฟ้า MRT / BTS ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงงานสัมมนา มหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

ความโดดเด่น

  • ตรวจจับใบหน้าและวัดค่าอุณหภูมิถูกต้อง แม่นยำ ภายใน 0.1 วินาที
  • ตรวจวัดอุณหภูมิครั้งละหลายบุคคลพร้อมกัน ในระยะห่างสูงสุด 1.5 เมตร
  • ตรวจจับใบหน้าบุคคลอัตโนมัติ (Face detection) แม้สวมหน้ากากอนามัย
  • กำหนดค่าอุณหภูมิเฝ้าระวัง และ ค่าชดเชยสภาพแวดล้อมได้
  • รองรับการเชื่อมต่อและจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่าย Wi-Fi รวมถึงสาย LAN
  • รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผลผ่าน HDMI

ข้อมูลทางเทคนิค

  • Full 160×120-pixel thermal image resolution
  • Full HD visible image resolution
  • Face detection embedded with LiDAR Technology
  • Low cost & Light weight (1.7 kg)
  • Compactness (8.5×22.8×19.5 cm3)

มาตรฐานเทคโนโลยี

  • มาตรฐานการทดสอบความปลอดภัย [Information technology equipment (IEC60950-1)]
    (Information technology equipment – Safety – Part 1: General requirements)
  • มาตรฐานการทดสอบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า CISPR 22 (EMC Standard)
    (the information for information technology equipment, ITE for the radio disturbance characteristics for electromagnetic compatibility compliance)
  • มาตรฐานการทดสอบเทียบอุณหภูมิ (อยู่ระหว่างการทดสอบ)

ประโยชน์ของเทคโนโลยี

  • เฝ้าระวังและลดความเสี่ยงการสูญเสียจากผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับภาวะอุณหภูมิของร่างกายที่ผิดปกติและการระบาดของโรคร้ายแรง
  • ใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงเพื่อออกประกาศการป้องกันและการดูแลเบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะหรือโรคที่เกิดจากการเสียสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย รวมถึงทำนายอุบัติการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • สร้างโอกาสในการเกิดธุรกิจใหม่ทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้ให้บริการ
  • สร้างจุดเด่นให้กับสถานที่ที่ใช้งานระบบเพื่อการเอาใจใส่ดูแลและป้องกันสุขภาพ
  • ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • สถานที่ของภาครัฐที่มีผู้คนพลุกพล่านและต้องการลดโอกาสการแพร่กระจายของโรคด้วยการคัดกรองอุณหภูมิร่างกาย เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ทัณฑสถาน สถานีขนส่งสาธารณะ สถานีรถไฟฟ้า MRT / BTS เป็นต้น
  • ภาคเอกชนที่ต้องการเพิ่มบริการการป้องกันและดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพลูกค้า เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่จัดแสดงมหกรรมสินค้า โรงภาพยนตร์ เป็นต้น
  • ภาคเอกชนที่มีความต้องการและมีศักยภาพในการผลิตอุปกรณ์เชิงพาณิชย์

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT) กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
และทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)

μTherm-FaceSense : มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์ เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เนคเทค-สวทช.

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (μTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ appeared first on NAC2021.

]]>
กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมโครเมตร ด้วยเทคนิคการหักเหแสงในพอลิเมอร์ไวแสงและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/14/na12-microneedle/ Sun, 14 Mar 2021 15:40:18 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14139 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเข็มระดับนาโน (NND) กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน (RMNS) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) เข็มขนาดไมโครเมตรได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดอาการเจ็บปวดจากการใช้เข็มธรรมดาทั่วไป เข็มขนาดไมโครเมตรนี้จะเจาะผ่านผิวหนังชั้นนอก ไม่ลึกลงไปถึงเส้นเลือดและเส้นประสาทจึงส่งผลให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด เมื่อเทียบกับเข็มธรรมดาทั่วไปที่เจาะลงไปลึกถึงเส้นประสาท นอกจากนั้นเข็มขนาดไมโครเมตรยังถูกใช้ในการฟื้นฟูสภาพผิว ลดรอยเหี่ยวย่น รอยแผลเป็น โดยสมบัติการซ่อมแซมตัวเองของผิวหนัง เมื่อถูกเข็มขนาดไมโครเมตรปักลงไปในผิวชั้นนอก จากประโยชน์ดังกล่าว เข็มขนาดไมโครเมตรจึงได้รับความนิยมในทางการแพทย์และความงามมากขึ้น คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี สามารถสร้างเข็มขนาดไมโครเมตรได้หลายพื้นผิว รวมถึงผ้าและพื้นผิวอ่อนนิ่ม ปลายเข็มเล็กมาก (~5 μm) เมื่อเทียบกับในท้องตลาดทั่วไป ปรับเปลี่ยนจำนวนเข็มต่อพื้นที่ได้มากถึง 1,200 needle/cm2 มีรูปแบบเข็มที่หลากหลาย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นำส่งเวชสำอาง นำส่งยา วัคซีน เก็บตัวอย่าง DNA และของเหลวใต้ผิวหนัง สถานภาพของผลงาน คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001004302 เรื่อง กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมโครเมตรด้วยเทคนิคการหักเหแสงในพอลิเมอร์ไวแสงและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว ยื่นคำขอวันที่ 31/07/2563 กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ ผู้ประกอบการเครื่องสำอาง เวชสำอาง ความงาม ผู้ประกอบการด้านยาและวัคซีน ติดต่อสอบถาม จิรนันท์ บุบผามาลา […]

The post กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมโครเมตร ด้วยเทคนิคการหักเหแสงในพอลิเมอร์ไวแสง<br>และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว appeared first on NAC2021.

]]>

กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมโครเมตร ด้วยเทคนิคการหักเหแสงในพอลิเมอร์ไวแสง
และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว

กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมโครเมตร ด้วยเทคนิคการหักเหแสงในพอลิเมอร์ไวแสง
และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเข็มระดับนาโน (NND)
กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน (RMNS)
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

        เข็มขนาดไมโครเมตรได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดอาการเจ็บปวดจากการใช้เข็มธรรมดาทั่วไป เข็มขนาดไมโครเมตรนี้จะเจาะผ่านผิวหนังชั้นนอก ไม่ลึกลงไปถึงเส้นเลือดและเส้นประสาทจึงส่งผลให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด เมื่อเทียบกับเข็มธรรมดาทั่วไปที่เจาะลงไปลึกถึงเส้นประสาท นอกจากนั้นเข็มขนาดไมโครเมตรยังถูกใช้ในการฟื้นฟูสภาพผิว ลดรอยเหี่ยวย่น รอยแผลเป็น โดยสมบัติการซ่อมแซมตัวเองของผิวหนัง เมื่อถูกเข็มขนาดไมโครเมตรปักลงไปในผิวชั้นนอก จากประโยชน์ดังกล่าว เข็มขนาดไมโครเมตรจึงได้รับความนิยมในทางการแพทย์และความงามมากขึ้น

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • สามารถสร้างเข็มขนาดไมโครเมตรได้หลายพื้นผิว รวมถึงผ้าและพื้นผิวอ่อนนิ่ม
  • ปลายเข็มเล็กมาก (~5 μm) เมื่อเทียบกับในท้องตลาดทั่วไป
  • ปรับเปลี่ยนจำนวนเข็มต่อพื้นที่ได้มากถึง 1,200 needle/cm2
  • มีรูปแบบเข็มที่หลากหลาย

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • นำส่งเวชสำอาง
  • นำส่งยา วัคซีน
  • เก็บตัวอย่าง DNA และของเหลวใต้ผิวหนัง

สถานภาพของผลงาน

        คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001004302 เรื่อง กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมโครเมตรด้วยเทคนิคการหักเหแสงในพอลิเมอร์ไวแสงและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว ยื่นคำขอวันที่ 31/07/2563

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์
  • ผู้ประกอบการเครื่องสำอาง เวชสำอาง ความงาม
  • ผู้ประกอบการด้านยาและวัคซีน

ติดต่อสอบถาม

จิรนันท์ บุบผามาลา
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมโครเมตร ด้วยเทคนิคการหักเหแสงในพอลิเมอร์ไวแสง<br>และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว appeared first on NAC2021.

]]>
วีดิทัศน์เกี่ยวกับโครงการ Thai – CERN http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/14/thai-cern-vdo/ Sun, 14 Mar 2021 09:08:34 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14034 สัมภาษณ์พิเศษ ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในหัวข้อการวิจัยด้านฟิสิกส์ อนุภาคฮิกส์กับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี พ.ศ. 2556 ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 โครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3

The post วีดิทัศน์เกี่ยวกับโครงการ Thai – CERN appeared first on NAC2021.

]]>

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

ตอนที่ 3

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

ตอนที่ 3

The post วีดิทัศน์เกี่ยวกับโครงการ Thai – CERN appeared first on NAC2021.

]]>
ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/14/na13-automatic-overhead-crane/ Sun, 14 Mar 2021 05:20:49 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13730 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ผศ.ดร.อิทธิโชค จักรไพวงศ์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล         งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ ที่แก้ปัญหาการใช้งานในเครนทั่วไป และรองรับการพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต ระบบเครนที่พัฒนาจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ ไปตามตำแหน่งที่ผู้ใช้ต้องการได้โดยอัตโนมัติ และกำจัดการแกว่งของเครนซึ่งเป็นปัญหาโดยธรรมชาติของเครนประเภทนี้ ตลอดจนการบันทึกข้อมูลการใช้งานเพื่อประโยชน์ในการให้บริการซ่อมบำรุง รูปที่ 1 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างต้นแบบเครนอัตโนมัติถูกเลือกเป็นอุปกรณ์ระดับอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับการโปรแกรมระบบควบคุมที่ซับซ้อนได้ หน้าจอสัมผัสถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับเครนอัตโนมัติได้โดยสะดวก โดยผู้ใช้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใด ๆ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี         จากการพัฒนาต้นแบบเครนพบว่า เครนสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้โดยอัตโนมัติ วิธีการควบคุมเชิงเส้นแบบป้อนกลับ PD Controller ร่วมกับการประมาณตำแหน่งเครนโดยใช้ Extended State Observer สามารถควบคุมตำแหน่งของเครนได้โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิเมตร การเคลื่อนที่ของเครนแบบปกตินั้นจะทำให้เกิดการแกว่งขึ้นเป็นมุมประมาณ 5 องศา ในงานวิจัยนี้ การกำจัดการแกว่งของวัตถุในขณะเคลื่อนที่โดยการใช้ตัวกรองสัญญาณ (Filter) ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นสามารถลดการแกว่งของวัตถุลงได้เหลือไม่เกิน 1 องศา ดังแสดงในรูปที่ 2 รูปที่ 2 เปรียบเทียบการแกว่งระหว่างใช้และไม่ใช้ตัวกรองสัญญาณ […]

The post ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม

ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ผศ.ดร.อิทธิโชค จักรไพวงศ์
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

        งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ ที่แก้ปัญหาการใช้งานในเครนทั่วไป และรองรับการพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต ระบบเครนที่พัฒนาจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ ไปตามตำแหน่งที่ผู้ใช้ต้องการได้โดยอัตโนมัติ และกำจัดการแกว่งของเครนซึ่งเป็นปัญหาโดยธรรมชาติของเครนประเภทนี้ ตลอดจนการบันทึกข้อมูลการใช้งานเพื่อประโยชน์ในการให้บริการซ่อมบำรุง

รูปที่ 1 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างต้นแบบเครนอัตโนมัติถูกเลือกเป็นอุปกรณ์ระดับอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับการโปรแกรมระบบควบคุมที่ซับซ้อนได้ หน้าจอสัมผัสถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับเครนอัตโนมัติได้โดยสะดวก โดยผู้ใช้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใด ๆ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        จากการพัฒนาต้นแบบเครนพบว่า เครนสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้โดยอัตโนมัติ วิธีการควบคุมเชิงเส้นแบบป้อนกลับ PD Controller ร่วมกับการประมาณตำแหน่งเครนโดยใช้ Extended State Observer สามารถควบคุมตำแหน่งของเครนได้โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิเมตร การเคลื่อนที่ของเครนแบบปกตินั้นจะทำให้เกิดการแกว่งขึ้นเป็นมุมประมาณ 5 องศา ในงานวิจัยนี้ การกำจัดการแกว่งของวัตถุในขณะเคลื่อนที่โดยการใช้ตัวกรองสัญญาณ (Filter) ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นสามารถลดการแกว่งของวัตถุลงได้เหลือไม่เกิน 1 องศา ดังแสดงในรูปที่ 2

automatic-overhead-crane-01

รูปที่ 2 เปรียบเทียบการแกว่งระหว่างใช้และไม่ใช้ตัวกรองสัญญาณ

        นอกจากนั้นการกำจัดการแกว่งจากตัวกรองสัญญาณถูกนำมาศึกษาเปรียบเทียบการทำงานของเมื่อผู้ต้องบังคับเครนในที่แคบ เมื่อใช้และไม่ใช้ระบบกำจัดการแกว่ง ผลปรากฏว่าในการบังคับเครนเหนือศีรษะในพื้นที่แคบ ผู้บังคับเครนในโหมดไม่มีระบบกำจัดการแกว่งนั้น ไม่สามารถบังคับเครนให้ไปถึงจุดหมายได้โดยที่ไม่เกิดการชน เกิดการชน 11 ครั้ง ส่วนในโหมดที่มีตัวกรองสัญญาณนั้นสามารถบังคับเครนให้ไปถึงจุดหมายได้โดยไม่เกิดการชนเลย โดยที่ทั้ง 2 แบบใช้เวลาเท่ากับ 50 และ 37 วินาที ตามลำดับ ดังแสดงในรูปที่ 3

automatic-overhead-crane-02

รูปที่ 3 เปรียบเทียบการใช้งานตัวกรองสัญญาณ

        การพัฒนาส่วนการใช้งานของผู้ใช้เป็นไปตามเป้าหมาย มีอุปกรณ์หลักคือหน้าจอสัมผัสซึ่งรองรับการควบคุมเครนอัตโนมัติได้ มี 4 โหมดการทำงาน คือ โหมดควบคุมด้วยมือ โหมดบันทึกเส้นทาง โหมดเคลื่อนที่อัตโนมัติ และโหมดตรวจสอบการทำงาน เครนสามารถจดจำตำแหน่งในพื้นที่การทำงานได้ 8 จุด แต่ละจุดสามารถกำหนดเวลาหยุดรอได้ และสามารถคำนวณเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่โดยประมาณของแต่ละจุด นอกจากนี้ ฟังก์ชันการวัดน้ำหนักแบบไร้เซนเซอร์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยการแปลงค่ากำลังไฟฟ้าของที่มอเตอร์ใช้ขณะนั้นจากอินเวอร์เตอร์ แล้วแปลงเป็นน้ำหนักมาแสดงบนจอสัมผัส รูปแบบการเก็บข้อมูลได้รับการพัฒนาขึ้น ผลการทดสอบการอ่านค่าน้ำหนักบรรทุกแสดงว่าวิธีการนี้สามารถอ่านค่าได้ใกล้เคียงกับจริง ดังแสดงในรูปที่ 4 ข้อมูลการใช้งานจะถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำสำรองที่ติดตั้งไว้บนหน้าจอสัมผัสตลอดเวลา รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างภาพหน้าจอผู้ใช้งานในโหมดต่าง ๆ

automatic-overhead-crane-03

รูปที่ 4 กราฟเปรียบเทียบน้ำหนักจริงและน้ำหนักที่วัดได้ของมวลที่ใช้ทดสอบโดยใช้ฟังก์ชันวัดน้ำหนักของเครน (หน่วย กิโลกรัม)

รูปที่ 5 ตัวอย่างหน้าจอผู้ใช้งาน

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสุจิรา ศักดิ์พรหม
สังกัด งานบริหารโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม appeared first on NAC2021.

]]>
วัสดุนำส่งยาปฏิชีวนะ สำหรับการรักษาการอักเสบติดเชื้อของกระดูก http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na07-antibiotic-delivery-material-bone/ Sat, 13 Mar 2021 06:39:53 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13648 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) การอักเสบและติดเชื้อของกระดูก อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือแม้แต่การเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การใช้การผ่าตัดและการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดเป็นแนวทางการรักษาทั่วไป ในปัจจุบันมีการใช้วัสดุนำส่งยาที่เป็นเม็ดกลมที่ร้อยเป็นสายได้ นำไปวางในบริเวณแผลเพื่อให้วัสดุปลดปล่อยยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียในบริเวณบาดแผล แต่ต้องนำวัสดุดังกล่าวออกจากร่างกายในภายหลัง  โดยแนวคิดหลักคือการพัฒนาวัสดุนำส่งยาปฏิชีวนะสำหรับการรักษาการอักเสบและติดเชื้อของกระดูกโดยไม่ต้องนำวัสดุดังกล่าวออกจากร่างกายผู้ป่วยภายหลังการใช้งาน คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี สามารถปลดปล่อยยาปฏิชีวนะปริมาณสูงเพื่อรักษาอาการอักเสบติดเชื้อของกระดูกอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้โดยไม่ต้องนำวัสดุนำส่งยาออกจากร่างกายผู้ป่วย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ทำหน้าที่เป็นกระดูกเทียมได้พร้อมกัน ใส่ยาปฏิชีวนะได้หลายประเภท สถานภาพของผลงาน คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 0801004126 เรื่องกรรมวิธีการผลิตแคลเซียมฟอสเฟตสาหรับใช้งานทางการแพทย์โดยการเปลี่ยนเฟสของสารประกอบของแคลเซียมที่อุณหภูมิต่ำ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มบริษัทเอกชนผู้สนใจผลิตผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ  / บริษัทยา กลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ ติดต่อสอบถาม ขนิษฐา สิริจามร สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: 0 2564 7000 ต่อ 1618 E-mail: tlo-ipb@nstda.or.th เว็บไซต์: www.nstda.or.th

The post วัสดุนำส่งยาปฏิชีวนะ สำหรับการรักษาการอักเสบติดเชื้อของกระดูก appeared first on NAC2021.

]]>

วัสดุนำส่งยาปฏิชีวนะ สำหรับการรักษาการอักเสบติดเชื้อของกระดูก

วัสดุนำส่งยาปฏิชีวนะ สำหรับการรักษาการอักเสบติดเชื้อของกระดูก

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป และคณะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

        การอักเสบและติดเชื้อของกระดูก อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือแม้แต่การเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การใช้การผ่าตัดและการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดเป็นแนวทางการรักษาทั่วไป ในปัจจุบันมีการใช้วัสดุนำส่งยาที่เป็นเม็ดกลมที่ร้อยเป็นสายได้ นำไปวางในบริเวณแผลเพื่อให้วัสดุปลดปล่อยยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียในบริเวณบาดแผล แต่ต้องนำวัสดุดังกล่าวออกจากร่างกายในภายหลัง  โดยแนวคิดหลักคือการพัฒนาวัสดุนำส่งยาปฏิชีวนะสำหรับการรักษาการอักเสบและติดเชื้อของกระดูกโดยไม่ต้องนำวัสดุดังกล่าวออกจากร่างกายผู้ป่วยภายหลังการใช้งาน

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • สามารถปลดปล่อยยาปฏิชีวนะปริมาณสูงเพื่อรักษาอาการอักเสบติดเชื้อของกระดูกอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้งานได้โดยไม่ต้องนำวัสดุนำส่งยาออกจากร่างกายผู้ป่วย

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • ทำหน้าที่เป็นกระดูกเทียมได้พร้อมกัน
  • ใส่ยาปฏิชีวนะได้หลายประเภท

สถานภาพของผลงาน

        คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 0801004126
        เรื่องกรรมวิธีการผลิตแคลเซียมฟอสเฟตสาหรับใช้งานทางการแพทย์โดยการเปลี่ยนเฟสของสารประกอบของแคลเซียมที่อุณหภูมิต่ำ

กลุ่มเป้าหมาย

  • กลุ่มบริษัทเอกชนผู้สนใจผลิตผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ  / บริษัทยา
  • กลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ

ติดต่อสอบถาม

ขนิษฐา สิริจามร
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post วัสดุนำส่งยาปฏิชีวนะ สำหรับการรักษาการอักเสบติดเชื้อของกระดูก appeared first on NAC2021.

]]>
ฟิล์มคลุมโรงเรือนที่มีสมบัติลดการส่องผ่านของรังสียูวี สะท้อนรังสีความร้อน และมีการกระจายแสงที่ดี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na06-multitech-ultra/ Sat, 13 Mar 2021 06:06:41 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13613 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อทิตย์สา เพ็ชรสุข และ ดร.ดวงพร ศิริกิตติกุล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ปัจจุบันฟิล์มคลุมโรงเรือนส่วนใหญ่ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยยังไม่สามารถครอบคลุมความต้องการของเกษตรกรได้ครบถ้วน เพราะพืชแต่ละชนิดมีความต้องการเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ลักษณะของฟิล์มคลุมโรงเรือนที่ดี คือ ฟิล์มที่มีคุณสมบัติกรองรังสี UV ป้องกันรังสีความร้อน กระจายแสงดี และมีอายุการใช้งานที่เหมาะสม ในราคาต้นทุนที่เกษตรกรยอมรับได้ ซึ่งจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี เพิ่มผลผลิตต่อไร่ และผลิตผลมีคุณภาพสูง ทำให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลิตผลในราคาที่สูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตามฟิล์มคลุมโรงเรือนทางการค้ามักมีสมบัติเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นนักวิจัยของ MTEC จึงได้วิจัยและพัฒนาฟิล์มคลุมโรงเรือนที่มีสมบัติหลายอย่างในฟิล์มเดียว เช่น ฟิล์ม MultiTech มีสมบัติลดการส่องผ่านของรังสียูวี และกระจายแสงดี ฟิล์ม MultiTech-Ultra มีสมบัติลดการส่องผ่านของรังสียูวี สะท้อนรังสีความร้อน และกระจายแสงดี เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ลดการส่องผ่านรังสีช่วงยูวี (Ultraviolet; UV) สะท้อนรังสีความร้อนช่วงอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared Radiation; NIR) กระจายแสงได้ดี พืชได้รับแสงทั่วถึง ให้รังสีช่วงที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสง (Photosynthetically Active Radiation; […]

The post ฟิล์มคลุมโรงเรือนที่มีสมบัติลดการส่องผ่านของรังสียูวี สะท้อนรังสีความร้อน <br>และมีการกระจายแสงที่ดี appeared first on NAC2021.

]]>

ฟิล์มคลุมโรงเรือนที่มีสมบัติลดการส่องผ่านของรังสียูวี สะท้อนรังสีความร้อน
และมีการกระจายแสงที่ดี

ฟิล์มคลุมโรงเรือนที่มีสมบัติลดการส่องผ่านของรังสียูวี สะท้อนรังสีความร้อน
และมีการกระจายแสงที่ดี

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อทิตย์สา เพ็ชรสุข
และ ดร.ดวงพร ศิริกิตติกุล
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

       ปัจจุบันฟิล์มคลุมโรงเรือนส่วนใหญ่ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยยังไม่สามารถครอบคลุมความต้องการของเกษตรกรได้ครบถ้วน เพราะพืชแต่ละชนิดมีความต้องการเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ลักษณะของฟิล์มคลุมโรงเรือนที่ดี คือ ฟิล์มที่มีคุณสมบัติกรองรังสี UV ป้องกันรังสีความร้อน กระจายแสงดี และมีอายุการใช้งานที่เหมาะสม ในราคาต้นทุนที่เกษตรกรยอมรับได้ ซึ่งจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี เพิ่มผลผลิตต่อไร่ และผลิตผลมีคุณภาพสูง ทำให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลิตผลในราคาที่สูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตามฟิล์มคลุมโรงเรือนทางการค้ามักมีสมบัติเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นนักวิจัยของ MTEC จึงได้วิจัยและพัฒนาฟิล์มคลุมโรงเรือนที่มีสมบัติหลายอย่างในฟิล์มเดียว เช่น ฟิล์ม MultiTech มีสมบัติลดการส่องผ่านของรังสียูวี และกระจายแสงดี ฟิล์ม MultiTech-Ultra มีสมบัติลดการส่องผ่านของรังสียูวี สะท้อนรังสีความร้อน และกระจายแสงดี เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก 

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  1. ลดการส่องผ่านรังสีช่วงยูวี (Ultraviolet; UV)
  2. สะท้อนรังสีความร้อนช่วงอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared Radiation; NIR)
  3. กระจายแสงได้ดี พืชได้รับแสงทั่วถึง
  4. ให้รังสีช่วงที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสง (Photosynthetically Active Radiation; PAR) ส่องผ่านได้สูง
  5. แผ่นฟิล์มมีความทนทานและสมบัติเชิงกลที่ดี

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        พลาสติกสำหรับคลุมโรงเรือน ที่สามารถคัดกรองแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยเพิ่มผลผลิต และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

สถานภาพของผลงาน

        คำขออนุสิทธิบัตร 1 ฉบับ และความลับทางการค้า 3 เรื่อง

กลุ่มเป้าหมาย

  • กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตร
  • กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเกษตร
  • กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่, เกษตรกรผู้ผลิตผักผลไม้ปลอดภัย หรือกลุ่มเกษตรอินทรีย์

ติดต่อสอบถาม

ขนิษฐา สิริจามร
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ฟิล์มคลุมโรงเรือนที่มีสมบัติลดการส่องผ่านของรังสียูวี สะท้อนรังสีความร้อน <br>และมีการกระจายแสงที่ดี appeared first on NAC2021.

]]>
แผ่นรองในรองเท้าเฉพาะรายจากเครื่องพิมพ์สามมิติในกลุ่มผู้ป่วยเท้าเเบน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na05_flat-feet-arch-support/ Sat, 13 Mar 2021 05:52:13 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13590 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.บุญล้อม ถาวรยุติการต์ และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ภาวะเท้าแบน (Flat feet) คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า ฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมด โดยตรงกลางฝ่าเท้าที่โค้งขึ้นมา (อุ้งเท้า) (Arch) จะสูญเสียความโค้งของอุ้งเท้าตามธรรมชาติไป ภาวะเท้าแบนเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและกระดูกของฝ่าเท้าและขาส่วนล่าง โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น เอ็นข้อเท้าหย่อนยาน ข้อเท้าเสื่อม กระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทขาซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวเยอะและอายุมาก หรือผู้ป่วยบางคนที่มีความผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือกระดูกเท้ายังเจริญไม่เต็มที่เมื่ออยู่ในครรภ์ รวมทั้งได้รับการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวมาทางพันธุกรรม เป็นต้น โดยปกติภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นในคนส่วนใหญ่ มักไม่ปรากฏสัญญาณหรืออาการใดๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกเจ็บเท้า โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้าหรืออุ้งเท้า อาการเจ็บนั้นจะยิ่งแย่ลงเมื่อต้องทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งเกิดอาการบวมที่ข้อเท้าด้านในร่วมด้วย ภาวะเท้าแบน (Flat feet) วิธีรักษาภาวะเท้าแบนขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของอาการ หนึ่งในวิธีรักษาภาวะเท้าแบนที่แพทย์แนะนำ คือ การใช้กายอุปกรณ์เสริมปรับสภาพเท้า (orthotics/insoles) หรือแผ่นรองในรองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า (arch support) โดยแผ่นรองในรองเท้าจะบรรเทาอาการเจ็บเท้าและช่วยหนุนเท้า ผู้ป่วยจะสอดแผ่นรองในรองเท้าไว้ในรองเท้า คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี เป็นวัสดุแผ่นรองในรองเท้าที่มีรูปทรงจำเพาะกับผู้ป่วยแต่ละคน เป็นแผ่นรองในรองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า (arch support) ที่จะบรรเทาอาการเจ็บเท้าและช่วยหนุนเท้า […]

The post แผ่นรองในรองเท้าเฉพาะรายจากเครื่องพิมพ์สามมิติในกลุ่มผู้ป่วยเท้าเเบน appeared first on NAC2021.

]]>

แผ่นรองในรองเท้าเฉพาะรายจากเครื่องพิมพ์สามมิติในกลุ่มผู้ป่วยเท้าเเบน

แผ่นรองในรองเท้าเฉพาะรายจากเครื่องพิมพ์สามมิติในกลุ่มผู้ป่วยเท้าเเบน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.บุญล้อม ถาวรยุติการต์ และคณะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

        ภาวะเท้าแบน (Flat feet) คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า ฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมด โดยตรงกลางฝ่าเท้าที่โค้งขึ้นมา (อุ้งเท้า) (Arch) จะสูญเสียความโค้งของอุ้งเท้าตามธรรมชาติไป ภาวะเท้าแบนเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและกระดูกของฝ่าเท้าและขาส่วนล่าง โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น เอ็นข้อเท้าหย่อนยาน ข้อเท้าเสื่อม กระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทขาซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวเยอะและอายุมาก หรือผู้ป่วยบางคนที่มีความผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือกระดูกเท้ายังเจริญไม่เต็มที่เมื่ออยู่ในครรภ์ รวมทั้งได้รับการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวมาทางพันธุกรรม เป็นต้น โดยปกติภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นในคนส่วนใหญ่ มักไม่ปรากฏสัญญาณหรืออาการใดๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกเจ็บเท้า โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้าหรืออุ้งเท้า อาการเจ็บนั้นจะยิ่งแย่ลงเมื่อต้องทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งเกิดอาการบวมที่ข้อเท้าด้านในร่วมด้วย

ภาวะเท้าแบน (Flat feet)

        วิธีรักษาภาวะเท้าแบนขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของอาการ หนึ่งในวิธีรักษาภาวะเท้าแบนที่แพทย์แนะนำ คือ การใช้กายอุปกรณ์เสริมปรับสภาพเท้า (orthotics/insoles) หรือแผ่นรองในรองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า (arch support) โดยแผ่นรองในรองเท้าจะบรรเทาอาการเจ็บเท้าและช่วยหนุนเท้า ผู้ป่วยจะสอดแผ่นรองในรองเท้าไว้ในรองเท้า

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • เป็นวัสดุแผ่นรองในรองเท้าที่มีรูปทรงจำเพาะกับผู้ป่วยแต่ละคน
  • เป็นแผ่นรองในรองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า (arch support) ที่จะบรรเทาอาการเจ็บเท้าและช่วยหนุนเท้า
  • ใช้ระยะเวลาการผลิตสั้น ลดขั้นตอนการผลิต และลดการสูญเสียวัสดุในปริมาณที่น้อยเมื่อเทียบกับการผลิตอุปกรณ์แผ่นรองในรองเท้าแบบทั่วไป

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • การใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D printing Technology)
  • การพัฒนาสูตรพอลิเมอร์ผสมสำหรับการเตรียมเส้นฟิลาเม้นต์สำหรับใช้ในการขึ้นรูปชิ้นส่วนโครงพลาสติกของแผ่นรองในรองเท้าด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติชนิดหัวอัดรีด

สถานภาพของผลงาน

        อนุสิทธิบัตรเรื่อง “เส้นฟิลาเม้นต์พอลิเมอร์ที่มีสมบัติแข็งแรงและเหนียวสำหรับการพิมพ์สามมิติระบบเอฟดีเอ็ม” เลขที่คำขอ 2003001234

กลุ่มเป้าหมาย

  • กลุ่มผู้ป่วยเท้าเเบน
  • กลุ่มบริษัทที่ผลิต Insole
  • กลุ่มโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยเท้าแบน

ติดต่อสอบถาม

ขนิษฐา สิริจามร
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post แผ่นรองในรองเท้าเฉพาะรายจากเครื่องพิมพ์สามมิติในกลุ่มผู้ป่วยเท้าเเบน appeared first on NAC2021.

]]>
สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na04-nanoemulsion-black-galingale/ Sat, 13 Mar 2021 05:17:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13572 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อุดม อัศวาภิรมย์ ดร.ดวงพร พลพานิช นางสาวจารุวรรณ จูฑะมงคล และนางสาวกรกต ศุภนคร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) กระชายดำเป็นพืชสมุนไพร ที่สามารถพบได้มากในประเทศไทยเช่น เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี พิษณุโลก และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ มีรายงานพบว่ากระชายดำมีสรรพคุณตามตำรายาไทยในด้าน บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้อาการเหนื่อยล้า เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบประสาท รักษาความสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ รักษาสมดุลของระบบการย่อย แก้โรคบิด ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว กระชายดำยังมีฤทธิ์ทางด้านการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นโดยทีมวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พบว่า สารสกัดจากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เช่น Micrococcus sedentarius  Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum ทีมวิจัยจึงได้นำสารสกัดกระชายดำมาพัฒนาเป็นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นในรูปแบบสเปรย์นาโนอิมัลชัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (Antimicrobial activity) […]

The post สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น appeared first on NAC2021.

]]>

สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น

สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อุดม อัศวาภิรมย์
ดร.ดวงพร พลพานิช
นางสาวจารุวรรณ จูฑะมงคล
และนางสาวกรกต ศุภนคร
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

        กระชายดำเป็นพืชสมุนไพร ที่สามารถพบได้มากในประเทศไทยเช่น เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี พิษณุโลก และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ มีรายงานพบว่ากระชายดำมีสรรพคุณตามตำรายาไทยในด้าน บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้อาการเหนื่อยล้า เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบประสาท รักษาความสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ รักษาสมดุลของระบบการย่อย แก้โรคบิด ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว กระชายดำยังมีฤทธิ์ทางด้านการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นโดยทีมวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พบว่า สารสกัดจากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เช่น Micrococcus sedentarius  Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum ทีมวิจัยจึงได้นำสารสกัดกระชายดำมาพัฒนาเป็นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นในรูปแบบสเปรย์นาโนอิมัลชัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (Antimicrobial activity) จึงช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการสะสมของเชื้อราและแบคทีเรีย
  • เป็นผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
  • สูตรตำรับอยู่ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่น ที่ช่วยเพิ่มการกระจายตัวและความคงตัวของสารสกัดในสูตรตำรับ
  • ขั้นตอนการผลิตสามารถทำได้โดยอุปกรณ์เครื่องจัดทั่วไปในระดับอุตสาหกรรม

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ใช้สำหรับดับกลิ่นบริเวณที่เกิดการสะสมของแบคทีเรีย เช่น เท้า รักแร้ หรือบริเวณในร่มผ้า เป็นต้น

สถานภาพของผลงาน

        ได้รับความคุ้มครองภายใต้คำขออนุสิทธิบัตร ยื่นคำขอวันที่ 26 ก.ย. 2561

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลหรือเครื่องสำอาง
  • ผู้ผลิตสารสกัดธรรมชาติ

ติดต่อสอบถาม

สโรชา เพ็งศรี
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post สเปรย์นาโนอิมัลชั่นผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น appeared first on NAC2021.

]]>
ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na19-sustainable-manufacturing-center/ Sat, 13 Mar 2021 04:35:43 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13553 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center: SMC เป็นโครงการนำร่องของเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เมืองนวัตกรรมของ EECi  ศูนย์นวัตกรรม SMC จะช่วยแก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยที่ขาดแคลนแรงงานทักษะที่จำเป็น เครื่องจักรที่ใช้งานอยู่ไม่ทันสมัย ทำให้ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตลดลง ตลอดจนลดการใช้พลังงานอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้วยแพลตฟอร์ม IDA (Industrial IoT and Data Analytics Platform) หรือ แพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม Smart Factory แพลตฟอร์ม IDA เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ที่จะช่วยติดตาม วิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงาน รวมถึงค่าสภาวะต่างๆ ของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม นำไปสู่การบริหารจัดการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น เช่น ลดการสูญเสียจากการหยุดเครื่องจักร ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ลดระดับสินค้าคงคลัง […]

The post ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) appeared first on NAC2021.

]]>

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC)

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC)

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center: SMC เป็นโครงการนำร่องของเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เมืองนวัตกรรมของ EECi  ศูนย์นวัตกรรม SMC จะช่วยแก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยที่ขาดแคลนแรงงานทักษะที่จำเป็น เครื่องจักรที่ใช้งานอยู่ไม่ทันสมัย ทำให้ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตลดลง ตลอดจนลดการใช้พลังงานอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้วยแพลตฟอร์ม IDA (Industrial IoT and Data Analytics Platform) หรือ แพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม

Smart Factory

        แพลตฟอร์ม IDA เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ที่จะช่วยติดตาม วิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงาน รวมถึงค่าสภาวะต่างๆ ของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม นำไปสู่การบริหารจัดการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น เช่น ลดการสูญเสียจากการหยุดเครื่องจักร ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ลดระดับสินค้าคงคลัง ช่วยให้การทำงานมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังผลักดันให้ภาคการผลิตสามารถแข่งขันทั้งด้านราคาและเทคโนโลยีกับต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบัน มีโรงงานเข้าร่วมโครงการในปี 2563 จำนวน 15 โรงงาน และจะขยายไปอีก 500 โรงงาน ภายในเวลา 3 ปี

IDA Platform

        และการที่จะให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยสามารถปรับตัวสู่ Industry 4.0 ได้นั้น ผู้ประกอบการสามารถประเมินความพร้อมด้านอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการใช้ดัชนีชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ หรือ Smart Industry Readiness Index: SIRI จะช่วยประเมินความพร้อมของโรงงานใน 3 ด้านหลัก คือ Process, Technology, และ Organization ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งช่วยสถานประกอบการ โรงงาน บริษัท ให้สามารถกำหนดแนวทางและปรับตัวสู่ทิศทางอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างยั่งยืน

        จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทางด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพราะเป็นเทคโนโลยีฐานที่สำคัญที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง

        มาร่วมเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยกันกับ EECi

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi เป็นแหล่งพัฒนางานวิจัยขยายผล (Translational Research Hub) และเป็นแหล่งปรับเเปลงเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ (Technology Localization) ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน เพื่อปิดช่องว่างทางเทคโนโลยีของไทย ที่ด้านหนึ่งมีขีดความสามารถสร้างผลงานเเล้วในระดับห้องปฏิบัติการ เเต่ผลงานที่ได้ส่วนใหญ่ยังส่งไม่ถึงผู้ใช้ประโยชน์ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ได้ลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานและกลไกขยายผลงานวิจัยเท่าไรนัก และอีกด้านหนึ่งก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศได้มากนัก เพราะขาดโครงสร้างพื้นฐานและกลไกที่จะรองรับการปรับแปลงเทคโนโลยีให้เข้ากับบริบทของไทย

ติดต่อสอบถาม

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na17-plant-phenomics-facility/ Sat, 13 Mar 2021 04:17:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13534 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านการเกษตรสมัยใหม่ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี         ในปัจจุบันการคัดเลือกพันธุ์พืชที่มีศักยภาพนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูง หรือ ฟีโนไทป์ (Phenotypic Characterization) ของพืชในเชิงลึก เช่น ลักษณะทางการเกษตรของ ต้น ดอก ราก เมล็ด คุณสมบัติทางเคมีของผลผลิต ความต้านทานโรค และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม แต่การคัดเลือกดังกล่าวยังใช้วิธีการปลูกประเมินในแปลงเป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้เวลาในการปลูกประเมินค่อนข้างนาน รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม (Environment; E) ที่จะส่งผลต่อพืชแต่ละชนิดว่าต้องการปริมาณธาตุอาหาร น้ำ แสง ความชื้นในดิน/อากาศ อุณหภูมิ เพื่อการเติบโตและให้ผลผลิตที่แตกต่างกันไป และยังไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็น Biotic factors เช่น โรค แมลงได้อีกด้วย ส่งผลให้ความแม่นยำในผลของการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพมีประสิทธิภาพลดลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการศึกษาลักษณะการแสดงออก ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ แบบรวดเร็วและมีความแม่นยำมากขึ้น        ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก […]

The post เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility)

เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility)

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านการเกษตรสมัยใหม่
ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        ในปัจจุบันการคัดเลือกพันธุ์พืชที่มีศักยภาพนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูง หรือ ฟีโนไทป์ (Phenotypic Characterization) ของพืชในเชิงลึก เช่น ลักษณะทางการเกษตรของ ต้น ดอก ราก เมล็ด คุณสมบัติทางเคมีของผลผลิต ความต้านทานโรค และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม แต่การคัดเลือกดังกล่าวยังใช้วิธีการปลูกประเมินในแปลงเป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้เวลาในการปลูกประเมินค่อนข้างนาน รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม (Environment; E) ที่จะส่งผลต่อพืชแต่ละชนิดว่าต้องการปริมาณธาตุอาหาร น้ำ แสง ความชื้นในดิน/อากาศ อุณหภูมิ เพื่อการเติบโตและให้ผลผลิตที่แตกต่างกันไป และยังไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็น Biotic factors เช่น โรค แมลงได้อีกด้วย ส่งผลให้ความแม่นยำในผลของการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพมีประสิทธิภาพลดลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการศึกษาลักษณะการแสดงออก ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ แบบรวดเร็วและมีความแม่นยำมากขึ้น

       ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) ที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในศึกษาลักษณะการแสดงออกของพืช ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ระบบประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืชอย่างรวดเร็วและแม่นยำ (High throughput Phenotyping) และ ระบบ Image Analysis ที่ประกอบไปด้วย Chlorophyll Fluorescence Units, Thermal Imaging Unit และ Hyperspectral Imaging Unit และรองรับการประมวลผลในรูปแบบ 3D imaging (3D Laser Scanning) ที่จะสามารถถ่ายภาพสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืชได้ทั้งต้นพืชส่วนเหนือดินและส่วนรากและหัวใต้ดินของพืช ภายใต้การควบคุมด้วยระบบสายพานลำเลียงอัตโนมัติ มีระบบรดน้ำและชั่งน้ำหนัก ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆได้นั้น ศูนย์แห่งนี้สามารถตรวจวัดต้นพืชที่มีขนาดความสูงได้ถึง 2.5 เมตร และมีความกว้างทรงพุ่มที่ 1.5 เมตร ในแบบไม่ทำลายต้น ที่สามารถตรวจวัดได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ และมีโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับ parameter ต่างๆ

Plant Phenomics

        ความรู้ด้านสรีรวิทยาและชีววิทยาที่ได้มานี้จะช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพ รวมถึงการจัดการและการควบคุมการเติบโตของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำทางเทคโนโลยี High throughput Phenotyping และ Image Analysis มาช่วยในการคัดเลือกจะทำให้สามารถคัดเลือกได้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตเชิงปริมาณที่สูงควบคู่กับมีคุณสมบัติที่ดี ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่จำกัด เช่น ทนแล้ง ทนน้ำท่วม ต้านทานต่อการระบาดของโรคและแมลง และยังรวมไปถึงการคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณสมบัติ เชิงคุณภาพ เช่น มีปริมาณธาตุอาหารสูง มีคุณสมบัติตอบโจทย์ความต้องการของตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและจุดขายให้กับพืช และยังสามารถพัฒนาไปสู่การเกษตรแม่นยำที่สามารถติดตามและคาดการณ์สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับการให้ปุ๋ยและน้ำในปริมาณที่เหมาะสม จากองค์ความรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่การขยายผลใช้ประโยชน์ (Translational Research) ที่เชื่อมโยงกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกและการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคต เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรต่อไปได้อย่างยั่งยืน

        มาร่วมเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยกันกับ EECi

Greenhouse

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS)

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS) เป็นแพลทฟอร์ม (innovation platform) ที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Bio-based Industry) ตามแนวคิด BCG ของรัฐบาล เพื่อให้ประเทศเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผลักดันให้ผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด 

ติดต่อสอบถาม

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) appeared first on NAC2021.

]]>
โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na18-eeci-biorefinery-pilot-plant/ Fri, 12 Mar 2021 15:52:19 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13454 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery) ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่เป็นการแปรรูปชีวมวลด้วยกระบวนการทางกายภาพ เคมี และ/หรือชีวภาพเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ (Bio-based product) ประเภทต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ วัสดุชีวภาพ สารชีวภาพที่ให้คุณสมบัติพิเศษสำหรับนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางและยา ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีเพื่อเป็นกลไกการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ความพร้อมของวัตถุดิบตั้งต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบในกลุ่มแป้ง น้ำตาล น้ำมัน และวัสดุเหลือทิ้งการเกษตรที่เป็นลิกโนเซลลูโลสที่มีเป็นจำนวนมาก แต่การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการทดลองการผลิตระดับขยายขนาด เนื่องจาก การลงทุนในอุตสาหกรรมฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ทั้งในเชิงเทคโนโลยี และเชิงเศรษฐศาสตร์ (Techno-economic feasibility) ซึ่งข้อมูลในระดับห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอที่จะได้ผลการประเมินที่แม่นยำ เทคโนโลยีด้านวิศวกระบวนการไม่สามารถพัฒนาและคัดเลือกกระบวนการที่เหมาะสมได้ในระดับห้องปฏิบัติการ เนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องมือที่แตกต่างกัน กระบวนการพัฒนาจนได้เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย ต้องมีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน ดังนั้น การขาดหน่วยผลิตระดับขยายขนาดในขั้นตอนกระบวนการผลิตต้นทาง จะทำให้ไม่สามารถผลิตสารในปริมาณที่มากพอ สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในขั้นต่อไป จึงทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและสูงได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนโรงงานต้นแบบหนึ่งแห่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ดังนั้น โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการให้บริการการขยายขนาดกระบวนการผลิตด้านไบโอรีไฟเนอรีได้หลากหลายชนิดของวัตถุดิบ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ โดยรองรับตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ ได้แก่ กระบวนการแยกองค์ประกอบชีวมวล (Biomass fractionation) กระบวนการแปรรูปด้วยชีวกระบวนการ  […]

The post โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant) appeared first on NAC2021.

]]>

โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant)

โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant)

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery)
ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

       อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่เป็นการแปรรูปชีวมวลด้วยกระบวนการทางกายภาพ เคมี และ/หรือชีวภาพเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ (Bio-based product) ประเภทต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ วัสดุชีวภาพ สารชีวภาพที่ให้คุณสมบัติพิเศษสำหรับนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางและยา

        ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีเพื่อเป็นกลไกการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ความพร้อมของวัตถุดิบตั้งต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบในกลุ่มแป้ง น้ำตาล น้ำมัน และวัสดุเหลือทิ้งการเกษตรที่เป็นลิกโนเซลลูโลสที่มีเป็นจำนวนมาก แต่การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการทดลองการผลิตระดับขยายขนาด เนื่องจาก

  1. การลงทุนในอุตสาหกรรมฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ทั้งในเชิงเทคโนโลยี และเชิงเศรษฐศาสตร์ (Techno-economic feasibility) ซึ่งข้อมูลในระดับห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอที่จะได้ผลการประเมินที่แม่นยำ
  2. เทคโนโลยีด้านวิศวกระบวนการไม่สามารถพัฒนาและคัดเลือกกระบวนการที่เหมาะสมได้ในระดับห้องปฏิบัติการ เนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องมือที่แตกต่างกัน
  3. กระบวนการพัฒนาจนได้เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย ต้องมีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน ดังนั้น การขาดหน่วยผลิตระดับขยายขนาดในขั้นตอนกระบวนการผลิตต้นทาง จะทำให้ไม่สามารถผลิตสารในปริมาณที่มากพอ สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในขั้นต่อไป จึงทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและสูงได้

        อย่างไรก็ตาม การลงทุนโรงงานต้นแบบหนึ่งแห่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ดังนั้น โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการให้บริการการขยายขนาดกระบวนการผลิตด้านไบโอรีไฟเนอรีได้หลากหลายชนิดของวัตถุดิบ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ โดยรองรับตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ ได้แก่ กระบวนการแยกองค์ประกอบชีวมวล (Biomass fractionation) กระบวนการแปรรูปด้วยชีวกระบวนการ  (Bioprocess) จนไปถึงกระบวนการแยกเพื่อเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ (Downstream process) โรงงานต้นแบบมีทั้งระบบที่ออกแบบมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร หรือเวชสำอาง ได้แก่ สารที่ให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredient) อาหารเสริมสุขภาพ (Nutraceutical and functional food) และระบบที่เป็น Non-GMP เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพอื่นๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Biochemical) และสารชีวภาพที่ให้คุณสมบัติพิเศษ (Biospecialty) โดยโรงงานแห่งนี้จะมีถังหมัก (Fermentor) มาตรฐาน GMP ที่มีขนาด 15,000 ลิตร เพื่อรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดสอบตลาดได้

        โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefienry Pilot Plan) ของเมืองนวัตกรรมชีวภาพ (BIOPOLIS) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะนำไปสู่การปิดช่องว่างของนวัตกรรม (valley of death) ที่เป็นการนำเทคโนโลยีแบบพลิกโฉมฉับพลัน (disruptive technology) มาผลักดันให้ผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยทั้งผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ให้ก้าวข้ามจากการรับจ้างผลิตแบบเดิมไปสู่การผลิตสินค้าและบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร อันเป็นฐานสำคัญของการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวพ้นจากการติดกับดักรายได้ปานกลางไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

        มาร่วมเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยกันกับ EECi

วีดีโอเมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS)

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS) เป็นแพลทฟอร์ม (innovation platform) ที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Bio-based Industry) ตามแนวคิด BCG ของรัฐบาล เพื่อให้ประเทศเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผลักดันให้ผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant) appeared first on NAC2021.

]]>
ต้นแบบหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na14-refurbished-robot/ Fri, 12 Mar 2021 15:21:55 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13425 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ผศ.ดร.สันทัด ชูวงค์อินทร์ วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตชั้นสูง (AMI) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในโครงการวิจัยนี้ หุ่นยนต์ (Refurbished robot) ถูกสั่งการด้วยกล่องควบคุมที่ถูกพัฒนาขึ้น (Refurbished controller) โดยผ่านโปรโตคอล EtherCAT เวอร์ชันล่าสุดของ  IgH EtherCAT® Master อยู่ในส่วน Real-time linux extension  การพัฒนาหุ่นยนต์ขัดพื้นผิวชิ้นงานจึงประกอบด้วยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ผ่านการทดสอบการทำงานแบบเรียลไทม์ ซึ่งส่วนสำคัญคือการกำหนดเวอร์ชันของเคอร์เนล (Kernel Version) ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ RT_PREEMPT เพื่อรับประกันประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ การเลือกใช้เวอร์ชันของเคอร์เนล และฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมจึงเป็นหัวใจสำคัญ EtherCAT® Master ของ IgH ที่จะเชื่อมต่อกับไดรฟ์เซอร์โว และ I/O โดยใช้โปรโตคอล CANopen-over-EtherCAT (CoE)  ในบางครั้งการคอมไพล์เคอร์เนลที่ไม่เหมาะสม หรือการใช้ CPU หรือ Chipset ของ Gigabit LAN ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้การทำงานในแบบเรียลไทม์ไม่มีประสิทธิภาพ  […]

The post ต้นแบบหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน

ต้นแบบหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ผศ.ดร.สันทัด ชูวงค์อินทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตชั้นสูง (AMI)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

       ในโครงการวิจัยนี้ หุ่นยนต์ (Refurbished robot) ถูกสั่งการด้วยกล่องควบคุมที่ถูกพัฒนาขึ้น (Refurbished controller) โดยผ่านโปรโตคอล EtherCAT เวอร์ชันล่าสุดของ  IgH EtherCAT® Master อยู่ในส่วน Real-time linux extension  การพัฒนาหุ่นยนต์ขัดพื้นผิวชิ้นงานจึงประกอบด้วยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ผ่านการทดสอบการทำงานแบบเรียลไทม์ ซึ่งส่วนสำคัญคือการกำหนดเวอร์ชันของเคอร์เนล (Kernel Version) ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ RT_PREEMPT เพื่อรับประกันประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ การเลือกใช้เวอร์ชันของเคอร์เนล และฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมจึงเป็นหัวใจสำคัญ EtherCAT® Master ของ IgH ที่จะเชื่อมต่อกับไดรฟ์เซอร์โว และ I/O โดยใช้โปรโตคอล CANopen-over-EtherCAT (CoE)  ในบางครั้งการคอมไพล์เคอร์เนลที่ไม่เหมาะสม หรือการใช้ CPU หรือ Chipset ของ Gigabit LAN ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้การทำงานในแบบเรียลไทม์ไม่มีประสิทธิภาพ  โดยรูปที่ 1 แสดงหุ่นยนต์และกล่องควบคุมที่ถูกพัฒนาขึ้นในโครงการวิจัยนี้

รูปที่ 1: Refurbished Robot และ Refurbished Motion Controller
โดยใช้โปรแกรม CiRA Polishing เพื่องานขัดพื้นผิว

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

       ในส่วนการใช้งานแพลตฟอร์ม CiRACORE เพื่อขัดพื้นผิวชิ้นงาน นั้นเป็นแบบ Node flow programming ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์ (Robot Operating System : ROS) หลักการของ Node flow programming คือแต่ละโหนด (Node) หรือกล่องคำสั่งจะเป็นส่วนที่ทำการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับข้อมูลที่ส่งเข้ามา ซึ่งในที่นี้เราเรียกว่าการไหลของข้อมูล (Data flow) ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ JSON format ในแต่ละกล่องคำสั่ง หรือ Node จะเป็น C++ object ที่จะจัดการกับการไหลของข้อมูล และส่งออกไปเป็นเอาท์พุทต่อๆไป CiRACORE จะมี Nodes ที่จัดเป็นหมวดหมู่สำหรับงานต่างๆ โดยเริ่มจาก flow control and manipulation, CiRA AI และ I/O & communication ในกระบวนการขัดนั้น ใช้กล่องคำสั่ง Button Run เพื่อเริ่มการทำงาน และกระบวนการขัดจะใช้อีกกล่องคำสั่ง BezierGrind เพื่อสั่งงานและปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆสำหรับงานขัด ดังแสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 2: แสดงการใช้งานกล่องคำสั่งงานให้หุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน

การปรับค่าพารามิเตอร์สำหรับการขัดพื้นผิว

  1. ผู้ใช้งานสามารถ Browse หาไฟล์ที่ต้องการนำมาสร้างเส้นทางการเคลื่อนที่ให้หุ่นยนต์เคลื่อนไปขัดพื้นผิวชิ้นงาน ที่ตำแหน่งมุมขวาบน CAD file Path 
  2. การตั้งค่าตำแหน่งของชิ้นงานสามารถทำได้โดยใช้ปลายแขนเป็นตัวระบุการตั้งค่า ซึ่งสามารถทำได้โดยนำปลายแขนหุ่นยนต์ไปสัมผัสที่จุดของชิ้นงานเพื่อใช้ในการคำนวณหาตำแหน่งเริ่มต้นของชิ้นงาน
  3. พารามิเตอร์การขัด ประกอบด้วย 3.1) grind disk width: ปรับขนาดหัวขัดชิ้นงาน 3.2) covering percent: เปอร์เซ็นต์ที่แสดงความถี่ของการขัด เพิ่มจำนวนจุดการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ให้มีจำนวนมากขึ้น 3.3) extrication radius: รัศมีที่หัวขัดยกขึ้นเหนือชิ้นงาน เพื่อไปขัดในแนวขัดถัดไป และ 3.4) lean angle:  ปรับมุมเอียงระหว่างหัวขัดกับชิ้นงาน มีหน่วยเป็นองศา
  4. Tools Offset เป็นการปรับตำแหน่งระหว่างชิ้นงานกับหุ่นยนต์ เป็นการชดเชยระยะห่างและมุม

รูปที่ 3: แสดงหน้าต่างการปรับค่าพารามิเตอร์ในกล่องคำสั่งหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน

        ในการขัดพื้นผิวชิ้นงาน ความเร็วและความเร่งที่สม่ำเสมอในการขัดชิ้นงานมีความสำคัญ ดังแสดงในรูปที่ 4 ส่งผลให้พื้นผิวชิ้นงานที่ถูกขัดราบเรียบสม่ำเสมอ  ดังรูปที่แสดง ช่วงเวลาของการขัดและช่วงยก ซึ่งจากราฟจะเห็นว่าช่วงการขัดความเร็วค่อนข้างสม่ำเสมอ ในขณะที่ความเร็วในช่วงไม่ได้ขัดหรือช่วงยกจะมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีผลต่อพื้นผิวชิ้นงาน

รูปที่ 4: แสดงความเร็วในช่วงการขัดพื้นผิวชิ้นงานและในช่วงที่ขัดสุดทางแล้วหุ่นยนต์ยกขึ้น

        สำหรับโครงการวิจัยนี้ทางทีมวิจัยได้พัฒนากล่องควบคุม (Motion Controller) สำหรับควบคุมหุ่นยนต์ 6 แกนเพื่องานขัดพื้นผิวที่สามารถติดต่อกับระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (ROS Industrial) โดยได้คุณสมบัติใกล้เคียงของเดิมเท่ากับ ±0.05 mm (Repeatability) อีกทั้งได้พัฒนาโปรแกรมการขัดพื้นผิวชิ้นงาน CiRA Polishing ซึ่งเป็น GUI สำหรับ สร้าง path planning จาก point cloud และทำการควบคุมหุ่นยนต์ตามเส้นทางที่ได้วางแผนไว้ โดยรันอยู่บนแพลตฟอร์ม CiRACORE และได้ผลประเมินความสามารถหุ่นยนต์ในการขัดพื้นผิวชิ้นงานโดยมีความเรียบเฉลี่ย ±500 µm เมื่อเทียบกับ CAD ไฟล์ที่ รวมทั้งสามารถควบคุมความเร็วและความเร่งของหุ่นยนต์เพื่อความเรียบในการขัดพื้นผิวชิ้นงานได้เป็นอย่างดี

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสุจิรา ศักดิ์พรหม
สังกัด งานบริหารโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ต้นแบบหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน appeared first on NAC2021.

]]>
MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na11-mueye-robokid/ Fri, 12 Mar 2021 14:19:45 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13411 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อัชฌา กอบวิทยา ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT) กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการศึกษารายละเอียดของสิ่งของเล็กๆ มีประโยชน์ทั้งในวงการการศึกษาและอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การดูสิ่งสิ่งมีชีวิต/วัตถุขนาดเล็กในวิชาวิทยาศาสตร์ ใช้ในการตรวจความบกพร่องของชิ้นงาน รอยแตกขนาดเล็ก หรือสิ่งปลอมปนต่างๆ แต่กล้องจุลทรรศน์ส่วนใหญ่ ต้องติดกล้องถ่ายภาพเพิ่ม ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น มิวอายโรโบคิด (MuEye ROBOKid) เป็นกล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็กที่ประยุกต์มาจากเลนส์มิวอายแบบเดิมที่ทำจากเลนส์พอลิเมอร์ ใช้ติดกับกล้องถ่ายภาพพกพาอย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน และใช้งานเป็นกล้องจุลทรรศน์พกพา มิวอายโรโบคิดสามารถแสดงภาพผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถปรับระยะโฟกัส หรือเลื่อนตำแหน่งของวัตถุตัวอย่างได้โดยสั่งการผ่านบอร์ด KidBright ทำให้การใช้งานกล้องจุลทรรศน์มีความสะดวกและสนุกมากขึ้น คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี มีฟังก์ชั่นเลื่อนหาระยะภาพคมชัดแบบอัตโนมัติ ควบคุมความสว่างของแหล่งกำเนิดแสงด้วยคิดไบร์ท เลื่อนตำแหน่งด้วยความละเอียดถึง 25 ไมครอน/Step ด้วยบอร์ดคิดไบร์ท สแกนถ่ายภาพต่อเนื่องทั้งแผ่นสไลด์ เพื่อเก็บรายละเอียดในแต่ละตำแหน่ง สามารถกดเรียกหาตำแหน่งของวัตถุได้ ทำให้การใช้งานง่ายและสนุกมากขึ้น เลนส์พอลิเมอร์ ทนทานต่อเชื้อรา บรรจุในแผ่นพลาสติก เปลี่ยนกำลังขยายได้ง่าย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การเรียนการสอนในและนอกสถานที่ การตรวจสอบวัสดุปนเปื้อนขนาดเล็กเบื้องต้น เป็นต้น การแบ่งปันข้อมูลที่ได้ เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน และ การพัฒนาแอพลิเคชั่นโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง การเพิ่มประสิทธิภาพ […]

The post MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด appeared first on NAC2021.

]]>

MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด

MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อัชฌา กอบวิทยา
ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT)
กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

               กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการศึกษารายละเอียดของสิ่งของเล็กๆ มีประโยชน์ทั้งในวงการการศึกษาและอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การดูสิ่งสิ่งมีชีวิต/วัตถุขนาดเล็กในวิชาวิทยาศาสตร์ ใช้ในการตรวจความบกพร่องของชิ้นงาน รอยแตกขนาดเล็ก หรือสิ่งปลอมปนต่างๆ แต่กล้องจุลทรรศน์ส่วนใหญ่ ต้องติดกล้องถ่ายภาพเพิ่ม ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น

       มิวอายโรโบคิด (MuEye ROBOKid) เป็นกล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็กที่ประยุกต์มาจากเลนส์มิวอายแบบเดิมที่ทำจากเลนส์พอลิเมอร์ ใช้ติดกับกล้องถ่ายภาพพกพาอย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน และใช้งานเป็นกล้องจุลทรรศน์พกพา มิวอายโรโบคิดสามารถแสดงภาพผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถปรับระยะโฟกัส หรือเลื่อนตำแหน่งของวัตถุตัวอย่างได้โดยสั่งการผ่านบอร์ด KidBright ทำให้การใช้งานกล้องจุลทรรศน์มีความสะดวกและสนุกมากขึ้น

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • มีฟังก์ชั่นเลื่อนหาระยะภาพคมชัดแบบอัตโนมัติ
  • ควบคุมความสว่างของแหล่งกำเนิดแสงด้วยคิดไบร์ท
  • เลื่อนตำแหน่งด้วยความละเอียดถึง 25 ไมครอน/Step ด้วยบอร์ดคิดไบร์ท
  • สแกนถ่ายภาพต่อเนื่องทั้งแผ่นสไลด์ เพื่อเก็บรายละเอียดในแต่ละตำแหน่ง
  • สามารถกดเรียกหาตำแหน่งของวัตถุได้ ทำให้การใช้งานง่ายและสนุกมากขึ้น
  • เลนส์พอลิเมอร์ ทนทานต่อเชื้อรา บรรจุในแผ่นพลาสติก เปลี่ยนกำลังขยายได้ง่าย

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • การเรียนการสอนในและนอกสถานที่ 
  • การตรวจสอบวัสดุปนเปื้อนขนาดเล็กเบื้องต้น เป็นต้น 
  • การแบ่งปันข้อมูลที่ได้ เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน และ การพัฒนาแอพลิเคชั่นโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
  • การเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเรียนรู้

สถานภาพของผลงาน: สิทธิบัตร 6 ฉบับ

  • กระบวนการผลิตเลนส์แบบยืดหยุ่นจากวัสดุพอลิเมอร์ เลขที่คำขอ 1401005905
  • กระบวนการผลิตเลนส์โดยอาศัยแรงตึงผิวที่ชั้นรอยต่อของของเหลว เลขที่คำขอ 1401005695
  • กระบวนการผลิตเลนส์จากพอลิเมอร์ เลขที่คำขอ 1501004712
  • กรรมวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยความร้อนแบบไม่ใช้แม่พิมพ์ เลขที่คำขอ 1501004969
  • กระบวนการเพิ่มแรงยึดติด เลขที่คำขอ 1501003211
  • เลนส์ขยาย เลขที่คำขอ 1502002635

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป หรือ งานที่ต้องเก็บตัวอย่างจากภาคสนามมาวิเคราะห์ในห้องแล็บ
  • หน่วยงานภาครัฐ เช่น สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ
  • ผู้ประกอบการที่สนใจในนวัตกรรมใหม่ๆ

วิธีโอสาธิตการใช้งาน MuEye Robokid

ติดต่อสอบถาม

ศศิน เชาวนกุล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด appeared first on NAC2021.

]]>
COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/medical04-coxy-amp-2/ Fri, 12 Mar 2021 13:41:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13393 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)      การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวิกฤตที่ทั่วโลกต้องประสบพบเจอ แต่ในวิกฤตมีโอกาส โดยเฉพาะนักวิจัยของไทย สถานการณ์โรคโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยทั้งในส่วนของภาครัฐ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานเอกชนมีความตื่นตัวในการคิดค้น ผลิต “นวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์” มากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)        ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด จึงได้คิดค้นชุดตรวจโควิด-19 แบบเร็ว อ่านผลง่ายและแม่นยำในขั้นตอนเดียว หรือ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) ชุดตรวจนี้ เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยนำเอาเทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยา Xylenol Orange หรือ XO […]

The post COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) appeared first on NAC2021.

]]>

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)  

     การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวิกฤตที่ทั่วโลกต้องประสบพบเจอ แต่ในวิกฤตมีโอกาส โดยเฉพาะนักวิจัยของไทย สถานการณ์โรคโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยทั้งในส่วนของภาครัฐ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานเอกชนมีความตื่นตัวในการคิดค้น ผลิต “นวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์” มากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

       ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด จึงได้คิดค้นชุดตรวจโควิด-19 แบบเร็ว อ่านผลง่ายและแม่นยำในขั้นตอนเดียว หรือ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) ชุดตรวจนี้ เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยนำเอาเทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยา Xylenol Orange หรือ XO เพื่อให้สามารถอ่านผลการตรวจได้ด้วยตาเปล่า โดยสังเกตจากสีที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยเทคนิคแลมป์ในหลอดทดสอบ โดยหากตัวอย่างส่งตรวจมีการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สีของสารละลายจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง แต่ถ้าไม่มีการติดเชื้อ สีของสารละลายจะยังคงเป็นสีม่วง เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวนี้ มีความไว ความจำเพาะและความแม่นยำสูง ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ราคาแพง เป็นการทำงานแบบขั้นตอนเดียว ที่ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาทดสอบเพียง 75 นาที

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

ติดต่อสอบถาม

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) 

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) appeared first on NAC2021.

]]>
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/agro-13-sugarcane/ Fri, 12 Mar 2021 08:02:33 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13238 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)          อุตสาหกรรมน้ำตาลของกลุ่มมิตรผลประสบปัญหาที่สำคัญ คือ ปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานมีความแปรปรวนไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงคุณภาพอ้อยที่ไม่คงที่ตลอดฤดูหีบ ทั้งนี้สาเหตุของควาแปรปรวนในเรื่องของผลผลิตและคุณภาพอ้อย เนื่องจาก ฤดูกาลปลูกอ้อย สภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงของเกษตรกร พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูก การระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งการจัดการหลังเก็บเกี่ยว แนวทางหนึ่งที่กลุ่มมิตรผลใช้ในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีผลผลิตและความหวานสูง รวมถึงมีอายุในการไว้ตอที่นานขึ้น แต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยด้วยวิธีมาตรฐานต้องใช้เวลานาน (10-12 ปี) และมีโอกาสที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสูง          จากข้อจำกัดดังกล่าวของการปรับปรุงพันธุ์ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล และ Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีลักษณะตามที่ต้องการลงเหลือ 6-7 ปี และ เพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้สูงขึ้น          สวทช. ร่วมดำเนินการวิจัยกับกลุ่มมิตรผล ศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลต่อยีนที่ควบคุมความหวานในอ้อย เพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยทีมีความหวานสูง (Marker-assisted selection (MAS) ซึ่งมีความแม่นยำสูง และพัฒนา Platform […]

The post การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล appeared first on NAC2021.

]]>

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ
ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

         อุตสาหกรรมน้ำตาลของกลุ่มมิตรผลประสบปัญหาที่สำคัญ คือ ปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานมีความแปรปรวนไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงคุณภาพอ้อยที่ไม่คงที่ตลอดฤดูหีบ ทั้งนี้สาเหตุของควาแปรปรวนในเรื่องของผลผลิตและคุณภาพอ้อย เนื่องจาก ฤดูกาลปลูกอ้อย สภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงของเกษตรกร พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูก การระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งการจัดการหลังเก็บเกี่ยว แนวทางหนึ่งที่กลุ่มมิตรผลใช้ในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีผลผลิตและความหวานสูง รวมถึงมีอายุในการไว้ตอที่นานขึ้น แต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยด้วยวิธีมาตรฐานต้องใช้เวลานาน (10-12 ปี) และมีโอกาสที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสูง

         จากข้อจำกัดดังกล่าวของการปรับปรุงพันธุ์ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล และ Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีลักษณะตามที่ต้องการลงเหลือ 6-7 ปี และ เพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้สูงขึ้น

         สวทช. ร่วมดำเนินการวิจัยกับกลุ่มมิตรผล ศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลต่อยีนที่ควบคุมความหวานในอ้อย เพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยทีมีความหวานสูง (Marker-assisted selection (MAS) ซึ่งมีความแม่นยำสูง และพัฒนา Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการมาใช้ในการตัดสินใจเลือกเครื่องหมายพันธุกรรมสำหรับคัดเลือกอ้อยลูกผสม เพื่อลดระยะเวลาและงบประมาณของการปรับปรุงพันธ์อ้อย ปัจจุบันคณะผู้วิจัยได้พัฒนาอ้อยสายพันธุ์ใหม่ คือ อ้อยภูเขียว ที่มีความหวานและผลผลิตเฉลี่ยไม่แตกต่างหรือดีกว่าพันธุ์มาตรฐาน (KK3 หรือ ขอนแก่น 3) มีลักษณะทิ้งกาบใบเร็ว จึงช่วยแก้ปัญหาการเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว โดยได้ผ่านการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ได้มีการปลูกทดสอบการปรับตัวในพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ (จำนวน 24 แปลง) และในแปลงของเกษตรกรลูกไร่ของกลุ่มมิตรผลทั้งในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 แปลง (รวมเป็นพื้นที่ 130 ไร่) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของอ้อยสายพันธุ์ใหม่ และในปี 63/64 ได้ส่งเสริมการปลูกพันธุ์อ้อยภูเขียว ในพื้นที่ของเกษตรกรลูกไร่ จำนวนพื้นที่ 450 ไร่ แล้ว

ติดต่อสอบถาม

นางสาวศศิวิมล บุญอนันต์
สังกัด ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่มีส่วนประกอบของอนุภาคใบหมี่และบัวบก http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na02-hair-care/ Fri, 12 Mar 2021 07:25:01 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13199 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ที่มาและความสำคัญ จากการศึกษาเบื้องต้นของฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบหมี่ ซึ่งเป็นสมุนไพรธรรมชาติที่ใช้ทั่วไปในการผลิตแชมพูของภูมิปัญญาชาวบ้าน พบว่า สารสกัดใบหมี่มีความสามารถในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม นอกจากนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งของอาการผมร่วงอาจมาจากการอักเสบของหนังศีรษะ ดังนั้นการนำสารสกัดธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบของผิวหนัง เช่น ใบบัวบก มาเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์สำหรับผม จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง “แม้สารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยจะมีคุณสมบัติที่ดีมาก แต่ปัญหาของการทำผลิตภัณฑ์จากสารเหล่านี้คือ ความคงตัวของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากความไม่เสถียรของสารสกัด ทำให้เกิดการตกตะกอน เปลี่ยนสี หลังจากการผลิต รวมถึงอาจติดเชื้อ ทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหาย” โครงการวิจัย “อนุภาคสารสกัดใบหมี่และบัวบกสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง” จึงเกิดขึ้น โดย ดร.มัตถกาและทีมวิจัยของนาโนเทค พัฒนาอนุภาคลิโพนิโอโซมของสารสกัดใบหมี่ บัวบก และใบหมี่ผสมบัวบก จากการพัฒนาระบบห่อหุ้มที่ช่วยเพิ่มความคงตัวของสารสกัด พร้อมทั้งพัฒนาคุณสมบัติทางกายภาพเชิงเคมี เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ในการขึ้นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และมีความปลอดภัย หลังจาก พัฒนาให้สารสกัดมีความคงตัว โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสี ไม่มีการเจริญเติบโตของเชื้อ มีค่า pH ที่เหมาะสมกับเครื่องสำอาง มีการกระจายตัวที่ดีในสูตรตำรับ รวมถึงผ่านการทดสอบการระคายเคืองในอาสาสมัคร นักวิจัยพัฒนาต้นแบบแชมพู ครีมนวดผม และแฮร์โทนิค จากสารสกัดใบหมี่ผสมบัวบก ที่ปราศจากพาราเบน แอลกอฮอลล์ และสารก่อความระคายเคืองอื่นๆ พร้อมยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา […]

The post ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่มีส่วนประกอบของอนุภาคใบหมี่และบัวบก appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่มีส่วนประกอบของอนุภาคใบหมี่และบัวบก

ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่มีส่วนประกอบของอนุภาคใบหมี่และบัวบก

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ที่มาและความสำคัญ

        จากการศึกษาเบื้องต้นของฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบหมี่ ซึ่งเป็นสมุนไพรธรรมชาติที่ใช้ทั่วไปในการผลิตแชมพูของภูมิปัญญาชาวบ้าน พบว่า สารสกัดใบหมี่มีความสามารถในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม นอกจากนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งของอาการผมร่วงอาจมาจากการอักเสบของหนังศีรษะ ดังนั้นการนำสารสกัดธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบของผิวหนัง เช่น ใบบัวบก มาเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์สำหรับผม จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง

        “แม้สารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยจะมีคุณสมบัติที่ดีมาก แต่ปัญหาของการทำผลิตภัณฑ์จากสารเหล่านี้คือ ความคงตัวของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากความไม่เสถียรของสารสกัด ทำให้เกิดการตกตะกอน เปลี่ยนสี หลังจากการผลิต รวมถึงอาจติดเชื้อ ทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหาย”

        โครงการวิจัย “อนุภาคสารสกัดใบหมี่และบัวบกสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง” จึงเกิดขึ้น โดย ดร.มัตถกาและทีมวิจัยของนาโนเทค พัฒนาอนุภาคลิโพนิโอโซมของสารสกัดใบหมี่ บัวบก และใบหมี่ผสมบัวบก จากการพัฒนาระบบห่อหุ้มที่ช่วยเพิ่มความคงตัวของสารสกัด พร้อมทั้งพัฒนาคุณสมบัติทางกายภาพเชิงเคมี เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ในการขึ้นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และมีความปลอดภัย

        หลังจาก พัฒนาให้สารสกัดมีความคงตัว โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสี ไม่มีการเจริญเติบโตของเชื้อ มีค่า pH ที่เหมาะสมกับเครื่องสำอาง มีการกระจายตัวที่ดีในสูตรตำรับ รวมถึงผ่านการทดสอบการระคายเคืองในอาสาสมัคร นักวิจัยพัฒนาต้นแบบแชมพู ครีมนวดผม และแฮร์โทนิค จากสารสกัดใบหมี่ผสมบัวบก ที่ปราศจากพาราเบน แอลกอฮอลล์ และสารก่อความระคายเคืองอื่นๆ พร้อมยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

      • อนุภาคลิโพนิโอโซมของสารสกัดใบหมี่ บัวบก เป็นการห่อหุ้มสารสกัดสมุนไพรด้วยอนุภาคนาโน ทำให้ความคงตัวเพิ่มสูงขึ้น ลดปัญหา สี กลิ่น การตกตะกอนที่ไม่ถูกใจ
ผู้ใช้
      • ส่วนประกอบที่มีในผลิตภัณฑ์นี้ ปราศจากพาราเบน แอลกอฮอลล์ สารแต่งสีและกลิ่น และสารก่อความระคายเคืองอื่นๆ ซึ่งผ่านการทดสอบการระคายเคืองเป็นที่เรียบร้อย
      • ช่วยเพิ่มความคงตัวของสารสกัดใบหมี่และบัวบกในผลิตภัณฑ์แฮร์โทนิค ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ของสารสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลจากการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการกับเซลล์ผิวหนังและเซลล์รากผมพบว่า มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผมได้ดีเทียบเท่ากับยารักษาอาการผมร่วงที่มีอยู่ในท้องตลาด และลดการอักเสบในเซลล์รากผมทำให้ช่วยกระตุ้นเซลล์รากผมได้ดีกว่า 20-30% เมื่อเทียบกับสารสกัดแบบดั้งเดิม

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        เทคโนโลยีนาโนเอนแคปซูเลชั่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ โดยเทคโนโลยีการทำอนุภาคนาโนห่อหุ้มสารสกัดใบหมี่และบัวบกนี้ สามารถพัฒนาสารสกัดดั่งเดิมเพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัฑฑ์ดูแลเส้นผมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สถานภาพของผลงาน

        คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803001112 เรื่อง วิธีการสกัดสารสำคัญจากต้นหมี่ และอนุภาคนาโนของสารสกัดจากต้นหมี่และต้นบัวบก ยื่นคำขอวันที่ 11 พ.ค. 2561

กลุ่มเป้าหมาย

        • ผู้ผลิตสารสกัดจากธรรมชาติ
        • ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม
        • ผู้ผลิตเครื่องสำอาง

นักวิจัย

        ดร.มัตถกา คงขาว
        ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ติดต่อสอบถาม

สโรชา เพ็งศรี
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่มีส่วนประกอบของอนุภาคใบหมี่และบัวบก appeared first on NAC2021.

]]>
นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na32-nanosensor/ Fri, 12 Mar 2021 07:03:13 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12972 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย : เป็นนาโนเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สารปนเปื้อนที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ซึ่งได้แก่ เหล็ก และฟลูออไรด์ รวมทั้งยาปราบศัตรูพืช เช่น พาราควอท และไกลโฟเสท โดยนาโนเซ็นเชอร์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังสูง ซึ่งได้แก่ พื้นที่โดยรอบเขื่อนอุบลรัตน์ และลำน้ำพอง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อสร้างความตระหนัก และเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมคุณภาพน้ำให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อลดและชะลออัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี : เป็นการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์วัสดุนาโนชนิดพิเศษที่จับจำเพาะได้กับสารปนเปื้อนที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ และให้สัญญาณที่สามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาชุดตรวจอย่างง่ายจนเกิดเป็นนาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำแบบพกพา ที่มีความไว และความจำเพาะสูง ติดต่อสอบถาม ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: 02 564 7100 E-mail: bitt@nanotec.or.th เว็บไซต์: www.nanotec.or.th ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ: โปสเตอร์ประกอบนิทรรศการ การตรวจวัดคุณภาพน้ำในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงโรคไตเรื้อรังจากการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ

The post นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น appeared first on NAC2021.

]]>

นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย :

         เป็นนาโนเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สารปนเปื้อนที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ซึ่งได้แก่ เหล็ก และฟลูออไรด์ รวมทั้งยาปราบศัตรูพืช เช่น พาราควอท และไกลโฟเสท โดยนาโนเซ็นเชอร์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังสูง ซึ่งได้แก่ พื้นที่โดยรอบเขื่อนอุบลรัตน์ และลำน้ำพอง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อสร้างความตระหนัก และเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมคุณภาพน้ำให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อลดและชะลออัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี :

         เป็นการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์วัสดุนาโนชนิดพิเศษที่จับจำเพาะได้กับสารปนเปื้อนที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ และให้สัญญาณที่สามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาชุดตรวจอย่างง่ายจนเกิดเป็นนาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำแบบพกพา ที่มีความไว และความจำเพาะสูง

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na30-fluoride/ Fri, 12 Mar 2021 06:43:20 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12999 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ฟันตกกระ (dental fluorosis) เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ฟลูออไรด์ส่วนใหญ่มาจากน้ำที่ดื่ม ที่มา : McGrady et al. BMC Oral Health2012, 12:33 ความสำคัญของงานวิจัย : ฟลูออไรด์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแร่ธาตุในชั้นหิน ทำให้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีฟลูออไรด์ละลายอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มักมีค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์สูงกว่าแหล่งน้ำผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุและชั้นหินต่างๆ ฟลูออไรด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในการรักษาสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตามการได้รับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก่อให้โรคฟลูออโรซีส (Fluorosis) ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคดังกล่าวคือ การทำให้ฟันตกกระและทำลายโครงสร้างของฟัน ขณะที่การรับฟลูออไรด์ปริมาณมากเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้มีการสะสมของฟลูออไรด์ในกระดูก ทำให้ขามีลักษณะพิการที่เรียกว่า ขาโกง (Crippling skeletal fluorosis) ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ รวมทั้งส่งผลต่อลดต่อพัฒนาการทางสมองในเด็ก ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคชนิดอื่นๆได้ ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยค่าอนุโลมสูงสุด ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี: โครงการความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีและภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม […]

The post เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ

เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ฟันตกกระ (dental fluorosis) เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์
เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ฟลูออไรด์ส่วนใหญ่มาจากน้ำที่ดื่ม
ที่มา : McGrady et al. BMC Oral Health2012, 12:33

ความสำคัญของงานวิจัย :

       ฟลูออไรด์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแร่ธาตุในชั้นหิน ทำให้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีฟลูออไรด์ละลายอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มักมีค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์สูงกว่าแหล่งน้ำผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุและชั้นหินต่างๆ ฟลูออไรด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในการรักษาสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตามการได้รับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก่อให้โรคฟลูออโรซีส (Fluorosis) ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคดังกล่าวคือ การทำให้ฟันตกกระและทำลายโครงสร้างของฟัน ขณะที่การรับฟลูออไรด์ปริมาณมากเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้มีการสะสมของฟลูออไรด์ในกระดูก ทำให้ขามีลักษณะพิการที่เรียกว่า ขาโกง (Crippling skeletal fluorosis) ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ รวมทั้งส่งผลต่อลดต่อพัฒนาการทางสมองในเด็ก ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคชนิดอื่นๆได้ ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยค่าอนุโลมสูงสุด ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี:

         โครงการความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีและภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาฟลูออไรด์ในน้ำบาดาลสำหรับบริโภคอย่างยั่งยืน ดังนี้

       1.    พัฒนาวัสดุกรองจากถ่านกระดูกสัตว์ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง มีมูลค่าไม่สูง และชุมชนสามารถพัฒนาวัสดุกรองได้เอง เนื่องจากจากโครงสร้างทางเคมีของกระดูกที่ประกอบด้วยไฮดรอกซีอะพาไทต์ เมื่อผ่านกระบวนการเผาในสภาวะที่เหมาะสมจะได้วัสดุกรองที่สามารถกำจัดฟลูออไรด์ได้ดี

       2. ระบบผลิตน้ำประปาหมู่บ้านที่มีต้นทุนต่ำ บำรุงรักษาง่าย โดยออกแบบระบบกรองผสมผสานที่ประกอบด้วยถ่านกระดูกสัตว์และถ่านกัมมันต์เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลให้มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำบาดาลสำหรับบริโภค โดยระบบดังกล่าวนำไปประยุกต์ใช้ที่ หมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ระบบกรอง ติดตั้งที่ ต.สะเนียน อ.เมือง จ.น่าน
(เพิ่มเติมเข้าระบบประปาหมู่บ้าน)

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>
eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/food19-elysozyme-t2/ Fri, 12 Mar 2021 03:15:50 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13104 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) eLYSOZYME-T2/TPC ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ มีส่วนผสมของ eLYSOZYME-T2 ซึ่งเป็นไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมขึ้นทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ถูกออกแบบให้ออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์น้ำ เช่น Vibrio parahaemolyticus, Vibrio harveyi, Vibrio alginolyticus, Streptococcus agalactiae, Staphylococcus aureus และ Aeromonas hydrophila ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวและปลา ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้เลี้ยงกุ้งขาวในระดับภาคสนามแล้ว พบว่า มีผลช่วยลดปริมาณเชื้อ Vibrio ในลำไส้กุ้งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพิ่มภูมิคุ้มกันของกุ้งโดยการกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันและยีนที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระของกุ้ง  และลดอัตราการตายของกุ้งขาวจากการติดเชื้อ Vibrio ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ในบรรจุภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจริง สถานะผลงาน ผลงานร่วมวิจัยระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บริษัท โอโว่ […]

The post eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>

eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์

eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        eLYSOZYME-T2/TPC ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ มีส่วนผสมของ eLYSOZYME-T2 ซึ่งเป็นไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมขึ้นทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ถูกออกแบบให้ออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์น้ำ เช่น Vibrio parahaemolyticus, Vibrio harveyi, Vibrio alginolyticus, Streptococcus agalactiae, Staphylococcus aureus และ Aeromonas hydrophila ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวและปลา ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้เลี้ยงกุ้งขาวในระดับภาคสนามแล้ว พบว่า มีผลช่วยลดปริมาณเชื้อ Vibrio ในลำไส้กุ้งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพิ่มภูมิคุ้มกันของกุ้งโดยการกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันและยีนที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระของกุ้ง  และลดอัตราการตายของกุ้งขาวจากการติดเชื้อ Vibrio ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ในบรรจุภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจริง

สถานะผลงาน

        ผลงานร่วมวิจัยระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และบริษัท ดีเอ็มเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตภัณฑ์ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมปศุสัตว์แล้ว สำหรับจำหน่ายแบบ B2B ให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน “eLysozyme” สารยับยั้งแบคทีเรียจากธรรมชาติ

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>
โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/10/na31-waterfliter/ Wed, 10 Mar 2021 04:25:08 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11717 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)        โครงการนี้เป็นความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน ตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า, ขาดการเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาด และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ชาวบ้านกังวลกับการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำผิวดินของชุมชน โดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 10 จังหวัดอุดรธานี, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และชุมชนบ้านเทพภูเงิน เป็นต้น ระบบผลิตน้ำดื่มสะอาด ที่ติดตั้งภายในบ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF กำลังผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง ณ โรงเรียนตำรวจตะเวณชายแดนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี        1. เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ในการช่วยบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ร่วมกับระบบกรองน้ำดื่มที่ใช้พลังงานต่ำ […]

The post โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>

โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ

โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

       โครงการนี้เป็นความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน ตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า, ขาดการเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาด และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ชาวบ้านกังวลกับการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำผิวดินของชุมชน โดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 10 จังหวัดอุดรธานี, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และชุมชนบ้านเทพภูเงิน เป็นต้น

ระบบผลิตน้ำดื่มสะอาด ที่ติดตั้งภายในบ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์

บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF กำลังผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง

ณ โรงเรียนตำรวจตะเวณชายแดนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

       1. เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ในการช่วยบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ร่วมกับระบบกรองน้ำดื่มที่ใช้พลังงานต่ำ โดยพัฒนาเป็นต้นแบบบ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำหรับน้ำบาดาลที่มีสารละลายในน้ำอยู่น้อย (total dissolved solid < 500 mg/L)  โดยการใช้เทคโนโลยีการกรองด้วยอัลตร้าฟิวเตรชั่น (ultrafiltration, UF)  ซึ่งเทคโนโลยี UF เป็นเทคโนโลยีการกรองด้วยเมมเบรนละเอียด มีความเหมาะสมในการนำมาผลิตน้ำดื่ม สามารถกรองเชื้อโรคในน้ำได้ดี และสามารถคงแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายมนุษย์ได้มากกว่าระบบรีเวิร์สออสโมซิส (RO)

       2. บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF สามารถผลิตน้ำดื่มสะอาดได้ตามมาตรฐานกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ ใช้พลังงานต่ำเพียง 1 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ต่อการผลิตน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (m3) ในขณะที่เทคโนโลยี RO เป็นเทคโนโลยีที่ต้องการพลังงานสูงถึง 5-6 กิโลวัตต์-ขั่วโมงต่อการผลิตน้ำดื่ม1 m3

       3. บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF เป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคด้วยพลังงานสะอาด ร่วมกับระบบการกรองที่มีประสิทธิภาพเพราะนอกจากจะช่วยผลิตน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย ยังช่วยยกระดับห่วงโซ่อุปทานด้านน้ำในพื้นที่ และลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก ทำให้สามารถเป็นกลไกหนึ่งในการขยายการเติบโตของเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจสีเขียว 

ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลก่อนและหลังกรอง ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี อ้างอิงตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย ปี พ.ศ. 2563

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

The post โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>
การค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/09/biodiversity02-discovery-of-a-new-insect-fungus-in-the-world/ Tue, 09 Mar 2021 07:28:14 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12223 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณสุชาดา มงคลสัมฤทธิ์ทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร (APMT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)       นักวิจัยจากทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร  กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ไบโอเทค สวทช. ดำเนินการวิจัยร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัย Diponegoro ประเทศอินโดนีเซีย และ Westerdijk Fungal Biodiversity Institute ประเทศเนเธอร์แลนด์  ค้นพบเชื้อราทำลายแมลงชนิดใหม่จำนวน 47 สปีชีส์ โดยเป็นสกุลใหม่รวม 8 สกุล ถือเป็นการค้นพบเชื้อราชนิดใหม่จำนวนมากของโลก       ประเทศไทยมีสายพันธุ์ราแมลงที่มีลักษณะสัณฐานวิทยาที่มีความซับซ้อนและคลุมเครือ (Cryptic Species) จำนวนมาก แสดงให้เห็นได้ถึงต้นทุนด้านความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่สูงมาก       ราแมลงชนิดใหม่ที่ค้นพบได้แก่ ราแมลงในสกุลเมตาไรเซียม พบมากถึง 21 สปีชีส์ และราในสกุลบิวเวอเรีย จำนวน 1 สปีชีส์ ซึ่งราในสกุลเมตาไรเซียมและบิวเวอเรียนี้เป็นที่รู้จักอย่างดี เนื่องจากว่าราบางสายพันธุ์ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืช  […]

The post การค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

การค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย

การค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณสุชาดา มงคลสัมฤทธิ์
ทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร (APMT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

      นักวิจัยจากทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร  กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ไบโอเทค สวทช. ดำเนินการวิจัยร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัย Diponegoro ประเทศอินโดนีเซีย และ Westerdijk Fungal Biodiversity Institute ประเทศเนเธอร์แลนด์  ค้นพบเชื้อราทำลายแมลงชนิดใหม่จำนวน 47 สปีชีส์ โดยเป็นสกุลใหม่รวม 8 สกุล ถือเป็นการค้นพบเชื้อราชนิดใหม่จำนวนมากของโลก

      ประเทศไทยมีสายพันธุ์ราแมลงที่มีลักษณะสัณฐานวิทยาที่มีความซับซ้อนและคลุมเครือ (Cryptic Species) จำนวนมาก แสดงให้เห็นได้ถึงต้นทุนด้านความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่สูงมาก

      ราแมลงชนิดใหม่ที่ค้นพบได้แก่ ราแมลงในสกุลเมตาไรเซียม พบมากถึง 21 สปีชีส์ และราในสกุลบิวเวอเรีย จำนวน 1 สปีชีส์ ซึ่งราในสกุลเมตาไรเซียมและบิวเวอเรียนี้เป็นที่รู้จักอย่างดี เนื่องจากว่าราบางสายพันธุ์ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืช  (biocontrol) มีการส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักและใช้ทดแทนการใช้สารเคมีแล้วก่อนหน้านี้ การค้นพบราแมลงชนิดใหม่นี้จึงเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะค้นพบสายพันธุ์ราที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้ประโยชน์ดังกล่าวเพื่อช่วยลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร

      ราในสกุลเมตาไรเซียม (Metarhizium) ราแต่ละชนิดที่พบในธรรมชาติมีลักษณะสัณฐานวิทยาที่คล้ายคลึงกันมาก โดยในระยะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ สร้างสปอร์สีเขียวขึ้นคลุมแมลงเจ้าบ้าน ระยะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศราจะสร้างก้านงอกจากข้อต่อของตัวแมลง ราในสกุลนี้จะก่อโรคบนแมลงได้หลายชนิด เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนด้วง ด้วงตัวเต็มวัย ตัวอ่อนจักจั่น จักจั่นตัวเต็มวัย และเพลี้ยกระโดด จึงเหมาะจะนำมาใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชสำคัญได้เช่นเดียวกัน 

      ส่วนราแมลง Gibellula pigmentosinum ที่ค้นพบใหม่ สามารถสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต้านการสร้างไบโอฟิล์ม มีศักยภาพอาจนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น ใช้เป็นยาปฏิชีวนะได้   

      นอกจากนี้ยังพบราชนิดใหม่ในสกุลแบล็กเวลล์โลไมซีส (Blackwellomyces) จำนวน 4 ชนิดและคอร์ไดเซปส์ (Cordyceps) จำนวน 5 ชนิด ราทั้งสองสกุลนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก โดยสร้างก้านราสีสดออกจากตัวแมลง พบได้ตามเศษซากใบไม้และขอนไม้ผุ ก่อโรคกับหนอนด้วงและหนอนผีเสื้อ ราบางชนิดในสกุลคอร์ไดเซปส์ เช่น Cordyceps militaris “ถั่งเช่าสีทอง” ที่มีการนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   

      ส่วนรากลุ่มที่พบได้ค่อนข้างน้อยในประเทศไทยคือ ราสกุลนีโอทอร์รูบีเอลลา (Neotorrubiella) ค้นพบใหม่ 1 สปีชีส์ ได้แก่ Neotorrubiella chinghridicola  และในสกุลเพตเชีย (Petchia) อีก 1 สปีชีส์ ได้แก่ Petchia siamensis

      จากการศึกษาความหลากหลายของราในสกุลบิวเวอเรียพบ Beauveria malawiensis ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยราชนิดนี้ได้เคยถูกรายงานเป็นราชนิดใหม่จากประเทศมาลาวี และพบระยะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของเชื้อรา Beauveria asiatica เป็นครั้งแรกของโลก นอกจากนี้ยังได้พบแมลงเจ้าบ้านของเชื้อรา Beauveria gryllotalpidicola เพิ่มเติม ได้แก่ หนอนผีเสื้อและด้วง ซึ่งจากเดิมคือพบแต่บนแมงกระชอนเท่านั้น

          ราสกุลใหม่ 8 สกุล ได้แก่ Keithomyces, Neotorrubiella, Marquandomyces, Papiliomyces, Petchia, Purpureomyces, Sungia และ Yosiokobayasia,

          ราแมลงชนิดใหม่ที่ค้นพบ 47 สปีชีส์ ได้แก่

สกุล Metarhizium 21 สปีชีส์

สกุล Cordyceps 5 สปีชีส์

สกุล Gibellula 4 สปีชีส์

สกุล Petchia 1 สปีชีส์

สกุล Akanthomyces 3 สปีชีส์

สกุล Blackwellomyces 4 สปีชีส์

สกุล Neotorrubiella 1 สปีชีส์

สกุล Beauveria 1 สปีชีส์

สกุล Purpureomyces 2 สปีชีส์

สกุล Ophiocordyceps 5 สปีชีส์

ติดต่อสอบถาม

คุณสุชาดา มงคลสัมฤทธิ์
ทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร (APMT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกจากประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
Ecosystem of Informatics for Sustainability ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/09/circular01-tiis/ Tue, 09 Mar 2021 04:02:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12161 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) การเปิดเขตการค้าเสรีในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเด็นการกีดกันด้านการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (non-tariff barrier) ทวีความรุนแรงและมีข้อเรียกร้องจากคู่ค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าสำคัญหลายประเภท จึงควรเตรียมการความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการค้าของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคดิจิตัล ซึ่งสุภาษิตว่าข้อมูลสินทรัพย์ที่สำคัญยิ่ง อย่างไรก็ดี ข้อมูลความยั่งยืนนั้นถือเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยเนื่องจากปัจจุบันขาดความพร้อมในหลายด้าน จากประเด็นดังกล่าว สวทช. จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายด้าน บางสาขามีความพร้อมในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี บางส่วนยังขาดการบูรณาการ หากกล่าวถึงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การเกษตรที่ยั่งยืน เมืองและการก่อสร้างที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อาจกล่าวได้ว่าไทยยังขาดข้อมูลอีกมาก การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญและมีบทบาทหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้การดำเนินกิจกรรม กระบวนการ เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรดำเนินการได้สะดวกยิ่งขึ้น การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในอนาคต ต้องพัฒนาในรูปแบบ data driven approaches ที่เกิดพัฒนาควบคู่กับการใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพช่วยในการตัดสินใจ การทำข้อมูลและระบบสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานหลายด้าน และจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ การดำเนินงานภายใต้สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชนและภาครัฐในการบูรณาการเพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทำงานร่วมกับหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคมหรือ กระทรวงพลังงาน […]

The post Ecosystem of Informatics for Sustainability <br>ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน appeared first on NAC2021.

]]>

Ecosystem of Informatics for Sustainability
ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Ecosystem of Informatics for Sustainability
ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS)

        การเปิดเขตการค้าเสรีในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเด็นการกีดกันด้านการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (non-tariff barrier) ทวีความรุนแรงและมีข้อเรียกร้องจากคู่ค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าสำคัญหลายประเภท จึงควรเตรียมการความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการค้าของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคดิจิตัล ซึ่งสุภาษิตว่าข้อมูลสินทรัพย์ที่สำคัญยิ่ง อย่างไรก็ดี ข้อมูลความยั่งยืนนั้นถือเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยเนื่องจากปัจจุบันขาดความพร้อมในหลายด้าน จากประเด็นดังกล่าว สวทช. จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายด้าน บางสาขามีความพร้อมในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี บางส่วนยังขาดการบูรณาการ หากกล่าวถึงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การเกษตรที่ยั่งยืน เมืองและการก่อสร้างที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อาจกล่าวได้ว่าไทยยังขาดข้อมูลอีกมาก

        การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญและมีบทบาทหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้การดำเนินกิจกรรม กระบวนการ เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรดำเนินการได้สะดวกยิ่งขึ้น การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในอนาคต ต้องพัฒนาในรูปแบบ data driven approaches ที่เกิดพัฒนาควบคู่กับการใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพช่วยในการตัดสินใจ การทำข้อมูลและระบบสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานหลายด้าน และจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ

การดำเนินงานภายใต้สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

        สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชนและภาครัฐในการบูรณาการเพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทำงานร่วมกับหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคมหรือ กระทรวงพลังงาน เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกันคือ ข้อมูลและระบบสารสนเทศที่ครอบคลุมการพัฒนาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินงานของสถาบันฯครอบคลุม Eco system ทั้งระดับต้นน้ำจนระดับปลายน้ำ ดังต่อไปนี้

  1. การศึกษาแหล่งที่มาของข้อมูล ตามความเหมาะสมกับโจทย์ในแต่ละเรื่อง
  2. กระบวนการสร้างข้อมูล โดยมาจากการข้อมูลที่จากหลายแหล่งที่น่าเชื่อถือ (ข้อมูลทุติยภูมิ) หรือการเก็บข้อมูลจริงตามความเหมาะสม (ข้อมูลปฐมภูมิ) บางครั้ง อาจบันทึกแบบอัตโนมัติด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ รวมถึงการ ซื้อข้อมูล หรือการรับข้อมูลจากหน่วยงานอื่น เพื่อนำมาต่อยอดเป็นชุดข้อมูลใหม่
  3. การจัดเก็บข้อมูล เป็นการเนื้อหาที่ต่อจากกระบวนการสร้างข้อมูล เพื่อให้ผลลัพธ์ถูกหลักสากล สามารถแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานอื่น และสามารถประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะจัดเก็บลง แฟ้มข้อมูล หรือระบบการจัดการฐานข้อมูล
  4. การประมวลผลและวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อค้นหาความหมายของชุดข้อมูลนั้นๆ โดยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ใช้มุมมองที่หลากหลายวิเคราะห์ข้อมูล ใช้งานให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์
  5. กระบวนการเผยแพร่ข้อมูล เป็นการแชร์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ อาทิ การทำเป็นกราฟเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย หรือแสดงผลตาม dashboard รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่ปรึกษา หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่อยงาน

Data Ecosystem

รายละเอียดผลงานวิจัย (กระบวนการคิด)

       สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีบทบาทและหน้าที่สนับสนุนให้กับหน่วยงานในหลายส่วน ซึ่งลักษณะงานของสถาบันฯ แบ่งออกเป็นสองด้าน คือ (1) การพัฒนาข้อมูล ระเบียบวิธีการและระบบสารสนเทศโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน (2) การนำข้อมูลไปประยุกต์ต่อยอดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในรูปแบบของโครงการนำร่อง หรือการเป็นที่ปรึกษาแก่ภาครัฐและเอกชน โดยมีบทบาทและหน้าที่หลายภาคส่วนอาทิ
   – จัดทำและให้บริการข้อมูลความยั่งยืนของประเทศไทย
   – จัดทำข้อมูลด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
   – จัดทำคลังข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐาน พลังงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการ
   – วิจัยและพัฒนาตัวชี้วัดและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
   – ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศสนับสนุนการจัดทำตัวชี้วัดประเภทต่างๆ กับหน่วยงานภาครัฐ เช่นตัวชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียว (Green GDP) ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตัวชี้วัดการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

Data Ecosystem

ประโยชน์ที่ได้รับ

        ได้ข้อมูลการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเติมเต็มข้อมูลของประเทศ เพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศให้มีอันดับที่สูงขึ้น และยังสามารถบูรณาการข้อมูลกับหน่วยทุกภาคส่วน

ด้านเศรษฐกิจ

  • นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานหรือประยุกต์ใช้ในการจัดทำนโยบายต่างๆ อาทิ การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวในประเทศ (Green GDP) การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (GPP) การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 (SDGs, goal 12) เป็นต้น รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชน โดยใช้ฐานข้อมูล LCI เป็นข้อมูลต้นทางในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเอง ด้วยการพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้กับอันจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตและสร้างโอกาสในการเปิดตลาดต่างประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว
  • รักษาและเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไปยังสหภาพยุโรป/ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ในอุตสาหกรรมส่งออก เช่น อาหาร สิ่งทอ ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • ลดต้นทุน/ค่าใช้จ่าย ในการซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ
  • ลดต้นทุน/ค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงกระบวนการผลิต 1.03 ล้านบาทต่อผลิตภัณฑ์เพิ่มกำไร/เพิ่มรายได้เกิดขึ้นจากการปรับปรุงกระบวนการผลิต 1.90 ล้านบาทต่อผลิตภัณฑ์

ด้านการศึกษา

  • สามารถขอรับบริการข้อมูลวัฏจักรชีวิตของประเทศ (National LCI Database) ซึ่งเป็นข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล สำหรับต่อยอดการศึกษา ค้นคว้างานวิจัยทั้งในระดับเชิงลึกและเชิงการประยุกต์
  • สามารถบูรณาการหรือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวมทั้งร่วมวิเคราะห์/วิจัย ร่วมกับภาคการศึกษา เพื่อนำผลการวิจัยในระดับจุลภาคไปต่อยอดในระดับมหภาค ให้เกิดประโยชน์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืนครบทุกมิติ

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • สนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณในทางวิทยาศาสตร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐในการจัดทำตัวชี้วัด หรือกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหักด้วยต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Green Gross Domestic Product : Green GDP) การจัดทำข้อเสนอภาษีสิ่งแวดล้อม (Green Tax) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการโดยกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อมีการบังคับใช้ จะช่วยลดการปล่อยมลพิษสู่สาธารณะ และช่วยลดงบประมาณการบริหารจัดการมลพิษของภาครัฐ นอกจากนี้ จะส่งผลดีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ลดการเจ็บป่วย หรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ และลดภาระด้านการรักษาพยาบาลและบุคลากร

กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยี

  • กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ประยุกต์ข้อมูลเพื่อพัฒนาประเทเทศสู่ความยั่งยืน ได้แก่
    – กลุ่มที่จัดทำนโยบาย เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
    – กลุ่มที่เป็นผู้ออกข้อบังคับ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน
    – กลุ่มที่เป็นผู้ปฏิบัติงานเฉพาะทาง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ
    – กลุ่มภาคเอกชน มีความต้องการข้อมูลเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้าและเพื่อความสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิต เช่น – กลุ่มเกษตรและอาหาร กลุ่มการบริการ กลุ่มการท่องเที่ยว เป็นต้น
    – ภาคประชาสังคม สามารถนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาประเทศในองค์รวม
    – ภาคการศึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ติดต่อสอบถาม

นายจิตติ มังคละศิริ
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post Ecosystem of Informatics for Sustainability <br>ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน appeared first on NAC2021.

]]>
แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/09/na28-non-lithium-ion-batteries/ Tue, 09 Mar 2021 03:31:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12122 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการสร้างความมั่นคงปลอดภัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องของความปลอดภัย การใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการขนส่งและวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนในเชิงนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและอยู่ระหว่างการมุ่งวิจัยพัฒนาประสิทธิภาพให้เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1991 แบตเตอรี่ลิเธียมได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากสมรรถนะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ กลายเป็นระบบกักเก็บพลังงานที่ได้รับความนิยมในเชิงพาณิชย์ แม้ว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่ให้สมรรถนะที่ดี แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและปัญหาด้านความปลอดภัยอันเนื่องมาจากการใช้อิเล็กโตรไลต์อินทรีย์ซึ่งเป็นพิษ การติดไฟของลิเธียมและปริมาณที่จำกัดของแร่ลิเธียม ส่งผลให้การพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพียงชนิดเดียว ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนและอาจนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานในอนาคต ดังนั้นแบตเตอรี่ทุติยภูมิชนิดใหม่ๆ เช่น แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แบตเตอรี่แมกนีเซียมไอออน แบตเตอรี่อลูมิเนียมไอออน และแบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงได้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ในบรรดาแบตเตอรี่ที่กล่าวมานั้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้รับความสนใจจากนักวิจัยอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากจุดเด่นของขั้วแอโนดสังกะสี ซึ่งสามารถจ่ายอิเล็กตรอนได้สองตัว ค่าศักย์ไฟฟ้าสมดุลต่ำ ต้นทุนต่ำ มีปริมาณมากในธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้สมรรถนะที่ดี ซึ่งสมบัติเหล่านี้ส่งผลดีต่อการใช้เป็นแอโนดในแบตเตอรี่ทุติยภูมิ นอกจากนี้สังกะสียังมีปริมาณที่มากในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ดอยผาแดง จ.ตาก ซึ่งเป็นแหล่งแร่สังกะสีทุติยภูมิแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ดังนั้นทีมวิจัยจึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดสังกะสี ซึ่งเป็นโลหะที่มีปริมาณมาก ราคาต่ำ […]

The post แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) appeared first on NAC2021.

]]>

แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries)

แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

       ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการสร้างความมั่นคงปลอดภัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน
ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องของความปลอดภัย การใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการขนส่งและวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนในเชิงนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและอยู่ระหว่างการมุ่งวิจัยพัฒนาประสิทธิภาพให้เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน

      ในปี ค.ศ. 1991 แบตเตอรี่ลิเธียมได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากสมรรถนะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ กลายเป็นระบบกักเก็บพลังงานที่ได้รับความนิยมในเชิงพาณิชย์ แม้ว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่ให้สมรรถนะที่ดี แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและปัญหาด้านความปลอดภัยอันเนื่องมาจากการใช้อิเล็กโตรไลต์อินทรีย์ซึ่งเป็นพิษ การติดไฟของลิเธียมและปริมาณที่จำกัดของแร่ลิเธียม ส่งผลให้การพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพียงชนิดเดียว ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนและอาจนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานในอนาคต ดังนั้นแบตเตอรี่ทุติยภูมิชนิดใหม่ๆ เช่น แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แบตเตอรี่แมกนีเซียมไอออน แบตเตอรี่อลูมิเนียมไอออน และแบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงได้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ในบรรดาแบตเตอรี่ที่กล่าวมานั้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้รับความสนใจจากนักวิจัยอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากจุดเด่นของขั้วแอโนดสังกะสี ซึ่งสามารถจ่ายอิเล็กตรอนได้สองตัว ค่าศักย์ไฟฟ้าสมดุลต่ำ ต้นทุนต่ำ มีปริมาณมากในธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้สมรรถนะที่ดี ซึ่งสมบัติเหล่านี้ส่งผลดีต่อการใช้เป็นแอโนดในแบตเตอรี่ทุติยภูมิ นอกจากนี้สังกะสียังมีปริมาณที่มากในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ดอยผาแดง จ.ตาก ซึ่งเป็นแหล่งแร่สังกะสีทุติยภูมิแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ดังนั้นทีมวิจัยจึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดสังกะสี ซึ่งเป็นโลหะที่มีปริมาณมาก ราคาต่ำ ไม่เป็นพิษ และมีความปลอดภัยสูง อีกทั้งแหล่งผลิตยังมีกระจายอยู่ทั่วโลก โดยเน้นให้แบตเตอรี่ที่พัฒนาขึ้นใหม่สามารถใช้กระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่มีอยู่แล้ว

รายละเอียดผลงานวิจัย

Non-Lithium Ion Batteries

        แบตเตอรี่สังกะสีที่ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นนั้นได้นำเทคโนโลยีกราฟีนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ แบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้ค่าการเก็บประจุสูงถึง 180-200 mAh/g และมีค่าความหนาแน่นพลังงานอยู่ในช่วง 180-200 Wh/kg ให้ค่าแรงดันได้ 1.2 – 1.4 โวลต์ สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 1000 รอบ มีประสิทธิภาพด้านความหนาแน่นพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรดและสามารถเทียบเคียงกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนบางชนิดได้ แต่มีความปลอดภัยสูง ไม่ระเบิดแม้ถูกเจาะ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม จัดตั้งและดำเนินการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัยที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเพื่อความมั่นคง เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการวิจัยและเป็นศูนย์กลางในเครือข่ายงานวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ หากประเทศไทยสามารถผลิตแบตเตอรี่ซิงก์ไอออนได้ จะช่วยให้เราไม่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานในยามวิกฤตที่ไม่สามารถนำเข้าลิเทียมได้ และยังส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอีกด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. เป็นงานวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ สร้างเทคโนโลยีที่เป็นองค์ความรู้ของคนไทย 
  2. สร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีทางพลังงานของประเทศ เสริมสร้างให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางพลังงานและมีเสถียรภาพทางด้านพลังงาน
  3. คุณสมบัติเด่นคือ ปลอดภัย ไม่ระเบิด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีวัตถุดิบที่ผลิตได้เองภายในประเทศ

กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยี

       กลุ่มผู้ใช้งานแบตเตอรี่ตะกั่วกรดเดิมและผู้ใช้งานระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าใช้ในบ้านพักอาศัย, ระบบกักเก็บพลังงานแบบอยู่กับที่, ยานยนต์ขนาดใหญ่ (รถบัสและรถบรรทุกไฟฟ้า), เรือ, Station และงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น สถานีวิทยุสื่อสารทหาร แท่นขุดเจาะน้ำมัน

สถานะงานวิจัย

       การพัฒนางานวิจัยอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการและภาคสนามเบื้องต้น

ติดต่อสอบถาม

คุณกลดธิดา ญาณุกุล
ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อโรงพยาบาล (Smart Hospital) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/smart-hospital/ Mon, 08 Mar 2021 16:22:52 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12016 วิดีโอรายการย้อนหลัง เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อโรงพยาบาล ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญอย่างมาก ที่ทางโรงพยาบาลในประเทศไทย ได้มีส่วนร่วมในการคิดนวัตกรรม ร่วมกับการพัฒนานวัตกรรมในโรงพยาบาล เพื่อพัฒนานวัตกรรมได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนแก้ปัญหางานในโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผ่านกลไกสนับสนุนต่างๆ อาทิเช่น เรื่องของการให้ทุนพัฒนาต้นแบบ, เรื่องให้ทุนวิเคราะห์ทดสอบมาตรฐาน รวมถึงทุนสำหรับการนำไปทดลองใช้จริง กับกลุ่มผู้เข้ารับบริการ เป็นต้น https://www.youtube.com/watch?v=TsW1nGNlLTk 06.20 ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช10.55 โรงงานผลิตพืช15.05 ระบบเกษตรอัจฉริยะ22.10 งานวิจัยด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

The post เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อโรงพยาบาล (Smart Hospital) appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อโรงพยาบาล

ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญอย่างมาก ที่ทางโรงพยาบาลในประเทศไทย ได้มีส่วนร่วมในการคิดนวัตกรรม ร่วมกับการพัฒนานวัตกรรมในโรงพยาบาล เพื่อพัฒนานวัตกรรมได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนแก้ปัญหางานในโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผ่านกลไกสนับสนุนต่างๆ อาทิเช่น เรื่องของการให้ทุนพัฒนาต้นแบบ, เรื่องให้ทุนวิเคราะห์ทดสอบมาตรฐาน รวมถึงทุนสำหรับการนำไปทดลองใช้จริง กับกลุ่มผู้เข้ารับบริการ เป็นต้น

The post เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อโรงพยาบาล (Smart Hospital) appeared first on NAC2021.

]]>
ผลไม้พื้นบ้านไทย สู่ธุรกิจสองร้อยล้าน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/local-thai-fruit-business/ Mon, 08 Mar 2021 16:21:09 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12012 ผลไม้พื้นบ้านไทย สู่ธุรกิจสองร้อยล้าน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใครจะไปคิดว่าผลไม้พื้นบ้านไทยอย่างมะขาม จะเป็นสินค้าที่ทำรายได้ 200 ล้านบาทต่อปี จากธุรกิจเล็กๆ ที่เริ่มต้นจากครัวเรือน มาวันนี้ธุรกิจของแบรนด์บ้านมะขาม ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจ SME ไทย ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ถ้าวันนี้เรากำลังคิดจะว่าสถานการณ์ในตอนนี้ ควรทำธุรกิจหรือขายสินค้าอะไร หากคุณยังคิดไม่ออกลองมองหาสิ่งใกล้ตัว การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถเพิ่มมูลค่าอะไร ที่สามารถเอามาต่อยอดธุรกิจของเราได้บ้าง แล้วเริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง ไม่แน่เราอาจประสบความสำเร็จแบบบ้านมะขามก็ได้  https://www.youtube.com/watch?v=qkm-4is_a9Y 06.20 ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช10.55 โรงงานผลิตพืช15.05 ระบบเกษตรอัจฉริยะ22.10 งานวิจัยด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

The post ผลไม้พื้นบ้านไทย สู่ธุรกิจสองร้อยล้าน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี appeared first on NAC2021.

]]>

ผลไม้พื้นบ้านไทย สู่ธุรกิจสองร้อยล้าน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ใครจะไปคิดว่าผลไม้พื้นบ้านไทยอย่างมะขาม จะเป็นสินค้าที่ทำรายได้ 200 ล้านบาทต่อปี จากธุรกิจเล็กๆ ที่เริ่มต้นจากครัวเรือน มาวันนี้ธุรกิจของแบรนด์บ้านมะขาม ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจ SME ไทย ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ถ้าวันนี้เรากำลังคิดจะว่าสถานการณ์ในตอนนี้ ควรทำธุรกิจหรือขายสินค้าอะไร หากคุณยังคิดไม่ออกลองมองหาสิ่งใกล้ตัว การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถเพิ่มมูลค่าอะไร ที่สามารถเอามาต่อยอดธุรกิจของเราได้บ้าง แล้วเริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง ไม่แน่เราอาจประสบความสำเร็จแบบบ้านมะขามก็ได้

The post ผลไม้พื้นบ้านไทย สู่ธุรกิจสองร้อยล้าน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี appeared first on NAC2021.

]]>
Smart Business Transformation http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/smart-business-transformation/ Mon, 08 Mar 2021 16:17:06 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12010 วิดีโอรายการย้อนหลัง Smart Business Transformation โครงการ Smart Business Transformation (SBTP) เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนเอสเอ็มอีไทย ให้สามารถนำดิจิทัลโซลูชันไปใช้ปรับเปลี่ยนธุรกิจ และเห็นผลลัพธ์เชิงบวกที่สำคัญ ขับเคลื่อนโดยธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน), เดอะ ฟินแล็บ (The FinLab), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยงายพันธมิตรต่างๆ โดยจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ให้สามารถสร้างรายได้ สร้างองค์กรให้เติบโต และกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของการขยายอุตสาหกรรมของประเทศ ด้วยการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลหนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมhttps://www.youtube.com/watch?v=zrdvQ5LEssg 06.20 ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช10.55 โรงงานผลิตพืช15.05 ระบบเกษตรอัจฉริยะ22.10 งานวิจัยด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

The post Smart Business Transformation appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

Smart Business Transformation

โครงการ Smart Business Transformation (SBTP) เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนเอสเอ็มอีไทย ให้สามารถนำดิจิทัลโซลูชันไปใช้ปรับเปลี่ยนธุรกิจ และเห็นผลลัพธ์เชิงบวกที่สำคัญ ขับเคลื่อนโดยธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน), เดอะ ฟินแล็บ (The FinLab), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยงายพันธมิตรต่างๆ โดยจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ให้สามารถสร้างรายได้ สร้างองค์กรให้เติบโต และกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของการขยายอุตสาหกรรมของประเทศ ด้วยการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลหนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวม

The post Smart Business Transformation appeared first on NAC2021.

]]>
Beyond 5G + Cloud for Empowering Thai SMEs http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/beyond-5g-cloud-for-empowering-thai-smes/ Mon, 08 Mar 2021 16:11:39 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12001 วิดีโอรายการย้อนหลัง Beyond 5G + Cloud for empowering Thai SMEs การแสดงวิสัยทัศน์ เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดในปีนี้ สู่การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำเทคโนโลยีอันล้ำสมัย จากบริษัทผู้นำด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน “บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด” ในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยร่วมกันผลักดันเทคโนโลยี ทั้งด้านนโยบายของภาครัฐ และการสนับสนุนจากภาคเอกชน ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่ทำให้ประเทศไทย กลายเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้า ในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่เป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายผลักดันด้านเทคโนโลยี ไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 การสร้างโครงข่ายนวัตกรรม รวมถึงบริการรูปแบบใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องhttps://www.youtube.com/watch?v=l-4UDFhMrws 06.20 ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช10.55 โรงงานผลิตพืช15.05 ระบบเกษตรอัจฉริยะ22.10 งานวิจัยด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

The post Beyond 5G + Cloud for Empowering Thai SMEs appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

Beyond 5G + Cloud for empowering Thai SMEs

การแสดงวิสัยทัศน์ เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดในปีนี้ สู่การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำเทคโนโลยีอันล้ำสมัย จากบริษัทผู้นำด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน “บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด” ในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยร่วมกันผลักดันเทคโนโลยี ทั้งด้านนโยบายของภาครัฐ และการสนับสนุนจากภาคเอกชน ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่ทำให้ประเทศไทย กลายเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้า ในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่เป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายผลักดันด้านเทคโนโลยี ไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 การสร้างโครงข่ายนวัตกรรม รวมถึงบริการรูปแบบใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

The post Beyond 5G + Cloud for Empowering Thai SMEs appeared first on NAC2021.

]]>
Business Opportunities @Thailand Science Park http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/business-opportunities-thailand-science-park/ Mon, 08 Mar 2021 15:52:10 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11985 วิดีโอรายการย้อนหลัง นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ทุกวันที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ทำความรู้จักกับบริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรม มากกว่า 100 บริษัท ซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งมีงานวิจัย และงานบริการสนับสนุนงานวิจัยมากมาย https://www.youtube.com/watch?v=qjHxXipHkiQ หัวข้อตามช่วงเวลา: 05.00 ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ ด้านจุลชีววิทยา09.55 การตรวจสารไดออกซิน และ การตรวจหาเชื้อโควิดในผลิตภัณฑ์ 15.56 ศูนย์ความร่วมมือสมุนไพรไทย ศูนย์นวัตกรรมกัญชาไทย21.16 กองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร 25.30 ศูนย์วิจัย พัฒนา สารทดแทนยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์และสัตว์เลี้ยง 29.56 เครื่องสแกนพื้นผิวแบบ 3 มิติ

The post Business Opportunities @Thailand Science Park appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ทุกวันที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ทำความรู้จักกับบริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรม มากกว่า 100 บริษัท ซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งมีงานวิจัย และงานบริการสนับสนุนงานวิจัยมากมาย

หัวข้อตามช่วงเวลา:

05.00 ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ ด้านจุลชีววิทยา
09.55 การตรวจสารไดออกซิน และ การตรวจหาเชื้อโควิดในผลิตภัณฑ์
15.56 ศูนย์ความร่วมมือสมุนไพรไทย ศูนย์นวัตกรรมกัญชาไทย
21.16 กองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร
25.30 ศูนย์วิจัย พัฒนา สารทดแทนยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์และสัตว์เลี้ยง
29.56 เครื่องสแกนพื้นผิวแบบ 3 มิติ

The post Business Opportunities @Thailand Science Park appeared first on NAC2021.

]]>
Regenerative Medicine and Rehabilitation http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/regenerative-medicine-and-rehabilitation/ Mon, 08 Mar 2021 15:50:13 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11982 วิดีโอรายการย้อนหลัง เวชศาสตร์พื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจแห่งโอกาสของการลงทุน อุตสาหกรรมการแพทย์ และ เครื่องมือแพทย์ คือ อุตสาหกรรมที่กำลังน่าลงทุนสูงสุด https://www.youtube.com/watch?v=Gdesv8gEuPI หัวข้อตามช่วงเวลา: 01.10 วัสดุส่งยาปฏิชีวินะเฉพาะที่ประเภทไฮดรอกซีอะพาไทต์05.50 ผลิตภัณฑ์ห้ามเลือดที่ออกจากกระดูก09.50 เปลี่ยนรถเข็นธรรมดาเป็นรถเข็นไฟฟ้า12.10 อุปกรณ์ช่วยจัดท่าผ่าตัดข้อไหล่ 17.06 แผ่นรองในรองเท้าสำหรับผู้มีรูปเท้าผิดปกติ27.13 ศูนย์บริการธุรกิจนวัตกรรมครบวงจร 36.00 โซลูชั่นฝึกสมองและระบบตรวจวัดคลื่นสัญญานไฟฟ้าสมอง 39.38 เครื่องช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 44.38 รถเข็นผู้พิการแบบปรับยืนได้

The post Regenerative Medicine and Rehabilitation appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

เวชศาสตร์พื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจแห่งโอกาสของการลงทุน

อุตสาหกรรมการแพทย์ และ เครื่องมือแพทย์ คือ อุตสาหกรรมที่กำลังน่าลงทุนสูงสุด

หัวข้อตามช่วงเวลา:

01.10 วัสดุส่งยาปฏิชีวินะเฉพาะที่ประเภทไฮดรอกซีอะพาไทต์
05.50 ผลิตภัณฑ์ห้ามเลือดที่ออกจากกระดูก
09.50 เปลี่ยนรถเข็นธรรมดาเป็นรถเข็นไฟฟ้า
12.10 อุปกรณ์ช่วยจัดท่าผ่าตัดข้อไหล่
17.06 แผ่นรองในรองเท้าสำหรับผู้มีรูปเท้าผิดปกติ
27.13 ศูนย์บริการธุรกิจนวัตกรรมครบวงจร
36.00 โซลูชั่นฝึกสมองและระบบตรวจวัดคลื่นสัญญานไฟฟ้าสมอง
39.38 เครื่องช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
44.38 รถเข็นผู้พิการแบบปรับยืนได้

The post Regenerative Medicine and Rehabilitation appeared first on NAC2021.

]]>
Circular Economy http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/circular-economy/ Mon, 08 Mar 2021 15:49:07 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11980 วิดีโอรายการย้อนหลัง เศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างความเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจได้มากกว่าที่คิด เศรษฐกิจหมุนเวียน คือ การใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ใช้น้อยแต่ได้มาก ใช้ซ้ำอย่างคุ้มค่า https://www.youtube.com/watch?v=MyONXlRtChY หัวข้อตามช่วงเวลา: 01.07 เศรษฐกิจหมุนเวียน คือ อะไร 06.07 สาธิตกระบวนการผลิตเซรามิคไม่ต้องเผาด้วย จีโอโพลิเมอร์

The post Circular Economy appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

เศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างความเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจได้มากกว่าที่คิด

เศรษฐกิจหมุนเวียน คือ การใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ใช้น้อยแต่ได้มาก ใช้ซ้ำอย่างคุ้มค่า

หัวข้อตามช่วงเวลา:

01.07 เศรษฐกิจหมุนเวียน คือ อะไร
06.07 สาธิตกระบวนการผลิตเซรามิคไม่ต้องเผาด้วย จีโอโพลิเมอร์

The post Circular Economy appeared first on NAC2021.

]]>
Tourism After Covid-19 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/tourism-after-covid-19/ Mon, 08 Mar 2021 15:46:53 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11978 วิดีโอรายการย้อนหลัง ธุรกิจท่องเที่ยวหลังยุคโควิด 19 ธุรกิจท่องเที่ยว คือ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงสุดในภาวะ COVID19 นวัตกรรมจะทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวฟื้นตัวได้อย่างไร https://www.youtube.com/watch?v=VhjCmLey89w หัวข้อตามช่วงเวลา: 05.17 สารฆ่าเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียไร้กลิ่น 10.27 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ สูตรนาโนอิมัลชั่น 17.10 CC TV อัจฉริยะ 21.03 MICE Catalogue 26.38 ระบบควบคุมการเข้าออกด้วยใบหน้า

The post Tourism After Covid-19 appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

ธุรกิจท่องเที่ยวหลังยุคโควิด 19

ธุรกิจท่องเที่ยว คือ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงสุดในภาวะ COVID19 นวัตกรรมจะทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวฟื้นตัวได้อย่างไร

หัวข้อตามช่วงเวลา:

05.17 สารฆ่าเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียไร้กลิ่น
10.27 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ สูตรนาโนอิมัลชั่น
17.10 CC TV อัจฉริยะ
21.03 MICE Catalogue
26.38 ระบบควบคุมการเข้าออกด้วยใบหน้า

The post Tourism After Covid-19 appeared first on NAC2021.

]]>
Nano Cosmetic http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/nano-cosmetic/ Mon, 08 Mar 2021 15:45:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11974 วิดีโอรายการย้อนหลัง นวัตกรรมนาโน เพื่อธุรกิจเวชสำอางและยา นาโนเทคโนโลยี หัวใจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ และมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของพืชสมุนไพรไทย https://www.youtube.com/watch?v=_GriW0j3Cg8 หัวข้อตามช่วงเวลา: 01.09 โรงงานผลิตพืช05.05 การสกัดพืชสมุนไพรเป็นเวชสำอาง 10.47 เทคโนโลยีเอนแคปซูเลชั่น 20.30 โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง23.18 การทดสอบฤทธิ์และความปลอดภัยจากสมุนไพรไทย

The post Nano Cosmetic appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

นวัตกรรมนาโน เพื่อธุรกิจเวชสำอางและยา

นาโนเทคโนโลยี หัวใจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ และมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของพืชสมุนไพรไทย

หัวข้อตามช่วงเวลา:

01.09 โรงงานผลิตพืช
05.05 การสกัดพืชสมุนไพรเป็นเวชสำอาง
10.47 เทคโนโลยีเอนแคปซูเลชั่น
20.30 โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง
23.18 การทดสอบฤทธิ์และความปลอดภัยจากสมุนไพรไทย

The post Nano Cosmetic appeared first on NAC2021.

]]>
Reforming Energy http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/reforming-energy/ Mon, 08 Mar 2021 15:42:46 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11973 วิดีโอรายการย้อนหลัง มองไปข้างหน้ากับธุรกิจพลังงาน ธุรกิจแห่งอนาคต การจัดการพลังงาน คือ หัวใจของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ส่งเสริมการใช้ซ้ำ https://www.youtube.com/watch?v=KhucRVWffPI หัวข้อตามช่วงเวลา: 01.20 แบตเตอรี่ลิเที่ยมไอออน แบตเตอรี่สำหรับอนาคต 04.19 การประกอบแพคแบตเตอรี่ 06.50 โซล่าเซลล์เพื่อการใช้งานเฉพาะทาง 08.40 การตรวจคัดกรองโซล่าเซลใช้แล้วก่อนนำกลับมาใช้ซ้ำ 12.00 การตรวจสุขภาพมอเตอร์ 16.25 การเพิ่มมูลค่าน้ำมันปาล์ม 20.10 การใช้ประโยชน์จากชีวมวลและคาร์บอน

The post Reforming Energy appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

มองไปข้างหน้ากับธุรกิจพลังงาน ธุรกิจแห่งอนาคต

การจัดการพลังงาน คือ หัวใจของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ส่งเสริมการใช้ซ้ำ

หัวข้อตามช่วงเวลา:

01.20 แบตเตอรี่ลิเที่ยมไอออน แบตเตอรี่สำหรับอนาคต
04.19 การประกอบแพคแบตเตอรี่
06.50 โซล่าเซลล์เพื่อการใช้งานเฉพาะทาง
08.40 การตรวจคัดกรองโซล่าเซลใช้แล้วก่อนนำกลับมาใช้ซ้ำ
12.00 การตรวจสุขภาพมอเตอร์
16.25 การเพิ่มมูลค่าน้ำมันปาล์ม
20.10 การใช้ประโยชน์จากชีวมวลและคาร์บอน

The post Reforming Energy appeared first on NAC2021.

]]>
Future Food http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/future-food/ Mon, 08 Mar 2021 15:25:51 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11969 วิดีโอรายการย้อนหลัง นวัตกรรมอาหาร เปิดโลกการลงทุนอย่างยั่งยืน อุตสาหกรรมอาหาร คือ ธุรกิจที่มีการปรับตัวเร็วและมีการแข่งขันสูง นวัตกรรมจะเป็นคำตอบในการสร้างความแตกต่าง https://youtu.be/6oJ5JDhKL5E หัวข้อตามช่วงเวลา: 01.47 เมืองนวัตกรรมอาหาร03.57 การวิจัยและพัฒนาอาหารให้มีคุณภาพสูงและลดต้นทุนการผลิต05.40 Future Food Lab / Food & Feed Innovation Center09.27 โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการ 13.53 ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ20.20 ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรมการพัฒนาเครื่องจักรด้านอาหาร24.18 การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารปลอดกลูเตน เนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช เครื่องดื่มเจลโปรตีนสูง30.20 บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้

The post Future Food appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

นวัตกรรมอาหาร เปิดโลกการลงทุนอย่างยั่งยืน

อุตสาหกรรมอาหาร คือ ธุรกิจที่มีการปรับตัวเร็วและมีการแข่งขันสูง นวัตกรรมจะเป็นคำตอบในการสร้างความแตกต่าง

หัวข้อตามช่วงเวลา:

01.47 เมืองนวัตกรรมอาหาร
03.57 การวิจัยและพัฒนาอาหารให้มีคุณภาพสูงและลดต้นทุนการผลิต
05.40 Future Food Lab / Food & Feed Innovation Center
09.27 โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการ 
13.53 ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ
20.20 ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรมการพัฒนาเครื่องจักรด้านอาหาร
24.18 การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารปลอดกลูเตน เนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช เครื่องดื่มเจลโปรตีนสูง
30.20 บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้

The post Future Food appeared first on NAC2021.

]]>
Modern Agriculture http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/modern-agriculture/ Mon, 08 Mar 2021 04:55:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11640 วิดีโอรายการย้อนหลัง เทคโนโลยีกับเกษตรแนวใหม่ ‘เกษตรสมัยใหม่’ หรือ ‘เกษตรอัจฉริยะ’ จะเป็นทางออกให้กับอุตสาหกรรมเกษตร  ทำให้ภาคเกษตรไทยแข็งแรง https://youtu.be/kKk1-M-w7k8 หัวข้อตามช่วงเวลา: 06.20 ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช10.55 โรงงานผลิตพืช15.05 ระบบเกษตรอัจฉริยะ22.10 งานวิจัยด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

The post Modern Agriculture appeared first on NAC2021.

]]>

วิดีโอรายการย้อนหลัง

เทคโนโลยีกับเกษตรแนวใหม่

‘เกษตรสมัยใหม่’ หรือ ‘เกษตรอัจฉริยะ’ จะเป็นทางออกให้กับอุตสาหกรรมเกษตร  ทำให้ภาคเกษตรไทยแข็งแรง

หัวข้อตามช่วงเวลา:

06.20 ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
10.55 โรงงานผลิตพืช
15.05 ระบบเกษตรอัจฉริยะ
22.10 งานวิจัยด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

The post Modern Agriculture appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/food02-premix-probiotic/ Mon, 08 Mar 2021 04:04:05 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11572 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.กอบกุล เหล่าเท้งกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)           คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร และทีมวิจัยความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย ศช. ร่วมกับภาคเอกชน ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์โพรไบโอติก และพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สารเสริมชีวนะยีสต์โพรไบโอติกที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการต้นน้ำ (การผลิตเซลล์) และกระบวนการปลายน้ำ (การเก็บเกี่ยวและการทำแห้งเซลล์ยีสต์ และพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์) ทำให้ได้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานการผลิตที่ดี และสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกที่มีสเปคตามข้อกำหนดของกองควบคุมอาหารและยา กรมปศุสัตว์ และจดทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ SYMPRO PLUS, SYMPRO STAR และ SYNMUNE GUARD ผลทดสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในระดับภาคสนาม พบว่าการเสริมผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในอาหารไก่เนื้อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ส่งผลให้ต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตยีสต์โพรไบโอติกให้กับบริษัทเพื่อการผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์           ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ยื่นจดความลับทางการค้าจำนวนทั้งสิ้น 5 […]

The post ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์

ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร และทีมวิจัยความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย ศช. ร่วมกับภาคเอกชน ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์โพรไบโอติก และพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สารเสริมชีวนะยีสต์โพรไบโอติกที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการต้นน้ำ (การผลิตเซลล์) และกระบวนการปลายน้ำ (การเก็บเกี่ยวและการทำแห้งเซลล์ยีสต์ และพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์) ทำให้ได้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานการผลิตที่ดี และสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกที่มีสเปคตามข้อกำหนดของกองควบคุมอาหารและยา กรมปศุสัตว์ และจดทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ SYMPRO PLUS, SYMPRO STAR และ SYNMUNE GUARD ผลทดสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในระดับภาคสนาม พบว่าการเสริมผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในอาหารไก่เนื้อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ส่งผลให้ต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตยีสต์โพรไบโอติกให้กับบริษัทเพื่อการผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ 

         ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ยื่นจดความลับทางการค้าจำนวนทั้งสิ้น 5 เรื่อง ก่อให้เกิดการลงทุนเครื่องจักรและงานวิจัยในปี 2564 รวม 14.4 ล้านบาท และเกิดผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านการสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การจ้างงาน ลดการนำเข้าจุลินทรีย์โพรไบโอติกจากต่างประเทศ และลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟารม์ปศุสัตว์ รวม 4.26 ล้านบาทต่อปี

สถานะผลงาน

ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชนเรียบร้อยแล้ว

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ยีสต์โพรไบโอติก ทางเลือกใหม่สำหรับสุขภาพ

ติดต่อสอบถาม

ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>
eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/food03-elys-t1/ Mon, 08 Mar 2021 03:59:11 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11571 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) มารู้จักกับ eLYS-T1 eLYS-T1 ไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเน่าเสียและแบคทีเรียก่อโรคที่มักพบปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Salmonella Typhimurium, และ Listeria monocytogenes ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้ยืดอายุการเก็บรักษาไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์แล้ว พบว่า มีประสิทธิภาพในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ Total plate count E. coli, coliform, S. aureus, Yeast & Mold และ lactic acid bacteria ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานนานถึง 8 สัปดาห์ในระหว่างการเก็บรักษาแบบแช่เย็น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้นอย่างน้อย 4 สัปดาห์ eLYS-T1 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุเจือปนอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว  ภายใต้ชื่อ eLYS-T1/ESL […]

The post eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร appeared first on NAC2021.

]]>

eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร

eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

มารู้จักกับ eLYS-T1

       eLYS-T1 ไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเน่าเสียและแบคทีเรียก่อโรคที่มักพบปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Salmonella Typhimurium, และ Listeria monocytogenes ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้ยืดอายุการเก็บรักษาไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์แล้ว พบว่า มีประสิทธิภาพในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ Total plate count E. coli, coliform, S. aureus, Yeast & Mold และ lactic acid bacteria ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานนานถึง 8 สัปดาห์ในระหว่างการเก็บรักษาแบบแช่เย็น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้นอย่างน้อย 4 สัปดาห์ eLYS-T1 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุเจือปนอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว  ภายใต้ชื่อ eLYS-T1/ESL

ผลิตภัณฑ์ eLYS-T1/ESL ในบรรจุภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจริง

สถานะผลงาน

     ผลงานร่วมวิจัยระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และบริษัท ดีเอ็มเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตภัณฑ์ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว สำหรับจำหน่ายแบบ B2B ให้กับโรงงานผลิตอาหาร 

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร appeared first on NAC2021.

]]>
Greetings from NARLabs in Taipei, Taiwan http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/na41-greetings-from-narlabs-in-taipei-taiwan/ Sun, 07 Mar 2021 13:34:40 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11238 Dr. Kuang-Chong Wu, President of NARLabs, blessing for the 30th anniversary of NSTDA Greetings from NARLabs in Taipei, Taiwan. The entire team at the National Applied Research Laboratories is so happy to hear that NSTDA is celebrating its 30th anniversary this year, which is certainly a milestone to be proud of. Having given so much […]

The post Greetings from NARLabs in Taipei, Taiwan appeared first on NAC2021.

]]>

Dr. Kuang-Chong Wu, President of NARLabs, blessing for the 30th anniversary of NSTDA

Greetings from NARLabs in Taipei, Taiwan.

        The entire team at the National Applied Research Laboratories is so happy to hear that NSTDA is celebrating its 30th anniversary this year, which is certainly a milestone to be proud of. Having given so much to Thailand’s society and scientific development, NSTDA is a role model for many national institutions in the South-east Asian region.

        Therefore, NARLabs would like to extend its sincerest congratulations to NSTDA, whose talent and diligence have attracted the cooperation with many other scientific and technological institutions such as ours. During the time we have worked together, we have learned that NSTDA is a vital player in the region’s quest for excellence, and it is precisely why we hope there will be many more years of collaboration between our two institutions.

        The NARLabs team wishes you all the best and we share your excitement to continue our joint research projects. May this 30th anniversary be the celebration of past achievements and the blessing of future collaborations.

        Finally, NARLabs, including its Bangkok Office, is also working on several activities to support joint research program and bilateral conferences. With this NARLabs-NSTDA partnership, we expect to create more opportunities and benefits for our prospering countries.

ติดต่อสอบถาม

Ms. Chatchanan Sangkanchai

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post Greetings from NARLabs in Taipei, Taiwan appeared first on NAC2021.

]]>
M-Pro Jelly Drink http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/food12-m-pro-jelly-drink/ Sun, 07 Mar 2021 05:29:34 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10444 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT) วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT) ดร.ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)         M-Pro Jelly Drink เป็นเครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจลจากโปรตีนถั่วเขียว ที่มีปริมาณโปรตีนสูงมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) หรือร้อยละ 6 โดยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ และมีการเสริมแคลเซียมกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกระบวนการผลิตที่เหมาะสม เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดโครงสร้าง และขนาดอนุภาคของโปรตีนตามต้องการ ร่วมกับการใช้ไฮโดรคอลลอยด์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการพยุงโครงสร้าง และช่วยในการกระจายตัวของโปรตีนให้คงสภาพได้ดีภายหลังการให้ความร้อนระดับพาสเจอไรซ์ ทำให้ได้เครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจล จากโปรตีนพืชที่มีลักษณะปรากฏเป็นเนื้อเดียวกัน และมีเนื้อสัมผัสที่เทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดเจลทางการค้าที่ไม่มีโปรตีน หรือมีโปรตีนในปริมาณที่ต่ำกว่า   สถานะผลงาน       ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ได้ยื่นขออนุสิทธิบัตร […]

The post M-Pro Jelly Drink appeared first on NAC2021.

]]>

M-Pro Jelly Drink

M-Pro Jelly Drink

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)

วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)

ดร.ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิ
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

        M-Pro Jelly Drink เป็นเครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจลจากโปรตีนถั่วเขียว ที่มีปริมาณโปรตีนสูงมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) หรือร้อยละ 6 โดยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ และมีการเสริมแคลเซียมกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกระบวนการผลิตที่เหมาะสม เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดโครงสร้าง และขนาดอนุภาคของโปรตีนตามต้องการ ร่วมกับการใช้ไฮโดรคอลลอยด์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการพยุงโครงสร้าง และช่วยในการกระจายตัวของโปรตีนให้คงสภาพได้ดีภายหลังการให้ความร้อนระดับพาสเจอไรซ์ ทำให้ได้เครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจล จากโปรตีนพืชที่มีลักษณะปรากฏเป็นเนื้อเดียวกัน และมีเนื้อสัมผัสที่เทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดเจลทางการค้าที่ไม่มีโปรตีน หรือมีโปรตีนในปริมาณที่ต่ำกว่า

  สถานะผลงาน

      ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ได้ยื่นขออนุสิทธิบัตร องค์ประกอบของเครื่องดื่มโปรตีนชนิดเจลจากโปรตีนพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง (ยื่นคำขอ พฤษภาคม 2563) และขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาการยืดอายุการเก็บรักษาด้วยการฆ่าเชื้อระดับสเตอริไลซ์อยู่ระหว่างหาผู้ประกอบการเพื่อรับถ่ายทอด หรือทำร่วมวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอด

ติดต่อสอบถาม

คุณชนิต วานิกานุกูล
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post M-Pro Jelly Drink appeared first on NAC2021.

]]>
Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการอาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/food16-data-analytics-platform/ Sun, 07 Mar 2021 05:24:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10462 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ (HBA)ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)           • การเชื่อมโยงข้อมูล KidDiary และ Thai School Lunch เพื่อการวิเคราะห์สุขภาวะเด็ก โดยบูรณาการข้อมูลจากหลายมิติทั้งด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และโภชนาการ นำเข้าสู่ Data Analytics Platform เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนหรือนโยบายในการแก้ปัญหาและส่งเสริมการจัดการด้านอาหารและสุขภาวะของเด็กนักเรียนในประเทศ           • ต่อยอด Thai School Lunch เพื่อการประเมินคุณค่าโภชนาการในอาหารเช้า โดยเริ่มใช้งานแล้วในระบบ Thai School Lunch for BMA สำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร • เพิ่มวัตถุดิบใหม่ในระบบ Thai School Recipes รวมถึงวัตถุดิบท้องถิ่นหรือวัตถุดิบเฉพาะพื้นที่ เพื่อให้สามารถสร้างตำรับอาหารได้หลากหลายและครอบคลุมอาหารทั่วทุกภูมิภาค • การคำนวณคุณค่าโภชนาการอาหารสำหรับทุกช่วงวัย สามารถนำไปต่อยอดกับระบบอาหารเพื่อผู้สูงอายุ (ElderMeal) […]

The post Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ<br>อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน appeared first on NAC2021.

]]>

Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ
อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน

Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ
อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์
ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ (HBA)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

          • การเชื่อมโยงข้อมูล KidDiary และ Thai School Lunch เพื่อการวิเคราะห์สุขภาวะเด็ก โดยบูรณาการข้อมูลจากหลายมิติทั้งด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และโภชนาการ นำเข้าสู่ Data Analytics Platform เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนหรือนโยบายในการแก้ปัญหาและส่งเสริมการจัดการด้านอาหารและสุขภาวะของเด็กนักเรียนในประเทศ

          • ต่อยอด Thai School Lunch เพื่อการประเมินคุณค่าโภชนาการในอาหารเช้า โดยเริ่มใช้งานแล้วในระบบ Thai School Lunch for BMA สำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

          • เพิ่มวัตถุดิบใหม่ในระบบ Thai School Recipes รวมถึงวัตถุดิบท้องถิ่นหรือวัตถุดิบเฉพาะพื้นที่ เพื่อให้สามารถสร้างตำรับอาหารได้หลากหลายและครอบคลุมอาหารทั่วทุกภูมิภาค 

          • การคำนวณคุณค่าโภชนาการอาหารสำหรับทุกช่วงวัย สามารถนำไปต่อยอดกับระบบอาหารเพื่อผู้สูงอายุ (ElderMeal) และ ระบบอาหารสำหรับเด็กเล็ก

          • พัฒนาการเชื่อมต่อกับระบบ Thai School Lunch for Catering เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารในโรงเรียนสามารถบริหารจัดการต้นทุนในการผลิตควบคู่ไปกับการจัดการรายการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและเหมาะสม

          • เชื่อมโยงข้อมูลความต้องการวัตถุดิบกับระบบ Farm to School เพื่อรองรับการบริหารจัดการวัตถุดิบและส่งเสริมการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สนับสนุนการผลิตและป้อนวัตถุดิบที่ปลอดภัยกลับสู่โรงเรียนได้อย่างยั่งยืน

          • พัฒนาการเชื่อมต่อเครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงแบบอัตโนมัติ (KidSize) สามารถช่วยให้การเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของเด็กนักเรียนเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ โดยมี AI ตรวจสอบท่ายืนที่ถูกต้อง ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเข้าสู่ Platform โดยอัตโนมัติและแปลผลผ่านระบบ KidDiary ได้ทันที

แผนภาพ Platform Big Data

สถานะผลงาน

         ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนแล้ว

         1. Thai School Lunch for Catering 

         2. KidSize 

ติดต่อสอบถาม

คุณจันทิมา จันทร์ศักดิ์ศรี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ<br>อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/food15-anti-cough-takabb/ Sun, 07 Mar 2021 05:06:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10440 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร. กอบกุล เหล่าเท้งกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)           คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร กับบริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จำกัด มีความร่วมมือในการพัฒนาและนวัตกรรมกระบวนการผลิตยาแก้ไอแผนโบราณ โดยประยุกต์ใช้ความองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีชีวกระบวนการและวิศวกรรมอุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การออกฤทธิ์ต้านจุลชีพ พร้อมผนวกกับภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของบริษัท ฯ ที่สะสมมาอย่างยาวนานกว่า 80 ปี ทำให้สามารถพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แก้ไอในรูปแบบสเปรย์น้ำ ซึ่งคงสรรพคุณของตัวยาสำคัญ รสชาติ และการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปากเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์แก้ไอแบบลูกกลอน ผลิตภัณฑ์ที่นวัตกรรมขึ้นนี้ รองรับกลุ่มผู้บริโภคต่างๆในปัจจุบัน โดยมีแผนการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจยาแผนโบราณและสมุนไพรของประเทศ  ภาพผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ สถานะผลงาน          ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทฯ แล้ว ติดต่อสอบถาม คุณศุกร์นิมิต สุจิราศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ฺBIOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: […]

The post ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ

ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร กับบริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จำกัด มีความร่วมมือในการพัฒนาและนวัตกรรมกระบวนการผลิตยาแก้ไอแผนโบราณ โดยประยุกต์ใช้ความองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีชีวกระบวนการและวิศวกรรมอุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การออกฤทธิ์ต้านจุลชีพ พร้อมผนวกกับภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของบริษัท ฯ ที่สะสมมาอย่างยาวนานกว่า 80 ปี ทำให้สามารถพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แก้ไอในรูปแบบสเปรย์น้ำ ซึ่งคงสรรพคุณของตัวยาสำคัญ รสชาติ และการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปากเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์แก้ไอแบบลูกกลอน ผลิตภัณฑ์ที่นวัตกรรมขึ้นนี้ รองรับกลุ่มผู้บริโภคต่างๆในปัจจุบัน โดยมีแผนการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจยาแผนโบราณและสมุนไพรของประเทศ 

ภาพผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ

สถานะผลงาน

         ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทฯ แล้ว

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ฺBIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ appeared first on NAC2021.

]]>
Fun Science Buffet: Talk with outstanding young scientists http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/fun-science-buffet/ Sun, 07 Mar 2021 00:10:24 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11364 Fun Science Buffet: Talk with outstanding young scientists 29 มีนาคม 2564 เวลา 09:00 – 11:00 น.         กิจกรรม “Fun Science Buffet: Talk with outstanding young scientists” เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้แทนประเทศไทยในโครงการพัฒนานักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีความเชี่ยวชาญในสาขา ต่างๆ แบบเจาะลึก โดยเหล่านักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จะมาเล่างานวิจัยปัจจุบันในกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์และโรคอุบัติใหม่ กลุ่มด้านอาหารและโภชนาการ กลุ่มการทำงานของสมองและการเรียนรู้ กลุ่มคณิตศาสตร์เพื่อชีวิตและอนาคต และกลุ่มด้านโลก ดาราศาสตร์ เอกภพและจักรวาล รวมทั้งเส้นทางอาชีพนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยพร้อมเคล็ดลับที่ทำให้ประสบความสำเร็จและได้ร่วม กิจกรรมระดับโลกให้กับนักเรียนฟังในภาษาที่เข้าใจง่ายและเป็นกันเอง เพื่อให้นักเรียนที่อยากรู้และสนใจ ว่าวิทยาศาสตร์ในแต่ละสาขานั้นทำงานกันอย่างไร นอกจากนี้นักเรียนจะรู้สึกตื่นเต้นกับการค้นพบงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในปัจจุบันด้วย โดยกิจกรรมนี้ประกอบด้วยการบรรยาย การสนทนาซักถาม […]

The post Fun Science Buffet: Talk with outstanding young scientists appeared first on NAC2021.

]]>

Fun Science Buffet: Talk with outstanding young scientists

29 มีนาคม 2564 
เวลา 09:00 – 11:00 น.

        กิจกรรม “Fun Science Buffet: Talk with outstanding young scientists” เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้แทนประเทศไทยในโครงการพัฒนานักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีความเชี่ยวชาญในสาขา ต่างๆ แบบเจาะลึก โดยเหล่านักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จะมาเล่างานวิจัยปัจจุบันในกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์และโรคอุบัติใหม่ กลุ่มด้านอาหารและโภชนาการ กลุ่มการทำงานของสมองและการเรียนรู้ กลุ่มคณิตศาสตร์เพื่อชีวิตและอนาคต และกลุ่มด้านโลก ดาราศาสตร์ เอกภพและจักรวาล รวมทั้งเส้นทางอาชีพนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยพร้อมเคล็ดลับที่ทำให้ประสบความสำเร็จและได้ร่วม กิจกรรมระดับโลกให้กับนักเรียนฟังในภาษาที่เข้าใจง่ายและเป็นกันเอง เพื่อให้นักเรียนที่อยากรู้และสนใจ ว่าวิทยาศาสตร์ในแต่ละสาขานั้นทำงานกันอย่างไร นอกจากนี้นักเรียนจะรู้สึกตื่นเต้นกับการค้นพบงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในปัจจุบันด้วย โดยกิจกรรมนี้ประกอบด้วยการบรรยาย การสนทนาซักถาม และการเล่นเกมออนไลน์ชิงรางวัล ทำให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้งานวิจัยในด้านต่าง ๆ และแนวทางการศึกษาและเส้นทางอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่เยาวชน
2. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในสาขาต่าง ๆ
3. เพื่อให้นักเรียนได้เห็นเส้นทางการศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์ในอนาคต

วิดีโอบันทึกกิจกรรม

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

09.00 – 09.15 น.

กลุ่มด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และโรคอุบัติใหม่
หัวข้อการบรรยาย “กำเนิดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และมหันตภัยคุกคามชาวโลก”
โดย ดร.ภคพฤฒ คุ้มวัน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

09.15 – 09.30 น.

กลุ่มด้านอาหารและโภชนาการ
หัวข้อการบรรยาย “พี่อยากบอก…..กินอย่างไรให้สุขภาพดี”
โดย ดร.สิรภัทร แต่สุวรรณ
ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

09.30 – 10.00 น.

กลุ่มการทำงานของสมองและการเรียนรู้
หัวข้อการบรรยาย “เจาะลึกการทำงานสมอง & อารมณ์และความรู้: มหัศจรรย์ความเชื่อมโยง”
โดย ดร.นายแพทย์ นิธิ อัศวภาณุมาศ
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

หัวข้อการบรรยาย “ทำไมบริษัทระดับโลกต้องลงมาเล่นเลโก้มากขึ้น หรือการเรียนรู้ จากเกมส์จะเป็นกระแสใหม่ในโลก?”
โดย ดร.ขจรวุฒิ อุ่นใจ
หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

10.00 – 10.15 น.

กลุ่มคณิตศาสตร์เพื่อชีวิตและอนาคต
หัวข้อการบรรยาย “คณิตพิชิตจักรวาล”
โดย ดร.ศุภณัฐ ชัยดี
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

10.15 – 10.30 น.

กลุ่มด้านโลก ดาราศาสตร์ เอกภพและจักรวาล
หัวข้อการบรรยาย “Alien: where to find them? : ตามหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก”
โดย ดร.เพชระ ภัทรกิจวานิช
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หัวข้อการบรรยาย “สนุกกับนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล”
โดย ดร.ศุภชัย อาวิพันธุ์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

10.30 – 11.00 น.

ถาม – ตอบ

หมายเหตุ
กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

เข้าร่วมสัมมนาด้วยโปรแกรม ZOOM เท่านั้น

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Fun Science Buffet: Talk with outstanding young scientists appeared first on NAC2021.

]]>
รักษ์โลก ผ่านสื่อโอริงามิ (Origami) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/origami/ Sat, 06 Mar 2021 23:31:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11388 รักษ์โลก ผ่านสื่อโอริงามิ (Origami) 29 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 – 16.30 น. ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น มลภาวะทางอากาศ (Air Pollution) เช่น การฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือฝุ่น PM 2.5 มลภาวะทางน้ำ (Water Pollution) เช่น แม่น้ำ ลำคลองเน่าเหม็น มลภาวะทางแสง (Light Pollution) หรือแม้กระทั่งขยะอวกาศ (Space Junk) ล้วนแต่ส่งผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ได้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเหล่านี้ และเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงจัดให้มีกิจกรรม “รักษ์โลก ผ่านสื่อโอริงามิ (Origami)” เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้จะได้ฝึกทักษะการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมด้วยโอริงามิหรือศิลปะการพับกระดาษ กำหนดการ วันที่ 29 มีนาคม 2564 12.45 – […]

The post รักษ์โลก ผ่านสื่อโอริงามิ (Origami) appeared first on NAC2021.

]]>

รักษ์โลก ผ่านสื่อโอริงามิ (Origami)

29 มีนาคม 2564 
เวลา 13.00 – 16.30 น.

ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว

        จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น มลภาวะทางอากาศ (Air Pollution) เช่น การฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือฝุ่น PM 2.5 มลภาวะทางน้ำ (Water Pollution) เช่น แม่น้ำ ลำคลองเน่าเหม็น มลภาวะทางแสง (Light Pollution) หรือแม้กระทั่งขยะอวกาศ (Space Junk) ล้วนแต่ส่งผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ได้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเหล่านี้ และเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงจัดให้มีกิจกรรม “รักษ์โลก ผ่านสื่อโอริงามิ (Origami)” เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้จะได้ฝึกทักษะการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมด้วยโอริงามิหรือศิลปะการพับกระดาษ

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

12.45 – 13.00 น.

เข้าระบบเพื่อเตรียมความพร้อม

13.00 – 13.40 น.

The Art & Science of Origami
โดย ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี
ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช.

13.40 – 15.00 น.

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นผลงานการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมด้วยโอริงามิ

15.00 – 15.10 น.

พัก

15.10 – 16.00 น.

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นผลงานการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมด้วยโอริงามิ (ต่อ)

16.00 – 16.30 น.

สรุปกิจกรรมและประกาศผลรางวัล

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post รักษ์โลก ผ่านสื่อโอริงามิ (Origami) appeared first on NAC2021.

]]>
กิจกรรม 3D printing: Design your own 3D plant pot http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/3d-printing/ Sat, 06 Mar 2021 22:48:44 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11436 กิจกรรม 3D printing: Design your own 3D plant pot วันที่ 27 มีนาคม 2564 09:00 – 12:00 น. ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว         เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D printing) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาการใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จนปัจจุบันมีการพัฒนาจนสามารถขยายการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น อาทิ การสร้างที่อยู่อาศัยด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ การสร้างชิ้นส่วนอุปกรณ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติในเพอร์เซเวียแรนซ์ (Perseverance) หุ่นยนต์ตระเวนสำรวจดาวอังคารที่องค์การนาซาสร้างขึ้น เป็นต้น ดังนั้นการเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้ผู้เรียนโดยเฉพาะเยาวชน ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยีในสังคมโลกอันจะนำไปสู่การคิดต่อยอดเพื่อบูรณาการกับความรู้ด้านอื่นได้ กำหนดการ วันที่ 27 มีนาคม 2564 09.00 – 09.30 น. เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติและนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดจากเครื่องพิมพ์สามมิติโดย นางสาววสุ ทัพพะรังสีนักวิชาการ ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช. 09.30 – […]

The post กิจกรรม 3D printing: Design your own 3D plant pot appeared first on NAC2021.

]]>

กิจกรรม 3D printing: Design your own 3D plant pot

วันที่ 27 มีนาคม 2564
09:00 – 12:00 น.

ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว

        เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D printing) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาการใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จนปัจจุบันมีการพัฒนาจนสามารถขยายการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น อาทิ การสร้างที่อยู่อาศัยด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ การสร้างชิ้นส่วนอุปกรณ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติในเพอร์เซเวียแรนซ์ (Perseverance) หุ่นยนต์ตระเวนสำรวจดาวอังคารที่องค์การนาซาสร้างขึ้น เป็นต้น ดังนั้นการเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้ผู้เรียนโดยเฉพาะเยาวชน ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยีในสังคมโลกอันจะนำไปสู่การคิดต่อยอดเพื่อบูรณาการกับความรู้ด้านอื่นได้

กำหนดการ

วันที่ 27 มีนาคม 2564

09.00 – 09.30 น.

เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติและนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดจากเครื่องพิมพ์สามมิติ
โดย นางสาววสุ ทัพพะรังสี
นักวิชาการ ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช.

09.30 – 10.00 น.

ปัจจัยการเจริญเติบโตของพืชอวบน้ำ (Succulent Plant)
โดย นางสาวนฤมล สุขเกษม
นักวิชาการ ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช.

10.00 – 11.00 น.

การออกแบบชิ้นงานสามมิติด้วยโปรแกรม Tinkercad

11.00 – 12.00 น.

ออกแบบชิ้นงานกระถางต้นไม้ และสรุปกิจกรรม

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post กิจกรรม 3D printing: Design your own 3D plant pot appeared first on NAC2021.

]]>
ขมิ้นชัน สมุนไพร…ไม่ธรรมดา http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/turmeric/ Sat, 06 Mar 2021 21:45:31 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11448 ขมิ้นชัน สมุนไพร…ไม่ธรรมดา 27 มีนาคม 2564 เวลา 13:00 – 16:30 น. ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว         เรียนรู้การผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาไทยและวิทยาศาสตร์ จากขมิ้นชันสมุนไพรไทย ผ่านการลงมือทดลองและปฏิบัติ ตลอดจนการสร้างมูลค่าโดยใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหาร ยา เครื่องสำอางค์ กำหนดการ วันที่ 27 มีนาคม 2564 13.00 – 13.30 น. บรรยาย ขมิ้นชัน สมุนไพร…ไม่ธรรมดาโดย คุณกรกนก จงสูงเนินนักวิชาการอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช. 13.30 – 14.10 น. กิจกรรม วิทยาศาสตร์ในขมิ้นชัน 14.10 – 14.20 น. พักเบรก 14.20 – 16.00 น. กิจกรรม […]

The post ขมิ้นชัน สมุนไพร…ไม่ธรรมดา appeared first on NAC2021.

]]>

ขมิ้นชัน สมุนไพร...ไม่ธรรมดา

27 มีนาคม 2564 
เวลา 13:00 – 16:30 น.

ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว

        เรียนรู้การผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาไทยและวิทยาศาสตร์ จากขมิ้นชันสมุนไพรไทย ผ่านการลงมือทดลองและปฏิบัติ ตลอดจนการสร้างมูลค่าโดยใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหาร ยา เครื่องสำอางค์

กำหนดการ

วันที่ 27 มีนาคม 2564

13.00 – 13.30 น.

บรรยาย ขมิ้นชัน สมุนไพร…ไม่ธรรมดา
โดย คุณกรกนก จงสูงเนิน
นักวิชาการอาวุโส
ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช.

13.30 – 14.10 น.

กิจกรรม วิทยาศาสตร์ในขมิ้นชัน

14.10 – 14.20 น.

พักเบรก

14.20 – 16.00 น.

กิจกรรม วิทยาศาสตร์ในขมิ้นชัน (ต่อ)

16.00 – 16.30 น.

สรุปผลการทดลอง

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post ขมิ้นชัน สมุนไพร…ไม่ธรรมดา appeared first on NAC2021.

]]>
สร้างชิ้นงานจากเครื่อง Laser Cutting http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/laser-cutting/ Sat, 06 Mar 2021 20:43:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11683 สร้างชิ้นงานจากเครื่อง Laser Cutting 29 มีนาคม 2564 เวลา 09:00 – 12:00 น.29 มีนาคม 2564 เวลา 13:00 – 16:00 น.30 มีนาคม 2564 เวลา 09:00 – 12:00 น. ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว       เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านวิศวกรรม ผ่านการใช้เครื่องตัดเลเซอร์ (Laser cutter) เรียนรู้การนำรูปภาพมาแปลงให้เป็นเส้นเวกเตอร์ การตั้งค่าโปรแกรม AutoLaser รวมถึงกำหนดความเร็วและพลังงานที่ใช้ในการตัดชิ้นงาน เพื่อเตรียมความพร้อมกำลังคนสู่ฐานอนาคตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กำหนดการ 09.00 – 09.30 น. ทำความรู้จักกับ เครื่องตัดเลเซอร์โดย คุณปริญญา ผ่องสุภาวิศวกร โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab)ฝ่ายบริหารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช.และ คุณนฤมล สุขเกษมนักวิชาการ ฝ่ายวิชาการ […]

The post สร้างชิ้นงานจากเครื่อง Laser Cutting appeared first on NAC2021.

]]>

สร้างชิ้นงานจากเครื่อง Laser Cutting

29 มีนาคม 2564 เวลา 09:00 – 12:00 น.
29 มีนาคม 2564 เวลา 13:00 – 16:00 น.
30 มีนาคม 2564 เวลา 09:00 – 12:00 น.

ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว

      เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านวิศวกรรม ผ่านการใช้เครื่องตัดเลเซอร์ (Laser cutter) เรียนรู้การนำรูปภาพมาแปลงให้เป็นเส้นเวกเตอร์ การตั้งค่าโปรแกรม AutoLaser รวมถึงกำหนดความเร็วและพลังงานที่ใช้ในการตัดชิ้นงาน เพื่อเตรียมความพร้อมกำลังคนสู่ฐานอนาคตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

กำหนดการ

09.00 – 09.30 น.

ทำความรู้จักกับ เครื่องตัดเลเซอร์
โดย คุณปริญญา ผ่องสุภา
วิศวกร โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab)
ฝ่ายบริหารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช.
และ คุณนฤมล สุขเกษม
นักวิชาการ ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช.

09.30 – 10.10 น.

การดาวน์โหลดไฟล์แบบ เพื่อนำมาใช้กับเครื่องตัดเลเซอร์
และการใช้งานโปรแกรม Inlscape เบื้องต้น

10.10 – 10.20 น.

พักเบรก

10.20 – 11.00 น.

การใช้งานโปรแกรม AutoLaser

11.00 – 12.00 น.

ออกแบบชิ้นงานด้วยตนเอง และส่งไฟล์กลับมามาให้ทีมผู้จัดกิจกรรม เพื่อดำเนินการตัดชิ้นงานส่งมอบต่อไป

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post สร้างชิ้นงานจากเครื่อง Laser Cutting appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมอาหารและการเกษตร “ตอน การเดินทางของน้องหัวมัน” http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/potato-balls/ Sat, 06 Mar 2021 19:35:33 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11725 นวัตกรรมอาหารและการเกษตร “ตอน การเดินทางของน้องหัวมัน” 29 มีนาคม 2564 เวลา 13:00 – 16:30 น. ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว       ชวนเด็ก ๆ มาเรียนรู้เกี่ยวกับการเดินทางของน้องหัวมัน ตั้งแต่ต้นทางการปลูก การดูแลรักษาเพื่อให้ได้หัวมันคุณภาพสูง จนถึงกระบวนการแปรรูปที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการผลิตแป้งจากหัวมัน ให้มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งสามารถนำมาประกอบเมนูอาหารที่หลากหลายช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับมันสำปะหลังไทย กำหนดการ วันที่ 29 มีนาคม 2564 12.30 – 13.00 น. เข้าระบบเพื่อเตรียมความพร้อม 13.00 – 14.00 น. บรรยาย จุดเริ่มต้นการเดินทาง เรียนรู้กระบวนการปลูก การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และธาตุอาหารของพืชหัวโดย วิทยากรจาก บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด 14.00 – 14.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.10 – 15.00 […]

The post นวัตกรรมอาหารและการเกษตร “ตอน การเดินทางของน้องหัวมัน” appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมอาหารและการเกษตร "ตอน การเดินทางของน้องหัวมัน"

29 มีนาคม 2564 
เวลา 13:00 – 16:30 น.

ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว

      ชวนเด็ก ๆ มาเรียนรู้เกี่ยวกับการเดินทางของน้องหัวมัน ตั้งแต่ต้นทางการปลูก การดูแลรักษาเพื่อให้ได้หัวมันคุณภาพสูง จนถึงกระบวนการแปรรูปที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการผลิตแป้งจากหัวมัน ให้มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งสามารถนำมาประกอบเมนูอาหารที่หลากหลายช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับ
มันสำปะหลังไทย

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

12.30 – 13.00 น.

เข้าระบบเพื่อเตรียมความพร้อม

13.00 – 14.00 น.

บรรยาย จุดเริ่มต้นการเดินทาง
เรียนรู้กระบวนการปลูก การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และธาตุอาหารของพืชหัว
โดย วิทยากรจาก บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

14.00 – 14.10 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

14.10 – 15.00 น.

กิจกรรม น้องหัวมันแปลงกาย
รู้จักกับแป้งจากพืชชนิดต่าง ๆ รอบตัว และเรียนรู้กระบวนการแปรรูปจากหัวมันสู่แป้งมัน ซึ่งถูกดัดแปลงคุณสมบัติต่าง ๆ ให้มีความพิเศษเหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
โดย วิทยากรจาก บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

15.00 – 15.40 น.

กิจกรรม เมนูอาหารจากแป้งน้องหัวมัน
เรียนรู้การนำแป้งจากหัวมัน มาประกอบอาหารเมนูต่าง ๆ ตามคุณสมบัติของแป้ง เช่น ความกรอบ ความเหนียว เป็นต้น
โดย วิทยากรจาก บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

15.40 – 16.00 น.

บรรยายพิเศษ เส้นทางอาชีพนักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
ในอุตสาหกรรมด้านอาหารและการเกษตร
โดย วิทยากรจาก บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

หมายเหตุ กำหนดการอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post นวัตกรรมอาหารและการเกษตร “ตอน การเดินทางของน้องหัวมัน” appeared first on NAC2021.

]]>
โลกเปลี่ยน คนปรับ ขยับการเรียนรู้ ในโรงเรียน(ชนบท) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/learning-in-rural-school/ Fri, 05 Mar 2021 14:11:39 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9354 โลกเปลี่ยน คนปรับ ขยับการเรียนรู้ ในโรงเรียน(ชนบท) 25 มีนาคม 2564 เวลา 13:00 – 16:00 น.         ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอยางไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นภายหลังการระบาดอย่างรุนแรงของโรคระบาด Covid-19 ทั่วโลกและประเทศไทยจำเป็นจำมีการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้อารยธรรม วัฒนธรรม กิจกรรมด้านต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์และสังคมของมนุษยชาติสามารถดำเนินต่อไปได้โดยมีผลกระทบเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับกิจกรรมด้านการจัดการศึกษา นับเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีการปรับตัวอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดการนำและเร่งพัฒนาเทคโนโลยี วิธีการใหม่ๆ มาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนทั่วโลกยังสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง         สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ออกมาตรการ วิธีการมากมาย เพื่อขับเคลื่อนความสามารถของบุคลากรด้านการศึกษาให้สามารถใช้ เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ได้อยางมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง แต่เป็นที่ทราบกันว่า แม้จะอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่ยังคงมีหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่สภาพแวดล้อม บริบท และความพร้อมในเชิงโครงสร้างยังไม่พร้อมมากนักกับการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ โดยเฉพาะโรงเรียนในเขตชนบทห่างไกล ทำให้ต้องมีการปรับตัวด้วยวิธีการและมิติที่อาจจะแตกต่างไปจากโรงเรียนใหญ่ในเขตเมือง         บทเรียนและแนวทางของการปรับเปลี่ยนตนเองของโรงเรียนในชนบทที่ สวทช. โดยงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท เข้าไปมีส่วนร่วมส่งเสริมและพัฒนาครูผู้สอน จึงเป็นเรื่องน่าสนใจศึกษาและถอดรหัส ว่าจะสามารถทำอย่างไร เพื่อเปลี่ยนให้ความไม่พร้อมกลายเป็นความพร้อม พลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสได้สำหรับผู้เรียนในพื้นที่ห่างไกลในการเรียนรู้จากปัญหาที่ประสบพบเจอในยุคปัจจุบัน […]

The post โลกเปลี่ยน คนปรับ ขยับการเรียนรู้ ในโรงเรียน(ชนบท) appeared first on NAC2021.

]]>

โลกเปลี่ยน คนปรับ ขยับการเรียนรู้ ในโรงเรียน(ชนบท)

25 มีนาคม 2564 
เวลา 13:00 – 16:00 น.

        ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอยางไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นภายหลังการระบาดอย่างรุนแรงของโรคระบาด Covid-19 ทั่วโลกและประเทศไทยจำเป็นจำมีการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้อารยธรรม วัฒนธรรม กิจกรรมด้านต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์และสังคมของมนุษยชาติสามารถดำเนินต่อไปได้โดยมีผลกระทบเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับกิจกรรมด้านการจัดการศึกษา นับเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีการปรับตัวอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดการนำและเร่งพัฒนาเทคโนโลยี วิธีการใหม่ๆ มาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนทั่วโลกยังสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

        สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ออกมาตรการ วิธีการมากมาย เพื่อขับเคลื่อนความสามารถของบุคลากรด้านการศึกษาให้สามารถใช้ เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ได้อยางมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง แต่เป็นที่ทราบกันว่า แม้จะอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่ยังคงมีหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่สภาพแวดล้อม บริบท และความพร้อมในเชิงโครงสร้างยังไม่พร้อมมากนักกับการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ โดยเฉพาะโรงเรียนในเขตชนบทห่างไกล ทำให้ต้องมีการปรับตัวด้วยวิธีการและมิติที่อาจจะแตกต่างไปจากโรงเรียนใหญ่ในเขตเมือง

        บทเรียนและแนวทางของการปรับเปลี่ยนตนเองของโรงเรียนในชนบทที่ สวทช. โดยงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท เข้าไปมีส่วนร่วมส่งเสริมและพัฒนาครูผู้สอน จึงเป็นเรื่องน่าสนใจศึกษาและถอดรหัส ว่าจะสามารถทำอย่างไร เพื่อเปลี่ยนให้ความไม่พร้อมกลายเป็นความพร้อม พลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสได้สำหรับผู้เรียนในพื้นที่ห่างไกลในการเรียนรู้จากปัญหาที่ประสบพบเจอในยุคปัจจุบัน

        การเสวนาในครั้งนี้ จะมีทั้งเสียงสะท้อนจากทั้งครูในพื้นที่จริง ที่ได้ประสบ แก้ไข และพิชิตอุปสรรคเหล่านั้นมาแล้ว รวมถึงมุมมองจากนักวิชาการด้านการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ และด้านสังคม ร่วมถึงทางด้านนโยบายทางการศึกษาร่วมแลกเปลียนในครั้งนี้ เพื่อร่วมหาแนวทางในในพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยต่อไปอย่างไม่ขาดตอน ให้เห็นว่า โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คนก็ต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ร่วมเป็นพลัง กำลังใจ และความหวัง เพื่อค้นหาแนวทางและวิธีการใหม่ๆที่น่าตื่นเต้น ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเพื่อจะสามารถปรับตัวตาม และก้าวไปพร้อมกับโลกใบนี้อย่างเข้มแข็งและปลอดภัย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 25 มีนาคม 2564

13.00-13.15 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการเสวนา

โดย  ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล
รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.15-14.00 น.

สถานการณ์การจัดการเรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนชนบทบริบทต่างๆ

1. บริบทของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
โดย พระครูถาวรรัตนานุกิจ
ประธานเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 6

2. บริบทของโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลในเขตภาคเหนือ
โดย อาจารย์สุรเดช พหลโยธิน
ผู้เชี่ยวชาญ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท
อดีตรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน

3. บริบทของโรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย อาจารย์วีรชัย สติรักษ์
ครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้าครูกลุ่มโรงเรียนรักษ์ป่าบาลา จังหวัดนราธิวาส

14.00-15.00 น.

นานาทัศนะและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนยุค New Normal โดย นักวิชาการชั้นนำด้านการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์

1. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล อนันตวสกุล
ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศึกษา
จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ดร.กุศลิน มุสิกุล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

15.00-15.30 น.

มุมมองการพัฒนาการเรียนรู้ในช่วง next normal ในโรงเรียนชนบท: การเตรียม ความพร้อมของเด็กและครูสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
โดย วิทยากรและตัวแทนครูทุกท่าน

15:00-16:00 น.

เวทีถามตอบและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post โลกเปลี่ยน คนปรับ ขยับการเรียนรู้ ในโรงเรียน(ชนบท) appeared first on NAC2021.

]]>
กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/food07-pineapple-vinegar/ Fri, 05 Mar 2021 10:10:58 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10337 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณยุทธนา กิ่งชา ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สรุปเทคโนโลยี/กระบวนการที่พัฒนา ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรดในขั้นตอนเดียวแบบ slow process ที่อาศัยกิจกรรมของต้นเชื้อจุลินทรีย์สูตรผสมซึ่งสามารถผลิตเอทานอลไปพร้อมๆกับการสร้างกรดอะซิติค เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักต้นทุนต่ำที่สามารถหมักน้ำสับปะรดในถังหมักพลาสติกขนาด 100 ลิตร (food-grade) ให้ได้ผลผลิตน้ำส้มสายชูหมักที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานของ อย. ได้ภายในระยะเวลา 115 วัน เป็นกระบวนการที่มีความยืดหยุ่นในการรองรับการผลิตน้ำส้มสายชูหมักในปริมาณต่างๆ เพียงแค่ทำการปรับเพิ่มหรือลดจำนวนของถังหมักและปรับระบบการให้อากาศ รวมทั้งจัดการรอบของการหมักให้สำพันธ์กับปริมาณการผลิตที่ต้องการได้ ติดต่อสอบถาม คุณศุกร์นิมิต สุจิรา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: 02-5646700 ต่อ 3308 E-mail: suknimit.suj@biotec.or.th เว็บไซต์: www.biotec.or.th ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ: เอกสารเผยแพร่

The post กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด appeared first on NAC2021.

]]>

กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด

กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณยุทธนา กิ่งชา
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

สรุปเทคโนโลยี/กระบวนการที่พัฒนา

ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด

  • เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรดในขั้นตอนเดียวแบบ slow process ที่อาศัยกิจกรรมของต้นเชื้อจุลินทรีย์สูตรผสมซึ่งสามารถผลิตเอทานอลไปพร้อมๆกับการสร้างกรดอะซิติค
  • เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักต้นทุนต่ำที่สามารถหมักน้ำสับปะรดในถังหมักพลาสติกขนาด 100 ลิตร (food-grade) ให้ได้ผลผลิตน้ำส้มสายชูหมักที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานของ อย. ได้ภายในระยะเวลา 115 วัน 
  • เป็นกระบวนการที่มีความยืดหยุ่นในการรองรับการผลิตน้ำส้มสายชูหมักในปริมาณต่างๆ เพียงแค่ทำการปรับเพิ่มหรือลดจำนวนของถังหมักและปรับระบบการให้อากาศ รวมทั้งจัดการรอบของการหมักให้สำพันธ์กับปริมาณการผลิตที่ต้องการได้

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด appeared first on NAC2021.

]]>
หน้ากากอนามัย Safie Plus http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/medical03-safie-plus/ Fri, 05 Mar 2021 09:22:24 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9153 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ชื่อนักวิจัย ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์ส่วนงาน ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)          หน้ากากอนามัย (Safie Plus) สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 และเชื้อโรค และเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 ยังสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ได้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพสูงมีความหนา 4 ชั้น มีแผ่นชั้นกรองพิเศษ พัฒนาด้วยเทคโนโลยีวัสดุเชิงประกอบไฮดรอกซีอะพาไทต์และไททาเนียมไดออกไซด์เคลือบบนแผ่นนอนวูฟเวนของเส้นใยธรรมชาติผสมโพลิเอสเตอร์ มีคุณสมบัติในการดักจับฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กและจุลินทรีย์ มีประสิทธิภาพการป้องกันไวรัสและฝุ่น PM 2.5 มากกว่า 99% การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรอง PM2.5 ASTM F2299 จาก TÜV SÜD สิงค์โปร์ ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรองไวรัส ASTM F2101 จาก Nelson Lab สหรัฐอเมริกา การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน       […]

The post หน้ากากอนามัย Safie Plus appeared first on NAC2021.

]]>

หน้ากากอนามัย Safie Plus

หน้ากากอนามัย Safie Plus

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ชื่อนักวิจัย ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์
ส่วนงาน ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

         หน้ากากอนามัย (Safie Plus) สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 และเชื้อโรค และเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 ยังสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ได้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพสูงมีความหนา 4 ชั้น
  • มีแผ่นชั้นกรองพิเศษ พัฒนาด้วยเทคโนโลยีวัสดุเชิงประกอบไฮดรอกซีอะพาไทต์และไททาเนียมไดออกไซด์เคลือบบนแผ่นนอนวูฟเวนของเส้นใยธรรมชาติผสมโพลิเอสเตอร์
  • มีคุณสมบัติในการดักจับฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กและจุลินทรีย์
  • มีประสิทธิภาพการป้องกันไวรัสและฝุ่น PM 2.5 มากกว่า 99%

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

  • ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรอง PM2.5 ASTM F2299 จาก TÜV SÜD สิงค์โปร์
  • ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรองไวรัส ASTM F2101 จาก Nelson Lab สหรัฐอเมริกา
2

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

        ส่งมอบหน้ากากอนามัย Safie Plus ให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุข ที่ติดต่อขอรับการสนับสนุนหน้ากากอนามัย ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 5 (เพชรบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์, สุพรรณบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, กาญจนบุรี) โรงพยาบาลสงขลา, โรงพยาบาลหาดใหญ่, โรงพยาบาลบ้านแพ้ว, โรงพยาบาลแม่ระมาด, โรงพยาบาลอุ้มผาง, โรงพยาบาลแม่สอด, โรงพยาบาลพระปกเกล้า, โรงพยาบาลระยอง, สำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 2 (พิษณุโลก, ตาก, สุโขทัย, เพชรบูรณ์, อุตรดิตถ์), ศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตกรรมรากเทียม, คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ทั้งหมดเป็นจำนวนกว่า 200,000 ชิ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19

ติดต่อสอบถาม

ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post หน้ากากอนามัย Safie Plus appeared first on NAC2021.

]]>
ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro08-npv/ Fri, 05 Mar 2021 09:09:58 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10241 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) รู้จักไวรัสเอ็นพีวี          ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค โดยมีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาและผลิตไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้หอม ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้ผัก และไวรัสเอ็นพีวีหนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรูพืช ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ ใช้ได้กับเกษตรเคมี เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ ผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้างในพืช เกษตรกรสามารถต่อเชื้อใช้เองได้ กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี          เมื่อหนอนกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนใบพืขอาหาร ไวรัสเข้าสู่กระเพาะอาหาร ผลึกโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคของไวรัสจะถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง อนุภาคไวรัสจะหลุดออกมาและเข้าทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร หนอนจะลดการกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าลง ผนังลำตัวสีเขียวของหนอนจะเริ่มซีดจาง หลังจากนั้นอนุภาคไวรัสขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายในลำตัวของหนอน เข้าไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย ผนังลำตัวจะมีสีขาวหรือสีครีม หนอนจะหยุดกินอาหารและพยายามไต่ขึ้นบริเวณส่วนยอดของต้นพืช […]

The post ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) appeared first on NAC2021.

]]>

ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV)

ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

รู้จักไวรัสเอ็นพีวี

         ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค โดยมีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาและผลิตไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้หอม ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้ผัก และไวรัสเอ็นพีวีหนอนเจาะสมอฝ้าย

  • เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย
  • มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรูพืช ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ
  • ใช้ได้กับเกษตรเคมี เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์
  • ผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้างในพืช
  • เกษตรกรสามารถต่อเชื้อใช้เองได้

กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี

         เมื่อหนอนกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนใบพืขอาหาร ไวรัสเข้าสู่กระเพาะอาหาร ผลึกโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคของไวรัสจะถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง อนุภาคไวรัสจะหลุดออกมาและเข้าทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร หนอนจะลดการกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าลง ผนังลำตัวสีเขียวของหนอนจะเริ่มซีดจาง หลังจากนั้นอนุภาคไวรัสขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายในลำตัวของหนอน เข้าไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย ผนังลำตัวจะมีสีขาวหรือสีครีม หนอนจะหยุดกินอาหารและพยายามไต่ขึ้นบริเวณส่วนยอดของต้นพืช และตายโดยห้อยหัวและส่วนท้องลงเป็นรูปตัว “วี” หัวกลับ (V Shape) ผนังลำตัวของหนอนที่ตายแล้วจะแตกง่ายและจะเปลี่ยนเป็นสีดำอย่างรวดเร็ว ของเหลวภายในซากหนอนจะเต็มไปด้วยผลึกของไวรัส

กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี ​

หัวใจสำคัญของการใช้ไวรัสเอ็นพีวี

  • รู้จักชนิดของหนอน
    • หนอนกระทู้หอม
    • หนอนกระทู้ผัก
    • หนอนเจาะสมอฝ้าย
  • ประเมินความรุนแรงของการระบาด เพื่อเลือกปริมาณการใช้ที่เหมาะสม
    • ระบาดน้อย ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน
    • ระบาดปานกลาง ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน
    • ระบาดรุนแรง ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นวันเว้นวัน จนกว่าหนอนจะลดลง
  • เทคนิคการใช้ไวรัสเอ็นพีวี
    • ฉีดพ่นหลังบ่ายสามโมง
    • ผสมสารจับใบ ช่วยให้ไวรัสเอ็นพีวีเกาะติดใบ
    • หัวสเปรย์แบบฝอยให้ละอองมากกว่าหัวสเปรย์ใหญ่ ไวรัสเอ็นพีวีเกาะติดบนใบได้ดีกว่า
    • เก็บขวดไวรัสเอ็นพีวีให้พ้นแสงแดด

วิธีสังเกตหนอน

การเลือกใช้ปริมาณไวรัสเอ็นพีวี ให้เหมาะสมกับระดับการระบาด

เทคนิคการต่อเชื้อไวรัสเอ็นพีวีสำหรับใช้ครั้งต่อไป

  • ใช้ทันที
    • นำหนอนที่ตายจากไวรัสเอ็นพีวี 2 ตัว ผสมน้ำ 1 ลิตร
  • เก็บเพื่อรอใช้
    • นำหนอนที่ตายจากไวรัสเอ็นพีวี 30 – 40 ตัว ใส่ขวดสีชา เติมน้ำสะอาดท่วมตัวหนอน เก็บในตู้เย็น (ช่องเก็บผัก) สามารถเก็บได้นาน 1 ปี
    • เมื่อจะนำไปใช้ ให้เขย่าขวดแล้วเทลงถังพ่นยา (15 ลิตร)
    • เติมน้ำให้เต็มถัง แล้วจึงฉีดพ่น

หนอนที่ตายในช่วงที่เป็นสีขาวขุนจะได้เชื้อเอ็นพีวีดีที่สุด

ติดต่อสอบถาม

คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (BIOTEC)

The post ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) appeared first on NAC2021.

]]>
“นวนุรักษ์”​ ซอฟท์แวร์แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/travel01-navanurak/ Fri, 05 Mar 2021 08:56:50 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10158 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) คุณสมบัติ ระบบบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับการบริหารจัดการข้อมูลวัฒนธรรม ซึ่งมีมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสมกับข้อมูลวัฒนธรรมประเภทนั้นๆ โดยมีระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งทางด้าน พิพิธภัณฑ์ ใบลาน/เอกสารเก่า จดหมายเหตุ นิทรรศการและ ความหลากหลายทางชีวภาพ (พืชและสัตว์ท้องถิ่น) ระบบบริหารจัดการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยว สำหรับการบริหารจัดการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว สามารถจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่สำคัญหรือสถานที่ท่องเที่ยว และสร้างเป็นเส้นทางในการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถนำไปเป็นไกด์ไลน์ในการท่องเที่ยวได้ การทำงานของระบบ ส่วนจัดเก็บข้อมูลและส่วนแสดงผล สามารถจัดเก็บไว้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง วิดีโอ ภาพพาโนรามา ภาพ 360 องศา และไฟล์เอกสาร ระบบสร้าง QR Code สำหรับเป็นสื่อในการเรียกใช้ข้อมูลหรือนำชม จัดเก็บและแสดงผลข้อมูลความคิดเห็นผู้เยี่ยมชม โดยสามารถสร้างคำถามที่เหมาะสมเพื่อรับความคิดเห็นจากผู้เยี่ยมชมได้ ระบบการแนะนำข้อมูลที่น่าสนใจให้กับผู้เยี่ยมชม สถิติรายงานจำนวนข้อมูล และนำออกข้อมูล ข้อดี ใช้งานง่าย ผ่าน web application สามารถเข้าถึงได้จากสมาร์ตโฟนและคอมพิวเตอร์ สามารถบริหารจัดข้อมูลได้ด้วยตัวเอง ทั้งในการจัดเก็บข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล สามารถเป็นเครื่องมือในการนำชมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลการแสดงความคิดเห็นจากผู้เยี่ยมชม พันธมิตร กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร […]

The post “นวนุรักษ์”​ ซอฟท์แวร์แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว appeared first on NAC2021.

]]>

“นวนุรักษ์”​ ซอฟท์แวร์แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

“นวนุรักษ์”​ ซอฟท์แวร์แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

คุณสมบัติ

  • ระบบบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
    สำหรับการบริหารจัดการข้อมูลวัฒนธรรม ซึ่งมีมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสมกับข้อมูลวัฒนธรรมประเภทนั้นๆ โดยมีระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งทางด้าน พิพิธภัณฑ์ ใบลาน/เอกสารเก่า จดหมายเหตุ นิทรรศการและ ความหลากหลายทางชีวภาพ (พืชและสัตว์ท้องถิ่น)

  • ระบบบริหารจัดการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยว สำหรับการบริหารจัดการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว สามารถจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่สำคัญหรือสถานที่ท่องเที่ยว และสร้างเป็นเส้นทางในการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถนำไปเป็นไกด์ไลน์ในการท่องเที่ยวได้

การทำงานของระบบ

  • ส่วนจัดเก็บข้อมูลและส่วนแสดงผล สามารถจัดเก็บไว้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง วิดีโอ ภาพพาโนรามา ภาพ 360 องศา และไฟล์เอกสาร
  • ระบบสร้าง QR Code สำหรับเป็นสื่อในการเรียกใช้ข้อมูลหรือนำชม
  • จัดเก็บและแสดงผลข้อมูลความคิดเห็นผู้เยี่ยมชม โดยสามารถสร้างคำถามที่เหมาะสมเพื่อรับความคิดเห็นจากผู้เยี่ยมชมได้
  • ระบบการแนะนำข้อมูลที่น่าสนใจให้กับผู้เยี่ยมชม
  • สถิติรายงานจำนวนข้อมูล และนำออกข้อมูล

ข้อดี

  • ใช้งานง่าย ผ่าน web application สามารถเข้าถึงได้จากสมาร์ตโฟนและคอมพิวเตอร์
  • สามารถบริหารจัดข้อมูลได้ด้วยตัวเอง ทั้งในการจัดเก็บข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล
  • สามารถเป็นเครื่องมือในการนำชมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
  • เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลการแสดงความคิดเห็นจากผู้เยี่ยมชม 

พันธมิตร

กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ศาลปกครอง
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
สกสว.
สภาหอการค้าไทย
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช
กรมป่าไม้
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยพะเยา
เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชมงคล
เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สถาบันวิทยาลัยชุมชน
ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม
บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป

นวนุรักษ์

ศิลปวัฒนธรรมถือได้ว่าเอกลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นชาติไทยอย่างชัดเจน และได้ถูกถ่ายทอดออกในรูปแบบและสื่อที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ เอกสาร ตำรา ศิลาจารึก ใบลาน รวมถึงจิตรกรรมในแขนงต่างๆ โดยเป็นการบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ ประเพณี ศิลปะ วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาติ แต่ด้วยปัจจัยหลายสิ่งไม่ว่าจะเป็นกาลเวลา สภาพแวดล้อม วิธีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป ก่อให้เกิดการสูญสลายของมรดกไทย การประยุกต์เทคโนโลยีในการจัดเก็บ บริหารจัดการ และแลกเปลี่ยนเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ในรูปแบบดิจิทัล โดยการอนุรักษ์ข้อมูลทางวัฒนธรรมโดยเทคโนโลยีเชิงอนุรักษ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดำรงให้วัฒนธรรมยังคงสามารถดำเนินอยู่ได้อย่างยั่งยืนและสามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น 

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post “นวนุรักษ์”​ ซอฟท์แวร์แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว appeared first on NAC2021.

]]>
ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/medical05-bodiiray-r/ Fri, 05 Mar 2021 08:20:46 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10096 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)     บอดีเรย์ อาร์ คือชุดแปลงเอกซเรย์ให้เป็นดิจิทัล (Digital Radiography Retrofit) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อบอดีเรย์ อาร์ ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงระบบเอกซเรย์แบบเก่าให้เป็นระบบเอกซเรย์ดิจิทัล โดยจะอัปเกรดเฉพาะส่วนรับรังสีและสร้างภาพให้เป็นระบบดิจิทัล แต่ยังคงใช้ประโยชน์จากส่วนฉายรังสีเอกซ์จากเครื่องเดิม ประกอบไปด้วย ฉากรับรังสีดิจิทัลแบบไร้สาย เครื่องคอมพิวเตอร์ และจอแสดงผลภาพ ส่วนซอฟต์แวร์สามารถบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ บันทึกการตั้งค่าการฉายรังสี ประมวลผลภาพและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (BodiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี สำหรับอัพเกรดระบบเอกซเรย์รุ่นเก่าให้เป็นเอกซเรย์ดิจิทัล ปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับการใช้งานของโรงพยาบาล ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย รองรับการใช้งานที่หลากหลายและสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้ แสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) BodiiRay R Specifications Detector Type Amorphous Silicon TFT Scintillator CsI Detector Size 43 […]

The post ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์) appeared first on NAC2021.

]]>

ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์)

ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

    บอดีเรย์ อาร์ คือชุดแปลงเอกซเรย์ให้เป็นดิจิทัล (Digital Radiography Retrofit) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อบอดีเรย์ อาร์ ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงระบบเอกซเรย์แบบเก่าให้เป็นระบบเอกซเรย์ดิจิทัล โดยจะอัปเกรดเฉพาะส่วนรับรังสีและสร้างภาพให้เป็นระบบดิจิทัล แต่ยังคงใช้ประโยชน์จากส่วนฉายรังสีเอกซ์จากเครื่องเดิม ประกอบไปด้วย ฉากรับรังสีดิจิทัลแบบไร้สาย เครื่องคอมพิวเตอร์ และจอแสดงผลภาพ ส่วนซอฟต์แวร์สามารถบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ บันทึกการตั้งค่าการฉายรังสี ประมวลผลภาพและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (BodiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • สำหรับอัพเกรดระบบเอกซเรย์รุ่นเก่าให้เป็นเอกซเรย์ดิจิทัล
  • ปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับการใช้งานของโรงพยาบาล
  • ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย รองรับการใช้งานที่หลากหลายและสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  • แสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที
  • ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS)

BodiiRay R Specifications

Detector Type

Amorphous Silicon TFT

Scintillator

CsI

Detector Size

43 cm x 36 cm (17″ x 14″)

43 cm x 43 cm (17″ x 17″)

Detector Pitch

0.139 mm

Detector Output

Wireless or Wired

A/D Conversion

16 bits

Trigger Mode

AED

Power Requirement

220VAC, 50Hz, Single Phase

การใช้งาน BodiiRay R

ปัจจุบันได้นำไปติดตั้งและใช้งานกับเครื่องเอกซเรย์ทั้งแบบแขวนเพดานและแบบเคลื่อนที่ได้ในการแปลงระบบเอกซเรย์เดิมในเป็นระบบดิจิทัล เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทั่วไป ณ โรงพยาบาลแม่ระมาด จ.ตาก และโรงพยาบาลห้วยยอด จ.ตรัง และเพื่อตรวจและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ระลอกที่ 2 ณ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และโรงพยาบาลสนาม วัดช่องลม โดยโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร

ติดต่อสอบถาม

ดร.อุดมชัย เตชะวิภู
ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์) appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/food06-nazxon/ Fri, 05 Mar 2021 08:19:19 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10076 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร. วรายุทธ สะโจมแสง ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)         ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มากกว่า 80% ในไทย เลือกใช้ยาปฏิชีวนะตลอดวงจรการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่การรักษาโรค ป้องกันโรค และเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ ยังพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง และขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ รวมถึงพบการดื้อยาหลายขนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งมีการออกกฎหมายห้ามใช้หรือการควบคุมที่เข้มงวดสำหรับยาปฏิชีวนะ รวมถึงการระงับการนำเข้าและส่งคืนสินค้าที่มาจากประเทศไทยและมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ดังนั้น นาโนเทคโนโลยีจึงเป็นที่น่าสนใจในการนำมาใช้จัดการสุขาภิบาลในโรงเรือนสัตว์ โภชนาการอาหารและน้ำดื่ม เพื่อทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะ และยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์รองรับแผนการยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะได้ในอนาคต ส่งเสริมให้สินค้าอาหารของไทยมีความปลอดภัย         สวทช. จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติด้วยไอออนประจุบวกของซิงค์เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา โดยไอออนประจุบวกของซิงค์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ ประจุบวกของซิงค์ไอออนมีความว่องไว สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นหลายเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับเกลืออนินทรีย์ซิงค์ทำให้ใช้ความเข้มข้นน้อย การใช้ซิงค์ไอออนฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อทดแทนการใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลและซัลโมเนลลา รวมถึงลดปริมาณแบคทีเรียที่มีชีวิต […]

The post ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์<br>ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon) appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์
ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon)

ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์
ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร. วรายุทธ สะโจมแสง
ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV)
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

        ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มากกว่า 80% ในไทย เลือกใช้ยาปฏิชีวนะตลอดวงจรการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่การรักษาโรค ป้องกันโรค และเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ ยังพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง และขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ รวมถึงพบการดื้อยาหลายขนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งมีการออกกฎหมายห้ามใช้หรือการควบคุมที่เข้มงวดสำหรับยาปฏิชีวนะ รวมถึงการระงับการนำเข้าและส่งคืนสินค้าที่มาจากประเทศไทยและมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ดังนั้น นาโนเทคโนโลยีจึงเป็นที่น่าสนใจในการนำมาใช้จัดการสุขาภิบาลในโรงเรือนสัตว์ โภชนาการอาหารและน้ำดื่ม เพื่อทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะ และยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์รองรับแผนการยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะได้ในอนาคต ส่งเสริมให้สินค้าอาหารของไทยมีความปลอดภัย

        สวทช. จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติด้วยไอออนประจุบวกของซิงค์เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา โดยไอออนประจุบวกของซิงค์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ ประจุบวกของซิงค์ไอออนมีความว่องไว สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นหลายเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับเกลืออนินทรีย์ซิงค์ทำให้ใช้ความเข้มข้นน้อย การใช้ซิงค์ไอออนฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อทดแทนการใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลและซัลโมเนลลา รวมถึงลดปริมาณแบคทีเรียที่มีชีวิต นอกจากนี้ สามารถต่อยอดไอออนจากธาตุอาหารเสริมสู่ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในโรงเรือน ฟาร์มสัตว์ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคในสัตว์ การใช้งานสามารถเจือจางผลิตภัณฑ์ด้วยน้ำ 1:10-20 ในปริมาตร 1 ลิตรต่อวัตถุดิบอาหารสัตว์

        นวัตกรรมซิงค์ไอออนสามารถแก้ปัญหาเชื้อจุลินทรีย์และไวรัส ที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ได้ สามารถนำไปฆ่าและป้องกันเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรอัฟริกัน (African swine fever virus, ASFV) ได้ ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวม 74,600 ล้านบาทต่อปี หากไม่มีการป้องกันเชื้อดังกล่าว จะทำให้สุกรเสียชีวิตมากกว่า 50% และยังสร้างผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อย่างมหาศาล

จุดเด่น

  • ใช้ทดแทนสารฟอร์มาลินหรือฟอร์มาลดีไฮด์
  • ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
  • ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อสูง >6 log10 reduction
  • ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อภายใน 5-30 นาที
  • ออกฤทธิ์การฆ่าเชื้อได้ยาวนานไม่สลายตัว
  • ไม่ส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆที่อยู่ในวัตถุดิบอาหารสัตว์
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นเหม็นฉุน
  • ปลอดภัยต่อผู้ใช้และสัตว์
  • ต้นทุนต่ำ

สถานะผลงาน

  • นวัตกรรมนี้ได้จดอนุสิทธิบัตรและได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัทเพื่อผลิตและจำหน่ายซิงค์ไอออนผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติในฟาร์มปศุสัตว์ ในชื่อของ “Naxzon”
  • ผู้รับการถ่ายทอด: บริษัทยูนิซิล กรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562
  • ทรัพย์สินทางปัญญา: อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903001426 องค์ประกอบสำหรับเตรียมสารฆ่าจุลินทรีย์ก่อโรควันที่ยื่นคำขอ 31 พฤษภาคม 2562

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์<br>ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon) appeared first on NAC2021.

]]>
เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/medical02-bodiiray-s/ Fri, 05 Mar 2021 08:14:39 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10045 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)       บอดีเรย์ เอส คือเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก (Digital Chest Radiography) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อ บอดีเรย์ เอส เหมาะสำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในแบบสองมิติเพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นเน้นบริเวณปอดประกอบด้วย แหล่งกำเนิดเอกซเรย์ ฉากรับรังสีแบบดิจิทัล ซอฟต์แวร์บริหารจัดการและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ ซอฟต์แวร์สำหรับตั้งค่าและควบคุมการฉายเอกซเรย์ และซอฟต์แวร์ประมวลผลและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (RadiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี ระบบจัดท่าผู้ป่วยแบบขึ้นลงพร้อมกันทั้งเอกซเรย์และฉากรับรังสี สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย และสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บและสื่อสำรข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) BodiiRay S Specifications Tube Voltage 40 – 125 kV Tube Current 10 – 400 mA Exposure […]

The post เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส) appeared first on NAC2021.

]]>

เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส)

เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

      บอดีเรย์ เอส คือเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก (Digital Chest Radiography) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อ บอดีเรย์ เอส เหมาะสำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในแบบสองมิติเพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นเน้นบริเวณปอดประกอบด้วย แหล่งกำเนิดเอกซเรย์ ฉากรับรังสีแบบดิจิทัล ซอฟต์แวร์บริหารจัดการและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ ซอฟต์แวร์สำหรับตั้งค่าและควบคุมการฉายเอกซเรย์ และซอฟต์แวร์ประมวลผลและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (RadiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • ระบบจัดท่าผู้ป่วยแบบขึ้นลงพร้อมกันทั้งเอกซเรย์และฉากรับรังสี
  • สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที
  • ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย และสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  • ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บและสื่อสำรข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS)

BodiiRay S Specifications

Tube Voltage

40 – 125 kV

Tube Current

10 – 400 mA

Exposure Time

1 ms – 10 s

mAs Range

0.1 – 630 mAs

Generator Power

32 kW

Focal Spot

0.6/1.5 mm

Detector Type

Amorphous Silicon TFT

Detector Size

43 x 43 cm (17″ x 17″)

Detector Pitch

0.139 mm

Source to Detector

180 cm

Power Requirement

220VAC, 50Hz, Single Phase

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

  • ความปลอดภัยทางรังสีจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
  • ความปลอดภัยทางระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)
  • มาตรฐาน ISO 13485 จากบริษัท TÜV SÜD

การใช้งาน BodiiRay S

ปัจจุบันได้นำไปติดตั้งและใช้งานเพื่อตรวจสุขภาพ ณ ศูนย์ตรวจสุขภาพธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, และได้นำไปติดตั้งและใช้งานเพื่อตรวจคัดกรองผู้สงสัยติดเชื้อ COVID-19 ระลอกที่ 1 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี และใช้งานเพื่อตรวจและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ระลอกที่ 2 ณ โรงพยาบาลสนาม วัฒนาแฟคตอรี่ โดยโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และ โรงพยาบาลสนาม ตำบลท่าทราย โดยโรงพยาบาลสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

ติดต่อสอบถาม

ดร.อุดมชัย เตชะวิภู
ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส) appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro4-tissue-culture-bioreactor/ Fri, 05 Mar 2021 07:45:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10044 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         ปัจจุบัน ปัญหาอย่างหนึ่งในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ การขยายต้นกล้าพันธุ์ดีจากภาครัฐและภาคเอกชนออกไปสู่เกษตรกร  ซึ่งถ้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุสั้น มีการเจริญเติบโตทางยอดได้ง่าย สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือเมล็ดพันธุ์แท้ออกสู่ตลาดได้เลย ก็จะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรในประเทศไม่ยากนัก แต่หากเป็นพืชที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตช้า เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มอื่น พืชสมุนไพรบางชนิด หรือแม้กระทั่งแม้ยื่นต้นเนื้อแข็งบางชนิด ทีไม่สามารถใช้เมล็ดที่เกิดจากการผลมตัวเองออกไปเพาะเป็นต้นกล้าได้ เนื่องจากมีการกระจายตัวทางพันธุกรรมสูง  ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น จะมีความต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้นหรือเกิดการกลายพันธุ์ให้ลักษณะที่ต่างไปจากต้นพ่อแม่ รวมถึงมีต้นทุนในการจัดการสูง ทั้งในเรื่องของแรงงาน พื้นที่ และอุปกรณ์ในการผลิตต้นกล้าด้วยการเพาะเมล็ด ตัวอย่างเช่น การเพาะต้นกล้ามะพร้าวจากผลมะพร้าว นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังใช้พื้นที่และแรงงานในการจัดการดูแลสูงจำนวนต้นกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเมล็ดนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคเกษตรกรผู้ผลิต นอกจากนั้น ในพืชที่มีลักษณะแยกเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย เช่น อินทผาลัม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดก็มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้ต้นต้วผู้มากกว่าต้นตัวเมีย ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตอินทผาลัมเกิดความเสียหายเนื่องจากได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาดหมาย         ขณะนี้ ทางหน่วยวิจัยฯ ร่วมกับกับหน่วยการอื่น […]

The post เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต

วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        ปัจจุบัน ปัญหาอย่างหนึ่งในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ การขยายต้นกล้าพันธุ์ดีจากภาครัฐและภาคเอกชนออกไปสู่เกษตรกร  ซึ่งถ้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุสั้น มีการเจริญเติบโตทางยอดได้ง่าย สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือเมล็ดพันธุ์แท้ออกสู่ตลาดได้เลย ก็จะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรในประเทศไม่ยากนัก แต่หากเป็นพืชที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตช้า เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มอื่น พืชสมุนไพรบางชนิด หรือแม้กระทั่งแม้ยื่นต้นเนื้อแข็งบางชนิด ทีไม่สามารถใช้เมล็ดที่เกิดจากการผลมตัวเองออกไปเพาะเป็นต้นกล้าได้ เนื่องจากมีการกระจายตัวทางพันธุกรรมสูง  ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น จะมีความต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้นหรือเกิดการกลายพันธุ์ให้ลักษณะที่ต่างไปจากต้นพ่อแม่ รวมถึงมีต้นทุนในการจัดการสูง ทั้งในเรื่องของแรงงาน พื้นที่ และอุปกรณ์ในการผลิตต้นกล้าด้วยการเพาะเมล็ด ตัวอย่างเช่น การเพาะต้นกล้ามะพร้าวจากผลมะพร้าว นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังใช้พื้นที่และแรงงานในการจัดการดูแลสูงจำนวนต้นกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเมล็ดนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคเกษตรกรผู้ผลิต นอกจากนั้น ในพืชที่มีลักษณะแยกเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย เช่น อินทผาลัม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดก็มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้ต้นต้วผู้มากกว่าต้นตัวเมีย ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตอินทผาลัมเกิดความเสียหายเนื่องจากได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาดหมาย

        ขณะนี้ ทางหน่วยวิจัยฯ ร่วมกับกับหน่วยการอื่น ได้แก่ สวก. และ iTAB ได้พัฒนาโครงการต้นแบบเพื่อการพัฒนาต้นกล้าปาล์มและมะพร้าวพันธุ์ดีแบบก้าวกระโดด เพื่อการขยายผลออกสู่เกษตรกร โดยใช้ทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่มีอายุยาว เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้ จะเป็นการนำเอาเซลเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีดีเอ็นเอในการขยายพันธุ์พืชให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุน แรงงาน และร่นระยะเวลาทั้งการผลิตและปรับปรุงพันธุ์  เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศให้เกิดความมั่งคง มั่งคั่งและยั่งยืน

        ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชตระกูลปาล์ม เช่นปาล์มน้ำมัน มะพร้าว แม้กระทั่งอินทผาลัมนั้น ทางห้องปฏิบัติการฯจะเลือกใช้ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชที่กำลังมีการพัฒนา ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญ ใบอ่อน ช่อดอกอ่อน ตาข้าง มาฟอกฆ่าเชื้อและเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ ซึ่งมีธาตุอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโต (Plant growth regulator) บังคับให้เนื้อเยื่อมีการพัฒนาเป็นเซลหรือเนื้อเยื่อ รวมถึงเป็นต้นอ่อนที่มียอดและรากที่สมบูรณ์

        ปกติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนใหญ่จะใช้ระบบอาหารแข็งโดยมี gelling agent หรือวุ้น ในการชักนำให้เกิดกลุ่มเซลล์ที่สามารถพัฒนาไปเป็นต้นอ่อนได้ เรียกว่า แคลลัส (callus) และจึงพัฒนาเป็นต้นอ่อนสมบูรณ์ในสภาพปลอดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยทางหน่วยฯ ได้พัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันและมะพร้าว โดยใช้ระบบอาหารเหลวและนำเอาระบบ bioreactor มาเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อการลดต้นทุน แรงงาน เวลา ในการพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

         การนำเอาระบบอาหารเหลวมาใช้ร่วมกับระบบ bioreactor แบบกึ่งจม หรือ Temporary Immersion System (TIS) โดยมีหลักการการทำงานแบ่งเป็น 4  phases  ได้แก่

  1. Stationary phase : เนื้อเยื่อในระบบ อยู่ในสภาพปกติ โดยมี culture vessel ด้านบนที่มีเนื้อเยื่ออ และ media vessel ด้านล่างที่มีอาหารเหลว
  2. Immersion phase  เป็นระยะของการดันลมส่งให้อาหารเหลวใน vessel ด้านล่าง ขึ้นมาท่วมเนื้อเยื่อที่อยู่ใน vessel ด้านบน
  3. Drain phase  การปล่อยให้อาหารเหลวไหลกลับลงสู่ vessels  ด้านล่างตามแรงดึงดูดโลก
  4. Ventilation phase ระยะของการดันอากาศเข้าทาง vessels ด้านบน

         ซึ่งการนำเอาระบบ bioreactor นี้มาใช้ จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเป็น somatic embryo และพัฒนาเป็นต้น ( Plant regeneration) ได้รวดเร็วกว่าวิธีการใช้อาหารแข็งปกติประมาณ 3-4 เท่า นอกจากจะสามารถร่นระยะเวลาในการผลิตต้นอ่อนจากต้นแม่สายพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการในตลาดต้นกล้าแล้ว ยังสามารถควบคุมสารอาหารเพื่อกระตุ้นให้เกิดสารออกฤทธิ์ตามที่เราต้องการในพืชสมุนไพรบางชนิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นลดต้นทุน แรงงาน และเวลารวมถึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจไทยแบบก้าวกระโดดได้ในอนาคต

ติดต่อสอบถาม

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor appeared first on NAC2021.

]]>
ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/energy02-autonomous-golf-cart/ Fri, 05 Mar 2021 04:36:10 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9873 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ ความสำคัญของงานวิจัย โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous-Driving Vehicle Technology) เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายและความต้องการใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง ในอนาคตของประเทศไทย โดยเริ่มจากการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติสำหรับการใช้งานขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด (Geo-fenced Area) ที่มีการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมและสั่งการแบบอัตโนมัติเพื่อนำไปติดตั้งและบูรณาการเข้ากับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Platform) ซึ่งในโครงการได้เลือกใช้รถกอล์ไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนของระบบขับเคลื่อนน้อย และสามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีผู้ขับฉุกเฉิน (Emergency Driver) ทำหน้าที่ควบคุมรถในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น การทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ (Level-3) ดำเนินการในพื้นที่ Sandbox ซึ่งมีการรบกวนจากการจราจร ยวดยานอื่นๆ และผู้ร่วมใช้ถนนไม่หนาแน่น เพื่อที่จะประเมินความเป็นไปได้ในศึกษาการใช้งานของระบบควบคุมและสั่งการสำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ โดยระบบของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ระบบ Drive-By-Wire หรือเรียกว่าระบบควบคุมสั่งงานการขับขี่ (พวงมาลัย เบรก และคันเร่ง) ซึ่งจะสื่อสารด้วย Protocol CAN BUS ระบบนำทางอัตโนมัติ ในโครงการนี้ได้เลือกใช้เซ็นเซอร์นำทางแบบ Light Detection and […]

The post ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด appeared first on NAC2021.

]]>

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

ความสำคัญของงานวิจัย

          โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous-Driving Vehicle Technology) เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายและความต้องการใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง ในอนาคตของประเทศไทย โดยเริ่มจากการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติสำหรับการใช้งานขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด (Geo-fenced Area) ที่มีการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมและสั่งการแบบอัตโนมัติเพื่อนำไปติดตั้งและบูรณาการเข้ากับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Platform) ซึ่งในโครงการได้เลือกใช้รถกอล์ไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนของระบบขับเคลื่อนน้อย และสามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีผู้ขับฉุกเฉิน (Emergency Driver) ทำหน้าที่ควบคุมรถในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น การทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ (Level-3) ดำเนินการในพื้นที่ Sandbox ซึ่งมีการรบกวนจากการจราจร ยวดยานอื่นๆ และผู้ร่วมใช้ถนนไม่หนาแน่น เพื่อที่จะประเมินความเป็นไปได้ในศึกษาการใช้งานของระบบควบคุมและสั่งการสำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ โดยระบบของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก

  • ระบบ Drive-By-Wire หรือเรียกว่าระบบควบคุมสั่งงานการขับขี่ (พวงมาลัย เบรก และคันเร่ง) ซึ่งจะสื่อสารด้วย Protocol CAN BUS
  • ระบบนำทางอัตโนมัติ ในโครงการนี้ได้เลือกใช้เซ็นเซอร์นำทางแบบ Light Detection and Ranging (LiDAR) ที่ทำงานควบคู่กับ High Density Map แบบ 3 มิติ ที่จะต้องเตรียมการจัดทำไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมี Global Navigation Satellite System (GNSS) Receiver ติดตั้งไว้บนตัวรถ เพื่อใช้รับสัญญาณจากดาวเทียมระบุตำแหน่งตัวรถบนพื้นผิวโลกที่ทำงานร่วมกับ CORS Station เพื่อให้ได้ความแม่นยำในการระบุตำแหน่งของตัวรถในระดับเซ็นติเมตร ณ เวลาจริง โดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวางรอบตัวรถเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุการชนของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติกับสิ่งมีชีวิตมนุษย์ และวัตถุต่างๆ ซึ่งจะช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นๆ
  • ระบบจัดการฝูงรถ (Fleet Management System) ทำหน้าที่สื่อสารกับระบบนำทางอัตโนมัติของรถ โดยในโครงการนี้ได้ทดลองรถขับขี่อัตโนมัติเพียง 1 คัน ระบบดังกล่าวจึงจำกัดอยู่เพียง Application Program สำหรับค้นหาตำแหน่งรถ และเรียกรถให้มารับผู้โดยสารผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

ระบบ Drive-By-Wire

เซนเซอร์

กลไกควบคุมทิศทางรถ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (Autonomous Driving Technology Level#3) ที่มีความพร้อมสามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาต่อยอดใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง และโลจิสติกส์
  • เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่ต้องคำถึงตัวแปรและเงื่อนไขในเชิงพื้นที่ (Localized Constrains)
  • เทคโนโลยีที่มีความพร้อมนำไปใช้งานเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน (User) ยานยนต์ (Vehicle) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และสรรพสิ่งต่างๆ

เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (Autonomous Driving Technology Level#3)

ติดต่อสอบถาม

ดร. จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน
ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด appeared first on NAC2021.

]]>
การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro05-gene-editing/ Fri, 05 Mar 2021 04:27:45 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9875 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย         ปัจจุบันทางหน่วยฯ กำลังดำเนินการสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม (gene editing) ที่แม่นยำ โดยเริ่มจากการสร้างระบบการพัฒนาให้เกิดต้นจากเนื้อเยื่อพิทูเนีย และพัฒนาระบบการส่งถ่ายชุด ปรับแต่งพันธุ์กรรมเข้าสู่เซลล์พืชที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ยีนเรืองแสง (GFP) เป็น reporter gene ก่อน ซึ่งเป็นการปรับแต่งพันธุกรรมนี้ จะเอื้อประโยชน์ในการช่วยลดระยะเวลา ลดแรงงาน และต้นทุนในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ แล้วที่สำคัญยังช่วยให้ไม้ประดับ เป้าหมายมีลักษณะทางการตลาดที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในโครงการที่กำลังวิจัยเป็นการวิจัย โดยเลือกใช้พืชต้นแบบ ได้แก่ พิทูเนีย ซึ่งเป็นไม้หลายฤดู เจริญเติบโตเร็ว ออกดอกทั้งปี ดอกมีสีสันหลายลักษณะ เหมาะกับการนำมาศึกษาการออกแบบวิธีการปรับแต่งยีน ได้อย่างดี โดยยีนเป้าหมายที่กำลังศึกษาได้แก่ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสะสมของ รงควัตถุในกลีบดอก ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกลิ่นหอมแบบ กลิ่นของใบเตยในลำดับต้นและใบ ซึ่งหากเทคโนโลยีฐานนี้สำเร็จ คาดว่า นอกจากจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องาน functional genomics แล้วยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ […]

The post การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ appeared first on NAC2021.

]]>

การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

        ปัจจุบันทางหน่วยฯ กำลังดำเนินการสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม (gene editing) ที่แม่นยำ โดยเริ่มจากการสร้างระบบการพัฒนาให้เกิดต้นจากเนื้อเยื่อพิทูเนีย และพัฒนาระบบการส่งถ่ายชุด ปรับแต่งพันธุ์กรรมเข้าสู่เซลล์พืชที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ยีนเรืองแสง (GFP) เป็น reporter gene ก่อน ซึ่งเป็นการปรับแต่งพันธุกรรมนี้ จะเอื้อประโยชน์ในการช่วยลดระยะเวลา ลดแรงงาน และต้นทุนในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ แล้วที่สำคัญยังช่วยให้ไม้ประดับ เป้าหมายมีลักษณะทางการตลาดที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในโครงการที่กำลังวิจัยเป็นการวิจัย โดยเลือกใช้พืชต้นแบบ ได้แก่ พิทูเนีย ซึ่งเป็นไม้หลายฤดู เจริญเติบโตเร็ว ออกดอกทั้งปี ดอกมีสีสันหลายลักษณะ เหมาะกับการนำมาศึกษาการออกแบบวิธีการปรับแต่งยีน ได้อย่างดี โดยยีนเป้าหมายที่กำลังศึกษาได้แก่ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสะสมของ รงควัตถุในกลีบดอก ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกลิ่นหอมแบบ กลิ่นของใบเตยในลำดับต้นและใบ ซึ่งหากเทคโนโลยีฐานนี้สำเร็จ คาดว่า นอกจากจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องาน functional genomics แล้วยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เศรษฐกิจชนิดอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

        การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับแต่งพันธุกรรม (gene editing) นั้น มีองค์ประกอบอยู่ 4 ระบบ ได้แก่ ระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อพัฒนาให้เกิดต้น (Plant regeneration system), ระบบการส่งถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์ (genetic transformation system), ระบบการออกแบบเวกเตอร์สำหรับการปรับแต่งพันธุกรรม (vector designation system), และ ระบบประเมินและคัดเลือกต้นที่ได้รับการปรับแต่งพันธุกรรม (biological evaluation for edited plant system)  โดยทั้ง 4 ระบบจะทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบการพัฒนาให้เป็นต้นและการส่งถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์นั้นเป็นระบบพื้นฐานที่ช่วยส่งผลให้เวกเตอร์ที่เราออกแบบไว้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการประเมินและคัดเลือกต้นที่ได้รับการปรับแต่งพันธุกรรมนั้น เป็นระบบที่ใช้ตรวจสอบตำแหน่งของพันธุกรรมและยีนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อการแสดงออกของลักษณะเป้าหมายที่ต้องการได้

การพัฒนาให้เกิดต้นจากเนื้อเยื่อ แผ่นใบของพิทูเนีย

ลักษณะการแสดงออกของ reporter gene (GFP) ในต้นอ่อนพิทูเนียที่ได้รับการส่งถ่ายชุด ปรับแต่งพันธุกรรมเข้าสู่พันธุกรรมเข้าสู่เซลล์

ลักษณะการแสดงออกของยีน GFP แบบ stable expression ในใบของ transgenics พิทูเนีย

รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อพืชกับการแก้ปัญหาทางการเกษตร

ติดต่อสอบถาม

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ฺBIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ appeared first on NAC2021.

]]>
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro02-rice-gene/ Fri, 05 Mar 2021 04:12:21 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9872 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดารักษาการรองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตรผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ข้าวเพื่อความมั่นคง ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน   ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน            ข้าวเหนียว “พันธุ์ธัญสิริน” เกิดจากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความต้านทานโรคไหม้แบบกว้าง โดยการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข6 ที่ไม่ต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์แม่ และพันธุ์เจ้าหอมนิล ซึ่งมีความต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์พ่อ ตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคไหม้และคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือกร่วมกับ การปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐานแบบสืบประวัติ และมีการปลูกทดสอบและคัดเลือกความต้านทานต่อ โรคไหม้ ณ ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และในพื้นที่แปลงผลิตของเกษตรกร จนได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ไวต่อช่วงแสง แตกกอดี ใบยาวสีเขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรงกว่าพันธุ์ […]

The post การปรับปรุงพันธุ์ข้าว appeared first on NAC2021.

]]>

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา
รักษาการรองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ข้าวเพื่อความมั่นคง

ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน 

 ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน 

          ข้าวเหนียว “พันธุ์ธัญสิริน” เกิดจากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความต้านทานโรคไหม้แบบกว้าง โดยการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข6 ที่ไม่ต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์แม่ และพันธุ์เจ้าหอมนิล ซึ่งมีความต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์พ่อ ตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคไหม้และคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือกร่วมกับ การปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐานแบบสืบประวัติ และมีการปลูกทดสอบและคัดเลือกความต้านทานต่อ โรคไหม้ ณ ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และในพื้นที่แปลงผลิตของเกษตรกร จนได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ไวต่อช่วงแสง แตกกอดี ใบยาวสีเขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรงกว่าพันธุ์ กข6 ทนทานต่อการหักล้ม เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไหม้ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเปลือกสีน้ำตาล คุณภาพการขัดสีดีกว่าพันธุ์ กข6 คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนเหนียวนุ่ม ข้าวสุกเมื่อเย็นคงความนิ่ม เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค ได้รับพระราชทานชื่อพันธุ์จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “ธัญสิริน” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553

ข้าวเหนียวพันธุ์หอมนาคา

ข้าวเหนียวหอมนาคา

         ข้าวเหนียว “พันธุ์หอมนาคา” ได้จากการผสมระหว่างข้าวสายพันธุ์ RGD10033-77-MS22 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวสายพันธุ์ RGD11169-MS8-5 เป็นสายพันธุ์พ่อ ที่ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อปี 2556 จนได้ลูกผสมชั่วที่1 แล้วคัดเลือกลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง ลักษณะทรงต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว และลักษณะข้าวเหนียว โดยวิธีสืบประวัติร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก จากนั้นทำการปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร ณ จ.ลำปาง จ.พะเยา และ จ.เชียงราย โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เมื่อปี 2562 จนคัดเลือกได้ข้าวเหนียว “พันธุ์หอมนาคา” ซึ่งมีลักษณะขาวเหนียว กลิ่นหอม นุ่มเหนียวเมื่อหุงสุก ทนน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้นสูงปานกลาง ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 930 กิโลกรัมต่อไร่

ข้าวสายพันธุ์ใหม่เพื่อการส่งออก

ข้าวเจ้าพันธุ์หอมจินดา

ข้าวเจ้าพันธุ์หอมจินดา 

        ข้าวเจ้า “พันธุ์หอมจินดา” ได้จากการผสมข้ามพันธุ์แบบดั้งเดิมระหว่างข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวสายพันธุ์ RGD07097-1-MAS-8-9-0-0 เป็นสายพันธุ์พ่อ ณ ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกในปี พ.ศ. 2561 และ 2562 ได้ปลูกทดสอบและคัดเลือกร่วมกับมูลนิธิรวมใจพัฒนา แล้วประเมิณลักษณะคุณภาพการหุงต้มทางกายภาพและทางเคมี ณ ทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม จนคัดเลือกได้ข้าวเจ้าหอมนุ่ม“พันธุ์หอมจินดา” ซึ่งมีลักษณะเมล็ดมีกลิ่นหอม นุ่ม ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้นสูงปานกลางให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 838 กิโลกรัมต่อไร่

ข้าวเจ้าพันธุ์ธัญญา6401

ข้าวพันธุ์ธัญญา6401

      ข้าวพันธุ์ “ธัญญา6401” (RGD12123-B-MS178-MS2-1-1-RJP-1-1-B-B) เป็นข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุปานกลาง ทรงต้นตั้งตรง ลำต้นแข็งแรง แตกกอดี ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง (มียีน xa5+xa33+Wxb) คุณภาพหุงต้มนุ่ม

      ข้าวสายพันธุ์นี้ ได้จากการผสมข้ามระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์ กข47 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวเจ้าสายพันธุ์ปรับปรุง RGD07097-1-MAS-8-9 (มียีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง xa5+Xa21+xa33+Wxb) เป็นสายพันธุ์พ่อ จากนั้นคัดเลือกยีนเป้าหมายด้วยเครื่องหมายโมเลกุล และทำควบคู่กับการคัดลักษณะทรงต้นและผลผลิตไปพร้อมกัน จนได้สายพันธุ์ปรับปรุงที่มียีนคงตัว และทำการทดสอบผลผลิตและทดสอบความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ก่อนนำไปปลูกคัดเลือกประเมินลักษณะผลผลิตภายในสถานีวิจัยรวมใจพัฒนา ในปี 2560 และ 2561 จากนั้นทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีการปรับตัวได้ดี และทำการปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร ณ จ.สุพรรณบุรี และ จ.นนทบุรี ปี 2561 และ 2562 พบว่า สายพันธุ์ RGD12123-B-MAS-178-MAS-2-1-1-RJP-1-1-B-B) เป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดี ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 750-800 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง จึงทำการปลูกขยายและผลิตเมล็ดพันธุ์

ข้าวสรรพสี

จากข้าวไรซ์เบอร์รี่สู่ข้าวสรรพสี

ข้าวสรรพสี

      เมื่อปี พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ทำการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง พันธุ์พ่อ ‘ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว’ กับ พันธุ์แม่ ‘ข้าวก่ำหอมนิล’ จากนั้นทำการคัดเลือกต้น F2 โดยเน้นจากความหลากหลายของเฉดสีบนแผ่นใบ รูปร่างใบ ขนาดใบ ซึ่งพบการกระจายตัวของสีใบตั้งแต่เขียวสลับขาว ชมพู ม่วง คัดเลือกลักษณะทรงต้นที่ดี สีใบและรูปร่างใบ มีความสม่ำเสมอ เพื่อเลือกสายพันธุ์ที่เป็นตัวแทนแต่ละเฉดสีใบจากรุ่น F2 ที่ดีที่สุด จนในปี 2558-2559 ได้ข้าวสรรพสีที่มีสีของใบแตกต่างกัน ความสูงต่างกัน ทรงกอตั้ง ไม่ไวแสง อายุยาว จำนวน 5 สายพันธุ์

ประกอบด้วย
1. สายพันธุ์ใบสีชมพูทับทิมต้นสูง (สรรพสี 01),
2. ใบสีชมพูทับทิมต้นเตี้ย (สรรพสี 02),
3. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นสูง (สรรพสี 03),
4. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นเตี้ย (สรรพสี 04)
5. ใบสีขาว (สรรพสี 05)

       รงควัตถุที่พบในข้าวสรรพสี คือ anthocyanin ที่สะสมอยู่จนทำให้ใบและทุกส่วนของก้านดอกข้าว มีสีสวยงามตั้งแต่ม่วงไปจนถึงชมพู anthocyanin ที่พบในข้าวสรรพสี มีส่วนผสมกันของ cyaniding-3-glucoside (สีส้ม-แดง), peonidin-3-glucoside (สีส้ม-แดง), peargomidin-3-glucoside (สีส้ม) และ delphinidin-3-glucoside (สีน้ำเงิน-แดง)
สาร anthocyanin เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดในข้าว เพราะมีปริมาณมากที่สุดและสามารถละลายน้ำได้ ถูกดูดซึมได้ง่าย การบริโภคข้าวกล้องที่มีสี รวมทั้งผักและผลไม้ที่มีสี จึงช่วยลดสภาวะ Oxidative stress ภายในเซลล์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น anthocyanin ยังเป็นสารกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในเส้นเลือดแดง โดยเฉพาะเส้นเลือดฝอย ต่อต้านการสะสมไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้

เครือข่ายพันธมิตร

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การปรับปรุงพันธุ์ข้าว appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro16-chelate-fertilizer/ Fri, 05 Mar 2021 04:12:02 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9871 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย การปลูกพืชนั้น หากดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ นอกจากการเติมปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K แล้ว การเติมธาตุอาหารเสริม (Micronutrients) ให้แก่พืชก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน พืชที่ขาดธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี คลอรีน หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะแสดงความผิดปกติออกทางส่วนต่างๆ และส่งผลสำคัญต่อผลผลิตของพืชด้วย โดยทั่วไปการเติมธาตุอาหารเสริมทางดินนั้น ไม่ค่อยได้ผลดีเนื่องจากธาตุอาหารตกตะกอนในดินได้ง่าย พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ นาโนเทค สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาสารคีเลตของธาตุอาหารพืช ซึ่งสารคีเลตนี้เป็นสารอินทรีย์เพื่อใช้ฉีดพ่นให้กับพืชทางใบ เป็นวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาการตกตะกอน และการสูญเสียธาตุอาหารเสริมทางดิน โดยเมื่อฉีดพ่นสารคีเลตซึ่งมีคุณสมบัติช่วยพาธาตุอาหารเข้าสู่พืชได้ง่ายขึ้นแล้ว พืชจะสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี สารละลายธาตุอาหารสำหรับใช้ในการปลูกพืชแบบไร้ดินหรือใช้ฉีดทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือบำรุงรักษาต้นไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งสารละลายนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีความเสถียรในการเก็บ เนื่องจากไม่สลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนให้กับพืช ทดแทนการใช้สารสังเคราะห์ เช่น EDTA สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดินนี้ ประกอบด้วยสารอาหารจุลธาตุอาหารพืชเหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบหรือใช้ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหารหลักทางราก โดยสารละลายจุลธาตุดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ข้อดีของนวัตกรรมปุ๋ยคีเลตนี้ • […]

The post นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ)

นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

        การปลูกพืชนั้น หากดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ นอกจากการเติมปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K แล้ว การเติมธาตุอาหารเสริม (Micronutrients) ให้แก่พืชก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน

        พืชที่ขาดธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี คลอรีน หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะแสดงความผิดปกติออกทางส่วนต่างๆ และส่งผลสำคัญต่อผลผลิตของพืชด้วย โดยทั่วไปการเติมธาตุอาหารเสริมทางดินนั้น ไม่ค่อยได้ผลดีเนื่องจากธาตุอาหารตกตะกอนในดินได้ง่าย พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ นาโนเทค สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาสารคีเลตของธาตุอาหารพืช ซึ่งสารคีเลตนี้เป็นสารอินทรีย์เพื่อใช้ฉีดพ่นให้กับพืชทางใบ เป็นวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาการตกตะกอน และการสูญเสียธาตุอาหารเสริมทางดิน โดยเมื่อฉีดพ่นสารคีเลตซึ่งมีคุณสมบัติช่วยพาธาตุอาหารเข้าสู่พืชได้ง่ายขึ้นแล้ว พืชจะสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

สารละลายธาตุอาหารสำหรับใช้ในการปลูกพืชแบบไร้ดินหรือใช้ฉีดทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือบำรุงรักษาต้นไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งสารละลายนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีความเสถียรในการเก็บ เนื่องจากไม่สลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนให้กับพืช ทดแทนการใช้สารสังเคราะห์ เช่น EDTA สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดินนี้ ประกอบด้วยสารอาหารจุลธาตุอาหารพืชเหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบหรือใช้ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหารหลักทางราก โดยสารละลายจุลธาตุดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อดีของนวัตกรรมปุ๋ยคีเลตนี้

• เพิ่มจุดเด่นและความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์
• เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของพืช
• เพิ่มการดูดซึมธาตุอาหารทางปากใบ
• เพิ่มกรดอะมิโนให้แก่พืช
• เพิ่มความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
• ลดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยเคมีที่เกินความจำเป็น
• ลดปัญหาการตกตะกอนของสารละลายคีเลต
• ลดความเป็นอันตรายจากการใช้สารสังเคราะห์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
คำขออนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 1503000472
เรื่อง สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดิน
ยืนคำขอ วันที่ 1 เมษายน 25581

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) appeared first on NAC2021.

]]>
การเสวนา เปิดคัมภีร์ “101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง” บ่มเพาะตรงจุด มีกลยุทธ์โดนใจ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/101-mentor-scientist-secret/ Thu, 04 Mar 2021 15:18:05 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11294 การเสวนา เปิดคัมภีร์ “101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง” บ่มเพาะตรงจุด มีกลยุทธ์โดนใจ และเปิดตัวหนังสือ 101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง 26 มีนาคม 2564 เวลา 09:30 – 12:00 น.         โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน หรือ JSTP (Junior Science Talent Project) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีเป้าหมายในการสร้างหัวรถจักรให้กับประเทศโดยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ ได้ฝึกทักษะวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ยังเยาว์วัย เพื่อก้าวสู่การเป็นนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำต่อไปในอนาคต         โครงการได้จัดทำหนังสือ “101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง” นำเสนอตัวอย่างและวิธีการบ่มเพาะเยาวชนโดยนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง ให้ที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางสายวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย รวมถึงเยาวชนรุ่นต่อๆ ไปให้มีใจใฝ่รักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยยกตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงที่ทุ่มเท เสียสละ ร่วมกันบ่มเพาะเยาวชน ได้เดินทางตามความฝันจนจบการศึกษาและกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=kbYFhOFmF_c กำหนดการ วันที่ 26 มีนาคม 2564 […]

The post การเสวนา เปิดคัมภีร์ “101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง” บ่มเพาะตรงจุด มีกลยุทธ์โดนใจ appeared first on NAC2021.

]]>

การเสวนา เปิดคัมภีร์ “101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง” บ่มเพาะตรงจุด มีกลยุทธ์โดนใจ และเปิดตัวหนังสือ 101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง

26 มีนาคม 2564 
เวลา 09:30 – 12:00 น.

        โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน หรือ JSTP (Junior Science Talent Project) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีเป้าหมาย
ในการสร้างหัวรถจักรให้กับประเทศโดยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ ได้ฝึกทักษะวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ยังเยาว์วัย เพื่อก้าวสู่การเป็นนักวิจัย/
นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำต่อไปในอนาคต

        โครงการได้จัดทำหนังสือ “101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง” นำเสนอตัวอย่างและวิธีการบ่มเพาะเยาวชนโดยนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง ให้ที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางสายวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย รวมถึงเยาวชนรุ่นต่อๆ ไปให้มีใจใฝ่รักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยยกตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงที่ทุ่มเท เสียสละ ร่วมกันบ่มเพาะเยาวชน ได้เดินทางตามความฝันจนจบการศึกษาและกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00 – 09.30 น.

ลงทะเบียนออนไลน์เข้าร่วมงาน

09.30 – 12.00 น.

การเสวนา เปิดคัมภีร์ “101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง” บ่มเพาะตรงจุด มีกล ยุทธ์โดนใจ และเปิดตัวหนังสือ 101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง
กล่าวเปิดตัวหนังสือ โดย
ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ประธานโครงการ JSTP และ อดีตรองนายกรัฐมนตรี

การเสวนา เปิดคัมภีร์ “101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง” บ่มเพาะตรงจุด มีกลยุทธ์โดนใจ และเปิดตัวหนังสือ 101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง 
โดย
อ.นิพนธ์ ศรีนฤมล อดีตครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ดร.ธีรวิทย์ วิไลประสิทธิ์พร สถาบันวิทยสิริเมธี
ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คุณปริทัศน์ เทียนทอง นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การเสวนา เปิดคัมภีร์ “101 เคล็ดลับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง” บ่มเพาะตรงจุด มีกลยุทธ์โดนใจ appeared first on NAC2021.

]]>
วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro09-vippro/ Thu, 04 Mar 2021 10:27:13 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9154 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)      วิปโปร (VipPro) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากโปรตีน Vip3A (Vegetative insecticidal protein) ซึ่งเป็นโปรตีนฆ่าแมลงที่พบได้ในบีที (Bacillus thuringiensis) บางสายพันธุ์ โปรตีนชนิดนี้จะถูกสร้างและหลั่งออกนอกเซลล์ในระยะที่เซลล์กำลังเจริญก่อนเข้าสู่การสร้างสปอร์ บีทีต่างสายพันธุ์สามารถสร้างโปรตีน Vip3A ได้แตกต่างกันและออกฤทธิ์ต่อแมลงได้ต่างกัน โปรตีนกลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ฆ่าหนอนแมลงในกลุ่มหนอนผีเสื้อและหนอนผีเสื้อกลางคืน (Lepidoptera) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูหลักของพืชเกือบทุกชนิด โดยมีค่า LD50 ใกล้เคียงกับ Cry toxin ซึ่งเป็นโปรตีนผลึกสร้างโดยบีทีและมีใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน      โปรตีน Vip3A สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อ Cry toxin ได้อย่างดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์และการจดจำตัวรับ (receptor) ที่แตกต่างกัน จากการค้นหา Vip3A ตัวใหม่จากบีทีสายพันธุ์ที่คัดแยกได้ในประเทศไทยจำนวนมากกว่า 500 ตัวอย่าง เราได้โปรตีนที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua) และหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด […]

The post วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช

วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

     วิปโปร (VipPro) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากโปรตีน Vip3A (Vegetative insecticidal protein) ซึ่งเป็นโปรตีนฆ่าแมลงที่พบได้ในบีที (Bacillus thuringiensis) บางสายพันธุ์ โปรตีนชนิดนี้จะถูกสร้างและหลั่งออกนอกเซลล์ในระยะที่เซลล์กำลังเจริญก่อนเข้าสู่การสร้างสปอร์ บีทีต่างสายพันธุ์สามารถสร้างโปรตีน Vip3A ได้แตกต่างกันและออกฤทธิ์ต่อแมลงได้ต่างกัน โปรตีนกลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ฆ่าหนอนแมลงในกลุ่มหนอนผีเสื้อและหนอนผีเสื้อกลางคืน (Lepidoptera) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูหลักของพืชเกือบทุกชนิด โดยมีค่า LD50 ใกล้เคียงกับ Cry toxin ซึ่งเป็นโปรตีนผลึกสร้างโดยบีทีและมีใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน

     โปรตีน Vip3A สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อ Cry toxin ได้อย่างดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์และการจดจำตัวรับ (receptor) ที่แตกต่างกัน จากการค้นหา Vip3A ตัวใหม่จากบีทีสายพันธุ์ที่คัดแยกได้ในประเทศไทยจำนวนมากกว่า 500 ตัวอย่าง เราได้โปรตีนที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua) และหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Spodoptera frugiperda) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญและก่อความเสียหายอย่างมากกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดของประเทศไทย

จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)

         จุดเด่นของชีวภัณฑ์ VipPro คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างเร็ว (ทำให้แมลงหยุดกินอาหารภายในหนึ่งชั่วโมง) ลดความสูญเสียและร่องรอยตำหนิบนใบพืช ออกฤทธิ์เสริม (synergism) กับชีวภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไวรัสเอนพีวี (NPV) ราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) และโปรตีนผลึกจากบีที (Cry toxins) ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ชีวภัณฑ์เหล่านั้นอย่างน้อยสิบเท่าเมื่อใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ VipPro และสามารถใช้ได้กับแมลงที่ดื้อต่อสารเคมีหรือดื้อต่อโปรตีนผลึก ผลการทดสอบภาคสนามกับพืชหลายชนิด เช่น ข้าว คะน้า หอมแดง หน่อไม้ฝรั่ง พบว่าผลิตภัณฑ์ VipPro สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชใด้ดีมากในทุกแปลงทดสอบ ได้ผลผลิตเทียบเท่ากับการใช้สารเคมี

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

“วิปโปร” ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช​

  • VipPro ออกฤทธิ์ต่อแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนผีเสื้อและผีเสื้อกลางคืนได้หลายชนิด ซึ่งแมลงเหล่านี้เป็นแมลงศัตรูพืชที่ก่อความเสียหายอย่างมากต่อพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลก
  • VipPro สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อยาฆ่าแมลง และแมลงที่ดื้อต่อโปรตีนผลึกของบีที
  • VipPro สามารถออกฤทธิ์เสริม (synergism) กับชีวภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไวรัสเอนพีวี ราบิวเวอเรีย โปรตีนผลึกจากบีที ดังนั้นจึงเหมาะในการใช้ในโปรแกรมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated pest management: IPM)

การประยุกต์ใช้งาน

     ใช้ฉีดพ่นในแปลงพืชผักผลไม้ เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนผีเสื้อทั้งผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืนที่เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก เช่น หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หนอนใยผัก หนอนคืบ เป็นต้น

ทดสอบกับหน่อไม้ฝรั่ง

หนอนที่ตายจากการกิน VipPro

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการด้านการเกษตร เช่น ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
  • เกษตรกรผู้ปลูกพืชที่เน้นการผลิตแบบปลอดภัย (GAP) และเกษตรอินทรีย์

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการด้านการเกษตร ที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อส่งเสริมการเกษตรปลอดภัย ไร้สารพิษ
  • นักลงทุนที่สนใจ

สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์

     มีต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการและระดับก่อนโรงงานต้นแบบ (Pre-pilot scale) รอผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาเป็นระดับโรงงานต้นแบบและการผลิตเชิงพาณิชย์

ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชเพื่อเกษตรปลอดภัย

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro003-tomato/ Thu, 04 Mar 2021 10:07:44 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9055 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลผลมีเนื้อหลายเมล็ด อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด         มะเขือเทศในประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์ มะเขือเทศท้อผลใหญ่และมะเขือเทศสีดา นิยมนำไปผ่านกระบวนการแปรรูป  เช่น ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ  และมะเขือเทศเชอรี่ นิยมรับประทานผลสดล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณทางด้านโภชนาการมากมาย เนื่องจากมีสารไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งไลโคปีน คือสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ อันมีสาเหตุมาจากเซลล์ถูกทำลาย เช่น โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในด้านการบำรุงผิวพรรณ รักษาสิว เป็นต้น   […]

The post มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง appeared first on NAC2021.

]]>

มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์
ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลผลมีเนื้อหลายเมล็ด อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด

        มะเขือเทศในประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์ มะเขือเทศท้อผลใหญ่และมะเขือเทศสีดา นิยมนำไปผ่านกระบวนการแปรรูป  เช่น ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ  และมะเขือเทศเชอรี่ นิยมรับประทานผลสดล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณทางด้านโภชนาการมากมาย เนื่องจากมีสารไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งไลโคปีน คือสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ อันมีสาเหตุมาจากเซลล์ถูกทำลาย เช่น โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในด้านการบำรุงผิวพรรณ รักษาสิว เป็นต้น

      ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้ามะเขือเทศสดและแปรรูปจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20 ล้านตัน รวมมูลค่ากว่า 600 ล้านบาท แม้ว่ามะเขือเทศสามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคในประเทศไทย โดยนิยมเพาะปลูกมากที่จังหวัด เชียงใหม่ สกลนคร เพชรบุรี เป็นต้น แต่เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชที่เกิดการระบาดของโรคได้ง่ายหากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศไม่เหมาะสม โดยโรคที่พบมากในมะเขือเทศ ได้แก่ โรคใบหงิกเหลือง โรคเหี่ยวเขียว โรคใบไหม้ และโรคผลเน่า อีกทั้งยังมีแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายได้ตลอดอายุการเพาะปลูก จึงต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดีทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง ดังนั้นนักวิจัยจากทีมวิจัยไวรัสพืชและแบคทีรีโอฟาจ ไบโอเทค สวทช. จึงได้ปรับปรุงสายพันธุ์มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ ให้มีความต้านทานโรคต่าง ๆ ทั้งโรคใบหงิกเหลือง โรคเหี่ยวเขียว และโรครากปม รวมถึงมีรสชาติดีอีกด้วย

มะเขือเทศสายพันธุ์แดงโกเมน (PC3) และสายพันธุ์ซันไชน์ (PC11)

มะเขือเทศสายพันธุ์แดงโกเมน (PC3)

มะเขือเทศสายพันธุ์สายพันธุ์ซันไชน์ (PC11)

        มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 พันธุ์นี้เกิดจากการนำมะเขือเทศพันธุ์ Snack slim 502 (พัฒนาพันธุ์โดยผศ. ถาวร โกวิทยากร) ซึ่งมีรสหวานกรอบ แต่ข้อเสียคือไม่ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง มาผสมพันธุ์กับ มะเขือเทศพันธุ์ GT645-2 (พันธุ์จากบริษัท Semillas Tropicales) ซึ่งมียีนต้านทานโรคใบหงิกเหลือง และนำมาผสมกลับ  (backcross) กับมะเขือเทศพันธุ์ Snack slim 502 ที่แปลงปลูก บริษัท ที เค อาร์ แอนด์ ดี จำกัด จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2553-2558 โดยใช้เทคนิค Marker Assisted Selection ร่วมกับวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบเดิม และคัดเลือกต้นมะเขือเทศที่มียีนต้านทานโรคด้วย SCAR (Sequence Characterized Amplified Region) DNA Marker ช่วยให้คัดเลือกได้อย่างแม่นยำ และใช้เวลาในการคัดเลือกสั้นลง

จุดเด่น

  1. ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลืองในระดับดี 
  2. ผลหวานกรอบ และเมล็ดน้อย 
  3. สามารถเพาะปลูกได้ทั่วประเทศ นิยมปลูกในภาคเหนือโดยเฉพาะช่วงเดือนกันยายน 
  4. ให้ผลผลิตสูง ประมาณ 5 ตันต่อไร่ 
  5. ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชกับกรมวิชาการเกษตรแล้ว 
  6. ปัจจุบันได้ถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่บริษัทเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงการค้าและถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการผลิตผลสดต่อไป

*ความหวานหน่วย brix มีระดับความเข้มข้น 1 บริกซ์ เท่ากับน้ำตาลซูโครส 1 กรัม ในสารละลาย 100 กรัม

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน มะเขือเทศลูกเล็กต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

มะเขือเทศลูกเล็กที่ทานสดอย่างพันธุ์ Snack-Slim 502 กำลังได้รับความนิยมมาก เพราะทั้งหวานกรอบและมีวิตามินซีสูง แต่มะเขือเทศพันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคใบหงิกเหลือง เวลาเกิดโรคทีเสียหายกันทั้งแปลง นักวิจัยไทยจึงได้ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ที่กรอบอร่อยเหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมด้วยคุณสมบัติต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

ติดต่อสอบถาม

ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์
ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

The post มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง appeared first on NAC2021.

]]>
AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro14-agritec-station/ Thu, 04 Mar 2021 09:42:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9117 ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)          สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร หรือ สท. เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตร ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น         บทบาทของสำคัญ สท. คือการเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น         หนึ่งในกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ การพัฒนาจุดเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 56แห่ง ใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ (48 อำเภอ) ประกอบด้วย 1) ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ 2)ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพ […]

The post AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน appeared first on NAC2021.

]]>

AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน

AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์
รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

         สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร หรือ สท. เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตร ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

        บทบาทของสำคัญ สท. คือการเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

        หนึ่งในกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ การพัฒนาจุดเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 56แห่ง ใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ (48 อำเภอ) ประกอบด้วย 1) ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ 2)ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพ นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง กาญจนบุรี เพชรบุรี 3) ภาคอีสาน ได้แก่ เพชรบูรณ์  ร้อยเอ็ด  เลย  กาฬสินธุ์ สุรินทร์  อุบลราชธานี  นครพนม ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา อุดรธานี 4) ภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี ชลบุรี  ฉะเชิงเทรา 5) ภาคใต้ ได้แก่ พัทลุง โดยแบ่ง 3 ระดับคือ ระดับชุมชน 48 แห่ง ระดับภูมิภาค 7 แห่ง และสถานีเรียนรู้กลาง 1 แห่ง หรือที่เรียกว่า AGRITEC Station ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งเป็นแปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ

        AGRITEC Station คือ แปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเยี่ยมชมได้ โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ทาง facebook สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

AGRITEC Station Journey

แนะนำ AGRITEC Station แปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร
โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี

ติดต่อสอบถาม

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

The post AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/food14-food-machine/ Thu, 04 Mar 2021 08:17:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9036 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อัมพร โพธิ์ใยศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)         ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม(DECC)ได้ดำเนินโครงการด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการพัฒนาเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร (Food Machine) มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การวิเคราะห์ การกระจายตัวของอณุหภูมิ และ Ventilation ภายในตู้ อบลมร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิต ลดระยะเวลาในการทำอุณหภูมิและลดปริมาณการใช้พลังงาน การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต          โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น, การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องตัดแต่งข้าวโพดอ่อน เพื่อให้ได้ความยาวตามขนาดที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น   การพัฒนาเครื่องหั่นมะม่วงอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ขนาดของชิ้นมะม่วงที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน […]

The post นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine) appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine)

นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อัมพร โพธิ์ใย
ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)

        ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม(DECC)ได้ดำเนินโครงการด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการพัฒนาเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร (Food Machine) มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การวิเคราะห์ การกระจายตัวของอณุหภูมิ และ Ventilation ภายในตู้ อบลมร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิต ลดระยะเวลาในการทำอุณหภูมิและลดปริมาณการใช้พลังงาน

การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น

เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น

การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า

เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต

         โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น, การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องตัดแต่งข้าวโพดอ่อน เพื่อให้ได้ความยาวตามขนาดที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น   การพัฒนาเครื่องหั่นมะม่วงอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ขนาดของชิ้นมะม่วงที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น

การพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบสำหรับหั่นชิ้นปลาอินทรีย์

เพื่อให้ได้ขนาดและน้ำหนักของชิ้นปลาตามมาตรฐาน เพื่อลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา เพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น

การพัฒนาเครื่องตัดแต่งข้าวโพดอ่อน

เพื่อให้ได้ขนาดของชิ้นมะม่วงที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น

          จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของ DECC ในการออกแบบ วิเคราะห์ ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรอาหารให้กับผู้ประกอบการทั้งขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง DECC จึงเล็งเห็นความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาเพื่อยกระดับผู้ประกอบการไมโคร SMEs เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเศรษฐกิจฐานราก โดยการนำ วทน. เข้ามาช่วยยกระดับมาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร สุขอนามัยและความสะอาดของร้านและผู้ปรุงอาหาร รวมถึงคุณภาพของการให้บริการ ให้สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้ก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ของรัฐบาล DECC จึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการยกระดับ Thai Street Food โดยเริ่มจากการออกแบบพัฒนาอุปกรณ์ในการประกอบอาหารสำหรับผู้ค้าขายอาหารริมทาง ได้แก่ เตาปิ้งย่าง และ รถเข็นนวัตกรรมรักษ์โลก

รถเข็นนวัตกรรมรักษ์โลก

        เพื่อยกระดับสตรีทฟู้ดไทยให้ได้มาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัย ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ถูกสุขลักษณะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ติดต่อสอบถาม

คุณปวริศา นาคจู
ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine) appeared first on NAC2021.

]]>
โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss16-herb-chinese-market/ Wed, 03 Mar 2021 12:28:52 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3538 โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 Chance of Thai Herbal Products in China Market : Post COVID-19        จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2019 และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน เกิดภาวะความเครียด ความตื่นกลัวไปทั่วโลก ประชาชนจำนวนไม่น้อยหันมาให้ความสนใจในการดูแลตัวเอง รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เริ่มมองหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือสมุนไพรที่มาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค รักษาโรค รวมถึงดูแลภาวะทางอารมณ์มากขึ้น          ในวิกฤติดังกล่าว นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีองค์ความรู้ในการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพมาอย่างยาวนาน เนื่องจากเราเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เราส่งออกสารสกัดจากพืชมากที่สุดในอาเซียน การเติบโตของตลาดสมุนไพรจึงเป็นที่น่าสนใจ และเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม การได้เรียนรู้ความต้องการ พฤติกรรม และวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในประเทศจีน จึงมีความจำเป็น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าที่ตอบสนอง และสื่อสารได้ตรงกับความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด […]

The post โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 appeared first on NAC2021.

]]>

โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19

โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19

Chance of Thai Herbal Products in China Market : Post COVID-19

       จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2019 และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน เกิดภาวะความเครียด ความตื่นกลัวไปทั่วโลก ประชาชนจำนวนไม่น้อยหันมาให้ความสนใจในการดูแลตัวเอง รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เริ่มมองหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือสมุนไพรที่มาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค รักษาโรค รวมถึงดูแลภาวะทางอารมณ์มากขึ้น 

        ในวิกฤติดังกล่าว นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีองค์ความรู้ในการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพมาอย่างยาวนาน เนื่องจากเราเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เราส่งออกสารสกัดจากพืชมากที่สุดในอาเซียน การเติบโตของตลาดสมุนไพรจึงเป็นที่น่าสนใจ และเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม การได้เรียนรู้ความต้องการ พฤติกรรม และวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในประเทศจีน จึงมีความจำเป็น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าที่ตอบสนอง และสื่อสารได้ตรงกับความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด

      ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี จึงกำหนดจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19” (Chance of Thai Herbal Products in China Market : Post COVID-19) เพื่อเป็นการจุดประกาย เปิดมุมมอง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Data Analysis การใช้ประโยชน์จาก Big Data ในการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

13.30 – 14.30 น.

Big Data Analysis : Global Economic Landscape

โดย คุณพลเทพ มาศรังสรรค์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท Build a Box จำกัด

14.30 – 15.30 น.

Big Data Analysis : A Tool of New Business Era

โดย คุณธนิศร์ พิริยะโภคานนท์
Co-Founder บริษัท Backyard จำกัด

15.30 น.

จบการสัมมนา และ networking

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 appeared first on NAC2021.

]]>
รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss26-chronic-kidney-disease/ Wed, 03 Mar 2021 11:46:41 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4387 รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี        “โรคไตเรื้อรัง” เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล อีกทั้งยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขของประเทศ มากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท ตามสถิติของกรมการแพทย์ ปี 2561 พบคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังสูงถึง 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านทางช่องท้อง) ประมาณ 100,000 คน ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 15 ถึง 20 ต่อปี         สวทช.ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เล็งเห็นถึงความสำคัญ และได้สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ทั้งในเชิงป้องกัน คัดกรอง และการรักษา เช่น การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองความแม่นยำสูงเพื่อประเมินสภาวะของไต  การพัฒนาเครื่องมือแพทย์อัตโนมัติที่ใช้ในกระบวนการรักษาบำบัดทดแทนไต เป็นต้น         การสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจทั้งภาคประชาชน สถาบันการศึกษา […]

The post รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี appeared first on NAC2021.

]]>

รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี

       “โรคไตเรื้อรัง” เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล อีกทั้งยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขของประเทศ มากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท ตามสถิติของกรมการแพทย์ ปี 2561 พบคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังสูงถึง 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านทางช่องท้อง) ประมาณ 100,000 คน ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 15 ถึง 20 ต่อปี

        สวทช.ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เล็งเห็นถึงความสำคัญ และได้สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ทั้งในเชิงป้องกัน คัดกรอง และการรักษา เช่น การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองความแม่นยำสูงเพื่อประเมินสภาวะของไต  การพัฒนาเครื่องมือแพทย์อัตโนมัติที่ใช้ในกระบวนการรักษาบำบัดทดแทนไต เป็นต้น

        การสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจทั้งภาคประชาชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมรับฟังข้อมูลที่บูรณาการความรู้ในหลายหลายสาขา เพื่อ “ป้องกัน” และ “รับมือ” ภาวะโรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามามีบทบาท พร้อมกับข้อมูลสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงการรักษา เพื่อนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง สมาชิกในครอบครัว ได้อย่างเหมาะสม

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ วันที่ 25 มีนาคม 2564

ดำเนินรายการโดย :
1) ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2) ดร.วงศกร พูนพิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่

13.30-13.40 น.

กล่าวต้อนรับ

โดย ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.40 – 14.25  น.

ความก้าวหน้าด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันโรคไตเรื้อรัง

โดย
1) ศ.นพ.ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์
หน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2) นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

14.25 – 14.30 น.

พัก

14.30 – 14.50 น.

การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง

โดย รศ.นพ.โอภาส ไตรตานนท์
อายุรศาสตร์โรคไต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.50-15.10 น.

เพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยเครื่องล้างไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติฝีมือคนไทย

โดย ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

15.10-15.30 น.

สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพเมื่อเผชิญหน้ากับโรคไตเรื้อรัง

โดย นพ.จักรกริช โง้วศิริ
รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี appeared first on NAC2021.

]]>
NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss20-narlabs-nstda-joint-research-program/ Wed, 03 Mar 2021 09:16:55 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4240 NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session)         NARLabs and NSTDA have close collaborations in Science, Technology and Innovation (STI). The forms of collaboration include network meeting, scientific workshop, joint research activity, and established overseas office. After the signing of NARLabs-NSTDA Memorandum of Understanding on […]

The post NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session) appeared first on NAC2021.

]]>

NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day

NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session)

        NARLabs and NSTDA have close collaborations in Science, Technology and Innovation (STI). The forms of collaboration include network meeting, scientific workshop, joint research activity, and established overseas office. After the signing of NARLabs-NSTDA Memorandum of Understanding on December 1st, 2018, both institutes jointly organized a workshop to develop proposals based on mutual research interest. To further strengthen collaboration, The NARLabs- NSTDA Joint Research Program was initiated first time in 2020 under Framework Agreement on November 1st, 2019.

        After achievement of call proposal from 2020, this year NARLabs and NSTDA has organized the NARLabs-NSTDA Joint research Program Info Day, not only to promote the upcoming program in 2021 but also to be the collaborative platform for both Taiwanese and Thai researchers for meeting and exchange their idea.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

25 March 2021

15:00 – 15:10

Opening Remarks
By
Dr.Lily Eurwilaichitr
Vice President, International Collaboration, NSTDA
Dr.Bou-Wen Lin
Vice President, NARLabs

15:10 – 15:20

Introduction to NARLabs-NSTDA JRP Overview
NARLabs Funding Mechanism (5 min)
By Dr.Ming-Chih Franz Cheng
Director General, International Affairs Office, NARLabs

NSDTA Funding Mechanism (5 min)
By Dr.Lily Eurwilaichitr
Vice President, International Collaboration, NSTDA

15:20 – 15:50

Presentation of Granted JRP of 2020 (10 min/team)
By
Dr.Noppadon Khitipet (NECTEC) – Dr.David Chang (NSPO)
Dr.Pakapreud Khumwan (BIOTEC) – Dr.Yi-Chen Huang (TIRI)
Dr.Wansika Kiatpathomchai (BIOTEC) – Dr.Yi-Chiuen Hu (TIRI)

15:50 – 16:20

Discussion and Matching

16:20 – 16:30

Concluding Remarks
By
Dr.Lily Eurwilaichitr
Vice President, International Collaboration, NSTDA
Dr.Bou-Wen Lin
Vice President, NARLabs

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session) appeared first on NAC2021.

]]>
20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss14_20years-thai-cern/ Wed, 03 Mar 2021 08:48:35 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4205 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 20 year anniversary of Thai-CERN partnership under the initiative of HRH princess Maha Chakri Sirindhorn        สืบเนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริว่าหากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น)  ซึ่งเป็นองค์การวิจัยด้านฟิสิกส์พลังงานสูงชั้นนำระดับโลก จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้จัดทำโครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ พ.ศ.2543 ในการดำเนินงาน ได้ผลักดันให้เกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ระหว่างหน่วยงานวิจัย/สถาบันการศึกษาของไทยกับเซิร์น จำนวน 6 ฉบับ ในปี 2561 ได้ยกระดับความสัมพันธ์จากระดับหน่วยงาน-หน่วยงาน […]

The post 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี appeared first on NAC2021.

]]>

20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น

20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

20 year anniversary of Thai-CERN partnership under the initiative of HRH princess Maha Chakri Sirindhorn

       สืบเนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริว่าหากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น)  ซึ่งเป็นองค์การวิจัยด้านฟิสิกส์พลังงานสูงชั้นนำระดับโลก จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้จัดทำโครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ พ.ศ.2543 ในการดำเนินงาน ได้ผลักดันให้เกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ระหว่างหน่วยงานวิจัย/สถาบันการศึกษาของไทยกับเซิร์น จำนวน 6 ฉบับ ในปี 2561 ได้ยกระดับความสัมพันธ์จากระดับหน่วยงาน-หน่วยงาน ไปเป็นระดับรัฐบาล โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ชื่อในขณะนั้น) เป็นผู้ลงนามในนามของรัฐบาลไทยร่วมกับผู้แทนของเซิร์น  ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประชาคมวิทยาศาสตร์ของโลก 

        อนึ่ง ในปี 2564 จะเป็นปีที่ฉลองความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริฯ ดำเนินมาครบ 20 ปี มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจัดกิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการพัฒนาบุคลากร และความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านฟิสิกส์

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 25 มีนาคม 2564

13.15-13.25 น.

เกริ่นนำเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือไทย-เซิร์น

13.25-14.10 น.

สวนาประเทศไทยได้อะไรจากความร่วมมือไทย-เซิร์น ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยและเซิร์นตามพระราชดำริฯ

โดย

  • รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล
    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ 
    ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    
      
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช 
    สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ริมแจ่ม 
    ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ดำเนินรายการ:
ดร.ชญานิษฐ์ อัศวตั้งตระกูลดี
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14.10-14.45 น.

เสวนาผู้แทนร่วมโครงการภาคฤดูร้อนเซิร์น โดยตัวแทนนักศึกษา ครู และนักเรียน

  • นางสาวสรัญญ์ภัทร์ ลิมปิจำนงค์
    อดีตนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดม ผู้ร่วมโครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษาดูงานที่เซิร์น
    ปัจจุบันเป็นนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • นายวิชญนันท์ วชิรภูษิตานันท์
    อดีตนักศึกษาผู้ร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น
    จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร.พิมพร ผาพรม
    อดีตครูผู้ร่วมโครงการครูฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น
    จากโรงเรียนท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์

ผู้ดำเนินรายการ:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    

14.45-15.00 น.

พัก จัดเตรียมสถานที่ เชื่อมต่อสัญญาณกับ CMS เกริ่นนำเกี่ยวกับ CMS Virtual Visit

15.00-16.00 น.

การเยี่ยมชมเสมือนจริง Compact Muon Solenoid detector (ถ่ายทอดสดจาก CERN)

CMS Virtual Visit 

ผู้ดำเนินรายการ:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://indico.cern.ch/event/987240

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี appeared first on NAC2021.

]]>
เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss29-drive-thailand-industries-by-circular-economy/ Wed, 03 Mar 2021 07:24:17 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3194 เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนDrive Thailand’s industries by circular economy            ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นคุณค่าและทำให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เป็นแนวทางสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนพ.ศ. 2564-2569 ที่มุ่งเน้น 2 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ 1) การลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3 จากปัจจุบัน2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า            สำหรับกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม ในการดำเนินการจัดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เข้าใจว่าขยะ/ของเสียคือ ทรัพยากรที่ยังสามารถหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ หากมีการแยก จัดเก็บ หมุนเวียน และใช้ประโยชน์ จะสามารถลดปัญหาขยะพลาสติกตกค้าง ขยะพลาสติกทะเล ขยะอินทรีย์ […]

The post เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) appeared first on NAC2021.

]]>

เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน
Drive Thailand’s industries by circular economy

           ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นคุณค่าและทำให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เป็นแนวทางสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนพ.ศ. 2564-2569 ที่มุ่งเน้น 2 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ

1) การลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3 จากปัจจุบัน
2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

           สำหรับกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม ในการดำเนินการจัดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เข้าใจว่าขยะ/ของเสียคือ ทรัพยากรที่ยังสามารถหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ หากมีการแยก จัดเก็บ หมุนเวียน และใช้ประโยชน์ จะสามารถลดปัญหาขยะพลาสติกตกค้าง ขยะพลาสติกทะเล ขยะอินทรีย์ (ขยะเกษตรและอาหาร) เศษวัสดุก่อสร้าง ขยะทั่วไป และของเสียอื่นๆ ที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม

           ขณะที่ผู้ผลิตร่วมกับนักวิชาการทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทฺธิภาพการใช้ทรัพยากรตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยนำขยะหรือของเสียกลับมาใช้ใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และสร้างตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ 

วันที่ 25 มีนาคม 2564

ดำเนินรายการโดย : ดร.สมชาย ฉินสกลธนากร
ฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.30 – 13.40 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม 
โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย/อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

13.40 – 14.10 น.

ทิศทางการบริหารจัดการขยะพลาสติกครบวงจร ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกลไก PPP
วิทยากร ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG  Model 
สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน

14.10 – 14.40 น.

เศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้าง
วิทยากร ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562 
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.40 – 15.10 น.

การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยเพื่อความยั่งยืน
วิทยากร ดร.วิกรม วัชระคุปต์  
ประธานคลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

15.10 – 15.40 น.

ธุรกิจยุคใหม่กับการลดขยะอาหารบนฐานเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน 
วิทยากร นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์
ประธานกรรมการฝ่ายกิจการ บรรษัท โลตัส ประเทศไทย

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) appeared first on NAC2021.

]]>
เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss23-bcg-energy-materials-chemicals-challenges-solutions/ Wed, 03 Mar 2021 03:23:01 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=8223 BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions         BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ […]

The post เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก appeared first on NAC2021.

]]>

BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions

เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก

BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions

        BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste)  ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)

        กลุ่มสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ:  มูลค่า GDP ของสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มีมูลค่ารวมกันประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท ในกลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากนโยบายภาครัฐ ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579

        ในส่วนของพลังงาน มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนานวัตกรรมการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถรองรับของเสียที่หลากหลายทั้งชนิดและคุณสมบัติ เช่น ขยะจากอุตสาหกรรม ครัวเรือน รวมถึงของเหลือทิ้งทางการเกษตร ของเสียเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปของแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ได้แก่ การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel, RDF) ก๊าซชีวภาพ ที่นำไปสู่การสร้าง Site Reference ของโรงไฟฟ้าชุมชน (Community-based Biomass Power Plant) ที่มีแหล่งพลังงานทดแทนในพื้นที่ (Distributed Energy Resources, DERs) เช่น พลังงานจาก แสงอาทิตย์ ชีวมวล (รวมขยะ) และก๊าซชีวภาพ ที่เพียงพอ โรงไฟฟ้าชุมชนสามารถสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าผ่านการเชื่อมต่อระบบด้วย Smart Microgrid และใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นแพลตฟอร์มในการบริหารจัดการ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบการจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เนื่องจากมีความสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทน

        ในส่วนของวัสดุและเคมีชีวภาพมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรและของเสียไปเป็นสารประกอบ หรือผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีมูลค่าสูง อาทิ พลาสติกชีวภาพ  ไฟเบอร์ เภสัชภัณฑ์ ด้วยแนวทางทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า GDP มากกว่า 2.6 แสนล้านบาท

     ประเทศไทยพร้อมกับการขับเคลื่อนแนวคิดนี้มากน้อยแค่ไหน, เรามีความเข้าใจเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ในกลุ่มธุรกิจพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพมากพอหรือยัง และอีกหลากหลายแง่มุมควรรู้

  • ภาพรวมและแนวทางการขับเคลื่อน BCG สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ
  • กลไกของ Carbon Pricing & Carbon Credits เป็นอย่างไร
  • แนวโน้มอุตสาหกรรม Biorefinery จะไปในทิศทางใด ประเทศไทยมีแต้มต่อหรือไม่ และผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างไร
  • แนวโน้มของโลกด้าน Clean Energy และโอกาสของประเทศไทย
  • บทบาทของชุมชน ใน Smart Grid และอนาคตของ Energy Trading
  • แนวทางการผลักดันและทางออกปัญหาของ Community Energy 

     เชิญหาคำตอบร่วมกันกับผู้รู้ที่มีประสบการณ์ในวงการพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในการทำงานจริงและในมุมของการบริหาร

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 25 มีนาคม 2564

 

13.00-14.30 น.

การเสวนาช่วงที่ 1

  • ภาพรวมของ BCG สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ

โดย คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช
ประธานคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ – บพข. และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

  • Carbon Pricing และ Carbon Credits

โดย ดร.คุรุจิต นาครทรรพ
ประธานกรรมการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), ผู้อำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน

  • Biorefinery

โดย คุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล
ประธานกรรมการ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน), อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยส์ จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

ดำเนินรายการโดย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

14.30-15.45น.

การเสวนาช่วงที่ 2

  • C-Energy (Clean & Circular)

โดย คุณอรรถ เหมวิจิตรพันธ์
ที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ อนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตรองประธานกรรมการ ดูแลงานด้านรัฐกิจสัมพันธ์และการพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด

  • Community Energy

โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร
หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงพลังงาน

  • Smart Grid & Energy Trading Platform

โดย คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และอดีตรองผู้ว่าการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

15.45-16.00 น.

สรุปปิดการเสวนา กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

โดย คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานกลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก appeared first on NAC2021.

]]>
Newton UK-Thailand Joint Research on BCG http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss60-newton-uk-thailand-joint-research-on-bcg/ Wed, 03 Mar 2021 02:58:05 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5429 Newton UK-Thailand Joint Research on BCG Newton UK-Thailand Joint Research on BCG         The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, […]

The post Newton UK-Thailand Joint Research on BCG appeared first on NAC2021.

]]>

Newton UK-Thailand Joint Research on BCG

Newton UK-Thailand Joint Research on BCG

        The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, research and translation. The UK and Thailand will jointly invest £46 million (THB 1,840 million) from 2014 until 2021.

        Over seven years of implementation, the UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund has contributed to improving Thailand’s research and innovation system, and consequently has made a material difference to the quality of people’s lives through funding providing fund to Ph.D. students, researchers and government officials.

        Because problems from resource scarcity (such as food, water and energy), environmental degradation, increasing vulnerability to the effects of climate change and risks from disease and natural hazards have still disproportionately impacted on Thailand, three joint research programmes on health and agritech which have co-funded by NSTDA are highlighted.

  • UK-Thailand Health Research to tackle the important infectious diseases focusing on vaccine development, drug resistance, detection, diagnostic kits, and outbreak prediction system.
  • Rice Research to build on the combined strengths of academic research groups within China, the Philippines, Thailand, Vietnam and the UK to work together on collaborative interdisciplinary research that underpin the long-term sustainable production of rice.
  • Swine and Poultry Research underpin the development of novel strategies to diagnose, prevent, manage or treat microbiological diseases of swine and poultry, to promote safe, healthy, resilient and sustainable food production systems in China and/or South East Asia and reduce the potential incidence of zoonotic disease.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

25 March 2021

13.30 – 13.35

Introduction to session
By Pijarana Samukkan
Research and Innovation Programme Manager, British Embassy

13.35 – 14.45

Opening Remarks &
Keynote on
UK Research and Innovation Collaboration in Thailand and beyond : Strategy, Activities and Achievements
By Ms. Nicola Willey
Regional Director South East Asia Science and Innovation,
British High Commission, Singapore

14.45-15.00

UK’s International Research Partnership: strategy and priorities by

  • Medical Research Council, UKRI
  • Biotechnology and Biological Sciences Research Council, UKRI

15.00-15.40

Presentation from grant-holders (10 min each)
UK-Thailand Joint Health Call focusing on infectious diseases

  • Analysis of flavivirus infection on the cellular lipidome – implications for virus particle production and replication.
  • Dissecting global protective immune response to dengue virus at a single-cell resolution
  • Deep Mutational Scanning of Dengue Viruses for Vaccine Development
  • Using whole genome sequencing to characterise drug resistant Mycobacterium tuberculosis in Thailand

15.40-16.30

Presentation from grant-holders (10 min each)
UK-China-Philippines-Thailand Swine and Poultry Research Initiative

  • China/UK/Thailand Program on Poultry Biosafety for Salmonella, E. coli and Campylobacter (CUT-SEC)
  • Development of live attenuated vaccine candidates for Newcastle Disease Virus
  • Rapid diagnostics and control strategies for enteric bacterial pathogens in backyard and commercial poultry production in Thailand and the Philippines
  • Broadly protective vaccines for porcine reproductive and respiratory syndrome and swine influenza virus infections
  • The development of a phage food additive with the aim to control Salmonella in swine and poultry

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Newton UK-Thailand Joint Research on BCG appeared first on NAC2021.

]]>
ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss55-biocontrol-sustainable-agriculture/ Tue, 02 Mar 2021 16:39:34 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5040 ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน Biocontrol for Driving of Sustainable Agriculture          ประเทศไทยมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิดที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีศัตรูพืชหลายชนิดก่อให้เกิดความเสียหายทั้งด้านผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกษตรกรมีความเป็นต้องใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานศัตรูหลายชนิดสามารถพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีเหล่านั้น ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการใช้และการนำเข้าสารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อผู้บริโภคและเกษตรกร         การป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธีโดยใช้ชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น รา แบคทีเรียและไวรัส เป็นปัจจัยทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดหรือทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายโดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งานของเกษตรกร รวมทั้งมีการพัฒนาต่อยอดผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ซึ่งช่วยลดการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทในการผลักดันและสนับสนุนให้มีการใช้ชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืชเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศให้มีความปลอดภัยและยั่งยืนต่อไป วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=UGV_7HRLiDkhttps://www.youtube.com/watch?v=9ZNw990qYpw เอกสารประกอบการสัมมนา ทิศทางการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยในปัจจุบันคุณอนันต์ อักษรศรี สถานภาพการใช้สารเคมีและการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีของประเทศนายศรัณย์ วัธนธาดา การเสวนา เรื่อง “การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชเพื่อการเกษตรปลอดภัย” คุณณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุลสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร คุณวนิดา อังศุพันธุ์กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอบี อินโนเวชั่น จำกัด คุณสุวิทชัย แสงเทียนเกษตรกรผู้ใช้ชีวภัณฑ์ในแปลงกล้วยไม้ ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชกรมวิชาการเกษตร […]

The post ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน appeared first on NAC2021.

]]>

ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน

ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน

Biocontrol for Driving of Sustainable Agriculture 

        ประเทศไทยมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิดที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีศัตรูพืชหลายชนิดก่อให้เกิดความเสียหายทั้งด้านผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกษตรกรมีความเป็นต้องใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานศัตรูหลายชนิดสามารถพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีเหล่านั้น ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการใช้และการนำเข้าสารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อผู้บริโภคและเกษตรกร

        การป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธีโดยใช้ชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น รา แบคทีเรียและไวรัส เป็นปัจจัยทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดหรือทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายโดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งานของเกษตรกร รวมทั้งมีการพัฒนาต่อยอดผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ซึ่งช่วยลดการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทในการผลักดันและสนับสนุนให้มีการใช้ชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืชเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศให้มีความปลอดภัยและยั่งยืนต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.30 น.

ทิศทางการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยในปัจจุบัน

โดย คุณอนันต์ อักษรศรี
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

09.30-10.00 น.

สถานภาพการใช้สารเคมีและการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีของประเทศ

โดย นายศรัณย์ วัธนธาดา
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

10.00-10.30 น.

พัก

10.30-11.00 น.

การใช้เทคโนโลยีจีโนมเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพชีวภัณฑ์

โดย ดร.วันอภินันต์ นาแว
ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) สวทช.

10.30-11.00 น.

การเสวนา เรื่อง มุมมองจากภาคเอกชนและเกษตรกรในการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช

โดย
1) คุณสกล เหนียนเฉลย
บริษัท บี ไบโอ จำกัด

2) คุณเอกราช เครื่องพนัด
บริษัท ริมปิงออร์แกนิคฟาร์ม จำกัด

3) คุณศุภิสิทธิ์
ว่องวณิชพันธุ์
เกษตรกรสวนกล้วยไม้ 

ดำเนินรายการโดย:
นางอารีย์พันธ์ อุปนิสากร
ดีตผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

12.00-13.30 น.

พัก

13.30-16.30 น.

การเสวนา เรื่อง “การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชเพื่อการเกษตรปลอดภัย”

โดย
1) คุณรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์
กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

2) คุณณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

3) ดร.สุพจน์ กาเซ็ม
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4) คุณวนิดา อังศุพันธุ์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอบี อินโนเวชั่น จำกัด

5) คุณสุวิทชัย แสงเทียน
เกษตรกรผู้ใช้ชีวภัณฑ์ในแปลงกล้วยไม้  

ดำเนินการเสวนาโดย:
ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน appeared first on NAC2021.

]]>
แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss35-gmp/ Tue, 02 Mar 2021 16:06:09 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5069 แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร        ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางด้านผลผลิตเกษตรกรรมของประเทศไทย ประกอบกับ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 ส่งผลให้การเติบโตทางด้านธุรกิจอาหารในประเทศมีความรวดเร็ว ทั้งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ รวมถึงส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นรายได้ที่มีมูลค่าสูงของประเทศ นอกจากนั้นกลุ่มผู้ประกอบการยีงมีความหลายหลาก ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางอาหารได้รับความสนใจ เพื่อต้องการพัฒนานวัตกรรมที่มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดผู้บริโภค ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีควรคำนึงถึงกฎหมาย มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ. อาหาร และกฎหมายรองต่างๆ มาตรฐานอาหารสากล เช่น CODEX และควรมีการดำเนินการภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) และมีกระบวนการประกันคุณภาพที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค         สวทช. เล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านกฎหมาย และมาตราฐานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จึงได้จัดการบรรยายโดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ผู้เข้าร่วม มีความเข้าใจเรื่องกฎหมายที่ควรทราบ และนำไปสู่การทดสอบและการขอรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และเตรียมข้อมูลที่สำคัญให้แก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตต่อไป วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=OPnJ_IEsX5Q เอกสารประกอบการสัมมนา […]

The post แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร appeared first on NAC2021.

]]>

แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร

แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร

       ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางด้านผลผลิตเกษตรกรรมของประเทศไทย ประกอบกับ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 ส่งผลให้การเติบโตทางด้านธุรกิจอาหารในประเทศมีความรวดเร็ว ทั้งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ รวมถึงส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นรายได้ที่มีมูลค่าสูงของประเทศ นอกจากนั้นกลุ่มผู้ประกอบการยีงมีความหลายหลาก ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางอาหารได้รับความสนใจ เพื่อต้องการพัฒนานวัตกรรมที่มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดผู้บริโภค ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีควรคำนึงถึงกฎหมาย มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ. อาหาร และกฎหมายรองต่างๆ มาตรฐานอาหารสากล เช่น CODEX และควรมีการดำเนินการภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) และมีกระบวนการประกันคุณภาพที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค



        สวทช. เล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านกฎหมาย และมาตราฐานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จึงได้จัดการบรรยายโดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ผู้เข้าร่วม มีความเข้าใจเรื่องกฎหมายที่ควรทราบ และนำไปสู่การทดสอบและการขอรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และเตรียมข้อมูลที่สำคัญให้แก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

9:00 – 9:10 น.

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
โดย คุณอัณณ์สุชา พฤกษ์สุนันท์ 
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาคุณภาพการวิจัย สวทช.

9:10 – 10:50 น.

กฎหมายที่ควรทราบและการขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับผู้ประกอบการ
โดย คุณนฤมล ฉัตรสง่า
นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด
สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

10:50 – 11:50 น.

การเตรียมความพร้อมงานวิจัย สิ่งที่ควรทราบ เพื่อการขอรับรองผลิตภัณฑ์อาหารจากงานวิจัย

โดย คุณมาลี จิรวงศ์ศรี
ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานอาหาร
สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

11:50 – 12:00 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร appeared first on NAC2021.

]]>
นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss12-future-nanorobotics/ Tue, 02 Mar 2021 15:35:24 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3677 The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment          เนื่องด้วย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการสร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน และเพื่อตอบโจทย์นโยบาย BCG economy ด้านการแพทย์สมัยใหม่ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) ให้ความสำคัญในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมนาโนโรบอทต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต […]

The post นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง appeared first on NAC2021.

]]>

The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment

นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง

The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment

         เนื่องด้วย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการสร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน และเพื่อตอบโจทย์นโยบาย BCG economy ด้านการแพทย์สมัยใหม่ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) ให้ความสำคัญในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมนาโนโรบอทต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้สูงที่สุด การกำหนดแผนที่นำทางและวัตถุประสงค์ในแต่ละช่วงงานวิจัยผ่านกลไกความร่วมมือทั้งระดับภายในประเทศและต่างประเทศจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 

         ปัจจุบันประเทศไทยมีเครือข่ายทีมวิจัยด้านนาโนโรบอทเพื่อต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต โดยเครือข่ายดังกล่าวประกอบด้วย นักวิจัย บุคลากรในมหาวิทยาลัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีขั้นสูง บุคลากรทางการแพทย์ และผู้แทนจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมาร่วมระดมสมอง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อออกแบบกลไกการทำงานเชิงเทคนิคของหุ่นยนต์ระดับนาโน ทั้งนี้ ประโยชน์ของการทำงานด้านนาโนโรบอท คือ การสร้างความตระหนักทั้งในด้านเทคโนโลยีและวิสัยทัศน์ในอนาคต เพื่อเตรียมพร้อมสู่การสร้างกำลังคน และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนาโนโรบอทผ่านเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 

         งานสัมมนา เรื่อง “The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment” ดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุตินานาชาติ ได้แก่ Prof. Sylvain Martel จาก Polytechnique Montreal ประเทศแคนาดา และ Prof. Kazunori Kataoka จากสถาบัน Innovation Center of NanoMedicine (iCONM) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวิทยากรด้านนาโนโรโบติกส์ระดับแนวหน้าของโลก

หัวข้อหารือ ประกอบด้วย
1) ความสำคัญและประโยชน์ของ Nanorobotics
2) อัพเดตข้อมูล/ทิศทาง Nanorobotic ใน 10 ปีข้างหน้า
3) แนวโน้มประโยชน์จากมุมมองแพทย์
4) เหตุผลที่ควรลงทุนและ Positioning สู่การเป็น Game Changer

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00 – 12.00 น.

งานเสวนา “นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง”

(The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment)

ดำเนินรายการโดย คุณสุทธิชัย หยุ่น

ผู้ร่วมเสวนา

  1. Prof. Sylvain Martel,
    Director, NanoRobotics Laboratory – Polytechnique Montréal ประเทศแคนาดา
  2. Prof. Kazunori Kataoka,
    Director General, Innovation Center of NanoMedicine (iCONM), Kawasaki Institute of Industry Promotion ประเทศญี่ปุ่น
  3. ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง
    ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  1. ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร
    ผู้อำนวยการศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO STEM-ED)
  1. คุณเฉลิมพล ปุณโณทก
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ซีที เอเชีย โรโบติกส์ จำกัด
  1. ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง
    ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ในระหว่างการเสวนา จะมีการเปิดวิดีโอจากวิทยากรต่างประเทศ 2 วิดีโอ ซึ่งวิทยากรต่างประเทศผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่านให้เกียรติบันทึกเทปไว้เพื่อร่วมเสวนา

1. วิดีโอ Medical Nanorobotics: More Real Than Fiction ระยะเวลาประมาณ 20 นาที บรรยายโดย Prof. Sylvain Martel, Director, NanoRoboticsLaboratory – Polytechnique Montréal ประเทศแคนาดา

2. วิดีโอ Initiatives of Nanorobotics at iCONM toward “In-Body Hospitals” ระยะเวลาประมาณ 20 นาที บรรยายโดย Prof. Kazunori Kataoka, Director General, Innovation Center of NanoMedicine (iCONM), Kawasaki Institute of Industry Promotion ประเทศญี่ปุ่น

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง appeared first on NAC2021.

]]>
กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss31-strategy-and-direction-ai-thailand/ Tue, 02 Mar 2021 15:01:43 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4848 กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย         “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2564-2570  (ร่าง) แผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์ฯ นี้ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายในปี พ.ศ. 2570”          โดยมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างคนและเทคโนโลยี การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบ (ที่ดี) ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในด้านยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไว้ 5 ด้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม  กฎหมาย และกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมและกลุ่มเป้าหมายสำหรับประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปสนับสนุนและพัฒนาในระยะเร่งด่วนคือ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาวะ การใช้งานและบริการภาครัฐ ในเสวนานี้จะได้เรียนรู้จากวิทยากรต่างชาติ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ […]

The post กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย

กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย

        “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2564-2570  (ร่าง) แผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์ฯ นี้ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายในปี พ.ศ. 2570” 

        โดยมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างคนและเทคโนโลยี การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบ (ที่ดี) ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในด้านยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไว้ 5 ด้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม  กฎหมาย และกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมและกลุ่มเป้าหมายสำหรับประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปสนับสนุนและพัฒนาในระยะเร่งด่วนคือ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาวะ การใช้งานและบริการภาครัฐ ในเสวนานี้จะได้เรียนรู้จากวิทยากรต่างชาติ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ จากนั้นจะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทย รวมทั้งแนวทางการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานในระยะเร่งด่วนกับ 3 อุตสาหกรรม จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

9.00 – 9.05 น.

กล่าวนำที่มาของการประชุมกลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย
โดย ดร.อลิสา คงทน
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

9.05 – 9.40 น.

National agenda, Driving forces, Technology trend and the adoption of AI ecosystem in Japan

โดย Professor Junichi Tsujii, Ph.D.
Director of Artificial Intelligence Research Center, AIST, Japan

9.40 – 10.10 น.

National agenda, Driving forces, Technology trend and the adoption of AI ecosystem in Singapore

โดย Laurence Liew, Ph.D.
Director of AI Innovation, AI Singapore (AISG), a national program on Artificial Intelligence

10.10 – 10.15 น.

พักเบรค

10.15 – 10.35 น.

กลยุทธ์และทิศทางการขับเคลื่อนปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย 

โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย,
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

10.35 – 11.35 น.

เสวนา มองต่างมุม “กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย”

(ใน 3 ประเด็นสำคัญ: (1)บทบาทของ AI ทีมีต่อชีวติแห่งสังคมอนาคต , (2)การประยุกต์ใช้ AI ในสังคมและการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ รวมถึงการสร้างโอกาส Startup และ(3) กลไกสำคัญเห่งการขับเคลื่อน AI ecosystem ในประเทศไทย)

โดย 

  1. รองศาสตราจารย์ ดร. จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. ดร. มหิศร ว่องผาติ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด
  3. รองศาสตราจารย์ ดร. วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร, ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส (ทีม Data Innovation), ธนาคาร กรุงไทย จำกัด
  4. ดร. ปรัชญา บุญขวัญ, หัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการ โดย ดร. ขวัญชีวา แตงไทย, นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

11.35 – 11.50 น.

Q & A

11.50 – 12.00 น.

ปิดการบรรยาย โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย 
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss37-covid19-vaccine/ Tue, 02 Mar 2021 14:52:28 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4734 การพัฒนา วัคซีนโควิด-19 การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ COVID-19 vaccine development : Progress and Preparedness tools for emerging infectious diseases จากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชนใช้จึงเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับการอนุญาตและมีการฉีดให้แก่ประชาชนแล้วในหลายประเทศ เนื่องจากวัคซีนที่พัฒนาขึ้นต้องผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองและมนุษย์ และมีกำลังการผลิตอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยน่าจะมีโอกาสถึงวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางวัคซีน บริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยทั่วโลกจึงมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยจากข้อมูลล่าสุด (11 ก.พ. 64) มีวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยในมนุษย์ (Clinical study) 98 ตัว และยังมีวัคซีนที่อยู่ในขั้นการศึกษาในสัตว์ทดลอง (Preclinical study) อีกอย่างน้อย 170 ตัว ซึ่งการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทยโดยเฉพาะ สวทช. ยังอยู่ในส่วนที่เป็น preclinical study เป็นหลัก โดยมีวัคซีนดีเอ็นเอของบริษัทไบโอเนท-เอเชียจำกัด และวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจะเข้าทดสอบในมนุษย์เร็วๆนี้ งามสัมมนานี้จะทำให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบสถานภาพการเข้าถึงและได้รับวัคซีนของประชาชน และความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาวัคซีนจากกลุ่มวิจัยชั้นนำของประเทศไทย รวมทั้งความพร้อมของประเทศไทยในการเตรียมพัฒนาวัคซีนเพื่อตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ในอนาคต กำหนดการ วันที่ 26 […]

The post การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ appeared first on NAC2021.

]]>

การพัฒนา

วัคซีนโควิด-19

การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่

COVID-19 vaccine development : Progress and Preparedness tools for emerging infectious diseases

        จากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชนใช้จึงเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับการอนุญาตและมีการฉีดให้แก่ประชาชนแล้วในหลายประเทศ เนื่องจากวัคซีนที่พัฒนาขึ้นต้องผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองและมนุษย์ และมีกำลังการผลิตอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยน่าจะมีโอกาสถึงวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ

        ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางวัคซีน บริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยทั่วโลกจึงมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยจากข้อมูลล่าสุด (11 ก.พ. 64) มีวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยในมนุษย์ (Clinical study) 98 ตัว และยังมีวัคซีนที่อยู่ในขั้นการศึกษาในสัตว์ทดลอง (Preclinical study) อีกอย่างน้อย 170 ตัว ซึ่งการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทยโดยเฉพาะ สวทช. ยังอยู่ในส่วนที่เป็น preclinical study เป็นหลัก โดยมีวัคซีนดีเอ็นเอของบริษัทไบโอเนท-เอเชียจำกัด และวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจะเข้าทดสอบในมนุษย์เร็วๆนี้

        งามสัมมนานี้จะทำให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบสถานภาพการเข้าถึงและได้รับวัคซีนของประชาชน และความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาวัคซีนจากกลุ่มวิจัยชั้นนำของประเทศไทย รวมทั้งความพร้อมของประเทศไทยในการเตรียมพัฒนาวัคซีนเพื่อตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

13.00-13.20 น.

ล็อกอินเข้าระบบออนไลน์

13.20-13.30 น.

เปิดสัมมนาและกล่าวภาพรวมของสถานการณ์ของโรค COVID-19

โดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

13.30-14.00 น.

สถานภาพการวิจัยพัฒนาวัคซีนที่สำคัญและ Technology trend สำหรับการพัฒนาวัคซีนต่อโรคอุบัติใหม่

โดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

14.00-14.30 น.

สถานภาพการเข้าถึงวัคซีน และ การได้รับวัคซีนของคนไทย และแผน BCG ด้านวัคซีน 

โดย นพ.นคร เปรมศรี สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

14.30-16.30 น.

ความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทย

โดย
1) ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2) ภญ.ดร.วาสนา วิจักขณาลัญฉ์
บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด

3) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ appeared first on NAC2021.

]]>
จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss28-genomic-medicine/ Tue, 02 Mar 2021 14:29:16 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4735 บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model Genomics Thailand: Genomic Medicine Service drive the BCG Economy Model         การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine) เป็นนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ที่ใช้ข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะบุคคลร่วมกับข้อมูลทางสุขภาพอื่นๆ มาใช้ในการวินิจฉัย รักษา และทำนายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด แม่นยำ และเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนของวงการแพทย์อย่างก้าวกระโดดในการสร้างสุขภาพที่ดีของประชากรตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนกระทั่งเสียชีวิต ตลอดจนการต่อยอดสู่อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศ ปัจจุบันการแพทย์จีโนมิกส์มีบทบาทสำคัญกับระบบสาธารณสุข และเริ่มมีการให้บริการในหลายประเทศภายใต้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯและสิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) ปี พ.ศ. 2563–2567 ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ รวมถึงเกิดโครงสร้างพื้นฐานของประเทศซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นผู้นำศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน   […]

The post จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model appeared first on NAC2021.

]]>

บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model

จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model

Genomics Thailand: Genomic Medicine Service drive the BCG Economy Model

        การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine) เป็นนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ที่ใช้ข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะบุคคลร่วมกับข้อมูลทางสุขภาพอื่นๆ มาใช้ในการวินิจฉัย รักษา และทำนายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด แม่นยำ และเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนของวงการแพทย์อย่างก้าวกระโดดในการสร้างสุขภาพที่ดีของประชากรตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนกระทั่งเสียชีวิต ตลอดจนการต่อยอดสู่อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศ ปัจจุบันการแพทย์จีโนมิกส์มีบทบาทสำคัญกับระบบสาธารณสุข และเริ่มมีการให้บริการในหลายประเทศภายใต้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯและสิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) ปี พ.ศ. 2563–2567 ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ รวมถึงเกิดโครงสร้างพื้นฐานของประเทศซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นผู้นำศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน

        งามสัมมนานี้จะเป็นการนำเสนอสถานภาพการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ความก้าวหน้าในการวิจัย พัฒนาและให้บริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์ รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model appeared first on NAC2021.

]]>
การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss53-safety-railway-systems/ Tue, 02 Mar 2021 14:13:24 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4643 ยกระดับความปลอดภัย ด้านการคมนาคมขนส่ง ในระบบราง การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง R&D For Safety Enhancement in Rail Transport System         ประเทศไทยกำลังมีการลงทุนครั้งใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่งในส่วนของระบบขนส่งทางราง รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญโดยจะยกระดับระบบการคมนาคมทางรางทั่วประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มระยะทางของรถไฟจาก 4,000 กิโลเมตร เป็น 10,000 กิโลเมตร เพื่อขยายศักยภาพในการขนส่งสินค้า ในขณะที่รถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑลก็จะมีการให้บริการเพิ่มจากเดิมประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นมากกว่า 400 กิโลเมตร  รวมทั้งในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางภายในประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีและการดูแลบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการศึกษาวิจัยและพัฒนาจึงเป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้และสามารถต่อยอดเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ต่อไป         การบรรยายในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอการยกระดับความปลอดภัยในระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง มิฉะนั้นอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินได้ วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=ZEkTBM0eEEY เอกสารประกอบการสัมมนา การเสียหายของล้อ-เพลาและรางรถไฟคุณสยาม แก้วคำไสย์ ระบบค้นหาและแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางข้างหน้าขบวนรถไฟดร.ทิวัตถ์ พงศ์ถาวรกมล ความปลอดภัยในระบบโครงสร้างพื้นฐานดร.อรรถพล เก่าประเสริฐ […]

The post การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง appeared first on NAC2021.

]]>

ยกระดับความปลอดภัย
ด้านการคมนาคมขนส่ง
ในระบบราง

การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง

R&D For Safety Enhancement in Rail Transport System

        ประเทศไทยกำลังมีการลงทุนครั้งใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่งในส่วนของระบบขนส่งทางราง รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญโดยจะยกระดับระบบการคมนาคมทางรางทั่วประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มระยะทางของรถไฟจาก 4,000 กิโลเมตร เป็น 10,000 กิโลเมตร เพื่อขยายศักยภาพในการขนส่งสินค้า ในขณะที่รถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑลก็จะมีการให้บริการเพิ่มจากเดิมประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นมากกว่า 400 กิโลเมตร  รวมทั้งในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางภายในประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีและการดูแลบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการศึกษาวิจัยและพัฒนาจึงเป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้และสามารถต่อยอดเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

        การบรรยายในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอการยกระดับความปลอดภัยในระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง มิฉะนั้นอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินได้

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.10 น.

กล่าวเปิดการบรรยาย

โดย ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์
ผู้อํานวยการ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.10-09.40 น.

การเสียหายของล้อ-เพลาและรางรถไฟ

โดย คุณสยาม แก้วคำไสย์
วิศวกรอาวุโส ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.40-10.10 น.

ระบบค้นหาและแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางข้างหน้าขบวนรถไฟ

โดย ดร.ทิวัตถ์ พงศ์ถาวรกมล
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

10.10-10.40 น.

ความปลอดภัยในระบบโครงสร้างพื้นฐาน

โดย ดร.อรรถพล เก่าประเสริฐ 
วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการก่อสร้าง ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง
การรถไฟแห่งประเทศไทย

10.40-11.10 น.

ต้นแบบระบบตรวจวัดการสั่นสะเทือนของรถไฟอัจฉริยะแบบฝังบนตัวรถไฟฟ้าที่ให้บริการเพื่อการประเมินความปลอดภัยและสภาพทางวิ่ง

โดย ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา
อาจารย์ สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

11.10-12.00 น.

ความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง

โดย ดร.ทยากร จันทรางศุ
ผู้อำนวยการกองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง appeared first on NAC2021.

]]>
สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss62-big-data/ Tue, 02 Mar 2021 13:32:08 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12346 สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่ สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) Building Community Big Data Platform for the New Normal         ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (big data system) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมและเพิ่มโอกาสการสร้างงาน การพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายเทคโนโลยี ทั้งด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data analytics) โครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล (security) ระบบสารสนเทศของภาครัฐ และการสร้างนิเวศของข้อมูล (data ecosystem) ความท้าทายหนึ่งของการพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ คือการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อแก้ปัญหาของชุมชน ทั้งในด้านการวิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อนของชุมชน (community strengths & weaknesses analysis) การสนับสนุนการวางแผนเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาของชุมชน เช่น การช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบาง (vulnerable social groups) อีกความท้าทายหนึ่งคือการสร้างคุณค่าให้กับข้อมูลของชุมชนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ […]

The post สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) appeared first on NAC2021.

]]>

สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่

สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

Building Community Big Data Platform for the New Normal

        ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (big data system) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมและเพิ่มโอกาสการสร้างงาน การพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายเทคโนโลยี ทั้งด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data analytics) โครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล (security) ระบบสารสนเทศของภาครัฐ และการสร้างนิเวศของข้อมูล (data ecosystem) ความท้าทายหนึ่งของการพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ คือการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อแก้ปัญหาของชุมชน ทั้งในด้านการวิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อนของชุมชน (community strengths & weaknesses analysis) การสนับสนุนการวางแผนเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาของชุมชน เช่น การช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบาง (vulnerable social groups) อีกความท้าทายหนึ่งคือการสร้างคุณค่าให้กับข้อมูลของชุมชนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ เช่น ด้านการท่องเที่ยว การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ การระบุตำแหน่งของสถานที่และทรัพยากรที่สำคัญต่างๆ ในชุมชน เป็นต้น เหล่านี้สามารถนำสามารถนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชน (community data-driven apps) งานสัมมนานี้จะเป็นการให้ความรู้ และอภิปรายในประเด็น หน่วยงานภาครัฐจะสามารถสนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ได้อย่างไรบ้างในยุคชีวิตวิถีใหม่ โดยการแบ่งปันประสบการณ์ และข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญประเทศสาธาณรัฐเกาหลี และประเทศไทย

        Big data is one of the key technologies that can lead to improvement of quality of citizens’s lives in terms of creating economic and social impacts as well as improving employment opportunities. The development of big data system involves several key technologies including big data analytics, security infrastructure, government information systems and data ecosystems. One of the key challenges of building big data system is how to utilize the data from the system to benefit citizen lives especially in supporting problem alleviation of communities. A vision of community big data platform aimed at creating big data system targeted at community data. With such a platform, local governments can conduct community strengths & weaknesses analysis to support better policy planning, such as those related to targeted community-based poverty alleviation. In addition, business and industries can improve their business planning based on community data such as tourism, product marketing, and location-based community resource data, etc. Citizen can beneficially receive improved citizen services via data-driven apps developed based on the community data.

        This seminar aims to conduct knowledge sharing and discussion on how policies and technologies could facilitate the development of community big data platform in life under this ‘new normal’. Insights and experiences on these aspects will be shared by experts from the Republic of Korea and Thailand.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

March 26, 2021

Part I

Opening ceremony/พิธีเปิดงานสัมมนา

13.30 – 13.35 น.

Welcome remarks/กล่าวต้อนรับและที่มาของการสัมมนา

by Sarun Sumriddetchkajorn, Ph.D.  (ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร)

Deputy Executive Director, National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)/NSTDA รองผู้อำนวยการ เนคเทค สวทช.

13.35 – 13.40 น.

Congratulatory remarks/กล่าวแสดงความยินดี

By Hwang, Byeong Choen, Ph.D

Director General, Korea Local Information Research & Development Institute (KLID)

Part II

Implementation experiences for Big data platform

(Conducted in English language)

Moderated by Pornprom Ateetanan, Ph.D. (ดร. พรพรหม อธีตนันท์)                                                     

Deputy division director, Strategic planning and partner development, NECTEC/NSTDA
(รองผู้อำนวยการฝ่าย, ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เนคเทค สวทช.)

13.40 – 14.00 น.

Strategies and innovation of local governments in the age of data economy

By Beop-Yeon Kim, Ph.D, Research professor

Korea University School of Cybersecurity

14.00 – 14.20 น.

Using personal information as artificial intelligence learning data

By Seungjae Jeon, Ph.D, Attorney, Barun Law LLC

14.20 – 14.40 น.

Introduction of Jeju Island Big Data Platform Use Cases

By Kim Ki-Hong, Director, Digital Convergence Division

and Park Ki-Bum, Team Leader, Big Data

Jeju Special Self-Governing Province

14.40 – 15.00 น.

Thailand’s “One Tambon One University” Program

by Asst. Prof. Wannarat Suntiamorntut, Ph.D, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)  and Asst. Prof. Akkarit Sangpetch, Ph.D., CMKL University  (ผศ.ดร. อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร, CMKL University)

Part III

Panel discussion การเสวนา

“ความสำคัญของแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่ – การประยุกต์ใช้งาน การเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูล และโอกาสทางธุรกิจ ปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อน และบทบาทหลังจากการแพร่ระบาด”

(Conducted in Thai Language)

“The importance of big data platform and its applications on communities for the new normal: role of community big data platform after the pandemic, applications for community and business opportunities, key mechanisms for development

Moderated by Marut Buranarach, Ph.D., Research Group Director, Data Science and Analytics Research Group (DSARG), NECTEC/NSTDA

ดำเนินการเสวนา โดย ดร. มารุต บูรณรัช ผู้อำนวยการ กลุ่มวิจัยวิทยากรข้อมูลและการวิเคราะห์, เนคเทค สวทช.

15.00 – 16.00 น.

Panel discussion “The importance of big data platform and its applications on communities for the new normal” 

การเสวนา “ความสำคัญของแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่”

Panelists/ผู้ร่วมเสวนา:

  1. Asst. Prof. Wannarat Suntiamorntut, Ph.D, Prince of Songkhla University
    (ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
  2. Asst. Prof. Akkarit Sangpetch, Ph.D, CMKL University
    (ผศ.ดร. อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร, CMKL University)
  3. Suttipong Thajchayapong, Ph.D, Research team leader, Strategic Analytics Networks with Machine Learning and AI Research Team)

(ดร. สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์, หัวหน้าทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช.)

16.00-16.20 น.

Q & A

16.20-16.30 น.

Wrap up By Marut Buranarach, Ph.D. 

สรุปการเสวนา โดย ดร. มารุต บูรณรัช

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) appeared first on NAC2021.

]]>
Taiwan Data Cube workshop http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss21-taiwan-data-cube-workshop/ Tue, 02 Mar 2021 10:14:47 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4313 Taiwan Data Cube workshop Taiwan Data Cube workshop         The growing Earth Observation satellite data requires an open and freely accessible exploitation tool to facilitate the development and sustainability of applications on land use and land cover change, water resources and forest monitoring, etc. The Open Data Cube (ODC) is especially suitable […]

The post Taiwan Data Cube workshop appeared first on NAC2021.

]]>

Taiwan Data Cube workshop

Taiwan Data Cube workshop

        The growing Earth Observation satellite data requires an open and freely accessible exploitation tool to facilitate the development and sustainability of applications on land use and land cover change, water resources and forest monitoring, etc. The Open Data Cube (ODC) is especially suitable for geospatial data management & analysis for modern Thai Agriculture, one of the focused topics under the BCG model.

        Open Data Cube (ODC) was initiated by the Committee on Earth Observation Satellites (CEOS) to provide a solution with new computing technologies, to promote free and open EO satellite data and application algorithms, and to lower the technical barriers for users to exploit the data. Currently, based on ODC infrastructure Taiwan Data Cube (TWDC) is under developing and operating for distributing Analysis Ready Data (ARD) and delivering corresponding application for geospatial data users in Taiwan. In this workshop, not only the system framework and data preparation of ODC will be provided, the practical applications of TWDC will also be introduced. Following topics will be discussed in this workshop: (1) Overview and framework of TWDC, (2) Preparation and usage of ARD in TWDC. (3) Introduction to the applications of TWDC. Through this workshop, the valuable experience and practice of TWDC will be shared and exchanged with international participants to establish localized ODC for foreign countries and third-party international organizations. Under the collaboration with CEOS, hope that the staged achievement of TWDC can be an example in international cooperation projects of ODC.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

26 March 2021

09:00 – 09:20

NSPO Introduction
By Mr. Eddy Yang, Principal Engineer, NSPO

9:20 – 10: 10

Overview and Framework of Taiwan Data Cube (TWDC)
By Ms. Charlotte Hsu, Engineer, NSPO

10:10 -11:10

ARD Preparation and Usage in Taiwan Data Cube
By Dr. Chang Li-Yu, Researcher, NSPO

11:10 – 12:00

TWDC Demo
By Mr. Wei Hsuan-Cheng, Engineering, NSPO

12.00 – 13.00

Break – Lunch time

13:30 – 13:50

Data Cube Applications
By Ms. Cynthia Liu, Division Director, NSPO

13:50 – 15:20

TWDC application in Thailand
By Dr. Noppadon Khiripet, NECTEC

15:20 – 16:00

Q&A

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Taiwan Data Cube workshop appeared first on NAC2021.

]]>
Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss17-post-covid19-opportunities/ Tue, 02 Mar 2021 09:35:20 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=8194 Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World”         For over 15 years, the National Science and Technology Development Agency (NSTDA) has been hosting the NSTDA Annual Conference, or NAC, to showcase the research and innovation that NSTDA and its local and international partners have achieved over […]

The post Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” appeared first on NAC2021.

]]>

Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World”

        For over 15 years, the National Science and Technology Development Agency (NSTDA) has been hosting the NSTDA Annual Conference, or NAC, to showcase the research and innovation that NSTDA and its local and international partners have achieved over the year. Comprehensive scientific seminars, exhibitions, the Thailand Science Park Open House, a job fair, and STEM educational activities complete the full program of NAC, making it one of the most exciting events of the year for our scientific community.

        NAC2019, the last conference held before the pandemic hit, was a great success and attracted more than 5,000 participants to the scientific seminars/workshops, 4,065 visitors to the exhibition, and 367 attendees to the open house activities. The program consisted of 49 scientific conferences, seminars and workshops. On display in the exhibition zone were over 100 inventions developed by NSTDA and its partners from the public, private and academic domains, as well as by the tenants of Thailand Science Park. An open house activity introduced visitors from the private sector to the laboratories of NSTDA and to the tenants of Thailand Science Park that offer research and testing services.

        NAC2021 will be held on 25 – 30 March 2021 with a focus on the “Bio-Circular-Green Economy (BCG)”.  Thailand is investing heavily in BCG to achieve a sustainable and inclusive economy, and is employing science, technology and innovation to enhance the country’s competitiveness. The BCG sector comprises many of the country’s most important industries: agriculture and food; bioenergy, biomaterials and biochemicals; medical and wellness; and tourism and the creative economy. By 2025, the Thai Government aims to increase the value of these industries by 30 percent, making  BCG industries equivalent to 25 percent of GDP.

        One of the highlights of NAC2021 highlights will be the Presidents’ Forum – an invitation-only roundtable in which leaders of prominent international research organizations are invited to share and discuss their views  on various science, technology and innovation issues with leaders of research and academic institutes in Thailand

        The Presidents’ Forum was first organized at NAC2019 and focused on R&D management. Participants included Prof. James C. Liao (President of Academia Sinica), Prof. Yeong-Her Wang (President of National Applied Research Laboratories, NARLabs), Dr. Raj Thampuran (Managing Director of Agency for Science, Technology and Research, A*STAR, Singapore) and Dr. Eden Y. Woon (President of Asian Institute of Technology, AIT).

        The 2021 Presidents’ Forum is scheduled to take place on 26 March 2021 with the theme “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” where discussions will focus on how research and innovation can support BCG and sustainability in the world after the pandemic and provide opportunities for international collaboration.

        NAC2021 will be held in a hybrid format with a combination of onsite and online platforms with the onsite activities taking place at Thailand Science Park. Like its previous editions, NAC2021 will consist of a wide range of activities including scientific seminars, discussions, exhibitions, STEM activities for children and Thailand Science Park Open House.

        This event brings together presidents and leaders of leading scientific organizations and academic institutes from Thailand and overseas to share experience, perspective and best practice on the commercialization of research results. The forum also aims at promoting collaboration among institutes to advance the process of research translation and commercialization.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

March 26, 2021

13:30 – 13:40

Welcome Remarks and Introduction to the Presidents’ Forum

By Dr. Lily Eurwilaichitr
NSTDA Vice President

13.40 – 14.00

Opening Remarks

By Dr. Narong Sirilertworakul
NSTDA President

14.00 – 15.20

Keynote Speeches on “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World”

1) Dr. Chen Chien-jen
Former Vice President, Taiwan
Theme: Health and Vaccine

2) Prof. Dr. Hasan Mandal
President, Scientific and Technological Research Council of Turkey (TÜBITAK), Turkey
Theme: Sustainable Development

3) Prof. Joachim von Braun
Director, Center for Development Research (ZEF), Bonn University, Germany
Theme: Bioeconomy Policy

4) Prof. Emeritus Dr. Kraisid Tontisirin
Senator and Former Director of Food and Nutrition Division, Food and Agriculture Organization of the United Nations
Theme: Food and Agriculture

15.20 – 16.20

Open Discussion

Moderated by Prof. Prasit Palittapongarnpim, NSTDA Executive Vice President

16.20 – 16.30

Conclusions and Closing Remarks

By Dr. Narong Sirilertworakul
NSTDA President

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” appeared first on NAC2021.

]]>
Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss44-functional-ingredients/ Tue, 02 Mar 2021 05:23:08 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5659 Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19         วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในวงกว้าง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ถูก disrupt จากวิกฤตครั้งนี้ ทั้งจากปัญหา supply chain disruption ในช่วงมาตรการ lockdown รวมไปถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยุค new normal หลัง COVID-19 จะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป เช่น 1) ความปลอดภัยจากการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม “food safety and transparency” 2) ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางเลือกเช่นอาหารเนื้อสัตว์ทดแทน (alternative meats) ผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกจากพืช (plant-based foods) โดยเฉพาะถั่ว เห็ด สาหร่าย ซึ่งให้โปรตีนสูง ผลิตภัณฑ์นมที่ทำจากพืช (plant-based milk) เช่น […]

The post Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 appeared first on NAC2021.

]]>

Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19

Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19

        วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในวงกว้าง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ถูก disrupt จากวิกฤตครั้งนี้ ทั้งจากปัญหา supply chain disruption ในช่วงมาตรการ lockdown รวมไปถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยุค new normal หลัง COVID-19 จะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป เช่น

1) ความปลอดภัยจากการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม “food safety and transparency”

2) ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางเลือกเช่นอาหารเนื้อสัตว์ทดแทน (alternative meats) ผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกจากพืช (plant-based foods) โดยเฉพาะถั่ว เห็ด สาหร่าย ซึ่งให้โปรตีนสูง ผลิตภัณฑ์นมที่ทำจากพืช (plant-based milk) เช่น ข้าวโอ๊ต หรืออัลมอนด์ หรือผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่งและเติมสารอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะบุคคล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหรือรักษาโรคได้

3) การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ unmanned factory และ humanless warehouse โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการพึ่งพาแรงงานคน และลดต้นทุนของภาคธุรกิจในระยะยาว

      ดังนั้นภาครัฐและภาคเอกชนต้องบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อวางกลยุทธ์การเติบโตและเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อขับเคลื่อน ประเทศไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

     วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเผยแพรความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของ Functional ingredient ในอุตสาหกรรมอาหาร
  2. เพื่ออัพเดทสถานการณ์ แนวโน้ม การตลาดของ Functional ingredient ในช่วงวิกฤตโควิด-19
  3. เพื่อเปิดโอกาสให้คำปรึกษา แนะนำงานวิจัยไทย และผู้ประกอบการ เพื่อสร้างการแข่งขันของตลาด Functional ingredient ในระดับนานาชาติ



วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

13:00-13:30 น.

ล็อกอินเข้าระบบออนไลน์

13:30-13.35 น.

พิธีกรกล่าวต้อนรับ และแจ้งกำหนดการ

13:35-14:15 น.

เทรนอุตสาหกรรมอาหารโลกและความท้าทายของอุตสาหกรรมอาหารหลังวิกฤตโควิด-19 

โดย  คุณเกวลิน หวังพิชณสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

14:15-15.00 น.

Functional Ingredients สำหรับอุตสาหกรรมอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ 

โดย ดร.ไว ประทุมผาย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ

15.00-15.45 น. 

Functional Ingredients สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและอาหารเสริม

โดย ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

15.45-16.30 น.

Functional Ingredients สำหรับอุตสาหกรรมอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

โดย ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 appeared first on NAC2021.

]]>
มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss43-robots-smart-bed-standard-regulations/ Tue, 02 Mar 2021 05:20:08 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5529 มาตรฐานและระเบียบสำหรับ หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย Robots and Smart Bed for Aging care : Standard and Regulations           ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้วในปี พ.ศ.2564  ภาครัฐได้กำหนดให้สังคมสูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ และได้วางแผนเพื่อการเตรียมพร้อมในการรับมือ ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมทุนวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อผลักดันการสร้างอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการในประเทศไทย ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์โดยคนไทยสู่ตลาดมากขึ้น เป็นการลดการนำเข้า เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาที่สูงได้ ลดความเหลือมล้ำทางสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ         ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่ออกมาเพื่อตอบสนองต่อสังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ หุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกควบคุมด้วยระบบตรวจสอบมาตรฐานประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผู้ประกอบการและนักวิจัยจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการควบคุม แนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ การขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์และการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย และวิธีการทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดมาตรฐานที่สำคัญของเครื่องมือแพทย์         สัมมนานี้จึงจะมุ่งเน้นที่อุปกรณ์หุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้ภาพในองค์รวมอย่างย่อเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการ นักวิจัย  นักออกแบบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกได้รับทราบข้อมูลและหลักการการทดสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค จะเป็นการช่วยผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในประเทศสามารถสร้างความเข้มแข็งด้านสวัสดิการการบริการผู้สูงอายุและผู้พิการและสร้างเศรษฐกิจให้ประเทศได้    วัตถุประสงค์ 1) เพื่อการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์ […]

The post มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย appeared first on NAC2021.

]]>

มาตรฐานและระเบียบสำหรับ

หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย

มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย

Robots and Smart Bed for Aging care : Standard and Regulations  

        ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้วในปี พ.ศ.2564  ภาครัฐได้กำหนดให้สังคมสูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ และได้วางแผนเพื่อการเตรียมพร้อมในการรับมือ ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมทุนวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อผลักดันการสร้างอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการในประเทศไทย ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์โดยคนไทยสู่ตลาดมากขึ้น เป็นการลดการนำเข้า เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาที่สูงได้ ลดความเหลือมล้ำทางสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ

        ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่ออกมาเพื่อตอบสนองต่อสังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ หุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกควบคุมด้วยระบบตรวจสอบมาตรฐานประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผู้ประกอบการและนักวิจัยจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการควบคุม แนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ การขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์และการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย และวิธีการทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดมาตรฐานที่สำคัญของเครื่องมือแพทย์

        สัมมนานี้จึงจะมุ่งเน้นที่อุปกรณ์หุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้ภาพในองค์รวมอย่างย่อเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการ นักวิจัย  นักออกแบบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกได้รับทราบข้อมูลและหลักการการทดสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค จะเป็นการช่วยผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในประเทศสามารถสร้างความเข้มแข็งด้านสวัสดิการการบริการผู้สูงอายุและผู้พิการและสร้างเศรษฐกิจให้ประเทศได้   

วัตถุประสงค์ 
1) เพื่อการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่ายเครื่องมือแพทย์
2) เพื่อการเรียนรู้หลักการทดสอบตามมาตรฐานที่สำคัญในการดำเนินการทำมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค
3) เพื่อการประชาสัมพันธ์แนวทางการขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทย เป็นการส่งเสริมการตลาดของภาครัฐ
4) เพื่อเปิดโอกาสให้คำปรึกษากาผู้ประกอบการที่กำลังจะทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์

กลุ่มเป้าหมายที่ควรเข้าร่วมกิจกรรม
1) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วย
2) ผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องการขยายสายการผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์ประเภท 1 ความเสี่ยงต่ำ
3) นักวิจัยหรือนักพัฒนาที่ต้องการต่อยอดผลงานอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสู่พาณิชย์

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.35 น.

ระเบียบการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ

โดย คุณธเนศ วิริยะเมธานนท์
วิศวกรชีวการแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

09.40-10.20 น.

มาตรฐานสำหรับหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ 

โดย ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์
ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)

10.25-11.05 น.

มาตรฐานสำหรับเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ

โดย คุณเรืองฤทธิ์ หนิแหนะ
วิศวกรอาวุโส ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)

11.10-11.40 น.

การทดสอบ Software Validation IEC 62304

โดย ดร.พนิตา เมนะเนตร
ผู้จัดการห้องปฏิบัติการทดสอบซอฟต์แวร์ (SQUAT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
 (NECTEC)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย appeared first on NAC2021.

]]>
การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing” http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss19-herbal-cosmeceutical/ Mon, 01 Mar 2021 17:17:05 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3794 พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceutical” 1) การเสวนา: “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” 2) Knowledge Sharing: “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing”         เวชสำอาง (Cosmeceuticals) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องสำอางและ/หรือยาไว้ด้วยกัน การใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางคาดหวังการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ หรือเรียกได้ว่าเป็น “Functional cosmetics” ซึ่งสารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin ต่างๆ, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืช/สมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ คำว่า “เวชสำอาง” […]

The post การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing” appeared first on NAC2021.

]]>

พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceutical”

1) การเสวนา: “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals”
2) Knowledge Sharing: “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing”

        เวชสำอาง (Cosmeceuticals) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องสำอางและ/หรือยาไว้ด้วยกัน การใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางคาดหวังการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ หรือเรียกได้ว่าเป็น “Functional cosmetics” ซึ่งสารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin ต่างๆ, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืช/สมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ คำว่า “เวชสำอาง” เป็นคำที่ไม่มีนิยามตามกฎหมาย ไม่ว่าจะจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของเมืองไทย เอเชีย อเมริกา หรือประเทศกลุ่มยุโรป ดังนั้นในการโฆษณาสินค้าเหล่านี้ทางกฎหมายจึงถือเป็นเครื่องสำอาง จึงต้องโฆษณาให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลการโฆษณาเครื่องสำอางตามบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ต้องไม่โฆษณาคุณสมบัติมากไปกว่าการเป็นเครื่องสำอาง  ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการกำหนดนิยามของคำว่า “เวชสำอางสมุนไพร หรือ Herbal Cosmeceutical” ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านเวชสำอางเพื่อจัดจำหน่าย ที่ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทราบแนวทาง หลักเกณฑ์และต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของการขี้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

       โดยข้อมูลสำคัญประการหนึ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์คือข้อมูลผลการวิเคราะห์ทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสำคัญ/สารออกฤทธิ์ที่ทางผู้ประกอบการต้องการใช้เพื่อแสดงผล“Functional claim” ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบัน วิธีการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารออกฤทธิ์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สามารถทดสอบได้ในระดับ in vitro ซึ่งประกอบด้วยโมเดลเซลล์ผิวหนัง 2 มิติ และเนื้อเยื่อผิวหนัง 3 มิติ โดยในโมเดลเซลล์ผิวหนัง 2 มิติ จะประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวซึ่งเหมาะในการทดสอบเบื้องต้น หรือการทดสอบในเชิงลึกที่ต้องการดูผลในเซลล์ผิวหนังเพียงชั้นเดียว สำหรับโมเดลเนื้อเยื่อผิวหนัง 3 มิตินั้นจะมีข้อจำกัดในด้าน Physical barrier โดยมีผิวหนังชั้น Stratum corneum ที่บอบบางกว่าผิวหนังจริง, การขาดเซลล์บางชนิดในผิวหนัง, มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้โมเดลนี้ยังคงมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากผิวหนังจริง อีกทั้งยังมีราคาแพง

        โมเดลชิ้นส่วนผิวหนังของมนุษย์ (ex-vivo skin model) ได้มาจากการตัดชิ้นส่วนผิวหนังของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้มาจากผิวหนังส่วนหน้าท้อง (Abdominal skin) และนำมาเลี้ยงภายนอกร่างกาย ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม โดยมีข้อดีคือมีคุณลักษณะที่ใกล้เคียงกับผิวหนังจริงมากที่สุด เนื่องจากยังคงมีเซลล์และโครงสร้างที่พบในผิวหนังจริงหลงเหลืออยู่ มีความแข็งแรง ทำให้โมเดลนี้เหมาะกับการทดสอบเพื่อหาสูตรตำรับที่เหมาะสม ก่อนที่จะทำไปทดสอบในอาสาสมัคร นอกจากนี้โมเดลชิ้นส่วนผิวหนังยังมีราคาถูก สามารถเห็นผลการทดสอบได้ในระยะเวลาอันสั้น, และสามารถใช้ทดสอบหากลไกเชิงลึก มีวิธีการเตรียม Tissue culture ที่ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาในการเตรียมสั้นกว่า เมื่อเทียบกับโมเดลเซลล์ผิวหนัง 3 มิติ รวมถึงสามารถตัดชิ้นส่วนของผิวหนังของผู้สูงอายุ หรือคนที่เป็นโรคเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาได้อีกด้วย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทย
ด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals”

Efficacy Testing of Anti-Aging Products
in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 1)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 1)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products
in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 2)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 2)

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.15 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดงาน

โดย ภญ.ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
Super Manager โปรแกรมเวชสำอาง สวทช.

09.15-10.00 น.

การเสวนาหัวข้อ “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” 

โดย 1) ภก.วราวุธ เสริมสินสิริ
ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

2) ภญ.ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
Super Manager โปรแกรมเวชสำอาง, สวทช.

3) ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท สเปเชียลตี้ อินโนเวชั่น จำกัด                                      และ บริษัท สเปเชียลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด

ดำเนินรายการโดย  ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี 
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.

10.00-10.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Breakthroughs in Aging Research That Will Transform the Future of Anti-Aging Products          

โดย ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.

10.45-12.00 น.

การบรรยายหัวข้อ “Skin Aging Biology”

 

โดย ศ.ดร.ภญ.จารุภา วิโยชน์
คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

12.00-13.00 น.

พักกลางวัน

13.00-13.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Anti-Aging Testing of Active Ingredients & Products in Ex Vivo Skin Models”

 

โดย ดร.วันนิตา กลิ่นงาม
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

13.45-14.30 น.

การบรรยายหัวข้อ Efficacy Testing of Cosmeceutical Products Using Ex Vivo skin models” (บรรยายภาษาอังกฤษ)

โดย Dr.Nikita Radionov
Subsidiary and Technical-commercial Actions Manager,  Laboratoire BIO-EC FRANCE

14.30-15.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Clinical Trials”

โดย รศ.ภญ.ดร.ภญ.มยุรี กัลยาวัฒนกุล 
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง             

หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing” appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss48-eboat-ebike/ Mon, 01 Mar 2021 17:02:25 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5233 เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Powertrain Technology Design and Production for Electric Boat and Motorcycle Industries       เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง กำลังมุ่งไปสู่การขับเคลื่อนยานพาหนะด้วยพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยานพาหนะไฟฟ้า จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการ รวมถึงผู้ใช้ ต่างให้ความสนใจ และเป็นทิศทางที่กำลังมุ่งไป นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ด้วยยานพาหนะไฟฟ้า ก็ยังเป็นโอกาสในการผลิตทั้งชิ้นส่วนที่มีมูลค่าสูงในยานพาหนะ และผู้ให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งทางบก อย่างรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และทางน้ำอย่างเรือไฟฟ้า ที่ถูกมองเป็นโอกาสอุตสาหกรรมในประเทศไทย         ชิ้นส่วนสำคัญในเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบไปด้วย ชุดอุปกรณ์ทางกลใชการขับเคลื่อน ชุดวัสดุอุปกรณ์เชิงโครงสร้าง ชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ชุดอุปกรณ์ประจุไฟฟ้า และที่สำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดอย่างชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้า (Electric Powertrain) ที่ประกอบไปด้วยชุดมอเตอร์ ระบบควบคุม และแบตเตอรี่สำหรับขับเคลื่อนยานพาหนะไฟฟ้า ในการเสวนาในครั้งนี้ จะเป็นแสดงให้เห็นถึงโอกาสในเชิงธุรกิจ […]

The post เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

Powertrain Technology Design and Production for Electric Boat and Motorcycle Industries

      เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง กำลังมุ่งไปสู่การขับเคลื่อนยานพาหนะด้วยพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยานพาหนะไฟฟ้า จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการ รวมถึงผู้ใช้ ต่างให้ความสนใจ และเป็นทิศทางที่กำลังมุ่งไป นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ด้วยยานพาหนะไฟฟ้า ก็ยังเป็นโอกาสในการผลิตทั้งชิ้นส่วนที่มีมูลค่าสูงในยานพาหนะ และผู้ให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งทางบก อย่างรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และทางน้ำอย่างเรือไฟฟ้า ที่ถูกมองเป็นโอกาสอุตสาหกรรมในประเทศไทย

        ชิ้นส่วนสำคัญในเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบไปด้วย ชุดอุปกรณ์ทางกลใชการขับเคลื่อน ชุดวัสดุอุปกรณ์เชิงโครงสร้าง ชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ชุดอุปกรณ์ประจุไฟฟ้า และที่สำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดอย่างชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้า (Electric Powertrain) ที่ประกอบไปด้วยชุดมอเตอร์ ระบบควบคุม และแบตเตอรี่สำหรับขับเคลื่อนยานพาหนะไฟฟ้า ในการเสวนาในครั้งนี้ จะเป็นแสดงให้เห็นถึงโอกาสในเชิงธุรกิจ และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการออกแบบ และผลิตชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้า (Electric Powertrain) ที่ประกอบไปด้วยการออกแบบแบตเตอรี่แพ็ก ตั้งแต่การคัดเลือกเซลล์แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน การออกแบบโครงสร้างการเชื่อมต่อจากเซลล์เป็นโมดูล และเป็นแพ็กแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน การออกแบบโครงสร้าง จุดยึดเชื่อมต่อชุดแบตเตอรี่แพ็กเข้ากับยานพาหนะไฟฟ้า การออกแบบระบบจัดการความร้อนภายในชุดแบตเตอรี่ขณะทำงาน การออกแบบระบบจัดการแบตเตอรี่ และการออกแบบระบบสื่อสาร และชุดมอเตอร์และระบบควบคุม ตั้งแต่การออกแบบเพื่อหากำลังมอเตอร์ที่ต้องการ และการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบควบคุมที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมภายในยานพาหนะไฟฟ้า มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบส่งกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานในเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจักรยานยนต์ไฟฟ้า

      งานเสวนาในครั้งนี้คาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมจะได้รับมุมมองทางธุรกิจในการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม
ยานยนต์สมัยใหม่ และชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ และรับองค์ความรู้สำคัญในการออกแบบและผลิตชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้าสำหรับเรือไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อนำไปต่อยอดสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ และยกระดับอุตสาหกรรมไทยต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.30 – 09.45 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม 

โดย นายณัฏฐวัชช์ รุ่งเสถียรธร 

ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.45 – 10.45 น.

เทคโนโลยีการออกแบบแบตเตอรี่แพ็ก และ เทคโนโลยีการออกแบบมอเตอร์และระบบขับเคลื่อน

โดย ดร.มานพ มาสมทบ ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน
ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
และ ดร.บุรินทร์ เกิดทรัพย์ ทีมวิจัยมอเตอร์และการแปลงผันกำลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

10.45 – 12.15 น.

เสวนา: เทคโนโลยีการออกแบบชุดระบบส่งกำลังเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 

ดำเนินการเสวนาโดย นายสรวิศ วณิชอนุกูล 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

รายชื่อผู้ร่วมเสวนา

  1. นายวีรพลน์ เตชะผาสุขสันติ
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด
  1. นายวสันต์พรรษ ภูริณัฐภูมิ
    ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา
    บริษัท จีพี มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
  1. ดร.สิริกานดา นวลแสง
    ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
    บริษัท เบต้าเอเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด
  1. ดร.มานพ มาสมทบ
    ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน
    ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
  1. ดร.บุรินทร์ เกิดทรัพย์
    ทีมวิจัยมอเตอร์และการแปลงผันกำลังงาน 
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า appeared first on NAC2021.

]]>
การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 1/2) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/28/ss40-rehabilitation-engineering/ Sun, 28 Feb 2021 07:48:41 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4128 ต้นแบบวิศวกรรม ฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับกลุ่มความร่วมมือด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแห่งเอเชีย (Coalition on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology of Asia: CREATe Asia) กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 15 (The 15th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe 2021) ณ  โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในงานประชุมดังกล่าวกำหนดให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC 2021) […]

The post การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 1/2) appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบวิศวกรรม

ฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

        ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับกลุ่มความร่วมมือด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแห่งเอเชีย (Coalition on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology of Asia: CREATe Asia) กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 15 (The 15th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe 2021) ณ  โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2564

       โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในงานประชุมดังกล่าวกำหนดให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC 2021) เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้คิดและสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นนวัตกรรมช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุเข้าร่วมการประกวดโดย สวทช. จะคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษาตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประกวดดังกล่าว 

        ทั้งนี้ สวทช. ได้จัดการอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ก่อนการประกวดสิ่งประดิษฐ์ฯ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่สนใจส่งผลงาน ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ

กำหนดการ

วันที่ 27 มีนาคม 2564

08.45-09.00 น.

เข้าสู่ระบบออนไลน์

09.00-09.30 น.

กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน พร้อมบรรยายหัวข้อ SIC & i-CREATe เส้นทางจากนักประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สู่ผู้ประกอบการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ

โดย อาจารย์วันทนีย์ พันธชาติ
ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะทาง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

09.30-10.00 น.

บรรยายเรื่องกระบวนการคิด พร้อมแนะแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ
รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารองค์กรและสารสนเทศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

10.30-11.00 น.

พักเบรค

11.00-12.00 น.

บรรยายเรื่องกระบวนการคิด พร้อมแนะแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่แนวคดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ (ต่อ)

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ

14.30-15.00 น.

พักเบรค

15.00-17.00 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

14.30-15.00 น.

พักเบรค

วันที่ 28 มีนาคม 2564

09.00-10.30 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

10.30-11.00 น.

พักเบรค

11.00-12.00 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.

ทบทวนกระบวนการคิด ปรับปรุงแนวคิด ปรับแก้ข้อเสนอโครงการ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ

14.30-15.00 น.

พักเบรค

15.00-16.00 น.

ทบทวนกระบวนการคิด ปรับปรุงแนวคิด ปรับแก้ข้อเสนอโครงการ (ต่อ)

16.00-17.00 น.

วิทยากรตอบข้อซักถามจากทีมนักศึกษาฯ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 1/2) appeared first on NAC2021.

]]>
การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 2/2) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/28/ss40-rehabitation-engineering-day2/ Sat, 27 Feb 2021 22:04:19 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4199 ต้นแบบวิศวกรรม ฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับกลุ่มความร่วมมือด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแห่งเอเชีย (Coalition on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology of Asia: CREATe Asia) กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 15 (The 15th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe 2021) ณ  โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในงานประชุมดังกล่าวกำหนดให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC 2021) […]

The post การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 2/2) appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบวิศวกรรม

ฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

        ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับกลุ่มความร่วมมือด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแห่งเอเชีย (Coalition on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology of Asia: CREATe Asia) กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 15 (The 15th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe 2021) ณ  โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2564

       โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในงานประชุมดังกล่าวกำหนดให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC 2021) เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้คิดและสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นนวัตกรรมช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุเข้าร่วมการประกวดโดย สวทช. จะคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษาตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประกวดดังกล่าว 

        ทั้งนี้ สวทช. ได้จัดการอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ก่อนการประกวดสิ่งประดิษฐ์ฯ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่สนใจส่งผลงาน ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ

กำหนดการ

วันที่ 27 มีนาคม 2564

08.45-09.00 น.

เข้าสู่ระบบออนไลน์

09.00-09.30 น.

กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน พร้อมบรรยายหัวข้อ SIC & i-CREATe เส้นทางจากนักประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สู่ผู้ประกอบการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ

โดย อาจารย์วันทนีย์ พันธชาติ
ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะทาง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

09.30-10.00 น.

บรรยายเรื่องกระบวนการคิด พร้อมแนะแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ
รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารองค์กรและสารสนเทศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

10.30-11.00 น.

พักเบรค

11.00-12.00 น.

บรรยายเรื่องกระบวนการคิด พร้อมแนะแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่แนวคดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ (ต่อ)

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ

14.30-15.00 น.

พักเบรค

15.00-17.00 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

14.30-15.00 น.

พักเบรค

วันที่ 28 มีนาคม 2564

09.00-10.30 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

10.30-11.00 น.

พักเบรค

11.00-12.00 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.

ทบทวนกระบวนการคิด ปรับปรุงแนวคิด ปรับแก้ข้อเสนอโครงการ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ

14.30-15.00 น.

พักเบรค

15.00-16.00 น.

ทบทวนกระบวนการคิด ปรับปรุงแนวคิด ปรับแก้ข้อเสนอโครงการ (ต่อ)

16.00-17.00 น.

วิทยากรตอบข้อซักถามจากทีมนักศึกษาฯ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 2/2) appeared first on NAC2021.

]]>
ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss38-creative-economy-biodiversity-travelling/ Sat, 27 Feb 2021 15:48:22 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4847 ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ Enhancing Hi-value Tourism with Cultural and Biodiversity        “แพลตฟอร์มนวนุรักษ์” การบูรณาการข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลให้สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในรูปแบบเปิด (linked data and open data) และพัฒนาโมดูลต่างๆ เพื่อขยายแพลตฟอร์มดิจิทัลให้รองรับการนําไปใช้ในบริบทการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งเสริมการนําข้อมูลดิจิทัลที่มีชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูลไปต่อยอด โดยภาคเอกชนที่มีแพลตฟอร์มสินค้า  สามารถนํามาเชื่อมโยงกับข้อมูลเฉพาะของชุมชนและสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มได้ เกิดการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ยกระดับปราชญ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อดึงความรู้ที่เป็น tacit knowledge ในการสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยว         ทั้งนี้ประเด็นในการเสวนาจะประกอบด้วยแง่มุมต่างๆ ได้แก่       1) ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์       2) การรวบรวม การจัดเก็บ และการเชื่อมโยงข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัล       3) การใช้ประโยชน์ข้อมูลวัฒนธรรม ชีวภาพอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน    […]

The post ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ appeared first on NAC2021.

]]>

ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรม
และความหลากหลายทางชีวภาพ

ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ

Enhancing Hi-value Tourism with Cultural and Biodiversity

       “แพลตฟอร์มนวนุรักษ์” การบูรณาการข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลให้สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในรูปแบบเปิด (linked data and open data) และพัฒนาโมดูลต่างๆ เพื่อขยายแพลตฟอร์มดิจิทัลให้รองรับการนําไปใช้ในบริบทการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งเสริมการนําข้อมูลดิจิทัลที่มีชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูลไปต่อยอด โดยภาคเอกชนที่มีแพลตฟอร์มสินค้า  สามารถนํามาเชื่อมโยงกับข้อมูลเฉพาะของชุมชนและสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มได้ เกิดการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ยกระดับปราชญ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อดึงความรู้ที่เป็น tacit knowledge ในการสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยว 

       ทั้งนี้ประเด็นในการเสวนาจะประกอบด้วยแง่มุมต่างๆ ได้แก่
       1) ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
       2) การรวบรวม การจัดเก็บ และการเชื่อมโยงข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัล
       3) การใช้ประโยชน์ข้อมูลวัฒนธรรม ชีวภาพอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน
       4) การประยุกต์วัฒนธรรมดิจิทัลสู่บริบทการท่องเที่ยวทางวีชวภาพอัตลักษณ์ชุมชน

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

13.00 – 13.15 น.

พิธีกร กล่าวต้อนรับ และแนะนำวิทยากร

13.15-13.30 น.

กล่าวเปิดการเสวนา หัวข้อ “ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ”   

โดย  ดร.กัลยา อุดมวิทิต
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

13.30-15.30 น.

การเสวนา ในหัวข้อ 

“ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ”   

1. นางสาววัชรี ชูรักษา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ 
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

2. อาจารย์ ดร.อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์
รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. อาจารย์ประสาน เสถียรพันธุ์
ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก
โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา

4. นายสมศักดิ์ บุญคำ
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท โลเคิล อไลค์จำกัด (Local Alike Co,.Ltd)

5. ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) 
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

ดำเนินรายการโดย  นายสุภงช์ ไชยวงศ์  
นักวิชาการ งานพัฒนากำลังคนด้านอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ ศอ.

15.30-16.00 น.

ถาม-ตอบ

16.00 น.

กล่าวปิดการเสวนา

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss52-alternative-battery-eco-friendly/ Sat, 27 Feb 2021 12:06:39 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5994 นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัย ทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Battery innovation, a new alternative and eco-friendly battery         ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน  ซึ่งแบตเตอรี่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในฐานะของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าจะเป็นในระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ในยานยนต์ไฟฟ้า หรือในระบบกักเก็บพลังงาน        แบตเตอรี่ที่เป็นที่นิยมในเชิงพาณิชย์ใน ปัจจุบันคือแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากสมรรถนะที่สูง อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแร่ลิเธียม ทำให้ต้องนำเข้าแร่ลิเธียมจากต่างประเทศทั้งหมด ด้วยเหตุนี้แบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดการพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งสำรองแร่สังกะสี อีกทั้งแบตเตอรี่สังกะสียังมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น ด้านราคา ด้านความ ปลอดภัย และด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุดิบที่มีราคาถูกและมีปริมาณมากในธรรมชาติ แบตเตอรี่สังกะสีไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำมารีไซเคิลได้ ทั้งยังให้สมรรถนะที่ดี          จากเหตุผลที่กล่าวมา แบตเตอรี่สังกะสีจึงถูกวางให้เป็นแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ที่จะถูกพัฒนาให้เป็นแบตเตอรี่สมรรถนะสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับนานาประเทศ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้ง โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนในประเทศไทย” […]

The post นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัย

ทางเลือกใหม่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Battery innovation, a new alternative and ecofriendly battery

        ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน  ซึ่งแบตเตอรี่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในฐานะของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าจะเป็นในระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ในยานยนต์ไฟฟ้า หรือในระบบกักเก็บพลังงาน

       แบตเตอรี่ที่เป็นที่นิยมในเชิงพาณิชย์ใน ปัจจุบันคือแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากสมรรถนะที่สูง อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแร่ลิเธียม ทำให้ต้องนำเข้าแร่ลิเธียมจากต่างประเทศทั้งหมด ด้วยเหตุนี้แบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดการพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งสำรองแร่สังกะสี อีกทั้งแบตเตอรี่สังกะสียังมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น ด้านราคา ด้านความ ปลอดภัย และด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุดิบที่มีราคาถูกและมีปริมาณมากในธรรมชาติ แบตเตอรี่สังกะสีไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำมารีไซเคิลได้ ทั้งยังให้สมรรถนะที่ดี 

        จากเหตุผลที่กล่าวมา แบตเตอรี่สังกะสีจึงถูกวางให้เป็นแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ที่จะถูกพัฒนาให้เป็นแบตเตอรี่สมรรถนะสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับนานาประเทศ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้ง โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนในประเทศไทย” จึงเกิดขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยจากแหล่งทุน กฟผ-สวทช. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาและผลักดันเทคโนโลยีแบตเตอรี่สังกะสีเกิดขึ้นในประเทศไทยและในอนาคตมีแผนที่จะ จัดสร้างโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

09.00-09.10 น.

กล่าวต้อนรับ

โดย
ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ 

09.10-09.20 น.

เปิดงานเสวนา

โดย
อาจารย์พินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
ผู้ทรงคุณวุฒิโปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัย กฟผ.- สวทช.

09.20-10.00 น.

รายงานผล “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้งโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสี-แมงกานีสไดออกไซด์ ในประเทศไทย”

โดย
ดร.ปรียากาญจณ์ เอกสุวรรณฉาย

10.00-11.30 น.

Panel discussion “แนวทางการผลักดันและส่งเสริมธุรกิจระบบกักเก็บพลังงานและแบตเตอรี่สังกะสีไอออน

โดย

  • อาจารย์พินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
    ผู้ทรงคุณวุฒิโปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัย กฟผ.- สวทช.
  • พันเอกพิพัฒน นิลแก้ว
    ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่ทหาร โรงงานแบตเตอรี่ทหาร
  • คุณปริพัตร บูรณสิน
    ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการยานยนต์ไฟฟ้า สภาผู้แทนราษฎร
  • ดร.ไพโรจน์ ภานุกาญจน์
    ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานนวัตกรรม และบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าจากบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
  • รศ.ดร.สุรเทพ เขียวหอม
    อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.30-12.00 น.

กล่าวปิดงาน

โดย
ดร.อดิสร เตือนตรานนท์
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม appeared first on NAC2021.

]]>
แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss34-atmp/ Sat, 27 Feb 2021 11:33:11 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4388 แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs ชื่อเสวนาไทย การบรรยาย เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs   ชื่อเสวนาอังกฤษ Advanced therapy Medicinal Product, ATMP         ปัจจุบัน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าวิธีการรักษาโรคต่างๆ ที่การรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ หนึ่งในการรักษาที่กำลังเป็นที่สนใจคือการนำผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Product, ATMP)  ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์เซลล์บําบัดจากเซลล์มนุษย์ (Somatic Cell Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์ยีนบําบัด  (Gene Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineered Product) และผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงแบบลูกผสม (Combined ATMP) มาใช้ในการบำบัดรักษา โดยทั้งหมดนี้ถูกจัดเป็น ยา         […]

The post แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง appeared first on NAC2021.

]]>

แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs

ชื่อเสวนาไทย การบรรยาย เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง

และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs

 

ชื่อเสวนาอังกฤษ Advanced therapy Medicinal Product, ATMP

        ปัจจุบัน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าวิธีการรักษาโรคต่างๆ ที่การรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ หนึ่งในการรักษาที่กำลังเป็นที่สนใจคือการนำผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Product, ATMP)  ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์เซลล์บําบัดจากเซลล์มนุษย์ (Somatic Cell Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์ยีนบําบัด  (Gene Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineered Product) และผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงแบบลูกผสม (Combined ATMP) มาใช้ในการบำบัดรักษา โดยทั้งหมดนี้ถูกจัดเป็น ยา

        ในประเทศไทยได้มีการออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง แนวทางการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่เป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ชนิดผลิตภัณฑ์เซลล์บำบัด พ.ศ. 2561 และแนวทางการขึ้นทะเบียนตำรับยา ซึ่งระบุข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการขออนุญาต เช่น ข้อมูลการพัฒนาการศึกษาทั้งที่ไม่ใช่ทางคลินิก และทางคลินิก การควบคุมคุณภาพและการผลิต ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยง งานสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจถึงแนวทางที่นักวิจัยพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดการขึ้นทะเบียนนวัตกรรมของประเทศไทย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

9:00 – 9:20 น.

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและวัตถุประสงค์การจัดงาน

ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สวทช.

9:20 – 10:30 น.

  • แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง (ATMP) ในประเทศไทย โดย สำนักยา อย. 
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อยกเว้นต่างๆ 
    • ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่จัดเป็น ATMP 
  • ช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและแหล่งข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ

โดย ภก.วิทวัส วิริยะบัญชา

กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด งานประเมินทะเบียนยาชีววัตถุ
สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

10:30 – 11:30 น.

  • ความรู้และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP ตาม Pharmaceutical Inspection
    Co-operation Scheme PIC/s

  • ข้อแนะนำ/เทคนิคการเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียนตำรับยา/ผู้ผลิตยา

  • ช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและแหล่งข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ

โดย ภก.ศรัณย์  นิ่มวรพันธุ์

กลุ่มกำกับดูแลหลังออกสู่ตลาด
สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

11:30 – 12:00 น.

ถาม-ตอบ

สอบถามรายละเอียดที่ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการวิจัย สวทข.

025647000 ต่อ 71836-9

RQM@nstda.or.th

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง appeared first on NAC2021.

]]>
การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss50-water-management-plant-requirement/ Sat, 27 Feb 2021 11:32:36 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5968 การบริหารจัดการน้ำ ตามความต้องการพืช การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช Water Management According to Plant Requirement         ทรัพยากรน้ำเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งด้านการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม ฯลฯ แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีความต้องการใช้ทรัพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป จึงนำไปสู่ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น         ดังนั้น การจัดการให้พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามความต้องการของพืช และลดปริมาณการใช้น้ำที่เกินจำเป็น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำจึงเป็นหนึ่งในแนวทางการควบคุมคุณภาพของผลผลิตที่มีประสิทธิภาพในยุคที่ทรัพยากรน้ำมีจำกัด         การวางระบบน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่เป็นหนึ่งในวิธีการช่วยลดต้นทุน แรงงาน ความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการเพิ่มผลผลิต จึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย อาทิ ระบบควบคุมน้ำในพืชไร่/พืชสวน เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor) ร่วมกับการใช้หลักการของการให้น้ำพืช ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ประมวลผลจนกลายเป็นข้อมูลความต้องการของพืช       สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ภายใต้สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการผ่านสื่อออนไลน์ […]

The post การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช appeared first on NAC2021.

]]>

การบริหารจัดการน้ำ

ตามความต้องการพืช

การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช

Water Management According to Plant Requirement

        ทรัพยากรน้ำเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งด้านการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม ฯลฯ แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีความต้องการใช้ทรัพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป จึงนำไปสู่ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

        ดังนั้น การจัดการให้พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามความต้องการของพืช และลดปริมาณการใช้น้ำที่เกินจำเป็น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำจึงเป็นหนึ่งในแนวทางการควบคุมคุณภาพของผลผลิตที่มีประสิทธิภาพในยุคที่ทรัพยากรน้ำมีจำกัด

        การวางระบบน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่เป็นหนึ่งในวิธีการช่วยลดต้นทุน แรงงาน ความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการเพิ่มผลผลิต จึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย อาทิ ระบบควบคุมน้ำในพืชไร่/พืชสวน เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor) ร่วมกับการใช้หลักการของการให้น้ำพืช ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ประมวลผลจนกลายเป็นข้อมูลความต้องการของพืช

      สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ภายใต้สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการผ่านสื่อออนไลน์ เรื่อง “การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช” เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

13.00-13.15 น.

แนะนำสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

13.15-14.15 น.

การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการของพืช

โดย รศ.ดร. สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

14.15-15.15 น.

ประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช

โดย คุณเฉลิมชัย เอี่ยมสอาด
นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร/สวทช.

15.15-15.30 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss24-handysense/ Sat, 27 Feb 2021 10:22:24 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4265 นวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)        ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) เป็นระบบเกษตรแม่นยำโดยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ผนวกกับอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Thing) สู่อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ได้แก่ การให้น้ำ ปุ๋ย การป้องกันแมลง รวมทั้งการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและแสง คุณสมบัติของอุปกรณ์ ประกอบด้วย ระบบการแสดงผล/แจ้งเตือน และระบบการควบคุม ทั้งหมดสามารถใช้งานสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน ประโยชน์ของระบบเกษตรแม่นยำ ผลผลิตมีคุณภาพดีสม่ำเสมอและปริมาณคงที่เนื่องจากมีเทคโนโลยีควบคุมกระบวนการเพาะปลูก ประมาณการผลผลิตได้ล่างหน้า สามารถลดปัญหาผลผลิตขาดแคลนหรือล้นตลาด ลดการใช้แรงงาน เหมาะกับอนาคตที่แรงงานขาดแคลน สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีโดยไม่พึ่งพิงฤดูกาล ใช้เทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) ทำให้สะดวกเข้าถึงได้ง่าย การควบคุมกระบวนการเพาะปลูกทำได้รวดเร็วและง่ายขึ้น การถ่ายทอดองค์ความรู้การขยายผลสู่เกษตรกรรุ่นต่อไปเป็นไปได้ง่าย ลดเวลาการลองผิดลองถูก โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมประสานการถ่ายทอดองค์ความรู้         ทั้งหมดเหล่านี้ได้มีการวิจัยและพัฒนาโดยคำนึงถึงบริบทของเกษตรกรไทย คือ “ใช้งานง่าย ทนทาน และมีราคาที่จับต้องได้” รวมถึงอุปกรณ์ได้ออกแบบให้มีความทนทานเหมาะสมกับสภาวะทางการเกษตรของประเทศไทย โดยผ่านการทดสอบระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมจาถสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศ   […]

The post เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)

เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)

       ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) เป็นระบบเกษตรแม่นยำโดยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ผนวกกับอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Thing) สู่อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ได้แก่ การให้น้ำ ปุ๋ย การป้องกันแมลง รวมทั้งการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและแสง คุณสมบัติของอุปกรณ์ ประกอบด้วย ระบบการแสดงผล/แจ้งเตือน และระบบการควบคุม ทั้งหมดสามารถใช้งานสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน

ประโยชน์ของระบบเกษตรแม่นยำ

  • ผลผลิตมีคุณภาพดีสม่ำเสมอและปริมาณคงที่เนื่องจากมีเทคโนโลยีควบคุมกระบวนการเพาะปลูก
  • ประมาณการผลผลิตได้ล่างหน้า สามารถลดปัญหาผลผลิตขาดแคลนหรือล้นตลาด
  • ลดการใช้แรงงาน เหมาะกับอนาคตที่แรงงานขาดแคลน
  • สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีโดยไม่พึ่งพิงฤดูกาล
  • ใช้เทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) ทำให้สะดวกเข้าถึงได้ง่าย การควบคุมกระบวนการเพาะปลูกทำได้รวดเร็วและง่ายขึ้น
  • การถ่ายทอดองค์ความรู้การขยายผลสู่เกษตรกรรุ่นต่อไปเป็นไปได้ง่าย ลดเวลาการลองผิดลองถูก โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมประสานการถ่ายทอดองค์ความรู้

        ทั้งหมดเหล่านี้ได้มีการวิจัยและพัฒนาโดยคำนึงถึงบริบทของเกษตรกรไทย คือ “ใช้งานง่าย ทนทาน และมีราคาที่จับต้องได้” รวมถึงอุปกรณ์ได้ออกแบบให้มีความทนทานเหมาะสมกับสภาวะทางการเกษตรของประเทศไทย โดยผ่านการทดสอบระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมจาถสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศ

      ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ก่อให้เกิดการผลักดันนำไปสู่การขยายผลให้เกิดเป็นเทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะ (Open Innovation Agriculture) มีการสร้างเครือข่าย (Communities) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดิจิทัลยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่ภาคการเกษตร โดยมีความมุ่งหวังที่จะยกระดับเทคโนโลยีด้านการเกษตรให้สามารถใช้อย่างอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

09.00-09.15 น.

กล่าวนำความสำคัญของการเสวนา “เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ”

โดย ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

09.15-11.00 น.

เสวนา หัวข้อ เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ

โดย

1) ผู้แทนปราชญ์เกษตร: นายสุรพล จารุพงศ์
อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าของศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน (Smile Lemon)

2) ผู้ให้บริการ: นายประสิทธิ์ ป้องสูน
CEO : Kitforward

3) หน่วยงานภาครัฐ: นางสาวอัจฉริยา จันทรวงศ์
เกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา

4) ผู้ประกอบการ: นายณฤต ดวงเครือรติโชติ
หัวหน้าฝ่าย IoT ส่วนงาน B2B Solution Dtac

5) ผู้ร่วมเสวนา: นายนริชพันธ์ เป็นผลดี 
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบและเครือข่ายอัจฉริยะ (ITSN) ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT)

11.00-12.00 น.

ถาม – ตอบ ออนไลน์

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) appeared first on NAC2021.

]]>
การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss64-operando-xas/ Sat, 27 Feb 2021 09:15:49 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13050 การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS Improving research and increasing industrial competitiveness through advanced nanomaterial analysis techniques by Operando/In situ XAS        ปัจจุบันองค์ความรู้เรื่องการวิเคราะห์คุณสมบัติด้วยนาโนเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทยเพราะสามารถยกระดับการแข่งขันอย่างยั่งยืนทั้งในงานวิจัยและอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและไอที ดังนั้นการเข้าใจธรรมชาติหรือพฤติกรรมของวัสดุศาสตร์ในระดับโครงสร้างอะตอมย่อมเกิดประโยชน์ต่อการควบคุมสมบัติของชิ้นงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สมบัติทางกายภาพและเคมี ทำให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาวัสดุนาโนให้มีความสามารถในการทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงระดับซับซ้อน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโครงสร้างและการนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้การศึกษาการเปลี่ยนทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุนาโนขณะสังเคราะห์และระหว่างการใช้งานก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ในการอธิบายการทำงานของวัสดุนาโนเหล่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาวัสดุนาโนให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการใช้งานอีกด้วย จึงทำไปสู่การพัฒนาเทคนิค operando XAS เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของวัสดุ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้ว operando XAS สามารถประยุกต์ใช้วิเคราะห์ธาตุได้ตั้งแต่ คาร์บอน ไปจนถึงธาตุหนักกลุ่มโลหะทรานสิชันได้ ส่งผลให้วิเคราะห์ธาตุได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอิเล็กตรอนของวัสดุนาโน หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์บนผิวหน้าวัสดุ รวมไปถึงกลไกการถ่ายโอนอิเล็กตรอนบนโครงสร้างของวัสดุและกลไกการเกิดอันตรกิริยาบนผิวหน้าของวัสดุ […]

The post การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS appeared first on NAC2021.

]]>

การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS

การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS

Improving research and increasing industrial competitiveness through advanced nanomaterial analysis techniques by Operando/In situ XAS

       ปัจจุบันองค์ความรู้เรื่องการวิเคราะห์คุณสมบัติด้วยนาโนเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทยเพราะสามารถยกระดับการแข่งขันอย่างยั่งยืนทั้งในงานวิจัยและอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและไอที ดังนั้นการเข้าใจธรรมชาติหรือพฤติกรรมของวัสดุศาสตร์ในระดับโครงสร้างอะตอมย่อมเกิดประโยชน์ต่อการควบคุมสมบัติของชิ้นงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สมบัติทางกายภาพและเคมี ทำให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาวัสดุนาโนให้มีความสามารถในการทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงระดับซับซ้อน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโครงสร้างและการนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้การศึกษาการเปลี่ยนทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุนาโนขณะสังเคราะห์และระหว่างการใช้งานก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ในการอธิบายการทำงานของวัสดุนาโนเหล่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาวัสดุนาโนให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการใช้งานอีกด้วย จึงทำไปสู่การพัฒนาเทคนิค operando XAS เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของวัสดุ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้ว operando XAS สามารถประยุกต์ใช้วิเคราะห์ธาตุได้ตั้งแต่ คาร์บอน ไปจนถึงธาตุหนักกลุ่มโลหะทรานสิชันได้ ส่งผลให้วิเคราะห์ธาตุได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอิเล็กตรอนของวัสดุนาโน หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์บนผิวหน้าวัสดุ รวมไปถึงกลไกการถ่ายโอนอิเล็กตรอนบนโครงสร้างของวัสดุและกลไกการเกิดอันตรกิริยาบนผิวหน้าของวัสดุ เนื่องจากเทคนิค operando คือการนำเอาเทคนิค XAS มาต่อประกอบให้ทำงานควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR) และหรือเทคนิค Raman และหรือเทคนิค  UV-Vis spectrophotometry (UV-Vis) และหรือเทคนิค GC-MS ตลอดจนต่อประกอบกับระบบ impedance spectroscopy (EIS) ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับอะตอมของวัสดุนาโนในขณะทดสอบปฏิกิริยาจริง ซึ่งจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อการศึกษาระบบการทำงานของวัสดุนาโน โดยเฉพาะตัวเร่งปฏิกิริยา ระบบการอัดและคายประจุของแบตเตอร์รี่ และชิ้นส่วนจิ๋วในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้

        ผู้ดำเนินการสัมมนา : ดร. พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และ ดร. กมลวรรณ ธรรมเจริญ

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

13.30 – 13.45 น.

หัวข้อบรรยาย “ขอบเขตการศึกษาโครงสร้างวัสดุนาโนเชิงลึกด้วยเทคนิค XAS”

โดย ดร.พินิจ กิจขุนทด
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

13.45 – 14.15 น.

หัวข้อบรรยาย “ขีดความสามารถของระบบ in situ XAS สำหรับงานวิจัยทางด้านวัสดุนาโน”

โดย ดร.ณัฐวุฒิ โอสระคู
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 

14.15 – 14.45 น.

หัวข้อบรรยาย “การเพิ่มศักยภาพงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ด้วยระบบ  Operando XAS”

โดย ผศ.ดร.ศิรินุช ลอยหา
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

14.45 – 15.15 น.

หัวข้อบรรยาย “การประยุกต์ใช้ระบบ  in situ/Operando XAS ในการยกระดับงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม”

โดย ดร.บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

15.15 – 15.30 น.

กิจกรรมร่วมเสวนาและตอบข้อซักคำถามเพิ่มเติม

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS appeared first on NAC2021.

]]>
Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss63-lean-solution-for-sme-in-industry/ Sat, 27 Feb 2021 04:57:27 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5578 ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 Lean! Solution for SME in industry 4.0 era         การพัฒนาด้าน Industry 4.0 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการช่วยบริหารจัดการกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวจะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อวิธีการบริหารจัดการกระบวนการผลิตนั้นอยู่ในแนวทางที่เหมาะสม ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก การใช้ระบบการผลิตแบบลีนช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง การนำลีนไปใช้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ทันทีโดยมีต้นทุนดำเนินการไม่มาก อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะทำให้การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมีประสิทธิผลมากขึ้น วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=9BR_CnU8CE0 เอกสารประกอบการสัมมนา Lean Manufacturing คืออะไร?อ.วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ กำหนดการ วันที่ 29 มีนาคม 2563 13.30 – 13.35 น. กล่าวเปิดงานสัมมนาโดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการ […]

The post Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 appeared first on NAC2021.

]]>

ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก

Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0

Lean! Solution for SME in industry 4.0 era

        การพัฒนาด้าน Industry 4.0 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการช่วยบริหารจัดการกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวจะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อวิธีการบริหารจัดการกระบวนการผลิตนั้นอยู่ในแนวทางที่เหมาะสม ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก การใช้ระบบการผลิตแบบลีนช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง การนำลีนไปใช้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ทันทีโดยมีต้นทุนดำเนินการไม่มาก อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะทำให้การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมีประสิทธิผลมากขึ้น

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2563

13.30 – 13.35 น.

กล่าวเปิดงานสัมมนา
โดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

13.35 – 13.50 น.

Lean Manufacturing คืออะไร?
โดย อ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ ผอ.หลักสูตรการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

13.50 – 14.05 น.

กรณีศึกษาการนำ Lean ไปใช้ในโรงงาน SME
โดย อ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ ผอ.หลักสูตรการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

14.05 – 14.20 น.

การพัฒนาระบบ IoT เพื่อสนับสนุนการใช้ Lean ในโรงงาน SME
โดย ดร. กุลชาติ มีทรัพย์หลาก กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

14.20 – 15.00 น.

เสวนาในหัวข้อ ประสบการณ์และแนวทางการนำ Lean ไปใช้ในโรงงาน SME ให้ได้อย่างมีประสิทธิผล
โดย

1. คุณ พงศ์กิตติ์ วุนวิริยะกิจ
กรรมการรองผู้จัดการ
บ.อุตสาหกรรมอะไหล่ (1999) จำกัด

2. อ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์
ผอ.หลักสูตรการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

3. นาย เอกชาติ หัตถา
นักวิจัย กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

4. ดร. ธนกร ตันธนวัฒน์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ผู้ดำเนินรายการ:
ดร. นิธิพล ตันสกุล
ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

15.00 -15.15 น.

ถาม ตอบ ประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับการพัฒนา Lean ในกลุ่ม SME

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 appeared first on NAC2021.

]]>
UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss61-uk-building-a-sustainable-future-through-entrepreneurship-lif/ Sat, 27 Feb 2021 04:02:43 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5458 UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF)         The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided […]

The post UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) appeared first on NAC2021.

]]>

UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF)

UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF)

        The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, research and translation. The UK and Thailand will jointly invest £46 million (THB 1,840 million) from 2014 until 2021.

        Over seven years of implementation, the UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund has contributed to improving Thailand’s research and innovation system, and consequently has made a material difference to the quality of people’s lives through funding providing fund to Ph.D. students, researchers and government officials.

        Through the Newton Leaders in Innovation Partnership Programme, 90 researchers who have an engineering-based innovation that has the potential to contribute to the social and economic development of Thailand have built their capacity on entrepreneurship and commercialisation and created their international networks.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

29 March 2021

13.30 – 13.35.

Welcome and Introduction to session
By Pijarana Samukkan
Research and Innovation Programme Manager, British Embassy

13.35 – 14.50

Keynote on
Strategy and Funding for strengthening Thailand Competitiveness
By Representatives of TSRI / PMU C and NSTDA

14.50-15.00

Celebrating an achievement of six years of the Newton Leaders in Innovation Fellowships
By Royal Academy of Engineering (RAEng)

15.00-15.45

How to start business successfully
By Oxentia

15.45-16.25

Sharing success story by LIF Alumni
(3-5 LIF alumni will be invited to the panel)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) appeared first on NAC2021.

]]>
การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss54-future-modern-transports/ Fri, 26 Feb 2021 12:48:35 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=6025 การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรม ยานยนต์แห่งอนาคต การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต Research and Testing System of Future Modern Transports        Connected & Autonomous Vehicle (CAV) เป็นการใช้เทคโนโลยี  Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้กับยานยนต์เพื่อทำให้ยานยนต์เป็น Connected Vehicles ซึ่งสามารถสื่อสารกับสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น 1) การสื่อสารกับข้อมูลจากเซนเซอร์ของยานยนต์เพื่อใช้ตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ และนําข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการขับขี่ ซึ่งจะนำไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ (Automated Vehicles)  2) การสื่อสารกับสิ่งต่างๆ รอบตัว (Vehicle-to-Everything: V2X) เช่น รถยนต์คันอื่น สิ่งกีดขวาง สัญญาณไฟจราจร เป็นต้น 3) การเชื่อมต่อกับบริการเกี่ยวกับการขับขี่ (Telematics) เช่น บริการนําทาง บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล เป็นต้น […]

The post การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต appeared first on NAC2021.

]]>

การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรม

ยานยนต์แห่งอนาคต

การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต

Research and Testing System of Future Modern Transports

       Connected & Autonomous Vehicle (CAV) เป็นการใช้เทคโนโลยี  Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้กับยานยนต์เพื่อทำให้ยานยนต์เป็น Connected Vehicles ซึ่งสามารถสื่อสารกับสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น 1) การสื่อสารกับข้อมูลจากเซนเซอร์ของยานยนต์เพื่อใช้ตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ และนําข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการขับขี่ ซึ่งจะนำไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ (Automated Vehicles)  2) การสื่อสารกับสิ่งต่างๆ รอบตัว (Vehicle-to-Everything: V2X) เช่น รถยนต์คันอื่น สิ่งกีดขวาง สัญญาณไฟจราจร เป็นต้น 3) การเชื่อมต่อกับบริการเกี่ยวกับการขับขี่ (Telematics) เช่น บริการนําทาง บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล เป็นต้น และ 4) การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงของผู้โดยสาร (Infotainment) 

        ปัจจุบันรถยนต์ไร้คนขับได้อยู่ใน Level 3-4 อย่างเต็มรูปแบบในรถยนต์สมัยใหม่บางรุ่น ซึ่งเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการจราจรและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยได้

        การบรรยายและการเสวนาในครั้งนี้จะนำเสนอเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ทั้งในส่วนของงานวิจัยและพัฒนา การทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และวิทยากรจากต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนา การทดสอบเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งจะมาช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยในรูปแบบของอุตสาหกรรมใหม่อีกด้วย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 30 มีนาคม 2564

 

13.00-14.30 น.

เสวนาเรื่อง การสร้าง eco system ของ Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

โดย
1)
คุณเริงศักดิ์ ทองสม
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)


2) คุณพนัส วัฒนชัย
บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด

3) 
คุณฐิติภัทร ดอกไม้เทศ
สถาบันยานยนต์

4) คุณธนัญ จารุวิทยโกวิท
บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (
AIS)

5) คุณธวัชชัย ฤกษ์สำราญ
บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (
TRUE)

6) คุณไพรัชฏ์ ไตรเวทย์
บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน)

ดำเนินรายการโดย
ดร. จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช.

 

14.30-14.40 น.

พัก

14.40-15.10 น.

Hands-on Experience of Autonomous driving Development and Operation

by Mr. David Chen
Turing Drive Inc.

15.10-15.40 น.

Proving ground for Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

by Dr. Lung-Yao Chang
Deputy Director, Taiwan CAR Lab, NARLabs

15.40-16.10 น.

Open road for Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

by Mr. Younggi Song
CEO & Founder – SpringCloud Inc.

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต appeared first on NAC2021.

]]>
การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า – กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss22-empathetic-design/ Fri, 26 Feb 2021 11:21:54 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3409 การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design) การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า — กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี Impactful Empathetic Design — processes and real-life examples of how to develop products for healthcare and wellbeing applications          การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design) คล้ายหรือต่างจากกระบวนการการออกแบบที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น Design Thinking หรือ Human-Centered Design อย่างไร ทำอย่างไรจึงออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ไม่ใช่แค่ใช้งานได้ แต่ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ได้จริง ให้โดนใจผู้ใช้จนผู้ใช้อยากใช้ต่อ และให้สร้างผลกระทบที่ดีได้ในระยะยาว เชิญหาคำตอบได้จากทีมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ MTEC ที่ได้หล่อหลอมกระบวนการ Impactful Empathetic Design จากบทเรียนและประสบการณ์จริงจากการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่ อุปกรณ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มในที่ทุรกันดาร เฟอร์นิเจอร์เพื่อช่วยผู้สูงอายุลกการพลัดตกหกล้ม […]

The post การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า – กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี appeared first on NAC2021.

]]>

การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design)

การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า — กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาและความเป็นอยู่ที่ดี

Impactful Empathetic Design — processes and real-life examples of how to develop products for healthcare and wellbeing applications

 

       การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design) คล้ายหรือต่างจากกระบวนการการออกแบบที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น Design Thinking หรือ Human-Centered Design อย่างไร ทำอย่างไรจึงออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ไม่ใช่แค่ใช้งานได้ แต่ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ได้จริง ให้โดนใจผู้ใช้จนผู้ใช้อยากใช้ต่อ และให้สร้างผลกระทบที่ดีได้ในระยะยาว เชิญหาคำตอบได้จากทีมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ MTEC ที่ได้หล่อหลอมกระบวนการ Impactful Empathetic Design จากบทเรียนและประสบการณ์จริงจากการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่ อุปกรณ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มในที่ทุรกันดาร เฟอร์นิเจอร์เพื่อช่วยผู้สูงอายุลกการพลัดตกหกล้ม อุปกรณ์ช่วยกระตุ้นความรู้คิดของผู้ที่มีอาการสมองเสื่อม จนถึงอุปกรณ์ช่วยดูแลผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวทางไกล

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

30 มีนาคม 2564

 
09:00 – 12:00 น.

การเสวนา: การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า — กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

โดย

ดร. สิทธา สุขกสิ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดร. ก่อเกียรติ เศษชัยชาญ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดร. ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ
ที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)

 

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า – กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี appeared first on NAC2021.

]]>
ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss32-sustainable-manufacturing/ Fri, 26 Feb 2021 06:35:13 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3915 ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์          เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor, EEC) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีเป้าหมายในการสร้างเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) โดยมีโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) เพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ (Translation Research) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยและผลักดันให้สามารถยกระดับการผลิตไปสู่ Industry 4.0 ได้ในอนาคต โดยอาศัยเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาแพลตฟอร์มทั้งในรูปแบบการสาธิตวิธีใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคการทดลองปฏิบัติจริง รวมถึงกิจกรรมวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ (System Integrator: SI) นวัตกร นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ ในงานสัมมนานี้ จะเป็นการบรรยายงานสำคัญต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใน SMC […]

The post ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ appeared first on NAC2021.

]]>

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing)

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์

         เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor, EEC) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีเป้าหมายในการสร้างเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) โดยมีโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) เพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ (Translation Research) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยและผลักดันให้สามารถยกระดับการผลิตไปสู่ Industry 4.0 ได้ในอนาคต โดยอาศัยเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาแพลตฟอร์มทั้งในรูปแบบการสาธิตวิธีใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคการทดลองปฏิบัติจริง รวมถึงกิจกรรมวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ (System Integrator: SI) นวัตกร นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ ในงานสัมมนานี้ จะเป็นการบรรยายงานสำคัญต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใน SMC ดังต่อไปนี้

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 30 มีนาคม 2564

09.30 – 09.50 น.

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC): บทบาท ภารกิจ และโครงการสำคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0
โดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน
และ รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

09.55 – 10.15 น.

แพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม
(IDA: Industrial IoT and Data Analytics platform)
โดย ดร. สุวัฒน์ โสภิตพันธ์ วิศวกรอาวุโส
ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG) เนคเทค สวทช.

10.20 – 10.40 น.

Reconfigurable Manufacturing Demo-line
โดย นายอุดม ลิ่วลมไพศาล นักวิจัย
กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เนคเทค สวทช.

10.45 – 11.05 น.

เทคโนโลยี 5G เพื่อโรงงานและคลังสินค้าอัจฉริยะ
(5G for smart factory and warehouse)
โดย ดร. กมล เขมะรังษี ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย เนคเทค สวทช.

11.10 – 11.20 น.

ถาม-ตอบออนไลน์

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ appeared first on NAC2021.

]]>
แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss36-international-standard-herb/ Fri, 26 Feb 2021 06:23:13 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3948 แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล         สมุนไพรในประเทศไทยเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน เนื่องจากสรรพคุณทางเภสัชวิทยาที่ทำให้เกิดการนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น การนำสมุนไพรที่พบในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอด โดยการวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม เพื่อค้นคว้าสร้างสรรค์ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม จึงสนับสนุนให้เกิดสารสกัดและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร ที่สามารถประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจึงควรผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนำไปผลิตหรือจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความน่าเชื่อถือทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ตลอดจนมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถส่งต่อไปยังผู้ผลิต และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้          สวทช. จึงจัดเวทีเสวนานี้ เพื่อสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมาย แนวทางของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สมุนไพร การขอรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองของผู้ประกอบการ วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=R7A7UYkTKkM เอกสารประกอบการสัมมนา พรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ขอบข่ายและแนวทางการส่งเสริมมาตรฐานสารสกัดสมุนไพรภก.วินิต อัศวกิจวิรี มาตรฐานสารสกัดสมุนไพร คุณนาตยา สีทับทิม เสวนาเรื่อง แนวทางการส่งเสริมระบบรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร […]

The post แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล appeared first on NAC2021.

]]>

แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล

แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล

        สมุนไพรในประเทศไทยเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน เนื่องจากสรรพคุณทางเภสัชวิทยาที่ทำให้เกิดการนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น การนำสมุนไพรที่พบในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอด โดยการวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม เพื่อค้นคว้าสร้างสรรค์ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม จึงสนับสนุนให้เกิดสารสกัดและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร ที่สามารถประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจึงควรผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนำไปผลิตหรือจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความน่าเชื่อถือทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ตลอดจนมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถส่งต่อไปยังผู้ผลิต และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ 

        สวทช. จึงจัดเวทีเสวนานี้ เพื่อสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมาย แนวทางของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สมุนไพร การขอรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองของผู้ประกอบการ

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 30 มีนาคม 2564

13:30 – 13:45 น.

ประธานในพิธีกล่าวเปิดต้อนรับ

13:45 – 14:15 น.

พรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ขอบข่ายและแนวทางการส่งเสริมมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร

โดย ภก. วินิต อัศวกิจวิรี 
ที่ปรึกษาเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

14:15 – 14:45 น.

มาตรฐานสารสกัดสมุนไพร  

โดย คุณนาตยา สีทับทิม
นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มกำหนดมาตรฐาน 7 กองกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

14:45 – 14:55 น.

แนะนำผู้เข้าร่วมเสวนา

14:55 – 16:00 น.

การเสวนา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมระบบรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร

โดย
1) ภก. วราวุธ เสริมสินสิริ
ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร อย.

2) คุณนาตยา สีทับทิม
ผู้อำนวยการกลุ่มกำหนดมาตรฐาน 7 กองกำหนดมาตรฐาน สมอ.

3) ดร.บังอร เกียรติธนากร
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ผู้ดำเนินรายการ
ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

16:00 – 16:30 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล appeared first on NAC2021.

]]>
พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss51-energy-agriculture/ Fri, 26 Feb 2021 04:25:00 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5482 พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0         ภาคการเกษตรมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการผลิตอาหาร วัตถุดิบตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรม และการผลิตพลังงานทดแทน โดยเป็นแหล่งรายได้ให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ รวมถึงเป็นฐานการผลิตที่สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้าและการส่งออกสำหรับภาคการผลิตและบริการอื่น ๆ         จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคเกษตรมากยิ่งขึ้น เพื่อควบคุมผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการควบคุมการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างแม่่นยำและคุ้มค่า ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ “ทำน้อยแต่ได้มาก”         ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมเสวนา รวมถึงแนวทางที่จะช่วยการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้พลังงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของประเทศแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ภาคการเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=au555xD2lgU เอกสารประกอบการสัมมนา พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0โดย สุภกิณห์ สมศรี โซล่ารเ์ซลล์กับการเกษตรโดย ผศ.ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าในโรงงานผลิตพืชด้วยแสงเทียมโดย รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ “Aqua-IoT” เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยุคเกษตรดิจิทัลโดย ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร กำหนดการ วันที่ 30 […]

The post พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 appeared first on NAC2021.

]]>

พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0

พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0

        ภาคการเกษตรมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการผลิตอาหาร วัตถุดิบตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรม และการผลิตพลังงานทดแทน โดยเป็นแหล่งรายได้ให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ รวมถึงเป็นฐานการผลิตที่สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้าและการส่งออกสำหรับภาคการผลิตและบริการอื่น ๆ

        จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคเกษตรมากยิ่งขึ้น เพื่อควบคุมผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการควบคุมการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างแม่่นยำและคุ้มค่า ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ “ทำน้อยแต่ได้มาก”

        ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมเสวนา รวมถึงแนวทางที่จะช่วยการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้พลังงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของประเทศแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ภาคการเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 30 มีนาคม 2564

13.00-13.15 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม

โดย ประธานบริหารโครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ. – สวทช.

13.15-14.15 น.

  • ภาพรวมเทคโนโลยีพลังงานกับการเกษตรในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 

คุณสุภกิณห์ สมศรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

  • Case study: Solar Sharing / Agrivoltaic 

ผศ.ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

  • Case study: Smart farm / การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรือนเพาะปลูก  

ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร     ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ    คณะเกษตรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

14.15-14.45 น.

การเสวนาด้านนวัตกรรมพลังงานกับภาคการเกษตร 

รายชื่อผู้ร่วมเสวนา

1. นายพินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

2. ผศ.ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

3. รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ
คณะเกษตรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

4. ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

5. คุณสุภกิณห์ สมศรี 
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

ดำเนินการเสวนา โดย
รศ.ดร.ศุภชาติ จงไพบูลย์พัฒนะ 
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

14.45-15.00 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 appeared first on NAC2021.

]]>
Hello world! http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/06/hello-world/ Sat, 06 Feb 2021 14:49:07 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=1 Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!

The post Hello world! appeared first on NAC2021.

]]>
Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!

The post Hello world! appeared first on NAC2021.

]]>