สัมมนา – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Thu, 17 Jun 2021 03:05:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png สัมมนา – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss16-herb-chinese-market/ Wed, 03 Mar 2021 12:28:52 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3538 โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 Chance of Thai Herbal Products in China Market : Post COVID-19        จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2019 และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน เกิดภาวะความเครียด ความตื่นกลัวไปทั่วโลก ประชาชนจำนวนไม่น้อยหันมาให้ความสนใจในการดูแลตัวเอง รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เริ่มมองหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือสมุนไพรที่มาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค รักษาโรค รวมถึงดูแลภาวะทางอารมณ์มากขึ้น          ในวิกฤติดังกล่าว นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีองค์ความรู้ในการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพมาอย่างยาวนาน เนื่องจากเราเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เราส่งออกสารสกัดจากพืชมากที่สุดในอาเซียน การเติบโตของตลาดสมุนไพรจึงเป็นที่น่าสนใจ และเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม การได้เรียนรู้ความต้องการ พฤติกรรม และวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในประเทศจีน จึงมีความจำเป็น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าที่ตอบสนอง และสื่อสารได้ตรงกับความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด […]

The post โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 appeared first on NAC2021.

]]>

โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19

โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19

Chance of Thai Herbal Products in China Market : Post COVID-19

       จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2019 และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน เกิดภาวะความเครียด ความตื่นกลัวไปทั่วโลก ประชาชนจำนวนไม่น้อยหันมาให้ความสนใจในการดูแลตัวเอง รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เริ่มมองหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือสมุนไพรที่มาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค รักษาโรค รวมถึงดูแลภาวะทางอารมณ์มากขึ้น 

        ในวิกฤติดังกล่าว นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีองค์ความรู้ในการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพมาอย่างยาวนาน เนื่องจากเราเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เราส่งออกสารสกัดจากพืชมากที่สุดในอาเซียน การเติบโตของตลาดสมุนไพรจึงเป็นที่น่าสนใจ และเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม การได้เรียนรู้ความต้องการ พฤติกรรม และวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในประเทศจีน จึงมีความจำเป็น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าที่ตอบสนอง และสื่อสารได้ตรงกับความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด

      ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี จึงกำหนดจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19” (Chance of Thai Herbal Products in China Market : Post COVID-19) เพื่อเป็นการจุดประกาย เปิดมุมมอง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Data Analysis การใช้ประโยชน์จาก Big Data ในการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

13.30 – 14.30 น.

Big Data Analysis : Global Economic Landscape

โดย คุณพลเทพ มาศรังสรรค์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท Build a Box จำกัด

14.30 – 15.30 น.

Big Data Analysis : A Tool of New Business Era

โดย คุณธนิศร์ พิริยะโภคานนท์
Co-Founder บริษัท Backyard จำกัด

15.30 น.

จบการสัมมนา และ networking

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 appeared first on NAC2021.

]]>
รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss26-chronic-kidney-disease/ Wed, 03 Mar 2021 11:46:41 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4387 รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี        “โรคไตเรื้อรัง” เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล อีกทั้งยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขของประเทศ มากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท ตามสถิติของกรมการแพทย์ ปี 2561 พบคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังสูงถึง 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านทางช่องท้อง) ประมาณ 100,000 คน ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 15 ถึง 20 ต่อปี         สวทช.ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เล็งเห็นถึงความสำคัญ และได้สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ทั้งในเชิงป้องกัน คัดกรอง และการรักษา เช่น การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองความแม่นยำสูงเพื่อประเมินสภาวะของไต  การพัฒนาเครื่องมือแพทย์อัตโนมัติที่ใช้ในกระบวนการรักษาบำบัดทดแทนไต เป็นต้น         การสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจทั้งภาคประชาชน สถาบันการศึกษา […]

The post รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี appeared first on NAC2021.

]]>

รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี

       “โรคไตเรื้อรัง” เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล อีกทั้งยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขของประเทศ มากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท ตามสถิติของกรมการแพทย์ ปี 2561 พบคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังสูงถึง 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านทางช่องท้อง) ประมาณ 100,000 คน ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 15 ถึง 20 ต่อปี

        สวทช.ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เล็งเห็นถึงความสำคัญ และได้สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ทั้งในเชิงป้องกัน คัดกรอง และการรักษา เช่น การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองความแม่นยำสูงเพื่อประเมินสภาวะของไต  การพัฒนาเครื่องมือแพทย์อัตโนมัติที่ใช้ในกระบวนการรักษาบำบัดทดแทนไต เป็นต้น

        การสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจทั้งภาคประชาชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมรับฟังข้อมูลที่บูรณาการความรู้ในหลายหลายสาขา เพื่อ “ป้องกัน” และ “รับมือ” ภาวะโรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามามีบทบาท พร้อมกับข้อมูลสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงการรักษา เพื่อนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง สมาชิกในครอบครัว ได้อย่างเหมาะสม

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ วันที่ 25 มีนาคม 2564

ดำเนินรายการโดย :
1) ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2) ดร.วงศกร พูนพิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่

13.30-13.40 น.

กล่าวต้อนรับ

โดย ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.40 – 14.25  น.

ความก้าวหน้าด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันโรคไตเรื้อรัง

โดย
1) ศ.นพ.ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์
หน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2) นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

14.25 – 14.30 น.

พัก

14.30 – 14.50 น.

การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง

โดย รศ.นพ.โอภาส ไตรตานนท์
อายุรศาสตร์โรคไต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.50-15.10 น.

เพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยเครื่องล้างไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติฝีมือคนไทย

โดย ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

15.10-15.30 น.

สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพเมื่อเผชิญหน้ากับโรคไตเรื้อรัง

โดย นพ.จักรกริช โง้วศิริ
รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี appeared first on NAC2021.

]]>
NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss20-narlabs-nstda-joint-research-program/ Wed, 03 Mar 2021 09:16:55 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4240 NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session)         NARLabs and NSTDA have close collaborations in Science, Technology and Innovation (STI). The forms of collaboration include network meeting, scientific workshop, joint research activity, and established overseas office. After the signing of NARLabs-NSTDA Memorandum of Understanding on […]

The post NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session) appeared first on NAC2021.

]]>

NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day

NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session)

        NARLabs and NSTDA have close collaborations in Science, Technology and Innovation (STI). The forms of collaboration include network meeting, scientific workshop, joint research activity, and established overseas office. After the signing of NARLabs-NSTDA Memorandum of Understanding on December 1st, 2018, both institutes jointly organized a workshop to develop proposals based on mutual research interest. To further strengthen collaboration, The NARLabs- NSTDA Joint Research Program was initiated first time in 2020 under Framework Agreement on November 1st, 2019.

        After achievement of call proposal from 2020, this year NARLabs and NSTDA has organized the NARLabs-NSTDA Joint research Program Info Day, not only to promote the upcoming program in 2021 but also to be the collaborative platform for both Taiwanese and Thai researchers for meeting and exchange their idea.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

25 March 2021

15:00 – 15:10

Opening Remarks
By
Dr.Lily Eurwilaichitr
Vice President, International Collaboration, NSTDA
Dr.Bou-Wen Lin
Vice President, NARLabs

15:10 – 15:20

Introduction to NARLabs-NSTDA JRP Overview
NARLabs Funding Mechanism (5 min)
By Dr.Ming-Chih Franz Cheng
Director General, International Affairs Office, NARLabs

NSDTA Funding Mechanism (5 min)
By Dr.Lily Eurwilaichitr
Vice President, International Collaboration, NSTDA

15:20 – 15:50

Presentation of Granted JRP of 2020 (10 min/team)
By
Dr.Noppadon Khitipet (NECTEC) – Dr.David Chang (NSPO)
Dr.Pakapreud Khumwan (BIOTEC) – Dr.Yi-Chen Huang (TIRI)
Dr.Wansika Kiatpathomchai (BIOTEC) – Dr.Yi-Chiuen Hu (TIRI)

15:50 – 16:20

Discussion and Matching

16:20 – 16:30

Concluding Remarks
By
Dr.Lily Eurwilaichitr
Vice President, International Collaboration, NSTDA
Dr.Bou-Wen Lin
Vice President, NARLabs

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session) appeared first on NAC2021.

]]>
20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss14_20years-thai-cern/ Wed, 03 Mar 2021 08:48:35 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4205 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 20 year anniversary of Thai-CERN partnership under the initiative of HRH princess Maha Chakri Sirindhorn        สืบเนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริว่าหากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น)  ซึ่งเป็นองค์การวิจัยด้านฟิสิกส์พลังงานสูงชั้นนำระดับโลก จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้จัดทำโครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ พ.ศ.2543 ในการดำเนินงาน ได้ผลักดันให้เกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ระหว่างหน่วยงานวิจัย/สถาบันการศึกษาของไทยกับเซิร์น จำนวน 6 ฉบับ ในปี 2561 ได้ยกระดับความสัมพันธ์จากระดับหน่วยงาน-หน่วยงาน […]

The post 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี appeared first on NAC2021.

]]>

20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น

20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

20 year anniversary of Thai-CERN partnership under the initiative of HRH princess Maha Chakri Sirindhorn

       สืบเนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริว่าหากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น)  ซึ่งเป็นองค์การวิจัยด้านฟิสิกส์พลังงานสูงชั้นนำระดับโลก จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้จัดทำโครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ พ.ศ.2543 ในการดำเนินงาน ได้ผลักดันให้เกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ระหว่างหน่วยงานวิจัย/สถาบันการศึกษาของไทยกับเซิร์น จำนวน 6 ฉบับ ในปี 2561 ได้ยกระดับความสัมพันธ์จากระดับหน่วยงาน-หน่วยงาน ไปเป็นระดับรัฐบาล โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ชื่อในขณะนั้น) เป็นผู้ลงนามในนามของรัฐบาลไทยร่วมกับผู้แทนของเซิร์น  ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประชาคมวิทยาศาสตร์ของโลก 

        อนึ่ง ในปี 2564 จะเป็นปีที่ฉลองความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริฯ ดำเนินมาครบ 20 ปี มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจัดกิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการพัฒนาบุคลากร และความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านฟิสิกส์

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 25 มีนาคม 2564

13.15-13.25 น.

เกริ่นนำเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือไทย-เซิร์น

13.25-14.10 น.

สวนาประเทศไทยได้อะไรจากความร่วมมือไทย-เซิร์น ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยและเซิร์นตามพระราชดำริฯ

โดย

  • รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล
    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ 
    ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    
      
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช 
    สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ริมแจ่ม 
    ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ดำเนินรายการ:
ดร.ชญานิษฐ์ อัศวตั้งตระกูลดี
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14.10-14.45 น.

เสวนาผู้แทนร่วมโครงการภาคฤดูร้อนเซิร์น โดยตัวแทนนักศึกษา ครู และนักเรียน

  • นางสาวสรัญญ์ภัทร์ ลิมปิจำนงค์
    อดีตนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดม ผู้ร่วมโครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษาดูงานที่เซิร์น
    ปัจจุบันเป็นนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • นายวิชญนันท์ วชิรภูษิตานันท์
    อดีตนักศึกษาผู้ร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น
    จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร.พิมพร ผาพรม
    อดีตครูผู้ร่วมโครงการครูฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น
    จากโรงเรียนท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์

ผู้ดำเนินรายการ:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    

14.45-15.00 น.

พัก จัดเตรียมสถานที่ เชื่อมต่อสัญญาณกับ CMS เกริ่นนำเกี่ยวกับ CMS Virtual Visit

15.00-16.00 น.

การเยี่ยมชมเสมือนจริง Compact Muon Solenoid detector (ถ่ายทอดสดจาก CERN)

CMS Virtual Visit 

ผู้ดำเนินรายการ:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://indico.cern.ch/event/987240

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี appeared first on NAC2021.

]]>
เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss29-drive-thailand-industries-by-circular-economy/ Wed, 03 Mar 2021 07:24:17 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3194 เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนDrive Thailand’s industries by circular economy            ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นคุณค่าและทำให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เป็นแนวทางสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนพ.ศ. 2564-2569 ที่มุ่งเน้น 2 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ 1) การลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3 จากปัจจุบัน2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า            สำหรับกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม ในการดำเนินการจัดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เข้าใจว่าขยะ/ของเสียคือ ทรัพยากรที่ยังสามารถหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ หากมีการแยก จัดเก็บ หมุนเวียน และใช้ประโยชน์ จะสามารถลดปัญหาขยะพลาสติกตกค้าง ขยะพลาสติกทะเล ขยะอินทรีย์ […]

The post เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) appeared first on NAC2021.

]]>

เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน
Drive Thailand’s industries by circular economy

           ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นคุณค่าและทำให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เป็นแนวทางสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนพ.ศ. 2564-2569 ที่มุ่งเน้น 2 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ

1) การลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3 จากปัจจุบัน
2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

           สำหรับกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม ในการดำเนินการจัดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เข้าใจว่าขยะ/ของเสียคือ ทรัพยากรที่ยังสามารถหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ หากมีการแยก จัดเก็บ หมุนเวียน และใช้ประโยชน์ จะสามารถลดปัญหาขยะพลาสติกตกค้าง ขยะพลาสติกทะเล ขยะอินทรีย์ (ขยะเกษตรและอาหาร) เศษวัสดุก่อสร้าง ขยะทั่วไป และของเสียอื่นๆ ที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม

           ขณะที่ผู้ผลิตร่วมกับนักวิชาการทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทฺธิภาพการใช้ทรัพยากรตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยนำขยะหรือของเสียกลับมาใช้ใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และสร้างตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ 

วันที่ 25 มีนาคม 2564

ดำเนินรายการโดย : ดร.สมชาย ฉินสกลธนากร
ฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.30 – 13.40 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม 
โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย/อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

13.40 – 14.10 น.

ทิศทางการบริหารจัดการขยะพลาสติกครบวงจร ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกลไก PPP
วิทยากร ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG  Model 
สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน

14.10 – 14.40 น.

เศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้าง
วิทยากร ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562 
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.40 – 15.10 น.

การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยเพื่อความยั่งยืน
วิทยากร ดร.วิกรม วัชระคุปต์  
ประธานคลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

15.10 – 15.40 น.

ธุรกิจยุคใหม่กับการลดขยะอาหารบนฐานเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน 
วิทยากร นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์
ประธานกรรมการฝ่ายกิจการ บรรษัท โลตัส ประเทศไทย

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) appeared first on NAC2021.

]]>
เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss23-bcg-energy-materials-chemicals-challenges-solutions/ Wed, 03 Mar 2021 03:23:01 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=8223 BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions         BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ […]

The post เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก appeared first on NAC2021.

]]>

BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions

เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก

BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions

        BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste)  ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)

        กลุ่มสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ:  มูลค่า GDP ของสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มีมูลค่ารวมกันประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท ในกลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากนโยบายภาครัฐ ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579

        ในส่วนของพลังงาน มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนานวัตกรรมการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถรองรับของเสียที่หลากหลายทั้งชนิดและคุณสมบัติ เช่น ขยะจากอุตสาหกรรม ครัวเรือน รวมถึงของเหลือทิ้งทางการเกษตร ของเสียเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปของแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ได้แก่ การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel, RDF) ก๊าซชีวภาพ ที่นำไปสู่การสร้าง Site Reference ของโรงไฟฟ้าชุมชน (Community-based Biomass Power Plant) ที่มีแหล่งพลังงานทดแทนในพื้นที่ (Distributed Energy Resources, DERs) เช่น พลังงานจาก แสงอาทิตย์ ชีวมวล (รวมขยะ) และก๊าซชีวภาพ ที่เพียงพอ โรงไฟฟ้าชุมชนสามารถสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าผ่านการเชื่อมต่อระบบด้วย Smart Microgrid และใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นแพลตฟอร์มในการบริหารจัดการ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบการจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เนื่องจากมีความสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทน

        ในส่วนของวัสดุและเคมีชีวภาพมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรและของเสียไปเป็นสารประกอบ หรือผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีมูลค่าสูง อาทิ พลาสติกชีวภาพ  ไฟเบอร์ เภสัชภัณฑ์ ด้วยแนวทางทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า GDP มากกว่า 2.6 แสนล้านบาท

     ประเทศไทยพร้อมกับการขับเคลื่อนแนวคิดนี้มากน้อยแค่ไหน, เรามีความเข้าใจเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ในกลุ่มธุรกิจพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพมากพอหรือยัง และอีกหลากหลายแง่มุมควรรู้

  • ภาพรวมและแนวทางการขับเคลื่อน BCG สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ
  • กลไกของ Carbon Pricing & Carbon Credits เป็นอย่างไร
  • แนวโน้มอุตสาหกรรม Biorefinery จะไปในทิศทางใด ประเทศไทยมีแต้มต่อหรือไม่ และผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างไร
  • แนวโน้มของโลกด้าน Clean Energy และโอกาสของประเทศไทย
  • บทบาทของชุมชน ใน Smart Grid และอนาคตของ Energy Trading
  • แนวทางการผลักดันและทางออกปัญหาของ Community Energy 

     เชิญหาคำตอบร่วมกันกับผู้รู้ที่มีประสบการณ์ในวงการพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในการทำงานจริงและในมุมของการบริหาร

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 25 มีนาคม 2564

 

13.00-14.30 น.

การเสวนาช่วงที่ 1

  • ภาพรวมของ BCG สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ

โดย คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช
ประธานคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ – บพข. และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

  • Carbon Pricing และ Carbon Credits

โดย ดร.คุรุจิต นาครทรรพ
ประธานกรรมการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), ผู้อำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน

  • Biorefinery

โดย คุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล
ประธานกรรมการ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน), อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยส์ จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

ดำเนินรายการโดย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

14.30-15.45น.

การเสวนาช่วงที่ 2

  • C-Energy (Clean & Circular)

โดย คุณอรรถ เหมวิจิตรพันธ์
ที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ อนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตรองประธานกรรมการ ดูแลงานด้านรัฐกิจสัมพันธ์และการพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด

  • Community Energy

โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร
หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงพลังงาน

  • Smart Grid & Energy Trading Platform

โดย คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และอดีตรองผู้ว่าการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

15.45-16.00 น.

สรุปปิดการเสวนา กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

โดย คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานกลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก appeared first on NAC2021.

]]>
Newton UK-Thailand Joint Research on BCG http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss60-newton-uk-thailand-joint-research-on-bcg/ Wed, 03 Mar 2021 02:58:05 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5429 Newton UK-Thailand Joint Research on BCG Newton UK-Thailand Joint Research on BCG         The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, […]

The post Newton UK-Thailand Joint Research on BCG appeared first on NAC2021.

]]>

Newton UK-Thailand Joint Research on BCG

Newton UK-Thailand Joint Research on BCG

        The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, research and translation. The UK and Thailand will jointly invest £46 million (THB 1,840 million) from 2014 until 2021.

        Over seven years of implementation, the UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund has contributed to improving Thailand’s research and innovation system, and consequently has made a material difference to the quality of people’s lives through funding providing fund to Ph.D. students, researchers and government officials.

        Because problems from resource scarcity (such as food, water and energy), environmental degradation, increasing vulnerability to the effects of climate change and risks from disease and natural hazards have still disproportionately impacted on Thailand, three joint research programmes on health and agritech which have co-funded by NSTDA are highlighted.

  • UK-Thailand Health Research to tackle the important infectious diseases focusing on vaccine development, drug resistance, detection, diagnostic kits, and outbreak prediction system.
  • Rice Research to build on the combined strengths of academic research groups within China, the Philippines, Thailand, Vietnam and the UK to work together on collaborative interdisciplinary research that underpin the long-term sustainable production of rice.
  • Swine and Poultry Research underpin the development of novel strategies to diagnose, prevent, manage or treat microbiological diseases of swine and poultry, to promote safe, healthy, resilient and sustainable food production systems in China and/or South East Asia and reduce the potential incidence of zoonotic disease.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

25 March 2021

13.30 – 13.35

Introduction to session
By Pijarana Samukkan
Research and Innovation Programme Manager, British Embassy

13.35 – 14.45

Opening Remarks &
Keynote on
UK Research and Innovation Collaboration in Thailand and beyond : Strategy, Activities and Achievements
By Ms. Nicola Willey
Regional Director South East Asia Science and Innovation,
British High Commission, Singapore

14.45-15.00

UK’s International Research Partnership: strategy and priorities by

  • Medical Research Council, UKRI
  • Biotechnology and Biological Sciences Research Council, UKRI

15.00-15.40

Presentation from grant-holders (10 min each)
UK-Thailand Joint Health Call focusing on infectious diseases

  • Analysis of flavivirus infection on the cellular lipidome – implications for virus particle production and replication.
  • Dissecting global protective immune response to dengue virus at a single-cell resolution
  • Deep Mutational Scanning of Dengue Viruses for Vaccine Development
  • Using whole genome sequencing to characterise drug resistant Mycobacterium tuberculosis in Thailand

15.40-16.30

Presentation from grant-holders (10 min each)
UK-China-Philippines-Thailand Swine and Poultry Research Initiative

  • China/UK/Thailand Program on Poultry Biosafety for Salmonella, E. coli and Campylobacter (CUT-SEC)
  • Development of live attenuated vaccine candidates for Newcastle Disease Virus
  • Rapid diagnostics and control strategies for enteric bacterial pathogens in backyard and commercial poultry production in Thailand and the Philippines
  • Broadly protective vaccines for porcine reproductive and respiratory syndrome and swine influenza virus infections
  • The development of a phage food additive with the aim to control Salmonella in swine and poultry

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Newton UK-Thailand Joint Research on BCG appeared first on NAC2021.

]]>
ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss55-biocontrol-sustainable-agriculture/ Tue, 02 Mar 2021 16:39:34 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5040 ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน Biocontrol for Driving of Sustainable Agriculture          ประเทศไทยมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิดที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีศัตรูพืชหลายชนิดก่อให้เกิดความเสียหายทั้งด้านผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกษตรกรมีความเป็นต้องใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานศัตรูหลายชนิดสามารถพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีเหล่านั้น ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการใช้และการนำเข้าสารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อผู้บริโภคและเกษตรกร         การป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธีโดยใช้ชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น รา แบคทีเรียและไวรัส เป็นปัจจัยทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดหรือทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายโดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งานของเกษตรกร รวมทั้งมีการพัฒนาต่อยอดผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ซึ่งช่วยลดการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทในการผลักดันและสนับสนุนให้มีการใช้ชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืชเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศให้มีความปลอดภัยและยั่งยืนต่อไป วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=UGV_7HRLiDkhttps://www.youtube.com/watch?v=9ZNw990qYpw เอกสารประกอบการสัมมนา ทิศทางการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยในปัจจุบันคุณอนันต์ อักษรศรี สถานภาพการใช้สารเคมีและการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีของประเทศนายศรัณย์ วัธนธาดา การเสวนา เรื่อง “การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชเพื่อการเกษตรปลอดภัย” คุณณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุลสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร คุณวนิดา อังศุพันธุ์กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอบี อินโนเวชั่น จำกัด คุณสุวิทชัย แสงเทียนเกษตรกรผู้ใช้ชีวภัณฑ์ในแปลงกล้วยไม้ ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชกรมวิชาการเกษตร […]

The post ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน appeared first on NAC2021.

]]>

ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน

ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน

Biocontrol for Driving of Sustainable Agriculture 

        ประเทศไทยมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิดที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีศัตรูพืชหลายชนิดก่อให้เกิดความเสียหายทั้งด้านผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกษตรกรมีความเป็นต้องใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานศัตรูหลายชนิดสามารถพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีเหล่านั้น ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการใช้และการนำเข้าสารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อผู้บริโภคและเกษตรกร

        การป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธีโดยใช้ชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น รา แบคทีเรียและไวรัส เป็นปัจจัยทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดหรือทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายโดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งานของเกษตรกร รวมทั้งมีการพัฒนาต่อยอดผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ซึ่งช่วยลดการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทในการผลักดันและสนับสนุนให้มีการใช้ชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืชเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศให้มีความปลอดภัยและยั่งยืนต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.30 น.

ทิศทางการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยในปัจจุบัน

โดย คุณอนันต์ อักษรศรี
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

09.30-10.00 น.

สถานภาพการใช้สารเคมีและการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีของประเทศ

โดย นายศรัณย์ วัธนธาดา
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

10.00-10.30 น.

พัก

10.30-11.00 น.

การใช้เทคโนโลยีจีโนมเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพชีวภัณฑ์

โดย ดร.วันอภินันต์ นาแว
ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) สวทช.

10.30-11.00 น.

การเสวนา เรื่อง มุมมองจากภาคเอกชนและเกษตรกรในการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช

โดย
1) คุณสกล เหนียนเฉลย
บริษัท บี ไบโอ จำกัด

2) คุณเอกราช เครื่องพนัด
บริษัท ริมปิงออร์แกนิคฟาร์ม จำกัด

3) คุณศุภิสิทธิ์
ว่องวณิชพันธุ์
เกษตรกรสวนกล้วยไม้ 

ดำเนินรายการโดย:
นางอารีย์พันธ์ อุปนิสากร
ดีตผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

12.00-13.30 น.

พัก

13.30-16.30 น.

การเสวนา เรื่อง “การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชเพื่อการเกษตรปลอดภัย”

โดย
1) คุณรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์
กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

2) คุณณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

3) ดร.สุพจน์ กาเซ็ม
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4) คุณวนิดา อังศุพันธุ์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอบี อินโนเวชั่น จำกัด

5) คุณสุวิทชัย แสงเทียน
เกษตรกรผู้ใช้ชีวภัณฑ์ในแปลงกล้วยไม้  

ดำเนินการเสวนาโดย:
ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน appeared first on NAC2021.

]]>
แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss35-gmp/ Tue, 02 Mar 2021 16:06:09 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5069 แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร        ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางด้านผลผลิตเกษตรกรรมของประเทศไทย ประกอบกับ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 ส่งผลให้การเติบโตทางด้านธุรกิจอาหารในประเทศมีความรวดเร็ว ทั้งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ รวมถึงส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นรายได้ที่มีมูลค่าสูงของประเทศ นอกจากนั้นกลุ่มผู้ประกอบการยีงมีความหลายหลาก ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางอาหารได้รับความสนใจ เพื่อต้องการพัฒนานวัตกรรมที่มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดผู้บริโภค ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีควรคำนึงถึงกฎหมาย มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ. อาหาร และกฎหมายรองต่างๆ มาตรฐานอาหารสากล เช่น CODEX และควรมีการดำเนินการภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) และมีกระบวนการประกันคุณภาพที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค         สวทช. เล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านกฎหมาย และมาตราฐานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จึงได้จัดการบรรยายโดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ผู้เข้าร่วม มีความเข้าใจเรื่องกฎหมายที่ควรทราบ และนำไปสู่การทดสอบและการขอรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และเตรียมข้อมูลที่สำคัญให้แก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตต่อไป วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=OPnJ_IEsX5Q เอกสารประกอบการสัมมนา […]

The post แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร appeared first on NAC2021.

]]>

แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร

แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร

       ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางด้านผลผลิตเกษตรกรรมของประเทศไทย ประกอบกับ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 ส่งผลให้การเติบโตทางด้านธุรกิจอาหารในประเทศมีความรวดเร็ว ทั้งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ รวมถึงส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นรายได้ที่มีมูลค่าสูงของประเทศ นอกจากนั้นกลุ่มผู้ประกอบการยีงมีความหลายหลาก ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางอาหารได้รับความสนใจ เพื่อต้องการพัฒนานวัตกรรมที่มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดผู้บริโภค ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีควรคำนึงถึงกฎหมาย มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ. อาหาร และกฎหมายรองต่างๆ มาตรฐานอาหารสากล เช่น CODEX และควรมีการดำเนินการภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) และมีกระบวนการประกันคุณภาพที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค



        สวทช. เล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านกฎหมาย และมาตราฐานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จึงได้จัดการบรรยายโดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ผู้เข้าร่วม มีความเข้าใจเรื่องกฎหมายที่ควรทราบ และนำไปสู่การทดสอบและการขอรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และเตรียมข้อมูลที่สำคัญให้แก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

9:00 – 9:10 น.

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
โดย คุณอัณณ์สุชา พฤกษ์สุนันท์ 
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาคุณภาพการวิจัย สวทช.

9:10 – 10:50 น.

กฎหมายที่ควรทราบและการขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับผู้ประกอบการ
โดย คุณนฤมล ฉัตรสง่า
นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด
สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

10:50 – 11:50 น.

การเตรียมความพร้อมงานวิจัย สิ่งที่ควรทราบ เพื่อการขอรับรองผลิตภัณฑ์อาหารจากงานวิจัย

โดย คุณมาลี จิรวงศ์ศรี
ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานอาหาร
สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

11:50 – 12:00 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร appeared first on NAC2021.

]]>
นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss12-future-nanorobotics/ Tue, 02 Mar 2021 15:35:24 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3677 The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment          เนื่องด้วย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการสร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน และเพื่อตอบโจทย์นโยบาย BCG economy ด้านการแพทย์สมัยใหม่ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) ให้ความสำคัญในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมนาโนโรบอทต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต […]

The post นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง appeared first on NAC2021.

]]>

The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment

นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง

The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment

         เนื่องด้วย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการสร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน และเพื่อตอบโจทย์นโยบาย BCG economy ด้านการแพทย์สมัยใหม่ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) ให้ความสำคัญในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมนาโนโรบอทต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้สูงที่สุด การกำหนดแผนที่นำทางและวัตถุประสงค์ในแต่ละช่วงงานวิจัยผ่านกลไกความร่วมมือทั้งระดับภายในประเทศและต่างประเทศจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 

         ปัจจุบันประเทศไทยมีเครือข่ายทีมวิจัยด้านนาโนโรบอทเพื่อต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต โดยเครือข่ายดังกล่าวประกอบด้วย นักวิจัย บุคลากรในมหาวิทยาลัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีขั้นสูง บุคลากรทางการแพทย์ และผู้แทนจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมาร่วมระดมสมอง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อออกแบบกลไกการทำงานเชิงเทคนิคของหุ่นยนต์ระดับนาโน ทั้งนี้ ประโยชน์ของการทำงานด้านนาโนโรบอท คือ การสร้างความตระหนักทั้งในด้านเทคโนโลยีและวิสัยทัศน์ในอนาคต เพื่อเตรียมพร้อมสู่การสร้างกำลังคน และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนาโนโรบอทผ่านเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 

         งานสัมมนา เรื่อง “The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment” ดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุตินานาชาติ ได้แก่ Prof. Sylvain Martel จาก Polytechnique Montreal ประเทศแคนาดา และ Prof. Kazunori Kataoka จากสถาบัน Innovation Center of NanoMedicine (iCONM) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวิทยากรด้านนาโนโรโบติกส์ระดับแนวหน้าของโลก

หัวข้อหารือ ประกอบด้วย
1) ความสำคัญและประโยชน์ของ Nanorobotics
2) อัพเดตข้อมูล/ทิศทาง Nanorobotic ใน 10 ปีข้างหน้า
3) แนวโน้มประโยชน์จากมุมมองแพทย์
4) เหตุผลที่ควรลงทุนและ Positioning สู่การเป็น Game Changer

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00 – 12.00 น.

งานเสวนา “นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง”

(The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment)

ดำเนินรายการโดย คุณสุทธิชัย หยุ่น

ผู้ร่วมเสวนา

  1. Prof. Sylvain Martel,
    Director, NanoRobotics Laboratory – Polytechnique Montréal ประเทศแคนาดา
  2. Prof. Kazunori Kataoka,
    Director General, Innovation Center of NanoMedicine (iCONM), Kawasaki Institute of Industry Promotion ประเทศญี่ปุ่น
  3. ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง
    ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  1. ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร
    ผู้อำนวยการศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO STEM-ED)
  1. คุณเฉลิมพล ปุณโณทก
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ซีที เอเชีย โรโบติกส์ จำกัด
  1. ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง
    ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ในระหว่างการเสวนา จะมีการเปิดวิดีโอจากวิทยากรต่างประเทศ 2 วิดีโอ ซึ่งวิทยากรต่างประเทศผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่านให้เกียรติบันทึกเทปไว้เพื่อร่วมเสวนา

1. วิดีโอ Medical Nanorobotics: More Real Than Fiction ระยะเวลาประมาณ 20 นาที บรรยายโดย Prof. Sylvain Martel, Director, NanoRoboticsLaboratory – Polytechnique Montréal ประเทศแคนาดา

2. วิดีโอ Initiatives of Nanorobotics at iCONM toward “In-Body Hospitals” ระยะเวลาประมาณ 20 นาที บรรยายโดย Prof. Kazunori Kataoka, Director General, Innovation Center of NanoMedicine (iCONM), Kawasaki Institute of Industry Promotion ประเทศญี่ปุ่น

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง appeared first on NAC2021.

]]>
กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss31-strategy-and-direction-ai-thailand/ Tue, 02 Mar 2021 15:01:43 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4848 กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย         “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2564-2570  (ร่าง) แผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์ฯ นี้ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายในปี พ.ศ. 2570”          โดยมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างคนและเทคโนโลยี การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบ (ที่ดี) ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในด้านยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไว้ 5 ด้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม  กฎหมาย และกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมและกลุ่มเป้าหมายสำหรับประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปสนับสนุนและพัฒนาในระยะเร่งด่วนคือ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาวะ การใช้งานและบริการภาครัฐ ในเสวนานี้จะได้เรียนรู้จากวิทยากรต่างชาติ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ […]

The post กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย

กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย

        “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2564-2570  (ร่าง) แผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์ฯ นี้ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายในปี พ.ศ. 2570” 

        โดยมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างคนและเทคโนโลยี การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบ (ที่ดี) ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในด้านยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไว้ 5 ด้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม  กฎหมาย และกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมและกลุ่มเป้าหมายสำหรับประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปสนับสนุนและพัฒนาในระยะเร่งด่วนคือ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาวะ การใช้งานและบริการภาครัฐ ในเสวนานี้จะได้เรียนรู้จากวิทยากรต่างชาติ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ จากนั้นจะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทย รวมทั้งแนวทางการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานในระยะเร่งด่วนกับ 3 อุตสาหกรรม จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

9.00 – 9.05 น.

กล่าวนำที่มาของการประชุมกลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย
โดย ดร.อลิสา คงทน
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

9.05 – 9.40 น.

National agenda, Driving forces, Technology trend and the adoption of AI ecosystem in Japan

โดย Professor Junichi Tsujii, Ph.D.
Director of Artificial Intelligence Research Center, AIST, Japan

9.40 – 10.10 น.

National agenda, Driving forces, Technology trend and the adoption of AI ecosystem in Singapore

โดย Laurence Liew, Ph.D.
Director of AI Innovation, AI Singapore (AISG), a national program on Artificial Intelligence

10.10 – 10.15 น.

พักเบรค

10.15 – 10.35 น.

กลยุทธ์และทิศทางการขับเคลื่อนปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย 

โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย,
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

10.35 – 11.35 น.

เสวนา มองต่างมุม “กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย”

(ใน 3 ประเด็นสำคัญ: (1)บทบาทของ AI ทีมีต่อชีวติแห่งสังคมอนาคต , (2)การประยุกต์ใช้ AI ในสังคมและการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ รวมถึงการสร้างโอกาส Startup และ(3) กลไกสำคัญเห่งการขับเคลื่อน AI ecosystem ในประเทศไทย)

โดย 

  1. รองศาสตราจารย์ ดร. จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. ดร. มหิศร ว่องผาติ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด
  3. รองศาสตราจารย์ ดร. วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร, ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส (ทีม Data Innovation), ธนาคาร กรุงไทย จำกัด
  4. ดร. ปรัชญา บุญขวัญ, หัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการ โดย ดร. ขวัญชีวา แตงไทย, นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

11.35 – 11.50 น.

Q & A

11.50 – 12.00 น.

ปิดการบรรยาย โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย 
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss37-covid19-vaccine/ Tue, 02 Mar 2021 14:52:28 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4734 การพัฒนา วัคซีนโควิด-19 การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ COVID-19 vaccine development : Progress and Preparedness tools for emerging infectious diseases จากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชนใช้จึงเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับการอนุญาตและมีการฉีดให้แก่ประชาชนแล้วในหลายประเทศ เนื่องจากวัคซีนที่พัฒนาขึ้นต้องผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองและมนุษย์ และมีกำลังการผลิตอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยน่าจะมีโอกาสถึงวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางวัคซีน บริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยทั่วโลกจึงมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยจากข้อมูลล่าสุด (11 ก.พ. 64) มีวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยในมนุษย์ (Clinical study) 98 ตัว และยังมีวัคซีนที่อยู่ในขั้นการศึกษาในสัตว์ทดลอง (Preclinical study) อีกอย่างน้อย 170 ตัว ซึ่งการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทยโดยเฉพาะ สวทช. ยังอยู่ในส่วนที่เป็น preclinical study เป็นหลัก โดยมีวัคซีนดีเอ็นเอของบริษัทไบโอเนท-เอเชียจำกัด และวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจะเข้าทดสอบในมนุษย์เร็วๆนี้ งามสัมมนานี้จะทำให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบสถานภาพการเข้าถึงและได้รับวัคซีนของประชาชน และความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาวัคซีนจากกลุ่มวิจัยชั้นนำของประเทศไทย รวมทั้งความพร้อมของประเทศไทยในการเตรียมพัฒนาวัคซีนเพื่อตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ในอนาคต กำหนดการ วันที่ 26 […]

The post การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ appeared first on NAC2021.

]]>

การพัฒนา

วัคซีนโควิด-19

การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่

COVID-19 vaccine development : Progress and Preparedness tools for emerging infectious diseases

        จากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชนใช้จึงเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับการอนุญาตและมีการฉีดให้แก่ประชาชนแล้วในหลายประเทศ เนื่องจากวัคซีนที่พัฒนาขึ้นต้องผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองและมนุษย์ และมีกำลังการผลิตอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยน่าจะมีโอกาสถึงวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ

        ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางวัคซีน บริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยทั่วโลกจึงมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยจากข้อมูลล่าสุด (11 ก.พ. 64) มีวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยในมนุษย์ (Clinical study) 98 ตัว และยังมีวัคซีนที่อยู่ในขั้นการศึกษาในสัตว์ทดลอง (Preclinical study) อีกอย่างน้อย 170 ตัว ซึ่งการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทยโดยเฉพาะ สวทช. ยังอยู่ในส่วนที่เป็น preclinical study เป็นหลัก โดยมีวัคซีนดีเอ็นเอของบริษัทไบโอเนท-เอเชียจำกัด และวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจะเข้าทดสอบในมนุษย์เร็วๆนี้

        งามสัมมนานี้จะทำให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบสถานภาพการเข้าถึงและได้รับวัคซีนของประชาชน และความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาวัคซีนจากกลุ่มวิจัยชั้นนำของประเทศไทย รวมทั้งความพร้อมของประเทศไทยในการเตรียมพัฒนาวัคซีนเพื่อตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

13.00-13.20 น.

ล็อกอินเข้าระบบออนไลน์

13.20-13.30 น.

เปิดสัมมนาและกล่าวภาพรวมของสถานการณ์ของโรค COVID-19

โดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

13.30-14.00 น.

สถานภาพการวิจัยพัฒนาวัคซีนที่สำคัญและ Technology trend สำหรับการพัฒนาวัคซีนต่อโรคอุบัติใหม่

โดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

14.00-14.30 น.

สถานภาพการเข้าถึงวัคซีน และ การได้รับวัคซีนของคนไทย และแผน BCG ด้านวัคซีน 

โดย นพ.นคร เปรมศรี สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

14.30-16.30 น.

ความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทย

โดย
1) ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2) ภญ.ดร.วาสนา วิจักขณาลัญฉ์
บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด

3) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ appeared first on NAC2021.

]]>
จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss28-genomic-medicine/ Tue, 02 Mar 2021 14:29:16 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4735 บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model Genomics Thailand: Genomic Medicine Service drive the BCG Economy Model         การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine) เป็นนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ที่ใช้ข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะบุคคลร่วมกับข้อมูลทางสุขภาพอื่นๆ มาใช้ในการวินิจฉัย รักษา และทำนายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด แม่นยำ และเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนของวงการแพทย์อย่างก้าวกระโดดในการสร้างสุขภาพที่ดีของประชากรตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนกระทั่งเสียชีวิต ตลอดจนการต่อยอดสู่อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศ ปัจจุบันการแพทย์จีโนมิกส์มีบทบาทสำคัญกับระบบสาธารณสุข และเริ่มมีการให้บริการในหลายประเทศภายใต้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯและสิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) ปี พ.ศ. 2563–2567 ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ รวมถึงเกิดโครงสร้างพื้นฐานของประเทศซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นผู้นำศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน   […]

The post จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model appeared first on NAC2021.

]]>

บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model

จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model

Genomics Thailand: Genomic Medicine Service drive the BCG Economy Model

        การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine) เป็นนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ที่ใช้ข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะบุคคลร่วมกับข้อมูลทางสุขภาพอื่นๆ มาใช้ในการวินิจฉัย รักษา และทำนายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด แม่นยำ และเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนของวงการแพทย์อย่างก้าวกระโดดในการสร้างสุขภาพที่ดีของประชากรตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนกระทั่งเสียชีวิต ตลอดจนการต่อยอดสู่อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศ ปัจจุบันการแพทย์จีโนมิกส์มีบทบาทสำคัญกับระบบสาธารณสุข และเริ่มมีการให้บริการในหลายประเทศภายใต้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯและสิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) ปี พ.ศ. 2563–2567 ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ รวมถึงเกิดโครงสร้างพื้นฐานของประเทศซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นผู้นำศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน

        งามสัมมนานี้จะเป็นการนำเสนอสถานภาพการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ความก้าวหน้าในการวิจัย พัฒนาและให้บริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์ รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model appeared first on NAC2021.

]]>
การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss53-safety-railway-systems/ Tue, 02 Mar 2021 14:13:24 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4643 ยกระดับความปลอดภัย ด้านการคมนาคมขนส่ง ในระบบราง การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง R&D For Safety Enhancement in Rail Transport System         ประเทศไทยกำลังมีการลงทุนครั้งใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่งในส่วนของระบบขนส่งทางราง รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญโดยจะยกระดับระบบการคมนาคมทางรางทั่วประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มระยะทางของรถไฟจาก 4,000 กิโลเมตร เป็น 10,000 กิโลเมตร เพื่อขยายศักยภาพในการขนส่งสินค้า ในขณะที่รถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑลก็จะมีการให้บริการเพิ่มจากเดิมประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นมากกว่า 400 กิโลเมตร  รวมทั้งในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางภายในประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีและการดูแลบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการศึกษาวิจัยและพัฒนาจึงเป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้และสามารถต่อยอดเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ต่อไป         การบรรยายในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอการยกระดับความปลอดภัยในระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง มิฉะนั้นอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินได้ วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=ZEkTBM0eEEY เอกสารประกอบการสัมมนา การเสียหายของล้อ-เพลาและรางรถไฟคุณสยาม แก้วคำไสย์ ระบบค้นหาและแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางข้างหน้าขบวนรถไฟดร.ทิวัตถ์ พงศ์ถาวรกมล ความปลอดภัยในระบบโครงสร้างพื้นฐานดร.อรรถพล เก่าประเสริฐ […]

The post การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง appeared first on NAC2021.

]]>

ยกระดับความปลอดภัย
ด้านการคมนาคมขนส่ง
ในระบบราง

การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง

R&D For Safety Enhancement in Rail Transport System

        ประเทศไทยกำลังมีการลงทุนครั้งใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่งในส่วนของระบบขนส่งทางราง รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญโดยจะยกระดับระบบการคมนาคมทางรางทั่วประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มระยะทางของรถไฟจาก 4,000 กิโลเมตร เป็น 10,000 กิโลเมตร เพื่อขยายศักยภาพในการขนส่งสินค้า ในขณะที่รถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑลก็จะมีการให้บริการเพิ่มจากเดิมประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นมากกว่า 400 กิโลเมตร  รวมทั้งในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางภายในประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีและการดูแลบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการศึกษาวิจัยและพัฒนาจึงเป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้และสามารถต่อยอดเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

        การบรรยายในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอการยกระดับความปลอดภัยในระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง มิฉะนั้นอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินได้

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.10 น.

กล่าวเปิดการบรรยาย

โดย ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์
ผู้อํานวยการ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.10-09.40 น.

การเสียหายของล้อ-เพลาและรางรถไฟ

โดย คุณสยาม แก้วคำไสย์
วิศวกรอาวุโส ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.40-10.10 น.

ระบบค้นหาและแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางข้างหน้าขบวนรถไฟ

โดย ดร.ทิวัตถ์ พงศ์ถาวรกมล
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

10.10-10.40 น.

ความปลอดภัยในระบบโครงสร้างพื้นฐาน

โดย ดร.อรรถพล เก่าประเสริฐ 
วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการก่อสร้าง ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง
การรถไฟแห่งประเทศไทย

10.40-11.10 น.

ต้นแบบระบบตรวจวัดการสั่นสะเทือนของรถไฟอัจฉริยะแบบฝังบนตัวรถไฟฟ้าที่ให้บริการเพื่อการประเมินความปลอดภัยและสภาพทางวิ่ง

โดย ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา
อาจารย์ สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

11.10-12.00 น.

ความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง

โดย ดร.ทยากร จันทรางศุ
ผู้อำนวยการกองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง appeared first on NAC2021.

]]>
สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss62-big-data/ Tue, 02 Mar 2021 13:32:08 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12346 สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่ สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) Building Community Big Data Platform for the New Normal         ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (big data system) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมและเพิ่มโอกาสการสร้างงาน การพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายเทคโนโลยี ทั้งด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data analytics) โครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล (security) ระบบสารสนเทศของภาครัฐ และการสร้างนิเวศของข้อมูล (data ecosystem) ความท้าทายหนึ่งของการพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ คือการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อแก้ปัญหาของชุมชน ทั้งในด้านการวิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อนของชุมชน (community strengths & weaknesses analysis) การสนับสนุนการวางแผนเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาของชุมชน เช่น การช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบาง (vulnerable social groups) อีกความท้าทายหนึ่งคือการสร้างคุณค่าให้กับข้อมูลของชุมชนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ […]

The post สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) appeared first on NAC2021.

]]>

สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่

สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

Building Community Big Data Platform for the New Normal

        ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (big data system) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมและเพิ่มโอกาสการสร้างงาน การพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายเทคโนโลยี ทั้งด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data analytics) โครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล (security) ระบบสารสนเทศของภาครัฐ และการสร้างนิเวศของข้อมูล (data ecosystem) ความท้าทายหนึ่งของการพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ คือการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อแก้ปัญหาของชุมชน ทั้งในด้านการวิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อนของชุมชน (community strengths & weaknesses analysis) การสนับสนุนการวางแผนเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาของชุมชน เช่น การช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบาง (vulnerable social groups) อีกความท้าทายหนึ่งคือการสร้างคุณค่าให้กับข้อมูลของชุมชนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ เช่น ด้านการท่องเที่ยว การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ การระบุตำแหน่งของสถานที่และทรัพยากรที่สำคัญต่างๆ ในชุมชน เป็นต้น เหล่านี้สามารถนำสามารถนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชน (community data-driven apps) งานสัมมนานี้จะเป็นการให้ความรู้ และอภิปรายในประเด็น หน่วยงานภาครัฐจะสามารถสนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ได้อย่างไรบ้างในยุคชีวิตวิถีใหม่ โดยการแบ่งปันประสบการณ์ และข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญประเทศสาธาณรัฐเกาหลี และประเทศไทย

        Big data is one of the key technologies that can lead to improvement of quality of citizens’s lives in terms of creating economic and social impacts as well as improving employment opportunities. The development of big data system involves several key technologies including big data analytics, security infrastructure, government information systems and data ecosystems. One of the key challenges of building big data system is how to utilize the data from the system to benefit citizen lives especially in supporting problem alleviation of communities. A vision of community big data platform aimed at creating big data system targeted at community data. With such a platform, local governments can conduct community strengths & weaknesses analysis to support better policy planning, such as those related to targeted community-based poverty alleviation. In addition, business and industries can improve their business planning based on community data such as tourism, product marketing, and location-based community resource data, etc. Citizen can beneficially receive improved citizen services via data-driven apps developed based on the community data.

        This seminar aims to conduct knowledge sharing and discussion on how policies and technologies could facilitate the development of community big data platform in life under this ‘new normal’. Insights and experiences on these aspects will be shared by experts from the Republic of Korea and Thailand.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

March 26, 2021

Part I

Opening ceremony/พิธีเปิดงานสัมมนา

13.30 – 13.35 น.

Welcome remarks/กล่าวต้อนรับและที่มาของการสัมมนา

by Sarun Sumriddetchkajorn, Ph.D.  (ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร)

Deputy Executive Director, National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)/NSTDA รองผู้อำนวยการ เนคเทค สวทช.

13.35 – 13.40 น.

Congratulatory remarks/กล่าวแสดงความยินดี

By Hwang, Byeong Choen, Ph.D

Director General, Korea Local Information Research & Development Institute (KLID)

Part II

Implementation experiences for Big data platform

(Conducted in English language)

Moderated by Pornprom Ateetanan, Ph.D. (ดร. พรพรหม อธีตนันท์)                                                     

Deputy division director, Strategic planning and partner development, NECTEC/NSTDA
(รองผู้อำนวยการฝ่าย, ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เนคเทค สวทช.)

13.40 – 14.00 น.

Strategies and innovation of local governments in the age of data economy

By Beop-Yeon Kim, Ph.D, Research professor

Korea University School of Cybersecurity

14.00 – 14.20 น.

Using personal information as artificial intelligence learning data

By Seungjae Jeon, Ph.D, Attorney, Barun Law LLC

14.20 – 14.40 น.

Introduction of Jeju Island Big Data Platform Use Cases

By Kim Ki-Hong, Director, Digital Convergence Division

and Park Ki-Bum, Team Leader, Big Data

Jeju Special Self-Governing Province

14.40 – 15.00 น.

Thailand’s “One Tambon One University” Program

by Asst. Prof. Wannarat Suntiamorntut, Ph.D, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)  and Asst. Prof. Akkarit Sangpetch, Ph.D., CMKL University  (ผศ.ดร. อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร, CMKL University)

Part III

Panel discussion การเสวนา

“ความสำคัญของแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่ – การประยุกต์ใช้งาน การเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูล และโอกาสทางธุรกิจ ปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อน และบทบาทหลังจากการแพร่ระบาด”

(Conducted in Thai Language)

“The importance of big data platform and its applications on communities for the new normal: role of community big data platform after the pandemic, applications for community and business opportunities, key mechanisms for development

Moderated by Marut Buranarach, Ph.D., Research Group Director, Data Science and Analytics Research Group (DSARG), NECTEC/NSTDA

ดำเนินการเสวนา โดย ดร. มารุต บูรณรัช ผู้อำนวยการ กลุ่มวิจัยวิทยากรข้อมูลและการวิเคราะห์, เนคเทค สวทช.

15.00 – 16.00 น.

Panel discussion “The importance of big data platform and its applications on communities for the new normal” 

การเสวนา “ความสำคัญของแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่”

Panelists/ผู้ร่วมเสวนา:

  1. Asst. Prof. Wannarat Suntiamorntut, Ph.D, Prince of Songkhla University
    (ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
  2. Asst. Prof. Akkarit Sangpetch, Ph.D, CMKL University
    (ผศ.ดร. อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร, CMKL University)
  3. Suttipong Thajchayapong, Ph.D, Research team leader, Strategic Analytics Networks with Machine Learning and AI Research Team)

(ดร. สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์, หัวหน้าทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช.)

16.00-16.20 น.

Q & A

16.20-16.30 น.

Wrap up By Marut Buranarach, Ph.D. 

สรุปการเสวนา โดย ดร. มารุต บูรณรัช

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) appeared first on NAC2021.

]]>
Taiwan Data Cube workshop http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss21-taiwan-data-cube-workshop/ Tue, 02 Mar 2021 10:14:47 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4313 Taiwan Data Cube workshop Taiwan Data Cube workshop         The growing Earth Observation satellite data requires an open and freely accessible exploitation tool to facilitate the development and sustainability of applications on land use and land cover change, water resources and forest monitoring, etc. The Open Data Cube (ODC) is especially suitable […]

The post Taiwan Data Cube workshop appeared first on NAC2021.

]]>

Taiwan Data Cube workshop

Taiwan Data Cube workshop

        The growing Earth Observation satellite data requires an open and freely accessible exploitation tool to facilitate the development and sustainability of applications on land use and land cover change, water resources and forest monitoring, etc. The Open Data Cube (ODC) is especially suitable for geospatial data management & analysis for modern Thai Agriculture, one of the focused topics under the BCG model.

        Open Data Cube (ODC) was initiated by the Committee on Earth Observation Satellites (CEOS) to provide a solution with new computing technologies, to promote free and open EO satellite data and application algorithms, and to lower the technical barriers for users to exploit the data. Currently, based on ODC infrastructure Taiwan Data Cube (TWDC) is under developing and operating for distributing Analysis Ready Data (ARD) and delivering corresponding application for geospatial data users in Taiwan. In this workshop, not only the system framework and data preparation of ODC will be provided, the practical applications of TWDC will also be introduced. Following topics will be discussed in this workshop: (1) Overview and framework of TWDC, (2) Preparation and usage of ARD in TWDC. (3) Introduction to the applications of TWDC. Through this workshop, the valuable experience and practice of TWDC will be shared and exchanged with international participants to establish localized ODC for foreign countries and third-party international organizations. Under the collaboration with CEOS, hope that the staged achievement of TWDC can be an example in international cooperation projects of ODC.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

26 March 2021

09:00 – 09:20

NSPO Introduction
By Mr. Eddy Yang, Principal Engineer, NSPO

9:20 – 10: 10

Overview and Framework of Taiwan Data Cube (TWDC)
By Ms. Charlotte Hsu, Engineer, NSPO

10:10 -11:10

ARD Preparation and Usage in Taiwan Data Cube
By Dr. Chang Li-Yu, Researcher, NSPO

11:10 – 12:00

TWDC Demo
By Mr. Wei Hsuan-Cheng, Engineering, NSPO

12.00 – 13.00

Break – Lunch time

13:30 – 13:50

Data Cube Applications
By Ms. Cynthia Liu, Division Director, NSPO

13:50 – 15:20

TWDC application in Thailand
By Dr. Noppadon Khiripet, NECTEC

15:20 – 16:00

Q&A

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Taiwan Data Cube workshop appeared first on NAC2021.

]]>
Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss17-post-covid19-opportunities/ Tue, 02 Mar 2021 09:35:20 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=8194 Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World”         For over 15 years, the National Science and Technology Development Agency (NSTDA) has been hosting the NSTDA Annual Conference, or NAC, to showcase the research and innovation that NSTDA and its local and international partners have achieved over […]

The post Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” appeared first on NAC2021.

]]>

Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World”

        For over 15 years, the National Science and Technology Development Agency (NSTDA) has been hosting the NSTDA Annual Conference, or NAC, to showcase the research and innovation that NSTDA and its local and international partners have achieved over the year. Comprehensive scientific seminars, exhibitions, the Thailand Science Park Open House, a job fair, and STEM educational activities complete the full program of NAC, making it one of the most exciting events of the year for our scientific community.

        NAC2019, the last conference held before the pandemic hit, was a great success and attracted more than 5,000 participants to the scientific seminars/workshops, 4,065 visitors to the exhibition, and 367 attendees to the open house activities. The program consisted of 49 scientific conferences, seminars and workshops. On display in the exhibition zone were over 100 inventions developed by NSTDA and its partners from the public, private and academic domains, as well as by the tenants of Thailand Science Park. An open house activity introduced visitors from the private sector to the laboratories of NSTDA and to the tenants of Thailand Science Park that offer research and testing services.

        NAC2021 will be held on 25 – 30 March 2021 with a focus on the “Bio-Circular-Green Economy (BCG)”.  Thailand is investing heavily in BCG to achieve a sustainable and inclusive economy, and is employing science, technology and innovation to enhance the country’s competitiveness. The BCG sector comprises many of the country’s most important industries: agriculture and food; bioenergy, biomaterials and biochemicals; medical and wellness; and tourism and the creative economy. By 2025, the Thai Government aims to increase the value of these industries by 30 percent, making  BCG industries equivalent to 25 percent of GDP.

        One of the highlights of NAC2021 highlights will be the Presidents’ Forum – an invitation-only roundtable in which leaders of prominent international research organizations are invited to share and discuss their views  on various science, technology and innovation issues with leaders of research and academic institutes in Thailand

        The Presidents’ Forum was first organized at NAC2019 and focused on R&D management. Participants included Prof. James C. Liao (President of Academia Sinica), Prof. Yeong-Her Wang (President of National Applied Research Laboratories, NARLabs), Dr. Raj Thampuran (Managing Director of Agency for Science, Technology and Research, A*STAR, Singapore) and Dr. Eden Y. Woon (President of Asian Institute of Technology, AIT).

        The 2021 Presidents’ Forum is scheduled to take place on 26 March 2021 with the theme “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” where discussions will focus on how research and innovation can support BCG and sustainability in the world after the pandemic and provide opportunities for international collaboration.

        NAC2021 will be held in a hybrid format with a combination of onsite and online platforms with the onsite activities taking place at Thailand Science Park. Like its previous editions, NAC2021 will consist of a wide range of activities including scientific seminars, discussions, exhibitions, STEM activities for children and Thailand Science Park Open House.

        This event brings together presidents and leaders of leading scientific organizations and academic institutes from Thailand and overseas to share experience, perspective and best practice on the commercialization of research results. The forum also aims at promoting collaboration among institutes to advance the process of research translation and commercialization.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

March 26, 2021

13:30 – 13:40

Welcome Remarks and Introduction to the Presidents’ Forum

By Dr. Lily Eurwilaichitr
NSTDA Vice President

13.40 – 14.00

Opening Remarks

By Dr. Narong Sirilertworakul
NSTDA President

14.00 – 15.20

Keynote Speeches on “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World”

1) Dr. Chen Chien-jen
Former Vice President, Taiwan
Theme: Health and Vaccine

2) Prof. Dr. Hasan Mandal
President, Scientific and Technological Research Council of Turkey (TÜBITAK), Turkey
Theme: Sustainable Development

3) Prof. Joachim von Braun
Director, Center for Development Research (ZEF), Bonn University, Germany
Theme: Bioeconomy Policy

4) Prof. Emeritus Dr. Kraisid Tontisirin
Senator and Former Director of Food and Nutrition Division, Food and Agriculture Organization of the United Nations
Theme: Food and Agriculture

15.20 – 16.20

Open Discussion

Moderated by Prof. Prasit Palittapongarnpim, NSTDA Executive Vice President

16.20 – 16.30

Conclusions and Closing Remarks

By Dr. Narong Sirilertworakul
NSTDA President

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” appeared first on NAC2021.

]]>
Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss44-functional-ingredients/ Tue, 02 Mar 2021 05:23:08 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5659 Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19         วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในวงกว้าง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ถูก disrupt จากวิกฤตครั้งนี้ ทั้งจากปัญหา supply chain disruption ในช่วงมาตรการ lockdown รวมไปถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยุค new normal หลัง COVID-19 จะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป เช่น 1) ความปลอดภัยจากการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม “food safety and transparency” 2) ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางเลือกเช่นอาหารเนื้อสัตว์ทดแทน (alternative meats) ผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกจากพืช (plant-based foods) โดยเฉพาะถั่ว เห็ด สาหร่าย ซึ่งให้โปรตีนสูง ผลิตภัณฑ์นมที่ทำจากพืช (plant-based milk) เช่น […]

The post Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 appeared first on NAC2021.

]]>

Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19

Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19

        วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในวงกว้าง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ถูก disrupt จากวิกฤตครั้งนี้ ทั้งจากปัญหา supply chain disruption ในช่วงมาตรการ lockdown รวมไปถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยุค new normal หลัง COVID-19 จะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป เช่น

1) ความปลอดภัยจากการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม “food safety and transparency”

2) ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางเลือกเช่นอาหารเนื้อสัตว์ทดแทน (alternative meats) ผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกจากพืช (plant-based foods) โดยเฉพาะถั่ว เห็ด สาหร่าย ซึ่งให้โปรตีนสูง ผลิตภัณฑ์นมที่ทำจากพืช (plant-based milk) เช่น ข้าวโอ๊ต หรืออัลมอนด์ หรือผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่งและเติมสารอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะบุคคล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหรือรักษาโรคได้

3) การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ unmanned factory และ humanless warehouse โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการพึ่งพาแรงงานคน และลดต้นทุนของภาคธุรกิจในระยะยาว

      ดังนั้นภาครัฐและภาคเอกชนต้องบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อวางกลยุทธ์การเติบโตและเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อขับเคลื่อน ประเทศไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

     วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเผยแพรความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของ Functional ingredient ในอุตสาหกรรมอาหาร
  2. เพื่ออัพเดทสถานการณ์ แนวโน้ม การตลาดของ Functional ingredient ในช่วงวิกฤตโควิด-19
  3. เพื่อเปิดโอกาสให้คำปรึกษา แนะนำงานวิจัยไทย และผู้ประกอบการ เพื่อสร้างการแข่งขันของตลาด Functional ingredient ในระดับนานาชาติ



วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

13:00-13:30 น.

ล็อกอินเข้าระบบออนไลน์

13:30-13.35 น.

พิธีกรกล่าวต้อนรับ และแจ้งกำหนดการ

13:35-14:15 น.

เทรนอุตสาหกรรมอาหารโลกและความท้าทายของอุตสาหกรรมอาหารหลังวิกฤตโควิด-19 

โดย  คุณเกวลิน หวังพิชณสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

14:15-15.00 น.

Functional Ingredients สำหรับอุตสาหกรรมอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ 

โดย ดร.ไว ประทุมผาย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ

15.00-15.45 น. 

Functional Ingredients สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและอาหารเสริม

โดย ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

15.45-16.30 น.

Functional Ingredients สำหรับอุตสาหกรรมอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

โดย ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 appeared first on NAC2021.

]]>
มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss43-robots-smart-bed-standard-regulations/ Tue, 02 Mar 2021 05:20:08 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5529 มาตรฐานและระเบียบสำหรับ หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย Robots and Smart Bed for Aging care : Standard and Regulations           ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้วในปี พ.ศ.2564  ภาครัฐได้กำหนดให้สังคมสูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ และได้วางแผนเพื่อการเตรียมพร้อมในการรับมือ ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมทุนวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อผลักดันการสร้างอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการในประเทศไทย ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์โดยคนไทยสู่ตลาดมากขึ้น เป็นการลดการนำเข้า เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาที่สูงได้ ลดความเหลือมล้ำทางสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ         ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่ออกมาเพื่อตอบสนองต่อสังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ หุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกควบคุมด้วยระบบตรวจสอบมาตรฐานประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผู้ประกอบการและนักวิจัยจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการควบคุม แนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ การขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์และการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย และวิธีการทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดมาตรฐานที่สำคัญของเครื่องมือแพทย์         สัมมนานี้จึงจะมุ่งเน้นที่อุปกรณ์หุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้ภาพในองค์รวมอย่างย่อเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการ นักวิจัย  นักออกแบบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกได้รับทราบข้อมูลและหลักการการทดสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค จะเป็นการช่วยผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในประเทศสามารถสร้างความเข้มแข็งด้านสวัสดิการการบริการผู้สูงอายุและผู้พิการและสร้างเศรษฐกิจให้ประเทศได้    วัตถุประสงค์ 1) เพื่อการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์ […]

The post มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย appeared first on NAC2021.

]]>

มาตรฐานและระเบียบสำหรับ

หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย

มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย

Robots and Smart Bed for Aging care : Standard and Regulations  

        ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้วในปี พ.ศ.2564  ภาครัฐได้กำหนดให้สังคมสูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ และได้วางแผนเพื่อการเตรียมพร้อมในการรับมือ ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมทุนวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อผลักดันการสร้างอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการในประเทศไทย ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์โดยคนไทยสู่ตลาดมากขึ้น เป็นการลดการนำเข้า เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาที่สูงได้ ลดความเหลือมล้ำทางสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ

        ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่ออกมาเพื่อตอบสนองต่อสังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ หุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกควบคุมด้วยระบบตรวจสอบมาตรฐานประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผู้ประกอบการและนักวิจัยจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการควบคุม แนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ การขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์และการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย และวิธีการทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดมาตรฐานที่สำคัญของเครื่องมือแพทย์

        สัมมนานี้จึงจะมุ่งเน้นที่อุปกรณ์หุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้ภาพในองค์รวมอย่างย่อเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการ นักวิจัย  นักออกแบบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกได้รับทราบข้อมูลและหลักการการทดสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค จะเป็นการช่วยผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในประเทศสามารถสร้างความเข้มแข็งด้านสวัสดิการการบริการผู้สูงอายุและผู้พิการและสร้างเศรษฐกิจให้ประเทศได้   

วัตถุประสงค์ 
1) เพื่อการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่ายเครื่องมือแพทย์
2) เพื่อการเรียนรู้หลักการทดสอบตามมาตรฐานที่สำคัญในการดำเนินการทำมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค
3) เพื่อการประชาสัมพันธ์แนวทางการขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทย เป็นการส่งเสริมการตลาดของภาครัฐ
4) เพื่อเปิดโอกาสให้คำปรึกษากาผู้ประกอบการที่กำลังจะทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์

กลุ่มเป้าหมายที่ควรเข้าร่วมกิจกรรม
1) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วย
2) ผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องการขยายสายการผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์ประเภท 1 ความเสี่ยงต่ำ
3) นักวิจัยหรือนักพัฒนาที่ต้องการต่อยอดผลงานอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสู่พาณิชย์

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.35 น.

ระเบียบการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ

โดย คุณธเนศ วิริยะเมธานนท์
วิศวกรชีวการแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

09.40-10.20 น.

มาตรฐานสำหรับหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ 

โดย ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์
ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)

10.25-11.05 น.

มาตรฐานสำหรับเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ

โดย คุณเรืองฤทธิ์ หนิแหนะ
วิศวกรอาวุโส ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)

11.10-11.40 น.

การทดสอบ Software Validation IEC 62304

โดย ดร.พนิตา เมนะเนตร
ผู้จัดการห้องปฏิบัติการทดสอบซอฟต์แวร์ (SQUAT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
 (NECTEC)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย appeared first on NAC2021.

]]>
การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing” http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss19-herbal-cosmeceutical/ Mon, 01 Mar 2021 17:17:05 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3794 พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceutical” 1) การเสวนา: “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” 2) Knowledge Sharing: “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing”         เวชสำอาง (Cosmeceuticals) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องสำอางและ/หรือยาไว้ด้วยกัน การใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางคาดหวังการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ หรือเรียกได้ว่าเป็น “Functional cosmetics” ซึ่งสารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin ต่างๆ, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืช/สมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ คำว่า “เวชสำอาง” […]

The post การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing” appeared first on NAC2021.

]]>

พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceutical”

1) การเสวนา: “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals”
2) Knowledge Sharing: “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing”

        เวชสำอาง (Cosmeceuticals) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องสำอางและ/หรือยาไว้ด้วยกัน การใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางคาดหวังการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ หรือเรียกได้ว่าเป็น “Functional cosmetics” ซึ่งสารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin ต่างๆ, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืช/สมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ คำว่า “เวชสำอาง” เป็นคำที่ไม่มีนิยามตามกฎหมาย ไม่ว่าจะจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของเมืองไทย เอเชีย อเมริกา หรือประเทศกลุ่มยุโรป ดังนั้นในการโฆษณาสินค้าเหล่านี้ทางกฎหมายจึงถือเป็นเครื่องสำอาง จึงต้องโฆษณาให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลการโฆษณาเครื่องสำอางตามบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ต้องไม่โฆษณาคุณสมบัติมากไปกว่าการเป็นเครื่องสำอาง  ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการกำหนดนิยามของคำว่า “เวชสำอางสมุนไพร หรือ Herbal Cosmeceutical” ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านเวชสำอางเพื่อจัดจำหน่าย ที่ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทราบแนวทาง หลักเกณฑ์และต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของการขี้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

       โดยข้อมูลสำคัญประการหนึ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์คือข้อมูลผลการวิเคราะห์ทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสำคัญ/สารออกฤทธิ์ที่ทางผู้ประกอบการต้องการใช้เพื่อแสดงผล“Functional claim” ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบัน วิธีการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารออกฤทธิ์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สามารถทดสอบได้ในระดับ in vitro ซึ่งประกอบด้วยโมเดลเซลล์ผิวหนัง 2 มิติ และเนื้อเยื่อผิวหนัง 3 มิติ โดยในโมเดลเซลล์ผิวหนัง 2 มิติ จะประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวซึ่งเหมาะในการทดสอบเบื้องต้น หรือการทดสอบในเชิงลึกที่ต้องการดูผลในเซลล์ผิวหนังเพียงชั้นเดียว สำหรับโมเดลเนื้อเยื่อผิวหนัง 3 มิตินั้นจะมีข้อจำกัดในด้าน Physical barrier โดยมีผิวหนังชั้น Stratum corneum ที่บอบบางกว่าผิวหนังจริง, การขาดเซลล์บางชนิดในผิวหนัง, มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้โมเดลนี้ยังคงมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากผิวหนังจริง อีกทั้งยังมีราคาแพง

        โมเดลชิ้นส่วนผิวหนังของมนุษย์ (ex-vivo skin model) ได้มาจากการตัดชิ้นส่วนผิวหนังของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้มาจากผิวหนังส่วนหน้าท้อง (Abdominal skin) และนำมาเลี้ยงภายนอกร่างกาย ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม โดยมีข้อดีคือมีคุณลักษณะที่ใกล้เคียงกับผิวหนังจริงมากที่สุด เนื่องจากยังคงมีเซลล์และโครงสร้างที่พบในผิวหนังจริงหลงเหลืออยู่ มีความแข็งแรง ทำให้โมเดลนี้เหมาะกับการทดสอบเพื่อหาสูตรตำรับที่เหมาะสม ก่อนที่จะทำไปทดสอบในอาสาสมัคร นอกจากนี้โมเดลชิ้นส่วนผิวหนังยังมีราคาถูก สามารถเห็นผลการทดสอบได้ในระยะเวลาอันสั้น, และสามารถใช้ทดสอบหากลไกเชิงลึก มีวิธีการเตรียม Tissue culture ที่ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาในการเตรียมสั้นกว่า เมื่อเทียบกับโมเดลเซลล์ผิวหนัง 3 มิติ รวมถึงสามารถตัดชิ้นส่วนของผิวหนังของผู้สูงอายุ หรือคนที่เป็นโรคเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาได้อีกด้วย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทย
ด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals”

Efficacy Testing of Anti-Aging Products
in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 1)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 1)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products
in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 2)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 2)

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.15 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดงาน

โดย ภญ.ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
Super Manager โปรแกรมเวชสำอาง สวทช.

09.15-10.00 น.

การเสวนาหัวข้อ “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” 

โดย 1) ภก.วราวุธ เสริมสินสิริ
ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

2) ภญ.ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
Super Manager โปรแกรมเวชสำอาง, สวทช.

3) ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท สเปเชียลตี้ อินโนเวชั่น จำกัด                                      และ บริษัท สเปเชียลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด

ดำเนินรายการโดย  ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี 
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.

10.00-10.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Breakthroughs in Aging Research That Will Transform the Future of Anti-Aging Products          

โดย ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.

10.45-12.00 น.

การบรรยายหัวข้อ “Skin Aging Biology”

 

โดย ศ.ดร.ภญ.จารุภา วิโยชน์
คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

12.00-13.00 น.

พักกลางวัน

13.00-13.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Anti-Aging Testing of Active Ingredients & Products in Ex Vivo Skin Models”

 

โดย ดร.วันนิตา กลิ่นงาม
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

13.45-14.30 น.

การบรรยายหัวข้อ Efficacy Testing of Cosmeceutical Products Using Ex Vivo skin models” (บรรยายภาษาอังกฤษ)

โดย Dr.Nikita Radionov
Subsidiary and Technical-commercial Actions Manager,  Laboratoire BIO-EC FRANCE

14.30-15.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Clinical Trials”

โดย รศ.ภญ.ดร.ภญ.มยุรี กัลยาวัฒนกุล 
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง             

หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing” appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss48-eboat-ebike/ Mon, 01 Mar 2021 17:02:25 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5233 เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Powertrain Technology Design and Production for Electric Boat and Motorcycle Industries       เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง กำลังมุ่งไปสู่การขับเคลื่อนยานพาหนะด้วยพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยานพาหนะไฟฟ้า จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการ รวมถึงผู้ใช้ ต่างให้ความสนใจ และเป็นทิศทางที่กำลังมุ่งไป นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ด้วยยานพาหนะไฟฟ้า ก็ยังเป็นโอกาสในการผลิตทั้งชิ้นส่วนที่มีมูลค่าสูงในยานพาหนะ และผู้ให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งทางบก อย่างรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และทางน้ำอย่างเรือไฟฟ้า ที่ถูกมองเป็นโอกาสอุตสาหกรรมในประเทศไทย         ชิ้นส่วนสำคัญในเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบไปด้วย ชุดอุปกรณ์ทางกลใชการขับเคลื่อน ชุดวัสดุอุปกรณ์เชิงโครงสร้าง ชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ชุดอุปกรณ์ประจุไฟฟ้า และที่สำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดอย่างชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้า (Electric Powertrain) ที่ประกอบไปด้วยชุดมอเตอร์ ระบบควบคุม และแบตเตอรี่สำหรับขับเคลื่อนยานพาหนะไฟฟ้า ในการเสวนาในครั้งนี้ จะเป็นแสดงให้เห็นถึงโอกาสในเชิงธุรกิจ […]

The post เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

Powertrain Technology Design and Production for Electric Boat and Motorcycle Industries

      เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง กำลังมุ่งไปสู่การขับเคลื่อนยานพาหนะด้วยพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยานพาหนะไฟฟ้า จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการ รวมถึงผู้ใช้ ต่างให้ความสนใจ และเป็นทิศทางที่กำลังมุ่งไป นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ด้วยยานพาหนะไฟฟ้า ก็ยังเป็นโอกาสในการผลิตทั้งชิ้นส่วนที่มีมูลค่าสูงในยานพาหนะ และผู้ให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งทางบก อย่างรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และทางน้ำอย่างเรือไฟฟ้า ที่ถูกมองเป็นโอกาสอุตสาหกรรมในประเทศไทย

        ชิ้นส่วนสำคัญในเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบไปด้วย ชุดอุปกรณ์ทางกลใชการขับเคลื่อน ชุดวัสดุอุปกรณ์เชิงโครงสร้าง ชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ชุดอุปกรณ์ประจุไฟฟ้า และที่สำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดอย่างชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้า (Electric Powertrain) ที่ประกอบไปด้วยชุดมอเตอร์ ระบบควบคุม และแบตเตอรี่สำหรับขับเคลื่อนยานพาหนะไฟฟ้า ในการเสวนาในครั้งนี้ จะเป็นแสดงให้เห็นถึงโอกาสในเชิงธุรกิจ และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการออกแบบ และผลิตชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้า (Electric Powertrain) ที่ประกอบไปด้วยการออกแบบแบตเตอรี่แพ็ก ตั้งแต่การคัดเลือกเซลล์แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน การออกแบบโครงสร้างการเชื่อมต่อจากเซลล์เป็นโมดูล และเป็นแพ็กแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน การออกแบบโครงสร้าง จุดยึดเชื่อมต่อชุดแบตเตอรี่แพ็กเข้ากับยานพาหนะไฟฟ้า การออกแบบระบบจัดการความร้อนภายในชุดแบตเตอรี่ขณะทำงาน การออกแบบระบบจัดการแบตเตอรี่ และการออกแบบระบบสื่อสาร และชุดมอเตอร์และระบบควบคุม ตั้งแต่การออกแบบเพื่อหากำลังมอเตอร์ที่ต้องการ และการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบควบคุมที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมภายในยานพาหนะไฟฟ้า มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบส่งกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานในเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจักรยานยนต์ไฟฟ้า

      งานเสวนาในครั้งนี้คาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมจะได้รับมุมมองทางธุรกิจในการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม
ยานยนต์สมัยใหม่ และชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ และรับองค์ความรู้สำคัญในการออกแบบและผลิตชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้าสำหรับเรือไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อนำไปต่อยอดสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ และยกระดับอุตสาหกรรมไทยต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.30 – 09.45 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม 

โดย นายณัฏฐวัชช์ รุ่งเสถียรธร 

ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.45 – 10.45 น.

เทคโนโลยีการออกแบบแบตเตอรี่แพ็ก และ เทคโนโลยีการออกแบบมอเตอร์และระบบขับเคลื่อน

โดย ดร.มานพ มาสมทบ ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน
ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
และ ดร.บุรินทร์ เกิดทรัพย์ ทีมวิจัยมอเตอร์และการแปลงผันกำลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

10.45 – 12.15 น.

เสวนา: เทคโนโลยีการออกแบบชุดระบบส่งกำลังเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 

ดำเนินการเสวนาโดย นายสรวิศ วณิชอนุกูล 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

รายชื่อผู้ร่วมเสวนา

  1. นายวีรพลน์ เตชะผาสุขสันติ
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด
  1. นายวสันต์พรรษ ภูริณัฐภูมิ
    ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา
    บริษัท จีพี มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
  1. ดร.สิริกานดา นวลแสง
    ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
    บริษัท เบต้าเอเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด
  1. ดร.มานพ มาสมทบ
    ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน
    ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
  1. ดร.บุรินทร์ เกิดทรัพย์
    ทีมวิจัยมอเตอร์และการแปลงผันกำลังงาน 
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า appeared first on NAC2021.

]]>
การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 1/2) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/28/ss40-rehabilitation-engineering/ Sun, 28 Feb 2021 07:48:41 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4128 ต้นแบบวิศวกรรม ฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับกลุ่มความร่วมมือด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแห่งเอเชีย (Coalition on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology of Asia: CREATe Asia) กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 15 (The 15th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe 2021) ณ  โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในงานประชุมดังกล่าวกำหนดให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC 2021) […]

The post การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 1/2) appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบวิศวกรรม

ฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

        ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับกลุ่มความร่วมมือด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแห่งเอเชีย (Coalition on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology of Asia: CREATe Asia) กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 15 (The 15th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe 2021) ณ  โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2564

       โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในงานประชุมดังกล่าวกำหนดให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC 2021) เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้คิดและสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นนวัตกรรมช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุเข้าร่วมการประกวดโดย สวทช. จะคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษาตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประกวดดังกล่าว 

        ทั้งนี้ สวทช. ได้จัดการอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ก่อนการประกวดสิ่งประดิษฐ์ฯ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่สนใจส่งผลงาน ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ

กำหนดการ

วันที่ 27 มีนาคม 2564

08.45-09.00 น.

เข้าสู่ระบบออนไลน์

09.00-09.30 น.

กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน พร้อมบรรยายหัวข้อ SIC & i-CREATe เส้นทางจากนักประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สู่ผู้ประกอบการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ

โดย อาจารย์วันทนีย์ พันธชาติ
ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะทาง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

09.30-10.00 น.

บรรยายเรื่องกระบวนการคิด พร้อมแนะแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ
รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารองค์กรและสารสนเทศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

10.30-11.00 น.

พักเบรค

11.00-12.00 น.

บรรยายเรื่องกระบวนการคิด พร้อมแนะแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่แนวคดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ (ต่อ)

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ

14.30-15.00 น.

พักเบรค

15.00-17.00 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

14.30-15.00 น.

พักเบรค

วันที่ 28 มีนาคม 2564

09.00-10.30 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

10.30-11.00 น.

พักเบรค

11.00-12.00 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.

ทบทวนกระบวนการคิด ปรับปรุงแนวคิด ปรับแก้ข้อเสนอโครงการ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ

14.30-15.00 น.

พักเบรค

15.00-16.00 น.

ทบทวนกระบวนการคิด ปรับปรุงแนวคิด ปรับแก้ข้อเสนอโครงการ (ต่อ)

16.00-17.00 น.

วิทยากรตอบข้อซักถามจากทีมนักศึกษาฯ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 1/2) appeared first on NAC2021.

]]>
การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 2/2) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/28/ss40-rehabitation-engineering-day2/ Sat, 27 Feb 2021 22:04:19 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4199 ต้นแบบวิศวกรรม ฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับกลุ่มความร่วมมือด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแห่งเอเชีย (Coalition on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology of Asia: CREATe Asia) กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 15 (The 15th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe 2021) ณ  โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในงานประชุมดังกล่าวกำหนดให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC 2021) […]

The post การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 2/2) appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบวิศวกรรม

ฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

        ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับกลุ่มความร่วมมือด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแห่งเอเชีย (Coalition on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology of Asia: CREATe Asia) กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 15 (The 15th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe 2021) ณ  โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2564

       โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในงานประชุมดังกล่าวกำหนดให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC 2021) เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้คิดและสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นนวัตกรรมช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุเข้าร่วมการประกวดโดย สวทช. จะคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษาตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประกวดดังกล่าว 

        ทั้งนี้ สวทช. ได้จัดการอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ก่อนการประกวดสิ่งประดิษฐ์ฯ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่สนใจส่งผลงาน ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ

กำหนดการ

วันที่ 27 มีนาคม 2564

08.45-09.00 น.

เข้าสู่ระบบออนไลน์

09.00-09.30 น.

กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน พร้อมบรรยายหัวข้อ SIC & i-CREATe เส้นทางจากนักประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สู่ผู้ประกอบการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ

โดย อาจารย์วันทนีย์ พันธชาติ
ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะทาง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

09.30-10.00 น.

บรรยายเรื่องกระบวนการคิด พร้อมแนะแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ
รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารองค์กรและสารสนเทศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

10.30-11.00 น.

พักเบรค

11.00-12.00 น.

บรรยายเรื่องกระบวนการคิด พร้อมแนะแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่แนวคดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ (ต่อ)

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ

14.30-15.00 น.

พักเบรค

15.00-17.00 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

14.30-15.00 น.

พักเบรค

วันที่ 28 มีนาคม 2564

09.00-10.30 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

10.30-11.00 น.

พักเบรค

11.00-12.00 น.

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด เพื่อนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ของแต่ละทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรม พร้อมข้อเสนอแนะ (ต่อ)

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.

ทบทวนกระบวนการคิด ปรับปรุงแนวคิด ปรับแก้ข้อเสนอโครงการ

โดย อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ

14.30-15.00 น.

พักเบรค

15.00-16.00 น.

ทบทวนกระบวนการคิด ปรับปรุงแนวคิด ปรับแก้ข้อเสนอโครงการ (ต่อ)

16.00-17.00 น.

วิทยากรตอบข้อซักถามจากทีมนักศึกษาฯ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การอบรมความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (วันที่ 2/2) appeared first on NAC2021.

]]>
ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss38-creative-economy-biodiversity-travelling/ Sat, 27 Feb 2021 15:48:22 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4847 ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ Enhancing Hi-value Tourism with Cultural and Biodiversity        “แพลตฟอร์มนวนุรักษ์” การบูรณาการข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลให้สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในรูปแบบเปิด (linked data and open data) และพัฒนาโมดูลต่างๆ เพื่อขยายแพลตฟอร์มดิจิทัลให้รองรับการนําไปใช้ในบริบทการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งเสริมการนําข้อมูลดิจิทัลที่มีชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูลไปต่อยอด โดยภาคเอกชนที่มีแพลตฟอร์มสินค้า  สามารถนํามาเชื่อมโยงกับข้อมูลเฉพาะของชุมชนและสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มได้ เกิดการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ยกระดับปราชญ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อดึงความรู้ที่เป็น tacit knowledge ในการสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยว         ทั้งนี้ประเด็นในการเสวนาจะประกอบด้วยแง่มุมต่างๆ ได้แก่       1) ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์       2) การรวบรวม การจัดเก็บ และการเชื่อมโยงข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัล       3) การใช้ประโยชน์ข้อมูลวัฒนธรรม ชีวภาพอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน    […]

The post ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ appeared first on NAC2021.

]]>

ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรม
และความหลากหลายทางชีวภาพ

ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ

Enhancing Hi-value Tourism with Cultural and Biodiversity

       “แพลตฟอร์มนวนุรักษ์” การบูรณาการข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลให้สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในรูปแบบเปิด (linked data and open data) และพัฒนาโมดูลต่างๆ เพื่อขยายแพลตฟอร์มดิจิทัลให้รองรับการนําไปใช้ในบริบทการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งเสริมการนําข้อมูลดิจิทัลที่มีชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูลไปต่อยอด โดยภาคเอกชนที่มีแพลตฟอร์มสินค้า  สามารถนํามาเชื่อมโยงกับข้อมูลเฉพาะของชุมชนและสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มได้ เกิดการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ยกระดับปราชญ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อดึงความรู้ที่เป็น tacit knowledge ในการสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยว 

       ทั้งนี้ประเด็นในการเสวนาจะประกอบด้วยแง่มุมต่างๆ ได้แก่
       1) ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
       2) การรวบรวม การจัดเก็บ และการเชื่อมโยงข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัล
       3) การใช้ประโยชน์ข้อมูลวัฒนธรรม ชีวภาพอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน
       4) การประยุกต์วัฒนธรรมดิจิทัลสู่บริบทการท่องเที่ยวทางวีชวภาพอัตลักษณ์ชุมชน

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

13.00 – 13.15 น.

พิธีกร กล่าวต้อนรับ และแนะนำวิทยากร

13.15-13.30 น.

กล่าวเปิดการเสวนา หัวข้อ “ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ”   

โดย  ดร.กัลยา อุดมวิทิต
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

13.30-15.30 น.

การเสวนา ในหัวข้อ 

“ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ”   

1. นางสาววัชรี ชูรักษา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ 
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

2. อาจารย์ ดร.อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์
รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. อาจารย์ประสาน เสถียรพันธุ์
ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก
โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา

4. นายสมศักดิ์ บุญคำ
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท โลเคิล อไลค์จำกัด (Local Alike Co,.Ltd)

5. ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) 
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

ดำเนินรายการโดย  นายสุภงช์ ไชยวงศ์  
นักวิชาการ งานพัฒนากำลังคนด้านอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ ศอ.

15.30-16.00 น.

ถาม-ตอบ

16.00 น.

กล่าวปิดการเสวนา

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss52-alternative-battery-eco-friendly/ Sat, 27 Feb 2021 12:06:39 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5994 นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัย ทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Battery innovation, a new alternative and eco-friendly battery         ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน  ซึ่งแบตเตอรี่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในฐานะของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าจะเป็นในระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ในยานยนต์ไฟฟ้า หรือในระบบกักเก็บพลังงาน        แบตเตอรี่ที่เป็นที่นิยมในเชิงพาณิชย์ใน ปัจจุบันคือแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากสมรรถนะที่สูง อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแร่ลิเธียม ทำให้ต้องนำเข้าแร่ลิเธียมจากต่างประเทศทั้งหมด ด้วยเหตุนี้แบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดการพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งสำรองแร่สังกะสี อีกทั้งแบตเตอรี่สังกะสียังมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น ด้านราคา ด้านความ ปลอดภัย และด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุดิบที่มีราคาถูกและมีปริมาณมากในธรรมชาติ แบตเตอรี่สังกะสีไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำมารีไซเคิลได้ ทั้งยังให้สมรรถนะที่ดี          จากเหตุผลที่กล่าวมา แบตเตอรี่สังกะสีจึงถูกวางให้เป็นแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ที่จะถูกพัฒนาให้เป็นแบตเตอรี่สมรรถนะสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับนานาประเทศ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้ง โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนในประเทศไทย” […]

The post นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัย

ทางเลือกใหม่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Battery innovation, a new alternative and ecofriendly battery

        ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน  ซึ่งแบตเตอรี่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในฐานะของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าจะเป็นในระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ในยานยนต์ไฟฟ้า หรือในระบบกักเก็บพลังงาน

       แบตเตอรี่ที่เป็นที่นิยมในเชิงพาณิชย์ใน ปัจจุบันคือแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากสมรรถนะที่สูง อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแร่ลิเธียม ทำให้ต้องนำเข้าแร่ลิเธียมจากต่างประเทศทั้งหมด ด้วยเหตุนี้แบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดการพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งสำรองแร่สังกะสี อีกทั้งแบตเตอรี่สังกะสียังมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น ด้านราคา ด้านความ ปลอดภัย และด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุดิบที่มีราคาถูกและมีปริมาณมากในธรรมชาติ แบตเตอรี่สังกะสีไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำมารีไซเคิลได้ ทั้งยังให้สมรรถนะที่ดี 

        จากเหตุผลที่กล่าวมา แบตเตอรี่สังกะสีจึงถูกวางให้เป็นแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ที่จะถูกพัฒนาให้เป็นแบตเตอรี่สมรรถนะสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับนานาประเทศ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้ง โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนในประเทศไทย” จึงเกิดขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยจากแหล่งทุน กฟผ-สวทช. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาและผลักดันเทคโนโลยีแบตเตอรี่สังกะสีเกิดขึ้นในประเทศไทยและในอนาคตมีแผนที่จะ จัดสร้างโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

09.00-09.10 น.

กล่าวต้อนรับ

โดย
ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ 

09.10-09.20 น.

เปิดงานเสวนา

โดย
อาจารย์พินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
ผู้ทรงคุณวุฒิโปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัย กฟผ.- สวทช.

09.20-10.00 น.

รายงานผล “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้งโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสี-แมงกานีสไดออกไซด์ ในประเทศไทย”

โดย
ดร.ปรียากาญจณ์ เอกสุวรรณฉาย

10.00-11.30 น.

Panel discussion “แนวทางการผลักดันและส่งเสริมธุรกิจระบบกักเก็บพลังงานและแบตเตอรี่สังกะสีไอออน

โดย

  • อาจารย์พินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
    ผู้ทรงคุณวุฒิโปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัย กฟผ.- สวทช.
  • พันเอกพิพัฒน นิลแก้ว
    ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่ทหาร โรงงานแบตเตอรี่ทหาร
  • คุณปริพัตร บูรณสิน
    ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการยานยนต์ไฟฟ้า สภาผู้แทนราษฎร
  • ดร.ไพโรจน์ ภานุกาญจน์
    ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานนวัตกรรม และบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าจากบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
  • รศ.ดร.สุรเทพ เขียวหอม
    อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.30-12.00 น.

กล่าวปิดงาน

โดย
ดร.อดิสร เตือนตรานนท์
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม appeared first on NAC2021.

]]>
แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss34-atmp/ Sat, 27 Feb 2021 11:33:11 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4388 แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs ชื่อเสวนาไทย การบรรยาย เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs   ชื่อเสวนาอังกฤษ Advanced therapy Medicinal Product, ATMP         ปัจจุบัน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าวิธีการรักษาโรคต่างๆ ที่การรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ หนึ่งในการรักษาที่กำลังเป็นที่สนใจคือการนำผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Product, ATMP)  ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์เซลล์บําบัดจากเซลล์มนุษย์ (Somatic Cell Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์ยีนบําบัด  (Gene Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineered Product) และผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงแบบลูกผสม (Combined ATMP) มาใช้ในการบำบัดรักษา โดยทั้งหมดนี้ถูกจัดเป็น ยา         […]

The post แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง appeared first on NAC2021.

]]>

แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs

ชื่อเสวนาไทย การบรรยาย เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง

และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs

 

ชื่อเสวนาอังกฤษ Advanced therapy Medicinal Product, ATMP

        ปัจจุบัน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าวิธีการรักษาโรคต่างๆ ที่การรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ หนึ่งในการรักษาที่กำลังเป็นที่สนใจคือการนำผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Product, ATMP)  ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์เซลล์บําบัดจากเซลล์มนุษย์ (Somatic Cell Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์ยีนบําบัด  (Gene Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineered Product) และผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงแบบลูกผสม (Combined ATMP) มาใช้ในการบำบัดรักษา โดยทั้งหมดนี้ถูกจัดเป็น ยา

        ในประเทศไทยได้มีการออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง แนวทางการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่เป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ชนิดผลิตภัณฑ์เซลล์บำบัด พ.ศ. 2561 และแนวทางการขึ้นทะเบียนตำรับยา ซึ่งระบุข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการขออนุญาต เช่น ข้อมูลการพัฒนาการศึกษาทั้งที่ไม่ใช่ทางคลินิก และทางคลินิก การควบคุมคุณภาพและการผลิต ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยง งานสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจถึงแนวทางที่นักวิจัยพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดการขึ้นทะเบียนนวัตกรรมของประเทศไทย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

9:00 – 9:20 น.

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและวัตถุประสงค์การจัดงาน

ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สวทช.

9:20 – 10:30 น.

  • แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง (ATMP) ในประเทศไทย โดย สำนักยา อย. 
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อยกเว้นต่างๆ 
    • ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่จัดเป็น ATMP 
  • ช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและแหล่งข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ

โดย ภก.วิทวัส วิริยะบัญชา

กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด งานประเมินทะเบียนยาชีววัตถุ
สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

10:30 – 11:30 น.

  • ความรู้และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP ตาม Pharmaceutical Inspection
    Co-operation Scheme PIC/s

  • ข้อแนะนำ/เทคนิคการเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียนตำรับยา/ผู้ผลิตยา

  • ช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและแหล่งข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ

โดย ภก.ศรัณย์  นิ่มวรพันธุ์

กลุ่มกำกับดูแลหลังออกสู่ตลาด
สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

11:30 – 12:00 น.

ถาม-ตอบ

สอบถามรายละเอียดที่ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการวิจัย สวทข.

025647000 ต่อ 71836-9

RQM@nstda.or.th

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง appeared first on NAC2021.

]]>
การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss50-water-management-plant-requirement/ Sat, 27 Feb 2021 11:32:36 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5968 การบริหารจัดการน้ำ ตามความต้องการพืช การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช Water Management According to Plant Requirement         ทรัพยากรน้ำเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งด้านการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม ฯลฯ แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีความต้องการใช้ทรัพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป จึงนำไปสู่ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น         ดังนั้น การจัดการให้พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามความต้องการของพืช และลดปริมาณการใช้น้ำที่เกินจำเป็น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำจึงเป็นหนึ่งในแนวทางการควบคุมคุณภาพของผลผลิตที่มีประสิทธิภาพในยุคที่ทรัพยากรน้ำมีจำกัด         การวางระบบน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่เป็นหนึ่งในวิธีการช่วยลดต้นทุน แรงงาน ความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการเพิ่มผลผลิต จึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย อาทิ ระบบควบคุมน้ำในพืชไร่/พืชสวน เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor) ร่วมกับการใช้หลักการของการให้น้ำพืช ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ประมวลผลจนกลายเป็นข้อมูลความต้องการของพืช       สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ภายใต้สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการผ่านสื่อออนไลน์ […]

The post การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช appeared first on NAC2021.

]]>

การบริหารจัดการน้ำ

ตามความต้องการพืช

การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช

Water Management According to Plant Requirement

        ทรัพยากรน้ำเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งด้านการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม ฯลฯ แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีความต้องการใช้ทรัพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป จึงนำไปสู่ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

        ดังนั้น การจัดการให้พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามความต้องการของพืช และลดปริมาณการใช้น้ำที่เกินจำเป็น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำจึงเป็นหนึ่งในแนวทางการควบคุมคุณภาพของผลผลิตที่มีประสิทธิภาพในยุคที่ทรัพยากรน้ำมีจำกัด

        การวางระบบน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่เป็นหนึ่งในวิธีการช่วยลดต้นทุน แรงงาน ความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการเพิ่มผลผลิต จึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย อาทิ ระบบควบคุมน้ำในพืชไร่/พืชสวน เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor) ร่วมกับการใช้หลักการของการให้น้ำพืช ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ประมวลผลจนกลายเป็นข้อมูลความต้องการของพืช

      สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ภายใต้สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการผ่านสื่อออนไลน์ เรื่อง “การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช” เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

13.00-13.15 น.

แนะนำสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

13.15-14.15 น.

การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการของพืช

โดย รศ.ดร. สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

14.15-15.15 น.

ประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช

โดย คุณเฉลิมชัย เอี่ยมสอาด
นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร/สวทช.

15.15-15.30 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss24-handysense/ Sat, 27 Feb 2021 10:22:24 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4265 นวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)        ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) เป็นระบบเกษตรแม่นยำโดยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ผนวกกับอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Thing) สู่อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ได้แก่ การให้น้ำ ปุ๋ย การป้องกันแมลง รวมทั้งการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและแสง คุณสมบัติของอุปกรณ์ ประกอบด้วย ระบบการแสดงผล/แจ้งเตือน และระบบการควบคุม ทั้งหมดสามารถใช้งานสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน ประโยชน์ของระบบเกษตรแม่นยำ ผลผลิตมีคุณภาพดีสม่ำเสมอและปริมาณคงที่เนื่องจากมีเทคโนโลยีควบคุมกระบวนการเพาะปลูก ประมาณการผลผลิตได้ล่างหน้า สามารถลดปัญหาผลผลิตขาดแคลนหรือล้นตลาด ลดการใช้แรงงาน เหมาะกับอนาคตที่แรงงานขาดแคลน สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีโดยไม่พึ่งพิงฤดูกาล ใช้เทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) ทำให้สะดวกเข้าถึงได้ง่าย การควบคุมกระบวนการเพาะปลูกทำได้รวดเร็วและง่ายขึ้น การถ่ายทอดองค์ความรู้การขยายผลสู่เกษตรกรรุ่นต่อไปเป็นไปได้ง่าย ลดเวลาการลองผิดลองถูก โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมประสานการถ่ายทอดองค์ความรู้         ทั้งหมดเหล่านี้ได้มีการวิจัยและพัฒนาโดยคำนึงถึงบริบทของเกษตรกรไทย คือ “ใช้งานง่าย ทนทาน และมีราคาที่จับต้องได้” รวมถึงอุปกรณ์ได้ออกแบบให้มีความทนทานเหมาะสมกับสภาวะทางการเกษตรของประเทศไทย โดยผ่านการทดสอบระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมจาถสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศ   […]

The post เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)

เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)

       ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) เป็นระบบเกษตรแม่นยำโดยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ผนวกกับอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Thing) สู่อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ได้แก่ การให้น้ำ ปุ๋ย การป้องกันแมลง รวมทั้งการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและแสง คุณสมบัติของอุปกรณ์ ประกอบด้วย ระบบการแสดงผล/แจ้งเตือน และระบบการควบคุม ทั้งหมดสามารถใช้งานสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน

ประโยชน์ของระบบเกษตรแม่นยำ

  • ผลผลิตมีคุณภาพดีสม่ำเสมอและปริมาณคงที่เนื่องจากมีเทคโนโลยีควบคุมกระบวนการเพาะปลูก
  • ประมาณการผลผลิตได้ล่างหน้า สามารถลดปัญหาผลผลิตขาดแคลนหรือล้นตลาด
  • ลดการใช้แรงงาน เหมาะกับอนาคตที่แรงงานขาดแคลน
  • สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีโดยไม่พึ่งพิงฤดูกาล
  • ใช้เทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) ทำให้สะดวกเข้าถึงได้ง่าย การควบคุมกระบวนการเพาะปลูกทำได้รวดเร็วและง่ายขึ้น
  • การถ่ายทอดองค์ความรู้การขยายผลสู่เกษตรกรรุ่นต่อไปเป็นไปได้ง่าย ลดเวลาการลองผิดลองถูก โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมประสานการถ่ายทอดองค์ความรู้

        ทั้งหมดเหล่านี้ได้มีการวิจัยและพัฒนาโดยคำนึงถึงบริบทของเกษตรกรไทย คือ “ใช้งานง่าย ทนทาน และมีราคาที่จับต้องได้” รวมถึงอุปกรณ์ได้ออกแบบให้มีความทนทานเหมาะสมกับสภาวะทางการเกษตรของประเทศไทย โดยผ่านการทดสอบระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมจาถสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศ

      ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ก่อให้เกิดการผลักดันนำไปสู่การขยายผลให้เกิดเป็นเทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะ (Open Innovation Agriculture) มีการสร้างเครือข่าย (Communities) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดิจิทัลยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่ภาคการเกษตร โดยมีความมุ่งหวังที่จะยกระดับเทคโนโลยีด้านการเกษตรให้สามารถใช้อย่างอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

09.00-09.15 น.

กล่าวนำความสำคัญของการเสวนา “เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ”

โดย ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

09.15-11.00 น.

เสวนา หัวข้อ เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ

โดย

1) ผู้แทนปราชญ์เกษตร: นายสุรพล จารุพงศ์
อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าของศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน (Smile Lemon)

2) ผู้ให้บริการ: นายประสิทธิ์ ป้องสูน
CEO : Kitforward

3) หน่วยงานภาครัฐ: นางสาวอัจฉริยา จันทรวงศ์
เกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา

4) ผู้ประกอบการ: นายณฤต ดวงเครือรติโชติ
หัวหน้าฝ่าย IoT ส่วนงาน B2B Solution Dtac

5) ผู้ร่วมเสวนา: นายนริชพันธ์ เป็นผลดี 
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบและเครือข่ายอัจฉริยะ (ITSN) ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT)

11.00-12.00 น.

ถาม – ตอบ ออนไลน์

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) appeared first on NAC2021.

]]>
การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss64-operando-xas/ Sat, 27 Feb 2021 09:15:49 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13050 การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS Improving research and increasing industrial competitiveness through advanced nanomaterial analysis techniques by Operando/In situ XAS        ปัจจุบันองค์ความรู้เรื่องการวิเคราะห์คุณสมบัติด้วยนาโนเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทยเพราะสามารถยกระดับการแข่งขันอย่างยั่งยืนทั้งในงานวิจัยและอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและไอที ดังนั้นการเข้าใจธรรมชาติหรือพฤติกรรมของวัสดุศาสตร์ในระดับโครงสร้างอะตอมย่อมเกิดประโยชน์ต่อการควบคุมสมบัติของชิ้นงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สมบัติทางกายภาพและเคมี ทำให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาวัสดุนาโนให้มีความสามารถในการทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงระดับซับซ้อน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโครงสร้างและการนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้การศึกษาการเปลี่ยนทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุนาโนขณะสังเคราะห์และระหว่างการใช้งานก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ในการอธิบายการทำงานของวัสดุนาโนเหล่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาวัสดุนาโนให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการใช้งานอีกด้วย จึงทำไปสู่การพัฒนาเทคนิค operando XAS เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของวัสดุ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้ว operando XAS สามารถประยุกต์ใช้วิเคราะห์ธาตุได้ตั้งแต่ คาร์บอน ไปจนถึงธาตุหนักกลุ่มโลหะทรานสิชันได้ ส่งผลให้วิเคราะห์ธาตุได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอิเล็กตรอนของวัสดุนาโน หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์บนผิวหน้าวัสดุ รวมไปถึงกลไกการถ่ายโอนอิเล็กตรอนบนโครงสร้างของวัสดุและกลไกการเกิดอันตรกิริยาบนผิวหน้าของวัสดุ […]

The post การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS appeared first on NAC2021.

]]>

การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS

การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS

Improving research and increasing industrial competitiveness through advanced nanomaterial analysis techniques by Operando/In situ XAS

       ปัจจุบันองค์ความรู้เรื่องการวิเคราะห์คุณสมบัติด้วยนาโนเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทยเพราะสามารถยกระดับการแข่งขันอย่างยั่งยืนทั้งในงานวิจัยและอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและไอที ดังนั้นการเข้าใจธรรมชาติหรือพฤติกรรมของวัสดุศาสตร์ในระดับโครงสร้างอะตอมย่อมเกิดประโยชน์ต่อการควบคุมสมบัติของชิ้นงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สมบัติทางกายภาพและเคมี ทำให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาวัสดุนาโนให้มีความสามารถในการทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงระดับซับซ้อน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโครงสร้างและการนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้การศึกษาการเปลี่ยนทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุนาโนขณะสังเคราะห์และระหว่างการใช้งานก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ในการอธิบายการทำงานของวัสดุนาโนเหล่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาวัสดุนาโนให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการใช้งานอีกด้วย จึงทำไปสู่การพัฒนาเทคนิค operando XAS เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของวัสดุ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้ว operando XAS สามารถประยุกต์ใช้วิเคราะห์ธาตุได้ตั้งแต่ คาร์บอน ไปจนถึงธาตุหนักกลุ่มโลหะทรานสิชันได้ ส่งผลให้วิเคราะห์ธาตุได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอิเล็กตรอนของวัสดุนาโน หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์บนผิวหน้าวัสดุ รวมไปถึงกลไกการถ่ายโอนอิเล็กตรอนบนโครงสร้างของวัสดุและกลไกการเกิดอันตรกิริยาบนผิวหน้าของวัสดุ เนื่องจากเทคนิค operando คือการนำเอาเทคนิค XAS มาต่อประกอบให้ทำงานควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR) และหรือเทคนิค Raman และหรือเทคนิค  UV-Vis spectrophotometry (UV-Vis) และหรือเทคนิค GC-MS ตลอดจนต่อประกอบกับระบบ impedance spectroscopy (EIS) ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับอะตอมของวัสดุนาโนในขณะทดสอบปฏิกิริยาจริง ซึ่งจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อการศึกษาระบบการทำงานของวัสดุนาโน โดยเฉพาะตัวเร่งปฏิกิริยา ระบบการอัดและคายประจุของแบตเตอร์รี่ และชิ้นส่วนจิ๋วในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้

        ผู้ดำเนินการสัมมนา : ดร. พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และ ดร. กมลวรรณ ธรรมเจริญ

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

13.30 – 13.45 น.

หัวข้อบรรยาย “ขอบเขตการศึกษาโครงสร้างวัสดุนาโนเชิงลึกด้วยเทคนิค XAS”

โดย ดร.พินิจ กิจขุนทด
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

13.45 – 14.15 น.

หัวข้อบรรยาย “ขีดความสามารถของระบบ in situ XAS สำหรับงานวิจัยทางด้านวัสดุนาโน”

โดย ดร.ณัฐวุฒิ โอสระคู
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 

14.15 – 14.45 น.

หัวข้อบรรยาย “การเพิ่มศักยภาพงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ด้วยระบบ  Operando XAS”

โดย ผศ.ดร.ศิรินุช ลอยหา
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

14.45 – 15.15 น.

หัวข้อบรรยาย “การประยุกต์ใช้ระบบ  in situ/Operando XAS ในการยกระดับงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม”

โดย ดร.บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

15.15 – 15.30 น.

กิจกรรมร่วมเสวนาและตอบข้อซักคำถามเพิ่มเติม

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS appeared first on NAC2021.

]]>
Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss63-lean-solution-for-sme-in-industry/ Sat, 27 Feb 2021 04:57:27 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5578 ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 Lean! Solution for SME in industry 4.0 era         การพัฒนาด้าน Industry 4.0 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการช่วยบริหารจัดการกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวจะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อวิธีการบริหารจัดการกระบวนการผลิตนั้นอยู่ในแนวทางที่เหมาะสม ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก การใช้ระบบการผลิตแบบลีนช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง การนำลีนไปใช้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ทันทีโดยมีต้นทุนดำเนินการไม่มาก อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะทำให้การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมีประสิทธิผลมากขึ้น วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=9BR_CnU8CE0 เอกสารประกอบการสัมมนา Lean Manufacturing คืออะไร?อ.วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ กำหนดการ วันที่ 29 มีนาคม 2563 13.30 – 13.35 น. กล่าวเปิดงานสัมมนาโดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการ […]

The post Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 appeared first on NAC2021.

]]>

ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก

Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0

Lean! Solution for SME in industry 4.0 era

        การพัฒนาด้าน Industry 4.0 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการช่วยบริหารจัดการกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวจะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อวิธีการบริหารจัดการกระบวนการผลิตนั้นอยู่ในแนวทางที่เหมาะสม ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก การใช้ระบบการผลิตแบบลีนช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง การนำลีนไปใช้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ทันทีโดยมีต้นทุนดำเนินการไม่มาก อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะทำให้การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมีประสิทธิผลมากขึ้น

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2563

13.30 – 13.35 น.

กล่าวเปิดงานสัมมนา
โดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

13.35 – 13.50 น.

Lean Manufacturing คืออะไร?
โดย อ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ ผอ.หลักสูตรการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

13.50 – 14.05 น.

กรณีศึกษาการนำ Lean ไปใช้ในโรงงาน SME
โดย อ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ ผอ.หลักสูตรการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

14.05 – 14.20 น.

การพัฒนาระบบ IoT เพื่อสนับสนุนการใช้ Lean ในโรงงาน SME
โดย ดร. กุลชาติ มีทรัพย์หลาก กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

14.20 – 15.00 น.

เสวนาในหัวข้อ ประสบการณ์และแนวทางการนำ Lean ไปใช้ในโรงงาน SME ให้ได้อย่างมีประสิทธิผล
โดย

1. คุณ พงศ์กิตติ์ วุนวิริยะกิจ
กรรมการรองผู้จัดการ
บ.อุตสาหกรรมอะไหล่ (1999) จำกัด

2. อ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์
ผอ.หลักสูตรการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

3. นาย เอกชาติ หัตถา
นักวิจัย กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

4. ดร. ธนกร ตันธนวัฒน์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ผู้ดำเนินรายการ:
ดร. นิธิพล ตันสกุล
ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

15.00 -15.15 น.

ถาม ตอบ ประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับการพัฒนา Lean ในกลุ่ม SME

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 appeared first on NAC2021.

]]>
UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss61-uk-building-a-sustainable-future-through-entrepreneurship-lif/ Sat, 27 Feb 2021 04:02:43 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5458 UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF)         The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided […]

The post UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) appeared first on NAC2021.

]]>

UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF)

UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF)

        The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, research and translation. The UK and Thailand will jointly invest £46 million (THB 1,840 million) from 2014 until 2021.

        Over seven years of implementation, the UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund has contributed to improving Thailand’s research and innovation system, and consequently has made a material difference to the quality of people’s lives through funding providing fund to Ph.D. students, researchers and government officials.

        Through the Newton Leaders in Innovation Partnership Programme, 90 researchers who have an engineering-based innovation that has the potential to contribute to the social and economic development of Thailand have built their capacity on entrepreneurship and commercialisation and created their international networks.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

29 March 2021

13.30 – 13.35.

Welcome and Introduction to session
By Pijarana Samukkan
Research and Innovation Programme Manager, British Embassy

13.35 – 14.50

Keynote on
Strategy and Funding for strengthening Thailand Competitiveness
By Representatives of TSRI / PMU C and NSTDA

14.50-15.00

Celebrating an achievement of six years of the Newton Leaders in Innovation Fellowships
By Royal Academy of Engineering (RAEng)

15.00-15.45

How to start business successfully
By Oxentia

15.45-16.25

Sharing success story by LIF Alumni
(3-5 LIF alumni will be invited to the panel)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) appeared first on NAC2021.

]]>
การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss54-future-modern-transports/ Fri, 26 Feb 2021 12:48:35 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=6025 การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรม ยานยนต์แห่งอนาคต การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต Research and Testing System of Future Modern Transports        Connected & Autonomous Vehicle (CAV) เป็นการใช้เทคโนโลยี  Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้กับยานยนต์เพื่อทำให้ยานยนต์เป็น Connected Vehicles ซึ่งสามารถสื่อสารกับสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น 1) การสื่อสารกับข้อมูลจากเซนเซอร์ของยานยนต์เพื่อใช้ตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ และนําข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการขับขี่ ซึ่งจะนำไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ (Automated Vehicles)  2) การสื่อสารกับสิ่งต่างๆ รอบตัว (Vehicle-to-Everything: V2X) เช่น รถยนต์คันอื่น สิ่งกีดขวาง สัญญาณไฟจราจร เป็นต้น 3) การเชื่อมต่อกับบริการเกี่ยวกับการขับขี่ (Telematics) เช่น บริการนําทาง บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล เป็นต้น […]

The post การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต appeared first on NAC2021.

]]>

การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรม

ยานยนต์แห่งอนาคต

การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต

Research and Testing System of Future Modern Transports

       Connected & Autonomous Vehicle (CAV) เป็นการใช้เทคโนโลยี  Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้กับยานยนต์เพื่อทำให้ยานยนต์เป็น Connected Vehicles ซึ่งสามารถสื่อสารกับสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น 1) การสื่อสารกับข้อมูลจากเซนเซอร์ของยานยนต์เพื่อใช้ตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ และนําข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการขับขี่ ซึ่งจะนำไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ (Automated Vehicles)  2) การสื่อสารกับสิ่งต่างๆ รอบตัว (Vehicle-to-Everything: V2X) เช่น รถยนต์คันอื่น สิ่งกีดขวาง สัญญาณไฟจราจร เป็นต้น 3) การเชื่อมต่อกับบริการเกี่ยวกับการขับขี่ (Telematics) เช่น บริการนําทาง บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล เป็นต้น และ 4) การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงของผู้โดยสาร (Infotainment) 

        ปัจจุบันรถยนต์ไร้คนขับได้อยู่ใน Level 3-4 อย่างเต็มรูปแบบในรถยนต์สมัยใหม่บางรุ่น ซึ่งเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการจราจรและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยได้

        การบรรยายและการเสวนาในครั้งนี้จะนำเสนอเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ทั้งในส่วนของงานวิจัยและพัฒนา การทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และวิทยากรจากต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนา การทดสอบเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งจะมาช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยในรูปแบบของอุตสาหกรรมใหม่อีกด้วย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 30 มีนาคม 2564

 

13.00-14.30 น.

เสวนาเรื่อง การสร้าง eco system ของ Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

โดย
1)
คุณเริงศักดิ์ ทองสม
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)


2) คุณพนัส วัฒนชัย
บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด

3) 
คุณฐิติภัทร ดอกไม้เทศ
สถาบันยานยนต์

4) คุณธนัญ จารุวิทยโกวิท
บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (
AIS)

5) คุณธวัชชัย ฤกษ์สำราญ
บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (
TRUE)

6) คุณไพรัชฏ์ ไตรเวทย์
บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน)

ดำเนินรายการโดย
ดร. จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช.

 

14.30-14.40 น.

พัก

14.40-15.10 น.

Hands-on Experience of Autonomous driving Development and Operation

by Mr. David Chen
Turing Drive Inc.

15.10-15.40 น.

Proving ground for Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

by Dr. Lung-Yao Chang
Deputy Director, Taiwan CAR Lab, NARLabs

15.40-16.10 น.

Open road for Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

by Mr. Younggi Song
CEO & Founder – SpringCloud Inc.

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต appeared first on NAC2021.

]]>
การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า – กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss22-empathetic-design/ Fri, 26 Feb 2021 11:21:54 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3409 การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design) การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า — กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี Impactful Empathetic Design — processes and real-life examples of how to develop products for healthcare and wellbeing applications          การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design) คล้ายหรือต่างจากกระบวนการการออกแบบที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น Design Thinking หรือ Human-Centered Design อย่างไร ทำอย่างไรจึงออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ไม่ใช่แค่ใช้งานได้ แต่ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ได้จริง ให้โดนใจผู้ใช้จนผู้ใช้อยากใช้ต่อ และให้สร้างผลกระทบที่ดีได้ในระยะยาว เชิญหาคำตอบได้จากทีมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ MTEC ที่ได้หล่อหลอมกระบวนการ Impactful Empathetic Design จากบทเรียนและประสบการณ์จริงจากการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่ อุปกรณ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มในที่ทุรกันดาร เฟอร์นิเจอร์เพื่อช่วยผู้สูงอายุลกการพลัดตกหกล้ม […]

The post การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า – กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี appeared first on NAC2021.

]]>

การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design)

การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า — กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาและความเป็นอยู่ที่ดี

Impactful Empathetic Design — processes and real-life examples of how to develop products for healthcare and wellbeing applications

 

       การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design) คล้ายหรือต่างจากกระบวนการการออกแบบที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น Design Thinking หรือ Human-Centered Design อย่างไร ทำอย่างไรจึงออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ไม่ใช่แค่ใช้งานได้ แต่ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ได้จริง ให้โดนใจผู้ใช้จนผู้ใช้อยากใช้ต่อ และให้สร้างผลกระทบที่ดีได้ในระยะยาว เชิญหาคำตอบได้จากทีมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ MTEC ที่ได้หล่อหลอมกระบวนการ Impactful Empathetic Design จากบทเรียนและประสบการณ์จริงจากการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่ อุปกรณ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มในที่ทุรกันดาร เฟอร์นิเจอร์เพื่อช่วยผู้สูงอายุลกการพลัดตกหกล้ม อุปกรณ์ช่วยกระตุ้นความรู้คิดของผู้ที่มีอาการสมองเสื่อม จนถึงอุปกรณ์ช่วยดูแลผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวทางไกล

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

30 มีนาคม 2564

 
09:00 – 12:00 น.

การเสวนา: การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า — กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

โดย

ดร. สิทธา สุขกสิ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดร. ก่อเกียรติ เศษชัยชาญ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดร. ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ
ที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)

 

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า – กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี appeared first on NAC2021.

]]>
ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss32-sustainable-manufacturing/ Fri, 26 Feb 2021 06:35:13 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3915 ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์          เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor, EEC) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีเป้าหมายในการสร้างเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) โดยมีโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) เพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ (Translation Research) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยและผลักดันให้สามารถยกระดับการผลิตไปสู่ Industry 4.0 ได้ในอนาคต โดยอาศัยเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาแพลตฟอร์มทั้งในรูปแบบการสาธิตวิธีใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคการทดลองปฏิบัติจริง รวมถึงกิจกรรมวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ (System Integrator: SI) นวัตกร นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ ในงานสัมมนานี้ จะเป็นการบรรยายงานสำคัญต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใน SMC […]

The post ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ appeared first on NAC2021.

]]>

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing)

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์

         เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor, EEC) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีเป้าหมายในการสร้างเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) โดยมีโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) เพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ (Translation Research) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยและผลักดันให้สามารถยกระดับการผลิตไปสู่ Industry 4.0 ได้ในอนาคต โดยอาศัยเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาแพลตฟอร์มทั้งในรูปแบบการสาธิตวิธีใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคการทดลองปฏิบัติจริง รวมถึงกิจกรรมวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ (System Integrator: SI) นวัตกร นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ ในงานสัมมนานี้ จะเป็นการบรรยายงานสำคัญต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใน SMC ดังต่อไปนี้

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 30 มีนาคม 2564

09.30 – 09.50 น.

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC): บทบาท ภารกิจ และโครงการสำคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0
โดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน
และ รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

09.55 – 10.15 น.

แพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม
(IDA: Industrial IoT and Data Analytics platform)
โดย ดร. สุวัฒน์ โสภิตพันธ์ วิศวกรอาวุโส
ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG) เนคเทค สวทช.

10.20 – 10.40 น.

Reconfigurable Manufacturing Demo-line
โดย นายอุดม ลิ่วลมไพศาล นักวิจัย
กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เนคเทค สวทช.

10.45 – 11.05 น.

เทคโนโลยี 5G เพื่อโรงงานและคลังสินค้าอัจฉริยะ
(5G for smart factory and warehouse)
โดย ดร. กมล เขมะรังษี ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย เนคเทค สวทช.

11.10 – 11.20 น.

ถาม-ตอบออนไลน์

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ appeared first on NAC2021.

]]>
แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss36-international-standard-herb/ Fri, 26 Feb 2021 06:23:13 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3948 แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล         สมุนไพรในประเทศไทยเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน เนื่องจากสรรพคุณทางเภสัชวิทยาที่ทำให้เกิดการนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น การนำสมุนไพรที่พบในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอด โดยการวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม เพื่อค้นคว้าสร้างสรรค์ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม จึงสนับสนุนให้เกิดสารสกัดและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร ที่สามารถประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจึงควรผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนำไปผลิตหรือจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความน่าเชื่อถือทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ตลอดจนมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถส่งต่อไปยังผู้ผลิต และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้          สวทช. จึงจัดเวทีเสวนานี้ เพื่อสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมาย แนวทางของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สมุนไพร การขอรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองของผู้ประกอบการ วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=R7A7UYkTKkM เอกสารประกอบการสัมมนา พรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ขอบข่ายและแนวทางการส่งเสริมมาตรฐานสารสกัดสมุนไพรภก.วินิต อัศวกิจวิรี มาตรฐานสารสกัดสมุนไพร คุณนาตยา สีทับทิม เสวนาเรื่อง แนวทางการส่งเสริมระบบรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร […]

The post แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล appeared first on NAC2021.

]]>

แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล

แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล

        สมุนไพรในประเทศไทยเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน เนื่องจากสรรพคุณทางเภสัชวิทยาที่ทำให้เกิดการนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น การนำสมุนไพรที่พบในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอด โดยการวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม เพื่อค้นคว้าสร้างสรรค์ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม จึงสนับสนุนให้เกิดสารสกัดและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร ที่สามารถประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจึงควรผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนำไปผลิตหรือจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความน่าเชื่อถือทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ตลอดจนมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถส่งต่อไปยังผู้ผลิต และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ 

        สวทช. จึงจัดเวทีเสวนานี้ เพื่อสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมาย แนวทางของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สมุนไพร การขอรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองของผู้ประกอบการ

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 30 มีนาคม 2564

13:30 – 13:45 น.

ประธานในพิธีกล่าวเปิดต้อนรับ

13:45 – 14:15 น.

พรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ขอบข่ายและแนวทางการส่งเสริมมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร

โดย ภก. วินิต อัศวกิจวิรี 
ที่ปรึกษาเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

14:15 – 14:45 น.

มาตรฐานสารสกัดสมุนไพร  

โดย คุณนาตยา สีทับทิม
นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มกำหนดมาตรฐาน 7 กองกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

14:45 – 14:55 น.

แนะนำผู้เข้าร่วมเสวนา

14:55 – 16:00 น.

การเสวนา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมระบบรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร

โดย
1) ภก. วราวุธ เสริมสินสิริ
ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร อย.

2) คุณนาตยา สีทับทิม
ผู้อำนวยการกลุ่มกำหนดมาตรฐาน 7 กองกำหนดมาตรฐาน สมอ.

3) ดร.บังอร เกียรติธนากร
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ผู้ดำเนินรายการ
ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

16:00 – 16:30 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล appeared first on NAC2021.

]]>
พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss51-energy-agriculture/ Fri, 26 Feb 2021 04:25:00 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5482 พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0         ภาคการเกษตรมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการผลิตอาหาร วัตถุดิบตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรม และการผลิตพลังงานทดแทน โดยเป็นแหล่งรายได้ให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ รวมถึงเป็นฐานการผลิตที่สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้าและการส่งออกสำหรับภาคการผลิตและบริการอื่น ๆ         จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคเกษตรมากยิ่งขึ้น เพื่อควบคุมผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการควบคุมการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างแม่่นยำและคุ้มค่า ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ “ทำน้อยแต่ได้มาก”         ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมเสวนา รวมถึงแนวทางที่จะช่วยการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้พลังงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของประเทศแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ภาคการเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=au555xD2lgU เอกสารประกอบการสัมมนา พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0โดย สุภกิณห์ สมศรี โซล่ารเ์ซลล์กับการเกษตรโดย ผศ.ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าในโรงงานผลิตพืชด้วยแสงเทียมโดย รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ “Aqua-IoT” เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยุคเกษตรดิจิทัลโดย ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร กำหนดการ วันที่ 30 […]

The post พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 appeared first on NAC2021.

]]>

พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0

พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0

        ภาคการเกษตรมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการผลิตอาหาร วัตถุดิบตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรม และการผลิตพลังงานทดแทน โดยเป็นแหล่งรายได้ให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ รวมถึงเป็นฐานการผลิตที่สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้าและการส่งออกสำหรับภาคการผลิตและบริการอื่น ๆ

        จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคเกษตรมากยิ่งขึ้น เพื่อควบคุมผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการควบคุมการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างแม่่นยำและคุ้มค่า ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ “ทำน้อยแต่ได้มาก”

        ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมเสวนา รวมถึงแนวทางที่จะช่วยการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้พลังงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของประเทศแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ภาคการเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 30 มีนาคม 2564

13.00-13.15 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม

โดย ประธานบริหารโครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ. – สวทช.

13.15-14.15 น.

  • ภาพรวมเทคโนโลยีพลังงานกับการเกษตรในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 

คุณสุภกิณห์ สมศรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

  • Case study: Solar Sharing / Agrivoltaic 

ผศ.ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

  • Case study: Smart farm / การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรือนเพาะปลูก  

ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร     ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ    คณะเกษตรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

14.15-14.45 น.

การเสวนาด้านนวัตกรรมพลังงานกับภาคการเกษตร 

รายชื่อผู้ร่วมเสวนา

1. นายพินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

2. ผศ.ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

3. รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ
คณะเกษตรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

4. ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

5. คุณสุภกิณห์ สมศรี 
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

ดำเนินการเสวนา โดย
รศ.ดร.ศุภชาติ จงไพบูลย์พัฒนะ 
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

14.45-15.00 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 appeared first on NAC2021.

]]>