26 มีนาคม 2564 – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Wed, 19 May 2021 18:34:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png 26 มีนาคม 2564 – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss55-biocontrol-sustainable-agriculture/ Tue, 02 Mar 2021 16:39:34 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5040 ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน Biocontrol for Driving of Sustainable Agriculture          ประเทศไทยมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิดที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีศัตรูพืชหลายชนิดก่อให้เกิดความเสียหายทั้งด้านผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกษตรกรมีความเป็นต้องใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานศัตรูหลายชนิดสามารถพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีเหล่านั้น ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการใช้และการนำเข้าสารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อผู้บริโภคและเกษตรกร         การป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธีโดยใช้ชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น รา แบคทีเรียและไวรัส เป็นปัจจัยทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดหรือทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายโดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งานของเกษตรกร รวมทั้งมีการพัฒนาต่อยอดผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ซึ่งช่วยลดการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทในการผลักดันและสนับสนุนให้มีการใช้ชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืชเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศให้มีความปลอดภัยและยั่งยืนต่อไป วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=UGV_7HRLiDkhttps://www.youtube.com/watch?v=9ZNw990qYpw เอกสารประกอบการสัมมนา ทิศทางการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยในปัจจุบันคุณอนันต์ อักษรศรี สถานภาพการใช้สารเคมีและการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีของประเทศนายศรัณย์ วัธนธาดา การเสวนา เรื่อง “การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชเพื่อการเกษตรปลอดภัย” คุณณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุลสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร คุณวนิดา อังศุพันธุ์กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอบี อินโนเวชั่น จำกัด คุณสุวิทชัย แสงเทียนเกษตรกรผู้ใช้ชีวภัณฑ์ในแปลงกล้วยไม้ ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชกรมวิชาการเกษตร […]

The post ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน appeared first on NAC2021.

]]>

ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน

ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน

Biocontrol for Driving of Sustainable Agriculture 

        ประเทศไทยมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิดที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีศัตรูพืชหลายชนิดก่อให้เกิดความเสียหายทั้งด้านผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกษตรกรมีความเป็นต้องใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานศัตรูหลายชนิดสามารถพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีเหล่านั้น ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการใช้และการนำเข้าสารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อผู้บริโภคและเกษตรกร

        การป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธีโดยใช้ชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น รา แบคทีเรียและไวรัส เป็นปัจจัยทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดหรือทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายโดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งานของเกษตรกร รวมทั้งมีการพัฒนาต่อยอดผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ซึ่งช่วยลดการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทในการผลักดันและสนับสนุนให้มีการใช้ชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืชเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศให้มีความปลอดภัยและยั่งยืนต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.30 น.

ทิศทางการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยในปัจจุบัน

โดย คุณอนันต์ อักษรศรี
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

09.30-10.00 น.

สถานภาพการใช้สารเคมีและการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีของประเทศ

โดย นายศรัณย์ วัธนธาดา
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

10.00-10.30 น.

พัก

10.30-11.00 น.

การใช้เทคโนโลยีจีโนมเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพชีวภัณฑ์

โดย ดร.วันอภินันต์ นาแว
ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) สวทช.

10.30-11.00 น.

การเสวนา เรื่อง มุมมองจากภาคเอกชนและเกษตรกรในการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช

โดย
1) คุณสกล เหนียนเฉลย
บริษัท บี ไบโอ จำกัด

2) คุณเอกราช เครื่องพนัด
บริษัท ริมปิงออร์แกนิคฟาร์ม จำกัด

3) คุณศุภิสิทธิ์
ว่องวณิชพันธุ์
เกษตรกรสวนกล้วยไม้ 

ดำเนินรายการโดย:
นางอารีย์พันธ์ อุปนิสากร
ดีตผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

12.00-13.30 น.

พัก

13.30-16.30 น.

การเสวนา เรื่อง “การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชเพื่อการเกษตรปลอดภัย”

โดย
1) คุณรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์
กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

2) คุณณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

3) ดร.สุพจน์ กาเซ็ม
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4) คุณวนิดา อังศุพันธุ์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอบี อินโนเวชั่น จำกัด

5) คุณสุวิทชัย แสงเทียน
เกษตรกรผู้ใช้ชีวภัณฑ์ในแปลงกล้วยไม้  

ดำเนินการเสวนาโดย:
ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน appeared first on NAC2021.

]]>
แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss35-gmp/ Tue, 02 Mar 2021 16:06:09 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5069 แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร        ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางด้านผลผลิตเกษตรกรรมของประเทศไทย ประกอบกับ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 ส่งผลให้การเติบโตทางด้านธุรกิจอาหารในประเทศมีความรวดเร็ว ทั้งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ รวมถึงส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นรายได้ที่มีมูลค่าสูงของประเทศ นอกจากนั้นกลุ่มผู้ประกอบการยีงมีความหลายหลาก ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางอาหารได้รับความสนใจ เพื่อต้องการพัฒนานวัตกรรมที่มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดผู้บริโภค ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีควรคำนึงถึงกฎหมาย มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ. อาหาร และกฎหมายรองต่างๆ มาตรฐานอาหารสากล เช่น CODEX และควรมีการดำเนินการภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) และมีกระบวนการประกันคุณภาพที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค         สวทช. เล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านกฎหมาย และมาตราฐานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จึงได้จัดการบรรยายโดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ผู้เข้าร่วม มีความเข้าใจเรื่องกฎหมายที่ควรทราบ และนำไปสู่การทดสอบและการขอรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และเตรียมข้อมูลที่สำคัญให้แก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตต่อไป วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=OPnJ_IEsX5Q เอกสารประกอบการสัมมนา […]

The post แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร appeared first on NAC2021.

]]>

แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร

แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร

       ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางด้านผลผลิตเกษตรกรรมของประเทศไทย ประกอบกับ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 ส่งผลให้การเติบโตทางด้านธุรกิจอาหารในประเทศมีความรวดเร็ว ทั้งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ รวมถึงส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นรายได้ที่มีมูลค่าสูงของประเทศ นอกจากนั้นกลุ่มผู้ประกอบการยีงมีความหลายหลาก ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางอาหารได้รับความสนใจ เพื่อต้องการพัฒนานวัตกรรมที่มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดผู้บริโภค ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีควรคำนึงถึงกฎหมาย มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ. อาหาร และกฎหมายรองต่างๆ มาตรฐานอาหารสากล เช่น CODEX และควรมีการดำเนินการภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) และมีกระบวนการประกันคุณภาพที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค



        สวทช. เล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านกฎหมาย และมาตราฐานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จึงได้จัดการบรรยายโดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ผู้เข้าร่วม มีความเข้าใจเรื่องกฎหมายที่ควรทราบ และนำไปสู่การทดสอบและการขอรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และเตรียมข้อมูลที่สำคัญให้แก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

9:00 – 9:10 น.

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
โดย คุณอัณณ์สุชา พฤกษ์สุนันท์ 
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาคุณภาพการวิจัย สวทช.

9:10 – 10:50 น.

กฎหมายที่ควรทราบและการขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับผู้ประกอบการ
โดย คุณนฤมล ฉัตรสง่า
นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด
สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

10:50 – 11:50 น.

การเตรียมความพร้อมงานวิจัย สิ่งที่ควรทราบ เพื่อการขอรับรองผลิตภัณฑ์อาหารจากงานวิจัย

โดย คุณมาลี จิรวงศ์ศรี
ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานอาหาร
สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

11:50 – 12:00 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post แนวทางการกำกับดูแลและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร appeared first on NAC2021.

]]>
นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss12-future-nanorobotics/ Tue, 02 Mar 2021 15:35:24 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3677 The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment          เนื่องด้วย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการสร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน และเพื่อตอบโจทย์นโยบาย BCG economy ด้านการแพทย์สมัยใหม่ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) ให้ความสำคัญในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมนาโนโรบอทต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต […]

The post นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง appeared first on NAC2021.

]]>

The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment

นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง

The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment

         เนื่องด้วย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการสร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน และเพื่อตอบโจทย์นโยบาย BCG economy ด้านการแพทย์สมัยใหม่ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) ให้ความสำคัญในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมนาโนโรบอทต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้สูงที่สุด การกำหนดแผนที่นำทางและวัตถุประสงค์ในแต่ละช่วงงานวิจัยผ่านกลไกความร่วมมือทั้งระดับภายในประเทศและต่างประเทศจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 

         ปัจจุบันประเทศไทยมีเครือข่ายทีมวิจัยด้านนาโนโรบอทเพื่อต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต โดยเครือข่ายดังกล่าวประกอบด้วย นักวิจัย บุคลากรในมหาวิทยาลัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีขั้นสูง บุคลากรทางการแพทย์ และผู้แทนจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมาร่วมระดมสมอง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อออกแบบกลไกการทำงานเชิงเทคนิคของหุ่นยนต์ระดับนาโน ทั้งนี้ ประโยชน์ของการทำงานด้านนาโนโรบอท คือ การสร้างความตระหนักทั้งในด้านเทคโนโลยีและวิสัยทัศน์ในอนาคต เพื่อเตรียมพร้อมสู่การสร้างกำลังคน และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนาโนโรบอทผ่านเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 

         งานสัมมนา เรื่อง “The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment” ดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุตินานาชาติ ได้แก่ Prof. Sylvain Martel จาก Polytechnique Montreal ประเทศแคนาดา และ Prof. Kazunori Kataoka จากสถาบัน Innovation Center of NanoMedicine (iCONM) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวิทยากรด้านนาโนโรโบติกส์ระดับแนวหน้าของโลก

หัวข้อหารือ ประกอบด้วย
1) ความสำคัญและประโยชน์ของ Nanorobotics
2) อัพเดตข้อมูล/ทิศทาง Nanorobotic ใน 10 ปีข้างหน้า
3) แนวโน้มประโยชน์จากมุมมองแพทย์
4) เหตุผลที่ควรลงทุนและ Positioning สู่การเป็น Game Changer

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00 – 12.00 น.

งานเสวนา “นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง”

(The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment)

ดำเนินรายการโดย คุณสุทธิชัย หยุ่น

ผู้ร่วมเสวนา

  1. Prof. Sylvain Martel,
    Director, NanoRobotics Laboratory – Polytechnique Montréal ประเทศแคนาดา
  2. Prof. Kazunori Kataoka,
    Director General, Innovation Center of NanoMedicine (iCONM), Kawasaki Institute of Industry Promotion ประเทศญี่ปุ่น
  3. ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง
    ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  1. ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร
    ผู้อำนวยการศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO STEM-ED)
  1. คุณเฉลิมพล ปุณโณทก
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ซีที เอเชีย โรโบติกส์ จำกัด
  1. ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง
    ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ในระหว่างการเสวนา จะมีการเปิดวิดีโอจากวิทยากรต่างประเทศ 2 วิดีโอ ซึ่งวิทยากรต่างประเทศผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่านให้เกียรติบันทึกเทปไว้เพื่อร่วมเสวนา

1. วิดีโอ Medical Nanorobotics: More Real Than Fiction ระยะเวลาประมาณ 20 นาที บรรยายโดย Prof. Sylvain Martel, Director, NanoRoboticsLaboratory – Polytechnique Montréal ประเทศแคนาดา

2. วิดีโอ Initiatives of Nanorobotics at iCONM toward “In-Body Hospitals” ระยะเวลาประมาณ 20 นาที บรรยายโดย Prof. Kazunori Kataoka, Director General, Innovation Center of NanoMedicine (iCONM), Kawasaki Institute of Industry Promotion ประเทศญี่ปุ่น

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง appeared first on NAC2021.

]]>
กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss31-strategy-and-direction-ai-thailand/ Tue, 02 Mar 2021 15:01:43 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4848 กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย         “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2564-2570  (ร่าง) แผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์ฯ นี้ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายในปี พ.ศ. 2570”          โดยมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างคนและเทคโนโลยี การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบ (ที่ดี) ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในด้านยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไว้ 5 ด้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม  กฎหมาย และกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมและกลุ่มเป้าหมายสำหรับประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปสนับสนุนและพัฒนาในระยะเร่งด่วนคือ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาวะ การใช้งานและบริการภาครัฐ ในเสวนานี้จะได้เรียนรู้จากวิทยากรต่างชาติ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ […]

The post กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย

กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย

        “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2564-2570  (ร่าง) แผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์ฯ นี้ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายในปี พ.ศ. 2570” 

        โดยมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างคนและเทคโนโลยี การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบ (ที่ดี) ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในด้านยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไว้ 5 ด้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม  กฎหมาย และกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมและกลุ่มเป้าหมายสำหรับประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปสนับสนุนและพัฒนาในระยะเร่งด่วนคือ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาวะ การใช้งานและบริการภาครัฐ ในเสวนานี้จะได้เรียนรู้จากวิทยากรต่างชาติ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ จากนั้นจะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทย รวมทั้งแนวทางการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานในระยะเร่งด่วนกับ 3 อุตสาหกรรม จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

9.00 – 9.05 น.

กล่าวนำที่มาของการประชุมกลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย
โดย ดร.อลิสา คงทน
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

9.05 – 9.40 น.

National agenda, Driving forces, Technology trend and the adoption of AI ecosystem in Japan

โดย Professor Junichi Tsujii, Ph.D.
Director of Artificial Intelligence Research Center, AIST, Japan

9.40 – 10.10 น.

National agenda, Driving forces, Technology trend and the adoption of AI ecosystem in Singapore

โดย Laurence Liew, Ph.D.
Director of AI Innovation, AI Singapore (AISG), a national program on Artificial Intelligence

10.10 – 10.15 น.

พักเบรค

10.15 – 10.35 น.

กลยุทธ์และทิศทางการขับเคลื่อนปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย 

โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย,
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

10.35 – 11.35 น.

เสวนา มองต่างมุม “กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย”

(ใน 3 ประเด็นสำคัญ: (1)บทบาทของ AI ทีมีต่อชีวติแห่งสังคมอนาคต , (2)การประยุกต์ใช้ AI ในสังคมและการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ รวมถึงการสร้างโอกาส Startup และ(3) กลไกสำคัญเห่งการขับเคลื่อน AI ecosystem ในประเทศไทย)

โดย 

  1. รองศาสตราจารย์ ดร. จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. ดร. มหิศร ว่องผาติ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด
  3. รองศาสตราจารย์ ดร. วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร, ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส (ทีม Data Innovation), ธนาคาร กรุงไทย จำกัด
  4. ดร. ปรัชญา บุญขวัญ, หัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการ โดย ดร. ขวัญชีวา แตงไทย, นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

11.35 – 11.50 น.

Q & A

11.50 – 12.00 น.

ปิดการบรรยาย โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย 
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post กลยุทธ์และทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss37-covid19-vaccine/ Tue, 02 Mar 2021 14:52:28 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4734 การพัฒนา วัคซีนโควิด-19 การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ COVID-19 vaccine development : Progress and Preparedness tools for emerging infectious diseases จากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชนใช้จึงเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับการอนุญาตและมีการฉีดให้แก่ประชาชนแล้วในหลายประเทศ เนื่องจากวัคซีนที่พัฒนาขึ้นต้องผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองและมนุษย์ และมีกำลังการผลิตอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยน่าจะมีโอกาสถึงวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางวัคซีน บริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยทั่วโลกจึงมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยจากข้อมูลล่าสุด (11 ก.พ. 64) มีวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยในมนุษย์ (Clinical study) 98 ตัว และยังมีวัคซีนที่อยู่ในขั้นการศึกษาในสัตว์ทดลอง (Preclinical study) อีกอย่างน้อย 170 ตัว ซึ่งการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทยโดยเฉพาะ สวทช. ยังอยู่ในส่วนที่เป็น preclinical study เป็นหลัก โดยมีวัคซีนดีเอ็นเอของบริษัทไบโอเนท-เอเชียจำกัด และวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจะเข้าทดสอบในมนุษย์เร็วๆนี้ งามสัมมนานี้จะทำให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบสถานภาพการเข้าถึงและได้รับวัคซีนของประชาชน และความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาวัคซีนจากกลุ่มวิจัยชั้นนำของประเทศไทย รวมทั้งความพร้อมของประเทศไทยในการเตรียมพัฒนาวัคซีนเพื่อตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ในอนาคต กำหนดการ วันที่ 26 […]

The post การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ appeared first on NAC2021.

]]>

การพัฒนา

วัคซีนโควิด-19

การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่

COVID-19 vaccine development : Progress and Preparedness tools for emerging infectious diseases

        จากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชนใช้จึงเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับการอนุญาตและมีการฉีดให้แก่ประชาชนแล้วในหลายประเทศ เนื่องจากวัคซีนที่พัฒนาขึ้นต้องผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองและมนุษย์ และมีกำลังการผลิตอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยน่าจะมีโอกาสถึงวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ

        ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางวัคซีน บริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยทั่วโลกจึงมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยจากข้อมูลล่าสุด (11 ก.พ. 64) มีวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยในมนุษย์ (Clinical study) 98 ตัว และยังมีวัคซีนที่อยู่ในขั้นการศึกษาในสัตว์ทดลอง (Preclinical study) อีกอย่างน้อย 170 ตัว ซึ่งการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทยโดยเฉพาะ สวทช. ยังอยู่ในส่วนที่เป็น preclinical study เป็นหลัก โดยมีวัคซีนดีเอ็นเอของบริษัทไบโอเนท-เอเชียจำกัด และวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจะเข้าทดสอบในมนุษย์เร็วๆนี้

        งามสัมมนานี้จะทำให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบสถานภาพการเข้าถึงและได้รับวัคซีนของประชาชน และความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาวัคซีนจากกลุ่มวิจัยชั้นนำของประเทศไทย รวมทั้งความพร้อมของประเทศไทยในการเตรียมพัฒนาวัคซีนเพื่อตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

13.00-13.20 น.

ล็อกอินเข้าระบบออนไลน์

13.20-13.30 น.

เปิดสัมมนาและกล่าวภาพรวมของสถานการณ์ของโรค COVID-19

โดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

13.30-14.00 น.

สถานภาพการวิจัยพัฒนาวัคซีนที่สำคัญและ Technology trend สำหรับการพัฒนาวัคซีนต่อโรคอุบัติใหม่

โดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

14.00-14.30 น.

สถานภาพการเข้าถึงวัคซีน และ การได้รับวัคซีนของคนไทย และแผน BCG ด้านวัคซีน 

โดย นพ.นคร เปรมศรี สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

14.30-16.30 น.

ความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทย

โดย
1) ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2) ภญ.ดร.วาสนา วิจักขณาลัญฉ์
บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด

3) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ appeared first on NAC2021.

]]>
จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss28-genomic-medicine/ Tue, 02 Mar 2021 14:29:16 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4735 บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model Genomics Thailand: Genomic Medicine Service drive the BCG Economy Model         การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine) เป็นนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ที่ใช้ข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะบุคคลร่วมกับข้อมูลทางสุขภาพอื่นๆ มาใช้ในการวินิจฉัย รักษา และทำนายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด แม่นยำ และเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนของวงการแพทย์อย่างก้าวกระโดดในการสร้างสุขภาพที่ดีของประชากรตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนกระทั่งเสียชีวิต ตลอดจนการต่อยอดสู่อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศ ปัจจุบันการแพทย์จีโนมิกส์มีบทบาทสำคัญกับระบบสาธารณสุข และเริ่มมีการให้บริการในหลายประเทศภายใต้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯและสิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) ปี พ.ศ. 2563–2567 ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ รวมถึงเกิดโครงสร้างพื้นฐานของประเทศซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นผู้นำศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน   […]

The post จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model appeared first on NAC2021.

]]>

บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model

จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model

Genomics Thailand: Genomic Medicine Service drive the BCG Economy Model

        การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine) เป็นนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ที่ใช้ข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะบุคคลร่วมกับข้อมูลทางสุขภาพอื่นๆ มาใช้ในการวินิจฉัย รักษา และทำนายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด แม่นยำ และเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนของวงการแพทย์อย่างก้าวกระโดดในการสร้างสุขภาพที่ดีของประชากรตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนกระทั่งเสียชีวิต ตลอดจนการต่อยอดสู่อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศ ปัจจุบันการแพทย์จีโนมิกส์มีบทบาทสำคัญกับระบบสาธารณสุข และเริ่มมีการให้บริการในหลายประเทศภายใต้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯและสิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) ปี พ.ศ. 2563–2567 ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ รวมถึงเกิดโครงสร้างพื้นฐานของประเทศซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นผู้นำศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน

        งามสัมมนานี้จะเป็นการนำเสนอสถานภาพการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ความก้าวหน้าในการวิจัย พัฒนาและให้บริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์ รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model appeared first on NAC2021.

]]>
การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss53-safety-railway-systems/ Tue, 02 Mar 2021 14:13:24 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4643 ยกระดับความปลอดภัย ด้านการคมนาคมขนส่ง ในระบบราง การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง R&D For Safety Enhancement in Rail Transport System         ประเทศไทยกำลังมีการลงทุนครั้งใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่งในส่วนของระบบขนส่งทางราง รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญโดยจะยกระดับระบบการคมนาคมทางรางทั่วประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มระยะทางของรถไฟจาก 4,000 กิโลเมตร เป็น 10,000 กิโลเมตร เพื่อขยายศักยภาพในการขนส่งสินค้า ในขณะที่รถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑลก็จะมีการให้บริการเพิ่มจากเดิมประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นมากกว่า 400 กิโลเมตร  รวมทั้งในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางภายในประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีและการดูแลบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการศึกษาวิจัยและพัฒนาจึงเป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้และสามารถต่อยอดเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ต่อไป         การบรรยายในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอการยกระดับความปลอดภัยในระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง มิฉะนั้นอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินได้ วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=ZEkTBM0eEEY เอกสารประกอบการสัมมนา การเสียหายของล้อ-เพลาและรางรถไฟคุณสยาม แก้วคำไสย์ ระบบค้นหาและแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางข้างหน้าขบวนรถไฟดร.ทิวัตถ์ พงศ์ถาวรกมล ความปลอดภัยในระบบโครงสร้างพื้นฐานดร.อรรถพล เก่าประเสริฐ […]

The post การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง appeared first on NAC2021.

]]>

ยกระดับความปลอดภัย
ด้านการคมนาคมขนส่ง
ในระบบราง

การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง

R&D For Safety Enhancement in Rail Transport System

        ประเทศไทยกำลังมีการลงทุนครั้งใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่งในส่วนของระบบขนส่งทางราง รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญโดยจะยกระดับระบบการคมนาคมทางรางทั่วประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มระยะทางของรถไฟจาก 4,000 กิโลเมตร เป็น 10,000 กิโลเมตร เพื่อขยายศักยภาพในการขนส่งสินค้า ในขณะที่รถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑลก็จะมีการให้บริการเพิ่มจากเดิมประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นมากกว่า 400 กิโลเมตร  รวมทั้งในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางภายในประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีและการดูแลบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการศึกษาวิจัยและพัฒนาจึงเป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้และสามารถต่อยอดเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

        การบรรยายในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอการยกระดับความปลอดภัยในระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง มิฉะนั้นอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินได้

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.10 น.

กล่าวเปิดการบรรยาย

โดย ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์
ผู้อํานวยการ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.10-09.40 น.

การเสียหายของล้อ-เพลาและรางรถไฟ

โดย คุณสยาม แก้วคำไสย์
วิศวกรอาวุโส ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.40-10.10 น.

ระบบค้นหาและแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางข้างหน้าขบวนรถไฟ

โดย ดร.ทิวัตถ์ พงศ์ถาวรกมล
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

10.10-10.40 น.

ความปลอดภัยในระบบโครงสร้างพื้นฐาน

โดย ดร.อรรถพล เก่าประเสริฐ 
วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการก่อสร้าง ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง
การรถไฟแห่งประเทศไทย

10.40-11.10 น.

ต้นแบบระบบตรวจวัดการสั่นสะเทือนของรถไฟอัจฉริยะแบบฝังบนตัวรถไฟฟ้าที่ให้บริการเพื่อการประเมินความปลอดภัยและสภาพทางวิ่ง

โดย ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา
อาจารย์ สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

11.10-12.00 น.

ความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง

โดย ดร.ทยากร จันทรางศุ
ผู้อำนวยการกองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่งในระบบราง appeared first on NAC2021.

]]>
สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss62-big-data/ Tue, 02 Mar 2021 13:32:08 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12346 สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่ สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) Building Community Big Data Platform for the New Normal         ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (big data system) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมและเพิ่มโอกาสการสร้างงาน การพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายเทคโนโลยี ทั้งด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data analytics) โครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล (security) ระบบสารสนเทศของภาครัฐ และการสร้างนิเวศของข้อมูล (data ecosystem) ความท้าทายหนึ่งของการพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ คือการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อแก้ปัญหาของชุมชน ทั้งในด้านการวิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อนของชุมชน (community strengths & weaknesses analysis) การสนับสนุนการวางแผนเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาของชุมชน เช่น การช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบาง (vulnerable social groups) อีกความท้าทายหนึ่งคือการสร้างคุณค่าให้กับข้อมูลของชุมชนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ […]

The post สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) appeared first on NAC2021.

]]>

สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่

สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

Building Community Big Data Platform for the New Normal

        ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (big data system) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมและเพิ่มโอกาสการสร้างงาน การพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายเทคโนโลยี ทั้งด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data analytics) โครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล (security) ระบบสารสนเทศของภาครัฐ และการสร้างนิเวศของข้อมูล (data ecosystem) ความท้าทายหนึ่งของการพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ คือการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อแก้ปัญหาของชุมชน ทั้งในด้านการวิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อนของชุมชน (community strengths & weaknesses analysis) การสนับสนุนการวางแผนเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาของชุมชน เช่น การช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบาง (vulnerable social groups) อีกความท้าทายหนึ่งคือการสร้างคุณค่าให้กับข้อมูลของชุมชนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ เช่น ด้านการท่องเที่ยว การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ การระบุตำแหน่งของสถานที่และทรัพยากรที่สำคัญต่างๆ ในชุมชน เป็นต้น เหล่านี้สามารถนำสามารถนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชน (community data-driven apps) งานสัมมนานี้จะเป็นการให้ความรู้ และอภิปรายในประเด็น หน่วยงานภาครัฐจะสามารถสนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ได้อย่างไรบ้างในยุคชีวิตวิถีใหม่ โดยการแบ่งปันประสบการณ์ และข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญประเทศสาธาณรัฐเกาหลี และประเทศไทย

        Big data is one of the key technologies that can lead to improvement of quality of citizens’s lives in terms of creating economic and social impacts as well as improving employment opportunities. The development of big data system involves several key technologies including big data analytics, security infrastructure, government information systems and data ecosystems. One of the key challenges of building big data system is how to utilize the data from the system to benefit citizen lives especially in supporting problem alleviation of communities. A vision of community big data platform aimed at creating big data system targeted at community data. With such a platform, local governments can conduct community strengths & weaknesses analysis to support better policy planning, such as those related to targeted community-based poverty alleviation. In addition, business and industries can improve their business planning based on community data such as tourism, product marketing, and location-based community resource data, etc. Citizen can beneficially receive improved citizen services via data-driven apps developed based on the community data.

        This seminar aims to conduct knowledge sharing and discussion on how policies and technologies could facilitate the development of community big data platform in life under this ‘new normal’. Insights and experiences on these aspects will be shared by experts from the Republic of Korea and Thailand.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

March 26, 2021

Part I

Opening ceremony/พิธีเปิดงานสัมมนา

13.30 – 13.35 น.

Welcome remarks/กล่าวต้อนรับและที่มาของการสัมมนา

by Sarun Sumriddetchkajorn, Ph.D.  (ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร)

Deputy Executive Director, National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)/NSTDA รองผู้อำนวยการ เนคเทค สวทช.

13.35 – 13.40 น.

Congratulatory remarks/กล่าวแสดงความยินดี

By Hwang, Byeong Choen, Ph.D

Director General, Korea Local Information Research & Development Institute (KLID)

Part II

Implementation experiences for Big data platform

(Conducted in English language)

Moderated by Pornprom Ateetanan, Ph.D. (ดร. พรพรหม อธีตนันท์)                                                     

Deputy division director, Strategic planning and partner development, NECTEC/NSTDA
(รองผู้อำนวยการฝ่าย, ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เนคเทค สวทช.)

13.40 – 14.00 น.

Strategies and innovation of local governments in the age of data economy

By Beop-Yeon Kim, Ph.D, Research professor

Korea University School of Cybersecurity

14.00 – 14.20 น.

Using personal information as artificial intelligence learning data

By Seungjae Jeon, Ph.D, Attorney, Barun Law LLC

14.20 – 14.40 น.

Introduction of Jeju Island Big Data Platform Use Cases

By Kim Ki-Hong, Director, Digital Convergence Division

and Park Ki-Bum, Team Leader, Big Data

Jeju Special Self-Governing Province

14.40 – 15.00 น.

Thailand’s “One Tambon One University” Program

by Asst. Prof. Wannarat Suntiamorntut, Ph.D, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)  and Asst. Prof. Akkarit Sangpetch, Ph.D., CMKL University  (ผศ.ดร. อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร, CMKL University)

Part III

Panel discussion การเสวนา

“ความสำคัญของแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่ – การประยุกต์ใช้งาน การเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูล และโอกาสทางธุรกิจ ปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อน และบทบาทหลังจากการแพร่ระบาด”

(Conducted in Thai Language)

“The importance of big data platform and its applications on communities for the new normal: role of community big data platform after the pandemic, applications for community and business opportunities, key mechanisms for development

Moderated by Marut Buranarach, Ph.D., Research Group Director, Data Science and Analytics Research Group (DSARG), NECTEC/NSTDA

ดำเนินการเสวนา โดย ดร. มารุต บูรณรัช ผู้อำนวยการ กลุ่มวิจัยวิทยากรข้อมูลและการวิเคราะห์, เนคเทค สวทช.

15.00 – 16.00 น.

Panel discussion “The importance of big data platform and its applications on communities for the new normal” 

การเสวนา “ความสำคัญของแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่”

Panelists/ผู้ร่วมเสวนา:

  1. Asst. Prof. Wannarat Suntiamorntut, Ph.D, Prince of Songkhla University
    (ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
  2. Asst. Prof. Akkarit Sangpetch, Ph.D, CMKL University
    (ผศ.ดร. อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร, CMKL University)
  3. Suttipong Thajchayapong, Ph.D, Research team leader, Strategic Analytics Networks with Machine Learning and AI Research Team)

(ดร. สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์, หัวหน้าทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช.)

16.00-16.20 น.

Q & A

16.20-16.30 น.

Wrap up By Marut Buranarach, Ph.D. 

สรุปการเสวนา โดย ดร. มารุต บูรณรัช

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post สู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับชุมชน (Community Big Data Platform) ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) appeared first on NAC2021.

]]>
Taiwan Data Cube workshop http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss21-taiwan-data-cube-workshop/ Tue, 02 Mar 2021 10:14:47 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4313 Taiwan Data Cube workshop Taiwan Data Cube workshop         The growing Earth Observation satellite data requires an open and freely accessible exploitation tool to facilitate the development and sustainability of applications on land use and land cover change, water resources and forest monitoring, etc. The Open Data Cube (ODC) is especially suitable […]

The post Taiwan Data Cube workshop appeared first on NAC2021.

]]>

Taiwan Data Cube workshop

Taiwan Data Cube workshop

        The growing Earth Observation satellite data requires an open and freely accessible exploitation tool to facilitate the development and sustainability of applications on land use and land cover change, water resources and forest monitoring, etc. The Open Data Cube (ODC) is especially suitable for geospatial data management & analysis for modern Thai Agriculture, one of the focused topics under the BCG model.

        Open Data Cube (ODC) was initiated by the Committee on Earth Observation Satellites (CEOS) to provide a solution with new computing technologies, to promote free and open EO satellite data and application algorithms, and to lower the technical barriers for users to exploit the data. Currently, based on ODC infrastructure Taiwan Data Cube (TWDC) is under developing and operating for distributing Analysis Ready Data (ARD) and delivering corresponding application for geospatial data users in Taiwan. In this workshop, not only the system framework and data preparation of ODC will be provided, the practical applications of TWDC will also be introduced. Following topics will be discussed in this workshop: (1) Overview and framework of TWDC, (2) Preparation and usage of ARD in TWDC. (3) Introduction to the applications of TWDC. Through this workshop, the valuable experience and practice of TWDC will be shared and exchanged with international participants to establish localized ODC for foreign countries and third-party international organizations. Under the collaboration with CEOS, hope that the staged achievement of TWDC can be an example in international cooperation projects of ODC.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

26 March 2021

09:00 – 09:20

NSPO Introduction
By Mr. Eddy Yang, Principal Engineer, NSPO

9:20 – 10: 10

Overview and Framework of Taiwan Data Cube (TWDC)
By Ms. Charlotte Hsu, Engineer, NSPO

10:10 -11:10

ARD Preparation and Usage in Taiwan Data Cube
By Dr. Chang Li-Yu, Researcher, NSPO

11:10 – 12:00

TWDC Demo
By Mr. Wei Hsuan-Cheng, Engineering, NSPO

12.00 – 13.00

Break – Lunch time

13:30 – 13:50

Data Cube Applications
By Ms. Cynthia Liu, Division Director, NSPO

13:50 – 15:20

TWDC application in Thailand
By Dr. Noppadon Khiripet, NECTEC

15:20 – 16:00

Q&A

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Taiwan Data Cube workshop appeared first on NAC2021.

]]>
Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss17-post-covid19-opportunities/ Tue, 02 Mar 2021 09:35:20 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=8194 Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World”         For over 15 years, the National Science and Technology Development Agency (NSTDA) has been hosting the NSTDA Annual Conference, or NAC, to showcase the research and innovation that NSTDA and its local and international partners have achieved over […]

The post Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” appeared first on NAC2021.

]]>

Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World”

        For over 15 years, the National Science and Technology Development Agency (NSTDA) has been hosting the NSTDA Annual Conference, or NAC, to showcase the research and innovation that NSTDA and its local and international partners have achieved over the year. Comprehensive scientific seminars, exhibitions, the Thailand Science Park Open House, a job fair, and STEM educational activities complete the full program of NAC, making it one of the most exciting events of the year for our scientific community.

        NAC2019, the last conference held before the pandemic hit, was a great success and attracted more than 5,000 participants to the scientific seminars/workshops, 4,065 visitors to the exhibition, and 367 attendees to the open house activities. The program consisted of 49 scientific conferences, seminars and workshops. On display in the exhibition zone were over 100 inventions developed by NSTDA and its partners from the public, private and academic domains, as well as by the tenants of Thailand Science Park. An open house activity introduced visitors from the private sector to the laboratories of NSTDA and to the tenants of Thailand Science Park that offer research and testing services.

        NAC2021 will be held on 25 – 30 March 2021 with a focus on the “Bio-Circular-Green Economy (BCG)”.  Thailand is investing heavily in BCG to achieve a sustainable and inclusive economy, and is employing science, technology and innovation to enhance the country’s competitiveness. The BCG sector comprises many of the country’s most important industries: agriculture and food; bioenergy, biomaterials and biochemicals; medical and wellness; and tourism and the creative economy. By 2025, the Thai Government aims to increase the value of these industries by 30 percent, making  BCG industries equivalent to 25 percent of GDP.

        One of the highlights of NAC2021 highlights will be the Presidents’ Forum – an invitation-only roundtable in which leaders of prominent international research organizations are invited to share and discuss their views  on various science, technology and innovation issues with leaders of research and academic institutes in Thailand

        The Presidents’ Forum was first organized at NAC2019 and focused on R&D management. Participants included Prof. James C. Liao (President of Academia Sinica), Prof. Yeong-Her Wang (President of National Applied Research Laboratories, NARLabs), Dr. Raj Thampuran (Managing Director of Agency for Science, Technology and Research, A*STAR, Singapore) and Dr. Eden Y. Woon (President of Asian Institute of Technology, AIT).

        The 2021 Presidents’ Forum is scheduled to take place on 26 March 2021 with the theme “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” where discussions will focus on how research and innovation can support BCG and sustainability in the world after the pandemic and provide opportunities for international collaboration.

        NAC2021 will be held in a hybrid format with a combination of onsite and online platforms with the onsite activities taking place at Thailand Science Park. Like its previous editions, NAC2021 will consist of a wide range of activities including scientific seminars, discussions, exhibitions, STEM activities for children and Thailand Science Park Open House.

        This event brings together presidents and leaders of leading scientific organizations and academic institutes from Thailand and overseas to share experience, perspective and best practice on the commercialization of research results. The forum also aims at promoting collaboration among institutes to advance the process of research translation and commercialization.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

March 26, 2021

13:30 – 13:40

Welcome Remarks and Introduction to the Presidents’ Forum

By Dr. Lily Eurwilaichitr
NSTDA Vice President

13.40 – 14.00

Opening Remarks

By Dr. Narong Sirilertworakul
NSTDA President

14.00 – 15.20

Keynote Speeches on “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World”

1) Dr. Chen Chien-jen
Former Vice President, Taiwan
Theme: Health and Vaccine

2) Prof. Dr. Hasan Mandal
President, Scientific and Technological Research Council of Turkey (TÜBITAK), Turkey
Theme: Sustainable Development

3) Prof. Joachim von Braun
Director, Center for Development Research (ZEF), Bonn University, Germany
Theme: Bioeconomy Policy

4) Prof. Emeritus Dr. Kraisid Tontisirin
Senator and Former Director of Food and Nutrition Division, Food and Agriculture Organization of the United Nations
Theme: Food and Agriculture

15.20 – 16.20

Open Discussion

Moderated by Prof. Prasit Palittapongarnpim, NSTDA Executive Vice President

16.20 – 16.30

Conclusions and Closing Remarks

By Dr. Narong Sirilertworakul
NSTDA President

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Presidents’ Forum 2021 “Bio-Circular-Green Economy: Turning Challenges into Opportunities in the Post-COVID-19 World” appeared first on NAC2021.

]]>
Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss44-functional-ingredients/ Tue, 02 Mar 2021 05:23:08 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5659 Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19         วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในวงกว้าง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ถูก disrupt จากวิกฤตครั้งนี้ ทั้งจากปัญหา supply chain disruption ในช่วงมาตรการ lockdown รวมไปถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยุค new normal หลัง COVID-19 จะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป เช่น 1) ความปลอดภัยจากการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม “food safety and transparency” 2) ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางเลือกเช่นอาหารเนื้อสัตว์ทดแทน (alternative meats) ผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกจากพืช (plant-based foods) โดยเฉพาะถั่ว เห็ด สาหร่าย ซึ่งให้โปรตีนสูง ผลิตภัณฑ์นมที่ทำจากพืช (plant-based milk) เช่น […]

The post Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 appeared first on NAC2021.

]]>

Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19

Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19

        วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในวงกว้าง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ถูก disrupt จากวิกฤตครั้งนี้ ทั้งจากปัญหา supply chain disruption ในช่วงมาตรการ lockdown รวมไปถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยุค new normal หลัง COVID-19 จะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป เช่น

1) ความปลอดภัยจากการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม “food safety and transparency”

2) ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางเลือกเช่นอาหารเนื้อสัตว์ทดแทน (alternative meats) ผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกจากพืช (plant-based foods) โดยเฉพาะถั่ว เห็ด สาหร่าย ซึ่งให้โปรตีนสูง ผลิตภัณฑ์นมที่ทำจากพืช (plant-based milk) เช่น ข้าวโอ๊ต หรืออัลมอนด์ หรือผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่งและเติมสารอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะบุคคล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหรือรักษาโรคได้

3) การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ unmanned factory และ humanless warehouse โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการพึ่งพาแรงงานคน และลดต้นทุนของภาคธุรกิจในระยะยาว

      ดังนั้นภาครัฐและภาคเอกชนต้องบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อวางกลยุทธ์การเติบโตและเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อขับเคลื่อน ประเทศไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

     วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเผยแพรความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของ Functional ingredient ในอุตสาหกรรมอาหาร
  2. เพื่ออัพเดทสถานการณ์ แนวโน้ม การตลาดของ Functional ingredient ในช่วงวิกฤตโควิด-19
  3. เพื่อเปิดโอกาสให้คำปรึกษา แนะนำงานวิจัยไทย และผู้ประกอบการ เพื่อสร้างการแข่งขันของตลาด Functional ingredient ในระดับนานาชาติ



วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

13:00-13:30 น.

ล็อกอินเข้าระบบออนไลน์

13:30-13.35 น.

พิธีกรกล่าวต้อนรับ และแจ้งกำหนดการ

13:35-14:15 น.

เทรนอุตสาหกรรมอาหารโลกและความท้าทายของอุตสาหกรรมอาหารหลังวิกฤตโควิด-19 

โดย  คุณเกวลิน หวังพิชณสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

14:15-15.00 น.

Functional Ingredients สำหรับอุตสาหกรรมอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ 

โดย ดร.ไว ประทุมผาย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ

15.00-15.45 น. 

Functional Ingredients สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและอาหารเสริม

โดย ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

15.45-16.30 น.

Functional Ingredients สำหรับอุตสาหกรรมอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

โดย ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Functional ingredients กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหลังโควิด-19 appeared first on NAC2021.

]]>
มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss43-robots-smart-bed-standard-regulations/ Tue, 02 Mar 2021 05:20:08 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5529 มาตรฐานและระเบียบสำหรับ หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย Robots and Smart Bed for Aging care : Standard and Regulations           ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้วในปี พ.ศ.2564  ภาครัฐได้กำหนดให้สังคมสูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ และได้วางแผนเพื่อการเตรียมพร้อมในการรับมือ ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมทุนวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อผลักดันการสร้างอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการในประเทศไทย ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์โดยคนไทยสู่ตลาดมากขึ้น เป็นการลดการนำเข้า เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาที่สูงได้ ลดความเหลือมล้ำทางสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ         ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่ออกมาเพื่อตอบสนองต่อสังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ หุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกควบคุมด้วยระบบตรวจสอบมาตรฐานประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผู้ประกอบการและนักวิจัยจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการควบคุม แนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ การขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์และการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย และวิธีการทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดมาตรฐานที่สำคัญของเครื่องมือแพทย์         สัมมนานี้จึงจะมุ่งเน้นที่อุปกรณ์หุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้ภาพในองค์รวมอย่างย่อเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการ นักวิจัย  นักออกแบบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกได้รับทราบข้อมูลและหลักการการทดสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค จะเป็นการช่วยผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในประเทศสามารถสร้างความเข้มแข็งด้านสวัสดิการการบริการผู้สูงอายุและผู้พิการและสร้างเศรษฐกิจให้ประเทศได้    วัตถุประสงค์ 1) เพื่อการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์ […]

The post มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย appeared first on NAC2021.

]]>

มาตรฐานและระเบียบสำหรับ

หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย

มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย

Robots and Smart Bed for Aging care : Standard and Regulations  

        ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้วในปี พ.ศ.2564  ภาครัฐได้กำหนดให้สังคมสูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ และได้วางแผนเพื่อการเตรียมพร้อมในการรับมือ ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมทุนวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อผลักดันการสร้างอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการในประเทศไทย ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์โดยคนไทยสู่ตลาดมากขึ้น เป็นการลดการนำเข้า เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาที่สูงได้ ลดความเหลือมล้ำทางสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ

        ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่ออกมาเพื่อตอบสนองต่อสังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ หุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกควบคุมด้วยระบบตรวจสอบมาตรฐานประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผู้ประกอบการและนักวิจัยจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการควบคุม แนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ การขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์และการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย และวิธีการทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดมาตรฐานที่สำคัญของเครื่องมือแพทย์

        สัมมนานี้จึงจะมุ่งเน้นที่อุปกรณ์หุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้ภาพในองค์รวมอย่างย่อเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการ นักวิจัย  นักออกแบบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกได้รับทราบข้อมูลและหลักการการทดสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค จะเป็นการช่วยผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในประเทศสามารถสร้างความเข้มแข็งด้านสวัสดิการการบริการผู้สูงอายุและผู้พิการและสร้างเศรษฐกิจให้ประเทศได้   

วัตถุประสงค์ 
1) เพื่อการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่ายเครื่องมือแพทย์
2) เพื่อการเรียนรู้หลักการทดสอบตามมาตรฐานที่สำคัญในการดำเนินการทำมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค
3) เพื่อการประชาสัมพันธ์แนวทางการขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทย เป็นการส่งเสริมการตลาดของภาครัฐ
4) เพื่อเปิดโอกาสให้คำปรึกษากาผู้ประกอบการที่กำลังจะทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์

กลุ่มเป้าหมายที่ควรเข้าร่วมกิจกรรม
1) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วย
2) ผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องการขยายสายการผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์ประเภท 1 ความเสี่ยงต่ำ
3) นักวิจัยหรือนักพัฒนาที่ต้องการต่อยอดผลงานอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสู่พาณิชย์

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.35 น.

ระเบียบการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ

โดย คุณธเนศ วิริยะเมธานนท์
วิศวกรชีวการแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

09.40-10.20 น.

มาตรฐานสำหรับหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ 

โดย ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์
ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)

10.25-11.05 น.

มาตรฐานสำหรับเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ

โดย คุณเรืองฤทธิ์ หนิแหนะ
วิศวกรอาวุโส ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)

11.10-11.40 น.

การทดสอบ Software Validation IEC 62304

โดย ดร.พนิตา เมนะเนตร
ผู้จัดการห้องปฏิบัติการทดสอบซอฟต์แวร์ (SQUAT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
 (NECTEC)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย appeared first on NAC2021.

]]>
การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing” http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss19-herbal-cosmeceutical/ Mon, 01 Mar 2021 17:17:05 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3794 พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceutical” 1) การเสวนา: “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” 2) Knowledge Sharing: “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing”         เวชสำอาง (Cosmeceuticals) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องสำอางและ/หรือยาไว้ด้วยกัน การใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางคาดหวังการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ หรือเรียกได้ว่าเป็น “Functional cosmetics” ซึ่งสารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin ต่างๆ, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืช/สมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ คำว่า “เวชสำอาง” […]

The post การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing” appeared first on NAC2021.

]]>

พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceutical”

1) การเสวนา: “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals”
2) Knowledge Sharing: “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing”

        เวชสำอาง (Cosmeceuticals) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องสำอางและ/หรือยาไว้ด้วยกัน การใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางคาดหวังการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ หรือเรียกได้ว่าเป็น “Functional cosmetics” ซึ่งสารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin ต่างๆ, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืช/สมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ คำว่า “เวชสำอาง” เป็นคำที่ไม่มีนิยามตามกฎหมาย ไม่ว่าจะจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของเมืองไทย เอเชีย อเมริกา หรือประเทศกลุ่มยุโรป ดังนั้นในการโฆษณาสินค้าเหล่านี้ทางกฎหมายจึงถือเป็นเครื่องสำอาง จึงต้องโฆษณาให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลการโฆษณาเครื่องสำอางตามบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ต้องไม่โฆษณาคุณสมบัติมากไปกว่าการเป็นเครื่องสำอาง  ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการกำหนดนิยามของคำว่า “เวชสำอางสมุนไพร หรือ Herbal Cosmeceutical” ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านเวชสำอางเพื่อจัดจำหน่าย ที่ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทราบแนวทาง หลักเกณฑ์และต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของการขี้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

       โดยข้อมูลสำคัญประการหนึ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์คือข้อมูลผลการวิเคราะห์ทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสำคัญ/สารออกฤทธิ์ที่ทางผู้ประกอบการต้องการใช้เพื่อแสดงผล“Functional claim” ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบัน วิธีการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารออกฤทธิ์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สามารถทดสอบได้ในระดับ in vitro ซึ่งประกอบด้วยโมเดลเซลล์ผิวหนัง 2 มิติ และเนื้อเยื่อผิวหนัง 3 มิติ โดยในโมเดลเซลล์ผิวหนัง 2 มิติ จะประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวซึ่งเหมาะในการทดสอบเบื้องต้น หรือการทดสอบในเชิงลึกที่ต้องการดูผลในเซลล์ผิวหนังเพียงชั้นเดียว สำหรับโมเดลเนื้อเยื่อผิวหนัง 3 มิตินั้นจะมีข้อจำกัดในด้าน Physical barrier โดยมีผิวหนังชั้น Stratum corneum ที่บอบบางกว่าผิวหนังจริง, การขาดเซลล์บางชนิดในผิวหนัง, มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้โมเดลนี้ยังคงมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากผิวหนังจริง อีกทั้งยังมีราคาแพง

        โมเดลชิ้นส่วนผิวหนังของมนุษย์ (ex-vivo skin model) ได้มาจากการตัดชิ้นส่วนผิวหนังของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้มาจากผิวหนังส่วนหน้าท้อง (Abdominal skin) และนำมาเลี้ยงภายนอกร่างกาย ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม โดยมีข้อดีคือมีคุณลักษณะที่ใกล้เคียงกับผิวหนังจริงมากที่สุด เนื่องจากยังคงมีเซลล์และโครงสร้างที่พบในผิวหนังจริงหลงเหลืออยู่ มีความแข็งแรง ทำให้โมเดลนี้เหมาะกับการทดสอบเพื่อหาสูตรตำรับที่เหมาะสม ก่อนที่จะทำไปทดสอบในอาสาสมัคร นอกจากนี้โมเดลชิ้นส่วนผิวหนังยังมีราคาถูก สามารถเห็นผลการทดสอบได้ในระยะเวลาอันสั้น, และสามารถใช้ทดสอบหากลไกเชิงลึก มีวิธีการเตรียม Tissue culture ที่ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาในการเตรียมสั้นกว่า เมื่อเทียบกับโมเดลเซลล์ผิวหนัง 3 มิติ รวมถึงสามารถตัดชิ้นส่วนของผิวหนังของผู้สูงอายุ หรือคนที่เป็นโรคเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาได้อีกด้วย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทย
ด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals”

Efficacy Testing of Anti-Aging Products
in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 1)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 1)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products
in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 2)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 2)

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.15 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดงาน

โดย ภญ.ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
Super Manager โปรแกรมเวชสำอาง สวทช.

09.15-10.00 น.

การเสวนาหัวข้อ “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” 

โดย 1) ภก.วราวุธ เสริมสินสิริ
ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

2) ภญ.ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
Super Manager โปรแกรมเวชสำอาง, สวทช.

3) ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท สเปเชียลตี้ อินโนเวชั่น จำกัด                                      และ บริษัท สเปเชียลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด

ดำเนินรายการโดย  ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี 
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.

10.00-10.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Breakthroughs in Aging Research That Will Transform the Future of Anti-Aging Products          

โดย ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.

10.45-12.00 น.

การบรรยายหัวข้อ “Skin Aging Biology”

 

โดย ศ.ดร.ภญ.จารุภา วิโยชน์
คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

12.00-13.00 น.

พักกลางวัน

13.00-13.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Anti-Aging Testing of Active Ingredients & Products in Ex Vivo Skin Models”

 

โดย ดร.วันนิตา กลิ่นงาม
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

13.45-14.30 น.

การบรรยายหัวข้อ Efficacy Testing of Cosmeceutical Products Using Ex Vivo skin models” (บรรยายภาษาอังกฤษ)

โดย Dr.Nikita Radionov
Subsidiary and Technical-commercial Actions Manager,  Laboratoire BIO-EC FRANCE

14.30-15.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Clinical Trials”

โดย รศ.ภญ.ดร.ภญ.มยุรี กัลยาวัฒนกุล 
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง             

หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing” appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss48-eboat-ebike/ Mon, 01 Mar 2021 17:02:25 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5233 เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Powertrain Technology Design and Production for Electric Boat and Motorcycle Industries       เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง กำลังมุ่งไปสู่การขับเคลื่อนยานพาหนะด้วยพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยานพาหนะไฟฟ้า จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการ รวมถึงผู้ใช้ ต่างให้ความสนใจ และเป็นทิศทางที่กำลังมุ่งไป นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ด้วยยานพาหนะไฟฟ้า ก็ยังเป็นโอกาสในการผลิตทั้งชิ้นส่วนที่มีมูลค่าสูงในยานพาหนะ และผู้ให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งทางบก อย่างรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และทางน้ำอย่างเรือไฟฟ้า ที่ถูกมองเป็นโอกาสอุตสาหกรรมในประเทศไทย         ชิ้นส่วนสำคัญในเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบไปด้วย ชุดอุปกรณ์ทางกลใชการขับเคลื่อน ชุดวัสดุอุปกรณ์เชิงโครงสร้าง ชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ชุดอุปกรณ์ประจุไฟฟ้า และที่สำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดอย่างชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้า (Electric Powertrain) ที่ประกอบไปด้วยชุดมอเตอร์ ระบบควบคุม และแบตเตอรี่สำหรับขับเคลื่อนยานพาหนะไฟฟ้า ในการเสวนาในครั้งนี้ จะเป็นแสดงให้เห็นถึงโอกาสในเชิงธุรกิจ […]

The post เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

Powertrain Technology Design and Production for Electric Boat and Motorcycle Industries

      เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง กำลังมุ่งไปสู่การขับเคลื่อนยานพาหนะด้วยพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยานพาหนะไฟฟ้า จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการ รวมถึงผู้ใช้ ต่างให้ความสนใจ และเป็นทิศทางที่กำลังมุ่งไป นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการคมนาคมและการขนส่ง ด้วยยานพาหนะไฟฟ้า ก็ยังเป็นโอกาสในการผลิตทั้งชิ้นส่วนที่มีมูลค่าสูงในยานพาหนะ และผู้ให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งทางบก อย่างรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และทางน้ำอย่างเรือไฟฟ้า ที่ถูกมองเป็นโอกาสอุตสาหกรรมในประเทศไทย

        ชิ้นส่วนสำคัญในเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบไปด้วย ชุดอุปกรณ์ทางกลใชการขับเคลื่อน ชุดวัสดุอุปกรณ์เชิงโครงสร้าง ชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ชุดอุปกรณ์ประจุไฟฟ้า และที่สำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดอย่างชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้า (Electric Powertrain) ที่ประกอบไปด้วยชุดมอเตอร์ ระบบควบคุม และแบตเตอรี่สำหรับขับเคลื่อนยานพาหนะไฟฟ้า ในการเสวนาในครั้งนี้ จะเป็นแสดงให้เห็นถึงโอกาสในเชิงธุรกิจ และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการออกแบบ และผลิตชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้า (Electric Powertrain) ที่ประกอบไปด้วยการออกแบบแบตเตอรี่แพ็ก ตั้งแต่การคัดเลือกเซลล์แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน การออกแบบโครงสร้างการเชื่อมต่อจากเซลล์เป็นโมดูล และเป็นแพ็กแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน การออกแบบโครงสร้าง จุดยึดเชื่อมต่อชุดแบตเตอรี่แพ็กเข้ากับยานพาหนะไฟฟ้า การออกแบบระบบจัดการความร้อนภายในชุดแบตเตอรี่ขณะทำงาน การออกแบบระบบจัดการแบตเตอรี่ และการออกแบบระบบสื่อสาร และชุดมอเตอร์และระบบควบคุม ตั้งแต่การออกแบบเพื่อหากำลังมอเตอร์ที่ต้องการ และการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบควบคุมที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมภายในยานพาหนะไฟฟ้า มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบส่งกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานในเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจักรยานยนต์ไฟฟ้า

      งานเสวนาในครั้งนี้คาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมจะได้รับมุมมองทางธุรกิจในการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม
ยานยนต์สมัยใหม่ และชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ และรับองค์ความรู้สำคัญในการออกแบบและผลิตชุดระบบส่งกำลังไฟฟ้าสำหรับเรือไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อนำไปต่อยอดสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ และยกระดับอุตสาหกรรมไทยต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.30 – 09.45 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม 

โดย นายณัฏฐวัชช์ รุ่งเสถียรธร 

ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.45 – 10.45 น.

เทคโนโลยีการออกแบบแบตเตอรี่แพ็ก และ เทคโนโลยีการออกแบบมอเตอร์และระบบขับเคลื่อน

โดย ดร.มานพ มาสมทบ ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน
ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
และ ดร.บุรินทร์ เกิดทรัพย์ ทีมวิจัยมอเตอร์และการแปลงผันกำลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

10.45 – 12.15 น.

เสวนา: เทคโนโลยีการออกแบบชุดระบบส่งกำลังเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 

ดำเนินการเสวนาโดย นายสรวิศ วณิชอนุกูล 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

รายชื่อผู้ร่วมเสวนา

  1. นายวีรพลน์ เตชะผาสุขสันติ
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด
  1. นายวสันต์พรรษ ภูริณัฐภูมิ
    ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา
    บริษัท จีพี มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
  1. ดร.สิริกานดา นวลแสง
    ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
    บริษัท เบต้าเอเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด
  1. ดร.มานพ มาสมทบ
    ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน
    ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
  1. ดร.บุรินทร์ เกิดทรัพย์
    ทีมวิจัยมอเตอร์และการแปลงผันกำลังงาน 
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตระบบส่งกำลังเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า appeared first on NAC2021.

]]>