25 มีนาคม 2564 – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Thu, 17 Jun 2021 03:05:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png 25 มีนาคม 2564 – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss16-herb-chinese-market/ Wed, 03 Mar 2021 12:28:52 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3538 โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 Chance of Thai Herbal Products in China Market : Post COVID-19        จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2019 และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน เกิดภาวะความเครียด ความตื่นกลัวไปทั่วโลก ประชาชนจำนวนไม่น้อยหันมาให้ความสนใจในการดูแลตัวเอง รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เริ่มมองหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือสมุนไพรที่มาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค รักษาโรค รวมถึงดูแลภาวะทางอารมณ์มากขึ้น          ในวิกฤติดังกล่าว นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีองค์ความรู้ในการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพมาอย่างยาวนาน เนื่องจากเราเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เราส่งออกสารสกัดจากพืชมากที่สุดในอาเซียน การเติบโตของตลาดสมุนไพรจึงเป็นที่น่าสนใจ และเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม การได้เรียนรู้ความต้องการ พฤติกรรม และวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในประเทศจีน จึงมีความจำเป็น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าที่ตอบสนอง และสื่อสารได้ตรงกับความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด […]

The post โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 appeared first on NAC2021.

]]>

โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19

โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19

Chance of Thai Herbal Products in China Market : Post COVID-19

       จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2019 และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน เกิดภาวะความเครียด ความตื่นกลัวไปทั่วโลก ประชาชนจำนวนไม่น้อยหันมาให้ความสนใจในการดูแลตัวเอง รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เริ่มมองหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือสมุนไพรที่มาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค รักษาโรค รวมถึงดูแลภาวะทางอารมณ์มากขึ้น 

        ในวิกฤติดังกล่าว นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีองค์ความรู้ในการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพมาอย่างยาวนาน เนื่องจากเราเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เราส่งออกสารสกัดจากพืชมากที่สุดในอาเซียน การเติบโตของตลาดสมุนไพรจึงเป็นที่น่าสนใจ และเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม การได้เรียนรู้ความต้องการ พฤติกรรม และวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในประเทศจีน จึงมีความจำเป็น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าที่ตอบสนอง และสื่อสารได้ตรงกับความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด

      ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี จึงกำหนดจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19” (Chance of Thai Herbal Products in China Market : Post COVID-19) เพื่อเป็นการจุดประกาย เปิดมุมมอง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Data Analysis การใช้ประโยชน์จาก Big Data ในการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

13.30 – 14.30 น.

Big Data Analysis : Global Economic Landscape

โดย คุณพลเทพ มาศรังสรรค์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท Build a Box จำกัด

14.30 – 15.30 น.

Big Data Analysis : A Tool of New Business Era

โดย คุณธนิศร์ พิริยะโภคานนท์
Co-Founder บริษัท Backyard จำกัด

15.30 น.

จบการสัมมนา และ networking

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post โอกาสสมุนไพรไทยในตลาดจีน หลังวิกฤติ COVID-19 appeared first on NAC2021.

]]>
รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss26-chronic-kidney-disease/ Wed, 03 Mar 2021 11:46:41 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4387 รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี        “โรคไตเรื้อรัง” เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล อีกทั้งยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขของประเทศ มากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท ตามสถิติของกรมการแพทย์ ปี 2561 พบคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังสูงถึง 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านทางช่องท้อง) ประมาณ 100,000 คน ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 15 ถึง 20 ต่อปี         สวทช.ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เล็งเห็นถึงความสำคัญ และได้สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ทั้งในเชิงป้องกัน คัดกรอง และการรักษา เช่น การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองความแม่นยำสูงเพื่อประเมินสภาวะของไต  การพัฒนาเครื่องมือแพทย์อัตโนมัติที่ใช้ในกระบวนการรักษาบำบัดทดแทนไต เป็นต้น         การสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจทั้งภาคประชาชน สถาบันการศึกษา […]

The post รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี appeared first on NAC2021.

]]>

รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี

       “โรคไตเรื้อรัง” เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล อีกทั้งยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขของประเทศ มากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท ตามสถิติของกรมการแพทย์ ปี 2561 พบคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังสูงถึง 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านทางช่องท้อง) ประมาณ 100,000 คน ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 15 ถึง 20 ต่อปี

        สวทช.ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เล็งเห็นถึงความสำคัญ และได้สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ทั้งในเชิงป้องกัน คัดกรอง และการรักษา เช่น การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองความแม่นยำสูงเพื่อประเมินสภาวะของไต  การพัฒนาเครื่องมือแพทย์อัตโนมัติที่ใช้ในกระบวนการรักษาบำบัดทดแทนไต เป็นต้น

        การสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจทั้งภาคประชาชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมรับฟังข้อมูลที่บูรณาการความรู้ในหลายหลายสาขา เพื่อ “ป้องกัน” และ “รับมือ” ภาวะโรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามามีบทบาท พร้อมกับข้อมูลสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงการรักษา เพื่อนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง สมาชิกในครอบครัว ได้อย่างเหมาะสม

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ วันที่ 25 มีนาคม 2564

ดำเนินรายการโดย :
1) ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2) ดร.วงศกร พูนพิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่

13.30-13.40 น.

กล่าวต้อนรับ

โดย ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.40 – 14.25  น.

ความก้าวหน้าด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันโรคไตเรื้อรัง

โดย
1) ศ.นพ.ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์
หน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2) นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

14.25 – 14.30 น.

พัก

14.30 – 14.50 น.

การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง

โดย รศ.นพ.โอภาส ไตรตานนท์
อายุรศาสตร์โรคไต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.50-15.10 น.

เพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยเครื่องล้างไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติฝีมือคนไทย

โดย ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์

15.10-15.30 น.

สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพเมื่อเผชิญหน้ากับโรคไตเรื้อรัง

โดย นพ.จักรกริช โง้วศิริ
รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post รู้ไว้…. “ไต” แข็งแรง: “ป้องกัน” และ “รับมือ” โรคไตเรื้อรังอย่างถูกวิธี appeared first on NAC2021.

]]>
NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss20-narlabs-nstda-joint-research-program/ Wed, 03 Mar 2021 09:16:55 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4240 NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session)         NARLabs and NSTDA have close collaborations in Science, Technology and Innovation (STI). The forms of collaboration include network meeting, scientific workshop, joint research activity, and established overseas office. After the signing of NARLabs-NSTDA Memorandum of Understanding on […]

The post NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session) appeared first on NAC2021.

]]>

NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day

NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session)

        NARLabs and NSTDA have close collaborations in Science, Technology and Innovation (STI). The forms of collaboration include network meeting, scientific workshop, joint research activity, and established overseas office. After the signing of NARLabs-NSTDA Memorandum of Understanding on December 1st, 2018, both institutes jointly organized a workshop to develop proposals based on mutual research interest. To further strengthen collaboration, The NARLabs- NSTDA Joint Research Program was initiated first time in 2020 under Framework Agreement on November 1st, 2019.

        After achievement of call proposal from 2020, this year NARLabs and NSTDA has organized the NARLabs-NSTDA Joint research Program Info Day, not only to promote the upcoming program in 2021 but also to be the collaborative platform for both Taiwanese and Thai researchers for meeting and exchange their idea.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

25 March 2021

15:00 – 15:10

Opening Remarks
By
Dr.Lily Eurwilaichitr
Vice President, International Collaboration, NSTDA
Dr.Bou-Wen Lin
Vice President, NARLabs

15:10 – 15:20

Introduction to NARLabs-NSTDA JRP Overview
NARLabs Funding Mechanism (5 min)
By Dr.Ming-Chih Franz Cheng
Director General, International Affairs Office, NARLabs

NSDTA Funding Mechanism (5 min)
By Dr.Lily Eurwilaichitr
Vice President, International Collaboration, NSTDA

15:20 – 15:50

Presentation of Granted JRP of 2020 (10 min/team)
By
Dr.Noppadon Khitipet (NECTEC) – Dr.David Chang (NSPO)
Dr.Pakapreud Khumwan (BIOTEC) – Dr.Yi-Chen Huang (TIRI)
Dr.Wansika Kiatpathomchai (BIOTEC) – Dr.Yi-Chiuen Hu (TIRI)

15:50 – 16:20

Discussion and Matching

16:20 – 16:30

Concluding Remarks
By
Dr.Lily Eurwilaichitr
Vice President, International Collaboration, NSTDA
Dr.Bou-Wen Lin
Vice President, NARLabs

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post NARLabs-NSTDA Joint Research Program Info Day (closed session) appeared first on NAC2021.

]]>
20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss14_20years-thai-cern/ Wed, 03 Mar 2021 08:48:35 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4205 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 20 year anniversary of Thai-CERN partnership under the initiative of HRH princess Maha Chakri Sirindhorn        สืบเนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริว่าหากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น)  ซึ่งเป็นองค์การวิจัยด้านฟิสิกส์พลังงานสูงชั้นนำระดับโลก จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้จัดทำโครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ พ.ศ.2543 ในการดำเนินงาน ได้ผลักดันให้เกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ระหว่างหน่วยงานวิจัย/สถาบันการศึกษาของไทยกับเซิร์น จำนวน 6 ฉบับ ในปี 2561 ได้ยกระดับความสัมพันธ์จากระดับหน่วยงาน-หน่วยงาน […]

The post 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี appeared first on NAC2021.

]]>

20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น

20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

20 year anniversary of Thai-CERN partnership under the initiative of HRH princess Maha Chakri Sirindhorn

       สืบเนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริว่าหากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น)  ซึ่งเป็นองค์การวิจัยด้านฟิสิกส์พลังงานสูงชั้นนำระดับโลก จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้จัดทำโครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ พ.ศ.2543 ในการดำเนินงาน ได้ผลักดันให้เกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ระหว่างหน่วยงานวิจัย/สถาบันการศึกษาของไทยกับเซิร์น จำนวน 6 ฉบับ ในปี 2561 ได้ยกระดับความสัมพันธ์จากระดับหน่วยงาน-หน่วยงาน ไปเป็นระดับรัฐบาล โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ชื่อในขณะนั้น) เป็นผู้ลงนามในนามของรัฐบาลไทยร่วมกับผู้แทนของเซิร์น  ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประชาคมวิทยาศาสตร์ของโลก 

        อนึ่ง ในปี 2564 จะเป็นปีที่ฉลองความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริฯ ดำเนินมาครบ 20 ปี มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจัดกิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการพัฒนาบุคลากร และความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านฟิสิกส์

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 25 มีนาคม 2564

13.15-13.25 น.

เกริ่นนำเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือไทย-เซิร์น

13.25-14.10 น.

สวนาประเทศไทยได้อะไรจากความร่วมมือไทย-เซิร์น ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยและเซิร์นตามพระราชดำริฯ

โดย

  • รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล
    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ 
    ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    
      
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช 
    สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ริมแจ่ม 
    ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ดำเนินรายการ:
ดร.ชญานิษฐ์ อัศวตั้งตระกูลดี
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14.10-14.45 น.

เสวนาผู้แทนร่วมโครงการภาคฤดูร้อนเซิร์น โดยตัวแทนนักศึกษา ครู และนักเรียน

  • นางสาวสรัญญ์ภัทร์ ลิมปิจำนงค์
    อดีตนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดม ผู้ร่วมโครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษาดูงานที่เซิร์น
    ปัจจุบันเป็นนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • นายวิชญนันท์ วชิรภูษิตานันท์
    อดีตนักศึกษาผู้ร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น
    จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร.พิมพร ผาพรม
    อดีตครูผู้ร่วมโครงการครูฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น
    จากโรงเรียนท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์

ผู้ดำเนินรายการ:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    

14.45-15.00 น.

พัก จัดเตรียมสถานที่ เชื่อมต่อสัญญาณกับ CMS เกริ่นนำเกี่ยวกับ CMS Virtual Visit

15.00-16.00 น.

การเยี่ยมชมเสมือนจริง Compact Muon Solenoid detector (ถ่ายทอดสดจาก CERN)

CMS Virtual Visit 

ผู้ดำเนินรายการ:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://indico.cern.ch/event/987240

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี appeared first on NAC2021.

]]>
เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss29-drive-thailand-industries-by-circular-economy/ Wed, 03 Mar 2021 07:24:17 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3194 เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนDrive Thailand’s industries by circular economy            ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นคุณค่าและทำให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เป็นแนวทางสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนพ.ศ. 2564-2569 ที่มุ่งเน้น 2 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ 1) การลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3 จากปัจจุบัน2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า            สำหรับกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม ในการดำเนินการจัดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เข้าใจว่าขยะ/ของเสียคือ ทรัพยากรที่ยังสามารถหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ หากมีการแยก จัดเก็บ หมุนเวียน และใช้ประโยชน์ จะสามารถลดปัญหาขยะพลาสติกตกค้าง ขยะพลาสติกทะเล ขยะอินทรีย์ […]

The post เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) appeared first on NAC2021.

]]>

เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน
Drive Thailand’s industries by circular economy

           ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นคุณค่าและทำให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เป็นแนวทางสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนพ.ศ. 2564-2569 ที่มุ่งเน้น 2 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ

1) การลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3 จากปัจจุบัน
2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

           สำหรับกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม ในการดำเนินการจัดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เข้าใจว่าขยะ/ของเสียคือ ทรัพยากรที่ยังสามารถหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ หากมีการแยก จัดเก็บ หมุนเวียน และใช้ประโยชน์ จะสามารถลดปัญหาขยะพลาสติกตกค้าง ขยะพลาสติกทะเล ขยะอินทรีย์ (ขยะเกษตรและอาหาร) เศษวัสดุก่อสร้าง ขยะทั่วไป และของเสียอื่นๆ ที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม

           ขณะที่ผู้ผลิตร่วมกับนักวิชาการทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทฺธิภาพการใช้ทรัพยากรตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยนำขยะหรือของเสียกลับมาใช้ใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และสร้างตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ 

วันที่ 25 มีนาคม 2564

ดำเนินรายการโดย : ดร.สมชาย ฉินสกลธนากร
ฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.30 – 13.40 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม 
โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย/อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

13.40 – 14.10 น.

ทิศทางการบริหารจัดการขยะพลาสติกครบวงจร ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกลไก PPP
วิทยากร ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG  Model 
สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน

14.10 – 14.40 น.

เศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้าง
วิทยากร ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562 
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.40 – 15.10 น.

การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยเพื่อความยั่งยืน
วิทยากร ดร.วิกรม วัชระคุปต์  
ประธานคลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

15.10 – 15.40 น.

ธุรกิจยุคใหม่กับการลดขยะอาหารบนฐานเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน 
วิทยากร นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์
ประธานกรรมการฝ่ายกิจการ บรรษัท โลตัส ประเทศไทย

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) appeared first on NAC2021.

]]>
เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss23-bcg-energy-materials-chemicals-challenges-solutions/ Wed, 03 Mar 2021 03:23:01 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=8223 BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions         BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ […]

The post เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก appeared first on NAC2021.

]]>

BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions

เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก

BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions

        BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste)  ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)

        กลุ่มสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ:  มูลค่า GDP ของสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มีมูลค่ารวมกันประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท ในกลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากนโยบายภาครัฐ ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579

        ในส่วนของพลังงาน มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนานวัตกรรมการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถรองรับของเสียที่หลากหลายทั้งชนิดและคุณสมบัติ เช่น ขยะจากอุตสาหกรรม ครัวเรือน รวมถึงของเหลือทิ้งทางการเกษตร ของเสียเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปของแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ได้แก่ การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel, RDF) ก๊าซชีวภาพ ที่นำไปสู่การสร้าง Site Reference ของโรงไฟฟ้าชุมชน (Community-based Biomass Power Plant) ที่มีแหล่งพลังงานทดแทนในพื้นที่ (Distributed Energy Resources, DERs) เช่น พลังงานจาก แสงอาทิตย์ ชีวมวล (รวมขยะ) และก๊าซชีวภาพ ที่เพียงพอ โรงไฟฟ้าชุมชนสามารถสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าผ่านการเชื่อมต่อระบบด้วย Smart Microgrid และใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นแพลตฟอร์มในการบริหารจัดการ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบการจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เนื่องจากมีความสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทน

        ในส่วนของวัสดุและเคมีชีวภาพมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรและของเสียไปเป็นสารประกอบ หรือผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีมูลค่าสูง อาทิ พลาสติกชีวภาพ  ไฟเบอร์ เภสัชภัณฑ์ ด้วยแนวทางทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า GDP มากกว่า 2.6 แสนล้านบาท

     ประเทศไทยพร้อมกับการขับเคลื่อนแนวคิดนี้มากน้อยแค่ไหน, เรามีความเข้าใจเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ในกลุ่มธุรกิจพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพมากพอหรือยัง และอีกหลากหลายแง่มุมควรรู้

  • ภาพรวมและแนวทางการขับเคลื่อน BCG สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ
  • กลไกของ Carbon Pricing & Carbon Credits เป็นอย่างไร
  • แนวโน้มอุตสาหกรรม Biorefinery จะไปในทิศทางใด ประเทศไทยมีแต้มต่อหรือไม่ และผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างไร
  • แนวโน้มของโลกด้าน Clean Energy และโอกาสของประเทศไทย
  • บทบาทของชุมชน ใน Smart Grid และอนาคตของ Energy Trading
  • แนวทางการผลักดันและทางออกปัญหาของ Community Energy 

     เชิญหาคำตอบร่วมกันกับผู้รู้ที่มีประสบการณ์ในวงการพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในการทำงานจริงและในมุมของการบริหาร

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 25 มีนาคม 2564

 

13.00-14.30 น.

การเสวนาช่วงที่ 1

  • ภาพรวมของ BCG สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ

โดย คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช
ประธานคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ – บพข. และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

  • Carbon Pricing และ Carbon Credits

โดย ดร.คุรุจิต นาครทรรพ
ประธานกรรมการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), ผู้อำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน

  • Biorefinery

โดย คุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล
ประธานกรรมการ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน), อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยส์ จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

ดำเนินรายการโดย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

14.30-15.45น.

การเสวนาช่วงที่ 2

  • C-Energy (Clean & Circular)

โดย คุณอรรถ เหมวิจิตรพันธ์
ที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ อนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตรองประธานกรรมการ ดูแลงานด้านรัฐกิจสัมพันธ์และการพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด

  • Community Energy

โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร
หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงพลังงาน

  • Smart Grid & Energy Trading Platform

โดย คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และอดีตรองผู้ว่าการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

15.45-16.00 น.

สรุปปิดการเสวนา กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

โดย คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานกลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก appeared first on NAC2021.

]]>
Newton UK-Thailand Joint Research on BCG http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss60-newton-uk-thailand-joint-research-on-bcg/ Wed, 03 Mar 2021 02:58:05 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5429 Newton UK-Thailand Joint Research on BCG Newton UK-Thailand Joint Research on BCG         The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, […]

The post Newton UK-Thailand Joint Research on BCG appeared first on NAC2021.

]]>

Newton UK-Thailand Joint Research on BCG

Newton UK-Thailand Joint Research on BCG

        The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, research and translation. The UK and Thailand will jointly invest £46 million (THB 1,840 million) from 2014 until 2021.

        Over seven years of implementation, the UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund has contributed to improving Thailand’s research and innovation system, and consequently has made a material difference to the quality of people’s lives through funding providing fund to Ph.D. students, researchers and government officials.

        Because problems from resource scarcity (such as food, water and energy), environmental degradation, increasing vulnerability to the effects of climate change and risks from disease and natural hazards have still disproportionately impacted on Thailand, three joint research programmes on health and agritech which have co-funded by NSTDA are highlighted.

  • UK-Thailand Health Research to tackle the important infectious diseases focusing on vaccine development, drug resistance, detection, diagnostic kits, and outbreak prediction system.
  • Rice Research to build on the combined strengths of academic research groups within China, the Philippines, Thailand, Vietnam and the UK to work together on collaborative interdisciplinary research that underpin the long-term sustainable production of rice.
  • Swine and Poultry Research underpin the development of novel strategies to diagnose, prevent, manage or treat microbiological diseases of swine and poultry, to promote safe, healthy, resilient and sustainable food production systems in China and/or South East Asia and reduce the potential incidence of zoonotic disease.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

25 March 2021

13.30 – 13.35

Introduction to session
By Pijarana Samukkan
Research and Innovation Programme Manager, British Embassy

13.35 – 14.45

Opening Remarks &
Keynote on
UK Research and Innovation Collaboration in Thailand and beyond : Strategy, Activities and Achievements
By Ms. Nicola Willey
Regional Director South East Asia Science and Innovation,
British High Commission, Singapore

14.45-15.00

UK’s International Research Partnership: strategy and priorities by

  • Medical Research Council, UKRI
  • Biotechnology and Biological Sciences Research Council, UKRI

15.00-15.40

Presentation from grant-holders (10 min each)
UK-Thailand Joint Health Call focusing on infectious diseases

  • Analysis of flavivirus infection on the cellular lipidome – implications for virus particle production and replication.
  • Dissecting global protective immune response to dengue virus at a single-cell resolution
  • Deep Mutational Scanning of Dengue Viruses for Vaccine Development
  • Using whole genome sequencing to characterise drug resistant Mycobacterium tuberculosis in Thailand

15.40-16.30

Presentation from grant-holders (10 min each)
UK-China-Philippines-Thailand Swine and Poultry Research Initiative

  • China/UK/Thailand Program on Poultry Biosafety for Salmonella, E. coli and Campylobacter (CUT-SEC)
  • Development of live attenuated vaccine candidates for Newcastle Disease Virus
  • Rapid diagnostics and control strategies for enteric bacterial pathogens in backyard and commercial poultry production in Thailand and the Philippines
  • Broadly protective vaccines for porcine reproductive and respiratory syndrome and swine influenza virus infections
  • The development of a phage food additive with the aim to control Salmonella in swine and poultry

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Newton UK-Thailand Joint Research on BCG appeared first on NAC2021.

]]>