นวัตกรรมการตรวจวัดและพัฒนาระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อชุมชน – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Tue, 23 Mar 2021 09:06:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png นวัตกรรมการตรวจวัดและพัฒนาระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อชุมชน – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na32-nanosensor/ Fri, 12 Mar 2021 07:03:13 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12972 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย : เป็นนาโนเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สารปนเปื้อนที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ซึ่งได้แก่ เหล็ก และฟลูออไรด์ รวมทั้งยาปราบศัตรูพืช เช่น พาราควอท และไกลโฟเสท โดยนาโนเซ็นเชอร์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังสูง ซึ่งได้แก่ พื้นที่โดยรอบเขื่อนอุบลรัตน์ และลำน้ำพอง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อสร้างความตระหนัก และเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมคุณภาพน้ำให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อลดและชะลออัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี : เป็นการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์วัสดุนาโนชนิดพิเศษที่จับจำเพาะได้กับสารปนเปื้อนที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ และให้สัญญาณที่สามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาชุดตรวจอย่างง่ายจนเกิดเป็นนาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำแบบพกพา ที่มีความไว และความจำเพาะสูง ติดต่อสอบถาม ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: 02 564 7100 E-mail: bitt@nanotec.or.th เว็บไซต์: www.nanotec.or.th ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ: โปสเตอร์ประกอบนิทรรศการ การตรวจวัดคุณภาพน้ำในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงโรคไตเรื้อรังจากการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ

The post นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น appeared first on NAC2021.

]]>

นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย :

         เป็นนาโนเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สารปนเปื้อนที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ซึ่งได้แก่ เหล็ก และฟลูออไรด์ รวมทั้งยาปราบศัตรูพืช เช่น พาราควอท และไกลโฟเสท โดยนาโนเซ็นเชอร์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังสูง ซึ่งได้แก่ พื้นที่โดยรอบเขื่อนอุบลรัตน์ และลำน้ำพอง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อสร้างความตระหนัก และเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมคุณภาพน้ำให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อลดและชะลออัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี :

         เป็นการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์วัสดุนาโนชนิดพิเศษที่จับจำเพาะได้กับสารปนเปื้อนที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ และให้สัญญาณที่สามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาชุดตรวจอย่างง่ายจนเกิดเป็นนาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำแบบพกพา ที่มีความไว และความจำเพาะสูง

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na30-fluoride/ Fri, 12 Mar 2021 06:43:20 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12999 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ฟันตกกระ (dental fluorosis) เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ฟลูออไรด์ส่วนใหญ่มาจากน้ำที่ดื่ม ที่มา : McGrady et al. BMC Oral Health2012, 12:33 ความสำคัญของงานวิจัย : ฟลูออไรด์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแร่ธาตุในชั้นหิน ทำให้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีฟลูออไรด์ละลายอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มักมีค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์สูงกว่าแหล่งน้ำผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุและชั้นหินต่างๆ ฟลูออไรด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในการรักษาสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตามการได้รับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก่อให้โรคฟลูออโรซีส (Fluorosis) ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคดังกล่าวคือ การทำให้ฟันตกกระและทำลายโครงสร้างของฟัน ขณะที่การรับฟลูออไรด์ปริมาณมากเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้มีการสะสมของฟลูออไรด์ในกระดูก ทำให้ขามีลักษณะพิการที่เรียกว่า ขาโกง (Crippling skeletal fluorosis) ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ รวมทั้งส่งผลต่อลดต่อพัฒนาการทางสมองในเด็ก ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคชนิดอื่นๆได้ ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยค่าอนุโลมสูงสุด ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี: โครงการความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีและภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม […]

The post เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ

เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ฟันตกกระ (dental fluorosis) เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์
เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ฟลูออไรด์ส่วนใหญ่มาจากน้ำที่ดื่ม
ที่มา : McGrady et al. BMC Oral Health2012, 12:33

ความสำคัญของงานวิจัย :

       ฟลูออไรด์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแร่ธาตุในชั้นหิน ทำให้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีฟลูออไรด์ละลายอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มักมีค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์สูงกว่าแหล่งน้ำผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุและชั้นหินต่างๆ ฟลูออไรด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในการรักษาสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตามการได้รับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก่อให้โรคฟลูออโรซีส (Fluorosis) ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคดังกล่าวคือ การทำให้ฟันตกกระและทำลายโครงสร้างของฟัน ขณะที่การรับฟลูออไรด์ปริมาณมากเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้มีการสะสมของฟลูออไรด์ในกระดูก ทำให้ขามีลักษณะพิการที่เรียกว่า ขาโกง (Crippling skeletal fluorosis) ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ รวมทั้งส่งผลต่อลดต่อพัฒนาการทางสมองในเด็ก ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคชนิดอื่นๆได้ ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยค่าอนุโลมสูงสุด ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี:

         โครงการความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีและภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาฟลูออไรด์ในน้ำบาดาลสำหรับบริโภคอย่างยั่งยืน ดังนี้

       1.    พัฒนาวัสดุกรองจากถ่านกระดูกสัตว์ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง มีมูลค่าไม่สูง และชุมชนสามารถพัฒนาวัสดุกรองได้เอง เนื่องจากจากโครงสร้างทางเคมีของกระดูกที่ประกอบด้วยไฮดรอกซีอะพาไทต์ เมื่อผ่านกระบวนการเผาในสภาวะที่เหมาะสมจะได้วัสดุกรองที่สามารถกำจัดฟลูออไรด์ได้ดี

       2. ระบบผลิตน้ำประปาหมู่บ้านที่มีต้นทุนต่ำ บำรุงรักษาง่าย โดยออกแบบระบบกรองผสมผสานที่ประกอบด้วยถ่านกระดูกสัตว์และถ่านกัมมันต์เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลให้มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำบาดาลสำหรับบริโภค โดยระบบดังกล่าวนำไปประยุกต์ใช้ที่ หมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ระบบกรอง ติดตั้งที่ ต.สะเนียน อ.เมือง จ.น่าน
(เพิ่มเติมเข้าระบบประปาหมู่บ้าน)

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>
โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/10/na31-waterfliter/ Wed, 10 Mar 2021 04:25:08 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11717 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)        โครงการนี้เป็นความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน ตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า, ขาดการเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาด และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ชาวบ้านกังวลกับการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำผิวดินของชุมชน โดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 10 จังหวัดอุดรธานี, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และชุมชนบ้านเทพภูเงิน เป็นต้น ระบบผลิตน้ำดื่มสะอาด ที่ติดตั้งภายในบ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF กำลังผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง ณ โรงเรียนตำรวจตะเวณชายแดนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี        1. เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ในการช่วยบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ร่วมกับระบบกรองน้ำดื่มที่ใช้พลังงานต่ำ […]

The post โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>

โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ

โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

       โครงการนี้เป็นความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน ตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า, ขาดการเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาด และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ชาวบ้านกังวลกับการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำผิวดินของชุมชน โดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 10 จังหวัดอุดรธานี, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และชุมชนบ้านเทพภูเงิน เป็นต้น

ระบบผลิตน้ำดื่มสะอาด ที่ติดตั้งภายในบ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์

บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF กำลังผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง

ณ โรงเรียนตำรวจตะเวณชายแดนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

       1. เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ในการช่วยบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ร่วมกับระบบกรองน้ำดื่มที่ใช้พลังงานต่ำ โดยพัฒนาเป็นต้นแบบบ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำหรับน้ำบาดาลที่มีสารละลายในน้ำอยู่น้อย (total dissolved solid < 500 mg/L)  โดยการใช้เทคโนโลยีการกรองด้วยอัลตร้าฟิวเตรชั่น (ultrafiltration, UF)  ซึ่งเทคโนโลยี UF เป็นเทคโนโลยีการกรองด้วยเมมเบรนละเอียด มีความเหมาะสมในการนำมาผลิตน้ำดื่ม สามารถกรองเชื้อโรคในน้ำได้ดี และสามารถคงแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายมนุษย์ได้มากกว่าระบบรีเวิร์สออสโมซิส (RO)

       2. บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF สามารถผลิตน้ำดื่มสะอาดได้ตามมาตรฐานกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ ใช้พลังงานต่ำเพียง 1 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ต่อการผลิตน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (m3) ในขณะที่เทคโนโลยี RO เป็นเทคโนโลยีที่ต้องการพลังงานสูงถึง 5-6 กิโลวัตต์-ขั่วโมงต่อการผลิตน้ำดื่ม1 m3

       3. บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF เป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคด้วยพลังงานสะอาด ร่วมกับระบบการกรองที่มีประสิทธิภาพเพราะนอกจากจะช่วยผลิตน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย ยังช่วยยกระดับห่วงโซ่อุปทานด้านน้ำในพื้นที่ และลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก ทำให้สามารถเป็นกลไกหนึ่งในการขยายการเติบโตของเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจสีเขียว 

ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลก่อนและหลังกรอง ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี อ้างอิงตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย ปี พ.ศ. 2563

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

The post โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>