อาหาร – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Fri, 10 Dec 2021 13:55:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png อาหาร – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/12/10/zinc-ion-%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%86%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad-%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b7/ Fri, 10 Dec 2021 13:55:24 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=23196 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์ / ฆ่าเชื้อบนพื้นผิว สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นหลายเท่าตัว สามารถต่อยอดไอออนจากธาตุอาหารเสริมสู่ผลิตภัณฑ์ที่ฆ่าเชื้อในโรงเรือน ฟาร์มสัตว์ และสัตว์โดยเฉพาะต้านการอักเสบของเต้านมโค รวมไปถึงวัตถุดิบในอาหารสัตว์เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ ความสำคัญของงานวิจัย : เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มากกว่า 80% ในประเทศไทยเลือกใช้ยาปฏิชีวนะตลอดวงจรการเลี้ยงสัตว์ในการรักษาโรค ป้องกันโรค และเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้องและขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ยาปฏิชีวะตกค้างในเนื้อสัตว์และพบการดื้อยาหลายขนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล รวมถึงการระงับการนำเข้าหรือส่งคืนสินค้าที่มาจากประเทศไทย งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากไอออนประจุบวกของซิงค์ ซึ่งเป็นไอออนจากแร่ธาตุอาหารเสริมของ คน สัตว์ และพืช เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ Benzion “Benzion” สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD; Foot and Mouth Disease) ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมีอยู่หลายชนิดและหลายสายพันธุ์ อุตสาหกรรมฟาร์มโคนม กระบือ […]

The post Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>

Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์

Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV)
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

        Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์ / ฆ่าเชื้อบนพื้นผิว สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นหลายเท่าตัว สามารถต่อยอดไอออนจากธาตุอาหารเสริมสู่ผลิตภัณฑ์ที่ฆ่าเชื้อในโรงเรือน ฟาร์มสัตว์ และสัตว์โดยเฉพาะต้านการอักเสบของเต้านมโค รวมไปถึงวัตถุดิบในอาหารสัตว์เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ

ความสำคัญของงานวิจัย :

        เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มากกว่า 80% ในประเทศไทยเลือกใช้ยาปฏิชีวนะตลอดวงจรการเลี้ยงสัตว์ในการรักษาโรค ป้องกันโรค และเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้องและขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ยาปฏิชีวะตกค้างในเนื้อสัตว์และพบการดื้อยาหลายขนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล รวมถึงการระงับการนำเข้าหรือส่งคืนสินค้าที่มาจากประเทศไทย

        งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากไอออนประจุบวกของซิงค์ ซึ่งเป็นไอออนจากแร่ธาตุอาหารเสริมของ คน สัตว์ และพืช เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผลิตภัณฑ์ Benzion

      “Benzion” สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD; Foot and Mouth Disease) ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมีอยู่หลายชนิดและหลายสายพันธุ์ อุตสาหกรรมฟาร์มโคนม กระบือ แพะ แกะ และสุกร โดยสามารถฉีดพ่นบนพื้นผิวต่างๆหรือบนตัวสัตว์ได้โดยตรง สามารถฆ่าและป้องกันเชื้อแบคทีเรีย เช่น E. coli, S. aureus, Pseudomonan aeruginosa, Enterobacter aerogenes และ Salmonella Typhimurium และเชื้อไวรัสเป้าหมายที่เป็นไฮไลท์ ได้แก่ FMD, PED, และ African swine fever virus (ASFv) เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์สารคีเลตแบบน้ำและแบบผงแห้งทั้งหมด 10 ผลิตภัณฑ์

    “สารคีเลต” สารอินทรีย์ซึ่งสามารถจับกับแร่ธาตุประจุบวก ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง โคบอลต์ โครเมียม แมงกานีส โดยสารคีเลตจะล้อมแคตไอออนหรือประจุบวกของธาตุที่เป็นโลหะไว้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่า

    แร่ธาตุรอง (Trace mineral) ที่จําเป็นในรูปแบบของกรดอะมิโนคีเลตมีความเสถียรสูง ไม่เข้าทําปฏิกิริยากับสารอื่น ทำให้มีการใช้ประโยชน์ได้ของแร่ธาตุมากขึ้น จึงลดการขับทิ้งลงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มกระบวนการดูดซึมบริเวณผนังลําไส้ผ่านทางกลไกการดูดซึมกรดอะมิโน สามารถผสมเข้ากันกับอาหารได้ดี

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี :

        ผลิตภัณฑ์ Benzion ใช้ Ionic Technology และ Chelation Technology ซึ่งอาศัยหลักการแทนที่โมเลกุลของน้ำที่ล้อมรอบซิงค์ไอออนด้วยสารที่เรียกว่า chelating agent เพื่อทำให้ซิงค์ไอออนคงตัวในน้ำและในสภาวะแวดล้อมต่างๆ ป้องการจับของแอนไอออนและสารอินทรีย์ และป้องกันการตกตะกอน ทำให้ไอออนประจุบวกของซิงค์มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อก่อโรคได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเกลือซิงค์ซัลเฟต

การต่อยอดสู่สูตรน้ำยาเช็ดเต้านมวัวก่อนรีดนมและหลังรีดนมวัว ทดแทนการใช้คลอรีน
        โรคเต้านมอักเสบ (mastitis) ในโคนมนั้น เป็นปัญหาสำคัญในทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เนื่องจากคุณภาพของน้ำนมโคที่ได้นั้นลดต่ำลง ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อ Staphylococcus aureus และ Streptococcus agalactiae จากผลิตภัณฑ์ Benzion สามารถนำมาต่อยอดเป็นสูตรน้ำยาเช็ดเต้านมวัวก่อนรีดนมและหลังรีดนมวัว ทดแทนการใช้คลอรีน โดยใช้เทคโนโลยี nanoemulsion ร่วมด้วยเพื่อให้เกิดเป็นฟิล์มเคลือบบนผิวเต้านมวัว จากผลการทดสอบสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli, Pseudomonas aeruginosa, staphylococcus aureus และ Enterobacter aerogenes ได้มากกว่า 6 log reduction ในระยะเวลา 1-5 นาที

**อนุสิทธิบัตรเลขที่คำขอ 1903001426 องค์ประกอบสำหรับฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ 30 พฤษภาคม 2562

การสังเคราะห์สารคีเลตของกรดอะมิโนกับโลหะ

ตัวอย่างสารคีเลตของกรดอะมิโนกับโลหะ

        สารคีเลตที่พัฒนาขึ้นนั้น สามารถยืนยันการเกิดคีเลตของกรดอะมิโนกับโลหะได้ สารคีเลตมีความคงตัวในช่วง pH ที่กว้าง ละลายน้ำได้ดี ที่สำคัญยังสามารถพัฒนาสูตรเป็นแร่ธาตุคีเลตรวมที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุคีเลตของโลหะต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสัตว์แต่ละประเภทได้ เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก สัตว์ที่ให้น้ำนม และสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

        โดยผลการทดสอบประสิทธิภาพสารคีเลตเพื่อใช้เป็นแร่ธาตุอาหารเสริมในกุ้งขาวและปลานิลดำพบว่าสารคีเลตสามารถเพิ่มการดูดซึมในกุ้งขาวและปลานิลดำ และสามารถใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุของสารคีเลตได้ดี แม้มีปริมาณน้อยกว่าแร่ธาตุอนินทรีย์ถึง 2 เท่า

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post Zinc ion เพื่อฆ่าเชื้อ สารปนเปื้อนในอาหารสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>
THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/food18-thz-moisture-imaging/ Wed, 17 Mar 2021 02:15:23 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15181 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณณภัทร โคตะศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)         การพัฒนาต้นแบบนี้ ได้เริ่มจากการหาวัสดุที่ใช้ทำสายพานของระบบลำเลียง โดยทีมวิจัยได้เลือกใช้วัสดุจำพวกโพลีเมอร์ (Polymer) ที่สัญญาณเทระเฮิรตซ์สามารถทะลุผ่านไปยังตัวรับสัญญาณได้ จากนั้น ทีมวิจัยจึงใช้ตัวกำเนิดสัญญาณเทระเฮิรตซ์ (THz source) เพื่อสร้างสัญญาณเทระเฮิรตซ์แบบต่อเนื่อง (Continuous wave) ที่ความถี่ 0.1 THz สัญญาณเทระเฮิรตซ์ที่ถูกสร้างขึ้น จะถูกดูดกลืนบางส่วนโดยความชื้นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ และสัญญาณที่เหลืออยู่จะตกกระทบบนตัวรับสัญญาณเทระเฮิร์ตซ์ (THz detector) ขนาด 1 x 256 พิกเซล ที่ติดตั้งอยู่ใต้สายพานและทำหน้าที่วัดความเข้มของสัญญาณที่เหลืออยู่       จากนั้น ทีมวิจัยได้พัฒนาโปรแกรมสร้างภาพความชื้นจากค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้ โดยใช้หลักการที่ว่าความชื้นที่ต่างกันจะส่งผลให้สัญญาณเทระเฮิรตซ์ถูกดูดกลืนในปริมาณที่ต่างกัน ทำให้ค่าความเข้มที่สัญญาณที่อ่านได้ต่างกัน โดยภาพที่ได้จะเป็นภาพดิจิตอลที่เป็นแบบการผสมสีแบบเท็จ (False color composite) ที่แสดงผลตามค่าความชื้นของวัตถุ และเมื่อรวมข้อมูลเข้ากับผลจากการทดลองที่ทำการหาเส้นปรับเทียบ (Calibration curve) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้กับค่าความชื้นของวัตถุ ต้นแบบที่พัฒนานี้ก็จะสามารถแสดงค่าความชื้นในเชิงปริมาณได้ เช่น ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ความชื้น […]

The post THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร appeared first on NAC2021.

]]>

THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร

THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณณภัทร โคตะ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        การพัฒนาต้นแบบนี้ ได้เริ่มจากการหาวัสดุที่ใช้ทำสายพานของระบบลำเลียง โดยทีมวิจัยได้เลือกใช้วัสดุจำพวกโพลีเมอร์ (Polymer) ที่สัญญาณเทระเฮิรตซ์สามารถทะลุผ่านไปยังตัวรับสัญญาณได้ จากนั้น ทีมวิจัยจึงใช้ตัวกำเนิดสัญญาณเทระเฮิรตซ์ (THz source) เพื่อสร้างสัญญาณเทระเฮิรตซ์แบบต่อเนื่อง (Continuous wave) ที่ความถี่ 0.1 THz สัญญาณเทระเฮิรตซ์ที่ถูกสร้างขึ้น จะถูกดูดกลืนบางส่วนโดยความชื้นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ และสัญญาณที่เหลืออยู่จะตกกระทบบนตัวรับสัญญาณเทระเฮิร์ตซ์ (THz detector) ขนาด 1 x 256 พิกเซล ที่ติดตั้งอยู่ใต้สายพานและทำหน้าที่วัดความเข้มของสัญญาณที่เหลืออยู่

      จากนั้น ทีมวิจัยได้พัฒนาโปรแกรมสร้างภาพความชื้นจากค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้ โดยใช้หลักการที่ว่าความชื้นที่ต่างกันจะส่งผลให้สัญญาณเทระเฮิรตซ์ถูกดูดกลืนในปริมาณที่ต่างกัน ทำให้ค่าความเข้มที่สัญญาณที่อ่านได้ต่างกัน โดยภาพที่ได้จะเป็นภาพดิจิตอลที่เป็นแบบการผสมสีแบบเท็จ (False color composite) ที่แสดงผลตามค่าความชื้นของวัตถุ และเมื่อรวมข้อมูลเข้ากับผลจากการทดลองที่ทำการหาเส้นปรับเทียบ (Calibration curve) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้กับค่าความชื้นของวัตถุ ต้นแบบที่พัฒนานี้ก็จะสามารถแสดงค่าความชื้นในเชิงปริมาณได้ เช่น ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ความชื้น

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ระบบสายพานที่ออกแบบมานั้น จะสามารถสร้างภาพการกระจายตัวความชื้นในผลิตภัณฑ์ได้ แต่ภาพความชื้นดังกล่าวมีความละเอียดน้อย เนื่องจากข้อจำกัดในเชิงความถี่ของตัวกำเนิดสัญญาณ และขนาดพิกเซลของตัวรับสัญญาณที่ใหญ่ ทีมวิจัยจึงได้นำกล้องวีดีโอที่เก็บภาพสีของผลิตภัณฑ์ (RGB camera) มาติดตั้งเข้ากับระบบสายพาน เพื่อให้ระบบสามารถแสดงภาพการกระจายตัวความชื้นที่ซ้อนทับบนภาพสีของวัตถุจริงได้ และเนื่องจากตัวรับสัญญาณเทระเฮิรตซ์และกล้องวีดีโอให้ภาพในมุมมองที่แตกต่างกัน ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาวิธีการซ้อนทับภาพโดยอาศัยหลักการการประมวลผลภาพแบบดิจิตอล เพื่อทำให้ภาพความชื้นซ้อนทับบนภาพสีได้ในตำแหน่งและขนาดที่ถูกต้อง

สถานะผลงาน

        ทีมวิจัยกำลังดำเนินการพัฒนาต่อยอดต้นแบบให้หาค่าความชื้นในผลิตภัณฑ์มีความแม่นยำมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ร่วมกับ LiDAR sensor และ RGB video camera เพื่อหาขนาดละรูปร่างของผลิตภัณฑ์แบบอัตโนมัติและนำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยในการทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาค่าความชื้น

ติดต่อสอบถาม

นายปกรณ์ สุพานิช
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร appeared first on NAC2021.

]]>
บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติกันกลิ่น (Aroma barrier/Biodegradable packaging) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/food17-aroma-barrier-biodegradable-packaging/ Wed, 17 Mar 2021 01:52:01 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15178 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.นพดล เกิดดอนแฝก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ฟิล์มย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ขึ้นรูปจากเม็ดพลาสติก PLA (Polylactic acid) ซึ่งมีสมบัติด้านการสกัดกั้นกลิ่น (Aroma barrier) โดยทีมวิจัยได้ทำการปรับปรุงให้ฟิล์ม PLA สมบัติด้านความยืดหยุ่นดีขึ้นด้วยการใช้เม็ดพลาสติกเข้มข้น “Toughening agent for PLA” จากการเตรียมคอมพาวด์ด้วยเทคนิค Twin screw extrusion ทั้งนี้ ฟิล์มที่ได้ยังคงความใส (High clarity) นอกจากนี้ การออกแบบโครงสร้างชั้นฟิล์มยังช่วยให้ฟิล์ม PLA สามารถซีลปิดผนึกได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำลง เหมาะสำหรับประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ได้ทั้งในรูปแบบถุง (Bag) และฟิล์มปิดหน้าถาดเพื่อปิดผนึกร่วมกับถาด PLA (Lidding film for PLA tray) ยกตัวอย่างการใช้งาน เช่น ถุง/ฟิล์มปิดหน้าถาดสำหรับบรรจุอาหารทะเลแปรรูป ซึ่งโดยปกติแล้วอาหารทะเลแปรรูปมักจะมีกลิ่นที่รุนแรง หรือการบรรจุทุเรียนตัดแต่ง ในลักษณะรูปแบบถาดและฟิล์มปิดหน้าถาด ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อและนำสินค้าเดินทางไปในระบบขนส่งมวลชนได้สะดวก เหมาะกับการดำเนินชีวิตในเมืองใหญ่ พร้อมกับคำนึงถึงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สถานะผลงาน การพัฒนาต้นแบบเม็ดพลาสติกเข้มข้น “PLA toughening […]

The post บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติกันกลิ่น (Aroma barrier/Biodegradable packaging) appeared first on NAC2021.

]]>

บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติกันกลิ่น (Aroma barrier/Biodegradable packaging)

บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติกันกลิ่น (Aroma barrier/Biodegradable packaging)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.นพดล เกิดดอนแฝก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

       ฟิล์มย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ขึ้นรูปจากเม็ดพลาสติก PLA (Polylactic acid) ซึ่งมีสมบัติด้านการสกัดกั้นกลิ่น (Aroma barrier) โดยทีมวิจัยได้ทำการปรับปรุงให้ฟิล์ม PLA สมบัติด้านความยืดหยุ่นดีขึ้นด้วยการใช้เม็ดพลาสติกเข้มข้น “Toughening agent for PLA” จากการเตรียมคอมพาวด์ด้วยเทคนิค Twin screw extrusion ทั้งนี้ ฟิล์มที่ได้ยังคงความใส (High clarity)

       นอกจากนี้ การออกแบบโครงสร้างชั้นฟิล์มยังช่วยให้ฟิล์ม PLA สามารถซีลปิดผนึกได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำลง เหมาะสำหรับประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ได้ทั้งในรูปแบบถุง (Bag) และฟิล์มปิดหน้าถาดเพื่อปิดผนึกร่วมกับถาด PLA (Lidding film for PLA tray) ยกตัวอย่างการใช้งาน เช่น ถุง/ฟิล์มปิดหน้าถาดสำหรับบรรจุอาหารทะเลแปรรูป ซึ่งโดยปกติแล้วอาหารทะเลแปรรูปมักจะมีกลิ่นที่รุนแรง หรือการบรรจุทุเรียนตัดแต่ง ในลักษณะรูปแบบถาดและฟิล์มปิดหน้าถาด ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อและนำสินค้าเดินทางไปในระบบขนส่งมวลชนได้สะดวก เหมาะกับการดำเนินชีวิตในเมืองใหญ่ พร้อมกับคำนึงถึงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สถานะผลงาน

       การพัฒนาต้นแบบเม็ดพลาสติกเข้มข้น “PLA toughening agent” และฟิล์มโครงสร้างหลายชั้นระดับห้องปฏิบัติการ มีความต้องการร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อทดสอบการใช้งานฟิล์มกันกลิ่นระดับภาคสนาม (วิสาหกิจชุมชน/ซูเปอร์มาร์เก็ต) รวมถึงร่วมขยายระดับการผลิตระดับอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ผลิตฟิล์มต่อไป

ติดต่อสอบถาม

คุณชนิต วานิกานุกูล
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่มีสมบัติกันกลิ่น (Aroma barrier/Biodegradable packaging) appeared first on NAC2021.

]]>
เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/food05-ophiocordyceps-dipterigena/ Tue, 16 Mar 2021 02:49:39 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14476 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ไว ประทุมผายทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เกี่ยวกับเทคโนโลยี        เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์ที่ผลิตได้จากเชื้อรา Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้มีคุณสมบัติที่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ สามารถละลายน้ำและมีความหนืดสูง นำไปขึ้นรูปหรือเป็นส่วนผสมให้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีความคงตัวสูง เบต้ากลูแคนชนิดนี้ยังทนต่ออุณหภูมิสูงได้มากกว่า 200 องศาเซลเซียส โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอาหารคน อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้สามารถผลิตได้ด้วยอุตสาหกรรมการหมักใน ราคาต้นทุนต่ำ ผ่านการศึกษาการนำไปใช้ในสัตว์ การทดสอบความเป็นพิษ และคุณสมบัติอื่นๆ มาแล้ว จึงมีศักยภาพสูงมากที่จะนำเสนอเข้าไปในท้องตลาด โดยได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโมเลกุลสม่ำเสมอ ขนาดประมาณ 5-400 kDa โดยใช้รังสิแกมมาตัดลดขนาดโมเลกุล สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่าย จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มของความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ คือสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้ ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดแคปซูลเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมในคน   […]

The post เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ <i>Ophiocordyceps dipterigena</i> BCC 2073 appeared first on NAC2021.

]]>

เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073

เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ไว ประทุมผาย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

เกี่ยวกับเทคโนโลยี

       เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์ที่ผลิตได้จากเชื้อรา Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้มีคุณสมบัติที่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ สามารถละลายน้ำและมีความหนืดสูง นำไปขึ้นรูปหรือเป็นส่วนผสมให้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีความคงตัวสูง เบต้ากลูแคนชนิดนี้ยังทนต่ออุณหภูมิสูงได้มากกว่า 200 องศาเซลเซียส โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอาหารคน อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้สามารถผลิตได้ด้วยอุตสาหกรรมการหมักใน ราคาต้นทุนต่ำ ผ่านการศึกษาการนำไปใช้ในสัตว์ การทดสอบความเป็นพิษ และคุณสมบัติอื่นๆ มาแล้ว จึงมีศักยภาพสูงมากที่จะนำเสนอเข้าไปในท้องตลาด โดยได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโมเลกุลสม่ำเสมอ ขนาดประมาณ 5-400 kDa โดยใช้รังสิแกมมาตัดลดขนาดโมเลกุล สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่าย จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มของความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ คือสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้

ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดแคปซูลเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมในคน

        โครงการนี้มีลักษณะของความเป็นนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร แพทย์และเภสัช และเครื่องสำอาง โดยอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่ได้ทำการวิจัยและพัฒนามาแล้วให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโลเลกุลสม่ำเสมอขนาดประมาณ 5-400 kDaโดยใช้รังสิแกมมา สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่ายขึ้น

ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์

        โดยผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคนที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปใช้ในรูปแบบเดี่ยว ๆ เพื่อการเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทำให้สัตว์แข็งแรงขึ้นอันเนื่องมาจากร่างกายสามารถตอบสนองต่อการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อได้เร็วขึ้น มีโอกาสที่จะทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้นเพราะคุณสมบัติของการเป็นพรีไบโอติกหรือจะนำเบต้ากลูแคนไปใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่นใช้เป็นสารจับสารพิษเป็นต้น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเพื่อเป็นสารเพิ่มความหนืด เพิ่มความชุ่มชื่นผิว และกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวหนัง ในอุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์และเภสัชเพื่อเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในคน และกระตุ้นการหายเร็วของแผล เป็นต้น

เบต้า-กลูแคน โพลีแซคคาไรด์ (แบบน้ำ)

เบต้า-กลูแคน โอลิโกแซคคาไรด์ (แบบน้ำ)

เบต้า-กลูแคน โพลีแซคคาไรด์ (แบบผง)

เบต้า-กลูแคน โอลิโกแซคคาไรด์ (แบบผง)

รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เบตากลูแคน

ติดต่อสอบถาม

คุณตะวัน เต่าพาลี
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ <i>Ophiocordyceps dipterigena</i> BCC 2073 appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/food11-plant-based-chicken-meat/ Mon, 15 Mar 2021 10:16:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14440 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.กมลวรรณ อิศราคาร ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)         ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชถูกพัฒนาขึ้น โดยอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของอาหาร และคุณสมบัติของโปรตีน ประกอบกับการใช้สารที่ทำหน้าที่ยึดเกาะ และเส้นใยอาหารที่เหมาะสม ในการสร้างเนื้อสัมผัสให้คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถปั้นขึ้นรูปได้ง่ายภายหลังการปั่นผสม และสามารถนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารต่างๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็ง ทำให้ง่ายต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม และมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชสามารถนำไปปรุงสุกด้วยวิธีการชุบทอด ย่าง ผัด หรือ แกง ให้ลักษณะเนื้อสัมผัสที่คล้ายอาหารที่ปรุงจากเนื้อไก่ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชนี้ยังมีปริมาณโปรตีนประมาณ 10-16% มีปริมาณใยอาหารประมาณ 6-10% และมีปริมาณไขมันจากพืชที่ปราศจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลประมาณ 6-9% โดยปริมาณสารอาหาร และความนุ่มของผลิตภัณฑ์ฯ ขึ้นอยู่กับปริมาณส่วนผสมที่ใช้ในสูตรที่สามารถปรับได้ตามความต้องการ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชก่อนปรุง ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชหลังปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ สถานะผลงาน ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ขณะนี้มีบริษัทเอกชน 2 แห่ง สนใจต่อยอดผลงานจากต้นแบบนี้ และอยู่ในระหว่างพิจารณาข้อเสนอโครงการรับจ้างวิจัย ติดต่อสอบถาม คุณชนิต […]

The post ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat)

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.กมลวรรณ อิศราคาร
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

        ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชถูกพัฒนาขึ้น โดยอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของอาหาร และคุณสมบัติของโปรตีน ประกอบกับการใช้สารที่ทำหน้าที่ยึดเกาะ และเส้นใยอาหารที่เหมาะสม ในการสร้างเนื้อสัมผัสให้คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถปั้นขึ้นรูปได้ง่ายภายหลังการปั่นผสม และสามารถนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารต่างๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็ง ทำให้ง่ายต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม และมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชสามารถนำไปปรุงสุกด้วยวิธีการชุบทอด ย่าง ผัด หรือ แกง ให้ลักษณะเนื้อสัมผัสที่คล้ายอาหารที่ปรุงจากเนื้อไก่ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชนี้ยังมีปริมาณโปรตีนประมาณ 10-16% มีปริมาณใยอาหารประมาณ 6-10% และมีปริมาณไขมันจากพืชที่ปราศจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลประมาณ 6-9% โดยปริมาณสารอาหาร และความนุ่มของผลิตภัณฑ์ฯ ขึ้นอยู่กับปริมาณส่วนผสมที่ใช้ในสูตรที่สามารถปรับได้ตามความต้องการ

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชก่อนปรุง

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชหลังปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ

สถานะผลงาน

       ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ขณะนี้มีบริษัทเอกชน 2 แห่ง สนใจต่อยอดผลงานจากต้นแบบนี้ และอยู่ในระหว่างพิจารณาข้อเสนอโครงการรับจ้างวิจัย

ติดต่อสอบถาม

คุณชนิต วานิกานุกูล
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/food10-mycoprotein/ Mon, 15 Mar 2021 09:44:25 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14421 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร. กอบกุล เหล่าเท้งกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         โปรตีนทางเลือก หรือ มัยคอโปรตีน (Mycoprotein) คือโปรตีนที่ได้จากการหมักบ่มจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร และนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ทดแทนเนื้อสัตว์ มัยคอโปรตีนจึงไม่มีคอเลสเตอรอล และมีไขมันอิ่มตัวต่ำ ให้พลังงานแคลอรี่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมนูอาหารประเภทเดียวกันที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ การผลิตเนื้อเทียมจาก mycoprotein นั้นเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถทำผลิตภัณฑ์เนื้อขึ้นรูปได้เสมือนเรารับประมาณเนื้อเป็นชิ้นๆ ที่มีกล้ามเนื้อ (Whole Muscle Meat)         คณะผู้วิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการผลิตมวลเซลล์ของจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร ในระดับโรงงานต้นแบบ สำหรับใช้เป็นแหล่งมัยคอโปรตีนที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยในการบริโภค โดยได้มีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก หรือเนื้อเทียมประเภทมัยคอโปรตีน โดยประมาณการณ์ส่วนแบ่งตลาดที่ 5-10% ของตลาด plant-based meat ภายใน 3 ปี โดยประเมินมูลค่าการลงทุนผลิตและจำหน่ายไม่ต่ำกว่า […]

The post ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein

ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        โปรตีนทางเลือก หรือ มัยคอโปรตีน (Mycoprotein) คือโปรตีนที่ได้จากการหมักบ่มจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร และนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ทดแทนเนื้อสัตว์ มัยคอโปรตีนจึงไม่มีคอเลสเตอรอล และมีไขมันอิ่มตัวต่ำ ให้พลังงานแคลอรี่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมนูอาหารประเภทเดียวกันที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ การผลิตเนื้อเทียมจาก mycoprotein นั้นเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถทำผลิตภัณฑ์เนื้อขึ้นรูปได้เสมือนเรารับประมาณเนื้อเป็นชิ้นๆ ที่มีกล้ามเนื้อ (Whole Muscle Meat)

        คณะผู้วิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการผลิตมวลเซลล์ของจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร ในระดับโรงงานต้นแบบ สำหรับใช้เป็นแหล่งมัยคอโปรตีนที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยในการบริโภค โดยได้มีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก หรือเนื้อเทียมประเภทมัยคอโปรตีน โดยประมาณการณ์ส่วนแบ่งตลาดที่ 5-10% ของตลาด plant-based meat ภายใน 3 ปี โดยประเมินมูลค่าการลงทุนผลิตและจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท อันเป็นการสร้างนวัตกรรมสำหรับต่อยอดในธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพของประเทศ

มัยคอโปรตีนและต้นแบบผลิตภัณฑ์

ติดต่อสอบถาม

ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัฒกรรมอาหาร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/food04-biocalcium/ Mon, 15 Mar 2021 04:11:47 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14241 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อติกร ปัญญา ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ที่มาและความสำคัญ         ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียม (Biocalcium) และเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท (Eggshell membrane hydrolysate) ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้งจากกระบวนผลิตไข่เหลวพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งกระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพในการแยกเยื่อเปลือกไข่ออกจากแคลเซียมเปลือกไข่สูง โดยไบโอแคลเซียมที่ได้มีความบริสุทธิ์มากกว่า 98% ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น อันเนื่องมาจากมีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ที่ต่ำทำให้สามารถนำไปใช้ในอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้โดยตรงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อกลิ่นรสต่อผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้กระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นยังสามารถบดเปลือกไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตไบโอแคลเซียมที่มีขนาดได้ตั้งแต่ 5 ถึง 40 ไมโครเมตร เพื่อให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เช่นการใช้งานเป็นสารเจือปนอาหารเพื่อเพิ่มความเหนียวของผลิตภัณฑ์แป้ง เช่น เช่นแป้งชุบทอดและเส้นราเมง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์แคลเซียมผงหรือเม็ดเป็นต้น เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมที่ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง         ผลิตภัณฑ์เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท เป็นผลิตภัณฑ์ จากเปลือกไข่ จากการศึกษาพบว่า เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท ที่ได้มีขนาดโมเลกุลที่ขนาดเล็กระหว่างน้อยกว่า 3kDa ถึง 30kDa และสามารถละลายน้ำได้ดี […]

The post ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง

ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อติกร ปัญญา

ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ที่มาและความสำคัญ

        ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียม (Biocalcium) และเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท (Eggshell membrane hydrolysate) ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้งจากกระบวนผลิตไข่เหลวพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งกระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพในการแยกเยื่อเปลือกไข่ออกจากแคลเซียมเปลือกไข่สูง โดยไบโอแคลเซียมที่ได้มีความบริสุทธิ์มากกว่า 98% ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น อันเนื่องมาจากมีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ที่ต่ำทำให้สามารถนำไปใช้ในอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้โดยตรงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อกลิ่นรสต่อผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้กระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นยังสามารถบดเปลือกไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตไบโอแคลเซียมที่มีขนาดได้ตั้งแต่ 5 ถึง 40 ไมโครเมตร เพื่อให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เช่นการใช้งานเป็นสารเจือปนอาหารเพื่อเพิ่มความเหนียวของผลิตภัณฑ์แป้ง เช่น เช่นแป้งชุบทอดและเส้นราเมง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์แคลเซียมผงหรือเม็ดเป็นต้น เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมที่ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง

        ผลิตภัณฑ์เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท เป็นผลิตภัณฑ์ จากเปลือกไข่ จากการศึกษาพบว่า เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท ที่ได้มีขนาดโมเลกุลที่ขนาดเล็กระหว่างน้อยกว่า 3kDa ถึง 30kDa และสามารถละลายน้ำได้ดี ในสภาวะที่เป็นกรดและด่าง และนอกเหนือจากนี้ เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทที่ได้นั้น โดยธรรมชาติจะมีส่วนประกอบของโปรตีน โปรตีนคอลลาเจน และ polysaccharides ในกลุ่ม glycosaminoglycans (GAG) เช่น chondroitin sulfate, dermatan sulfate, hyaluronic acids เป็นต้น จากกระบวนการแยกและย่อยที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ eggshell membrane hydrolysate ประกอบด้วย peptides และสารในกลุ่ม GAG ค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้อุตสาหกรรมอาหารเสริมลดอาการปวดข้อกระดูก และและเครื่องสำอางเนื่องจากมีความสามารถในการกระตุ้นการสร้างการสร้างคอลลาเจนในเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ได้

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

สถานะผลงาน

        ปัจจุบันได้โรงงานต้นแบบเพื่อผลิตไบโอแคลเซียม (Biocalcium) และเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท (Eggshell membrane hydrolysate) เพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ ภายใต้มาตรฐาน GMP จากกระบวนการผลิตนี้จะสามารผลิต Biocalcium ประมาณ 1900 กก. ต่อวัน และ eggshell membrane hydrolysate ประมาณ 200 กก. ต่อวัน ปัจจุบันโรงงานกำลังยื่นขอ GMP และ ขอขึ้นทะเบียน อย. และสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายได้ในปี 2021

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง appeared first on NAC2021.

]]>
eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/food19-elysozyme-t2/ Fri, 12 Mar 2021 03:15:50 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13104 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) eLYSOZYME-T2/TPC ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ มีส่วนผสมของ eLYSOZYME-T2 ซึ่งเป็นไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมขึ้นทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ถูกออกแบบให้ออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์น้ำ เช่น Vibrio parahaemolyticus, Vibrio harveyi, Vibrio alginolyticus, Streptococcus agalactiae, Staphylococcus aureus และ Aeromonas hydrophila ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวและปลา ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้เลี้ยงกุ้งขาวในระดับภาคสนามแล้ว พบว่า มีผลช่วยลดปริมาณเชื้อ Vibrio ในลำไส้กุ้งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพิ่มภูมิคุ้มกันของกุ้งโดยการกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันและยีนที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระของกุ้ง  และลดอัตราการตายของกุ้งขาวจากการติดเชื้อ Vibrio ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ในบรรจุภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจริง สถานะผลงาน ผลงานร่วมวิจัยระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บริษัท โอโว่ […]

The post eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>

eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์

eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        eLYSOZYME-T2/TPC ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ มีส่วนผสมของ eLYSOZYME-T2 ซึ่งเป็นไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมขึ้นทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ถูกออกแบบให้ออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์น้ำ เช่น Vibrio parahaemolyticus, Vibrio harveyi, Vibrio alginolyticus, Streptococcus agalactiae, Staphylococcus aureus และ Aeromonas hydrophila ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวและปลา ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้เลี้ยงกุ้งขาวในระดับภาคสนามแล้ว พบว่า มีผลช่วยลดปริมาณเชื้อ Vibrio ในลำไส้กุ้งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพิ่มภูมิคุ้มกันของกุ้งโดยการกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันและยีนที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระของกุ้ง  และลดอัตราการตายของกุ้งขาวจากการติดเชื้อ Vibrio ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ในบรรจุภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจริง

สถานะผลงาน

        ผลงานร่วมวิจัยระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และบริษัท ดีเอ็มเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตภัณฑ์ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมปศุสัตว์แล้ว สำหรับจำหน่ายแบบ B2B ให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน “eLysozyme” สารยับยั้งแบคทีเรียจากธรรมชาติ

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/food02-premix-probiotic/ Mon, 08 Mar 2021 04:04:05 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11572 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.กอบกุล เหล่าเท้งกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)           คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร และทีมวิจัยความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย ศช. ร่วมกับภาคเอกชน ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์โพรไบโอติก และพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สารเสริมชีวนะยีสต์โพรไบโอติกที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการต้นน้ำ (การผลิตเซลล์) และกระบวนการปลายน้ำ (การเก็บเกี่ยวและการทำแห้งเซลล์ยีสต์ และพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์) ทำให้ได้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานการผลิตที่ดี และสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกที่มีสเปคตามข้อกำหนดของกองควบคุมอาหารและยา กรมปศุสัตว์ และจดทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ SYMPRO PLUS, SYMPRO STAR และ SYNMUNE GUARD ผลทดสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในระดับภาคสนาม พบว่าการเสริมผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในอาหารไก่เนื้อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ส่งผลให้ต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตยีสต์โพรไบโอติกให้กับบริษัทเพื่อการผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์           ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ยื่นจดความลับทางการค้าจำนวนทั้งสิ้น 5 […]

The post ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์

ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร และทีมวิจัยความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย ศช. ร่วมกับภาคเอกชน ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์โพรไบโอติก และพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สารเสริมชีวนะยีสต์โพรไบโอติกที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการต้นน้ำ (การผลิตเซลล์) และกระบวนการปลายน้ำ (การเก็บเกี่ยวและการทำแห้งเซลล์ยีสต์ และพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์) ทำให้ได้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานการผลิตที่ดี และสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกที่มีสเปคตามข้อกำหนดของกองควบคุมอาหารและยา กรมปศุสัตว์ และจดทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ SYMPRO PLUS, SYMPRO STAR และ SYNMUNE GUARD ผลทดสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในระดับภาคสนาม พบว่าการเสริมผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในอาหารไก่เนื้อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ส่งผลให้ต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตยีสต์โพรไบโอติกให้กับบริษัทเพื่อการผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ 

         ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ยื่นจดความลับทางการค้าจำนวนทั้งสิ้น 5 เรื่อง ก่อให้เกิดการลงทุนเครื่องจักรและงานวิจัยในปี 2564 รวม 14.4 ล้านบาท และเกิดผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านการสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การจ้างงาน ลดการนำเข้าจุลินทรีย์โพรไบโอติกจากต่างประเทศ และลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟารม์ปศุสัตว์ รวม 4.26 ล้านบาทต่อปี

สถานะผลงาน

ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชนเรียบร้อยแล้ว

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ยีสต์โพรไบโอติก ทางเลือกใหม่สำหรับสุขภาพ

ติดต่อสอบถาม

ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>
eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/food03-elys-t1/ Mon, 08 Mar 2021 03:59:11 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11571 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) มารู้จักกับ eLYS-T1 eLYS-T1 ไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเน่าเสียและแบคทีเรียก่อโรคที่มักพบปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Salmonella Typhimurium, และ Listeria monocytogenes ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้ยืดอายุการเก็บรักษาไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์แล้ว พบว่า มีประสิทธิภาพในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ Total plate count E. coli, coliform, S. aureus, Yeast & Mold และ lactic acid bacteria ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานนานถึง 8 สัปดาห์ในระหว่างการเก็บรักษาแบบแช่เย็น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้นอย่างน้อย 4 สัปดาห์ eLYS-T1 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุเจือปนอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว  ภายใต้ชื่อ eLYS-T1/ESL […]

The post eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร appeared first on NAC2021.

]]>

eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร

eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

มารู้จักกับ eLYS-T1

       eLYS-T1 ไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเน่าเสียและแบคทีเรียก่อโรคที่มักพบปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Salmonella Typhimurium, และ Listeria monocytogenes ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้ยืดอายุการเก็บรักษาไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์แล้ว พบว่า มีประสิทธิภาพในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ Total plate count E. coli, coliform, S. aureus, Yeast & Mold และ lactic acid bacteria ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานนานถึง 8 สัปดาห์ในระหว่างการเก็บรักษาแบบแช่เย็น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้นอย่างน้อย 4 สัปดาห์ eLYS-T1 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุเจือปนอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว  ภายใต้ชื่อ eLYS-T1/ESL

ผลิตภัณฑ์ eLYS-T1/ESL ในบรรจุภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจริง

สถานะผลงาน

     ผลงานร่วมวิจัยระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และบริษัท ดีเอ็มเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตภัณฑ์ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว สำหรับจำหน่ายแบบ B2B ให้กับโรงงานผลิตอาหาร 

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร appeared first on NAC2021.

]]>
M-Pro Jelly Drink http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/food12-m-pro-jelly-drink/ Sun, 07 Mar 2021 05:29:34 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10444 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT) วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT) ดร.ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)         M-Pro Jelly Drink เป็นเครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจลจากโปรตีนถั่วเขียว ที่มีปริมาณโปรตีนสูงมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) หรือร้อยละ 6 โดยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ และมีการเสริมแคลเซียมกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกระบวนการผลิตที่เหมาะสม เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดโครงสร้าง และขนาดอนุภาคของโปรตีนตามต้องการ ร่วมกับการใช้ไฮโดรคอลลอยด์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการพยุงโครงสร้าง และช่วยในการกระจายตัวของโปรตีนให้คงสภาพได้ดีภายหลังการให้ความร้อนระดับพาสเจอไรซ์ ทำให้ได้เครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจล จากโปรตีนพืชที่มีลักษณะปรากฏเป็นเนื้อเดียวกัน และมีเนื้อสัมผัสที่เทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดเจลทางการค้าที่ไม่มีโปรตีน หรือมีโปรตีนในปริมาณที่ต่ำกว่า   สถานะผลงาน       ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ได้ยื่นขออนุสิทธิบัตร […]

The post M-Pro Jelly Drink appeared first on NAC2021.

]]>

M-Pro Jelly Drink

M-Pro Jelly Drink

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)

วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)

ดร.ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิ
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

        M-Pro Jelly Drink เป็นเครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจลจากโปรตีนถั่วเขียว ที่มีปริมาณโปรตีนสูงมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) หรือร้อยละ 6 โดยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ และมีการเสริมแคลเซียมกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกระบวนการผลิตที่เหมาะสม เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดโครงสร้าง และขนาดอนุภาคของโปรตีนตามต้องการ ร่วมกับการใช้ไฮโดรคอลลอยด์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการพยุงโครงสร้าง และช่วยในการกระจายตัวของโปรตีนให้คงสภาพได้ดีภายหลังการให้ความร้อนระดับพาสเจอไรซ์ ทำให้ได้เครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจล จากโปรตีนพืชที่มีลักษณะปรากฏเป็นเนื้อเดียวกัน และมีเนื้อสัมผัสที่เทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดเจลทางการค้าที่ไม่มีโปรตีน หรือมีโปรตีนในปริมาณที่ต่ำกว่า

  สถานะผลงาน

      ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ได้ยื่นขออนุสิทธิบัตร องค์ประกอบของเครื่องดื่มโปรตีนชนิดเจลจากโปรตีนพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง (ยื่นคำขอ พฤษภาคม 2563) และขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาการยืดอายุการเก็บรักษาด้วยการฆ่าเชื้อระดับสเตอริไลซ์อยู่ระหว่างหาผู้ประกอบการเพื่อรับถ่ายทอด หรือทำร่วมวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอด

ติดต่อสอบถาม

คุณชนิต วานิกานุกูล
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post M-Pro Jelly Drink appeared first on NAC2021.

]]>
Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการอาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/food16-data-analytics-platform/ Sun, 07 Mar 2021 05:24:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10462 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ (HBA)ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)           • การเชื่อมโยงข้อมูล KidDiary และ Thai School Lunch เพื่อการวิเคราะห์สุขภาวะเด็ก โดยบูรณาการข้อมูลจากหลายมิติทั้งด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และโภชนาการ นำเข้าสู่ Data Analytics Platform เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนหรือนโยบายในการแก้ปัญหาและส่งเสริมการจัดการด้านอาหารและสุขภาวะของเด็กนักเรียนในประเทศ           • ต่อยอด Thai School Lunch เพื่อการประเมินคุณค่าโภชนาการในอาหารเช้า โดยเริ่มใช้งานแล้วในระบบ Thai School Lunch for BMA สำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร • เพิ่มวัตถุดิบใหม่ในระบบ Thai School Recipes รวมถึงวัตถุดิบท้องถิ่นหรือวัตถุดิบเฉพาะพื้นที่ เพื่อให้สามารถสร้างตำรับอาหารได้หลากหลายและครอบคลุมอาหารทั่วทุกภูมิภาค • การคำนวณคุณค่าโภชนาการอาหารสำหรับทุกช่วงวัย สามารถนำไปต่อยอดกับระบบอาหารเพื่อผู้สูงอายุ (ElderMeal) […]

The post Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ<br>อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน appeared first on NAC2021.

]]>

Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ
อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน

Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ
อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์
ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ (HBA)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

          • การเชื่อมโยงข้อมูล KidDiary และ Thai School Lunch เพื่อการวิเคราะห์สุขภาวะเด็ก โดยบูรณาการข้อมูลจากหลายมิติทั้งด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และโภชนาการ นำเข้าสู่ Data Analytics Platform เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนหรือนโยบายในการแก้ปัญหาและส่งเสริมการจัดการด้านอาหารและสุขภาวะของเด็กนักเรียนในประเทศ

          • ต่อยอด Thai School Lunch เพื่อการประเมินคุณค่าโภชนาการในอาหารเช้า โดยเริ่มใช้งานแล้วในระบบ Thai School Lunch for BMA สำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

          • เพิ่มวัตถุดิบใหม่ในระบบ Thai School Recipes รวมถึงวัตถุดิบท้องถิ่นหรือวัตถุดิบเฉพาะพื้นที่ เพื่อให้สามารถสร้างตำรับอาหารได้หลากหลายและครอบคลุมอาหารทั่วทุกภูมิภาค 

          • การคำนวณคุณค่าโภชนาการอาหารสำหรับทุกช่วงวัย สามารถนำไปต่อยอดกับระบบอาหารเพื่อผู้สูงอายุ (ElderMeal) และ ระบบอาหารสำหรับเด็กเล็ก

          • พัฒนาการเชื่อมต่อกับระบบ Thai School Lunch for Catering เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารในโรงเรียนสามารถบริหารจัดการต้นทุนในการผลิตควบคู่ไปกับการจัดการรายการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและเหมาะสม

          • เชื่อมโยงข้อมูลความต้องการวัตถุดิบกับระบบ Farm to School เพื่อรองรับการบริหารจัดการวัตถุดิบและส่งเสริมการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สนับสนุนการผลิตและป้อนวัตถุดิบที่ปลอดภัยกลับสู่โรงเรียนได้อย่างยั่งยืน

          • พัฒนาการเชื่อมต่อเครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงแบบอัตโนมัติ (KidSize) สามารถช่วยให้การเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของเด็กนักเรียนเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ โดยมี AI ตรวจสอบท่ายืนที่ถูกต้อง ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเข้าสู่ Platform โดยอัตโนมัติและแปลผลผ่านระบบ KidDiary ได้ทันที

แผนภาพ Platform Big Data

สถานะผลงาน

         ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนแล้ว

         1. Thai School Lunch for Catering 

         2. KidSize 

ติดต่อสอบถาม

คุณจันทิมา จันทร์ศักดิ์ศรี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ<br>อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/food15-anti-cough-takabb/ Sun, 07 Mar 2021 05:06:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10440 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร. กอบกุล เหล่าเท้งกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)           คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร กับบริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จำกัด มีความร่วมมือในการพัฒนาและนวัตกรรมกระบวนการผลิตยาแก้ไอแผนโบราณ โดยประยุกต์ใช้ความองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีชีวกระบวนการและวิศวกรรมอุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การออกฤทธิ์ต้านจุลชีพ พร้อมผนวกกับภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของบริษัท ฯ ที่สะสมมาอย่างยาวนานกว่า 80 ปี ทำให้สามารถพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แก้ไอในรูปแบบสเปรย์น้ำ ซึ่งคงสรรพคุณของตัวยาสำคัญ รสชาติ และการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปากเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์แก้ไอแบบลูกกลอน ผลิตภัณฑ์ที่นวัตกรรมขึ้นนี้ รองรับกลุ่มผู้บริโภคต่างๆในปัจจุบัน โดยมีแผนการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจยาแผนโบราณและสมุนไพรของประเทศ  ภาพผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ สถานะผลงาน          ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทฯ แล้ว ติดต่อสอบถาม คุณศุกร์นิมิต สุจิราศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ฺBIOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: […]

The post ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ

ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร กับบริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จำกัด มีความร่วมมือในการพัฒนาและนวัตกรรมกระบวนการผลิตยาแก้ไอแผนโบราณ โดยประยุกต์ใช้ความองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีชีวกระบวนการและวิศวกรรมอุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การออกฤทธิ์ต้านจุลชีพ พร้อมผนวกกับภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของบริษัท ฯ ที่สะสมมาอย่างยาวนานกว่า 80 ปี ทำให้สามารถพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แก้ไอในรูปแบบสเปรย์น้ำ ซึ่งคงสรรพคุณของตัวยาสำคัญ รสชาติ และการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปากเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์แก้ไอแบบลูกกลอน ผลิตภัณฑ์ที่นวัตกรรมขึ้นนี้ รองรับกลุ่มผู้บริโภคต่างๆในปัจจุบัน โดยมีแผนการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจยาแผนโบราณและสมุนไพรของประเทศ 

ภาพผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ

สถานะผลงาน

         ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทฯ แล้ว

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ฺBIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ appeared first on NAC2021.

]]>
กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/food07-pineapple-vinegar/ Fri, 05 Mar 2021 10:10:58 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10337 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณยุทธนา กิ่งชา ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สรุปเทคโนโลยี/กระบวนการที่พัฒนา ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรดในขั้นตอนเดียวแบบ slow process ที่อาศัยกิจกรรมของต้นเชื้อจุลินทรีย์สูตรผสมซึ่งสามารถผลิตเอทานอลไปพร้อมๆกับการสร้างกรดอะซิติค เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักต้นทุนต่ำที่สามารถหมักน้ำสับปะรดในถังหมักพลาสติกขนาด 100 ลิตร (food-grade) ให้ได้ผลผลิตน้ำส้มสายชูหมักที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานของ อย. ได้ภายในระยะเวลา 115 วัน เป็นกระบวนการที่มีความยืดหยุ่นในการรองรับการผลิตน้ำส้มสายชูหมักในปริมาณต่างๆ เพียงแค่ทำการปรับเพิ่มหรือลดจำนวนของถังหมักและปรับระบบการให้อากาศ รวมทั้งจัดการรอบของการหมักให้สำพันธ์กับปริมาณการผลิตที่ต้องการได้ ติดต่อสอบถาม คุณศุกร์นิมิต สุจิรา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: 02-5646700 ต่อ 3308 E-mail: suknimit.suj@biotec.or.th เว็บไซต์: www.biotec.or.th ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ: เอกสารเผยแพร่

The post กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด appeared first on NAC2021.

]]>

กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด

กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณยุทธนา กิ่งชา
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

สรุปเทคโนโลยี/กระบวนการที่พัฒนา

ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด

  • เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรดในขั้นตอนเดียวแบบ slow process ที่อาศัยกิจกรรมของต้นเชื้อจุลินทรีย์สูตรผสมซึ่งสามารถผลิตเอทานอลไปพร้อมๆกับการสร้างกรดอะซิติค
  • เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักต้นทุนต่ำที่สามารถหมักน้ำสับปะรดในถังหมักพลาสติกขนาด 100 ลิตร (food-grade) ให้ได้ผลผลิตน้ำส้มสายชูหมักที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานของ อย. ได้ภายในระยะเวลา 115 วัน 
  • เป็นกระบวนการที่มีความยืดหยุ่นในการรองรับการผลิตน้ำส้มสายชูหมักในปริมาณต่างๆ เพียงแค่ทำการปรับเพิ่มหรือลดจำนวนของถังหมักและปรับระบบการให้อากาศ รวมทั้งจัดการรอบของการหมักให้สำพันธ์กับปริมาณการผลิตที่ต้องการได้

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/food06-nazxon/ Fri, 05 Mar 2021 08:19:19 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10076 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร. วรายุทธ สะโจมแสง ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)         ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มากกว่า 80% ในไทย เลือกใช้ยาปฏิชีวนะตลอดวงจรการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่การรักษาโรค ป้องกันโรค และเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ ยังพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง และขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ รวมถึงพบการดื้อยาหลายขนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งมีการออกกฎหมายห้ามใช้หรือการควบคุมที่เข้มงวดสำหรับยาปฏิชีวนะ รวมถึงการระงับการนำเข้าและส่งคืนสินค้าที่มาจากประเทศไทยและมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ดังนั้น นาโนเทคโนโลยีจึงเป็นที่น่าสนใจในการนำมาใช้จัดการสุขาภิบาลในโรงเรือนสัตว์ โภชนาการอาหารและน้ำดื่ม เพื่อทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะ และยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์รองรับแผนการยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะได้ในอนาคต ส่งเสริมให้สินค้าอาหารของไทยมีความปลอดภัย         สวทช. จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติด้วยไอออนประจุบวกของซิงค์เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา โดยไอออนประจุบวกของซิงค์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ ประจุบวกของซิงค์ไอออนมีความว่องไว สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นหลายเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับเกลืออนินทรีย์ซิงค์ทำให้ใช้ความเข้มข้นน้อย การใช้ซิงค์ไอออนฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อทดแทนการใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลและซัลโมเนลลา รวมถึงลดปริมาณแบคทีเรียที่มีชีวิต […]

The post ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์<br>ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon) appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์
ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon)

ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์
ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร. วรายุทธ สะโจมแสง
ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV)
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

        ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มากกว่า 80% ในไทย เลือกใช้ยาปฏิชีวนะตลอดวงจรการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่การรักษาโรค ป้องกันโรค และเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ ยังพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง และขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ รวมถึงพบการดื้อยาหลายขนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งมีการออกกฎหมายห้ามใช้หรือการควบคุมที่เข้มงวดสำหรับยาปฏิชีวนะ รวมถึงการระงับการนำเข้าและส่งคืนสินค้าที่มาจากประเทศไทยและมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ดังนั้น นาโนเทคโนโลยีจึงเป็นที่น่าสนใจในการนำมาใช้จัดการสุขาภิบาลในโรงเรือนสัตว์ โภชนาการอาหารและน้ำดื่ม เพื่อทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะ และยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์รองรับแผนการยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะได้ในอนาคต ส่งเสริมให้สินค้าอาหารของไทยมีความปลอดภัย

        สวทช. จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติด้วยไอออนประจุบวกของซิงค์เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา โดยไอออนประจุบวกของซิงค์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ ประจุบวกของซิงค์ไอออนมีความว่องไว สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นหลายเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับเกลืออนินทรีย์ซิงค์ทำให้ใช้ความเข้มข้นน้อย การใช้ซิงค์ไอออนฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อทดแทนการใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลและซัลโมเนลลา รวมถึงลดปริมาณแบคทีเรียที่มีชีวิต นอกจากนี้ สามารถต่อยอดไอออนจากธาตุอาหารเสริมสู่ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในโรงเรือน ฟาร์มสัตว์ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคในสัตว์ การใช้งานสามารถเจือจางผลิตภัณฑ์ด้วยน้ำ 1:10-20 ในปริมาตร 1 ลิตรต่อวัตถุดิบอาหารสัตว์

        นวัตกรรมซิงค์ไอออนสามารถแก้ปัญหาเชื้อจุลินทรีย์และไวรัส ที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ได้ สามารถนำไปฆ่าและป้องกันเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรอัฟริกัน (African swine fever virus, ASFV) ได้ ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวม 74,600 ล้านบาทต่อปี หากไม่มีการป้องกันเชื้อดังกล่าว จะทำให้สุกรเสียชีวิตมากกว่า 50% และยังสร้างผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อย่างมหาศาล

จุดเด่น

  • ใช้ทดแทนสารฟอร์มาลินหรือฟอร์มาลดีไฮด์
  • ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
  • ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อสูง >6 log10 reduction
  • ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อภายใน 5-30 นาที
  • ออกฤทธิ์การฆ่าเชื้อได้ยาวนานไม่สลายตัว
  • ไม่ส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆที่อยู่ในวัตถุดิบอาหารสัตว์
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นเหม็นฉุน
  • ปลอดภัยต่อผู้ใช้และสัตว์
  • ต้นทุนต่ำ

สถานะผลงาน

  • นวัตกรรมนี้ได้จดอนุสิทธิบัตรและได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัทเพื่อผลิตและจำหน่ายซิงค์ไอออนผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติในฟาร์มปศุสัตว์ ในชื่อของ “Naxzon”
  • ผู้รับการถ่ายทอด: บริษัทยูนิซิล กรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562
  • ทรัพย์สินทางปัญญา: อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903001426 องค์ประกอบสำหรับเตรียมสารฆ่าจุลินทรีย์ก่อโรควันที่ยื่นคำขอ 31 พฤษภาคม 2562

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์<br>ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon) appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/food14-food-machine/ Thu, 04 Mar 2021 08:17:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9036 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อัมพร โพธิ์ใยศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)         ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม(DECC)ได้ดำเนินโครงการด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการพัฒนาเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร (Food Machine) มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การวิเคราะห์ การกระจายตัวของอณุหภูมิ และ Ventilation ภายในตู้ อบลมร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิต ลดระยะเวลาในการทำอุณหภูมิและลดปริมาณการใช้พลังงาน การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต          โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น, การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องตัดแต่งข้าวโพดอ่อน เพื่อให้ได้ความยาวตามขนาดที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น   การพัฒนาเครื่องหั่นมะม่วงอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ขนาดของชิ้นมะม่วงที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน […]

The post นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine) appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine)

นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อัมพร โพธิ์ใย
ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)

        ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม(DECC)ได้ดำเนินโครงการด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการพัฒนาเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร (Food Machine) มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การวิเคราะห์ การกระจายตัวของอณุหภูมิ และ Ventilation ภายในตู้ อบลมร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิต ลดระยะเวลาในการทำอุณหภูมิและลดปริมาณการใช้พลังงาน

การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น

เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น

การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า

เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต

         โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น, การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องตัดแต่งข้าวโพดอ่อน เพื่อให้ได้ความยาวตามขนาดที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น   การพัฒนาเครื่องหั่นมะม่วงอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ขนาดของชิ้นมะม่วงที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น

การพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบสำหรับหั่นชิ้นปลาอินทรีย์

เพื่อให้ได้ขนาดและน้ำหนักของชิ้นปลาตามมาตรฐาน เพื่อลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา เพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น

การพัฒนาเครื่องตัดแต่งข้าวโพดอ่อน

เพื่อให้ได้ขนาดของชิ้นมะม่วงที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น

          จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของ DECC ในการออกแบบ วิเคราะห์ ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรอาหารให้กับผู้ประกอบการทั้งขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง DECC จึงเล็งเห็นความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาเพื่อยกระดับผู้ประกอบการไมโคร SMEs เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเศรษฐกิจฐานราก โดยการนำ วทน. เข้ามาช่วยยกระดับมาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร สุขอนามัยและความสะอาดของร้านและผู้ปรุงอาหาร รวมถึงคุณภาพของการให้บริการ ให้สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้ก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ของรัฐบาล DECC จึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการยกระดับ Thai Street Food โดยเริ่มจากการออกแบบพัฒนาอุปกรณ์ในการประกอบอาหารสำหรับผู้ค้าขายอาหารริมทาง ได้แก่ เตาปิ้งย่าง และ รถเข็นนวัตกรรมรักษ์โลก

รถเข็นนวัตกรรมรักษ์โลก

        เพื่อยกระดับสตรีทฟู้ดไทยให้ได้มาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัย ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ถูกสุขลักษณะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ติดต่อสอบถาม

คุณปวริศา นาคจู
ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine) appeared first on NAC2021.

]]>