พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Tue, 23 Mar 2021 10:06:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 Low Motor Noise Design for Green Compressor http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/energy01-low-motor-noise-design-for-green-compressor/ Wed, 17 Mar 2021 01:45:18 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15175 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพสูง ขนาดเล็กลง เป็นแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกมีความต้องการ Green Technology เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอุปกรณ์เช่น คอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ที่มีปริมาณการใช้งานสูงขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้คอมเพรสเซอร์ที่ดีสามารถทำให้เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน แต่ขณะเดียวกัน คอมเพรสเซอร์ยังเป็นแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนหลักในของระบบทำความเย็น โดยต้นกำเนิดเสียงหลักมาจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ ที่มาของการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งเน้นเรื่องการออกแบบเพื่อลดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์โดยทางบริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ภายใต้ สวทช. (NSTDA) ร่วมวิจัยและพัฒนา ออกแบบมอเตอร์ขึ้นใหม่ที่ลดเสียงรบกวนเพื่อใช้สำหรับคอมเพรสเซอร์ Low Motor Noise Design ได้ถูกออกแบบมาใช้แทนที่มอเตอร์ที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน มอเตอร์ที่ออกแบบใหม่นี้สามารถใช้คู่กับชุดห้องอัดเดิม (Mechanism) ของคอมเพรสเซอร์ได้ โดยมีจุดเด่นคือ ค่าแรงบิดกระเพื่อมที่ต่ำกว่า และสามารถลดเสียงรบกวนโดยรวมได้สูงสุดถึง 7.5 dBA  ในขณะที่ยังคงประสิทธิภาพของมอเตอร์ไว้เท่าเดิม และต้นทุนการผลิตไม่สูงขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน จุดเด่นของงานวิจัย ลดมลพิษทางเสียงที่เกิดจาก Motor Compressor ได้สูงสุด 7.5 dBA ขยายและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบริษัทฯในเรื่องการออกแบบมอเตอร์รวมถึงการทดสอบเรื่องเสียงของมอเตอร์ […]

The post Low Motor Noise Design for Green Compressor appeared first on NAC2021.

]]>

Low Motor Noise Design for Green Compressor

Low Motor Noise Design for Green Compressor

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

       อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพสูง ขนาดเล็กลง เป็นแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกมีความต้องการ Green Technology เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอุปกรณ์เช่น คอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ที่มีปริมาณการใช้งานสูงขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้คอมเพรสเซอร์ที่ดีสามารถทำให้เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน แต่ขณะเดียวกัน คอมเพรสเซอร์ยังเป็นแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนหลักในของระบบทำความเย็น โดยต้นกำเนิดเสียงหลักมาจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์

        ที่มาของการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งเน้นเรื่องการออกแบบเพื่อลดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์โดยทางบริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ภายใต้ สวทช. (NSTDA) ร่วมวิจัยและพัฒนา ออกแบบมอเตอร์ขึ้นใหม่ที่ลดเสียงรบกวนเพื่อใช้สำหรับคอมเพรสเซอร์

      Low Motor Noise Design ได้ถูกออกแบบมาใช้แทนที่มอเตอร์ที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน มอเตอร์ที่ออกแบบใหม่นี้สามารถใช้คู่กับชุดห้องอัดเดิม (Mechanism) ของคอมเพรสเซอร์ได้ โดยมีจุดเด่นคือ ค่าแรงบิดกระเพื่อมที่ต่ำกว่า และสามารถลดเสียงรบกวนโดยรวมได้สูงสุดถึง 7.5 dBA  ในขณะที่ยังคงประสิทธิภาพของมอเตอร์ไว้เท่าเดิม และต้นทุนการผลิตไม่สูงขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน

จุดเด่นของงานวิจัย

  • ลดมลพิษทางเสียงที่เกิดจาก Motor Compressor ได้สูงสุด 7.5 dBA
  • ขยายและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบริษัทฯในเรื่องการออกแบบมอเตอร์รวมถึงการทดสอบเรื่องเสียงของมอเตอร์

กลุ่มเป้าหมาย

        ลูกค้าทั่วโลก โดยเฉพาะ Zone Europe ที่มีกฎหมายเรื่องมลพิษจากเสียงรบกวนค่อนข้างเข้มงวด

สถานะของงานวิจัย

        ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเก็บผลทดสอบเพิ่มเติมนอกเหนือการทดสอบเสียง เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพของคอมเพรสเซอร์ได้ตามมาตรฐานก่อนที่จะขายและส่งออกให้กับลูกค้าทั่วโลก

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post Low Motor Noise Design for Green Compressor appeared first on NAC2021.

]]>
แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/09/na28-non-lithium-ion-batteries/ Tue, 09 Mar 2021 03:31:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12122 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการสร้างความมั่นคงปลอดภัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องของความปลอดภัย การใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการขนส่งและวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนในเชิงนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและอยู่ระหว่างการมุ่งวิจัยพัฒนาประสิทธิภาพให้เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1991 แบตเตอรี่ลิเธียมได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากสมรรถนะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ กลายเป็นระบบกักเก็บพลังงานที่ได้รับความนิยมในเชิงพาณิชย์ แม้ว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่ให้สมรรถนะที่ดี แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและปัญหาด้านความปลอดภัยอันเนื่องมาจากการใช้อิเล็กโตรไลต์อินทรีย์ซึ่งเป็นพิษ การติดไฟของลิเธียมและปริมาณที่จำกัดของแร่ลิเธียม ส่งผลให้การพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพียงชนิดเดียว ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนและอาจนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานในอนาคต ดังนั้นแบตเตอรี่ทุติยภูมิชนิดใหม่ๆ เช่น แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แบตเตอรี่แมกนีเซียมไอออน แบตเตอรี่อลูมิเนียมไอออน และแบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงได้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ในบรรดาแบตเตอรี่ที่กล่าวมานั้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้รับความสนใจจากนักวิจัยอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากจุดเด่นของขั้วแอโนดสังกะสี ซึ่งสามารถจ่ายอิเล็กตรอนได้สองตัว ค่าศักย์ไฟฟ้าสมดุลต่ำ ต้นทุนต่ำ มีปริมาณมากในธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้สมรรถนะที่ดี ซึ่งสมบัติเหล่านี้ส่งผลดีต่อการใช้เป็นแอโนดในแบตเตอรี่ทุติยภูมิ นอกจากนี้สังกะสียังมีปริมาณที่มากในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ดอยผาแดง จ.ตาก ซึ่งเป็นแหล่งแร่สังกะสีทุติยภูมิแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ดังนั้นทีมวิจัยจึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดสังกะสี ซึ่งเป็นโลหะที่มีปริมาณมาก ราคาต่ำ […]

The post แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) appeared first on NAC2021.

]]>

แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries)

แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

       ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการสร้างความมั่นคงปลอดภัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน
ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องของความปลอดภัย การใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการขนส่งและวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนในเชิงนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและอยู่ระหว่างการมุ่งวิจัยพัฒนาประสิทธิภาพให้เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน

      ในปี ค.ศ. 1991 แบตเตอรี่ลิเธียมได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากสมรรถนะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ กลายเป็นระบบกักเก็บพลังงานที่ได้รับความนิยมในเชิงพาณิชย์ แม้ว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่ให้สมรรถนะที่ดี แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและปัญหาด้านความปลอดภัยอันเนื่องมาจากการใช้อิเล็กโตรไลต์อินทรีย์ซึ่งเป็นพิษ การติดไฟของลิเธียมและปริมาณที่จำกัดของแร่ลิเธียม ส่งผลให้การพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพียงชนิดเดียว ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนและอาจนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานในอนาคต ดังนั้นแบตเตอรี่ทุติยภูมิชนิดใหม่ๆ เช่น แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แบตเตอรี่แมกนีเซียมไอออน แบตเตอรี่อลูมิเนียมไอออน และแบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงได้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ในบรรดาแบตเตอรี่ที่กล่าวมานั้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้รับความสนใจจากนักวิจัยอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากจุดเด่นของขั้วแอโนดสังกะสี ซึ่งสามารถจ่ายอิเล็กตรอนได้สองตัว ค่าศักย์ไฟฟ้าสมดุลต่ำ ต้นทุนต่ำ มีปริมาณมากในธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้สมรรถนะที่ดี ซึ่งสมบัติเหล่านี้ส่งผลดีต่อการใช้เป็นแอโนดในแบตเตอรี่ทุติยภูมิ นอกจากนี้สังกะสียังมีปริมาณที่มากในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ดอยผาแดง จ.ตาก ซึ่งเป็นแหล่งแร่สังกะสีทุติยภูมิแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ดังนั้นทีมวิจัยจึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดสังกะสี ซึ่งเป็นโลหะที่มีปริมาณมาก ราคาต่ำ ไม่เป็นพิษ และมีความปลอดภัยสูง อีกทั้งแหล่งผลิตยังมีกระจายอยู่ทั่วโลก โดยเน้นให้แบตเตอรี่ที่พัฒนาขึ้นใหม่สามารถใช้กระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่มีอยู่แล้ว

รายละเอียดผลงานวิจัย

Non-Lithium Ion Batteries

        แบตเตอรี่สังกะสีที่ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นนั้นได้นำเทคโนโลยีกราฟีนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ แบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้ค่าการเก็บประจุสูงถึง 180-200 mAh/g และมีค่าความหนาแน่นพลังงานอยู่ในช่วง 180-200 Wh/kg ให้ค่าแรงดันได้ 1.2 – 1.4 โวลต์ สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 1000 รอบ มีประสิทธิภาพด้านความหนาแน่นพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรดและสามารถเทียบเคียงกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนบางชนิดได้ แต่มีความปลอดภัยสูง ไม่ระเบิดแม้ถูกเจาะ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม จัดตั้งและดำเนินการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัยที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเพื่อความมั่นคง เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการวิจัยและเป็นศูนย์กลางในเครือข่ายงานวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ หากประเทศไทยสามารถผลิตแบตเตอรี่ซิงก์ไอออนได้ จะช่วยให้เราไม่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานในยามวิกฤตที่ไม่สามารถนำเข้าลิเทียมได้ และยังส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอีกด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. เป็นงานวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ สร้างเทคโนโลยีที่เป็นองค์ความรู้ของคนไทย 
  2. สร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีทางพลังงานของประเทศ เสริมสร้างให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางพลังงานและมีเสถียรภาพทางด้านพลังงาน
  3. คุณสมบัติเด่นคือ ปลอดภัย ไม่ระเบิด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีวัตถุดิบที่ผลิตได้เองภายในประเทศ

กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยี

       กลุ่มผู้ใช้งานแบตเตอรี่ตะกั่วกรดเดิมและผู้ใช้งานระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าใช้ในบ้านพักอาศัย, ระบบกักเก็บพลังงานแบบอยู่กับที่, ยานยนต์ขนาดใหญ่ (รถบัสและรถบรรทุกไฟฟ้า), เรือ, Station และงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น สถานีวิทยุสื่อสารทหาร แท่นขุดเจาะน้ำมัน

สถานะงานวิจัย

       การพัฒนางานวิจัยอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการและภาคสนามเบื้องต้น

ติดต่อสอบถาม

คุณกลดธิดา ญาณุกุล
ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) appeared first on NAC2021.

]]>
ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/energy02-autonomous-golf-cart/ Fri, 05 Mar 2021 04:36:10 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9873 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ ความสำคัญของงานวิจัย โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous-Driving Vehicle Technology) เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายและความต้องการใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง ในอนาคตของประเทศไทย โดยเริ่มจากการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติสำหรับการใช้งานขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด (Geo-fenced Area) ที่มีการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมและสั่งการแบบอัตโนมัติเพื่อนำไปติดตั้งและบูรณาการเข้ากับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Platform) ซึ่งในโครงการได้เลือกใช้รถกอล์ไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนของระบบขับเคลื่อนน้อย และสามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีผู้ขับฉุกเฉิน (Emergency Driver) ทำหน้าที่ควบคุมรถในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น การทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ (Level-3) ดำเนินการในพื้นที่ Sandbox ซึ่งมีการรบกวนจากการจราจร ยวดยานอื่นๆ และผู้ร่วมใช้ถนนไม่หนาแน่น เพื่อที่จะประเมินความเป็นไปได้ในศึกษาการใช้งานของระบบควบคุมและสั่งการสำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ โดยระบบของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ระบบ Drive-By-Wire หรือเรียกว่าระบบควบคุมสั่งงานการขับขี่ (พวงมาลัย เบรก และคันเร่ง) ซึ่งจะสื่อสารด้วย Protocol CAN BUS ระบบนำทางอัตโนมัติ ในโครงการนี้ได้เลือกใช้เซ็นเซอร์นำทางแบบ Light Detection and […]

The post ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด appeared first on NAC2021.

]]>

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

ความสำคัญของงานวิจัย

          โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous-Driving Vehicle Technology) เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายและความต้องการใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง ในอนาคตของประเทศไทย โดยเริ่มจากการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติสำหรับการใช้งานขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด (Geo-fenced Area) ที่มีการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมและสั่งการแบบอัตโนมัติเพื่อนำไปติดตั้งและบูรณาการเข้ากับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Platform) ซึ่งในโครงการได้เลือกใช้รถกอล์ไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนของระบบขับเคลื่อนน้อย และสามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีผู้ขับฉุกเฉิน (Emergency Driver) ทำหน้าที่ควบคุมรถในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น การทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ (Level-3) ดำเนินการในพื้นที่ Sandbox ซึ่งมีการรบกวนจากการจราจร ยวดยานอื่นๆ และผู้ร่วมใช้ถนนไม่หนาแน่น เพื่อที่จะประเมินความเป็นไปได้ในศึกษาการใช้งานของระบบควบคุมและสั่งการสำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ โดยระบบของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก

  • ระบบ Drive-By-Wire หรือเรียกว่าระบบควบคุมสั่งงานการขับขี่ (พวงมาลัย เบรก และคันเร่ง) ซึ่งจะสื่อสารด้วย Protocol CAN BUS
  • ระบบนำทางอัตโนมัติ ในโครงการนี้ได้เลือกใช้เซ็นเซอร์นำทางแบบ Light Detection and Ranging (LiDAR) ที่ทำงานควบคู่กับ High Density Map แบบ 3 มิติ ที่จะต้องเตรียมการจัดทำไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมี Global Navigation Satellite System (GNSS) Receiver ติดตั้งไว้บนตัวรถ เพื่อใช้รับสัญญาณจากดาวเทียมระบุตำแหน่งตัวรถบนพื้นผิวโลกที่ทำงานร่วมกับ CORS Station เพื่อให้ได้ความแม่นยำในการระบุตำแหน่งของตัวรถในระดับเซ็นติเมตร ณ เวลาจริง โดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวางรอบตัวรถเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุการชนของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติกับสิ่งมีชีวิตมนุษย์ และวัตถุต่างๆ ซึ่งจะช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นๆ
  • ระบบจัดการฝูงรถ (Fleet Management System) ทำหน้าที่สื่อสารกับระบบนำทางอัตโนมัติของรถ โดยในโครงการนี้ได้ทดลองรถขับขี่อัตโนมัติเพียง 1 คัน ระบบดังกล่าวจึงจำกัดอยู่เพียง Application Program สำหรับค้นหาตำแหน่งรถ และเรียกรถให้มารับผู้โดยสารผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

ระบบ Drive-By-Wire

เซนเซอร์

กลไกควบคุมทิศทางรถ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (Autonomous Driving Technology Level#3) ที่มีความพร้อมสามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาต่อยอดใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง และโลจิสติกส์
  • เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่ต้องคำถึงตัวแปรและเงื่อนไขในเชิงพื้นที่ (Localized Constrains)
  • เทคโนโลยีที่มีความพร้อมนำไปใช้งานเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน (User) ยานยนต์ (Vehicle) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และสรรพสิ่งต่างๆ

เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (Autonomous Driving Technology Level#3)

ติดต่อสอบถาม

ดร. จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน
ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด appeared first on NAC2021.

]]>