การปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจ – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Tue, 04 May 2021 07:21:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png การปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจ – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na17-plant-phenomics-facility/ Sat, 13 Mar 2021 04:17:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13534 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านการเกษตรสมัยใหม่ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี         ในปัจจุบันการคัดเลือกพันธุ์พืชที่มีศักยภาพนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูง หรือ ฟีโนไทป์ (Phenotypic Characterization) ของพืชในเชิงลึก เช่น ลักษณะทางการเกษตรของ ต้น ดอก ราก เมล็ด คุณสมบัติทางเคมีของผลผลิต ความต้านทานโรค และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม แต่การคัดเลือกดังกล่าวยังใช้วิธีการปลูกประเมินในแปลงเป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้เวลาในการปลูกประเมินค่อนข้างนาน รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม (Environment; E) ที่จะส่งผลต่อพืชแต่ละชนิดว่าต้องการปริมาณธาตุอาหาร น้ำ แสง ความชื้นในดิน/อากาศ อุณหภูมิ เพื่อการเติบโตและให้ผลผลิตที่แตกต่างกันไป และยังไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็น Biotic factors เช่น โรค แมลงได้อีกด้วย ส่งผลให้ความแม่นยำในผลของการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพมีประสิทธิภาพลดลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการศึกษาลักษณะการแสดงออก ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ แบบรวดเร็วและมีความแม่นยำมากขึ้น        ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก […]

The post เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility)

เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility)

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านการเกษตรสมัยใหม่
ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        ในปัจจุบันการคัดเลือกพันธุ์พืชที่มีศักยภาพนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูง หรือ ฟีโนไทป์ (Phenotypic Characterization) ของพืชในเชิงลึก เช่น ลักษณะทางการเกษตรของ ต้น ดอก ราก เมล็ด คุณสมบัติทางเคมีของผลผลิต ความต้านทานโรค และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม แต่การคัดเลือกดังกล่าวยังใช้วิธีการปลูกประเมินในแปลงเป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้เวลาในการปลูกประเมินค่อนข้างนาน รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม (Environment; E) ที่จะส่งผลต่อพืชแต่ละชนิดว่าต้องการปริมาณธาตุอาหาร น้ำ แสง ความชื้นในดิน/อากาศ อุณหภูมิ เพื่อการเติบโตและให้ผลผลิตที่แตกต่างกันไป และยังไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็น Biotic factors เช่น โรค แมลงได้อีกด้วย ส่งผลให้ความแม่นยำในผลของการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพมีประสิทธิภาพลดลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการศึกษาลักษณะการแสดงออก ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ แบบรวดเร็วและมีความแม่นยำมากขึ้น

       ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) ที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในศึกษาลักษณะการแสดงออกของพืช ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ระบบประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืชอย่างรวดเร็วและแม่นยำ (High throughput Phenotyping) และ ระบบ Image Analysis ที่ประกอบไปด้วย Chlorophyll Fluorescence Units, Thermal Imaging Unit และ Hyperspectral Imaging Unit และรองรับการประมวลผลในรูปแบบ 3D imaging (3D Laser Scanning) ที่จะสามารถถ่ายภาพสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืชได้ทั้งต้นพืชส่วนเหนือดินและส่วนรากและหัวใต้ดินของพืช ภายใต้การควบคุมด้วยระบบสายพานลำเลียงอัตโนมัติ มีระบบรดน้ำและชั่งน้ำหนัก ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆได้นั้น ศูนย์แห่งนี้สามารถตรวจวัดต้นพืชที่มีขนาดความสูงได้ถึง 2.5 เมตร และมีความกว้างทรงพุ่มที่ 1.5 เมตร ในแบบไม่ทำลายต้น ที่สามารถตรวจวัดได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ และมีโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับ parameter ต่างๆ

Plant Phenomics

        ความรู้ด้านสรีรวิทยาและชีววิทยาที่ได้มานี้จะช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพ รวมถึงการจัดการและการควบคุมการเติบโตของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำทางเทคโนโลยี High throughput Phenotyping และ Image Analysis มาช่วยในการคัดเลือกจะทำให้สามารถคัดเลือกได้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตเชิงปริมาณที่สูงควบคู่กับมีคุณสมบัติที่ดี ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่จำกัด เช่น ทนแล้ง ทนน้ำท่วม ต้านทานต่อการระบาดของโรคและแมลง และยังรวมไปถึงการคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณสมบัติ เชิงคุณภาพ เช่น มีปริมาณธาตุอาหารสูง มีคุณสมบัติตอบโจทย์ความต้องการของตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและจุดขายให้กับพืช และยังสามารถพัฒนาไปสู่การเกษตรแม่นยำที่สามารถติดตามและคาดการณ์สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับการให้ปุ๋ยและน้ำในปริมาณที่เหมาะสม จากองค์ความรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่การขยายผลใช้ประโยชน์ (Translational Research) ที่เชื่อมโยงกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกและการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคต เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรต่อไปได้อย่างยั่งยืน

        มาร่วมเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยกันกับ EECi

Greenhouse

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS)

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS) เป็นแพลทฟอร์ม (innovation platform) ที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Bio-based Industry) ตามแนวคิด BCG ของรัฐบาล เพื่อให้ประเทศเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผลักดันให้ผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด 

ติดต่อสอบถาม

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro4-tissue-culture-bioreactor/ Fri, 05 Mar 2021 07:45:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10044 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         ปัจจุบัน ปัญหาอย่างหนึ่งในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ การขยายต้นกล้าพันธุ์ดีจากภาครัฐและภาคเอกชนออกไปสู่เกษตรกร  ซึ่งถ้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุสั้น มีการเจริญเติบโตทางยอดได้ง่าย สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือเมล็ดพันธุ์แท้ออกสู่ตลาดได้เลย ก็จะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรในประเทศไม่ยากนัก แต่หากเป็นพืชที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตช้า เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มอื่น พืชสมุนไพรบางชนิด หรือแม้กระทั่งแม้ยื่นต้นเนื้อแข็งบางชนิด ทีไม่สามารถใช้เมล็ดที่เกิดจากการผลมตัวเองออกไปเพาะเป็นต้นกล้าได้ เนื่องจากมีการกระจายตัวทางพันธุกรรมสูง  ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น จะมีความต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้นหรือเกิดการกลายพันธุ์ให้ลักษณะที่ต่างไปจากต้นพ่อแม่ รวมถึงมีต้นทุนในการจัดการสูง ทั้งในเรื่องของแรงงาน พื้นที่ และอุปกรณ์ในการผลิตต้นกล้าด้วยการเพาะเมล็ด ตัวอย่างเช่น การเพาะต้นกล้ามะพร้าวจากผลมะพร้าว นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังใช้พื้นที่และแรงงานในการจัดการดูแลสูงจำนวนต้นกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเมล็ดนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคเกษตรกรผู้ผลิต นอกจากนั้น ในพืชที่มีลักษณะแยกเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย เช่น อินทผาลัม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดก็มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้ต้นต้วผู้มากกว่าต้นตัวเมีย ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตอินทผาลัมเกิดความเสียหายเนื่องจากได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาดหมาย         ขณะนี้ ทางหน่วยวิจัยฯ ร่วมกับกับหน่วยการอื่น […]

The post เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต

วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        ปัจจุบัน ปัญหาอย่างหนึ่งในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ การขยายต้นกล้าพันธุ์ดีจากภาครัฐและภาคเอกชนออกไปสู่เกษตรกร  ซึ่งถ้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุสั้น มีการเจริญเติบโตทางยอดได้ง่าย สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือเมล็ดพันธุ์แท้ออกสู่ตลาดได้เลย ก็จะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรในประเทศไม่ยากนัก แต่หากเป็นพืชที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตช้า เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มอื่น พืชสมุนไพรบางชนิด หรือแม้กระทั่งแม้ยื่นต้นเนื้อแข็งบางชนิด ทีไม่สามารถใช้เมล็ดที่เกิดจากการผลมตัวเองออกไปเพาะเป็นต้นกล้าได้ เนื่องจากมีการกระจายตัวทางพันธุกรรมสูง  ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น จะมีความต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้นหรือเกิดการกลายพันธุ์ให้ลักษณะที่ต่างไปจากต้นพ่อแม่ รวมถึงมีต้นทุนในการจัดการสูง ทั้งในเรื่องของแรงงาน พื้นที่ และอุปกรณ์ในการผลิตต้นกล้าด้วยการเพาะเมล็ด ตัวอย่างเช่น การเพาะต้นกล้ามะพร้าวจากผลมะพร้าว นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังใช้พื้นที่และแรงงานในการจัดการดูแลสูงจำนวนต้นกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเมล็ดนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคเกษตรกรผู้ผลิต นอกจากนั้น ในพืชที่มีลักษณะแยกเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย เช่น อินทผาลัม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดก็มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้ต้นต้วผู้มากกว่าต้นตัวเมีย ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตอินทผาลัมเกิดความเสียหายเนื่องจากได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาดหมาย

        ขณะนี้ ทางหน่วยวิจัยฯ ร่วมกับกับหน่วยการอื่น ได้แก่ สวก. และ iTAB ได้พัฒนาโครงการต้นแบบเพื่อการพัฒนาต้นกล้าปาล์มและมะพร้าวพันธุ์ดีแบบก้าวกระโดด เพื่อการขยายผลออกสู่เกษตรกร โดยใช้ทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่มีอายุยาว เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้ จะเป็นการนำเอาเซลเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีดีเอ็นเอในการขยายพันธุ์พืชให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุน แรงงาน และร่นระยะเวลาทั้งการผลิตและปรับปรุงพันธุ์  เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศให้เกิดความมั่งคง มั่งคั่งและยั่งยืน

        ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชตระกูลปาล์ม เช่นปาล์มน้ำมัน มะพร้าว แม้กระทั่งอินทผาลัมนั้น ทางห้องปฏิบัติการฯจะเลือกใช้ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชที่กำลังมีการพัฒนา ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญ ใบอ่อน ช่อดอกอ่อน ตาข้าง มาฟอกฆ่าเชื้อและเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ ซึ่งมีธาตุอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโต (Plant growth regulator) บังคับให้เนื้อเยื่อมีการพัฒนาเป็นเซลหรือเนื้อเยื่อ รวมถึงเป็นต้นอ่อนที่มียอดและรากที่สมบูรณ์

        ปกติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนใหญ่จะใช้ระบบอาหารแข็งโดยมี gelling agent หรือวุ้น ในการชักนำให้เกิดกลุ่มเซลล์ที่สามารถพัฒนาไปเป็นต้นอ่อนได้ เรียกว่า แคลลัส (callus) และจึงพัฒนาเป็นต้นอ่อนสมบูรณ์ในสภาพปลอดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยทางหน่วยฯ ได้พัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันและมะพร้าว โดยใช้ระบบอาหารเหลวและนำเอาระบบ bioreactor มาเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อการลดต้นทุน แรงงาน เวลา ในการพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

         การนำเอาระบบอาหารเหลวมาใช้ร่วมกับระบบ bioreactor แบบกึ่งจม หรือ Temporary Immersion System (TIS) โดยมีหลักการการทำงานแบ่งเป็น 4  phases  ได้แก่

  1. Stationary phase : เนื้อเยื่อในระบบ อยู่ในสภาพปกติ โดยมี culture vessel ด้านบนที่มีเนื้อเยื่ออ และ media vessel ด้านล่างที่มีอาหารเหลว
  2. Immersion phase  เป็นระยะของการดันลมส่งให้อาหารเหลวใน vessel ด้านล่าง ขึ้นมาท่วมเนื้อเยื่อที่อยู่ใน vessel ด้านบน
  3. Drain phase  การปล่อยให้อาหารเหลวไหลกลับลงสู่ vessels  ด้านล่างตามแรงดึงดูดโลก
  4. Ventilation phase ระยะของการดันอากาศเข้าทาง vessels ด้านบน

         ซึ่งการนำเอาระบบ bioreactor นี้มาใช้ จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเป็น somatic embryo และพัฒนาเป็นต้น ( Plant regeneration) ได้รวดเร็วกว่าวิธีการใช้อาหารแข็งปกติประมาณ 3-4 เท่า นอกจากจะสามารถร่นระยะเวลาในการผลิตต้นอ่อนจากต้นแม่สายพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการในตลาดต้นกล้าแล้ว ยังสามารถควบคุมสารอาหารเพื่อกระตุ้นให้เกิดสารออกฤทธิ์ตามที่เราต้องการในพืชสมุนไพรบางชนิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นลดต้นทุน แรงงาน และเวลารวมถึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจไทยแบบก้าวกระโดดได้ในอนาคต

ติดต่อสอบถาม

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor appeared first on NAC2021.

]]>
การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro05-gene-editing/ Fri, 05 Mar 2021 04:27:45 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9875 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย         ปัจจุบันทางหน่วยฯ กำลังดำเนินการสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม (gene editing) ที่แม่นยำ โดยเริ่มจากการสร้างระบบการพัฒนาให้เกิดต้นจากเนื้อเยื่อพิทูเนีย และพัฒนาระบบการส่งถ่ายชุด ปรับแต่งพันธุ์กรรมเข้าสู่เซลล์พืชที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ยีนเรืองแสง (GFP) เป็น reporter gene ก่อน ซึ่งเป็นการปรับแต่งพันธุกรรมนี้ จะเอื้อประโยชน์ในการช่วยลดระยะเวลา ลดแรงงาน และต้นทุนในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ แล้วที่สำคัญยังช่วยให้ไม้ประดับ เป้าหมายมีลักษณะทางการตลาดที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในโครงการที่กำลังวิจัยเป็นการวิจัย โดยเลือกใช้พืชต้นแบบ ได้แก่ พิทูเนีย ซึ่งเป็นไม้หลายฤดู เจริญเติบโตเร็ว ออกดอกทั้งปี ดอกมีสีสันหลายลักษณะ เหมาะกับการนำมาศึกษาการออกแบบวิธีการปรับแต่งยีน ได้อย่างดี โดยยีนเป้าหมายที่กำลังศึกษาได้แก่ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสะสมของ รงควัตถุในกลีบดอก ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกลิ่นหอมแบบ กลิ่นของใบเตยในลำดับต้นและใบ ซึ่งหากเทคโนโลยีฐานนี้สำเร็จ คาดว่า นอกจากจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องาน functional genomics แล้วยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ […]

The post การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ appeared first on NAC2021.

]]>

การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

        ปัจจุบันทางหน่วยฯ กำลังดำเนินการสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม (gene editing) ที่แม่นยำ โดยเริ่มจากการสร้างระบบการพัฒนาให้เกิดต้นจากเนื้อเยื่อพิทูเนีย และพัฒนาระบบการส่งถ่ายชุด ปรับแต่งพันธุ์กรรมเข้าสู่เซลล์พืชที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ยีนเรืองแสง (GFP) เป็น reporter gene ก่อน ซึ่งเป็นการปรับแต่งพันธุกรรมนี้ จะเอื้อประโยชน์ในการช่วยลดระยะเวลา ลดแรงงาน และต้นทุนในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ แล้วที่สำคัญยังช่วยให้ไม้ประดับ เป้าหมายมีลักษณะทางการตลาดที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในโครงการที่กำลังวิจัยเป็นการวิจัย โดยเลือกใช้พืชต้นแบบ ได้แก่ พิทูเนีย ซึ่งเป็นไม้หลายฤดู เจริญเติบโตเร็ว ออกดอกทั้งปี ดอกมีสีสันหลายลักษณะ เหมาะกับการนำมาศึกษาการออกแบบวิธีการปรับแต่งยีน ได้อย่างดี โดยยีนเป้าหมายที่กำลังศึกษาได้แก่ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสะสมของ รงควัตถุในกลีบดอก ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกลิ่นหอมแบบ กลิ่นของใบเตยในลำดับต้นและใบ ซึ่งหากเทคโนโลยีฐานนี้สำเร็จ คาดว่า นอกจากจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องาน functional genomics แล้วยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เศรษฐกิจชนิดอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

        การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับแต่งพันธุกรรม (gene editing) นั้น มีองค์ประกอบอยู่ 4 ระบบ ได้แก่ ระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อพัฒนาให้เกิดต้น (Plant regeneration system), ระบบการส่งถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์ (genetic transformation system), ระบบการออกแบบเวกเตอร์สำหรับการปรับแต่งพันธุกรรม (vector designation system), และ ระบบประเมินและคัดเลือกต้นที่ได้รับการปรับแต่งพันธุกรรม (biological evaluation for edited plant system)  โดยทั้ง 4 ระบบจะทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบการพัฒนาให้เป็นต้นและการส่งถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์นั้นเป็นระบบพื้นฐานที่ช่วยส่งผลให้เวกเตอร์ที่เราออกแบบไว้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการประเมินและคัดเลือกต้นที่ได้รับการปรับแต่งพันธุกรรมนั้น เป็นระบบที่ใช้ตรวจสอบตำแหน่งของพันธุกรรมและยีนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อการแสดงออกของลักษณะเป้าหมายที่ต้องการได้

การพัฒนาให้เกิดต้นจากเนื้อเยื่อ แผ่นใบของพิทูเนีย

ลักษณะการแสดงออกของ reporter gene (GFP) ในต้นอ่อนพิทูเนียที่ได้รับการส่งถ่ายชุด ปรับแต่งพันธุกรรมเข้าสู่พันธุกรรมเข้าสู่เซลล์

ลักษณะการแสดงออกของยีน GFP แบบ stable expression ในใบของ transgenics พิทูเนีย

รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อพืชกับการแก้ปัญหาทางการเกษตร

ติดต่อสอบถาม

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ฺBIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ appeared first on NAC2021.

]]>
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro02-rice-gene/ Fri, 05 Mar 2021 04:12:21 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9872 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดารักษาการรองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตรผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ข้าวเพื่อความมั่นคง ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน   ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน            ข้าวเหนียว “พันธุ์ธัญสิริน” เกิดจากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความต้านทานโรคไหม้แบบกว้าง โดยการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข6 ที่ไม่ต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์แม่ และพันธุ์เจ้าหอมนิล ซึ่งมีความต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์พ่อ ตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคไหม้และคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือกร่วมกับ การปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐานแบบสืบประวัติ และมีการปลูกทดสอบและคัดเลือกความต้านทานต่อ โรคไหม้ ณ ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และในพื้นที่แปลงผลิตของเกษตรกร จนได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ไวต่อช่วงแสง แตกกอดี ใบยาวสีเขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรงกว่าพันธุ์ […]

The post การปรับปรุงพันธุ์ข้าว appeared first on NAC2021.

]]>

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา
รักษาการรองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ข้าวเพื่อความมั่นคง

ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน 

 ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน 

          ข้าวเหนียว “พันธุ์ธัญสิริน” เกิดจากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความต้านทานโรคไหม้แบบกว้าง โดยการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข6 ที่ไม่ต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์แม่ และพันธุ์เจ้าหอมนิล ซึ่งมีความต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์พ่อ ตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคไหม้และคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือกร่วมกับ การปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐานแบบสืบประวัติ และมีการปลูกทดสอบและคัดเลือกความต้านทานต่อ โรคไหม้ ณ ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และในพื้นที่แปลงผลิตของเกษตรกร จนได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ไวต่อช่วงแสง แตกกอดี ใบยาวสีเขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรงกว่าพันธุ์ กข6 ทนทานต่อการหักล้ม เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไหม้ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเปลือกสีน้ำตาล คุณภาพการขัดสีดีกว่าพันธุ์ กข6 คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนเหนียวนุ่ม ข้าวสุกเมื่อเย็นคงความนิ่ม เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค ได้รับพระราชทานชื่อพันธุ์จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “ธัญสิริน” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553

ข้าวเหนียวพันธุ์หอมนาคา

ข้าวเหนียวหอมนาคา

         ข้าวเหนียว “พันธุ์หอมนาคา” ได้จากการผสมระหว่างข้าวสายพันธุ์ RGD10033-77-MS22 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวสายพันธุ์ RGD11169-MS8-5 เป็นสายพันธุ์พ่อ ที่ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อปี 2556 จนได้ลูกผสมชั่วที่1 แล้วคัดเลือกลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง ลักษณะทรงต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว และลักษณะข้าวเหนียว โดยวิธีสืบประวัติร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก จากนั้นทำการปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร ณ จ.ลำปาง จ.พะเยา และ จ.เชียงราย โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เมื่อปี 2562 จนคัดเลือกได้ข้าวเหนียว “พันธุ์หอมนาคา” ซึ่งมีลักษณะขาวเหนียว กลิ่นหอม นุ่มเหนียวเมื่อหุงสุก ทนน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้นสูงปานกลาง ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 930 กิโลกรัมต่อไร่

ข้าวสายพันธุ์ใหม่เพื่อการส่งออก

ข้าวเจ้าพันธุ์หอมจินดา

ข้าวเจ้าพันธุ์หอมจินดา 

        ข้าวเจ้า “พันธุ์หอมจินดา” ได้จากการผสมข้ามพันธุ์แบบดั้งเดิมระหว่างข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวสายพันธุ์ RGD07097-1-MAS-8-9-0-0 เป็นสายพันธุ์พ่อ ณ ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกในปี พ.ศ. 2561 และ 2562 ได้ปลูกทดสอบและคัดเลือกร่วมกับมูลนิธิรวมใจพัฒนา แล้วประเมิณลักษณะคุณภาพการหุงต้มทางกายภาพและทางเคมี ณ ทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม จนคัดเลือกได้ข้าวเจ้าหอมนุ่ม“พันธุ์หอมจินดา” ซึ่งมีลักษณะเมล็ดมีกลิ่นหอม นุ่ม ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้นสูงปานกลางให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 838 กิโลกรัมต่อไร่

ข้าวเจ้าพันธุ์ธัญญา6401

ข้าวพันธุ์ธัญญา6401

      ข้าวพันธุ์ “ธัญญา6401” (RGD12123-B-MS178-MS2-1-1-RJP-1-1-B-B) เป็นข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุปานกลาง ทรงต้นตั้งตรง ลำต้นแข็งแรง แตกกอดี ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง (มียีน xa5+xa33+Wxb) คุณภาพหุงต้มนุ่ม

      ข้าวสายพันธุ์นี้ ได้จากการผสมข้ามระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์ กข47 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวเจ้าสายพันธุ์ปรับปรุง RGD07097-1-MAS-8-9 (มียีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง xa5+Xa21+xa33+Wxb) เป็นสายพันธุ์พ่อ จากนั้นคัดเลือกยีนเป้าหมายด้วยเครื่องหมายโมเลกุล และทำควบคู่กับการคัดลักษณะทรงต้นและผลผลิตไปพร้อมกัน จนได้สายพันธุ์ปรับปรุงที่มียีนคงตัว และทำการทดสอบผลผลิตและทดสอบความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ก่อนนำไปปลูกคัดเลือกประเมินลักษณะผลผลิตภายในสถานีวิจัยรวมใจพัฒนา ในปี 2560 และ 2561 จากนั้นทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีการปรับตัวได้ดี และทำการปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร ณ จ.สุพรรณบุรี และ จ.นนทบุรี ปี 2561 และ 2562 พบว่า สายพันธุ์ RGD12123-B-MAS-178-MAS-2-1-1-RJP-1-1-B-B) เป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดี ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 750-800 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง จึงทำการปลูกขยายและผลิตเมล็ดพันธุ์

ข้าวสรรพสี

จากข้าวไรซ์เบอร์รี่สู่ข้าวสรรพสี

ข้าวสรรพสี

      เมื่อปี พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ทำการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง พันธุ์พ่อ ‘ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว’ กับ พันธุ์แม่ ‘ข้าวก่ำหอมนิล’ จากนั้นทำการคัดเลือกต้น F2 โดยเน้นจากความหลากหลายของเฉดสีบนแผ่นใบ รูปร่างใบ ขนาดใบ ซึ่งพบการกระจายตัวของสีใบตั้งแต่เขียวสลับขาว ชมพู ม่วง คัดเลือกลักษณะทรงต้นที่ดี สีใบและรูปร่างใบ มีความสม่ำเสมอ เพื่อเลือกสายพันธุ์ที่เป็นตัวแทนแต่ละเฉดสีใบจากรุ่น F2 ที่ดีที่สุด จนในปี 2558-2559 ได้ข้าวสรรพสีที่มีสีของใบแตกต่างกัน ความสูงต่างกัน ทรงกอตั้ง ไม่ไวแสง อายุยาว จำนวน 5 สายพันธุ์

ประกอบด้วย
1. สายพันธุ์ใบสีชมพูทับทิมต้นสูง (สรรพสี 01),
2. ใบสีชมพูทับทิมต้นเตี้ย (สรรพสี 02),
3. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นสูง (สรรพสี 03),
4. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นเตี้ย (สรรพสี 04)
5. ใบสีขาว (สรรพสี 05)

       รงควัตถุที่พบในข้าวสรรพสี คือ anthocyanin ที่สะสมอยู่จนทำให้ใบและทุกส่วนของก้านดอกข้าว มีสีสวยงามตั้งแต่ม่วงไปจนถึงชมพู anthocyanin ที่พบในข้าวสรรพสี มีส่วนผสมกันของ cyaniding-3-glucoside (สีส้ม-แดง), peonidin-3-glucoside (สีส้ม-แดง), peargomidin-3-glucoside (สีส้ม) และ delphinidin-3-glucoside (สีน้ำเงิน-แดง)
สาร anthocyanin เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดในข้าว เพราะมีปริมาณมากที่สุดและสามารถละลายน้ำได้ ถูกดูดซึมได้ง่าย การบริโภคข้าวกล้องที่มีสี รวมทั้งผักและผลไม้ที่มีสี จึงช่วยลดสภาวะ Oxidative stress ภายในเซลล์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น anthocyanin ยังเป็นสารกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในเส้นเลือดแดง โดยเฉพาะเส้นเลือดฝอย ต่อต้านการสะสมไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้

เครือข่ายพันธมิตร

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การปรับปรุงพันธุ์ข้าว appeared first on NAC2021.

]]>
มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro003-tomato/ Thu, 04 Mar 2021 10:07:44 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9055 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลผลมีเนื้อหลายเมล็ด อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด         มะเขือเทศในประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์ มะเขือเทศท้อผลใหญ่และมะเขือเทศสีดา นิยมนำไปผ่านกระบวนการแปรรูป  เช่น ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ  และมะเขือเทศเชอรี่ นิยมรับประทานผลสดล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณทางด้านโภชนาการมากมาย เนื่องจากมีสารไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งไลโคปีน คือสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ อันมีสาเหตุมาจากเซลล์ถูกทำลาย เช่น โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในด้านการบำรุงผิวพรรณ รักษาสิว เป็นต้น   […]

The post มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง appeared first on NAC2021.

]]>

มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์
ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลผลมีเนื้อหลายเมล็ด อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด

        มะเขือเทศในประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์ มะเขือเทศท้อผลใหญ่และมะเขือเทศสีดา นิยมนำไปผ่านกระบวนการแปรรูป  เช่น ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ  และมะเขือเทศเชอรี่ นิยมรับประทานผลสดล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณทางด้านโภชนาการมากมาย เนื่องจากมีสารไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งไลโคปีน คือสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ อันมีสาเหตุมาจากเซลล์ถูกทำลาย เช่น โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในด้านการบำรุงผิวพรรณ รักษาสิว เป็นต้น

      ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้ามะเขือเทศสดและแปรรูปจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20 ล้านตัน รวมมูลค่ากว่า 600 ล้านบาท แม้ว่ามะเขือเทศสามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคในประเทศไทย โดยนิยมเพาะปลูกมากที่จังหวัด เชียงใหม่ สกลนคร เพชรบุรี เป็นต้น แต่เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชที่เกิดการระบาดของโรคได้ง่ายหากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศไม่เหมาะสม โดยโรคที่พบมากในมะเขือเทศ ได้แก่ โรคใบหงิกเหลือง โรคเหี่ยวเขียว โรคใบไหม้ และโรคผลเน่า อีกทั้งยังมีแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายได้ตลอดอายุการเพาะปลูก จึงต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดีทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง ดังนั้นนักวิจัยจากทีมวิจัยไวรัสพืชและแบคทีรีโอฟาจ ไบโอเทค สวทช. จึงได้ปรับปรุงสายพันธุ์มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ ให้มีความต้านทานโรคต่าง ๆ ทั้งโรคใบหงิกเหลือง โรคเหี่ยวเขียว และโรครากปม รวมถึงมีรสชาติดีอีกด้วย

มะเขือเทศสายพันธุ์แดงโกเมน (PC3) และสายพันธุ์ซันไชน์ (PC11)

มะเขือเทศสายพันธุ์แดงโกเมน (PC3)

มะเขือเทศสายพันธุ์สายพันธุ์ซันไชน์ (PC11)

        มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 พันธุ์นี้เกิดจากการนำมะเขือเทศพันธุ์ Snack slim 502 (พัฒนาพันธุ์โดยผศ. ถาวร โกวิทยากร) ซึ่งมีรสหวานกรอบ แต่ข้อเสียคือไม่ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง มาผสมพันธุ์กับ มะเขือเทศพันธุ์ GT645-2 (พันธุ์จากบริษัท Semillas Tropicales) ซึ่งมียีนต้านทานโรคใบหงิกเหลือง และนำมาผสมกลับ  (backcross) กับมะเขือเทศพันธุ์ Snack slim 502 ที่แปลงปลูก บริษัท ที เค อาร์ แอนด์ ดี จำกัด จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2553-2558 โดยใช้เทคนิค Marker Assisted Selection ร่วมกับวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบเดิม และคัดเลือกต้นมะเขือเทศที่มียีนต้านทานโรคด้วย SCAR (Sequence Characterized Amplified Region) DNA Marker ช่วยให้คัดเลือกได้อย่างแม่นยำ และใช้เวลาในการคัดเลือกสั้นลง

จุดเด่น

  1. ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลืองในระดับดี 
  2. ผลหวานกรอบ และเมล็ดน้อย 
  3. สามารถเพาะปลูกได้ทั่วประเทศ นิยมปลูกในภาคเหนือโดยเฉพาะช่วงเดือนกันยายน 
  4. ให้ผลผลิตสูง ประมาณ 5 ตันต่อไร่ 
  5. ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชกับกรมวิชาการเกษตรแล้ว 
  6. ปัจจุบันได้ถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่บริษัทเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงการค้าและถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการผลิตผลสดต่อไป

*ความหวานหน่วย brix มีระดับความเข้มข้น 1 บริกซ์ เท่ากับน้ำตาลซูโครส 1 กรัม ในสารละลาย 100 กรัม

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน มะเขือเทศลูกเล็กต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

มะเขือเทศลูกเล็กที่ทานสดอย่างพันธุ์ Snack-Slim 502 กำลังได้รับความนิยมมาก เพราะทั้งหวานกรอบและมีวิตามินซีสูง แต่มะเขือเทศพันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคใบหงิกเหลือง เวลาเกิดโรคทีเสียหายกันทั้งแปลง นักวิจัยไทยจึงได้ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ที่กรอบอร่อยเหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมด้วยคุณสมบัติต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

ติดต่อสอบถาม

ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์
ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

The post มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง appeared first on NAC2021.

]]>