งานวิจัยอื่นๆ ในโซนเกษตร – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Thu, 25 Mar 2021 02:16:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png งานวิจัยอื่นๆ ในโซนเกษตร – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/agro-12-sea-bass/ Wed, 17 Mar 2021 07:51:35 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15392 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC)ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAET)ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)          ประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือปลาเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อน โดยการเลี้ยงปลาในปัจจุบันมีสองวิธีหลัก คือ การเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นการเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปลามีอัตราการตายสูง ประสิทธิผลในการเลี้ยงต่ำ นอกจากนี้ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องการของเสียที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลาจะถูกปล่อยสู่แหล่งแม่น้ำธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งเป็นการเลี้ยงในแม่น้ำ ของเสียที่เกิดจากปลาจะถูกปล่อยไปตามแม่น้ำ ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้          ปัจจุบันมีระบบการเลี้ยงปลาที่ใช้ปริมาณน้ำน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาด้วยการนำน้ำที่ไหลเวียนในระบบกลับมาใช้ใหม่ โดยมีระบบบัดน้ำ ระบบเติมออกซิเจน และระบบฆ่าเชื้อ เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลา ทำให้ปลามีอัตราการตายต่ำและอัตราการแลกเนื้อต่ำ ทำให้ประสิทธิผลในการเลี้ยงสูงตามไปด้วย ซึ่งระบบการเลี้ยงดังกล่าวเรียกว่า “ระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน (Recirculation Aquaculture System: RAS)”vการเลี้ยงปลาในระบบนี้จะควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolve Oxygen: DO) ปริมาณ Ammoniaอในน้ำค่าเป็นกรดเป็นเบสในน้ำเป็นต้น โดยระบบการเลี้ยงสามารถนำของเสียจากปลาออกจากน้ำ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม […]

The post ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC)
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAET)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

         ประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือปลาเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อน โดยการเลี้ยงปลาในปัจจุบันมีสองวิธีหลัก คือ การเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นการเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปลามีอัตราการตายสูง ประสิทธิผลในการเลี้ยงต่ำ นอกจากนี้ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องการของเสียที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลาจะถูกปล่อยสู่แหล่งแม่น้ำธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งเป็นการเลี้ยงในแม่น้ำ ของเสียที่เกิดจากปลาจะถูกปล่อยไปตามแม่น้ำ ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้

         ปัจจุบันมีระบบการเลี้ยงปลาที่ใช้ปริมาณน้ำน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาด้วยการนำน้ำที่ไหลเวียนในระบบกลับมาใช้ใหม่ โดยมีระบบบัดน้ำ ระบบเติมออกซิเจน และระบบฆ่าเชื้อ เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลา ทำให้ปลามีอัตราการตายต่ำและอัตราการแลกเนื้อต่ำ ทำให้ประสิทธิผลในการเลี้ยงสูงตามไปด้วย ซึ่งระบบการเลี้ยงดังกล่าวเรียกว่า ระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน (Recirculation Aquaculture System: RAS)”vการเลี้ยงปลาในระบบนี้จะควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolve Oxygen: DO) ปริมาณ Ammoniaอในน้ำค่าเป็นกรดเป็นเบสในน้ำเป็นต้น โดยระบบการเลี้ยงสามารถนำของเสียจากปลาออกจากน้ำ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ขี้ปลาจะถูกนำออกจากระบบด้วยการดักกรอง และรวบรวมนำไปเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้ อย่างไรก็ตาม ในการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียน จะเป็นการเลี้ยงที่มีความหนาแน่นของปลาสูง เมื่อเทียบกับการเลี้ยงโดยทั่วไปประมาณ 30 เท่า ขึ้นอยู่กับประเภทของปลา ทำให้ระบบการเลี้ยงมีต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มเข้ามา ทำให้ในปัจจุบันพบว่าการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียนไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะไม่สามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำกว่าราคาขายได้ แม้ปลาที่เลี้ยงจะเจริญเติบโตได้ดีก็ตาม

จุดเด่นเทคโนโลยี

         ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบน้ำไหลเวียน ซึ่งมีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับคำนวณระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน พร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติรายงานผลผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น เพื่อแก้ปัญหาระบบการเลี้ยงปลาน้ำไหลเวียน โดยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถคำนวณและออกแบบระบบการเลี้ยงที่เหมาะสม และประหยัดพลังงานในการเลี้ยงปลาแต่ละประเภท เป็นการสร้างระบบเลี้ยงปลาที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นการประหยัดพลังงานด้วย โดยโปรแกรมยังสามารถคำนวณ เพื่อหาเงื่อนไขที่เหมาะสมในช่วงระหว่างการเลี้ยงอีกด้วย สำหรับระบบควบคุมอัตโนมัติซึ่งมีความจำเป็นในระบบน้ำไหลเวียนที่มีการเลี้ยงปลาความหนาแน่นสูง โดยระบบจะตรวจวัด ควบคุมและแจ้งเตือนปริมาณออกซิเจนในน้ำ ค่าความเป็นกรด เป็นเบสและอุณหภูมิ ในระบบให้เหมาะสม พร้อมแสดงผลและควบคุมระบบได้บนโมบายแอปพลิเคชั่นด้วย ทำให้การเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียนมีประสิทธิภาพสูง และมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาประยุกต์ใช้ทำให้สามารถบริหารจัดการระบบได้อย่างทันท่วงที สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ข้อมูลการเลี้ยงที่ได้ในแต่ละครั้งสามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาพารามิเตอร์ในการเลี้ยงปลาที่เหมาะสมที่สุดได้ โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว พร้อมนำไปขยายผลสู่ชุมชนหรือเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสุจิรา ศักดิ์พรหม
สังกัด งานบริหารโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด appeared first on NAC2021.

]]>
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/agro-13-sugarcane/ Fri, 12 Mar 2021 08:02:33 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13238 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)          อุตสาหกรรมน้ำตาลของกลุ่มมิตรผลประสบปัญหาที่สำคัญ คือ ปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานมีความแปรปรวนไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงคุณภาพอ้อยที่ไม่คงที่ตลอดฤดูหีบ ทั้งนี้สาเหตุของควาแปรปรวนในเรื่องของผลผลิตและคุณภาพอ้อย เนื่องจาก ฤดูกาลปลูกอ้อย สภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงของเกษตรกร พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูก การระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งการจัดการหลังเก็บเกี่ยว แนวทางหนึ่งที่กลุ่มมิตรผลใช้ในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีผลผลิตและความหวานสูง รวมถึงมีอายุในการไว้ตอที่นานขึ้น แต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยด้วยวิธีมาตรฐานต้องใช้เวลานาน (10-12 ปี) และมีโอกาสที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสูง          จากข้อจำกัดดังกล่าวของการปรับปรุงพันธุ์ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล และ Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีลักษณะตามที่ต้องการลงเหลือ 6-7 ปี และ เพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้สูงขึ้น          สวทช. ร่วมดำเนินการวิจัยกับกลุ่มมิตรผล ศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลต่อยีนที่ควบคุมความหวานในอ้อย เพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยทีมีความหวานสูง (Marker-assisted selection (MAS) ซึ่งมีความแม่นยำสูง และพัฒนา Platform […]

The post การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล appeared first on NAC2021.

]]>

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ
ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

         อุตสาหกรรมน้ำตาลของกลุ่มมิตรผลประสบปัญหาที่สำคัญ คือ ปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานมีความแปรปรวนไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงคุณภาพอ้อยที่ไม่คงที่ตลอดฤดูหีบ ทั้งนี้สาเหตุของควาแปรปรวนในเรื่องของผลผลิตและคุณภาพอ้อย เนื่องจาก ฤดูกาลปลูกอ้อย สภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงของเกษตรกร พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูก การระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งการจัดการหลังเก็บเกี่ยว แนวทางหนึ่งที่กลุ่มมิตรผลใช้ในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีผลผลิตและความหวานสูง รวมถึงมีอายุในการไว้ตอที่นานขึ้น แต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยด้วยวิธีมาตรฐานต้องใช้เวลานาน (10-12 ปี) และมีโอกาสที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสูง

         จากข้อจำกัดดังกล่าวของการปรับปรุงพันธุ์ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล และ Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีลักษณะตามที่ต้องการลงเหลือ 6-7 ปี และ เพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้สูงขึ้น

         สวทช. ร่วมดำเนินการวิจัยกับกลุ่มมิตรผล ศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลต่อยีนที่ควบคุมความหวานในอ้อย เพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยทีมีความหวานสูง (Marker-assisted selection (MAS) ซึ่งมีความแม่นยำสูง และพัฒนา Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการมาใช้ในการตัดสินใจเลือกเครื่องหมายพันธุกรรมสำหรับคัดเลือกอ้อยลูกผสม เพื่อลดระยะเวลาและงบประมาณของการปรับปรุงพันธ์อ้อย ปัจจุบันคณะผู้วิจัยได้พัฒนาอ้อยสายพันธุ์ใหม่ คือ อ้อยภูเขียว ที่มีความหวานและผลผลิตเฉลี่ยไม่แตกต่างหรือดีกว่าพันธุ์มาตรฐาน (KK3 หรือ ขอนแก่น 3) มีลักษณะทิ้งกาบใบเร็ว จึงช่วยแก้ปัญหาการเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว โดยได้ผ่านการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ได้มีการปลูกทดสอบการปรับตัวในพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ (จำนวน 24 แปลง) และในแปลงของเกษตรกรลูกไร่ของกลุ่มมิตรผลทั้งในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 แปลง (รวมเป็นพื้นที่ 130 ไร่) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของอ้อยสายพันธุ์ใหม่ และในปี 63/64 ได้ส่งเสริมการปลูกพันธุ์อ้อยภูเขียว ในพื้นที่ของเกษตรกรลูกไร่ จำนวนพื้นที่ 450 ไร่ แล้ว

ติดต่อสอบถาม

นางสาวศศิวิมล บุญอนันต์
สังกัด ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro16-chelate-fertilizer/ Fri, 05 Mar 2021 04:12:02 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9871 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย การปลูกพืชนั้น หากดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ นอกจากการเติมปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K แล้ว การเติมธาตุอาหารเสริม (Micronutrients) ให้แก่พืชก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน พืชที่ขาดธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี คลอรีน หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะแสดงความผิดปกติออกทางส่วนต่างๆ และส่งผลสำคัญต่อผลผลิตของพืชด้วย โดยทั่วไปการเติมธาตุอาหารเสริมทางดินนั้น ไม่ค่อยได้ผลดีเนื่องจากธาตุอาหารตกตะกอนในดินได้ง่าย พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ นาโนเทค สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาสารคีเลตของธาตุอาหารพืช ซึ่งสารคีเลตนี้เป็นสารอินทรีย์เพื่อใช้ฉีดพ่นให้กับพืชทางใบ เป็นวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาการตกตะกอน และการสูญเสียธาตุอาหารเสริมทางดิน โดยเมื่อฉีดพ่นสารคีเลตซึ่งมีคุณสมบัติช่วยพาธาตุอาหารเข้าสู่พืชได้ง่ายขึ้นแล้ว พืชจะสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี สารละลายธาตุอาหารสำหรับใช้ในการปลูกพืชแบบไร้ดินหรือใช้ฉีดทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือบำรุงรักษาต้นไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งสารละลายนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีความเสถียรในการเก็บ เนื่องจากไม่สลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนให้กับพืช ทดแทนการใช้สารสังเคราะห์ เช่น EDTA สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดินนี้ ประกอบด้วยสารอาหารจุลธาตุอาหารพืชเหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบหรือใช้ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหารหลักทางราก โดยสารละลายจุลธาตุดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ข้อดีของนวัตกรรมปุ๋ยคีเลตนี้ • […]

The post นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ)

นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

        การปลูกพืชนั้น หากดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ นอกจากการเติมปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K แล้ว การเติมธาตุอาหารเสริม (Micronutrients) ให้แก่พืชก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน

        พืชที่ขาดธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี คลอรีน หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะแสดงความผิดปกติออกทางส่วนต่างๆ และส่งผลสำคัญต่อผลผลิตของพืชด้วย โดยทั่วไปการเติมธาตุอาหารเสริมทางดินนั้น ไม่ค่อยได้ผลดีเนื่องจากธาตุอาหารตกตะกอนในดินได้ง่าย พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ นาโนเทค สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาสารคีเลตของธาตุอาหารพืช ซึ่งสารคีเลตนี้เป็นสารอินทรีย์เพื่อใช้ฉีดพ่นให้กับพืชทางใบ เป็นวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาการตกตะกอน และการสูญเสียธาตุอาหารเสริมทางดิน โดยเมื่อฉีดพ่นสารคีเลตซึ่งมีคุณสมบัติช่วยพาธาตุอาหารเข้าสู่พืชได้ง่ายขึ้นแล้ว พืชจะสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

สารละลายธาตุอาหารสำหรับใช้ในการปลูกพืชแบบไร้ดินหรือใช้ฉีดทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือบำรุงรักษาต้นไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งสารละลายนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีความเสถียรในการเก็บ เนื่องจากไม่สลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนให้กับพืช ทดแทนการใช้สารสังเคราะห์ เช่น EDTA สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดินนี้ ประกอบด้วยสารอาหารจุลธาตุอาหารพืชเหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบหรือใช้ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหารหลักทางราก โดยสารละลายจุลธาตุดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อดีของนวัตกรรมปุ๋ยคีเลตนี้

• เพิ่มจุดเด่นและความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์
• เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของพืช
• เพิ่มการดูดซึมธาตุอาหารทางปากใบ
• เพิ่มกรดอะมิโนให้แก่พืช
• เพิ่มความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
• ลดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยเคมีที่เกินความจำเป็น
• ลดปัญหาการตกตะกอนของสารละลายคีเลต
• ลดความเป็นอันตรายจากการใช้สารสังเคราะห์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
คำขออนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 1503000472
เรื่อง สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดิน
ยืนคำขอ วันที่ 1 เมษายน 25581

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) appeared first on NAC2021.

]]>
AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro14-agritec-station/ Thu, 04 Mar 2021 09:42:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9117 ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)          สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร หรือ สท. เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตร ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น         บทบาทของสำคัญ สท. คือการเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น         หนึ่งในกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ การพัฒนาจุดเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 56แห่ง ใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ (48 อำเภอ) ประกอบด้วย 1) ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ 2)ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพ […]

The post AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน appeared first on NAC2021.

]]>

AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน

AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์
รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

         สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร หรือ สท. เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตร ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

        บทบาทของสำคัญ สท. คือการเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

        หนึ่งในกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ การพัฒนาจุดเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 56แห่ง ใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ (48 อำเภอ) ประกอบด้วย 1) ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ 2)ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพ นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง กาญจนบุรี เพชรบุรี 3) ภาคอีสาน ได้แก่ เพชรบูรณ์  ร้อยเอ็ด  เลย  กาฬสินธุ์ สุรินทร์  อุบลราชธานี  นครพนม ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา อุดรธานี 4) ภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี ชลบุรี  ฉะเชิงเทรา 5) ภาคใต้ ได้แก่ พัทลุง โดยแบ่ง 3 ระดับคือ ระดับชุมชน 48 แห่ง ระดับภูมิภาค 7 แห่ง และสถานีเรียนรู้กลาง 1 แห่ง หรือที่เรียกว่า AGRITEC Station ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งเป็นแปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ

        AGRITEC Station คือ แปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเยี่ยมชมได้ โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ทาง facebook สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

AGRITEC Station Journey

แนะนำ AGRITEC Station แปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร
โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี

ติดต่อสอบถาม

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

The post AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน appeared first on NAC2021.

]]>