Line Track Skip to content

ALICE Collaboration และความร่วมมือกับประเทศไทย

ALICE Collaboration และความร่วมมือกับประเทศไทย

นักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษาการเกิดขึ้นของเอกภพว่าเกิดขึ้นอย่างไร และ ต้องการที่จะรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จากการศึกษาในเชิงทฤษฎีพบว่ากระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้มาจาก ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang) ซึ่งคาดว่าเกิดขึ้นและผ่านมาแล้วเป็นเวลากว่า 13.8 พันล้านปี

โดยพลังงานจากทฤษฎีบิ๊กแบงได้เปลี่ยนรูปไปเป็นอนุภาคมูลฐาน เช่น ควาร์ก เลปตอนและ กลูออน ก่อนในขั้นตอนแรก แล้วหลังจากนั้น ควาร์ก เลปตอนและ กลูออน จึงรวมตัวเป็น นิวเคลียส อะตอม โมเลกุล และสสาร ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนและขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ

รูปที่ 1 กำเนิดเอกภพตามแนวคิดตาม ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang)
ที่มา:http://3.bp.blogspot.com/_ee6egjqDMoM/TEh6Rv_Or8I/AAAAAAAAAA4/L7SlBktIT4/s1600/9108002%5B1%5D.jpg

เพื่อที่จะทำการศึกษากระบวนการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเสี้ยววินาทีหลังจากบิ๊กแบงเรียกว่า ควาร์ก-กลูออน พลาสมา

ซึ่งเป็นช่วงที่มีเฉพาะควาร์กและกลูออนเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นนำของโลกจากหลากหลายประเทศ จึงได้ร่วมมือกันออกแบบหัววัด ที่เรียกว่า อลิซ (A Large Ion Collider Experiment, ALICE)  เพื่อตรวจหาปรากฏการณ์นี้จากการวัดอนุภาคมูลฐานจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นหลังการชนของไอออนหนัก

รูปที่ 2 ภาพการรวมตัวของควาร์ก เป็น นิวเคลียส อะตอม โมเลกุล และสสาร ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนและขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ
ที่มา:https://inpp.ohio.edu/~rochej/group_page/strongly_interacting.html

หัววัดอลิซ จัด เป็น 1 ใน 7 หัววัดหลัก ที่ติดตั้งบริเวณ  เครื่องเร่งอนุภาคฮาดรอนขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider, LHC)  ณ องค์กรแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ หรือ เซิร์น  สมาพันธรัฐสวิส  การสร้างหัววัดต่าง ๆ เหล่านี้ต้องใช้เทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงที่มีความซับซ้อน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงมีพระราชดําริ ว่า หากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทํางานวิจัยร่วมกับเซิร์น ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงชั้นนําระดับโลก ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศเป็นอันมาก

รูปที่ 3 พระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง มทส. และ อลิซ, เซิร์น 
ณ วังสระปทุม เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หน่วยงานในประเทศไทยอันประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และ  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)   จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยออกแบบและพัฒนาระบบติดตามทางเดินของอนุภาค (Inner Tracking System, ITS) ร่วมกับนักวิจัยชั้นนำจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ที่เหมือนกับเซนเซอร์ของกล้องถ่ายภาพ แต่มีความไวและความละเอียดในการวัดสูงมาก  เมื่อมีอนุภาคที่มีประจุวิ่งผ่านเซนเซอร์ เซนเซอร์จะส่งสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ทราบถึงตำแหน่งที่อนุภาคเคลื่อนที่ผ่าน 

รูปที่ 4 แสดงทางเดินและจำนวนอนุภาคที่เกิดขึ้นในการชนที่หัววัดอลิซในแต่ละครั้ง โดยเส้นแต่ละเส้น คือ เส้นทางการเดินทางของอนุภาค 1 ตัว ที่เกิดขึ้นหลังการชน 1 ครั้ง

อนุภาคที่เกิดขึ้นหลังการชนกันของ LHC แต่ละครั้ง มีจำนวนมหาศาล  โดยจากรูปที่ 4 เส้นแต่ละเส้น คือ เส้นทางการเดินทางของอนุภาค 1 ตัว ที่เกิดขึ้นหลังการชน 1 ครั้ง   เส้นเหล่านี้สร้างจากการนำข้อมูลที่เซนเซอร์บันทึกไว้มาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance  Computing, HPC) 

เซนเซอร์ในระบบติดตามทางเดินของอนุภาคที่ทางประเทศไทยเข้าไปร่วมออกแบบเรียกว่า อัลไพด์ (ALICE Pixel Detector, ALPIDE) ซึ่งมีขนาดกว้าง 1.5 x 3.0 ตารางเซนติเมตร  การสร้างระบบติดตามทางเดินของอนุภาค นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจะนำเซนเซอร์อัลไพด์มาเรียงกันเป็น แถบ(stave) แล้วนำมาเรียงประกอบกันเป็นรูปทรงกระบอกล้อมรอบบริเวณที่เกิดการชนกันของอนุภาค 

 A) รูปภาพของเซนเซอร์อัลไพด์

B) นำเซนเซอร์อัลไพด์มาเรียงเป็นแถบ

C) นำแถบเซนเซอร์มาเรียงเป็นครึ่งทรงกระบอก

 D) แถบเซนเซอร์ที่เรียงเป็นครึ่งทรงกระบอกแล้วเสร็จ

E) ครึ่งทรงกระบอก นำมาประกอบเป็นทรงกระบอกล้อมรอบ จุดที่เกิดการชนของอนุภาค

รูปที่ 5 แสดงภาพรวมการดำเนินงานของการสร้างระบบติดตามทางเดินของอนุภาค 
ที่มา: M. Keil 2015 JINST 10 C03012,  https://ep-news.web.cern.ch/alice-its-upgrade-pixels-quarks (b)
http://cds.cern.ch/record/2690228?ln=en (c), (d) Reidt 2016 JINST 11 C12038 (e)

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ