Line Track Skip to content

โลกเปลี่ยน คนปรับ ขยับการเรียนรู้ ในโรงเรียน(ชนบท)

โลกเปลี่ยน คนปรับ ขยับการเรียนรู้ ในโรงเรียน(ชนบท)

เวลา

13:00

- 16:00 น.

วิทยากร

พระครูถาวรรัตนานุกิจ, อ.สุรเดช พหลโยธิน, อ.วีรชัย สติรักษ์, รศ.ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา, ผศ.ดร.อรรถพล อนันตวรสกุล, ดร.กุศลิน มุสิกุล and ดร.ยุวเรศ มลิลา

รายละเอียด:

โลกเปลี่ยน คนปรับ ขยับการเรียนรู้ ในโรงเรียน(ชนบท)

25 มีนาคม 2564 
เวลา 13:00 – 16:00 น.

        ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอยางไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นภายหลังการระบาดอย่างรุนแรงของโรคระบาด Covid-19 ทั่วโลกและประเทศไทยจำเป็นจำมีการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้อารยธรรม วัฒนธรรม กิจกรรมด้านต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์และสังคมของมนุษยชาติสามารถดำเนินต่อไปได้โดยมีผลกระทบเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับกิจกรรมด้านการจัดการศึกษา นับเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีการปรับตัวอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดการนำและเร่งพัฒนาเทคโนโลยี วิธีการใหม่ๆ มาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนทั่วโลกยังสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

        สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ออกมาตรการ วิธีการมากมาย เพื่อขับเคลื่อนความสามารถของบุคลากรด้านการศึกษาให้สามารถใช้ เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ได้อยางมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง แต่เป็นที่ทราบกันว่า แม้จะอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่ยังคงมีหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่สภาพแวดล้อม บริบท และความพร้อมในเชิงโครงสร้างยังไม่พร้อมมากนักกับการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ โดยเฉพาะโรงเรียนในเขตชนบทห่างไกล ทำให้ต้องมีการปรับตัวด้วยวิธีการและมิติที่อาจจะแตกต่างไปจากโรงเรียนใหญ่ในเขตเมือง

        บทเรียนและแนวทางของการปรับเปลี่ยนตนเองของโรงเรียนในชนบทที่ สวทช. โดยงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท เข้าไปมีส่วนร่วมส่งเสริมและพัฒนาครูผู้สอน จึงเป็นเรื่องน่าสนใจศึกษาและถอดรหัส ว่าจะสามารถทำอย่างไร เพื่อเปลี่ยนให้ความไม่พร้อมกลายเป็นความพร้อม พลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสได้สำหรับผู้เรียนในพื้นที่ห่างไกลในการเรียนรู้จากปัญหาที่ประสบพบเจอในยุคปัจจุบัน

        การเสวนาในครั้งนี้ จะมีทั้งเสียงสะท้อนจากทั้งครูในพื้นที่จริง ที่ได้ประสบ แก้ไข และพิชิตอุปสรรคเหล่านั้นมาแล้ว รวมถึงมุมมองจากนักวิชาการด้านการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ และด้านสังคม ร่วมถึงทางด้านนโยบายทางการศึกษาร่วมแลกเปลียนในครั้งนี้ เพื่อร่วมหาแนวทางในในพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยต่อไปอย่างไม่ขาดตอน ให้เห็นว่า โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คนก็ต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ร่วมเป็นพลัง กำลังใจ และความหวัง เพื่อค้นหาแนวทางและวิธีการใหม่ๆที่น่าตื่นเต้น ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเพื่อจะสามารถปรับตัวตาม และก้าวไปพร้อมกับโลกใบนี้อย่างเข้มแข็งและปลอดภัย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 25 มีนาคม 2564

13.00-13.15 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการเสวนา

โดย  ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล
รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.15-14.00 น.

สถานการณ์การจัดการเรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนชนบทบริบทต่างๆ

1. บริบทของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
โดย พระครูถาวรรัตนานุกิจ
ประธานเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 6

2. บริบทของโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลในเขตภาคเหนือ
โดย อาจารย์สุรเดช พหลโยธิน
ผู้เชี่ยวชาญ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท
อดีตรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน

3. บริบทของโรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย อาจารย์วีรชัย สติรักษ์
ครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้าครูกลุ่มโรงเรียนรักษ์ป่าบาลา จังหวัดนราธิวาส

14.00-15.00 น.

นานาทัศนะและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนยุค New Normal โดย นักวิชาการชั้นนำด้านการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์

1. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล อนันตวสกุล
ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศึกษา
จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ดร.กุศลิน มุสิกุล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

15.00-15.30 น.

มุมมองการพัฒนาการเรียนรู้ในช่วง next normal ในโรงเรียนชนบท: การเตรียม ความพร้อมของเด็กและครูสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
โดย วิทยากรและตัวแทนครูทุกท่าน

15:00-16:00 น.

เวทีถามตอบและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

เกี่ยวกับวิทยากร:

Tag

รายการสัมนา

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000