Line Track Skip to content

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

ความสำคัญของงานวิจัย

          โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous-Driving Vehicle Technology) เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายและความต้องการใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง ในอนาคตของประเทศไทย โดยเริ่มจากการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติสำหรับการใช้งานขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด (Geo-fenced Area) ที่มีการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมและสั่งการแบบอัตโนมัติเพื่อนำไปติดตั้งและบูรณาการเข้ากับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Platform) ซึ่งในโครงการได้เลือกใช้รถกอล์ไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนของระบบขับเคลื่อนน้อย และสามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีผู้ขับฉุกเฉิน (Emergency Driver) ทำหน้าที่ควบคุมรถในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น การทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ (Level-3) ดำเนินการในพื้นที่ Sandbox ซึ่งมีการรบกวนจากการจราจร ยวดยานอื่นๆ และผู้ร่วมใช้ถนนไม่หนาแน่น เพื่อที่จะประเมินความเป็นไปได้ในศึกษาการใช้งานของระบบควบคุมและสั่งการสำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ โดยระบบของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก

  • ระบบ Drive-By-Wire หรือเรียกว่าระบบควบคุมสั่งงานการขับขี่ (พวงมาลัย เบรก และคันเร่ง) ซึ่งจะสื่อสารด้วย Protocol CAN BUS
  • ระบบนำทางอัตโนมัติ ในโครงการนี้ได้เลือกใช้เซ็นเซอร์นำทางแบบ Light Detection and Ranging (LiDAR) ที่ทำงานควบคู่กับ High Density Map แบบ 3 มิติ ที่จะต้องเตรียมการจัดทำไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมี Global Navigation Satellite System (GNSS) Receiver ติดตั้งไว้บนตัวรถ เพื่อใช้รับสัญญาณจากดาวเทียมระบุตำแหน่งตัวรถบนพื้นผิวโลกที่ทำงานร่วมกับ CORS Station เพื่อให้ได้ความแม่นยำในการระบุตำแหน่งของตัวรถในระดับเซ็นติเมตร ณ เวลาจริง โดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวางรอบตัวรถเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุการชนของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติกับสิ่งมีชีวิตมนุษย์ และวัตถุต่างๆ ซึ่งจะช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นๆ
  • ระบบจัดการฝูงรถ (Fleet Management System) ทำหน้าที่สื่อสารกับระบบนำทางอัตโนมัติของรถ โดยในโครงการนี้ได้ทดลองรถขับขี่อัตโนมัติเพียง 1 คัน ระบบดังกล่าวจึงจำกัดอยู่เพียง Application Program สำหรับค้นหาตำแหน่งรถ และเรียกรถให้มารับผู้โดยสารผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

ระบบ Drive-By-Wire

เซนเซอร์

กลไกควบคุมทิศทางรถ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (Autonomous Driving Technology Level#3) ที่มีความพร้อมสามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาต่อยอดใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง และโลจิสติกส์
  • เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่ต้องคำถึงตัวแปรและเงื่อนไขในเชิงพื้นที่ (Localized Constrains)
  • เทคโนโลยีที่มีความพร้อมนำไปใช้งานเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน (User) ยานยนต์ (Vehicle) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และสรรพสิ่งต่างๆ

เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (Autonomous Driving Technology Level#3)

ติดต่อสอบถาม

ดร. จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน
ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ