Line Track Skip to content

มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์
ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลผลมีเนื้อหลายเมล็ด อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด

        มะเขือเทศในประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์ มะเขือเทศท้อผลใหญ่และมะเขือเทศสีดา นิยมนำไปผ่านกระบวนการแปรรูป  เช่น ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ  และมะเขือเทศเชอรี่ นิยมรับประทานผลสดล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณทางด้านโภชนาการมากมาย เนื่องจากมีสารไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งไลโคปีน คือสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ อันมีสาเหตุมาจากเซลล์ถูกทำลาย เช่น โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในด้านการบำรุงผิวพรรณ รักษาสิว เป็นต้น

      ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้ามะเขือเทศสดและแปรรูปจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20 ล้านตัน รวมมูลค่ากว่า 600 ล้านบาท แม้ว่ามะเขือเทศสามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคในประเทศไทย โดยนิยมเพาะปลูกมากที่จังหวัด เชียงใหม่ สกลนคร เพชรบุรี เป็นต้น แต่เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชที่เกิดการระบาดของโรคได้ง่ายหากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศไม่เหมาะสม โดยโรคที่พบมากในมะเขือเทศ ได้แก่ โรคใบหงิกเหลือง โรคเหี่ยวเขียว โรคใบไหม้ และโรคผลเน่า อีกทั้งยังมีแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายได้ตลอดอายุการเพาะปลูก จึงต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดีทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง ดังนั้นนักวิจัยจากทีมวิจัยไวรัสพืชและแบคทีรีโอฟาจ ไบโอเทค สวทช. จึงได้ปรับปรุงสายพันธุ์มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ ให้มีความต้านทานโรคต่าง ๆ ทั้งโรคใบหงิกเหลือง โรคเหี่ยวเขียว และโรครากปม รวมถึงมีรสชาติดีอีกด้วย

มะเขือเทศสายพันธุ์แดงโกเมน (PC3) และสายพันธุ์ซันไชน์ (PC11)

มะเขือเทศสายพันธุ์แดงโกเมน (PC3)

มะเขือเทศสายพันธุ์สายพันธุ์ซันไชน์ (PC11)

        มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 พันธุ์นี้เกิดจากการนำมะเขือเทศพันธุ์ Snack slim 502 (พัฒนาพันธุ์โดยผศ. ถาวร โกวิทยากร) ซึ่งมีรสหวานกรอบ แต่ข้อเสียคือไม่ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง มาผสมพันธุ์กับ มะเขือเทศพันธุ์ GT645-2 (พันธุ์จากบริษัท Semillas Tropicales) ซึ่งมียีนต้านทานโรคใบหงิกเหลือง และนำมาผสมกลับ  (backcross) กับมะเขือเทศพันธุ์ Snack slim 502 ที่แปลงปลูก บริษัท ที เค อาร์ แอนด์ ดี จำกัด จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2553-2558 โดยใช้เทคนิค Marker Assisted Selection ร่วมกับวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบเดิม และคัดเลือกต้นมะเขือเทศที่มียีนต้านทานโรคด้วย SCAR (Sequence Characterized Amplified Region) DNA Marker ช่วยให้คัดเลือกได้อย่างแม่นยำ และใช้เวลาในการคัดเลือกสั้นลง

จุดเด่น

  1. ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลืองในระดับดี 
  2. ผลหวานกรอบ และเมล็ดน้อย 
  3. สามารถเพาะปลูกได้ทั่วประเทศ นิยมปลูกในภาคเหนือโดยเฉพาะช่วงเดือนกันยายน 
  4. ให้ผลผลิตสูง ประมาณ 5 ตันต่อไร่ 
  5. ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชกับกรมวิชาการเกษตรแล้ว 
  6. ปัจจุบันได้ถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่บริษัทเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงการค้าและถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการผลิตผลสดต่อไป

*ความหวานหน่วย brix มีระดับความเข้มข้น 1 บริกซ์ เท่ากับน้ำตาลซูโครส 1 กรัม ในสารละลาย 100 กรัม

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน มะเขือเทศลูกเล็กต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

มะเขือเทศลูกเล็กที่ทานสดอย่างพันธุ์ Snack-Slim 502 กำลังได้รับความนิยมมาก เพราะทั้งหวานกรอบและมีวิตามินซีสูง แต่มะเขือเทศพันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคใบหงิกเหลือง เวลาเกิดโรคทีเสียหายกันทั้งแปลง นักวิจัยไทยจึงได้ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ที่กรอบอร่อยเหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมด้วยคุณสมบัติต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

ติดต่อสอบถาม

ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์
ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ