Line Track Skip to content

นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รายละเอียด:

นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัย

ทางเลือกใหม่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Battery innovation, a new alternative and ecofriendly battery

        ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน  ซึ่งแบตเตอรี่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในฐานะของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าจะเป็นในระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ในยานยนต์ไฟฟ้า หรือในระบบกักเก็บพลังงาน

       แบตเตอรี่ที่เป็นที่นิยมในเชิงพาณิชย์ใน ปัจจุบันคือแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากสมรรถนะที่สูง อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแร่ลิเธียม ทำให้ต้องนำเข้าแร่ลิเธียมจากต่างประเทศทั้งหมด ด้วยเหตุนี้แบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดการพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งสำรองแร่สังกะสี อีกทั้งแบตเตอรี่สังกะสียังมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น ด้านราคา ด้านความ ปลอดภัย และด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุดิบที่มีราคาถูกและมีปริมาณมากในธรรมชาติ แบตเตอรี่สังกะสีไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำมารีไซเคิลได้ ทั้งยังให้สมรรถนะที่ดี 

        จากเหตุผลที่กล่าวมา แบตเตอรี่สังกะสีจึงถูกวางให้เป็นแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ที่จะถูกพัฒนาให้เป็นแบตเตอรี่สมรรถนะสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับนานาประเทศ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้ง โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนในประเทศไทย” จึงเกิดขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยจากแหล่งทุน กฟผ-สวทช. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาและผลักดันเทคโนโลยีแบตเตอรี่สังกะสีเกิดขึ้นในประเทศไทยและในอนาคตมีแผนที่จะ จัดสร้างโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

09.00-09.10 น.

กล่าวต้อนรับ

โดย
ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ 

09.10-09.20 น.

เปิดงานเสวนา

โดย
อาจารย์พินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
ผู้ทรงคุณวุฒิโปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัย กฟผ.- สวทช.

09.20-10.00 น.

รายงานผล “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้งโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสี-แมงกานีสไดออกไซด์ ในประเทศไทย”

โดย
ดร.ปรียากาญจณ์ เอกสุวรรณฉาย

10.00-11.30 น.

Panel discussion “แนวทางการผลักดันและส่งเสริมธุรกิจระบบกักเก็บพลังงานและแบตเตอรี่สังกะสีไอออน

โดย

  • อาจารย์พินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
    ผู้ทรงคุณวุฒิโปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัย กฟผ.- สวทช.
  • พันเอกพิพัฒน นิลแก้ว
    ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่ทหาร โรงงานแบตเตอรี่ทหาร
  • คุณปริพัตร บูรณสิน
    ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการยานยนต์ไฟฟ้า สภาผู้แทนราษฎร
  • ดร.ไพโรจน์ ภานุกาญจน์
    ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานนวัตกรรม และบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าจากบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
  • รศ.ดร.สุรเทพ เขียวหอม
    อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.30-12.00 น.

กล่าวปิดงาน

โดย
ดร.อดิสร เตือนตรานนท์
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

เกี่ยวกับวิทยากร:

Tag

รายการสัมนา

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000