NAC2020 https://www.nstda.or.th/nac/2020 การประชุมวิชาการ สวทช. ครั้งที่ ๑๖ Tue, 25 Feb 2020 08:49:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.5.3 https://www.nstda.or.th/nac/2020/wp-content/uploads/2020/01/icon.png NAC2020 https://www.nstda.or.th/nac/2020 32 32 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่การก่อสร้างไทยอย่างยั่งยืน https://www.nstda.or.th/nac/2020/20200403-towerb-inc2/ Tue, 25 Feb 2020 08:49:35 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2020/?p=2454 Read more]]> วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่การก่อสร้างไทยอย่างยั่งยืน

(Science technology and innovation for sustainable construction in Thailand)

วันที่ 3 เมษายน 2563 เวลา 9.00 – 12.00 น.

            โถงชั้น 1 ทาวเวอร์ อาคาร B กลุ่มนวัตกรรม 2 (INC 2) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

บทคัดย่อ

            อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อสภาวะและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน และการกระจายรายได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีมากมายหลายประเภท เช่น งานโครงสร้าง งานบริหารจัดการน้ำ งานถนน และงานบริหารงานก่อสร้าง เป็นต้น การพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างไทยให้มีความยั่งยืนและสู่การแข่งขันในระดับสากล ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ให้เกิดการศึกษา วิจัยและพัฒนา และการบริหารจัดการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

            ในปี 2562 ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโครงการนักวิจัยแกนนำ              ได้สนับสนุนการวิจัยในโครงการวิจัยด้านวิศวกรรมก่อสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโครงสร้างโดยเฉพาะคอนกรีต และการออกแบบถนนด้วยวัสดุธรรมชาติและวัสดุทางเลือก โดยมุ่งให้งานวิจัยที่จะเกิดขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้จริง การจัดประชุมเสวนาเรื่อง “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่การก่อสร้างไทยอย่างยั่งยืน” นี้ จึงเป็นการผนึกพลังสร้างความตื่นตัวที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เกิดการพัฒนางานวิจัยที่จะนำไปสู่การใช้งานได้จริงที่เหมาะสมกับประเทศไทย รวมทั้ง การพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างให้มีศักยภาพและมีความสามารถแข่งขันได้  โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นักวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และบุคคลทั่วไป

กำหนดการ
09.00 – 09.10 น. กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม

โดย รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา

ที่ปรึกษาอาวุโสผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

9.10 – 9.30 น. เจาะทิศทางของการก่อสร้างไทย

โดย นายวิกรม วัชระคุปต์

ประธานคลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

9.30 – 9.50 น. วิจัยใช้จริง : เทคโนโลยีและนวัตกรรมการก่อสร้าง  

โดย ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

9.50 – 10.10 น. อดีตและอนาคตของวิศวกรรมถนน

โดย ศ.ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

10.10 – 10.30 น. ทันเทรนด์ก่อสร้างแห่งอนาคต

โดย นายชนะ ภูมี

Vice President – Cement and Construction Solution Business

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี (อยู่ระหว่างทาบทาม)

10.30 – 11.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 น. เสวนา: อุตาหกรรมก่อสร้าง กับ BCG model เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดำเนินการเสวนาโดย รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา

รายชื่อผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน ได้แก่

1. นายวิกรม วัชระคุปต์

ประธานคลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

2.  ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. ศ.ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน

4. นายชนะ ภูมี

Vice President – Cement and Construction Solution Business

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี

5. ดร.เสถียร เจริญเหรียญ

วิศวกรใหญ่ กรมโยธาธิการและผังเมือง  (อยู่ระหว่างทาบทาม)

]]>
เรียนรู้ รับมือ โควิด-19 (COVID-19) https://www.nstda.or.th/nac/2020/20200331-co-113-pm/ Tue, 25 Feb 2020 07:59:46 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2020/?p=2443 Read more]]> หัวข้อ     เรียนรู้ รับมือ โควิด-19 (COVID-19)

วันที่ 31 มีนาคม 2563 เวลา 13.30-16.30 น.

ห้องประชุม CO113 อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

กำหนดการ
13.30 – 13.10 น. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม

โดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล

ประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีเพื่อเตรียมพร้อมป้องกันโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ

13.10 – 13.40 น. ไวรัส…จากสัตว์สู่คน

โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

13.40 – 14.10 น. ไวรัสโคโรนาน่ากลัวจริงหรือ

โดย ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

14.10 – 14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.30 – 15.00 น. สถานการณ์และการรับมือ COVID-19 ของประเทศไทย

โดย นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์/ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

15.00 – 15.30 น. รู้ได้อย่างไร ว่ามีผู้ป่วยมากแค่ไหน: แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้พยากรณ์โรคติดเชื้อ COVID-19

โดย รศ.ดร.ชรินทร์ โหมดชัง

มหาวิทยาลัยมหิดล

15.30 – 16.00 น. อยู่กับเชื้อให้ทุกคนปลอดภัย: APPLICATION เพื่อติดตามเฝ้าระวัง COVID-19

โดย ดร.ปฏิพัทธ์ สุสำเภา

บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด

และ ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

16.00 – 16.30 โจทย์วิจัยและการเตรียมพร้อมเพื่อการรับมือต่อ COVID19

โดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล

ประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีเพื่อเตรียมพร้อมป้องกันโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ

]]>
ทิศทางและความสามารถของไทยกับการพัฒนาชีววัตถุ https://www.nstda.or.th/nac/2020/20200403-lecture1-am/ Thu, 20 Feb 2020 15:52:27 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2020/?p=2333 Read more]]> ทิศทางและความสามารถของไทยกับการพัฒนาชีววัตถุ

วันที่ 3 เมษายน 2563
เวลา  09.00-12.00 น.
ห้องประชุม Lecture 1  อาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

 

กำหนดการ
09.00-09.30 น. สถานภาพ กลไก และทิศทางการสนับสนุนการพัฒนาชีววัตถุของประเทศไทย

โดย ดร.กำจร พลางกูร

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)

09.30-09.50 น. ความพร้อมด้านการผลิตและการควบคุมคุณภาพ

โดย ดร.พนิต กิจสุบรรณ

บริษัท KinGen Biotech จำกัด

09.50-10.20 น. ความพร้อมด้าน Regulatory สำหรับการขึ้นทะเบียนชีววัตถุที่มีการพัฒนาในประเทศ รวมถึงกรณีวัคซีนสำหรับสัตว์เศรษฐกิจ 

โดย ดร.สุชาติ จองประเสริฐ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

10.20-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30-11.00 น. แนวคิดและประสบการณ์ของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ในการพัฒนาชีววัตถุ (Biosimilar/ Antibody) ภายในประเทศไทย และข้อเสนอแนะในการสร้างความเข้มแข็งด้านการพัฒนา ชีววัตถุในประเทศจากมุมมองของภาคเอกชน  

โดย ดร.ทรงพล ดีจงกิจ (อยู่ระหว่างการทาบทาม)

11.00-11.30น. แนวคิดและประสบการณ์ของบริษัทไบโอเนท-เอเชียในการพัฒนาชีววัตถุ (วัคซีน) ในประเทศไทย และข้อเสนอแนะในการสร้างความเข้มแข็งด้านการพัฒนาชีววัตถุในประเทศจากมุมมองของภาคเอกชน  

โดย คุณวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล (อยู่ระหว่างการทาบทาม)

11.30-12.00น. ความต้องการใช้วัคซีนสัตว์ และความเป็นไปได้ในการพัฒนาวัคซีนในประเทศไทย

โดย นายอมร เหลืองนฤมิตชัย

บริษัท มานิตย์เจเนติกส์ จำกัด

]]>
วทน. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน https://www.nstda.or.th/nac/2020/20200403-cc-309-am/ Thu, 20 Feb 2020 15:49:28 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2020/?p=2330 Read more]]> วทน. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(STI Driving BCG Economy for Sustainability)

วันที่ 3 เมษายน 2563
เวลา 09.30 – 12.00 น.

ห้องประชุม CC-Auditorium อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มุ่งขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่เร่งให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างทั่วถึงบนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาที่ยั่งยืน โมเดลเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B: Bioeconomy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C: Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G: Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG  โดยการวิจัยพัฒนา สร้างนวัตกรรม ครอบคลุม 4 ด้านหลัก ได้แก่ (1) อาหารและการเกษตร (2) สุขภาพและการแพทย์ (3) พลังงานและสิ่งแวดล้อม (4) ท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งสอดรับและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากจะได้ทราบการดำเนินงาน BCG in Action ของ สวทช. แล้ว ในหัวข้อนี้จัดให้มีการเสวนาจากภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาร่วมถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ของหน่วยงานในการนำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม มาร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG

กำหนดการ

09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียน
09.30 – 09.35 น. ผู้ดำเนินรายการกล่าวต้อนรับ
09.35 – 10.05 น. การบรรยาย “BCG Model in Action กับการพัฒนาประเทศ” โดย

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

10.05 – 12.00 น. การเสวนา “วทน. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล สวทช.

คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

คุณวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ บริษัท เบทาโกร จำกัด

คุณประวิทย์ ประกฤตศรี บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

ดร.กาญจนา วานิชกร สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

ดำเนินรายการโดย  ดร.สัญชัย คูบูรณ์ สวทช.

]]>
ประยุกต์โคดดิ้งสู่การแก้ไขเหตุฉุกเฉินขณะท่องเที่ยว https://www.nstda.or.th/nac/2020/20200403-cc-301-am/ Thu, 20 Feb 2020 15:45:39 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2020/?p=2327 Read more]]> กิจกรรมเยาวชน ในงานประชุมประจำปี สวทช. ครั้งที่ 16
ตอน
สนุกคิดนักวิทย์น้อยในอุทยานวิทยาศาสตร์

สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ถึง มัธยมศึกษาตอนต้น
วันที่ 3 เมษายน 2563

ชื่อกิจกรรม “ประยุกต์โคดดิ้งสู่การแก้ไขเหตุฉุกเฉินขณะท่องเที่ยว (Dealing with emergencies while travelling through apply coding)”

สถานที่                     ห้อง CC301 อาคาร CC

วัตถุประสงค์               1. ผู้เรียนสามารถเขียนโคดดิ้งอย่างง่ายผ่าน Block-based code ด้วยโปรแกรมKidBright – GoGo Bright

  1. ผู้เรียนสามารถเขียนคำสั่ง Block-based code เพื่อใช้งาน Sensors ต่างๆ
  2. ผู้เรียนสามารถประยุกต์การเขียนคำสั่ง Block-base code สู่เหตุการณ์จำลองที่

อาจเกิดขึ้นฉุกเฉินขณะเดินทางท่องเที่ยว เช่น การติดอยู่ในถ้ำ การแจ้งเตือนสึนามิ การแจ้งเตือนถนนมีไม้ล้มกีดขวาง เป็นต้น เพื่อทบทวนความเข้าใจการเขียนคำสั่งงานSensors

กลุ่มเป้าหมาย             นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน

กำหนดการ

08.30 – 09.00 น.        ลงทะเบียน

09.00 – 10.15 น.        1) พื้นฐานการเขียน Block-based code เพื่อสั่งการทำงานของ embedded Board

2) สนุกกับ Sensors ผ่านคำสั่ง Block-based code

10.15 – 10.30 น.        พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 – 12.00 น.        3) สนุกกับ Sensors ผ่านคำสั่ง Block-based code (ต่อ)

4) ประยุกต์การเขียนคำสั่ง Block-based code เพื่อใช้ Sensors มาประกอบเป็นเหตุการณ์จำลองที่อาจเกิดขึ้นฉุกเฉินขณะเดินทางท่องเที่ยว พร้อมนำเสนอ กลุ่มละ 5 นาที

]]>
ParaCoat https://www.nstda.or.th/nac/2020/20200403-cc203-am/ Thu, 20 Feb 2020 15:41:53 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2020/?p=2324 Read more]]> กิจกรรมเยาวชน ในงานประชุมประจำปี สวทช. ครั้งที่ 16
ตอน
สนุกคิดนักวิทย์น้อยในอุทยานวิทยาศาสตร์

สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ถึง มัธยมศึกษาตอนต้น
วันที่ 3 เมษายน 2563

ชื่อกิจกรรม               ParaCoat

สถานที่                     ห้อง CC-203 อาคาร 14 ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

วัตถุประสงค์               เอ็มเทค สวทช. มุ่งพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยียางธรรมชาติ ที่ตอบโจทย์ภายใต้ BCG Model  เช่น บ่อน้ำ เคลือบยางพาราสำหรับกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร หรือการเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นตัวอย่างของการแปรรูปยางพาราเพื่อใช้ประโยชน์และเพิ่มการใช้งานมากขึ้น สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ เอ็มเทคได้พัฒนา ParaCoat น้ำยางคอมปาวด์สำหรับเคลือบบนวัสดุ ซึ่งวัตถุดิบหลักที่ใช้คือ ผ้าดิบและน้ำยางพารา โดยจะได้เรียนรู้เรื่องยางพาราและสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ที่ทำจากยางพารา

 กลุ่มเป้าหมาย             นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน

กำหนดการ

08.30 – 09.00 น.        ลงทะเบียน ณ ห้อง CC203 อาคาร 14 ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

09.00 – 10.00 น.        รู้จัก ParaCoat

โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

10.00 – 10.15 น.        พักรับประทานอาหารว่าง

10.15 – 12.00 น.        กิจกรรมสนุกกับ ParaCoat

]]>
สร้างชิ้นงานจากเครื่อง Laser Cutting https://www.nstda.or.th/nac/2020/20200403-fablab-am/ Thu, 20 Feb 2020 15:39:29 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2020/?p=2321 Read more]]> กิจกรรมเยาวชน ในงานประชุมประจำปี สวทช. ครั้งที่ 16
ตอน
สนุกคิดนักวิทย์น้อยในอุทยานวิทยาศาสตร์

สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ถึง มัธยมศึกษาตอนต้น
วันที่ 3 เมษายน 2563

 

ชื่อกิจกรรม               สร้างชิ้นงานจากเครื่อง Laser Cutting

สถานที่                     ห้อง FabLab อาคาร 18 บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร

วัตถุประสงค์               เพื่อสร้าง/เสริม องค์ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
ให้กับนักเรียนเรียน อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความคิดและจินตนาการเชิงสร้างสรรค์
อันนำไปสู่ผลงานนวัตกรรมต่างๆ ได้อีกด้วย

สถานที่                    ห้อง FabLab อาคาร 18 บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร

กลุ่มเป้าหมาย              นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน

กำหนดการ

08.30 – 09.00 น.        ลงทะเบียน ณ ห้อง FabLab อาคาร 18 บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร

09.00 – 10.00 น.        ทำความรู้จัก “เทคโนโลยีการตัดเลเซอร์”

การใช้งานโปรแกรม Inkscape เบื้องต้น

การใช้งานโปรแกรม AutoLaser Version 2.3.5

โดย คุณปริญญา ผ่องสุภา

ฝ่ายบริหารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร

10.00 – 10.15 น.        พักรับประทานอาหารว่าง

10.15 – 12.00 น.        การใช้งานเครื่องตัดเลเซอร์สร้างชิ้นงาน “พวงกุญแจ ในรูปแบบที่ชอบ”

]]>
ระเบียบและวิธีการทำมาตรฐานอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ https://www.nstda.or.th/nac/2020/20200403-cc308-am/ Thu, 20 Feb 2020 12:24:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2020/?p=2314 Read more]]> ระเบียบและวิธีการทำมาตรฐานอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ

Overview Regulatory Requirement for Medical Devices and Assistive Technology Devices for the Elders and Disabilities

วันที่ 3 เมษายน 2563 
เวลา 9.00-12.00 น.

อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  ห้องประชุม CC308

 

กำหนดการ
09.00 -9.45น. ระเบียบการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ  และมาตรฐานรับรองที่เกี่ยวข้อง

วิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) (กำลังทาบทาม)

09.45-10.30น. ภาพรวมมาตรฐานการรับรองคุณภาพ ISO13485 / Risk Assessment

วิทยากร :  กำลังทาบทาม

10.30-10.45น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-11.30น. ภาพรวมวิธีการวิเคราะห์ทดสอบตามข้อกำหนด IEC 60601-1 / IEC 60601-2

วิทยากร :  PTEC (กำลังทาบทาม)

11.30-12.15น. การทดสอบ Software Validation

วิทยากร : NECTEC (กำลังทาบทาม)

12.15น. จบการสัมมนา
]]>
มาตรฐานและการทดสอบของระบบรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ มศอ. 4003.1 https://www.nstda.or.th/nac/2020/20200403-cc403/ Thu, 20 Feb 2020 12:20:51 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2020/?p=2309 Read more]]> มาตรฐานและการทดสอบของระบบรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ มศอ. 4003.1

Standard and Testing for Computer Log Systems with NECTEC STANDARD 4003.1

3 เมษายน 2562 
9.00 – 16.00 น.
CC-403  ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC)

 

ปัจจุบันการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่กำหนดให้มีการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชนทุกภาคส่วน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560  ส่งผลให้ ผู้ให้บริการที่อยู่ในข่ายต้องจัดหาอุปกรณ์หรือระบบสำหรับจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทั้งนี้จึงได้มีการจัดทำมาตรฐานศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติระบบเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ – เล่ม 1 ข้อกำหนด ในปีพุทธศักราช 2550 ซึ่งเวอร์ชั่นล่าสุดในปัจจุบันคือ มศอ. 4003.1 – 2560 ทั้งนี้จากพระราชบัญญัติดังกล่าว ทำให้มีผู้ประกอบการที่ผลิตหรือนำเข้าอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ มีการนำอุปกรณ์ดังกล่าวเข้ามารับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยจะต้องผ่านการทดสอบทั้งในส่วนการทำงานของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐาน มศอ. 4003.1  – 2560 ทั้งนี้ในส่วนการทดสอบในปัจจุบันพบว่า ความเข้าใจในข้อกำหนดหลักเกณฑ์ของมาตรฐานฯ สำหรับผู้ประกอบการยังมีความคลาดเคลื่อนและส่งผลให้ฟังก์ชันการทำงานของระบบฯ บางส่วนยังไม่ตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานฯ ทั้งนี้การสัมมนาในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนประสบการณ์วิธีการ เครื่องมือการทดสอบ รวมถึงทำความเข้าใจข้อกำหนดและการทดสอบของมาตรฐานดังกล่าว เช่น ปัญหาที่พบบ่อยจากการทดสอบ การอบรมการใช้งานเครื่องมือประเมินระบบฯ ด้วยตนเอง

 

กำหนดการ
09.00 – 09.15 ประธานกล่าวเปิดงาน
โดย คุณศวิต กาสุริยะ

รักษาการผู้อํานวยการฝ่ายสนับสนุนบริการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี (TSS)

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

09.15 – 09.45 แนะนำบริการทดสอบของกลุ่มงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์และทดสอบผลิตภัณฑ์ (SEPT)
ดร.พนิตา เมนะเนตร (นักวิจัย)

งานวิศวกรรมซอฟต์แวร์และทดสอบผลิตภัณฑ์ (SEPT)
ฝ่ายสนับสนุนบริการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี (TSS)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

09.45 – 10.45 การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และมาตรฐานระบบรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ มศอ. 4003.1
ดร.กมล เอื้อชินกุล (นักวิจัย)
คุณอรธินี พยัคฆะญาติ (วิศวกร)
งานรับรองคุณภาพบริภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (ECEC)

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

 

10.45 – 11.00 พักรับประทานอาหารว่าง
  การทดสอบมาตรฐานระบบรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ มศอ. 4003.1
โดย คุณบุญชัย เจริญด้วยศีล (วิศวกร)

คุณกำธร ไกรรักษ์ (ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส)
ฝ่ายสนับสนุนบริการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี (TSS)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

12.00 – 13.30 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 14.45 ชี้แจงข้อกำหนดของมาตรฐานฯ ปัญหาที่พบบ่อยจากการทดสอบ และการอบรมการใช้งานเครื่องมือประเมินระบบฯ ด้วยตนเอง

โดย คุณบุญชัย เจริญด้วยศีล (วิศวกร)
งานวิศวกรรมซอฟต์แวร์และทดสอบผลิตภัณฑ์ (SEPT)
ฝ่ายสนับสนุนบริการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี (TSS)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

14.45 – 15.00 พักรับประทานอาหารว่าง
15.00 – 16.00 การอบรมการใช้งานเครื่องมือประเมินระบบฯ ด้วยตนเอง (ต่อ)

โดย คุณบุญชัย เจริญด้วยศีล (วิศวกร)
งานวิศวกรรมซอฟต์แวร์และทดสอบผลิตภัณฑ์ (SEPT)
ฝ่ายสนับสนุนบริการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี (TSS)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

]]>
โอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมเรือไฟฟ้าในประเทศไทย https://www.nstda.or.th/nac/2020/20200403-cc308-pm/ Thu, 20 Feb 2020 12:19:22 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2020/?p=2307 Read more]]> โอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมเรือไฟฟ้าในประเทศไทย

(Opportunities for developing electric boat industry in Thailand)

วันที่ 3 เมษายน 2563
เวลา 13.30 – 16.45 น.

ห้อง CC-308 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

             เป็นที่ทราบกันดีว่ายานยนต์ไฟฟ้า (Electric vehicles) มีข้อดีในการลดผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน และเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาและผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ให้สามารถแข่งขันในระดับอุตสาหกรรมโลกได้ ซึ่งนอกจากการมองยานยนต์ไฟฟ้าเป็นเฉพาะยานยนต์ที่ใช้ขนส่งทางบกอย่างเดียวแล้ว การมองถึงโอกาสในการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า ในการคมนาคมทางน้ำก็เป็นส่วนสำคัญ และได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความต้องการในการลดมลภาวะที่เกิดขึ้นจากการใช้เรือเครื่องยนต์ในการคมนาคมทางน้ำ อาทิ มลภาวะทางเสียง ทางอากาศ และของเสียจากคราบน้ำมันที่ปล่อยลงในแหล่งน้ำ เป็นต้น ซึ่งเรือไฟฟ้าเป็นหนึ่งในแนวทางการลดผลกระทบจากการเกิดมลภาวะเหล่านี้ได้ อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงมาเป็นไฟฟ้าอีกด้วย นอกจากนั้นอุตสาหกรรมการผลิตไทยปัจจุบัน มีจำนวนไม่น้อยที่มีขีดความสามารถในการผลิตเรือ และมีศักยภาพเพียงพอที่จะเปลี่ยนผ่านไปผลิตเรือไฟฟ้า เป็นการสร้างโอกาส และมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมไทยได้ อย่างไรก็ตามการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตเรือไฟฟ้า ในประเทศไทยนั้น จำเป็นจะต้องพัฒนาทั้งผู้ประกอบการ และสร้างความต้องการทางการตลาด จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และร่วมกันพัฒนาทั้งในเชิงเทคโนโลยี ความปลอดภัย และโอกาสทางการตลาด เพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต และใช้เรือไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

การสัมมนาวิชาการหัวข้อ การพัฒนาอุตสาหกรรมเรือไฟฟ้า เทคโนโลยี ความปลอดภัย และโอกาสของอุตสาหกรรมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าถึงเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตเรือไฟฟ้า ประกอบไปด้วย เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานและความปลอดภัย และโอกาสทางการตลาด ส่วนประกอบเหล่านี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้ทราบ และรู้ถึงเทคโนโลยี และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงทั้งในด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเห็นถึงโอกาสการเติบโตทางธุรกิจอีกด้วย

 

กำหนดการ
13.30 – 13.35 น. กล่าวต้อนรับ

โดย นายสรวิศ วณิชอนุกูล

ผู้อำนวยการโปรแกรมยานพาหนะไฟฟ้า

13.35 – 14.20 น. สภาพตลาดและโอกาสของอุตสาหกรรมเรือไฟฟ้าในประเทศไทย

โดย นายวีรพล เตชะผาสุกสันติ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกุลฎ์ซี อิโนเวชั่น จำกัด

14.20 – 14.50 น. ข้อกำหนดในการจดทะเบียนเรือไฟฟ้าและสถานการณ์อุตสาหกรรมเรือไฟฟ้าในประเทศไทย

โดย ผู้แทนกรมเจ้าท่า

กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม

14.50 – 15.30 น. มาตรฐานและการทดสอบเรือไฟฟ้าในต่างประเทศ

โดย นายสมเดช แสงสุรศักดิ์

ผู้เชี่ยวชาญวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

15.30 – 15.45 น. รับประทานอาหารว่าง
15.45 – 16.45 น. เสวนาหัวข้อ “แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเรือไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างยั่งยืน”

โดย

1.ผู้แทนกรมเจ้าท่า

2.นายวีระพล เตชะผาสุกสันติ

3.นายสมเดช แสงสุรศักดิ์

4.นายปกาศิต สมศิริ นักวิจัย สวทช.

ดำเนินรายการโดย นายสรวิศ วณิชอนุกูล

]]>