สารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช

ไวรัส NPV กำจัดหนอนศัตรูพืช 1. ไวรัส NPV คืออะไร 2. วิธีสังเกตหนอนเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 3. Tips การใช้ NPV อย่างไรให้ได้ผลดีขึ้น 4. การต่อเชื้อไวรัส NPV ไว้ใช้ในครั้งต่อไป บิวเวอเรีย บาเซียนา: รากำจัดแมลงศัตรูพืช 1. บิวเวอเรีย รากำจัดแมลงศัตรูพืช กับ ดร.มงคล อุตมโท 2. ขั้นตอนการผลิตสปอร์ราบิวเวอเรียบนข้าวสาร

หอมขจรฟาร์ม: แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ

หอมขจรฟาร์ม: แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ

“การทำอาหารให้ได้คุณภาพ วัตถุดิบเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้นทางวัตถุดิบมาจากการทำเกษตรที่ดี” มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในอัตลักษณ์อันโดดเด่นด้านอาหารมาเนิ่นนาน นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นโรงเรียนการเรือนจวบจนกระทั่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารออกสู่สังคมโดยคำนึงความอร่อย  คุณค่าและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ จากแนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อน โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ หรือ หอมขจรฟาร์ม บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ที่วิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อดำเนินงานส่งเสริมคุณค่าห่วงโซ่การผลิตอาหารปลอดภัยจากต้นน้ำไปจนกระทั่งถึงปลายน้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและชุมชน “เราไม่ได้ต้องการทำเกษตรดั้งเดิม แต่จะนำเทคโนโลยีมาบูรณาการกับการเกษตรที่ดีและความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปที่เป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัย” รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวถึงความตั้งใจของมหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนโครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ ที่ไม่ใช่แค่การดำเนินงานเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าด้านการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยเท่านั้น หากยังบูรณาการการดำเนินงานของแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะเป็นฐานการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้บุคคลทุกช่วงวัย ทั้งนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ เกษตรกรและผู้ประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรือนเพาะปลูกพืชขนาด 6x20x5.6 เมตร จำนวน 3 โรงเรือนตั้งเรียงตระหง่านบนพื้นที่หอมขจรฟาร์ม เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีเป้าหมายเพื่อ “พัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’ ให้ ‘สมาร์ทเทคโนโลยี’ เป็นตัวช่วย

ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’ ให้ ‘สมาร์ทเทคโนโลยี’ เป็นตัวช่วย

“เทคโนโลยีช่วยทุ่นเวลาและให้ความรู้” คำตอบสั้นๆ จาก ฉัตรชนก ทองเรือง หรือ ลุงแดง วัย 59 ปี เจ้าของสวนมะยงชิด “ทองเรือง” เมื่อพูดถึง เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ที่เขาได้คลุกคลีมาเกือบ 2 ปี “มะยงชิด” เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายกและเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัด ซึ่งสวนทองเรือง แห่งนี้เป็นแหล่งผลิตมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้าที่คว้ารางวัลการประกวดมานับไม่ถ้วน ผลผลิตของสวนเฉลี่ยปีละ 2 ตัน ถูกจับจองล่วงหน้าและจำหน่ายที่หน้าสวนเท่านั้น ในราคากิโลกรัมละ 350-400 บาท ด้วยความชอบรสชาติที่หวานและหอมกรอบของมะยงชิด ทำให้ ลุงแดง หันมาปลูกมะยงชิดอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2535 เรียนรู้ สังเกต จดบันทึกการปลูกและพัฒนาการปลูกมะยงชิดของตนเอง จนได้ผลผลิตที่ “รสชาติหวาน

รู้ใช้ ‘ข้อมูลสภาวะแวดล้อม’ ทำสวนทุเรียนได้ ‘ประหยัด ปลอดภัย’

รู้ใช้ ‘ข้อมูลสภาวะแวดล้อม’ ทำสวนทุเรียนได้ ‘ประหยัด ปลอดภัย’

“ทำให้รู้สภาพอากาศสวนของเราเป็นอย่างไร แล้วก็ประหยัดและปลอดภัย” คำบอกเล่าจาก นัทธี สุวรรณจินดา เกษตรกรรุ่นใหม่ เมื่อพูดถึง ระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายเพื่อการจัดการและควบคุมอัตโนมัติ หรือ ไวมาก (WiMaRC) “สมัยพ่อแม่ทำสวนอาศัยประสบการณ์จัดการแปลง อย่างช่วงพฤศจิกายนลมหนาวเริ่มมา จะอดน้ำทุเรียนเพื่อให้ทุเรียนออกดอก แต่บางปีก็ไม่เป็นตามนั้น ถ้าอากาศไม่ได้ ก็ต้องอดน้ำทุเรียนจนใบเหลือง ถ้าไม่หนาวก็ต้องรดน้ำ” นัทธี เล่าถึง “การคาดเดาสภาพอากาศไม่ได้” ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่คนทำสวนทุเรียนประสบ นัทธี เบนเข็มจากอาชีพครูมาช่วยพ่อแม่ทำสวนทุเรียน “สุวรรณจินดา” ได้ราว 10 ปี ด้วยเป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย เขาจึงหาข้อมูลสภาพอากาศจากแหล่งอื่นๆ นอกเหนือจากข้อมูลสภาพอากาศจากหน่วยงานรัฐที่ชาวสวนคุ้นเคย เพื่อมาช่วยตัดสินใจจัดการสวนทุเรียนพื้นที่ 30 ไร่ของครอบครัว “ข้อมูลจากเว็บไซต์อากาศหรือจากเฟซบุ๊กมีมากขึ้น ดูง่ายและดูผ่านมือถือได้ ทำให้เรารู้ว่าต้องเตรียมสวนอย่างไร อย่างรู้ว่าอาทิตย์หน้าอากาศจะเริ่มหนาว เราจะต้องตัดแต่งกิ่งในทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ย

จากถิ่น คืนถิ่น …เมื่อเมล็ดพันธุ์งอกงามในชุมชน

จากถิ่น คืนถิ่น …เมื่อเมล็ดพันธุ์งอกงามในชุมชน

“ได้ลงมือทำ ได้เห็นความเบิกบานและการเจริญเติบโตของพืชผักในทุกวัน” คือนิยามความสุขการทำเกษตรของ จุฬารัตน์ อยู่เย็น สาวน้อยบ้านทุ่งโป่ง ต.เมืองปาน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง แต่กว่าที่จะสัมผัสถึงความสุขนี้ได้ เธอต้องฟันฝ่ากับความคาดหวังของใครต่อใคร เพื่อไปให้ถึงความพอดีของชีวิตบนเส้นทางเกษตรที่เธอเลือก ชีวิตที่เติบโตในชุมชนที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งบริษัท ผลผลิตมากมายแต่รายได้ที่ครอบครัวเธอและชาวบ้านได้รับกลับสวนทาง จึงเป็นแรงผลักให้ จุฬารัตน์ ฝันที่จะเป็นนักส่งเสริมการเกษตรของบริษัท ด้วยหวังกลับมาช่วยชุมชนให้มีรายได้มากขึ้น เธอจึงตั้งใจเข้าเรียนที่คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำทางสู่อาชีพในฝัน “จากที่เคยเห็นแต่ข้าวโพด พอเข้ามาเรียนทำให้เห็นว่ามีหลายพืชมากทั้งผัก ไม้ผล ไม้ประดับ รุ่นพี่ก็แนะนำให้เรียนสาขาพืชผัก เพราะเป็นพืชที่คนเรากินทุกวันและมีงานให้ทำได้หลายอย่าง” ช่วงปลายของการเรียน จุฬารัตน์ รับรู้ว่ามีรุ่นพี่คณะเข้าร่วม “โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” ได้ฝึกงานกับบริษัทเมล็ดพันธุ์และได้กลับไปทำงานที่บ้านเกิดด้วย เธอจึงติดตามกิจกรรมของโครงการฯ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ในรุ่นที่ 2 โดยไม่ลังเล และได้ไปเรียนรู้งานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักกี้ซีดส์อะโกร เป็นเวลา

“ไข่เน่า” ฟักทองพื้นเมือง หัวเรือเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

“ไข่เน่า” ฟักทองพื้นเมือง หัวเรือเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

“ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ปลูกทุกอย่างที่เรากิน กินทุกอย่างที่เราปลูก” เป็นแนวทางหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตำบลบัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน ที่ ฑิฆัมพร กองสอน หรือที่คนในพื้นที่เรียกติดปากว่า แม่กำนัน ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลบัวใหญ่ ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายผลักดันให้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2554 โดยมีข้อมูลคนบัวใหญ่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1 ของ อ.นาน้อย เป็นแรงผลักให้เธอส่งเสริมคนในพื้นที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ 1 ไร่ “ถ้าปลูกทุกอย่างที่เรากินใน 1 ไร่ และกินทุกอย่างที่เราปลูกในนั้น อันดับแรกที่จะได้คือ สุขภาพ ถ้าทำอินทรีย์จะเผื่อแผ่ไปให้คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม สารพิษที่ไหลลงแม่น้ำก็ไม่มี และเมื่อปลูกแบบผสมผสาน สิ่งที่จะได้ตามมาคือ ป่า” แม่กำนัน อธิบายถึงแนวคิดที่ตอบโจทย์ทั้งสุขภาพ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โครงการ 1

‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว

‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว

“คิดให้ไกล ไปทีละก้าว” คือแนวคิดการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์แบรนด์ We VergiN และ Buppha ของกลุ่มวิสาหกิจเกษตรสวนดอก ต.บางยี่รงค์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ที่มีน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นส่วนประกอบหลัก ผลิตภัณฑ์แรกของกลุ่มฯ ที่นำทางไปสู่การจัดการวัสดุเหลือทิ้งในสวนมะพร้าว จากพนักงานบริษัทที่กลับมารับช่วงดูแลสวนมะพร้าวและลิ้นจี่ของพ่อแม่บนพื้นที่ 18 ไร่ บุปผา ไวยเจริญ คิดหาหนทางเพิ่มมูลค่ามะพร้าวจากราคาที่ตกต่ำเหลือลูกละ 3 บาท “ช่วงปี 2555 ราคามะพร้าวตกต่ำมาก จากลูกละ 15 บาท เหลือลูกละ 3 บาท จะทำยังไงได้บ้างที่จะเพิ่มมูลค่าได้ จนได้ไปดูงานการแปรรูปมะพร้าวและได้แนวคิดกลับมาผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น” บุปผา นำเทคนิคที่ได้จากการดูงานมาผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ใช้กรรมวิธีไม่ผ่านความร้อน ทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นแบบบริสุทธิ์ที่คงสารสำคัญไว้มากสุด และกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดี เธอจึงต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยมีน้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก อาทิ

โคขุน ขุนโค สร้างอาชีพที่ชายแดนใต้

โคขุน ขุนโค สร้างอาชีพที่ชายแดนใต้

“โค” เป็นส่วนหนึ่งในวิถีการดำเนินชีวิตของพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนใต้ ชาวบ้านนิยมเลี้ยงโคพื้นเมืองเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้บริจาคทานในช่วงเทศกาลรอมฎอน หรือที่เรียกว่า วัวบุญ ซึ่งทำให้ความต้องการโคมีสูงมาก จึงมีโคจากที่ต่างๆ ส่งมาขายในพื้นที่และที่นี่จึงเป็นตลาดโคที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศก็ว่าได้ เมื่อปริมาณความต้องการโคในพื้นที่มีมาก แต่เม็ดเงินจากการซื้อขายโคกลับไม่หมุนเวียนถึงเกษตรกรในพื้นที่ จึงมีความพยายามของหลายหน่วยงานที่จะสนับสนุนและยกระดับการเลี้ยงโคให้เป็นอาชีพหลักในพื้นที่นี้ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พิชญพิพัฒน์กุล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เล่าว่า วิถีการเลี้ยงโคในพื้นที่ยังเลี้ยงแบบดั้งเดิม คือปล่อยให้โคหากินตามสวนหรือพื้นที่ว่างเปล่า การพัฒนาการเลี้ยงแบบจริงจังในเชิงธุรกิจหรือยกระดับให้เป็นอาชีพหลัก จึงต้องให้ความรู้เกษตรกรและมีช่องทางตลาดที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรได้ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พิชญพิพัฒน์กุล มาหะมะนาเซ และฆาเยาะ หรือ ฎอน นั่นจึงเป็นที่มาของ สหกรณ์โคเนื้อมือนารอ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมมากขึ้น นอกจากสหกรณ์ฯ รับซื้อ ชำแหละ จำหน่ายและแปรรูปเนื้อโคแล้ว สหกรณ์ฯ ยังเป็นแหล่งความรู้การเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมและการขุนโคให้ได้คุณภาพ รวมถึงเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารโคคุณภาพให้สมาชิก “ตอนเริ่มต้นตั้งสหกรณ์ฯ มีสมาชิก

สืบสาน ต่อยอด ‘จกโหล่งลี้’ ลายผ้าโบราณด้วยนวัตกรรม

สืบสาน ต่อยอด ‘จกโหล่งลี้’ ลายผ้าโบราณด้วยนวัตกรรม

“ผ้าจกโหล่งลี้” ผ้าทอโบราณลายจกของชุมชนโหล่งลี้ที่สืบเชื้อสายไทยญวน ด้วยเทคนิคการขึ้นลายแบบ “จก” และ “ยกผสมจก” สร้างลวดลายและสีสันที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ชาวลำพูนภาคภูมิใจ โดยมี กลุ่มทอผ้าบ้านปวงคำ ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน และเป็นศูนย์เรียนรู้หม่อนไหมผ้าจกโหล่งลี้ รับหน้าที่สืบสานสู่คนรุ่นหลังผ่านผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ในครัวเรือน “ปัจจุบันผ้าซิ่นตีนจกมีหลงเหลือเพียงไม่กี่แห่งในประเทศ ซึ่งผ้าจกโหล่งลี้พบได้ที่นี่ที่เดียว เป็นลายที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ปู่ย่าตายายสร้างสรรค์ลวดลายจากจินตนาการไม่มีแบบหรือแม่พิมพ์ การขึ้นลายใช้ทักษะและประสบการณ์เฉพาะของผู้ทอ” สุนี ทองสัมฤทธิ์ ข้าราชการครูเกษียณผู้รับบทบาทรองประธานกลุ่มฯ บอกเล่าถึงการสืบค้นลายผ้าจกโบราณประจำถิ่น ซึ่งกลุ่มฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เทศบาลตำบลลี้ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน รวบรวมและจัดเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ฯ พร้อมกับแกะลายการทอให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ การทอผ้าทอลายจกของกลุ่มฯ ต้องอาศัยความชำนาญและความประณีต จึงใช้เวลาทอประมาณ 2-4 เดือน ซึ่งผ้าซิ่นลายจก 1 ผืน