ความเป็นมา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติได้เริ่มดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ในปี 2541 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความสนใจ และถนัด ต่อมาในปี 2543 ได้มีการขยายกลุ่มเป้าหมายโดยจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนทั่วไป ในรูปแบบโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท และงานโครงการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ (Enrichment program) ทางด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องด้วยรูปแบบของกิจกรรมค่ายสามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะและกระบวนการเรียนรู้เพิ่มเติมจากในชั้นเรียน และสามารถทำได้หลากหลาย ยืดหยุ่นตามความสนใจและถนัดของเยาวชน
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2546 ในนามโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร และเปิดตัวขึ้นในปี 2551 เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ คิดค้น ค้นคว้า และร่วมทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย และเครือข่ายอาจารย์มหาวิทยาลัยร่วมจัดและให้การดูแล เพื่อให้เกิดระบบบริหารจัดการและพัฒนากิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อมาใน ปี 2554 คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ได้มีมติจัดตั้งฝ่ายบริหารค่ายวิทยาศาสตร์ สายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม ส่วนงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนในรูปแบบกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์และฝึกอบรม โดยกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์สำหรับเยาวชนนอกเหนือจากการเรียนในระบบโรงเรียน เพื่อตอบสนองศักยภาพและความสนใจที่หลากหลายของเยาวชน
วิสัยทัศน์และปรัชญาดำเนินการ
ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กเยาวชนอย่างมีความสุขด้วยสาระทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์
-
นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนงานวิจัยของ สวทช. ไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชนแบบบูรณาการ เช่น เพิ่มพูนประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน พัฒนาเป็นเนื้อหาในหลักสูตรการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับโรงเรียน
-
เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น
พันธกิจของฝ่าย
1. จัดค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกิจกรรมพิเศษ
จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ในรูปแบบต่างๆ เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บรรยายพิเศษ ฝึกอบรม
2. จัดฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จัดฝึกอบรมความรู้วิทยาศาสตร์และทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเชิงบูรณาการให้กับครูและอาจารย์ได้นำไปใช้ในชั้นเรียน
3. พัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้
พัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนรู้ คู่มือ และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความสอดคล้องกับงานวิจัยและพัฒนาที่สวทช.สนับสนุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนตามศักยภาพ ความสนใจและความถนัดของแต่ละกลุ่ม ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมสำหรับอบรมครู
4. พัฒนาเยาวชนและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ระดับนานาชาติ
บริหารจัดการโครงการพัฒนานักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เพื่อสนับสนุนนิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมวิจัยและ/หรือการประชุมวิชาการระดับโลก
โครงสร้างดำเนินการของฝ่าย
ระดับนโยบาย ฝ่ายวิชาการและกิจกรรมพัฒนาเยาวชนวิทยาศาสตร์ สังกัดอยู่ในสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม ศูนย์พัฒนากำลังคน ส่วนงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมี ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้บังคับบัญชาในการกำกับดูแลและการให้คำแนะนำแนวทางดำเนินงานของฝ่าย
ระดับดำเนินงาน ประกอบด้วย บุคลากรในฝ่ายวิชาการและกิจกรรมพัฒนาเยาวชนวิทยาศาสตร์ มีจำนวน 13 คน โดยอยู่ในสายงานบริหาร 1 คน สายงานวิชาการ 11 คน และสายงานสนับสนุน 1 คน ดังนี้
1. |
นางฤทัย |
จงสฤษดิ์ |
ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส |
|
2. |
นางสาวสุปราณี |
สิทธิไพโรจน์สกุล |
หัวหน้ากลุ่มกิจกรรมฝึกอบรมครู/นักวิชาการอาวุโส |
|
3. |
นางสาวพิรุณรัตน์ |
ปุณยลิขิต |
หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสื่อการเรียนรู้/นักวิชาการอาวุโส |
|
4. |
นางสาวโสภิดา |
พนานุสรณ์ |
หัวหน้ากลุ่มกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์/นักวิชาการอาวุโส |
|
5. |
นางสาวปัณรสี |
สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
นักวิชาการ |
|
6. |
นางสาวกรกนก |
จงสูงเนิน |
นักวิชาการ |
|
7. |
นายศุกเกษม |
อ่อนพูล |
นักวิชาการ |
|
8. |
นายเอกลักษณ์ |
ตั้งรัตนาวลี |
นักวิชาการ |
|
9. |
นางสาววิชชานันท์ |
งามถิ่น |
นักวิชาการ |
|
10. |
นางสาวจิดากาญจน์ |
สีหาราช |
นักวิชาการ |
|
11. |
นางสาวปานกมล |
ศรสุวรรณ |
นักวิชาการ |
|
12. |
นางสาววสุ |
ทัพพะรังสี |
นักวิชาการ |
|
13. |
นางสาวสรชา |
วงศ์วิชา |
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป |
|